เทคโนโลยีสารสนเทศเรียกสั้นๆว่าอะไร


�����"෤��������ʹ��" ����"Information Technology" �ç�Ѻ���Ѿ�������"Informatique" ������¶֧ "��ù�෤����դ������������෤��������� ����㹧ҹ�������Ǣ�ͧ�Ѻ���ɰ�Ԩ����ѧ��" �͡�ҡ����ѧ�դ������·�������§�ѹ���"Telematioque"���¶֧ "��ú�óҡ�������ҧ����������Ѻ����������" ��Ф���� "Burotique" ���¶֧ �ӹѡ�ҹ�ѵ��ѵ� �ѧ���������ա�ùӤ��Ѿ�������ѧ��ɷ���ͧ������᷹�����෤��������ʹ�� �֧������ "Informatic" ����դ������������ǡѹ�Ѻ"Informatique" �������ҹ������繷������ҡ�ѡ ����Ѱ����ԡ�á����ա�úѭ�ѵԤ��Ѿ����� "Teleputer" ��������������繷������蹡ѹ

����� "���ʹ��" ���� "��ù���" �ç�Ѻ���Ѿ�������ѧ������ "Information" ����Ҫ�ѳ�Ե�ʶҹ�ѭ�ѵ��������Ѿ�����ͧ��᷹����� Information ���ǧ��ä������������������ ���ǧ��ø�áԨ ��ǹ�˭�������������ʹ���ҡ����

"��ù���" �դ������¶֧ ������ ������� ��������ҧ � ����ա�úѹ�֡���ҧ���к������ѡ�Ԫҡ�����͹�������������ҹ�ء�Ңҷء��ҹ

��ǹ����� "෤��������ʹ��" (Imformation Technology:IT) ���¡������� "�ͷ�" �դ��������鹶֧��鹵͹��ô��Թ�ҹ��С�èѴ���㹡�кǹ������ʹ��������ù��� �������������ǧ�ҡ���������� ��èѴ�� ��èѴ��� ��С������� ������������Է���Ҿ �����١��ͧ ��������� ��Ф����Ǵ���Ƿѹ��͡�ù����黻���ª��

���ι���������� ���������������� "෤��������ʹ�����¶֧ ෤����շ����������������ö���ҧ�к����ʹ�������ҧ�ջ���Է���Ҿ ��������Դ����Է�Լ���л���ª�����ҧ������ ���� ��������¹������ ��èѴ�� ��û����żš�ä鹤׹ ���������Ѻ����ҹ�ȵ�ҧ � ����෤��������������ҧ � �� ���������� ����� �ä��Ҥ� �����������硷�͹ԡ�� ������෤���������������к��Ѵ���§�͡��� ����ͧ�Ӻѭ���ѵ��ѵ� �繵�"

����Է��������·�¸���Ҹ��Ҫ ������������� "෤��������ʹ�� ���¶֧ ෤����շء���ҧ�������Ǣ�ͧ�Ѻ���ʹ�� ���ҡ෤�������������㹡�èѴ�� �����ż� �ʴ��� �����������ʹ����ٻ�ͧ������ ��ͤ����������ͧ ����෤����դ������������෤������ä��Ҥ�

��ػ "෤��������ʹ�� ��� ��������˹�ҷҧ෤����շ�������Դ�Ըա������ � 㹡�èѴ�红����� ������� ������� ����觼�ҹ �������������ʹ�� �����Ҷ֧���ʹ�� ����Ѻ���ʹ�� ����֧������ҧ�ѧ������ص��ˡ�����ҹ������ ��С�èѴ������ʹ������ջ���Է���Ҿ

ความหมายของสารสนเทศ

สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลหรือถูกนำมาวิเคราะห์ในรูปแบบที่เหมาะสมตรงกับต้องการของผู้ใช้  มีการจัดรูปแบบอย่างเป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่เพื่อให้สะดวกในการนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานและตัดสินใจขององค์กร
จากที่กล่าวมาแล้วจะพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูลถือเป็นจุดเริ่มต้นของการได้มาซึ่งสารสนเทศ  เมื่อข้อมูลถูกนำมาประมวลผลจะได้เป็นสารสนเทศซึ่งองค์กรสามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านธุรกิจขององค์กร  ข้อมูลและสารสนเทศมีความสัมพันธ์กัน
ต่อมาองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ภายในองค์กรทั้งสิ้น  ไม่ว่าองค์กรนั้นจะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่  ล้วนแต่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในการบริหารและการปฏิบัติการ  เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีกว่าหรือทัดเทียมองค์กรอื่นๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันด้านต่างๆ มีมากขึ้น หน่วยงานภาคเอกชนต้องแข่งขันกันเองทั้งภายในประเทศและกับองค์กรที่เป็นเครือข่ายจากต่างประเทศ  หน่วยงานภาครัฐต้องแข่งขันในระดับประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการให้บริการแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและมีศักยภาพเพียงพอ  ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อถือให้นักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนทั้งทางภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม  ถ้าหน่วยงานเหล่านี้ไม่สามารถจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นเครื่องมือในการแข่งขันและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแล้วก็ย่อมส่งผลกระทบในทางลบ คือ ไม่สามารถขยายตัวทางธุรกิจและไม่สามารถให้บริการที่มีประสิทธิภาพ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๔ : ๒๐)

คุณลักษณะสำคัญของสารสนเทศที่ดี

การผลิตสารสนเทศที่ดีเพื่อใช้ประกอบในการดำเนินงานจึงเป็นสิ่งที่องค์กรต้องให้ความสนใจอย่างจริงจัง  ซึ่งสารสนเทศที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะสำคัญดังนี้ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๔ : ๙)

๑.  สามารถเข้าถึงได้ (accessible)  สารสนเทศที่ดีควรมีการจัดการเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่

๒.  ถูกต้อง (accurate)  สารสนเทศที่ดีต้องมีความถูกต้องและไม่มีข้อผิดพลาด  เพื่อให้ผู้ใช้หรือองค์กรแน่ใจว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

๓.  ครบถ้วนสมบูรณ์ (complete)  สารสนเทศที่ดีต้องประกอบด้วยข้อมูลสำคัญๆ ที่ครบถ้วนตรงตามความต้องการใช้งานและสามารถสนับสนุนให้การปฏิบัติงานขององค์กรแล้วเสร็จตามกำหนดหรือวัตถุประสงค์

๔.  ประหยัด (economical)  การได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดี องค์กรควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การได้มา การจัดเก็บ และการนำไปใช้งานที่ต้องมีความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ

๕.  ยืดหยุ่น (flexible)  สารสนเทศที่ดีควรมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับการนำไปใช้ได้หลายรูปแบบ ครอบคลุมความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้

๖.  ตรงประเด็น (relevant)  สารสนเทศที่ดีต้องสามารถนำไปใช้เพื่อตอบสนองความต้องการได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้

๗.  เชื่อถือได้ (reliable)  สารสนเทศที่ดีต้องมีความน่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ และสามารถรับรองความถูกต้องของขั้นตอนการได้มาซึ่งสารสนเทศ

๘.  ปลอดภัย (secure)  สารสนเทศที่ดีต้องมีระบบรักษาความปลอดภัย  เพื่อให้มั่นใจได้ว่าอนุญาตให้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้เท่านั้น

๙.  ไม่ซับซ้อน (simple)  สารสนเทศที่ดีต้องไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการทำความเข้าใจและการนำไปใช้งาน

๑๐.  ทันต่อความต้องการใช้งาน (timely)  สารสนเทศที่ดีควรมีรูปแบบและจัดเก็บให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอเพื่อการนำไปใช้งานได้อย่างทันเวลา

๑๑.  ตรวจสอบได้ (verifiable)  สารสนเทศที่ดีต้องสามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่แหล่งที่มาของข้อมูลและกระบวนการประมวลผล ซึ่งจะต้องมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับขององค์กรความหมายและกระบวนการ

ความหมายและกระบวนการทำงานพื้นฐานของระบบสารสนเทศ

          ระบบสารสนเทศ เป็นการนำส่วนประกอบต่างๆ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล ขั้นตอนการดำเนินงาน และบุคลากร  มาทำงานสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบภายในองค์กรเพื่อรวบรวม ผลิต จัดเก็บ ประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ ให้สามารถนำสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน บริหารจัดการงาน บริการผู้ใช้งาน และประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารได้อย่างสะดวก ถูกต้อง รวดเร็ว และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และความความต้องการขององค์กรและธุรกิจ (Laudon, ๒๐๑๑  อ้างถึงใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๔ : ๑๒)

ระบบสารสนเทศจะมีลักษณะการทำงานเป็นระบบ  ประกอบด้วยกระบวนการทำงานพื้นฐาน ๓ ประการด้วยกัน ได้แก่ การนำข้อมูลเข้า (input) การประมวลผล (process) และการนำเสนอผลลัพธ์ (output)  โดยการนำข้อมูลเข้าจะทำการรวบรวมข้อมูล เช่น ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้มาจากภายในหรือภายนอกองค์กร  การประมวลผลจะทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่นำเข้ามาในระบบให้อยู่ในรูปของสารสนเทศที่มีความหมายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้  และการนำเสนอผลลัพธ์จะนำเสนอสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผลเพื่อให้องค์กรนำไปใช้ในการปฏิบัติงานต่างๆ ต่อไป  ทั้งนี้ระบบสารสนเทศจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีกลไกการควบคุม ได้แก่ ผลป้อนกลับ (feedback) ซึ่งเป็นการวัดผลลัพธ์ที่ได้รับจากระบบสารสนเทศกับผลลัพธ์ที่พึงประสงค์  ถ้าผลป้อนกลับเป็นเชิงบวกจะยืนยันว่าระบบมีประสิทธิภาพและสามารถดำเนินการต่อไปได้  แต่ถ้าผลป้อนกลับเป็นเชิงลบจะต้องมีการแก้ไขหรือปรับปรุงการนำข้อมูลหรือการประมวลผล  เพื่อให้ระบบสารสนเทศสามารถทำงานจนได้ผลลัพธ์ที่ตรงตามวัตถุประสงค์

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

กิดานันท์ มลิทอง (๒๕๔๘ : ๑๒)  อธิบายความหมายของ IT : เทคโนโลยีสารสนเทศ  ว่าเป็นคำที่ใช้เพื่ออธิบายถึงส่วนอุปกรณ์ (Hardware) และ ส่วนชุดคำสั่ง (Software) ของคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ทำงานร่วมกันในการประมวล จัดเก็บ เข้าถึง ค้นคืน นำเสนอ และเผยแพร่สารสนเทศด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  ตัวอย่างของส่วนอุปกรณ์ ได้แก่ อุปกรณ์ใดๆ ที่มีชิปคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบ เช่น คอมพิวเตอร์   กล้องถ่ายภาพดิจิทัล โทรศัพท์เซลลูลาร์ และรวมถึงวัสดุ เช่น สมาร์ตคาร์ด  ส่วนชุดคำสั่ง เช่น โปรแกรมประมวลคำ โปรแกรมกราฟิก โปรแกรมตัดต่อภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น  เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีสมรรถนะสูงมากขึ้นจึงสามารถทำงานนอกเหนือจากการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลธรรมดามาเป็นสื่อในการสร้างภาพ ๓ มิติ การตัดต่อภาพยนตร์ การผสมเสียง และเป็นตัวกลางในการนำเสนอสารสนเทศรูปลักษณ์ต่างๆ

เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology  ที่มักเรียกกันว่า “ไอที” นั้น  เน้นถึงการจัดการในกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศ หรือสารนิเทศในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การเสาะแสวงหา การวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์ (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ, ๒๕๔๐ : ๒๐  อ้างถึงใน    กิดานันท์ มลิทอง, ๒๕๔๘ : ๑๓)

เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งรวมแล้วก็คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม หรือ Computer and Communications ที่นิยมเรียกย่อๆ ว่า C&C  อย่างไรก็ตามมีโน้มน้าวที่จะนับเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบของ C&C ที่เกี่ยวเนื่องเข้ามาเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย เช่น เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีการพิมพ์ เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ เทคโนโลยีการศึกษา (ครรชิต มาลัยวงศ์, ๒๕๔๐ : ๗๗  อ้างถึงใน กิดานันท์ มลิทอง, ๒๕๔๘ : ๑๓)

นอกจากนี้ ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ (๒๕๔๙ : ๑๔) ให้ความหมายของคำว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ” ว่ามีสาระสำคัญอยู่ที่คำว่า สารสนเทศ (Information) ซึ่งถ้าพิจารณาแบบกว้างๆ หมายถึง ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงอันเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ การกระทำ บุคคล หน่วยงาน เช่น ลูกค้ารายหนึ่งสั่งซื้อสินค้าอะไรบ้าง เป็นจำนวนเท่าใด  แต่ถ้าพิจารณาอย่างเจาะจงมากยิ่งขึ้น  สารสนเทศให้เห็นภาพกว้างๆ ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น การนำข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าตลอดทั้งเดือนของเดือนก่อนๆ มาประมวลจะทำให้เราทราบว่าสินค้าใดเป็นที่ต้องการมาก สินค้าใดขายไม่ได้เพราะไม่มีการสั่งซื้อ หรือลูกค้ารายใดสั่งซื้อสินค้ามากน้อยผิดปกติ  การทราบสารสนเทศเหล่านี้ทำให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจที่จะบริหารหรือจัดการในด้านที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น  อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสารสนเทศ  ซึ่งหากจะแยะย่อยลงไปอีกจะหมายถึง การจัดเก็บข้อมูล การบันทึกข้อมูล การนำข้อมูลมาประมวลผล การจัดทำรายงานสารสนเทศ การจัดส่งรายงานสารสนเทศไปให้ผู้ใช้ ฯลฯ  หากเทคโนโลยีใดที่เข้าข่ายการใช้งานลักษณะนี้ อาจะเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศได้เช่นกัน

โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ  เรามักจะหมายถึงเทคโนโลยีสำคัญใน ๒ สาขา ดังนี้

(ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ, ๒๕๔๙ : ๑๔-๑๖)

๑.  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญในการจัดเก็บบันทึก ประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศและจัดทำรายงานต่างๆ  คอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในเวลานี้สามารถแบ่งได้หลายประเภท  ประเภทที่หนึ่ง คือ จัดตามความสามารถในการปฏิบัติงานหรือการคำนวณ ซึ่งในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถมากที่สุด คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (super computer) สามารถทำงานได้รวดเร็วมาก เช่น บวกเลขได้รวดเร็วถึงพันล้านจำนวนต่อวินาทีและสามารถใช้ในงานพยากรณ์อากาศ งานด้านอวกาศ ฯลฯ  ส่วนคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถรองลงมาและเป็นที่นิยมใช้กันในงานธนาคารหรืองานที่มีข้อมูลมากๆ คือ เครื่องเมนเฟรม (mainframe) ซึ่งมีความสามารถในการบวกเลขได้เร็วนับร้อยล้านจำนวนต่อวินาที  ส่วนคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถรองลงมาอีก คือ มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) ซึ่งนิยมใช้ในงานด้านธุรกิจทั่วไปหรือในกิจการขนาดเล็ก  ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถลำดับสุดท้าย คือ คอมพิวเตอร์ที่เรามักพบเห็นกันทั่วไปตามหน่วยงานห้างร้านที่เรานิยมเรียกกันว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal computer) หรือที่เรียกบ่อยๆ ว่า “เครื่องพีซี”

๒.  เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม  คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารที่เรารู้จักกันทั่วไป แต่ในที่นี้เราหมายถึงเทคโนโลยีสำหรับรับและส่งข้อมูล และรายงานสารสนเทศผ่านระยะทางที่ห่างไกล  เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว  อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคม ได้แก่ โทรศัพท์ โทรสารและโทรศัพท์มือถือระบบต่างๆ  นอกจากนี้ยังรวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่ช่วยให้การสื่อสารโทรคมนาคมเป็นไปอย่างกว้างขวาง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น เทคโนโลยีสื่อสารด้วยระบบไมโครเวฟ เทคโนโลยีดาวเทียมสื่อสาร เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีเส้นใยนำแสง เป็นต้น

นอกจากเทคโนโลยี ๒ สาขาใหญ่ข้างต้นแล้ว  เทคโนโลยีสารสนเทศยังเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการพิมพ์ การถ่ายภาพ ตลอดจนเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติต่างๆ อีกด้วย

อาจกล่าวโดยสรุป  เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT)  หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน  โดยอาศัยเทคโนโลยีโทรคมนาคมและการสื่อสารเพื่อรวบรวมข้อมูล จัดเก็บ บันทึก ประมวลผล ค้นหาและค้นคืน แสดงผล สื่อสารข้อมูลหรือเผยแพร่สารสนเทศเพื่อการใช้ประโยชน์  เนื่องจากเทคโนโลยีโทรคมนาคมได้ถูกพัฒนาทำให้การสื่อสารในลักษณะระบบเครือข่ายที่สำคัญเป็นที่รู้จักกันดี คือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เทคโนโลยีโทรคมนาคมและการสื่อสารจึงเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศและอาจเรียกเทคโนโลยีสารสนเทศว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที (Information and Communication Technology : ICT) (มาลี ล้ำสกุล, ๒๕๔๖ : ๕-๖  อ้างถึงใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๔ : ๒๐)

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT)  ได้เข้ามามีความสำคัญเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนเราในแทบทุกด้าน  ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งตายไปจากโลกนี้ไป  และเทคโนโลยีสารสนเทศยังเข้าไปมีบทบาทในองค์กรโดยส่วนใหญ่ได้นำ IT เข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานต่างๆ นับไม่ถ้วน  ตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดเจน คือ บริษัท ห้างร้าน และหน่วยงานของรัฐบาลซึ่งโดยปกติหน่วยงานเหล่านี้จะมีเครื่องโทรศัพท์และโทรสาร  สำหรับใช้ในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่น  เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง  เครื่องโทรศัพท์และโทรสารเหล่านี้จัดว่าเป็นอุปกรณ์ IT ขั้นต้น  ต่อมาเมื่อโลกเรามีวิวัฒนาการจนเข้าสู่ยุคใหม่คือยุคปัจจุบัน  การประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ IT ประเภทต่างๆ จึงมีออกมาจำหน่ายอย่างมากมาย  อุปกรณ์ที่มีความสำคัญหรืออยู่ใกล้ตัวเราคือ         เครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer) ซึ่งปัจจุบันได้กลายมาเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเทียบเท่ากับมันสมองหรือประสาทมนุษย์เพราะทำหน้าที่ช่วยบริหารและควบคุมการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานหรือบริษัทห้างร้านทั่วไป  นอกจากนี้ยังมีหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือทำหน้าที่เป็นระบบและอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ช่วยให้มนุษย์เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะอยู่แห่งหน ตำบลใดบนโลกใบนี้ (ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ, ๒๕๔๙ : ๑๑-๑๒)

เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่างๆ ได้แก่ การทำงานที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่ การเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นเครือข่าย และการเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมสารสนเทศ  ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเด็นหลักได้ดังนี้ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๔ : ๒๐-๒๑)

๑.  การทำงานที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่  เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญทำให้กระบวนการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ภายในองค์กรหรือธุรกิจมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้น  สามารถทำงานได้ทุกสถานที่อย่างสะดวก รวดเร็ว ใช้งานง่าย รวมทั้งสนับสนุนการทำงานและการใช้บริการอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาเท่ากับเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตอีกทางหนึ่งด้วย

๒.  การเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นเครือข่าย  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันทั้งภายในและภายนอกองค์กรผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำได้ง่าย สะดวก สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อให้การทำงานใกล้ชิดกันมากขึ้น  รวมทั้งสายงานการบังคับบัญชามีการเปลี่ยนแปลงเป็นแนวราบมากขึ้น  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการดีขึ้นและมีความเข้าใจที่ตรงกัน  ในการทำให้องค์กรหรือธุรกิจเติบโตเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน

๓.  การเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมสารสนเทศ  ปัจจุบันสารสนเทศเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกคนตั้งแต่ผู้ใช้งานทั่วไปจนถึงผู้บริหาร  จึงมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการสนเทศตั้งแต่การผลิต จัดเก็บและค้นคืน  เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทุกระดับผ่านช่องทางการให้บริการที่สะดวกและรวดเร็ว

นอกจากนี้สารสนเทศยังเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม  มนุษย์มีความต้องการที่จะแสวงหาสารสนเทศเพิ่มมากขึ้นเพื่อนำมาสนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อประกอบการตัดสินใจหรือเพื่อการแข่งขัน  การได้รับสารสนเทศที่ถูกต้องในรูปแบบที่พึงพอใจและในช่วงเวลาที่ต้องการเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำรงชีวิตประจำวัน  ไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในวงการธุรกิจ อุตสาหกรรม การแพทย์ การศึกษา หรือผู้ที่ประกอบอาชีพอื่นๆ ในสังคมยุคข่าวสารซึ่งเป็นยุคที่มีการแข่งขันสูง  สารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีการเผยแพร่กระจายมากมายและรวดเร็ว  ผู้ที่สารสนเทศในมือจะเป็นผู้ได้เปรียบมากกว่าผู้อื่นและเป็นผู้มีอำนาจ

สารสนเทศมีความสำคัญมากในหลายๆ ด้าน  อาทิ (มยุรี จุลกัณฑ์, ๒๕๓๘  อ้างถึงใน คณาจารย์สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, ๒๕๔๔ : ๗)

๑.  ด้านการศึกษา  สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอน การเขียนหนังสือ ตำราเรียน บทความ และรายงานการค้นคว้าต่างๆ

๒.  ด้านการวิจัย  ข้อมูลสถิติต่างๆ นำไปใช้ในการวิจัยด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

๓.  ด้านธุรกิจ  ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยสามารถนำไปใช้ประกอบวางแผนและการตัดสินใจทางธุรกิจ  เพื่อการแข่งขันทางการค้า การวิจัยตลาด และการวางแผนทางด้านธุรกิจ

๔.  ด้านการเมืองและการปกครอง  ข้อมูลสถิติต่างๆ สามารถใช้ประกอบการวางแผนและการตัดสินใจ การแก้ไขปัญหาต่างๆ  นอกจากนี้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์สามารถนำมาเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้รับความรู้ เป็นเครื่องมือสำคัญในการปกครองประเทศ

๕.  ด้านบันเทิง  รายการบันเทิงทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์อาศัยข้อเท็จจริง ความรู้ ข่าวสารต่างๆ มาผูกเป็นเรื่องราวต่างๆ เพื่อให้ความสนุกสนานและสอดแทรกสาระความรู้ให้แก่ผู้ชมและผู้ฟังทางบ้าน

๖.  ด้านชีวิตประจำวัน  ข่าวสาร ข้อเท็จจริง และความรู้ จัดเป็นอาหารสมองที่ประชาชนส่วนใหญ่จะต้องบริโภคเป็นประจำวันไม่แพ้อาหารหลัก

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

ตามที่ได้อธิบายมาตั้งแต่ต้นอาจสรุปได้ว่าระบบสารสนเทศนั้นเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์อย่างแน่นอน  เพราะหากปราศจากคอมพิวเตอร์แล้วเราคงไม่สามารถจัดทำรายการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานได้อย่างสะดวก รวดเร็วและครบถ้วนสมบูรณ์  อย่างไรก็ตามคำว่าระบบสารสนเทศนั้นเป็นคำกลางๆ และอาจมีความหมายครอบคลุมถึงการจัดทำระบบสารสนเทศโดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ได้อีกนัยหนึ่ง เช่น หน่วยงานห้างร้านหลายแห่งอาจมีระบบสารสนเทศสำหรับใช้งานอยู่แล้วโดยไม่ได้ใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วเหมือนระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ  ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าระบบสารสนเทศที่กล่าวถึงนี้เป็นระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์

ระบบสารสนเทศที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน มีองค์ประกอบที่สำคัญ ๖ ประการ คือ (ประสิทธิ      ทีฆพุฒิ, ๒๕๔๙ : ๒๓)

๑.  คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (Hardware)  หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ

๒.  ซอฟท์แวร์ (Software)  หมายถึง ชุดคำสั่งที่ใช้สำหรับสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ

๓.  ข้อมูล (Data)  หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เราสนใจจะบันทึกเก็บไว้เพื่อใช้วิเคราะห์ให้ทราบสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน

๔.  ระบบสื่อสารข้อมูล (Data Communication System)  หมายถึง อุปกรณ์ระบบโทรคมนาคมและข้อตกลงที่ทำให้หน่วยงานสามารถส่งข้อมูลและรายงานข้ามไปยังผู้รับที่อยู่ห่างไกล

๕.  บุคลากร (People ware)   หมายถึง ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดำเนินงาน  และจัดการให้เกิดระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสำหรับหน่วยงาน

๖.  ระเบียบ ปฏิบัติ และคู่มือ (Procedures)  หมายถึง ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ และคู่มือการใช้ระบบสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้ และมั่นคงปลอดภัย

ประเภทของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์กร แบ่งออกเป็น ๖ ประเภท คือ (วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา, ๒๕๔๒ : ๑๔๙-๑๕๔)

๑.  ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ (Transaction Processing System : TPS)  ระบบการประมวลผลทางธุรกิจมักเป็นการประมวลผลแบบวันต่อวัน เช่น การรับ-จ่ายบิล  ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง  ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง  ระบบการรับ-จ่ายสินค้า เป็นต้น  ระบบนี้เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์

๒.  ระบบสารสนเทศเพื่อจัดการ (Management Information System : MIS)  ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ต้องการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการช่วยงานแบบวันต่อวัน MIS จึงมีความสามารถในการคำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล  ซึ่งมีความหมายต่อการจัดการและบริหารงานเป็นอย่างมาก  นอกจากนั้นระบบนี้ยังสามารถสร้างสารสนเทศที่ถูกต้องและทันสมัยอีกด้วย  โดยทั่วไป MIS มักรวมระบบ TPS เข้าไว้ด้วย

๓.  ระบบช่วยตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)  ระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียมสารนิเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ  หากเป็นการใช้โดยผู้บริหารระดับสูง เรียกระบบนี้ว่า “ระบบสนับสนุนการตัดสินเพื่อผู้บริหารระดับสูง” (Executive Support System : ESS)  บางครั้งสารสนเทศที่ TPS และ MIS ไม่สามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้จำเป็นต้องพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจ DSS ขึ้นเพื่อช่วยในการตัดสินใจภายใต้ผลสรุปและการเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งอื่น ทั้งภายในและภายนอก  โดยเฉพาะอย่างยิงเพื่อช่วยในการรวมบริษัทและการหาบริษัทร่วม การขยายโรงงานผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น

๔.  ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS)  ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น  โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัสเพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกัน ทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง

๕.  ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS)  ระบบสารสนเทศที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุดโดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน  OAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษส่งข่าวสารถึงกันด้วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) แทน  ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน ๒ ลักษณะ คือ

๕.๑)  รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์  ได้แก่ การสื่อสารด้วยข้อความ รูปภาพ E-mail FAX หรือเสียง เป็นต้น

๕.๒)  รูปแบบการประชุมทางไกลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การประชุมทางไกลแบบมีแต่เสียง (Audio Conferencing)  การประชุมทางไกลแบบมีทั้งภาพและเสียง (Video Conferencing) เป็นต้น

๖.  ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Artificial Intelligence/Expert System)  ระบบที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการในสาขาใดสาขาหนึ่ง  คล้ายกับมนุษย์  ระบบนี้จะได้รับความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์เหตุผลเพื่อตัดสินใจ  ความรู้ที่เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้ (Knowledge Base) และกฎข้อวินิจฉัย (Inference Rule) ซึ่งเป็นความสามารถเฉพาะที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินจำได้เอง เช่น การวินิจฉัยความผิดพลาดของรถจักรดีเซลเซลไฟฟ้าโดยใช้คอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ

          ประสิทธิภาพ (Efficiency)

๑.  ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น  โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุง้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็ว เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ประจำบ้านมีขีดความสามารถในการทำงานถึง 450 ล้านคำต่อนาที (million instructions per second)

๒.  ระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่  หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย

๓.  ช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว  การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที

๔.  ช่วยลดต้นทุน  การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก

๕.  ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดี  โดยเฉพาะหาระบบสารสนเทศนั้นออกแบบเพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของ   ซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น

          ประสิทธิผล (Effectiveness)

๑.  ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร  เช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support systems) หรือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive support systems) จะเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น อันจะส่งผลให้การดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ไว้ได้

๒.  ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/บริการที่เหมาะสม  ระบบสารสนเทศจะช่วยทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ราคาในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่  หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความเชี่ยวชาญหรือทรัพยากรที่มีอยู่

๓.  ระบบสารสนเทศช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ดีขึ้น  ระบบสารสนเทศทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้าสามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น  ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วย

๔.  ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)  ปัจจุบันระบบสารสนเทศได้มีการนำมาให้ตลอดทั้งระบบซัพพลายเชน (Supply Chain) เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

๕.  คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Working Life)  ระบบสารสนเทศจะต้องได้รับการออกแบบออกมาเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความต้องการของมนุษย์และประสิทธิภาพของเทคโนโลยีด้วย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง