ซอฟต์แวร์ที่ใช้สําหรับประมวลผลข้อมูล มีอะไรบ้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ซอฟต์แวร์ (อังกฤษ: software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง[1] คือ ส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล เป็นชุดคำสั่งที่บอกวิธีการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งตรงกันข้ามกับฮาร์ดแวร์ที่เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถจับต้องได้ ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมซอฟต์แวร์นั้น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ คือ ข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับการประมวลผลโดยระบบคอมพิวเตอร์ และ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์, ไลบรารี และ ข้อมูลที่ไม่สามารถเรียกใช้งานได้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อาทิ เอกสารออนไลน์หรือสื่อดิจิทัล คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งจำเป็นต้องมีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ และหากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไป จะไม่สามารถใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ได้

ในระดับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ต่ำที่สุด โค้ดปฏิบัติการนั้น ประกอบด้วย คำสั่งภาษาเครื่อง (machine language) ที่โปรเซสเซอร์ (processor) แต่ละตัวรองรับ โดยทั่วไปคือหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หรือ หน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ภาษาเครื่อง ประกอบด้วย กลุ่มค่าไบนารี (เลขฐานสอง) ที่แสดงถึงคำสั่งของตัวประมวลผลที่ได้เปลี่ยนสถานะของคอมพิวเตอร์จากสถานะก่อนหน้า เช่น คำสั่งภาษาเครื่องอาจเปลี่ยนค่าที่จัดเก็บไว้ในตำแหน่งจัดเก็บเฉพาะในคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ใช้ไม่สามารถสังเกตเห็นได้โดยตรง หรือ คำสั่งนั้นอาจเป็นการเรียกอินพุตหรือเอาต์พุตอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถมองเห็นได้ เช่น การแสดงข้อความบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ โปรเซสเซอร์จะดำเนินการตามคำสั่ง ตามลำดับที่ระบุไว้ เว้นแต่จะได้รับคำสั่งให้ "ข้าม" ไปยังคำสั่งอื่น หรือ ระบบปฏิบัติการถูกขัดจังหวะ ในปี ค.ศ.2015 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล อุปกรณ์สมาร์ทโฟน และ เซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่ มีหน่วยประมวลผลที่มีหน่วยประมวลผลหลายหน่วย (่multiple execution unit) หรือโปรเซสเซอร์หลายตัว ทำการคำนวณร่วมกันและการประมวลผล ทำให้ส่วนโปรเซสเซอร์สามารถทำงานร่วมกันในเวลาพร้อม ๆ กัน (concurrent activity) มากกว่าระบบโปรเซสเซอร์ในอดีต

ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ

ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมระดับสูง (high-level programming language) ซึ่งง่ายกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าสำหรับโปรแกรมเมอร์ เพราะใกล้เคียงกับภาษาธรรมชาติที่มนุษย์ใช้มากกว่าภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องโดยใช้คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเตอร์พรีตเตอร์ (interpreter) หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ซอฟต์แวร์อาจเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีระดับต่ำ (assembly language) ซึ่งมีความสอดคล้องกับคำสั่งภาษาเครื่องของคอมพิวเตอร์อย่างมาก และ ภาษาแอสเซมบลีจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องโดยใช้แอสเซมเบลอร์ (assembler)

นิรุกติศาสตร์

คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ

ความสัมพันธ์กับฮาร์ดแวร์

ซอฟต์แวร์ เป็นชื่อเรียกเพื่อใช้เปรียบต่างกับฮาร์ดแวร์ ซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพในการเก็บและประมวลผลของซอฟต์แวร์ ในคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์จะถูกเรียกใช้งานในแรมและประมวลผลผ่านซีพียู

ประเภทของซอฟต์แวร์

หน้าจอของโปรแกรมประยุกต์ เว็บเบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์

การแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็นหลายแบบ เช่น

  1. การแบ่งเชิงเทคนิค อาจแบ่งซอฟต์แวร์เป็น 3 ประเภทหลักคือ
    • ซอฟต์แวร์ระบบ (System/Infrastructure software) ใช้ในการทำให้คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ได้ โดยรวมถึงระบบปฏิบัติการ ไดรเวอร์ และระบบหลักของคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ
    • โปรแกรมประยุกต์ หรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถดำเนินงานต่าง ๆ โดยทั่วไปเช่น โปรแกรมสำนักงาน ฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์เกม เว็บเบราว์เซอร์ โดยโปรแกรมประยุกต์จะมีจียูไอ
    • โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Tools/Utilities) ประกอบไปด้วยเครื่องมือช่วยให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมอื่น ๆ หรือโปรแกรมประยุกต์ได้ เครื่องมือต่าง ๆ ประกอบไปด้วย คอมไพเลอร์ อินเตอร์พรีเตอร์ ดีบักเกอร์
  2. การแบ่งตามรูปแบบการส่งมอบ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
    • ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package software) ซอฟต์แวร์ที่มีการขาย ให้เช่า หรือให้บริการ โดยคิดค่าบริการเป็น transaction หรือ license
    • ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเงินเดือน (Outsources software development) เป็นการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานเฉพาะกับงานประเภทต่าง ๆ เฉพาะกิจกรรมไป ส่วนใหญ่ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นี้จะเป็นของผู้ที่ว่าจ้างให้พัฒนาขึ้น
  3. การแบ่งตามประเภทของการนำไปใช้งานหลัก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
    • ซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการทั่วไป (Enterprise software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับการทำงานเพื่อแก้ปัญหา/จัดการทรัพยากรของ บุคคล/องค์กร เช่น ซอฟต์แวร์บัญชี ซอฟต์แวร์จัดทำเอกสาร เป็นต้น
    • ซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก (Mobile applications software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานผ่านระบบปฏิบัติการพิเศษบนอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ (1) ซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมทางธุรกิจ (Business applications) เช่น Mobile banking, Mobile payment, GPS on Mobile, Mobile applications for business process management และ(2) ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการและบันเทิง (Entertainment applications) ซึ่งรวมเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
    • ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (Embedded System Software) เป็นซอฟต์แวร์ซึ่งฝังอยู่ไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อใช้สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น ระบบ GPRS ระบบทำความเย็นอัจริยะ ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นต้น

ซอฟต์แวร์ กับ ไลบรารี

ซอฟต์แวร์แตกต่างกับไลบรารี คือซอฟต์แวร์สามารถนำมาประมวลผลได้ด้วยตัวเอง ในขณะที่ไลบรารีเป็นส่วนประกอบของซอฟต์แวร์และไม่สามารถนำมาใช้ประมวผลด้วยตนเองได้

อ้างอิง

  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน (มักเข้าใจผิดกันว่าราชบัณฑิตยสถานบัญญัติคำว่า ละมุนภัณฑ์ ซึ่งไม่ถูกต้อง)

ดูเพิ่ม

  • ฮาร์ดแวร์
  • วิศวกรรมซอฟต์แวร์
  • กระด้างภัณฑ์และละมุนภัณฑ์

ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล มีกี่ประเภท

เครื่องมือประมวลผลข้อมูลแบ่งได้ 3 แบบ ▶การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) ▶การประมวลผลด้วยเครื่องไฟฟ้า-จักรกล (Electro-Mechanical Data Processing) ▶การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Data Processing)

ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานมีอะไรบ้าง

ตัวอย่างประเภทของซอฟต์แวร์.
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เช่น Windows, iOS..
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เช่น Microsoft Word. ... .
ซอฟต์แวร์เขียนโปรแกรม (Programming Software) เช่น Eclipse. ... .
ซอฟต์แวร์ไดร์เวอร์ (Driver Software) เช่น ... .
ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ (Utility Software) เช่น.

ซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล มี 5 ข้อ คืออะไรบ้าง

โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ... .
Microsoft Access. ... .
FoxPro. ... .
dBase. ... .
SQL Server..

ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำหมายถึงอะไร

1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง