Who is my chef โต ะน ม จอง 26 เมษายน

ประสบการณ์กว่า 40 ปีในยุทธจักรอาหารใต้ฟ้าเมืองไทยของเชฟวิชิต มุกุระ จากลูกมือช่วยงานในครัวของแม่ ผลักดันเขาสู่การเป็นแม่ทัพใหญ่ของครัวในโรงแรมหรู จนมาเป็นทัพหน้าแห่งร้าน “Khao” ร้านอาหารไทยที่ได้รับรางวัล 1 ดาวมิชลิน

จุดเริ่มต้นเข้าสู่อาณาจักรวงการอาหาร “ผมเป็นลูกรักที่สนิทและแม่มักเรียกใช้งานบ่อย ๆ แม่เป็นทุกอย่างสำหรับผม ท่านเป็นทั้งแม่บ้านที่เนี้ยบมาก เป็นตัวอย่างด้านการเก็บออม เป็นแม่ครัวที่เก่งกาจผู้คอยทำกับข้าวให้เราได้กินกันทั้งครอบครัว ผมมักเข้าครัวเป็นลูกมือช่วยแม่บ่อย ๆ ตั้งแต่จำความได้ผมเริ่มหุงข้าวเองเป็นแล้ว และอย่างหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นตัวเองไม่ว่าจะไปทำงานอยู่ที่ครัวของร้านไหนก็ตามคือนิสัยเขียม ซึ่งช่วยให้ผมดูแลเรื่องต้นทุนได้ นั่นเป็นสิ่งที่ผมได้รับมาจากแม่”

เชฟวิชิต มุกุระ แห่งร้าน “Khao” ร้านอาหารไทยที่คว้ารางวัล 1 ดาวมิชลินมาได้สำเร็จในปี 2563 เล่าย้อนอดีตให้ฟังเมื่อเราขอให้เขาเล่าถึงจุดเริ่มต้นของเส้นทางสายอาหาร เชฟหนุ่มใหญ่ผู้เป็นที่เคารพของทุกคนในวงการผู้นี้มีพื้นเพเป็นชาวพัทยา และเขาเลือกที่จะเล่าเรื่องผู้หญิงคนสำคัญที่มีอิทธิพลกับชีวิตของเขามากที่สุด

ผัดพริกขิงและแกงส้มกุ้งแตงโมอ่อน อาหารแห่งความทรงจำของเชฟวิชิต (© อนุวัฒ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา / MICHELIN Guide Thailand)

เมื่อถามถึงเมนูโปรดในความทรงจำที่แม่ของเขามักทำให้รับประทาน เชฟวิชิตตอบว่าคือ “ผัดพริกขิง” และ “แกงส้มกุ้งแตงโมอ่อน” ซึ่งอย่างหลังนั้นเชฟในวัยย่าง 59 ปีได้นำมาบรรจุเป็นเมนูเด่นประจำร้าน Khao ให้ลูกค้าผู้มาเยือนทุกคนได้ลิ้มรสด้วย ไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมลูกค้าประจำที่แวะเวียนมาฝากท้องที่ร้าน Khao บ่อย ๆ จึงโปรดปรานในบรรยากาศและรสชาติอาหารที่สัมผัสได้ถึงความอบอุ่น

“ที่บ้านเราตำน้ำพริก ตำพริกแกงเอง แม่ผมทำเองหมดทุกอย่าง ทำให้ผมสามารถบอกได้ว่าใครทำอาหารไทยได้อร่อยหรือไม่จากการฟังเสียงตำน้ำพริก และชิมเมนูแกงส้ม เพราะคนที่ทำอาหารไทยเก่งควรจะต้องจับรสหลักทั้ง 3 คือ เปรี้ยว หวาน และเผ็ดให้ได้ เรียกว่าถ้าทำแกงส้มไม่อร่อย ไม่ผ่าน ก็มีแนวโน้มว่าจะทำอาหารไทยไม่เก่ง”

“คนทำอาหารอร่อยหรือไม่อร่อยฟังได้จากเสียงตำน้ำพริกและชิมเมนูแกงส้ม เพราะคนที่ทำอาหารไทยเก่งควรจะต้องจับรสหลักทั้ง 3 คือ เปรี้ยว หวาน และเผ็ดให้ได้”

จุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตของเชฟวิชิตเกิดขึ้นตอนที่เขาอายุได้เพียง 16 ปี เมื่อผู้หญิงคนสำคัญที่สุดในชีวิตมีอันต้องจากไปตลอดกาล วิชิตในวัยหนุ่มตัดสินใจไม่เรียนต่อและหันเหตัวเองเข้าทำงานในร้านอาหาร ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากที่ครั้งหนึ่งเขาเคยสนทนากับแม่ และเธอเคยเอ่ยปากบอกลูกชายว่าอยากให้เขาเป็นเชฟในโรงแรม เมื่อตัดสินใจเลือกเส้นทางชีวิตแล้ววิชิตจึงเอ่ยปากบอกพ่อ และพ่อก็ฝากให้เขาได้ทำงานในครัวของโรงแรมแห่งหนึ่งในพัทยา

“สมัยเมื่อ 40 กว่าปีก่อนตามโรงแรมไม่ได้มีฝรั่งเป็น GM เหมือนสมัยนี้ ยิ่งเชฟนี่ยิ่งไม่มีเลย ส่วนใหญ่มาจากไหหลำกัน คนไหหลำได้ใกล้ชิดทำงานกับคนอังกฤษ พอมาอยู่เมืองไทยเขาก็นำความรู้ตรงนั้นมาสอนให้กับคนไทย”

เชฟวิชิต มุกุระ เชฟอาหารไทยวัย 58 ปี (© อนุวัฒ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา / MICHELIN Guide Thailand)

หนุ่มน้อยวิชิตไม่ได้เริ่มต้นลงมือทำอาหารในทันที เขาต้องพิสูจน์ตัวเองด้วยการเป็นเด็กเก็บล้างและช่วยงานภายในครัวอยู่พักใหญ่ ก่อนค่อย ๆ ไต่เต้าขึ้นมาจนได้ช่วยงานเตรียมอาหาร และลงมือทำอาหารในที่สุด

“ด้วยความที่ผมเป็นคนใส่ใจในรายละเอียด ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับมาจากแม่ ทำให้ได้รับการโปรโมตขึ้นมาเร็ว โดยเริ่มจากการช่วยเตรียมอาหารไทย จีน อย่างผัดแกงเผ็ดใส่นมคาร์เนชั่นสมัยนั้นก็คนจีนนั่นแหละที่เป็นคนริเริ่มทำ ผมค่อย ๆ เรียนรู้การทำอาหารไทย อาหารจีน เรียนรู้การใช้ครัวและเตาผัด ซึ่งสมัยเด็กเรารู้สึกว่ามันใหญ่มาก เป็นเตาที่ก่อจากอิฐ ก่อนขึ้นเตาก็ต้องก้มกราบก่อนขึ้นไปเช็ดทำความสะอาด ผมถูกสอนมาแบบนั้น”

สมัยเมื่อ 40 กว่าปีก่อนในเมืองไทยยังแทบไม่มีสถาบันไหนที่สอนทำอาหารอย่างเป็นเรื่องเป็นราว การเรียนรู้วิชาทำอาหารจึงต้องอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจและการพิสูจน์ตนเอง และนั่นก็เป็นส่วนหนึ่งในวิถีที่หล่อหลอมให้เขาเป็นเชฟที่เก่งกาจ หลังจากนั้นพ่อครัวหนุ่มไฟแรงก็ย้ายท่องฝึกปรือฝีมือไปตามครัวของโรงแรมดัง ๆ อยู่หลายแห่งเพื่อเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ ซึ่งโรงแรมที่เขาได้ทำงานล้วนเป็นโรงแรมดังอันเป็นตำนานในสมัยหนึ่งของเมืองไทย อย่างโรงแรมแมนดาริน สามย่าน, โรงแรมรีเจนท์ ชะอำ และโรงแรมฮิลตัน ปาร์คนายเลิศ เป็นต้น

ร้าน Khao หรือข้าว ความท้าทายที่เปรียบเสมือนบ้านหลังใหม่กับพื้นที่ให้แสดงความเป็นตัวเขาได้อย่างเต็มที่ (© อนุวัฒ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา / MICHELIN Guide Thailand)

“การได้ทำงานในโรงแรมที่เป็นแบรนด์นานาชาติทำให้ผมได้พัฒนาฝีมือตัวเองขึ้นมาในอีกระดับ อย่างตอนทำงานที่โรงแรมแมนดารินเขาก็เปิดแคเทอริงห้องใหญ่ขนาด 1,000 คน เรียกว่าใหญ่ที่สุดเลยในสมัยนั้น แล้วก็ย้ายมาทำแกรนด์โอเพนนิงให้กับโรงแรมรีเจนท์ ซึ่งคราวนี้ผมได้เลื่อนตำแหน่งเป็น Chef de Partie ได้ทำงานร่วมกับเชฟใหญ่ที่เป็นฝรั่ง แล้วพอย้ายมาโรงแรมฮิลตันซึ่งเปิดใหม่อีกเหมือนกัน และมีเชฟใหญ่เป็นคนญี่ปุ่นกับทีมเชฟที่เป็นคนฝรั่งเศส ก็ทำให้ผมได้ทำงานในบรรยากาศที่ช่วยเสริมและทำให้เข้าใจแนวคิดแบบนานาชาติ”

ช่วงหนึ่งในชีวิตของเชฟวิชิตเขาตัดสินใจลาออกจากการเป็นเชฟโรงแรมเพื่อไปช่วยครอบครัวดูแลธุรกิจร้านอาหารที่คุณพ่อเป็นผู้บุกเบิกไว้เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนจะวกกลับเข้ามาทำงานเป็นเชฟในสายโรงแรมเช่นเดิม เขามุ่งลงใต้สู่ Phuket Yacht Club โดยได้รับตำแหน่ง Sous Chef และทำให้มีโอกาสเดินทางไปสอนทำอาหารไทยที่ประเทศญี่ปุ่นในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนกลับมาเมืองไทยไปประจำเป็นเชฟใหญ่อยู่ที่ “ศาลาริมน้ำ” ห้องอาหารไทยชื่อดังของโรงแรมระดับแถวหน้าของประเทศอย่างแมนดาริน โอเรียนเต็ลอยู่นานเกือบ 3 ทศวรรษ

“สมัยเด็กเรารู้สึกว่าเตามันใหญ่มาก ก่อนขึ้นเตาก็ต้องก้มกราบก่อนขึ้นไปเช็ดทำความสะอาด ผมถูกสอนมาแบบนั้น”

เชฟชาวพัทยาเล่าถึงการออกเดินทางในอาณาจักรอาหารของไทย (© อนุวัฒ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา / MICHELIN Guide Thailand)

ตำแหน่งเชฟใหญ่ครั้งแรกที่ยาวนานถึง 27 ปี “ผมได้เป็นเชฟใหญ่ตอนอายุเพียง 24 ปีเท่านั้น ต้องคุมทีมใหญ่ 32 คนเป็นครั้งแรก ก็ถือว่าสาหัสสากรรจ์เหมือนกัน เพราะตอนนั้นศาลาริมน้ำเปิดให้บริการมาได้ 3 ปีแล้ว แทบทุกคนในร้านเริ่มงานมาก่อน แถมยังอายุมากกว่าผมอีก ทำให้ผมต้องปรับตัวเองขึ้นมาให้มีความเด็ดเดี่ยวและเด็ดขาดมากขึ้นเพื่อคุมงานให้อยู่”

หลังจากที่กระโดดย้ายงานไปตามโรงแรมหลายแห่งในช่วงเวลาไม่กี่ปี คราวนี้เชฟวิชิตประจำการอยู่ที่ห้องอาหารศาลาริมน้ำยาวนานถึงกว่า 27 ปี และคงไม่ผิดถ้าจะกล่าวว่าฝีมือฉกาจของเขานี่เองที่ทำให้ศาลาริมน้ำกลายเป็นห้องอาหารไทยชื่อดังระดับแถวหน้าของเมืองไทย ซึ่งแต่ละปีสามารถสร้างรายได้ให้กับโรงแรมโอเรียนเต็ลไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขาลงหลักปักฐานที่นี่ได้ยาวนาน เชฟวิชิตเผยว่าเป็นเรื่องของความท้าทาย โรงแรมเปิดโอกาสให้เขาทำอะไรที่หลากหลายมากกว่าแค่การดูแลร้าน เช่น มีการเปิดโรงเรียนวิชาการโรงแรมแห่งโรงแรมโอเรียนเต็ล (School of the Oriental Hotel Apprenticeship Programme หรือ OHAP) มีหลักสูตร Oriental Professional Thai Chef Programme หรือ OPTC ซึ่งเชฟวิชิตรับหน้าที่เป็นอาจารย์ สอนและสร้างเชฟรุ่นใหม่ ๆ ประดับวงการ ช่วยยกระดับแวดวงร้านอาหารของเมืองไทยได้อย่างมากมาย

ร้าน Khao หนึ่งในร้านอาหารไทยที่ได้รับรางวัล 1 ดาวมิชลิน มิชลิน ไกด์ ประเทศไทย ประจำปี 2563 (© อนุวัฒ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา / MICHELIN Guide Thailand)

ออกจากสิ่งคุ้นเคยเพื่อแสวงหาความท้าทายใหม่ ๆ พาร้านไปคว้ารางวัล 1 ดาวมิชลิน “ผมอยู่ที่โรงแรมโอเรียนเต็ลยาวนานถึง 27 ปีครึ่ง ที่นั่นเป็นเหมือนครอบครัวและบ้านอีกหลังหนึ่งของผม แต่ผมรู้ตัวเองว่าลึก ๆ แล้วเราก็มองหาความท้าทายใหม่ ๆ ให้กับชีวิตอยู่ ผมไม่อยากทำสิ่งเดิม ๆ ที่เคยทำมาจนผมอายุ 60 คาโรงแรม ซึ่งความจริงระหว่างที่ทำงานอยู่มีคนติดต่อเข้ามาตลอดนะว่าอยากให้ผมไปทำงานด้วย เมื่อประจวบเหมาะกับที่ผมส่งเสียลูก ๆ 2 คนไปเรียนต่อต่างประเทศจนจบแล้วผมก็หมดห่วง เลยตัดสินใจว่าถึงเวลาที่เราต้องออกมาท้าทายตัวเองสักที ความตั้งใจแรกของผมคืออยากทำแบรนด์ร้านอาหารไทยที่ใช้ระบบโรงแรมเข้ามาดำเนินงาน ใช้คนที่จบจากโรงแรมเข้ามาดูแล มาทำงาน ซึ่งผมคิดว่าคนที่เรียนจบการโรงแรมเมื่อมาทำร้านอาหารจะได้รายละเอียดที่มากกว่า”

นี่จึงเป็นจุดกำเนิดของร้าน “Khao” ซึ่งเชฟวิชิตเลือกใช้วัตถุดิบหลักของอาหารในครัวเรือนของไทยมาตั้งเป็นชื่อร้าน (เขายังทำนาปลูกข้าวของตัวเองที่บ้านเกิดในพัทยาด้วย) เขาให้เหตุผลลึก ๆ เกี่ยวกับแนวคิดหลักของร้านอาหารในฝันแห่งนี้ว่าอยากให้เป็นร้านที่อบอุ่น ออกแนวครอบครัว ให้คนมารับประทานนึกถึงบ้าน เขาเลือกเสิร์ฟอาหารที่คัดสรรวัตถุดิบอย่างดีที่สุด และปรุงสดใหม่โดยใส่หัวใจลงไปปรุงเหมือนดังที่คุณแม่ตั้งใจทำอาหารให้สมาชิกภายในบ้าน นี่เป็นแนวคิดที่เรียบง่ายทว่าอบอุ่นหัวใจคนที่ได้รับประทาน

“ผมมองว่าอาหารไทยมีความครบเครื่อง มีหลายองค์ประกอบ ทั้งรสชาติเปรี้ยว เค็ม เผ็ด หวาน และเรายังเก่งเรื่องการใช้สมุนไพรสด ซึ่งทำให้อาหารไทยเป็นอาหารที่มีความซับซ้อน”

การทำงานในโรงแรมที่ใส่ใจทุกรายละเอียดกอปรกับบทเรียนจากคุณแม่ช่วยให้เขายืนหยัดอยู่ในวงการอาหารจนถึงทุกวันนี้ (© อนุวัฒ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา / MICHELIN Guide Thailand)

“แนวคิดของร้าน Khao เป็นพื้นฐานและหัวใจของความเป็นไทยมาก ๆ ซึ่งเราไม่ควรหลงลืมตรงนี้ ผมคิดว่าร้านนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับแข่งกับคนอื่น ผมไม่ได้ต้องการไปแข่งกับใครเขา เราทำอาหารให้คนที่ชอบและรักในอาหารไทยจริง ๆ มากิน ผมอยากให้เขาเข้ามากินอาหารที่ร้านของเราแล้วพกความสุขกลับออกไปด้วย”

แนวคิดที่เรียบง่ายทว่าใส่ใจในทุกรายละเอียด ทั้งวัตถุดิบที่ดีเยี่ยม และมาตรฐานการบริการที่ดีเลิศระดับโรงแรม 5 ดาว จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ร้าน Khao จะเป็นหนึ่งในร้านอาหารไทยทั้งหมด 24 ร้านที่ได้รับรางวัล 1 ดาวมิชลิน มิชลิน ไกด์ ประเทศไทย ประจำปี 2563 ไปครอง เขาบอกเราถึงการได้รับรางวัลดาวมิชลินว่า “ผมคิดว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้แต่ละร้านมีโอกาสทางธุรกิจเพิ่มขึ้นนะครับ คือบางครั้งการที่เราจะสร้างตัวเองด้วยแบรนด์เพียงลำพังมันก็ยาก แต่พอมี มิชลิน ไกด์ มาช่วยแนะนำให้ร้านเป็นที่รู้จักและช่วยการันตีก็ทำให้ตรงนี้ง่ายขึ้น และช่วยส่งเสริมร้านอาหารได้ดี”

เชฟที่หลายคนเรียกว่าระดับปรมาจารย์กับมุมมองต่ออาหารไทย (© อนุวัฒ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา / MICHELIN Guide Thailand)

อาหารไทยในเวทีโลก ในฐานะที่อยู่ในแวดวงอาหารไทยมากว่า 4 ทศวรรษและประสบความสำเร็จในฐานะเชฟที่หลายคนเรียกว่าเป็นระดับปรมาจารย์ เราถามเชฟวิชิตผู้ได้รับรางวัล 1 ดาวมิชลินว่าเขามองอาหารไทยด้วยสายตาอย่างไรเมื่อเทียบกับเวทีอาหารโลก

“ผมคิดว่าอาหารไทยไม่ได้ด้อยไปกว่าอาหารชาติอื่น ๆ เลย อาหารไทยครบทั้งรส ครบทั้งสี ในขณะที่อาหารบางชาติไม่มีสี หรือบางชาติมีสีแต่รสไม่ได้ หนักไปที่เพียงบางรสชาติ แต่อาหารไทยผมมองว่ามีความครบเครื่อง มีหลายองค์ประกอบ ทั้งรสชาติเปรี้ยว เค็ม เผ็ด หวาน และเรายังเก่งเรื่องการใช้สมุนไพรสด ซึ่งทำให้อาหารไทยมีความซับซ้อนและแตกต่างจากอินเดียที่เก่งเรื่องการใช้เครื่องเทศ หรือถ้าเทียบกับอาหารจีนซึ่งเก่งเรื่องการใช้ของตากแห้งหรือหมักเกลือมาทำอาหาร แต่คนไทยมักจะใช้ของสดทำอาหารแทบทั้งหมดเลย

“นอกจากนี้ประเทศเรายังมีวัตถุดิบดี ๆ มากมาย อย่างที่เราตั้งชื่อร้านว่า ‘ข้าว’ ก็เพราะนอกจากข้าวจะเป็นวัตถุดิบหลักในครัวเรือนของไทยที่คนไทยทุกบ้านบริโภคกันแล้ว ตัวผมเองก็มีนาข้าวอยู่ที่พัทยา ซึ่งปลูกข้าวหอมมะลิแดงพันธุ์โบราณของบุรีรัมย์ ประเทศไทยเรามีพันธุ์ข้าวดี ๆ มากมายหลากหลาย เช่นเดียวกับวัตถุดิบดี ๆ อื่น ๆ ใต้ฟ้าเมืองไทยที่เราแค่ต้องหามันให้เจอ อย่างที่ร้านเองก็ใช้ทั้งกุ้งแชบ๊วยหลังไข่ และเนื้อปูม้าที่ดีที่สุดจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งการจะทำร้านอาหารขึ้นมานั้นนอกจากต้องหาวัตถุดิบที่ดีที่สุดแล้วก็ยังต้องหาแง่มุมน่าสนใจที่ต้องการจะนำเสนอ เพราะจะทำให้ร้านของเรามีความแตกต่างและมีจุดขาย

“อีกอย่างการที่ร้านอาหารอย่างเราช่วยอุดหนุนเกษตรกรท้องถิ่นที่ผลิตวัตถุดิบดี ๆ ยังเป็นการช่วยสนับสนุนให้เกษตรกรในบ้านเราอยู่ได้ และช่วยให้เกิดความยั่งยืนขึ้นได้เช่นกัน”

“ผมไม่ได้ต้องการไปแข่งกับใครเขา เราทำอาหารให้คนที่ชอบและรักในอาหารไทยจริง ๆ มากิน ผมอยากให้เขาเข้ามากินอาหารที่ร้านของเราแล้วพกความสุขกลับออกไปด้วย”

ชายหนุ่มนักเขียนกับประสบการณ์ขีดเขียนมากว่าทศวรรษให้กับนิตยสารอย่าง Esquire, ELLE Men และ aday bulletin มีความสนใจในเรื่องวัฒนธรรมอาหารและความยั่งยืน เขาชอบสรรหาของอร่อย และเพิ่งค้นพบงานอดิเรกใหม่คือการอบเค้ก

บทสัมภาษณ์

หนึ่งวันในชีวิตของเชฟคู่แฝด Sühring เจ้าของรางวัลสองดาวมิชลิน

สงสัยกันไหมว่าชีวิตวันหนึ่ง ๆ ของเชฟรางวัลดาวมิชลินนั้นเป็นอย่างไร? แล้วถ้าเป็นเชฟคู่แฝดล่ะ เชฟโธมัส (Thomas) และแมทธิอัส ซูห์ริง (Mathias Sühring) แห่ง Sühring ร้านรางวัลสองดาวมิชลินเผยชีวิตประจำวันแสนธรรมดาทว่าพิเศษน่าสนใจของพวกเขาให้เราได้รู้

Who Is My Chef มากี่โมง

รายการ โต๊ะนี้มีจอง (WHO IS MY CHEF) ทุกวัน ศุกร์ 20.15 น. ช่อง เวิร์คพอยท์ หมายเลข 23 ===============================

Workpoint

Workpoint23 #เวิร์คพอยท์ .

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง