Air Traffic Controller เรียนคณะอะไร

มีน้องหลายคนถามมาว่า “ถ้าอยากจะเป็น Air Traffic Controller (เจ้าหน้าทีควบคุมจราจรทางอากาศ) ควรจะเรียนคณะใด มหาวิทยาลัยไหนดี?”

 

คำตอบ “เรียนคณะอะไรก็ได้ครับ”

คำตอบนี้อาจดูกำปั้นทุบดินไปหน่อย แต่ก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะ งานนี้ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา ขอเพียงจบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ครับ เพราะเมื่อสามารถสอบเข้าทำงานได้ บริษัทจะให้ทุนเราไปเรียนหลักสูตร Air Traffic Control License & Rating (ใช้เวลา 8-9 เดือน) เพื่อเป็นการปูความรู้เบื้องต้น เพื่อเข้าสู่กระบวนการเทรนนิ่งต่อไป

 

แต่ในการทำงานจริง การจบจากคณะหนึ่งอาจมีประโยชน์ในการทำงานมากกว่ามากกว่าการจบจากอีกคณะหนึ่ง ดังนี้

1. หากจบจาก สถาบันการบินพลเรือน สาขาการจัดการจราจรทางอากาศ(เท่านั้น–สาขาอื่นไม่เกี่ยวครับ) จะทำให้ความก้าวหน้าในสายงานนี้เร็วกว่าเพื่อนๆ ที่ไม่ได้จบมาโดยตรง เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาไปเรียนหลักสูตร Air Traffic Control License & Rating ซ้ำอีก

2. เท่าที่ อ.ขลุ่ยสัมผัสมา ระยะหลังๆ ผู้ที่สอบเข้างาน ATC ได้ “มีเป็นจำนวนมาก” จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ครับ อาจเป็นเพราะความรู้หรือกระบวนการคิดที่เรียน ทำให้ผู้ที่จบออกมาเหมาะสมกับการเป็น ATC ก็เป็นได้ และที่สำคัญการสอบเข้าทำงาน ในรอบแรกจะมีข้อสอบคณิตศาสตร์ด้วยครับ

3. หากเรียนคณะที่เน้นภาษาอังกฤษ หรือ เป็นการเรียนภาคภาษาอังกฤษ (หลักสูตรอินเตอร์) ย่อมได้เปรียบในการสมัครเข้าทำงาน/การทำงานแน่น่อนครับ

4. และสุดท้าย อยากบอกน้องๆ ว่า แม้ว่าจะจบการศึกษาจากคณะที่เกี่ยวข้องกับการบิน ไม่ว่าจะมหาวิทยาลัยใดก็ตาม (ยกเว้นข้อ 1) ไม่ถือว่ามีแต้มต่อในการสมัครงานตำแหน่งนี้กับบริษัทวิทยุการบินนะครับ

สถาบันการบินพลเรือน สำหรับน้อง ม.6 มีให้เลือกทั้งหมด 5 แผนก และแบ่งออกเป็น2 ส่วนใหญ่ๆคือ หลักสูตรปริญญาตรี และ หลักสูตรอนุปริญญา

1. ปริญญาตรี ( 4 ปีจบ ) แบ่งเป็น 2 แผนกย่อย ได้แก่

1.1  หลักสูตรการจัดการ (AVM)
AViation Management สำหรับสายวิทย์หรือสายศิลป์
น้องที่เรียนสายศิลป์มา เลือกได้แค่ AVM อย่างเดียวเท่านั้น1.2  หลักสูตรวิศวกรรม (AEE)

1.2  Avionic Engineering Program (AEE)
สำหรับสายวิทย์-คณิตเท่านั้น

2. อนุปริญญา (2 ปีจบ  =  6 ภาคการศึกษา) แบ่งเป็น 3 แผนกย่อย ได้แก่

2.1 ช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน (AM)
Aircraft Maintenance Engineer License (AMEL)
ใครอยากเป็นช่างซ่อมเครื่องบิน แผนกนี้คือคำตอบเลยคับ
ตรงสายมากที่สุด ไต่เต้าเป็น Engineer ได้เร็วที่สุด
แผนกเดียวเท่านั้นที่เรียนเพียง2ปี ทำงานเก็บประสบการณ์เพียง2ปี
สามารถสอบเป็น Engineer ได้เลย ตามด้วยเงินเดือน 80k
(ต่างจากแผนกอื่นๆต้องทำงานเก็บประสบกาณ์4ปี จึงมีสิทธิสอบ)

2.2  ช่างอิเล็กทรอนิกส์การบิน (CM)
Aircraft Technology (Avionics : AT – AE)
เรียนเกี่ยวกับการซ่อมเครื่องสื่อสารของเครื่องบิน
และระบบการสื่อสารทุกรูปแบบ รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย

2.3  ช่างเครื่องวัดประกอบการบิน (AI)
Aircraft Technology (Aircraft Instruments : AT – AI)
เน้นการซ่อมบำรุงเครื่องวัดประกอบการบิน รวมทั้งระบบสื่อสารของเครื่องบิน
เครื่องมืออุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท

 

แต่ไม่ว่าจบแผนกไหน สาขาไหน ที่ไหน สุดท้ายต้องทำงานร่วมกันอยู่ดีครับ
วงการการบิน Connection ถือเป็นเรื่องสำคัญ

เริ่มวางแผนอนาคตที่น้องอยากจะเป็น ไปพร้อมๆกับบทความนี้ได้เลย

✈แผนก AVM (Aviation Management)✈

มารู้จักแผนกแรกกัน เป้าหมายของน้องๆหลายๆคน โดยเฉพาะสายศิลป์
เพราะสายศิลป์เลือกได้แค่สาขานี้สาขาเดียว
สั้นๆเลย คือ แผนก AVM : AViation Management
แผนกนี้คนอยากเข้าเยอะมาก เพราะรับเยอะที่สุด 250 – 300 คนต่อปี (จากสมัครสอบ 3,000++ คน!)
เรียนทั้งหมด 4ปี ปีละ3 เทอม
โดย2ปีแรก เรียนเหมือนกันหมด
จะทำการแยกสาขาตอนปี 2 ขึ้นปีที่3 ซึ่งแบ่งออกเป็น3สาขา ได้แก่

✈ ATM ; Air Traffic Management

จราจรทางอากาศ จบแล้วไปเป็น ATC ,Air Traffic Controller
ทำงานอยู่บนหอบังคับการการบิน เรียกว่า Air Traffic Control Tower
เรียนด้านการบริหารจัดการจราจรทางอากาศ ฝึกใช้เทคโนโลยีในการจัดการ
รวมถึงเรียนรู้เทคนิคเฉพาะในการปฎิบัติงาน ใช้เวลา2ปีที่เหลือ
ไปกับการจำลองสถานการณ์ สนทนาระหว่าง ATC กับ นักบิน
ผลัดกันเป็นATC ผลัดกันเป็นนักบิน
แน่นอนว่าคนจบสาขานี้ไป เป็นนักบินได้สบายๆ
ถือว่าเป็นสาขาที่ยากที่สุด แต่ก็คุ้มค่าที่ได้มา อนาคตไกล
สบพ. ผลิตบุคลากรที่จะเป็น ATC ได้เพียง ปีละ 40 คนเท่านั้น

✈ ACM ; Air Cargo Management
ขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo)
กระแสมาแรงมาก เพราะปัจจุบันการขนส่งทางอากาศเข้ามีมีบทบาท
ในการเติบโตของเศษรฐกิจไทย สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย
โดยสาขานี้จะเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการ
และทักษะการปฎิบัติงานขนส่งสินค้าทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ใครจะเรียนสาขานี้ต้องเก่งคำนวณนิดๆ เพราะต้องมีการคิดเรื่องของ
Weight Balance การจัดวางตำแหน่งของสินค้า รวมไปถึง
ชนิด รูปแบบและประเภทของสินค้า เช่น Dangerous Goods
และ ต้องคอยศึกษากฎระเบียบข้อบังคับทั้ง Internal และ External
ให้พร้อมรับมือและปฎิบัติตามตลอดเวลา

✈ APM ; AirPort Management
จบแล้วไปทำงานเกี่ยวกับท่าอากาศยาน (Airport)
เรียนการบริหารและจัดการท่าอากาศยาน
เพื่อความปลอดภัยในท่าอากาศยาน

ดังนั้น หากใครฝันอยากจะเรียนสาขาไหน เป็นอะไรในอนาคต
ต้องวางแผนการเรียน ตั้งใจเรียนตั้งแต่ปี1 เทอม1 กันเลยทีเดียว
5 Week สอบ Midterm และ อีก 6 Week สอบ Final
ปิดเทอม 10กว่าวัน ก็เริ่มเทอมต่อไป 2,3 จนจบ1ปี
เพราะ แต่ละสาขาก็มีข้อกำหนดอีกว่า
ปี1 ปี2 ต้องมีเกรดเฉลี่ยรวมของแต่ละวิชาอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
จึงมีสิทธิเลือกสอบในสาขานั้นๆได้
ไม่งั้นฝันก็เป็นได้แค่ฝันนะค๊าบ

✈AEE✈

ต่อมาเป็นอีกหนึ่งแผนกที่เป็นฝันของใครหลายคน
น้องที่เลือกเรียนสายวิทย์-คณิตมาจะรู้ว่าดีอย่างไรก็วันนี้ละครับ
เพราะแผนกนี้ รับเฉพาะน้องที่จบสายวิทย์-คณิตมาเท่านั้น
รู้จักกันในชื่อ AEE หรือ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์การบิน
Avionic Engineering Program (AEE)
ชื่อเดิมคือ AE (เดิมเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต)
หรือ หลายคนอาจจะเคยเห็นคำว่า Avionics สาวๆกรี๊ด
ซึ่งเกิดจากการผสมระหว่าง (Aviation + Electronics นั่นเอง)
จะเรียนเกี่ยวกับระบบของอากาศยานทั้งหมด เน้นการวิเคราะห์ ออกแบบ
ควบคุม ซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์และระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่ใช้ในเครื่องบินปัจจุบัน
ได้สัมผัสกับแผงควบคุมในห้องนักบินทั้งหมด
และเป็นอีกหนึ่งสาขาที่ต่อยอดเป็นนักบินได้โดยง่าย

ข้อควรรู้
+++++++++++++++++++++++++++++
✔สายศิลป์ (เกรดไม่ต่ำกว่า 2.25)
เลือกได้แค่สาขาเดียวเท่านั้น คือ
หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการการบิน
สั้นๆ คือ AVM : AViation Management

ย้ำ สายศิลป์ คลิกเลือกแค่ AVM เท่านั้น
(ไม่ต้องไปยุ่งกับ ACMc หรือ APMc
เพราะตัว *c เป็นหลักสูตรต่อเนื่อง
สำหรับคนที่จบอนุปริญญาต้องการเรียนให้จบปริญญาตรี)

✔ส่วนสายวิทย์ (เกรดไม่ต่ำกว่า 2.25)
เลือกได้ทั้งหมด (ไม่เกิน4อันดับ)
เลือกสาขาที่น้องอยากเข้ามากที่สุดอันดับ1
+++++++++++++++++++++++++++++

มาจำลองการเรียนใน 1 ปีดูครับ
ที่นี่ เรียนปีละ 3 เทอม
✈ เปิดเทอมแรก
เรียน6 Week สอบMidterm
เรียน5 Week สอบ Final
ปิดเทอม ประมาณ10กว่าวัน

✈ เปิดเทอมสอง
เรียน6 Week สอบMidterm
เรียน5 Week สอบ Final
ปิดเทอม ประมาณ10กว่าวัน

✈ เปิดเทอมสาม
เรียน6 Week สอบMidterm
เรียน5 Week สอบ Final
ปิดเทอม ประมาณ45วัน

✈ ขึ้นปี2 (เป็นรุ่นพี่แล้วละสิ บ่า2ขีด)

สำหรับสายอาชีพ หรือ ปวช. (เกรดไม่ต่ำกว่า 2.5) เลือกหลักสูตรอนุปริญญาได้ทั้งหมด (ไม่เกิน 4 อันดับ)

ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับ สาขาเอกที่เรียนมาด้วย
ต้องไปดูที่คุณสมบัติของแผนกที่เราอยากเข้า อาทิ เช่น จะเข้าแผนก AMEL ต้องจบ ปวช. สาขา เครื่องยนต์ หรือ จะเข้าแผนก AT-AE ต้องจบ ปวช. สาขาไฟฟ้า

✈การรับสมัคร✈

สมัครลงทะเบียน และ ชำระเงินตามวันที่กำหนดนะครับ มีโอกาสเพียงปีละครั้งเท่านั้น (สอบตรง สถาบันการบินพลเรือน60) ค่าสมัคร เพียง 500 บาท

ปล. รอบคอบในการสมัคร
ตัดสินใจให้ดีก่อนคลิกเสมอ
มีสติ รอบคอบ เกิดปัญญา
หากตัดสินใจเลือกผิด แก้ไขยาก เกิดปัญหาตามมา
แนะนำให้วางแผน เวลา ล่วงหน้า
อาจจะเขียนใส่โทรศัพท์ หรือใส่ปฎิทิน
เพื่อเดินตามที่วางแผนไว้

✈ข้อสอบวัดความรู้ (ภาษาอังกฤษล้วน)✈

100% ทั้งหมด 100ข้อ
แบ่งเป็น4 วิชา

  1. ภาษาอังกฤษ 30 ข้อ
  2. คณิตศาสตร์ 30 ข้อ (จากเดิม 25ข้อ)
  3. ฟิสิกส์ 30 ข้อ (จากเดิม 25ข้อ)
  4. โลจิก 10ข้อ (จากเดิม 5ข้อ)

สอบสัมภาษณ์(Interview) ไม่มีคะแนน
(จากเดิม มีคะแนน 10%)

ตรวจร่างกาย (Body Check)
หลักๆคือ ต้องไม่ตาบอดสี

 

และคะแนน TOEIC ให้ไปสอบมาได้เลยนะครับ

ย้ำ ***วันสอบสัมภาษณ์ต้องมีใบคะแนนมายื่นนะครับ***
จะถึง 400 หรือ ไม่ถึง 400 ก็ได้ แต่ต้องมีใบมายื่น

✔ หากเกิน 400
ไม่ต้องลงเรียนปรับพื้นกับทาง สบพ.

X แต่หากไม่เกิน 400
ต้องลงเรียนปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษกับทาง สบพ.
เหมือนเรียน Summer ก่อนเปิดเทอมนะครับ
ค่าใช้จ่าย 3000 บาท

ปล. ใครเกิน 400 แต่อยากเรียน
สามารถแจ้งความประสงค์ ขอลงเรียนได้นะครับ

แนะนำ
แนะนำใครคะแนนที่ไม่ถึง 550
สมัครเรียนไปเถอะครับ
เพราะก่อนฝึกงานหรือก่อนจบ ต้องมีคะแนนมากกว่า 450 สำหรับหลักสูตรอนุปริญญา
และ ต้องมากกว่า 550 สำหรับหลักสูตรปริญญาตรี
อยากให้มองภาพนะครับ
ถึงแม้ สบพ. จะกำหนดคะแนนขั้นต่ำกว่าตามข้างต้น
แต่ตอนสมัครทำงานจริง มีมากด้วยคู่แข่ง
ใครยิ่งมีความสามารถ มีคะแนนสูงกว่า
ยอมมีโอกาสได้งานนั้นมากกว่า
เป็นเรื่องธรรมดา (650 up = PASS)

เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ เรียนอะไร

เมื่อเข้ามาเป็นพนักงานของวิทยุการบิน ถ้าจบปริญญาตรีจากสถาบันการบินพลเรือนมาโดยตรงในสาขาจัดการจราจรทางอากาศจะอยู่ในตำแหน่ง “นักเรียนฝึกหัดควบคุมจราจรทางอากาศ” เป็นเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นก็จะปฏิบัติงานจริง แต่ถ้าจบจากสถาบันอื่นจะต้องเรียนและฝึกต่อกับสถาบันการบินพลเรือน ต่อไปอีกประมาณ 9 เดือน ก่อนจะออกปฏิบัติงานจริงได้

AVM เรียนเกี่ยวกับอะไร

สาขาวิชาการจัดการการบิน สั้นๆ คือ AVM : AViation Management.

ผู้ที่จะมาเป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ ต้องผ่านการอบรม Air Traffic Control จากสถาบันที่ใครเป็นผู้รับรอง

The Civil Aviation Authority of Thailand (CAAT) | สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

สถาบันการบินพลเรือนจบแล้วทำงานอะไร

การทำงาน -ปฎิบัติงานให้กับองค์กรด้านการบินและสายการบินทุกหน่วยงาน ทั้งภายในและต่างประเทศ เช่น นักบิน แอร์โฮสเตส แอร์กราวพนักงานบริการภาคพื้น พนักงานการท่าอากาศยาน พนักงานหอบังคับการบินบริษัทวิทยุการบิน พนักงานเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางอากาศและบริษัทขนส่งสินค้า พนักงานทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการบิน ฯลฯ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง