การรู้แจ้งในอริยสัจ 4 สัมพันธ์กับสติปัฏฐานข้อใด

สติปัฏฐาน4 หมายถึงข้อธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ ใช้สติเป็นประธานในการกำหนดระลึกรู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงโดยไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ซึ่งจะทำให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง จุดประสงค์ของการทำ สติปัฏฐาน4 ก็เพื่อฝึกสติ และใช้สตินั้นพิจารณาและรู้เท่าทันในกาย เวทนา จิต และธรรม เพื่อให้เกิดความคลายกำหนัด ละวางซึ่งตัณหาและอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์

บรรดาครูบาอาจารย์สายปฏิบัติได้กล่าวถึงการวิปัสสนากับมหาสติปัฏฐาน4 ไว้มาก วันนี้เราจะมาถอดรหัสคำสอนกัน

 

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

 

สติปัฏฐาน4 หมวดแรกคือ ฐานกาย หรือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการใช้สติกำหนด พิจารณากาย ให้เห็นกายในกาย คือเห็นตามความเป็นจริงของกาย เช่น เห็นว่ากายเป็นเพียงการรวมตัวกันของธาตุทั้งสี่ คือดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อจับธาตุต่าง ๆ แยกออกจากกัน สิ่งที่เรียกว่าร่างกายก็จะหายไป ดังเช่นที่ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เคยเปรียบเทียบร่างกายเหมือนกับเครื่องยนต์ โดยท่านกล่าวว่า

 

“การทำลายเรือนของอุปาทานทำยังไง คือให้พิจารณาแยกร่างกายกระจายออกไป อย่าให้มีตัว แยกอวัยวะทุกชิ้นส่วนออกไป แยกออกเป็นส่วน ๆ จนหมดตัวคน คนเลยไม่มี เหมือนชิ้นส่วนของเครื่องจักรกล หรือเครื่องยนต์อันหนึ่ง”

 

วิธีการปฏิบัติกายานุปัสสนา ขั้นแรกให้ฝึกการมีสติ โดยฝึกดูลมหายใจที่หายใจเข้า ที่หายใจออก อย่างมีสติ หรือมีสติอยู่ในอิริยาบถของกาย แล้วใช้สตินั้นในการพิจารณากายในแบบต่าง ๆ ตลอดจนการเกิด – ดับต่าง ๆ ของกาย ฯลฯ เพื่อให้เกิดนิพพิทา คือเกิดความเบื่อหน่ายในกายว่า ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ซึ่งเป็นการตัดตัณหาและอุปาทานโดยตรง

การปฏิบัติกายานุปัสสนาสามารถแบ่งได้ ๖ แบบ
๑) อานาปานสติ เน้นที่การมีสติ ตามรู้ ตามดูลมหายใจเข้าออกแบบต่าง ๆ สังเกตเห็นอาการของลมหายใจ
๒) อิริยาบถ คือกำหนดสติให้ระลึกรู้ในอิริยาบถอาการต่าง ๆ ของกาย เช่น เดิน นอน ยืน นั่ง ฯลฯ เป็นการปฏิบัติที่ทำได้ตลอดเวลา เหมาะกับการดำรงชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน
๓) สัมปชัญญะ ความรู้ตัว คือปัญญาในการมีสติต่อเนื่องในอิริยาบถต่าง ๆ เช่น เดิน ดื่ม กิน ถ่าย วิ่ง ตื่น หลับ ฯลฯ เป็นการมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ใช้แค่ขณิกสมาธิเป็นเบื้องต้น
๔) ปฏิกูลมนสิการ เมื่อมีสติในสิ่งดังกล่าวข้างต้น จิตจะหยุดฟุ้งซ่าน จากนั้นใช้สติและจิตที่ตั้งมั่นนั้นไปพิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายว่าล้วนเป็นสิ่งปฏิกูล สกปรก โสโครก จนเกิดนิพพิทา ความเบื่อหน่าย
๕) ธาตุมนสิการ พิจารณาตามความเป็นจริงของกายนี้ว่า เป็นเพียงก้อนของธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
๖) นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่าง ๆ กัน เพื่อให้เห็นความจริงของร่างกาย

 

 

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

 

สติปัฏฐาน4 หมวดต่อมาคือ ฐานเวทนา หรือ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การเสวยอารมณ์ ความรู้สึก เช่น ความรู้สึกชอบไม่ชอบ หรือเฉย ๆ การทำเวทนานุปัสสนา คือการมีสติกำหนดพิจารณาเวทนา อารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทบคือผัสสะ ให้เห็นเวทนาในเวทนาคือ เห็นตามความเป็นจริงของเวทนาว่า เวทนาเป็นเพียงการรับรู้ การเสพรสอารมณ์ที่มากระทบสัมผัสทั้งทางใจและกาย คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เป็นกระบวนการแห่งธรรมชาติ พิจารณาให้เห็นว่าเมื่อผัสสะกระทบย่อมเกิดเวทนา เกิดความสุข ความทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นเป็นธรรมดาทุกครั้งไป ให้เห็นความจริงดังนี้ ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จิตก็จะคลายความยึดถือลงไปได้ เกิดอุเบกขาเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปนึกคิดปรุงแต่งฟุ้งซ่าน ซึ่งจะเป็นการสร้างเวทนาขึ้นมาอีก

หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู เคยสอนเกี่ยวกับเรื่องเวทนาว่า

 

“การเจ็บปวดเมื่อนั่งสมาธิ พระพุทธเจ้าว่าให้สู้มัน มันจึงจะเห็นทุกขเวทนา นั่งสมาธิมันเจ็บให้ดูมัน มันเกิดมาจากไหน เวทนามันก็เวทนาต่างหาก ไม่มีตัวเราก็พิจารณาให้รู้เท่านั้นแหละ ของไม่มีตนมีตัว มันเกิดขึ้นจากร่างกายนี้อย่างหนึ่ง แล้วมันก็รู้สึกถึงจิต รู้ถึงกัน จิตก็ไม่ยึดยึดก็เจ็บหนักเข้าไม่สู้มัน ต้องสู้มัน มันจึงจะเห็น”

 

อีกตอนหนึ่งหลวงปู่กล่าวว่า

“เวทนาร่างกายมันเป็นธรรมดา มันเป็นรังของโรค เป็นก้อนโรคตั้งแต่ไหนแต่ไรมา มันเป็นอย่างใดก็ไม่มีความหวั่นไหว พระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายก็ไม่มีความหวั่นไหว เวลามันจะเป็นไป ร่างกายแล้วแต่มันจะเป็นไปตามเรื่องของมัน หน้าที่ของเขาทุกขังอยู่นั่น เวทนาอยู่นั่น เกิดเวทนา ก็ให้ฝึกหัดพิจารณาโลกธรรม รูปอันนี้เราได้มาดีแล้ว เมื่อมันชำรุดทรุดโทรมไป พระพุทธเจ้าก็ไม่มีความหวั่นไหวต่อมัน มันจะเสื่อมลาภให้มันเสื่อมไปตามวิสัย ใจเราไม่เสื่อม ความนินทามันก็ลมปาก ครั้นรู้เท่าแล้ว จิตไม่กระวนกระวาย จิตไม่มาเกี่ยวข้องกับร่างกายแล้วมันก็สุขเท่านั้นแหละ”

 

คำสอนของ หลวงปู่ขาว อนาลโย ทำให้เราเข้าใจได้ว่า จุดสำคัญของเรื่องเวทนาคือการพิจารณาให้ออก ว่าเวทนาก็คือเรื่องธรรมชาติอันเป็นปกติที่ต้องเป็นไป เราต้องมั่นคงอย่าหวั่นไหวตามมันไป และต้องแยกให้ชัดถึงความจริงว่า แต่ละส่วนไม่เกี่ยวข้องกัน สิ่งที่เข้ามากระทบเป็นผัสสะก็ส่วนหนึ่ง เวทนาก็ส่วนหนึ่ง ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เมื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องจิตจะค่อย ๆ เข้าถึงธรรมะที่แท้จริงมากขึ้นเรื่อย ๆ อันเป็นการก้าวเข้าสู่มรรคผลแห่งการปฏิบัติในที่สุด

 

 

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

 

สติปัฏฐาน4 หมวดที่สามคือ ฐานจิต หรือ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือที่คุ้นเคยกับคำว่า การดูจิต การดูจิตก็คือการมีสติระลึกรู้เท่าทัน พิจารณาความนึกคิด อารมณ์ที่เข้ามาในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งราคะ โทสะ โมหะ ฟุ้งซ่าน ทั้งในด้านมืดและด้านสว่าง โดยมีสติตามรู้สภาพเป็นจริงที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ๆ ตามรู้ตามดูสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยใจที่อุเบกขาเป็นกลาง ไม่เข้าไปปรุงแต่งเพิ่มเมื่อตามรู้ ตามพิจารณาไปเรื่อย ๆ ก็จะเห็นการเกิด-ดับในทุกสิ่ง สัมผัสกับความไม่เที่ยงแท้ การปฏิบัติเมื่อทำต่อเนื่อง ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ สติจะคมชัด

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ เคยสอนไว้ว่า

 “หลักธรรมที่แท้จริงคือจิต จิตของเราทุกคนนั่นแหละหลักธรรมสูงสุดที่อยู่ในจิตใจเรา นอกจากนั้นแล้ว มันไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย ขอให้เลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น จิตในจิตก็จะเหลือแต่ความบริสุทธิ์ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในทุกคน”

“กิเลสทั้งหมดเกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองดูที่จิต อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน”

 

แนวทางปฏิบัติแห่งการดูจิตของหลวงปู่ดูลย์ คือเน้นที่การตามดู ตามรู้ตามพิจารณาอยู่เนือง ๆ ด้วยสติตั้งมั่น มีความอุเบกขาเป็นกลาง ไม่เข้าไปแทรกแซงด้วยความคิดปรุงแต่ง แล้วพิจารณาในร่างกายของเราว่ามีธรรมชาติเป็นสิ่งปฏิกูล เน่าเหม็น พิจารณาไปเรื่อยจิตก็จะสามารถตัดสักกายทิฐิไม่ยึดติดในกาย อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการก้าวขึ้นสู่การเป็นอริยชนเบื้องต้นต่อไป

 

ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

 

สติปัฏฐาน4 หมวดสุดท้ายคือ ฐานธรรม หรือ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ มีสติรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ 5 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 อริยสัจ 4 ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ

อริยสัจ 4 ตรงกับวันอะไร

9.อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องในวันสำคัญใดทางพระพุทธศาสนา วันวิสาขบูชา 10.ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ที่ประกอบด้วย ทุกข์ สมุหทัย นิโรธ มรรค ซึ่งหลักธรรมนี้มีชื่อว่าอะไร

หลักธรรมใดที่จัดอยู่ใน "ทุกข์" แห่งอริยสัจ 4

1) ทุกข์ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์ 2) สมุทัย คือ ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์ 3) นิโรธ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์ 4) มรรค คือความจริงที่ว่าด้วยทางแห่งความดับทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการเป็นความหมายของหลักธรรมใด

อริยสัจ 4 ถือเป็นหลักคำสอนที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ซึ่งมีประโยชน์ต่อการดับทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต

อริยสัจ 4 มีความหมายว่าอย่างไร

ดังนั้นอริยสัจ 4 จึงมองไปในทางมุมมองของปัญหา คือ1. ทุกข์คือ ปัญหา เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ว่าตัวทุกข์ คืออะไร 2. สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหามาจากอะไร เป็นสิ่งที่ควรละ 3. นิโรธ คือ การแก้ปัญหา เพื่อให้หลุดพ้น จากทุกข์ เป็นสิ่งควรทำให้แจ้ง 4. มรรค คือ วิธีแก้ปัญหา เป็นสิ่งที่ควรอบรมบำเพ็ญให้เกิดมี ซึ่งแบ่งเป็นการ แก้ปัญหาระดับ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง