หน้าที่ของการจัดการทางการเงินคืออะไร

การจัดการทางการเงินอาจถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่หรือหน้าที่ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการทำกำไรค่าใช้จ่ายเงินสดและเครดิตเพื่อให้ "องค์กรมีวิธีที่จะดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้อย่างน่าพอใจที่สุด" [1]หลังมักจะกำหนดให้เป็นการเพิ่มมูลค่าของ บริษัทสำหรับผู้ถือหุ้นผู้จัดการการเงิน[2] (FM) เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่รายงานโดยตรงต่อผู้บริหารระดับสูงซึ่งมักเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน (FD); ฟังก์ชั่นถูกมองว่าเป็น'พนักงาน'และไม่'เส้น'

บทบาท

โดยทั่วไปการจัดการทางการเงินเกี่ยวข้องกับการจัดการเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นโดยเน้นที่สินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนและการจัดการความผันผวนของสกุลเงินต่างประเทศและวัฏจักรของผลิตภัณฑ์ซึ่งมักจะผ่านการป้องกันความเสี่ยง (ดูการเงินขององค์กร§การจัดการความเสี่ยงทางการเงิน ) ฟังก์ชั่นนอกจากนี้ยังมีรายละเอียดวันต่อวันจัดการที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิภาพของเงินทุนและทำให้คาบเกี่ยวบริหารเงิน นอกจากนี้ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับระยะยาวการจัดการเชิงกลยุทธ์ทางการเงินที่มุ่งเน้นการ IA โครงสร้างเงินทุนการจัดการรวมถึงการระดมทุนงบประมาณเงินทุน (จัดสรรทุนระหว่างหน่วยธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์) และนโยบายการจ่ายเงินปันผล ; หลังเหล่านี้ในองค์กรขนาดใหญ่เป็นโดเมนของ " การเงินขององค์กร " มากกว่า

งานเฉพาะ:

  • กำไรสูงสุดที่เกิดขึ้นเมื่อต้นทุนเท่ากับรายได้ร่อแร่นี่คือวัตถุประสงค์หลักของการจัดการทางการเงิน
  • การรักษากระแสเงินสดให้เหมาะสมเป็นวัตถุประสงค์ระยะสั้นของการจัดการทางการเงิน จำเป็นสำหรับการดำเนินงานที่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายประจำวันเช่นค่าวัตถุดิบค่าไฟฟ้าค่าจ้างค่าเช่าเป็นต้นกระแสเงินสดที่ดีทำให้ บริษัท อยู่รอดได้ ดูการคาดการณ์กระแสเงินสด
  • การลดต้นทุนเงินทุนในการจัดการทางการเงินสามารถช่วยให้การดำเนินงานได้รับผลกำไรมากขึ้น
  • การประมาณความต้องการเงินทุน: [3]ธุรกิจต่างๆทำการคาดการณ์เกี่ยวกับเงินทุนที่จำเป็นทั้งในระยะสั้นและระยะยาวดังนั้นจึงสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของการระดมทุนได้ การประมาณจะขึ้นอยู่กับงบประมาณเช่นงบประมาณการขาย , งบประมาณในการผลิต ; เห็นนักวิเคราะห์งบประมาณ
  • การกำหนดโครงสร้างเงินทุน : โครงสร้างเงินทุนเป็นวิธีที่ บริษัท จัดหาเงินทุนให้กับการดำเนินงานโดยรวมและการเติบโตโดยใช้แหล่งเงินทุนที่แตกต่างกัน [4]เมื่อประมาณการความต้องการของเงินแล้วผู้จัดการการเงินควรตัดสินใจว่าจะใช้หนี้และตราสารทุนรวมทั้งประเภทของหนี้ด้วย

ความสัมพันธ์กับสาขาการเงินอื่น ๆ

การเงินสองด้านทับซ้อนกันโดยตรงกับการจัดการทางการเงิน: (i) การเงินการจัดการเป็นสาขาการเงิน (วิชาการ) ที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญของการบริหารจัดการของเทคนิคทางการเงิน (ii) การเงินขององค์กรส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณเงินทุนระยะยาวและโดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับองค์กรขนาดใหญ่มากกว่า

การจัดการการลงทุนที่เกี่ยวข้องคือการจัดการสินทรัพย์ระดับมืออาชีพของหลักทรัพย์ต่างๆ(หุ้นพันธบัตรและหลักทรัพย์ / ทรัพย์สินอื่น ๆ ) ในบริบทของการจัดการทางการเงินฟังก์ชั่นนี้อยู่กับคลัง โดยปกติแล้วการจัดการตราสารระยะสั้นต่างๆที่เหมาะสมกับข้อกำหนดการจัดการเงินสดและสภาพคล่องของ บริษัท ดูการจัดการธนารักษ์§ฟังก์ชั่น

คำว่า "การจัดการทางการเงิน" หมายถึงกลยุทธ์ทางการเงินของ บริษัท ในขณะที่การเงินส่วนบุคคลหรือการจัดการชีวิตทางการเงินหมายถึงกลยุทธ์การจัดการของแต่ละบุคคล วางแผนทางการเงินหรือการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลเป็นมืออาชีพที่เตรียมแผนทางการเงินที่นี่

ดูสิ่งนี้ด้วย

  • การจัดการทางการเงินสำหรับบริการไอทีการจัดการทางการเงินของทรัพย์สินและทรัพยากรด้านไอที
  • Financial Management Serviceซึ่งเป็นสำนักงานของกระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกาซึ่งให้บริการทางการเงินสำหรับรัฐบาล
  • การจัดการทางการเงินที่ผิดพลาด

อ้างอิง

  1. ^ "ฮาวเวิร์ดและ Opton, การเงินธุรกิจและการจัดการทางการเงิน" อัพฟิน่า. สืบค้นเมื่อ2015-11-04 .
  2. ^ ผู้จัดการฝ่ายการเงิน ,สำนักงานสถิติแรงงาน
  3. ^ นักวิเคราะห์งบประมาณสำนักสถิติแรงงาน
  4. ^ "นิยามโครงสร้างเงินทุน | Investopedia" . Investopedia . สืบค้นเมื่อ2015-11-04 .

อ่านเพิ่มเติม

  • Lawrence Gitman และ Chad J.Sutter (2019). หลักการบริหารการเงินฉบับที่ 14 สำนักพิมพ์แอดดิสัน - เวสลีย์ ISBN  978-0133507690
  • ไคลฟ์มาร์ช (2552). Mastering Financial Management , Financial Times Prentice Hall ไอ 978-0-273-72454-4
  • James Van Horne และ John Wachowicz (2009) พื้นฐานของการจัดการทางการเงิน , 13th ed., Pearson Education Limited ไอ 9705614229

สวัสดี ครับ

วันนี้เป็นวันแรกที่เราเขียนเรื่องการบริหารด้านการเงิน เพราะน้องๆ และเพื่อนๆ หลายท่านอยากให้อธิบายเกี่ยวกับการบริหารด้านการเงินสำหรับองค์กร และ บริษัททั่วไปเพื่อนำไปใช้ในการปฎิบัติให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น เราก็ยินดีที่จะรับมาดำเนินการให้ตามที่เสนอมาครับ  ซึ่งในบทความหลังๆ ต่อไปจากนี้ จะมีความยากมากขึ้น และอาจจะมีบางส่วนเกี่ยวกับการคำนวณด้วยครับ ขอให้โปรดติดตามต่อไปเรื่อยๆ นะครับ

ความหมายของการบริหารการเงิน 

การบริหารการเงิน หมายถึง การวางแผนการจัดระเบียบและการควบคุมกำกับกิจกรรมทางการเงินเช่นการจัดซื้อ และการใช้ประโยชน์จากเงินทุนขององค์กร ซึ่งใช้หลักการบริหารงานทั่วไปของทรัพยากรทางการเงินขององค์กร

ขอบเขตการดำเนินงาน

  1. การตัดสินใจลงทุนรวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (เรียกว่า Capital budgeting) การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนยังคงเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจในการลงทุนที่เรียกว่าการทำงานด้านการตัดสินใจลงทุนเช่นเดียวกัน และจะมีความสำคัญๆ อย่างมากสำหรับบริษัท หรือ องค์กรที่มีเงินสดเยอะๆ ในแต่ละเดือน หรือ ไตรมาส แต่เป็นเงินสดแบบหมุนเวียนเร็ว การบริหารงานแบบลงทุนระยะสั้น จะมีความสำคัญๆ อย่างมาก
  2. การตัดสินใจทางการเงิน  จะเป็นการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับการระดมเงินทุนจากแหล่งต่างๆ  ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเกี่ยวกับชนิดของแหล่งเงินทุนที่มีอยู่ และค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนของเงินทุนที่ใช้ในการบริหาร เช่น เป็นเงินกู้ระยะยาว หรือ ระยะสั้น  หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุนที่คาดหวังที่จะได้รับ เป็นต้น
  3. การตัดสินใจเกี่ยวกับผลตอบแทน  ผู้จัดการฝ่ายการเงินมีหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการกระจายการลงทุน และการบริหารผลกำไรที่เกิดขึ้นจากเงินลงทุนเหล่านั้น  ซึ่งกำไรสุทธิ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ
    • เงินปันผลที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้น และ อัตราการจ่ายเงินปันผลจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ และเป็นธรรม
    • กำไรสะสมขององค์กร จะต้องพิจารณาให้มีปริมาณที่เหมาะสม และเพียงพอสำหรับการวางแผนการขยายงานในอนาคตขององค์กร หรือ บริษัท โดยจะต้องมีการพิจารณาร่วมกับฝ่ายการตลาด  ฝ่ายการผลิต และ ผู้บริหารระดับสูง 

วัตถุประสงค์ของการจัดการทางการเงิน 

การจัดการทางการเงินมักจะมีความกังวลโดยทั่วไปเกี่ยวกับการจัดหาแหล่งเงินทุน เช่น การกู้ยืม หรือ การควบคุมการใช้จ่ายของเงินทุน ซึ่งสามารถแบ่งวัตถุประสงค์การจัดการทางการเงินออกเป็น ดังนี้

  1. การบริหารเงินเพื่อให้แน่ใจว่า คุณมีเงินทุนเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจหรือบริหารงานได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว
  2. การบริหารเงินเพื่อให้แน่ใจว่า ผลตอบแทนที่คุณได้รับจากการลงทุนในโครงการต่างๆ หรือ เข้าไปถือหุ้นในบริษัทต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์ ให้ผลตอบแทนด้านเงินปันผลที่เพียงพอและคุ้มค่ากับการลงทุน
  3. การบริหารเงินเพื่อให้แน่ใจว่า การลงทุนในโครงการต่างๆ หรือ กิจการต่างๆ ภายในองค์กร และบริษัทฯ เป็นไปอย่างเหมาะสม และถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการเบิกจ่ายเงินไปใช้
  4. การบริหารเงินเพื่อให้แน่ใจว่า เงินทุนที่มีอยู่ถูกใช้ในธุรกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสม และถูกต้องตามมาตรฐานการลงทุนทางการเงิน และได้ผลตอบแทนตามที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
  5. การบริหารเงินเพื่อให้แน่ใจว่า แผนการลงทุนต่างๆ ที่ได้ทำการวิเคราะห์อย่างยากเย็นแสนเข็ญ ได้ดำเนินการตามที่วางแผนไว้ และได้รับผลตอบแทนคุ้มกับการวางแผนไว้ล่วงหน้า มีความถูกต้องแม่นยำ หรือ มีความผิดพลาดในส่วนใด จะได้นำกลับมาแก้ไขปรับปรุงสำหรับการวางแผนทางการเงินในครั้งต่อๆ ไป

ฟังก์ชั่นของการจัดการทางการเงิน

  1. การประมาณค่าของความต้องการของการลงทุน : ผู้จัดการฝ่ายการเงินจะเป็นผู้ทำหน้าที่พยากรณ์และทำการวางแผนทางการเงิน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามผลตอบแทนทางการเงินขององค์กร หรือ บริษัท และจะต้องบริหารค่าใช้จ่ายในการลงทุนทางการเงิน ให้มีความเหมาะสม กับปริมาณเงินทุนขององค์กร หรือ บริษัท
  2. ความมุ่งมั่นในการลงทุน : เมื่อผู้จ้ดการฝ่ายการเงินได้ทำการวางแผนการลงทุน ในองค์ประกอบต่างๆ ด้วยสัดส่วนทางการเงินที่ชัดเจน ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนในธุรกรรมทางการเงินในแต่ละประเภท
  3. แหล่งที่มาของเงินทุน : สำหรับการเพิ่มเงินกองทุนของบริษัทฯ มีทางเลือกมากมาย เช่น
    • การขายหุ้นสามัญบริษัท  
    • การขายหุ้นกู้ระยะกลาง และระยะยาว
    • การกู้ยืมธนาคาร และสถาบันการเงิน
  4. แผนการลงทุนของบริษัทฯ :  ผู้จัดการฝ่ายการเงินจะต้องมีการตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการลงทุนในธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบต่างๆ ที่มีความเหมาะสม ปลอดภัย และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
  5. การบริหารกำไรส่วนเกินต่างๆ : ผู้จัดการฝ่ายการเงินจำเป็นจะต้องมีการวางแผนบริหารเงินทุนของบริษัท หรือ องค์กร ที่เป็นกำไรส่วนเกินที่เป็นทั้งระยะสั้นๆ และระยะกลาง เช่น บริษัท ABC ทำธุรกิจขายสินค้าอุปโภคบริโภค เปิดดำเนินการ 24 ชั่วโมง ทำให้มีเงินสดหมุนเวียนเข้ามาในกิจการเป็นจำนวนมาก เพราะมีหลายสาขา ผู้จัดการฝ่ายการเงินมีหน้าที่ต้องบริหารการลงทุนด้านเงินสดที่มีมากและคงอยู่ในระยะสั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีความปลอดภัยเพราะเป็นเงินทุนระยะสั้น
  6. การควบคุมทางการเงิน : ผู้จัดการทางการเงินไม่เพียงแต่ต้องวางแผนทางการเงินภายในองค์กร หรือกิจการเท่านั้น แต่จะต้องมีเครื่องมือที่สำคัญๆ สำหรับการวิเคราะห์และพยากรณ์อัตราเงินสดไหลเข้า และ อัตราเงินสดไหลออก ของกิจการให้ได้ด้วยความแม่นยำ ถูกต้องตามช่วงเวลาต่างๆ

สุดท้ายนี้ขอเตือนผู้จัดการฝ่ายการเงิน และนักวางแผนทางการเงินทุกๆ ท่านๆ ให้พัฒนาเครื่องมือทางการเงินที่สามารถตรวจจับสภาพคล่องทางการเงินของกิจการท่าน ให้มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง แม่นยำ และสามารถพยากรณ์ได้ล่วงหน้า เพราะองค์กรส่วนใหญ่จะมีปัญหาในการบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงิน และการวางแผนการลงทุนในโครงการต่างๆ ผิดพลาดไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และผลตอบแทนที่ได้รับไม่คุ้มค่ากับการลงทุนที่เสียไป เกิดจากขาดการเปรียบเทียบการลงทุนในธุรกรรมอื่นๆ หรือ การขาดเครื่องมือในการบริหารจัดการที่เพียงพอ เป็นต้น  ก็ขออธิบายเพียงสั้นๆ สำหรับการเริ่มต้นไว้เพียงเท่านี้ก่อน และจะขออธิบายรายละเอียดในครั้งต่อๆ ไป ครับ

ขอให้ทุกๆ ท่านมีความสุข ประสบแต่ความโชคดี พบมิตรที่ดี

เอกกมล เอี่ยมศรี

ผู้เรียบเรียง

//www.interfinn.com 

//eiamsri.wordpress.com 

กุมภาพันธ์ 23, 2013 - Posted by | Financial Management | Financial Management

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง