การใช้เทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรม

เป็นโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เข้ามาบริหารประเทศบนวิสัยทัศน์ที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตัวแทนหัวจักรสำคัญภาคเอกชนที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมสู่ควมเป็น 4.0 พร้อมกันไปด้วย วัตถุประสงค์ในการผลักดันประเทศไทย 4.0 คือ การพยายามให้ประชาชนหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางเพื่อก้าวไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว ณ ปัจจุบันเรายังอยู่ในยุคประเทศไทย 2.0-3.0 ซึ่งเป็นยุคอุตสาหกรรมไทยส่งขายทั่วทิศ โดยสร้างอุตสาหกรรมต้นน้ำจากการนำทรัพยากรภายในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทำให้ไทยขยับตัวเป็นฐานการผลิตในหลายอุตสาหกรรมและส่งออกไปหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ไฟฟ้าอิเล็คทรอนิกส์และอาหาร แต่เศรษฐกิจของประเทศเริ่มชะลอตัวลง ตั้งแต่ประเทศจีนมีนโยบายเปิดประเทศ ทำให้จีนกลายเป็นฐานการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ขนาดมหึมา เฉพาะแค่ภายในประเทศก็มีตลาดขนาดใหญ่มากอยู่แล้วยังมีการส่งออกสินค้าราคาต่ำสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมทั่วโลก ซึ่งผู้ประกอบการไทยไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนได้ ประกอบกับไทยมีปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงาน ทำให้เราไม่สามารถแข่งขันด้วยวิธีแบบเดิมได้อีกต่อไป จึงจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์โดย มุ่งสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ที่ตนให้ชื่อว่า “ยุคพัฒนาเศรษฐกิจให้เรืองรองด้วยสมองของคนไทย” เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าและบริการ

ช่วยในกระบวนการการผลิตสารสนเทศ ให้ทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่เสียเวลามาก และผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ผิดพลาดน้อย

  • ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปแบบที่สามารถเรียกใช้ได้ตลอดเวลา สามารถเข้าถึงสารสนเทศ (Access) ที่จัดเก็บไว้ได้อย่างสะดวก

    วิถีชีวิตของเทคโนโลยีเริ่มมีบทบาทต่อผู้คนมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยความก้าวหน้า รวดเร็ว และเที่ยงตรง ทำให้เทคโลยีที่มีหลากหลายเริ่มเป็นที่น่าจับตามมองที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมและธุรกิจในอนาคต




    วิถีชีวิตของเทคโนโลยีเริ่มมีบทบาทต่อผู้คนมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยความก้าวหน้า รวดเร็ว และเที่ยงตรง ทำให้เทคโลยีที่มีหลากหลายเริ่มเป็นที่น่าจับตามมองที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมและธุรกิจในอนาคต ผลการสำรวจผลจาก Tech Breakthroughs Megatrend ซึ่งทำการสำรวจรูปแบบเทคโนโลยีกว่า 150 แบบทั่วโลกจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เพื่อค้นหาเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทในการพลิกโลกเข้าสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีในอนาคตอีก 3-7 ปีข้างหน้า



    อันดับ 1 ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI)
    Aiเรียกง่ายๆก็คือคอมพิวเตอร์ที่สามารถคิดและวิเคราะห์สิ่งต่างๆด้วยเหตุและผล จนสามารถตอบโต้การสนทนาได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนั้นยังสามารถเรียนรู้และจดจำสิ่งที่ผ่านมาเป็นบทเรียนได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ถูกแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบเพราะการนำไปใช้งานของแต่ละองค์กรนั้นแตกต่างกัน  ซึ่งแน่นอนว่าการบริการที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นเพียงบางส่วนของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เท่านั้น แต่ในอนาคต ความก้าวหน้าและผลสำเร็จของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะช่วยให้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของโลกอินเทอร์เน็ตถูกนำมาใช้ประโยชน์มากกว่าในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังสามารถช่วยเหลือมนุษย์ได้ทุกเรื่องจากการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งมนุษย์ไม่มีวันทำได้ แต่ถึงกระนั้นความกังวลใจเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์เองได้อย่างอิสระของปัญญาประดิษฐ์ก็ถูกมองว่าอาจจะเป็นภัยต่อมนุษย์ เพราะกรอบจริยธรรม ความคิด หรือแม้กระทั่งการตอบสนองจะต้องถูกควบคุมอย่างดี เพื่อให้ปลอดภัยกับมนุษย์มากที่สุด ก่อนที่จะเริ่มการปฏิวัติวงการด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์นั่นเอง
     
    อันดับ 2 โลกกึ่งเสมือนจริง (Augmented Reality หรือ AR)
    AR เทคโนโลยีโลกกึ่งเสมือนจริง ด้วยรูปแบบการผสมผสานเทคโนโลยีการมองเห็นกับโลกของความเป็นจริงมาเป็นหนึ่งเดียว ด้วยการซ้อนเทคโนโลยีเข้ากับการมองของมนุษย์ปกติ ทำให้เกิดมุมมองใหม่ของการเรียกใช้เทคโนโลยีและจัดการระบบได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยปัจจุบันแม้ว่าจะยังเป็นแค่การทำงานอย่างง่าย ๆ เช่น การออกกำลังกายในลู่วิ่ง เมื่อสวมแว่น VR เข้าไปจะทำให้การวิ่งนั้นมองเห็นวิวทิวทัศน์ในสถานที่ที่เราต้องการได้อย่างเป็นธรรมชาติ หรือจะเป็นการสวมใส่ VR ในการจัดของเพื่อตรวจนับสต๊อกสินค้าไปในตัว เป็นต้น ซึ่งอีกไม่นานเราจะเห็นการนำ AR ไปใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งด้านความบันเทิงและกิจกรรมต่าง ๆ อย่างแพร่หลายในอนาคต
     
    อันดับ 3 บล็อกเชน (Blockchain)
    บล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีการร้อยต่อข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด โดยข้อมูลทุกบล็อกจะเป็นเหมือนสำเนาของตัวเอง เมื่อเกิดการแก้ไขจะทำให้ทุกบล็อกรับรู้การแก้ไขนั้น ๆ และมีประวัติเก็บไว้อย่างซับซ้อน โดยเนื้อแท้ของเทคโนโลยีจึงมีความปลอดภัยจากโครงสร้างที่เกิดขึ้น  ซึ่งความสามารถของบล็อกเชนเริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อถูกนำมาใช้งานในรูปของ Bitcoin หรือเงินเสมือนจริงที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ด้วยรูปแบบการบันทึกทุกกล่องเป็นสำเนาข้อมูลเหมือนกันหมด ทำให้บล็อกเชนมีความปลอดภัยมากกว่าการบันทึกด้วยมนุษย์หรือเครื่องมือบันทึกใด ๆ ที่มีอยู่เดิม และนั่นก็ทำให้บล็อกเชนได้รับความสนใจกับกลุ่มธุรกิจการเงินเช่นธนาคารเป็นอย่างมาก โดยเชื่อว่าบล็อกเชนจะเป็นนวัตกรรมทางการเงินที่มีความปลอดภัยและรวดเร็วมากกว่าเทคโนโลยีการเงินที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
     
    อันดับ 4 โดรน (Drones)
    โดรนเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการบินที่ได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถของการบินหลายระยะด้วยระบบอัตโนมัติ ทำให้โดรนเข้ามาแทนที่ในการบินหลากหลายระบบทั้งเล็กและใหญ่ เช่น จากเดิมที่ใช้เครื่องบินใส่ปุ๋ยและยาพืชไร่ ก็สามารถเปลี่ยนเป็นเครื่องโดรนที่บรรทุกปุ๋ยและยาบินเข้าพื้นที่แบบอัตโนมัติตามการวางโปรแกรมการบินเพื่อจัดการพื้นที่ได้อย่างไม่หลงลืม  ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้โดรนในหลายรูปแบบ ทั้งทางการทหาร การช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งการขนส่ง ทำให้โดรนกลายเป็นเครื่องมือขนส่งที่ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางอากาศระยะไกลได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขนส่งคนหรือสิ่งของก็ตาม แนวคิดดังกล่าวยังไม่สามารถเกิดขึ้นจริงในเชิงพาณิชย์ แต่กระนั้นก็เริ่มมีการทดลองอย่างจริงจังในหลายประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอีคอมเมิร์ซที่กลายมาเป็นระบบค้าขายที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน
     
    อันดับ 5 อินเทอร์เน็ตเพื่อทุกสิ่ง (Internet of Things หรือ IoT)
    เทคโนโลยี IoT เป็นสิ่งที่หลายคนพูดถึงกันมากที่สุด เพราะสามารถแทรกตัวเข้าไปได้แทบทุกอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีของการสื่อสารอุปกรณ์เท่านั้น โดยคาดหวังกันว่า IoT จะช่วยลดเวลาการจัดการทั้งหมดของมนุษย์ รวมไปถึงการดูแลความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้มีความปลอดภัย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ IoT ยังเป็นอุปกรณ์ที่จะเก็บข้อมูล รายงานสิ่งที่จำเป็นให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการตรวจสอบในระบบสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับได้ว่าการแทรกตัวเข้าไปของทุกอุตสาหกรรมยังมีต้นทุนที่ราคาไม่แพงเกินไป ด้วยอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ฝังเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อช่วยในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ แต่หัวใจของการประมวลผลและคิดวิเคราะห์ยังคงใช้งานจากส่วนกลางเพื่อสนองตอบพฤติกรรมนั่นเอง
     
    อันดับ 6 หุ่นยนต์ (Robots)
    หุ่นยนต์เป็นเป้าหมายใหม่ของการทดแทนแรงงานในอนาคต เนื่องจากงานบางชนิดเป็นการใช้แรงงานที่ต้องทำงานซ้ำ ๆ จนเกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน ด้วยค่าแรงที่ต่ำหรือปัญหาของพื้นที่ก็ตามแต่ ซึ่งในโลกอุตสาหกรรมหุ่นยนต์แขนกลที่ทำหน้าที่แทนหนุ่มสาวโรงงาน ทั้งการยกของจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งหรือทำงานซ้ำ ๆ แบบเดิมตามไลน์การผลิต มักใช้หุ่นยนต์แขนกลที่มีเพียงจังหวะหมุนของการผลิตเท่านั้น และนอกจากอุตสาหกรรมการผลิตแล้ว หุ่นยนต์ยังสามารถเข้าไปแทนที่การทำงานในแง่มุมที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ่นยนต์ดับเพลิง กู้ภัย หรือแม้กระทั่งหุ่นยนต์ให้บริการ ทำให้ในอนาคต หุ่นยนต์จะถูกนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์มากขึ้น
     
    อันดับที่ 7 โลกเสมือนจริง (Virtual Reality หรือ VR)
    VR เป็นเทคโนโลยีที่อาจจะดูใกล้เคียงกับ AR หากมองแบบผิวเผิน แต่จริง ๆ แล้วมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะวิธีการใช้หรือรูปแบบที่นำไปใช้ก็ตาม นั่นเพราะ VR เป็นสิ่งที่อยู่ในโลกเสมือนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ร่างกายเพียงตอบสนองกับสิ่งที่เห็นเพื่อฝึกฝนหรือเพื่อความบันเทิง โดยที่ไม่มีการซ้อนกันของโลกความเป็นจริงแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น การทำเครื่อง VR เพื่อฝึกบินเครื่องบินตามรุ่นต่าง ๆ ช่วยลดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการฝึกบินบางส่วน หรืออีกตัวอย่างเป็นการฝึกผ่าตัดของแพทย์เพื่อความเชี่ยวชาญ แน่นอนว่าเครื่องเหล่านี้สร้างระบบครอบการรับรู้ของมนุษย์ทั้งหมดไว้เพื่อสร้างโลกเสมือนที่อาจจะใกล้เคียงหรือไม่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เป็นอยู่ก็เป็นได้
     
    อันดับที่ 8 ระบบพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing)
    เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ อาจจะฟังดูเป็นเครื่องพรินเตอร์ที่วุ่นวายกับเรื่องหมึกไปสักหน่อย แต่แท้จริงแล้วเครื่องนี้กลับเป็นอะไรที่แตกต่างออกไป เนื่องจากฟีเจอร์การทำงานเป็นเหมือนการแกะสลักด้วยแบบดิจิทัลที่สั่งงานโดยคอมพิวเตอร์ ค่อย ๆ แกะเนื้อวัสดุออกตามที่ต้องการไปทีละขั้นทีละตอน เหมือนการขึ้นรูปวัสดุ และนั่นก็ทำให้เครื่องพิมพ์ 3 มิติเป็นที่หมายปองของนักออกแบบ เพราะเพียงเวลาไม่นาน แบบที่ร่างไว้ในคอมพิวเตอร์ก็จะถูกพรินต์ออกมาเป็นโมเดล 3 มิติที่จับต้องได้ทุกประการ ด้วยจุดเด่นของการทำงานที่ไม่จำกัดจำนวน และรวดเร็วเช่นที่พรินเตอร์จะพิมพ์ออกมาได้ ทำให้เครื่องพิมพ์เช่นนี้หลุดเข้าไปในหลากหลายอุตสาหกรรม แน่นอนว่าในวงการแพทย์ที่มีการออกแบบอวัยวะเทียมเพื่อทดแทนอวัยวะสำคัญที่ขาดหายไป การออกแบบด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติแล้วฉีดเซลล์เข้าไปเพื่อลดอาการต่อต้านก็จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น
     
    จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีทั้ง 8 นี้ต่างมีบทบาทของการพัฒนาและคุณประโยชน์ที่สามารถพลิกการใช้งานเครื่องมือในปัจจุบันของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งก็ได้แต่หวังว่าสิ่งที่จะต่อยอดในอนาคตจะมีราคาที่ไม่แพงจนเกินไป และท้ายที่สุด คนธรรมดาก็สามารถเอื้อมถึงได้นั่นเอง

    การใช้เทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรม มีอะไรบ้าง

    5 เทรนด์เทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิตในปี 2565.
    เทรนด์#1 :เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการวิเคราะห์ขั้นสูง (Advanced Analytics).
    เทรนด์#2 :ระบบอัตโนมัติที่เข้าถึงได้ง่ายกว่าเดิม.
    เทรนด์ #3 : หุ่นยนต์.
    เทรนด์#4 : อาศัยห่วงโซ่อุปทานที่มาจากพื้นที่ใกล้เคียง.
    เทรนด์#5 : การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล.

    เทคโนโลยีอุตสาหกรรมมีประโยชน์อย่างไร

    เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะช่วยปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นอย่างมาก โดยการรวมฟังก์ชันใหม่ให้เข้ากับระบบการผลิต เป็นผลดีต่อผลิตภัณฑ์ของโรงงานและให้มูลค่าเพิ่มแก่แบรนด์ นอกจากนี้ ยังช่วยพนักงานพัฒนาศักยภาพและทักษะในอาชีพของตัวเองมากกว่าจะไปทำงานในส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของตัวเอง เพราะมีเทคโนโลยีมาทำแทนแล้ว

    เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตมีอะไรบ้าง

    การใช้เทคโนโลยีในการผลิต เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมการผลิตการใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน การนำวิทยาการใหม่ ๆ มาช่วยในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น การใช้เทคโนโลยีในการบริหาร เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า การใช้โทรศัพท์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น

    เทคโนโลยีที่ใช้ในธุรกิจมีอะไรบ้าง

    10 รูปแบบของการนำเทคโนโลยี AI ไปใช้ในภาคธุรกิจ.
    1.การจ้าง และสรรหาบุคลากร ภาพประกอบ : Canva. ... .
    2.Cybersecurity. ภาพประกอบ : Canva. ... .
    3.การคาดการณ์ตลาด ภาพประกอบ : Canva. ... .
    4.การวิเคราะห์ลูกค้า ภาพประกอบ : Canva. ... .
    5.ใบเสร็จรับเงิน และใบแจ้งหนี้ ... .
    6.การรีวิวข้อเสนอทางธุรกิจ (Proposal) ... .
    7.ผู้ช่วยเสมือน และแชทบอท ... .
    8.Targeted Marketing..

  • Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง