การ รวบรวมข้อมูล ด้วย แบบสอบถาม ออนไลน์ มี ข้อดี และ ข้อ จํา กัด อย่างไร

แบบสอบถาม คือเครื่องมือที่สร้างขึ้นเพื่อวัดความคิดเห็น คำถามต่าง ๆ หรือต้องการทราบความจริงบางอย่าง อันจะทำให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เรียกว่า ข้อเท็จจริง เช่น พฤติกรรม ความชอบ ของกลุ่มเป้าหมายที่มีความแตกต่างกันออกไป

แบบสอบถาม จัดว่าเป็นสิ่งสำคัญในช่วงเริ่มต้นของการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ ทั้งสินค้าและบริการก็ตาม เพราะจะทำให้คุณได้ทราบถึงความต้องการ พฤติกรรม ลักษณะนิสัยความชอบ ความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งช่วยให้คุณสามารถนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ประมวลผลและต่อยอดการทำการตลาดของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในบทความนี้ทาง Enable Survey เลยขอพาทุกท่านมาศึกษาว่าที่จริงแล้ว การออกแบบสอบถาม เพื่อวิจัย วัดผล แม่นยำ ทำอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

แบบสอบถาม คืออะไร

แบบสอบถาม คือ แบบฟอร์มที่รวมชุดคำถามหลักและคำถามย่อยแต่ละหมวดหมู่ที่รวมเป็นหัวข้อเดียวกัน เพื่อเป็นคำถามในการทำวิจัย การสำรวจตลาด การสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค การวิเคราะห์คู่แข่ง หรือต้องการทราบข้อมูลบางอย่างของกลุ่มเป้าหมายต่อหัวข้อที่เราต้องการทราบ

โดย แบบสอบถาม คือหนึ่งในเครื่องมือสำหรับการวิจัยที่นิยมใช้กันมาก ทั้งในวัตถุประสงค์ของการศึกษา การทำวิจัย ไปจนถึงการทำธุรกิจและการตลาด เพราะเป็นการที่ทำให้คุณได้มาซึ่งข้อมูลสำคัญ จากกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยจริง ๆ เก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างสะดวก และสามารถนำข้อมูลที่ได้มาจากแบบสอบถาม มาต่อยอดพัฒนาธุรกิจในอนาคตได้

ประเภทต่างๆของแบบสอบถาม

1. แบบสอบถามเชิงพรรณนา

 แบบสอบถามเชิงพรรณนา คือ  แบบสอบถามที่เป็นการศึกษาคนคว้าหาข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่มีอยู่ของข้อมูลชุดหนึ่ง เพื่ออธิบายลักษณะ หรือสภาพของข้อมูลชุดนั้นว่าเป็นอย่างไร ผ่านการใช้คำถามปลายปิด แบบสอบถามที่ให้ระบุความชอบเป็นตัวเลข เพื่อได้มาซึ่งข้อมูลในเชิงสถิติ ที่มีตัวเลขยืนยันชัดเจน

2. แบบสอบถามเชิงวิเคราะห์

แบบสอบถามเชิงวิเคราะห์ คือแบบสอบถามที่นำข้อสรุปจากข้อมูลจำนวนหนึ่ง ซึ่งมักไม่ใช้สถิติในการ

วิเคราะห์ เป็นเหมือนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ที่ผู้วิจัยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข หรือข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่น แบบสอบถามปลายเปิด การสัมภาษณ์ การสังเกต เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยข้อมูลที่ได้ หากจะนำมาปรับใช้กับการทำวิจัย หรือ การทำธุรกิจ ต้องมีการวิเคราะห์หาข้อสรุปและข้อเท็จจริงก่อนนำไปใช้

โครงสร้างที่ควรมีของแบบสอบถาม

1. คำนำ ชี้แจงวัตถุประสงค์

คำนำ หรือการชี้แจงวัตถุประสงค์ โดยส่วนมากมักจะอยู่ส่วนแรกสุดของแบบสอบถาม จะเป็นการระบุถึงจุดประสงค์ของการทำแบบสอบถามชุดนั้น ๆ  การนำคำตอบที่ได้ไปใช้ประโยชน์ อธิบายลักษณะของแบบสอบถามที่จะต้องทำ หรือเป็นการอธิบายขั้นตอนการทำแบบสอบถาม

ซึ่งบางแบบสอบถาม จะมีการใส่ข้อความที่ทำให้ผู้ทำแบบสอบถามมีความมั่นใจว่า ข้อมูลที่จะตอบลงในแบบสอบถาม จะถูกเก็บเป็นความลับและจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ทำแบบสอบถาม เป็นเหมือนการคุ้มครองสิทธิ์ส่วนบุคคล

2. คำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวเท่าที่จำเป็น

คำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวเท่าที่จำเป็น คือชุดคำถามแรกสุดในแบบสอบถาม เพื่อทำการรู้ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ของผู้ทำแบบสอบถามก่อน เช่น เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา รายได้ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ เป็นต้น

โดยคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวนี้ อาจมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือในการนำแบบสอบถามมาใช้งาน ซึ่งผู้ออกแบบสอบถามต้องคำนึงถึงตัวแปรที่สนใจจะศึกษานั้นมีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว และควรถามเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นในการวิจัยเท่านั้น

3.  คำถามเกี่ยวกับสิ่งที่วัดผล

เป็นคำถามที่ใช้ในแบบสอบถาม ที่มีความเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของแบบสอบถามหรือการทำวิจัยของคุณ ซึ่งแนะนำว่าควรมีทั้งการถามคำถามแบบคำถามปลายเปิด และคำถามปลายปิด เพื่อให้ได้ข้อมูลของการวิจัยอย่างครบถ้วน

หลักการสร้างแบบสอบถาม

1. ตั้งเป้าหมาย วัดตุประสงค์ที่ชัดเจน - เป็นขั้นตอนแรกของการเริ่มออกแบบสอบถาม ควรระบุให้ชัดเจนเลยว่าแบบสอบถามนี้ มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ต้องการใช้เพื่อการนำไปทำอะไรต่อ เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างความสับสนแก่ผู้ทำแบบสอบถาม

2. กำหนดรูปแบบของคำถาม - ต้องการทราบข้อมูลอะไรบ้าง และนำสมมติฐานเหล่านั้นมาสร้างเป็นคำถามที่ใช้ในแบบสอบถาม และควรกำหนดให้ชัดเจนตั้งแต่ขั้นตอนนี้เลยว่าคำถามข้อไหน จะใช้การถามเป็น คำถามปลายเปิด หรือ คำถามปลายปิด

3. กำหนดรูปแบบ ของภาษา ลำดับการถาม - ใช้ภาษาที่เป็นทางการ มีความเป็นสากลในการเข้าใจและรับสาร หลีกเลี่ยงการใช้คำย่อหรือภาษาพูด ที่จะทำให้ผู้ทำแบบสอบถามเกิดความเข้าใจผิดได้ เพื่อให้ผู้ทำแบบสอบถาม สามารถอ่านคำถามได้อย่างเข้าใจ

4. การร่างแบบสอบถาม - การสร้างคำถามให้ตรงตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เพื่อป้องกันการมีคำถามในแบบสอบถามที่นอกประเด็น และควรครอบคลุมเรื่องที่ทำวิจัย โดยมีจำนวนข้อคำถามที่พอเหมาะ ไม่มากเกินไปหรือไม่น้อยเกินไป

5. วิเคราะห์คุณภาพแบบสอบถาม -  เป็นการนำแบบสอบถามที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้วไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเล็กๆ เพื่อนำ Feedback มาตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม หรือแก้ไขในกรณีที่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นก่อนนำไปแจกแบบสอบถามให้กลุ่มเป้าหมายจริงได้ทำ

6. ปรับปรุงแบบสอบถามให้สมบูรณ์ - ตรวจเช็กแบบสอบถามอีกรอบ ปรับปรุงสิ่งที่ยังเป็นข้อผิดพลาดของแบบสอบถามให้หมด เพื่อความชัดเจนของแบบสอบถาม เป็นเหมือนการตรวจเช็กครั้งสุดท้ายก่อนนำแจกจ่ายเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ลองทำจริง

7. จัดพิมพ์แบบสอบถาม - จัดพิมพ์หรือเผยแพร่แบบสอบถามออนไลน์ ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น แนะนำ QR Code, ส่งอีเมล ให้ผู้ทำสแกนเข้าไปทำแบบสอบถามออนไลน์ ให้กลุ่มเป้าหมายได้ลองทำแบบสอบถามจริง เป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว และประหยัดการใช้ช่องทางออฟไลน์แบบเดิม

รูปแบบของคำถาม ของแบบสอบถาม

1. คำถามปลายเปิด

คำถามปลายเปิด คือรูปแบบสอบถาม ที่ให้ผู้ทำสามารถเสนอคำตอบได้อย่างอิสระ โดยไม่มีหลักเกณฑ์ใด ๆ มากำหนดการตอบคำถาม ซึ่งรูปแบบ คำถามปลายเปิด แม้จะทำให้ได้คำตอบจากผู้ทำแบบสอบถาม ที่เป็นคำตอบจากความคิดของผู้ทำแบบสอบถาม แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ คำตอบที่ได้มักจะไม่ตรงประเด็นสูง ดังนั้นผู้ออกแบบสอบถาม จำเป็นต้องกำหนดตัวคำถามให้มีความเจาะจงเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้คำตอบของผู้ทำมีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกัน

เหมาะสำหรับการวิจัยที่ต้องการทราบความต้องการส่วนตัว ข้อเสนอแนะ หรือสิ่งที่อยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย ที่ต้องการทราบจากการทำแบบสอบถาม

2. คำถามปลายปิด

คำถามปลายปิด คือรูปแบบคำถาม ที่เราสามารถกำหนดคำตอบได้อย่างชัดเจน ทำให้ผู้ตอบสามารถเลือกคำตอบได้โดยทันที เป็นคำถามแบบที่มีช้อยส์ให้เลือก เป็นรูปแบบคำถามที่เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนมาก เพื่อให้ได้คำตอบส่วนใหญ่ไปในทิศทางเดียวกัน ไม่หลงประเด็น ได้คำตอบที่สามารถนำมาแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ วิเคราะห์ วัดผลข้อมูลต่อได้ง่าย

เหมาะสำหรับการทำวิจัยที่ต้องการทราบข้อมูลต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมายในเชิงพรรณาหรือข้อมูลด้านสถิติตัวเลข เป็นรูปแบบคำถามที่มักจะใช้ในแบบสอบถามอย่างเป็นสากล

ความสำคัญของการสร้างแบบสอบถาม

1. เป็นเครื่องมือในการวิจัยทุกรูปแบบ

แบบสอบถาม จัดว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกงานวิจัย ทั้งในเรื่องของการศึกษา และการทำธุรกิจ ช่วยให้คุณสามารถเข้าใจความเป็นมา พฤติกรรม ข้อมูลต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน เป็นเหมือนขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุด หากคุณต้องทำการวิจัย

2. เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโต

ในแง่มุมธุรกิจ แบบสอบถาม ถือว่ามีความสำคัญมากเพราะจะทำให้ธุรกิจของคุณได้เข้าถึงตัวลูกค้า กลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ทำให้ธุรกิจได้ล่วงรู้ความชอบ ความต้องการ สิ่งที่คาดหวัง สถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจ รวมถึงทุกสิ่งที่ต้องการทราบจากกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ซึ่งข้อมูลที่ธุรกิจได้จากการทำแบบสอบถาม ก็จะสามารถมาต่อยอดพัฒนาเป็นกลยุทธ์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ต่อไปในอนาคต

3. ช่วยในการทำการตลาดของธุรกิจได้อย่างรอบด้าน

ในการทำการตลาด แบบสอบถาม ก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นหนึ่งในการเริ่มต้นที่ขาดไม่ได้ เพราะนอกจากจะทำให้ธุรกิจได้รู้ถึงข้อมูลต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมายแล้ว ยังช่วยในการวิเคราะห์คู่แข่งทั้งหมด สิ่งที่ลูกค้าคาดหวัง รวมถึงข้อเสนอแนะอื่น ๆ ที่ต้องการให้ธุรกิจของคุณปรับปรุง และช่วยทำให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด

ข้อดีและข้อเสียของแบบสอบถาม

ข้อดีของแบบสอบถาม

- เก็บรวบรวมข้อมูลจากคนจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- นำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการทำธุรกิจ ทำวิจัยได้ดี

- ช่วยลดการบันทึกข้อมูลคำตอบที่ผิดพลาดได้ดีกว่าการสัมภาษณ์

- ถ้ามีการทำแบบสอบถามที่ดี จะช่วยประมวลผลได้สะดวก 

- ใช้แบบสอบถามออนไลน์ ช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้แบบสอบถามที่เป็นแบบออฟไลน์

- ไม่จำเป็นต้องฝึกอบรมพนักงานเก็บข้อมูลมากเหมือนกับวิธีการสัมภาษณ์

ข้อเสียของแบบสอบถาม

- ใช้ระยะเวลาในการร่างคำถามและรอผลลัพธ์

- บางคนมีประสบการณ์เกี่ยวกับแบบสอบถามที่ไม่ดีมาก่อน จึงไม่อยากตอบบางคำถามลงในแบบสอบถาม

- แบบสอบถามจะใช้ได้เฉพาะผู้ที่อ่านหนังสือออกเท่านั้น 

- ถ้ามีคำถามเยอะ ก็ต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์และสรุปผลนาน

- ถ้าผู้ทำแบบสอบถามไม่เข้าใจคำถามไม่ตอบคำถามบางข้อ ก็จะทำให้ข้อมูลมีความคลาดเคลื่อนได้

ตัวอย่างของแบบสอบถาม

เรามีตัวอย่างของคำถามและคำตอบใน แบบสอบถาม ที่มีประสิทธิภาพ จากแพลตฟอร์ม Enable Survey มาให้ทุกคนได้ศึกษากัน โดยสำหรับใครที่สนใจดูการสร้างคำถามและคำตอบในแบบสอบถาม ที่ดี สามารถกดเข้าไปดูตัวอย่าง แบบสอบถาม สำหรับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ จากเราทั้งหมดได้ ที่นี่

ตัวอย่างแบบสอบถาม การสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค

ตัวอย่างแบบสอบถาม การสํารวจความพึงพอใจของพนักงาน

ตัวอย่างแบบสอบถาม การสำรวจคู่แข่ง

สรุป

แบบสอบถาม ยังคงเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดของการทำวิจัย ดังนั้นแล้วการสร้างแบบสอบถามที่ดี ตามเทคนิคที่เราได้แนะนำไป ก็จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะเข้ามาพัฒนาธุรกิจของคุณให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

และการเลือกใช้แพลตฟอร์มสำหรับสร้างแบบสอบถามออนไลน์อย่าง Enable Survey ที่สามารถสร้างแบบสอบถามได้ง่ายๆ มีแบบสอบถามสำเร็จรูปให้เลือกมากมาย ให้คุณรู้ผลได้ทันทีแบบ Real-time ทั้งแบบกราฟ ตาราง และข้อมูลดิบ เพื่อนำไปใช้กับงานวิจัยของคุณได้ ก็จะช่วยให้คุณประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย ทำให้แบบสอบถามมีประสิทธิภาพมากขึ้น เหมาะสำหรับการทำงานวิจัย แบบสอบถามในปัจจุบัน

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง