ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลขับรถใดได้บ้าง

รู้ไว้ก่อนขับรถ ชนิดของใบขับขี่มีอะไรบ้าง?

จะขับรถออกนอกถนนใหญ่ ตามกฏของจราจรก็ต้องมีใบขับขี่ ใครยังไม่มีใบขับขี่ก็ต้องไปทำให้เรียบร้อย จะได้ขับรถได้อย่างสบายใจ จะขับรถเช่าหรือเป็นรถส่วนตัวก็ไม่ต้องกังวล แต่รู้หรือไม่ ว่าใบขับขี่มีการแบ่งประเภทแยกย่อยอีกมากมาย ชนิดของใบอนุญาตขับขี่มีอะไรบ้างมาดูกัน

ชนิดของใบขับขี่

เรามาดูว่าชนิดของใบอนุญาตขับขี่มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีอายุกี่ปี

  1. ใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราว มีอายุ 1 ปี ประกอบไปด้วย
    – ใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราว
    – ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อชั่วคราว
    – ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว
    * และหลังจากได้รับใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราวครบ 1 ปี จะได้ต่ออายุใบขับขี่เป็นใบอนุญาตขับรถที่มีอายุมากกว่า 1 ปี ตามประเภทของรถและการขับขี่ เช่น การขับขี่ส่วนบุคคล หรือขับขี่สาธารณะ ดังข้อต่อไปนี้
  2. ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล มีอายุ 5 ปี
  3. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล มีอายุ 5 ปี
  4. ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ มีอายุ 3 ปี
  5. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ มีอายุ 3 ปี
  6. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีอายุ 5 ปี
  7. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ มีอายุ 3 ปี
  8. ใบอนุญาตขับรถบดถนน มีอายุ 5 ปี
  9. ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์ มีอายุ 5 ปี
  10. ใบอนุญาตขับรถชนิดอื่นนอกจาก (1) ถึง (9) มีอายุ 5 ปี
  11. ใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี (ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ) มีอายุ 1 ปี

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมการขนส่งทางบก

ทำใบอนุญาตขับขี่ไม่ใช่เรื่องยาก หากคุณขับรถเป็น และรู้กฏจราจรอยู่แล้ว หาเวลาไปสอบใบขับขี่ก็ได้รับใบขับขี่มาไว้ เดินทางใกล้ไกลแค่ไหนก็อุ่นใจกว่า

มีใบขับขี่เรียบร้อย ต่อไปจะเช่ารถใช้งาน หรือซื้อรถมือสองสักคันก็ไม่ใช่เรื่องยาก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE: @changdrive

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ใบอนุญาตขับขี่ในประเทศไทย

ใบอนุญาตขับขี่ในประเทศไทย เป็นเอกสารซึ่งออกโดยกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม หรือกรมการขนส่งทหารบก ให้แก่บุคคลซึ่งมีความสามารถในการควบคุมยานพาหนะได้อย่างปลอดภัย ใบอนุญาตขับขี่ในประเทศไทยควบคุมโดยกฎหมายสามฉบับ คือ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522[1] พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522[2] และพระราชบัญญัติรถยนต์ทหาร พ.ศ. 2476[3] โดยมีกฎจราจรตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522[4]

ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก เอกสารซึ่งอนุญาตให้บุคคลทำการควบคุมยานพาหนะให้เคลื่อนไปในถนนเรียกว่า ใบอนุญาตขับขี่ ซึ่งกฎหมายอีกสามฉบับเรียกแตกต่างกัน กล่าวคือ พระราชบัญญัติรถยนต์ เรียกใบอนุญาตขับขี่ว่า ใบอนุญาตขับรถ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบกเรียกว่า ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ส่วนพระราชบัญญัติรถยนต์ทหาร ใช้ว่า ใบอนุญาตพิเศษสำหรับขับรถยนต์ทหาร ในบทความนี้ จะใช้คำ ใบอนุญาตขับขี่ เป็นหลัก

ใบอนุญาตขับขี่ในประเทศไทยต่างจากใบอนุญาตขับขี่ในประเทศตะวันตกบางประเทศ กล่าวคือ การฝึกหัดขับรถยนต์ไม่จำต้องมีใบอนุญาตฝึกขับรถยนต์ แต่เมื่อขับขี่จนชำนาญและสามารถผ่านท่าทดสอบจำนวน 3 ท่า ซึ่งกรรมการทดสอบเป็นผู้เลือกแล้ว จะได้รับในอนุญาตขับขี่ชั่วคราวหรือใบอนุญาตขับขี่จำกัดสิทธิ์ก่อนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แล้วจึงจะสามารถเปลี่ยนเป็นใบอนุญาตขับรถเต็มรูปแบบซึ่งต้องต่ออายุทุก ๆ 5 ปี หากปรากฏว่าต่อมาผู้ถือใบอนุญาตขับขี่ถูกลงโทษเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ต้องให้พ้นระยะเวลาสามปีนับแต่วันถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ จึงจะสามารถขอมีใบอนุญาตขับขี่อีกครั้งได้ โดยต้องเริ่มจากการขอใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราวใหม่[5]

นอกจากยานพาหนะทางถนนแล้ว ประเทศไทยกำลังอยู่ในขั้นตอนการจัดให้มีใบอนุญาตขับขี่สำหรับยานพาหนะทางรางด้วย ในเบื้องต้นจะแบ่งออกเป็น 6 ชนิด คือ รถจักรไอน้ำ รถจักรดีเซล รถจักรไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง รถราง และยานพาหนะทางรางประเภทอื่น[6]

ชนิดของใบอนุญาตขับขี่ในประเทศไทย[แก้]

ใบอนุญาตขับขี่สำหรับยานยนต์ขนาดเล็ก[แก้]

ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ใบอนุญาตขับขี่มีหลายชนิด[1] ผู้เริ่มขอมีใบอนุญาตขับขี่จะต้องรับการฝึกศึกษาในโรงเรียนการขนส่ง หรือโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง แล้วจึงเข้ารับการทดสอบที่โรงเรียนฯ เมื่อผ่านการทดสอบแล้วจะได้รับหนังสือรับรองเพื่อนำไปขอรับใบอนุญาตขับขี่ที่สำนักงานขนส่งอีกต่อหนึ่ง อีกวิธีหนึ่งคือ ผู้ขอมีใบอนุญาตขับขี่ฝึกขับรถกับผู้ที่มีใบอนุญาตขับขี่มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี (ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์) หรือครูสอนขับรถ โดยห้ามมิให้มีบุคคลอื่นอยู่ในรถนอกจากผู้ขับและผู้ควบคุม ​เมื่อชำนาญดีแล้วจึงเข้ารับการอบรมภาคทฤษฎี และสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติที่สำนักงานขนส่ง วิธีการนี้จะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าวิธีแรก แต่มีข้อเสียคือ หากสอบตกภาคปฏิบัติท่าหนึ่งจะต้องนัดสอบในสามวันทำการถัดไปเป็นอย่างน้อยเฉพาะท่าที่ตก ทำให้เสียเวลามาก ในชั้นนี้ผู้ขอใบอนุญาตขับขี่จะได้ใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราว ซึ่งแบ่งออกเป็น

  • ใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราว
  • ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อชั่วคราว
  • ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ชั่วคราว

ใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราวมีอายุสองปี และเป็นใบอนุญาตขับขี่ประเภทจำกัดสิทธิ์ คือ ปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดจากที่ต้องไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรของเลือด จะลดลงเหลือ 20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรของเลือด[7] อีกทั้งไม่สามารถขอมีใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศได้ ผู้ขอใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราวต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่รถจักรยานยนต์ขนาดไม่เกิน 105 ซีซี ก็ให้ลดเหลือ 15 ปีบริบูรณ์ได้ ใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราวสามารถต่ออายุได้ล่วงหน้า 60 วัน หากผู้ถือใบอนุญาตขับขี่จักรยานยนต์ชั่วคราวยังมีอายุน้อยกว่า 18 ปีบริบูรณ์ก็ยังคงได้รับใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราวต่อไป

เมื่อผู้ถือใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราวมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และได้ถือใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (สำนักงานขนส่งบางแห่งอาจให้ถือจนครบสองปี) ก็สามารถขอมีใบอนุญาตขับขี่ส่วนบุคคลเต็มรูปได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น[8]

  • ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล
  • ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล
  • ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล

ใบอนุญาตขับขี่เต็มรูปมีอายุห้าปี และสามารถต่ออายุได้ล่วงหน้า 6 เดือน[9] ผู้ถือใบอนุญาตขับขี่ส่วนบุคคลอาจขอมีใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศเพื่อใช้เป็นการชั่วคราวในต่างประเทศได้

หากผู้ถือใบอนุญาตขับขี่ประสงค์จะขับขี่เพื่อสินจ้าง จำเป็นต้องขอใบอนุญาตขับขี่สาธารณะนอกเหนือจากการใช้ยานพาหนะประเภทรับจ้าง (ป้ายเหลือง) ซึ่งจะมีขั้นตอนการตรวจประวัติอาชญากรเพิ่มเติมนอกเหนือจากการทดสอบปกติ เป็นเหตุให้ใช้เวลามากขึ้น ใบอนุญาตขับขี่สาธารณะแบ่งออกเป็น

  • ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ
  • ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ
  • ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ

ใบอนุญาตขับขี่สาธารณะมีอายุสามปี และสามารถต่ออายุได้ล่วงหน้า 6 เดือน สามารถใช้แทนใบอนุญาตขับขี่ส่วนบุคคลเพื่อขับรถในประเภทเดียวกันได้ และมีสิทธิ์ขอรับใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศได้

นอกจากรถยนต์ รถยนต์สามล้อ และรถจักรยานยนต์ ยังมีใบอนุญาตขับขี่ประเภทอื่น ๆ คือ

  • ใบอนุญาตขับรถบดถนน (อายุ 3 ปี)
  • ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์(อายุ 3 ปี)
  • ใบอนุญาตขับรถประเภทอื่น ๆ
  • ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ (อายุ 1 ปี)

ใบอนุญาตในหมวดนี้ (ยกเว้นใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ) ไม่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราวมาก่อน แต่โดยมากนายทะเบียนมักกำหนดให้ต้องมีก่อนอย่างน้อยหนึ่งปีเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ขับขี่จะควบคุมยานพาหนะได้อย่างปลอดภัย

ใบอนุญาตขับขี่สำหรับยานยนต์ขนาดใหญ่[แก้]

ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก ใบอนุญาตขับขี่มี 8 ชนิด คือ[2][ม 1]

  • ใบอนุญาตขับขี่ชนิดที่หนึ่ง ทุกประเภท (หรือสาธารณะ) เรียกย่อว่า ท.1 ใช้ขับรถยนต์บรรทุกที่มีน้ำหนักรวมไม่เกิน 3,500 กิโลกรัมหรือบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 20 คน ทั้งส่วนบุคคล (ป้ายดำ) และรับจ้าง (ป้ายเหลือง) ต้องมีอายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไป
  • ใบอนุญาตขับขี่ชนิดที่สอง ทุกประเภท (หรือสาธารณะ) เรียกย่อว่า ท.2 ใช้ขับรถยนต์บรรทุกที่มีน้ำหนักรวมเกิน 3,500 กิโลกรัมหรือบรรทุกคนโดยสารเกิน 20 คน ทั้งส่วนบุคคล (ป้ายดำ) และรับจ้าง (ป้ายเหลือง) ต้องมีอายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไป
  • ใบอนุญาตขับขี่ชนิดที่สาม ทุกประเภท (หรือสาธารณะ) เรียกย่อว่า ท.3 ใช้ขับรถยนต์ลากจูง ทั้งส่วนบุคคล (ป้ายดำ) และรับจ้าง (ป้ายเหลือง) ต้องมีอายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไป
  • ใบอนุญาตขับขี่ชนิดที่สี่ ทุกประเภท (หรือสาธารณะ) เรีกย่อว่า ท.4 ใช้ขับรถยนต์บรรทุกวัตถุอันตราย ทั้งส่วนบุคคล (ป้ายดำ) และรับจ้าง (ป้ายเหลือง) ต้องมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป
  • ใบอนุญาตขับขี่ชนิดที่หนึ่ง เฉพาะส่วนบุคคล เรียกย่อว่า บ.1 คล้ายกับ ท.1 แต่ใช้ได้เฉพาะการขนส่งส่วนบุคคล (ป้ายดำ) ต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
  • ใบอนุญาตขับขี่ชนิดที่สอง เฉพาะส่วนบุคคล เรียกย่อว่า บ.2 คล้ายกับ ท.2 แต่ใช้ได้เฉพาะการขนส่งส่วนบุคคล (ป้ายดำ) ต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
  • ใบอนุญาตขับขี่ชนิดที่สาม เฉพาะส่วนบุคคล เรียกย่อว่า บ.3 คล้ายกับ ท.3 แต่ใช้ได้เฉพาะการขนส่งส่วนบุคคล (ป้ายดำ) ต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
  • ใบอนุญาตขับขี่ชนิดที่สี่ เฉพาะส่วนบุคคล เรียกย่อว่า บ.4 คล้ายกับ ท.4 แต่ใช้ได้เฉพาะการขนส่งส่วนบุคคล (ป้ายดำ) ต้องมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป

ใบอนุญาตขับขี่สำหรับยานยนต์ขนาดใหญ่ไม่จำเป็นต้องขอมีใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราวก่อน แต่ในทางปฏิบัติแล้วมักกำหนดให้ต้องมีใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราวหรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลมาก่อน ใบอนุญาตขับยขี่สำหรับยานยนต์ขนาดใหญ่ประเภท ท. จะต้องมีการสอบประวัติอาชญากร ในขณะที่ประเภท บ. ไม่ต้องมีการสอบประวัติอาชญากร[10]

ใบอนุญาตขับขี่ฝ่ายทหาร[แก้]

ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ทหาร พ.ศ. 2479 ใบอนุญาตขับขี่ หรือใบอนุญาตพิเศษสำหรับขับรถยนต์ทหารแบ่งออกเป็น 7 ชนิด ดังนี้[11]

  • ชนิดที่ 1 รถยนต์สายพานใช้คันบังคับ
  • ชนิดที่ 2 รถยนต์สายพานหรือกึ่งสายพานที่ใช้พวงมาลัยบังคับ หรือรถยนต์ไม่น้อยกว่า 3 ล้อ บรรทุกน้ำหนักเกินกว่า 2 ตัน
  • ชนิดที่ 3 รถยนต์ไม่น้อยกว่า 3 ล้อ บรรทุกน้ำหนักไม่เกิน 2 ตัน (เทียบเคียง ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล)
  • ชนิดที่ 4 รถจักรยานยนต์พ่วงข้าง
  • ชนิดที่ 5 รถจักรยานยนต์พ่วงท้าย
  • ชนิดที่ 6 รถจักรยานยนต์ธรรมดา (เทียบเคียง ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล)
  • ชนิดที่ 7 รถทุกประเภทที่กล่าวมานี้ (เทียบเคียง ใบอนุญาตขับรถทุกประเภท ชนิดที่ 4 ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก)

การขอรับใบอนุญาตขับขี่ในประเทศไทย[แก้]

ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตขับขี่ฝ่ายพลเรือน ต้องเตรียมเอกสารแสดงตน คือ บัตรประจำตัวประชาชน สำหรับคนไทย หรือ หนังสือเดินทางพร้อมหนังสือแสดงถิ่นที่อยู่สำหรับคนต่างด้าว (หนังสือแสดงถิ่นที่อยู่ ในที่นี้อาจเป็นใบอนุญาตทำงานหรือหนังสือรับรองจากตรวจคนเข้าเมืองท้องที่ก็ได้) นอกจากนี้จะต้องเตรียมใบรับรองจากแพทย์แผนปัจจุบันตามแบบของแพทยสภาว่าไม่มีโรคที่อาจเป็นอันตรายขณะขับรถ[12]

เมื่อเตรียมเอกสารพร้อมแล้ว ผู้ขอจะต้องติดต่อกับสำนักงานขนส่งในเขตพื้นที่ ๆ ตนมีถิ่นที่อยู่หรือสำนักงานอื่นที่สะดวกในการเดินทาง แล้วทำการทดสอบสายตาและปฏิกิริยาดังนี้[13][14][15][16][12][17]

  1. การทดสอบสายตาทางลึก หรือการทดสอบความไวต่อความสว่าง เครื่องมือทดสอบจะเป็นกล่องมีช่องเปิด ภายในมีแท่งวัตถุสองแท่ง ผู้ทดสอบจะต้องกดปุ่มขยับแท่งด้านซ้ายจนกระทั่งความสว่างเท่ากับแท่งด้านขวามือ
  2. การทดสอบปฏิกิริยา ผู้ทดสอบจะต้องใช้เท้ากดคันเร่งค้างจนกระทั่งเห็นสัญญาณไฟเปลี่ยนเป็นแดง ก็ให้รีบชักเท้ามายังแป้นห้ามล้อโดยเร็ว
  3. การทดสอบสายตาบอดสี ให้ผู้ทดสอบอ่านสัญญาณไฟจราจรหรือแผ่นทดสอบแล้วตอบสี
  4. การทดสอบสายตาทางกว้าง ผู้ทดสอบจะต้องวางใบหน้าแนบกับตัวเครื่อง เบิกตากว้าง แล้วตอบสีที่เห็นจากหางตา

เมื่อทดสอบสายตาและปฏิกิริยาผ่านแล้ว จึงเป็นขั้นตอนการอบรมภาคทฤษฎี ตามด้วยการสอบภาคทฤษฎี (ต้องได้คะแนน 45 คะแนนจากเต็ม 50 คะแนน) และสอบภาคปฏิบัติตามลำดับ โดยสำนักงานขนส่งแต่ละแห่งอาจสลับลำดับการดำเนินการเหล่านี้ได้ตามความเหมาะสม เช่น อาจให้สอบภาคปฏิบัติก่อนแล้วจึงสอบภาคทฤษฎี หรือสอบภาคทฤษฎีแล้วสอบภาคปฏิบัติก็ย่อมได้ ในการสอบภาคปฏิบัติ ประเทศไทยใช้ระบบการทดสอบในสนามขับเป็นสถานี เพราะสภาพของบางท้องที่อาจไม่เหมาะสม ท่าทดสอบที่นิยมใช้มีดังนี้[14][15]

  1. การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
  2. การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
  3. การขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย (ถอยหลังเข้าซอง)

นอกจากนี้ยังมีท่าทดสอบอื่นที่สนามสอบอาจพิจารณานำมาทดสอบแทนท่าที่กล่าวไว้นี้ได้ โดยท่าที่ 1 และ 2 บังคับสำหรับรถยนต์ และท่าที่ 3 บังคับสำหรับรถขนส่ง

ส่วนรถจักรยานยนต์ นิยมใช้ท่าทดสอบคือ

  1. ขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
  2. ขับรถบนทางตรงแคบ
  3. ขับรถผ่านทางโค้งซ้ายและโค้งขวารูปตัวเอส (เลือก)

ทั้งนี้อาจทดสอบด้วยท่าทดสอบอื่นที่แตกต่างจากนี้ก็ได้ แต่ต้องมีท่าที่ 1 เป็นท่าบังคับ

รถยนต์ทหาร[11][แก้]

ในกรณีของรถยนต์ทหาร[18] จะต้องให้หน่วยระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไปทำเรื่องส่งตัวผู้ที่ประสงค์จะมีใบอนุญาตขับขี่ไปทำการทดสอบ ณ กรมการขนส่งทหารบก หรือกรมการขนส่งเหล่าทัพอื่น ๆ ผู้ประสงค์จะใบอนุญาตขับขี่จะไปติดต่อเองไม่ได้โดยตรง ในทางปฏิบัติผู้ที่เป็นพลขับมักจะคัดเลือกและบรรจุจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขับขี่ฝ่ายพลเรือนมาก่อนแล้ว

การทดสอบขับรถยนต์ทหาร จะเริ่มที่การสอบภาคปฏิบัติก่อน โดยมีท่าสอบ 4 ท่า บังคับทั้งหมด ดังนี้

  1. การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
  2. การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
  3. การขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย
  4. การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร

เมื่อผู้สอบสอบผ่านแล้ว จึงจะไปสอบภาคทฤษฎีต่อไป เมื่อผ่านจึงจะได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ทหารต่อไป

ใบอนุญาตขับขี่ในอดีต[แก้]

ตามพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พ.ศ. 2478[19] ซึ่งถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับซึ่งไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน พ.ศ. 2546 [20] ผู้ขับขี่และลากเข็นล้อเลื่อน อาทิ รถจักรยานเท้าถีบ รถลาก รถเข็น ยกเว้นเกวียน จะต้องได้รับใบอนุญาตขับขี่ก่อน หากจะฝึกหัดขับขี่ก็ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว

ในปัจจุบันได้มีความพยายามรื้อฟื้นให้มีใบอนุญาตขับขี่จักรยานเท้าถีบ เนื่องจากเห็นว่าจะเป็นการกำหนดเกณฑ์อายุและความสามารถของผู้ขับขี่ตลอดจนเป็นการเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน แต่แนวคิดดังกล่าวก็ยังไม่เป็นที่ยุติและเห็นว่าจะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ขับขี่[21][22]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ตามมาตรา 95 บัญญัติว่ามี 4 ชนิด แต่ในทางปฏิบัติแยกย่อยได้ 8 ชนิด

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522
  2. ↑ 2.0 2.1 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
  3. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, พระราชบัญญัติรถยนต์ทหาร พ.ศ. 2476
  4. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการพิจารณาการออกใบอนุญาตขับรถ สำหรับผู้ที่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ พ.ศ. ๒๕๕๘
  6. "กรมฯราง"ลุยคลอดเกณฑ์ออกใบขับขี่รถไฟ-รถไฟฟ้า-รถไฟไฮสปีด
  7. ราชกิจจานุเบกษา, กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๖๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2546 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  9. ขนส่งฯ ขยายเวลาขอต่ออายุใบขับขี่ 3 เป็น 6 เดือน ดีเดย์ 1 เม.ย.นี้ จาก สยามรัฐ
  10. ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการต่ออายุ การแก้ไขรายการ และการออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถ พ.ศ. 2564
  11. ↑ 11.0 11.1 ข้อบังคับทหารว่าด้วยการใช้รถยนต์ทหาร
  12. ↑ 12.0 12.1 กรมการขนส่งทางบก, การขอรับใบขับขี่ชนิดชั่วคราว (ขอใหม่)
  13. โรงเรียนสอนขับรถแม่ขรี, เรียนขับรถ พร้อมอบรมสอบใบขับขี่ (เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2565)
  14. ↑ 14.0 14.1 ราชกิจจานุเบกษา, ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถ ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถ และผู้ขอรับบัตรประจำตัวคนขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2554
  15. ↑ 15.0 15.1 ราชกิจจานุเบกษา, ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ พ.ศ. 2547
  16. โรงเรียนสอนขับรถไอไดรฟ์รังสิต, เรียนขับรถ หลักสูตรสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก บ2/ท2 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2564)
  17. โรงเรียนสอนขับรถแอดวานซ์, โรงเรียนสอนขับรถ สอบใบขับขี่รถบรรทุกเพื่อการขนส่ง ท2 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2564)
  18. ขั้นตอนในการขอสอบใบอนุญาตพิเศษสำหรับขับขี่รถยนต์ทหาร
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติล้อเลื่อน พ.ศ. 2478
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับซึ่งไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน พ.ศ. 2546
  21. ผู้จัดการ, 'ใบขับขี่จักรยาน' เรื่องเก่าเล่าใหม่ จัดการอย่างไร ไม่ให้สังคมแอนตี้!?, 12 พฤษภาคม 2558
  22. ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย, ใบขับขี่จักรยาน…อีกสักครั้ง, 24 มีนาคม 2556

ดูเพิ่ม[แก้]

  • เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก
  • ใบอนุญาตขับขี่สากล

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง