หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าคืออะไร

ประเภทของหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ...

Posted by FDI Logistics & Biz Management on Sunday, January 8, 2017

วันนี้ขอมาให้ความรู้ทุกท่านเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดสินค้าค่ะ (Product Origin) หลายท่านที่เคยนำเข้าหรือส่งออกสินค้ามาบ้างแล้วอาจจะเคยได้ยินคำว่า "Certificate of Origin (C/O)" หรือ "ใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า" กันมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ ในธุรกิจนำเข้าส่งออก เราเรียกเอกสารนี้แบบย่อๆว่าใบซีโอ

C/O เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้ผู้ส่งออกเพื่อแสดงว่าสินค้ามีถิ่นกำเนิดในประเทศใด และผลิตได้ถูกต้องตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ซึ่งใบ C/O จะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันดังนี้ค่ะ

1. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าทั่วไป คือเอกสารที่นำไปใช้รับรองถิ่นกำเนิดสินค้า แต่ไม่สามารถนำไปขอยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรขาเข้าได้ เรียกว่า Ordinary Certificate of Origin

2. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบพิเศษ ที่นำไปใช้เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (ขอยกเว้น หรือลดหย่อนภาษีอากรขาเข้า) เรียกว่า Preferential Certificate of Origin

แล้วใบ C/O 2 ประเภทนี้แตกต่างกันอย่างไร?

- Ordinary Certificate of Origin ขอเรียกสั้นๆว่าแบบทั่วไปแล้วกันนะคะ แบบทั่วไปนี้คือเอกสารที่ใช้เพื่อยืนยันกับผู้ซื้อว่า สินค้าที่ส่งออกไปนั้นประกอบด้วยวัตถุดิบภายในประเทศ มีการผลิต หรือผ่านขั้นตอนกระบวนการผลิตภายในประเทศ

- Preferential Certificate of Origin ศัพท์นำเข้าส่งออกเราเรียกเอกสารสิ่งนี้ว่า "ฟอร์ม" ค่ะ ตัวอย่างเช่น FORM E (ฟอร์มอี) ซึ่งเป็น C/O ที่รับรองว่าสินค้าถูกผลิตในประเทศจีน และ FORM E นี้ล่ะค่ะ ที่เราใช้มาขอยกเว้น/ลดหย่อนภาษีอากรขาเข้าจากกรมศุลกากร C/O ที่ใช้ยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีได้จึงเป็นชนิดพิเศษ

ภาพตัวอย่าง FORM E ค่ะ หน้าตาเป็นแบบนี้นี่เอง

ซึ่งกว่าจะมาเป็น หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบพิเศษ ได้นั้นต้องมีการประชุมเจรจาทางการค้าร่วมกันของแต่ละประเทศ (อาจเป็นการเจรจาทางการค้าเฉพาระหว่าง 2 ประเทศหรือมากกว่า 2 ประเทศก็ได้ค่ะ) มีการศึกษาระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรและกฎถิ่นกำเนิดสินค้า กำหนดคุณสมบัติทางด้านถิ่นกำเนิดและรูปแบบหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า กำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติในการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

วันนี้ขอนำแบบฟอร์มซึ่งมีการเจรจาและตกลงทางการค้าระหว่างประเทศมาให้ดูกันเป็นความรู้นะคะ

ทุกท่านจะได้ทราบว่าแบบฟอร์มชนิดใดมาจากการทำความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศใดบ้าง

ซึ่งแบบฟอร์มเหล่านี้ สามารถนำมาใช้ยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีต่อกรมศุลกากรประเทศไทยได้ด้วยค่ะ

อัตราการลดหย่อน/ละเว้นภาษีอากรในการนำเข้านี้จะขึ้นอยู่กับข้อตกลงทางการค้า รวมทั้งชนิดของสินค้าด้วยค่ะ

ตัวอย่างเช่น นายชีฟเคยนำเข้าสินค้า A มาจากประเทศจีนโดยไม่มี FORM E เคยเสียภาษีนำเข้าอยู่ที่ 30%

มาวันหนึ่งนายชีฟเปลี่ยนไปใช้ผู้ผลิตในจีนที่ได้รับสิทธิ์รับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เมื่อนายชีฟนำเข้าสินค้าล็อตใหม่

พร้อมยื่นเอกสาร C/O ต่อกรมศุลกากรในขั้นตอนพิธีการศุลกากร จากที่เคยเสียภาษีนำเข้าที่ 30%

อาจได้รับสิทธิ์ยกเว้นอากรเหลือ 0% ก็ได้ค่ะ

จากบทความนี้ ขอสรุปสิ่งที่ผู้นำเข้าควรทำดังนี้นะคะ

1. ผู้นำเข้าควรปรึกษาผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในพิธีการศุลกากร (บริษัทชิปปิ้ง) เพื่อตรวจสอบว่าสินค้าที่ท่านจะนำเข้าได้รับสิทธิพิเศษในการขอใช้ฟอร์มยกเว้น/ลดหย่อนภาษีหรือไม่ ในกรณีที่สินค้าประเภทนั้นๆได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าว ผู้นำเข้าควรให้บริษัทชิปปิ้งตรวจสอบและเช็คพิกัดอัตราอากรของสินค้าประเภทนั้นๆ จะได้ทราบอัตราอากรนำเข้าเบื้องต้นหากไม่มีฟอร์มยกเว้น/ลดหย่อนภาษี และหากมีฟอร์มยกเว้น/ลดหย่อนภาษี

2. ผู้นำเข้าควรสรรหาผู้ผลิตในต่างประเทศที่ได้รับสิทธิ์รับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อจะได้นำแบบฟอร์มนั้นๆมาใช้ในการละเว้น/ลดหย่อนภาษี ในการนำเข้ามาในประเทศไทยค่ะ

3. ผู้นำเข้าควรทราบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า และใบ C/O ซึ่งมีทั้งแบบ WO และ ST

เป็นสิ่งที่แสดงว่าสินค้าที่ระบุ มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศใด และมีประโยชน์ในการขอรับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากรจากประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษ รวมทั้งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการขยายตลาดการค้า และสร้างอำนาจต่อรองด้านราคาได้อีกทางหนึ่งหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

 

1.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร

คือ หนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อรับรองว่าสินค้าที่ระบุในหนังสือรับรองฯ ผลิตถูกต้องตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าและตามเงื่อนไขภายใต้ระบบสิทธิพิเศษของประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ ซึ่งจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีนำเข้าของประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ 8 ชนิด ได้แก่

 

(1) Certificate of Origin Form A เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป โดยจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้าสำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษ GSP ได้แก่ ญี่ปุ่น รัสเซียและเครือรัฐอิสระ 10 ประเทศ (กลุ่ม CIS ได้แก่ รัสเซีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจานสาธารณรัฐเบลารุส คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน สาธารณรัฐมอลโดวา ทาจิกิสถานยูเครน อุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน)

 (2) ระบบรับรองตนเองของผู้ส่งออก (Registered Exporter: REX)ภายใต้ระบบ GSP สวิตเซอร์แลนด์และนอร์เวย์ ใช้วิธีการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของผู้ส่งออก หรือ Registered Exporter: REX system  ผู้ส่งออกที่ประสงค์จะรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองจะต้องมาขึ้นทะเบียนกับกรมการค้าต่างประเทศ   (กองบริหารการนำเข้าและรับรองถิ่นกำเนิด) เพื่อให้ได้รับ REX Number ซึ่งผู้ส่งออกจะต้องใช้ในการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง โดยสามารถรับรองถิ่นกำเนิดฯ ลงในเอกสารทางการค้าที่มีข้อมูล เช่น ชื่อ ที่อยู่ของผู้ส่งออก รายละเอียดของสินค้าที่ส่งออกและวันที่ออกเอกสาร (Date of Issue) อาทิ ใบกำกับสินค้า (Invoice) ใบรายการบรรจุหีบห่อ (Packing List) เป็นต้น

(3) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า แบบ GSTP เป็นหนังสือรับรองฯที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนสิทธิพิเศษทางการค้าสำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศกำลังพัฒนา รวม43 ประเทศที่ได้ลงนามและให้สัตยาบันข้อตกลงแล้ว

ดูได้ที่  //bit.ly/38MVHAR

(4) Certificate of Origin Form D เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษ ตามความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade In Goods Agreement: ATIGA) สำหรับสินค้าที่ส่งไปประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม

(5) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า การใช้สิทธิพิเศษภายใต้ความตกลงเขตการค้า เสรีต่างๆ เป็น หนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษตามความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีต่างๆ ได้แก่

  • ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ใช้ Form E
  • ความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย ใช้ Form FTA
  • ความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย ใช้ Form AI
  • ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ใช้ Form FTA
  • ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ไทย-นิวซีแลนด์ สามารถรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองบนใบกำกับสินค้า (Invoice)
  • ความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย- นิวซีแลนด์ ใช้ Form AANZ
  • ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ใช้ Form JTEPA
  • ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น ใช้ Form AJ
  • ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี ใช้ Form AK
  • ความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ไทย-เปรู ใช้ Form TP
  • ความตกลงการค้าเสรีไทย-ชิลี ใช้ Form TC

(6) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับ สินค้าหัตถกรรม  (Certificate in Regard to Certain Handicraft Products) เป็นหนังสือรับรองฯที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกสินค้าหัตถกรรมไปยังสหภาพยุโรปตามรายการที่กำหนดไว้

(7) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้า ผ้าไหมและผ้าฝ้ายทอด้วยมือ (Certificate Relating to Silk or Cotton Handloom Products) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกสำหรับสินค้าผ้าไหม และผ้าฝ้ายที่ทอ ด้วยมือตามระเบียบการให้สิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรปซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้า

(8) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับ สินค้าหัตถกรรมทั่วไป   (Certificate of Origin Handicraft or Handloom Products) เป็นหนังสือรับรองฯที่ใช้สำหรับการส่งออกสินค้าหัตถกรรมภายใต้สิทธิพิเศษฯไปยังประเทศญี่ปุ่นและแคนาดา

Form D

2.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ไม่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรคือ หนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อรับรองว่าสินค้าที่ระบุในหนังสือรับรองฯ มีถิ่นกำเนิด จากประเทศผู้ออกหนังสือรับรองฯ จริงและใช้เป็นเอกสารประกอบการนำเข้าตามระเบียบการนำเข้าของประเทศปลายทาง หรือตามเงื่อนไขของผู้นำเข้าเท่านั้น ไม่สามารถใช้เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร ได้แก่ หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าทั่วไป (Certificate of Origin : Form C/O ทั่วไป) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ไม่ได้รับ สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป และหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าไปยังเม็กซิโก (ANEXO III)  และหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าที่ได้รับโควตาในการนำเข้าสหภาพยุโรป    (Certificate of Origin for Imports of Products Subject to Special non-preferential Import Arrangements into  the Enropern Unfor)

เราก็ได้เห็นประโยชน์ของหนังสือรับรองสินค้าแล้วนะครับ  ครั้งต่อไป เราจะมาศึกษาขั้นตอนในการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดแบบต่างๆ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง