แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 พ.ศ.2535-2539
แนวคิดและลักษณะของแผน


  • เริ่มมองเห็นความจำเป็นในการกำหนดแนวความ คิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)
  • กำหนดวัตถุประสงค์การพัฒนา 3 ประการ เน้น การให้เกิดความสมดุลระหว่างวัตถุประสงค์ด้าน ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การกระจาย รายได้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม

แนวทางการพัฒนา

  • เน้นการรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และมีเสถียรภาพ โดย
    - ดำเนินนโยบายการเงินการคลังและพัฒนาตลาดทุน

    - พัฒนาการเกษตรโดยเน้นเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตและ
      ปรับโครงสร้างผลผลิต

    - พัฒนาอุตสาหกรรมการค้าและการลงทุนโดยเน้นการสร้าง
      โอกาสในการแข่งขันกิจการค้าและการลงทุนไทยในต่าง
      ประเทศ

    - พัฒนาและนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้

    - จัดหาพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการ

    - เร่งรัดขยายการลงทุนด้านบริการพื้นฐานให้มีคุณภาพและ
      ปริมาณเพียงพอ

    - พัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑลเชื่อมชายฝั่งทะเล
      ตะวันออก

  • เน้นการกระจายรายได้ และการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบท
    - ใช้มาตรการด้านภาษีและรายจ่ายของรัฐบาล กระจาย
      อำนาจ ทางการคลังสู่จังหวัดและท้องถิ่น

    - กระจายการถือครองทรัพย์สินด้วยการเร่งรัดการปฏิรูป
      ที่ดิน, การออกเอกสารสิทธิที่ดิน, สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
      และ พ.ร.บ.   ชุมชนแออัด

    - ปรับโครงสร้างการผลิตด้านเกษตรและอุตสาหกรรม
      และบริการสู่ภูมิภาค

    - พัฒนาเมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคเป็นฐาน
      เศรษฐกิจและการจ้างงาน

    - ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนชนบท

    - พัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตคนยากจนในเมือง

  • เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม
    - พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษาและสาธารณสุข

    - พัฒนาจิตใจ วัฒนธรรมและสังคม

    - พัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ   และสังคม

    - ปรับปรุงระบบบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

  • เน้นการพัฒนากฎหมาย รัฐวิสาหกิจ และระบบราชการ
    - ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับทิศทางและกระบวนการ   พัฒนา

    - พัฒนาประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจ โดยลดการกำกับของ   รัฐและส่งเสริมบทบาทเอกชน

    - พัฒนาระบบราชการให้มีขนาดเล็ก กะทัดรัดและมี
      คุณภาพ


กระบวนการจัดทำแผน
และกรอบการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ

  • กระบวนการจัดทำแผน
    - ลักษณะเดียวกับแผนฯ 6
  • กรอบการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ
    - ใช้มติคณะรัฐมนตรีในลักษณะ เดียวกับแผน 1-4



“ประยุทธ์” ประชุมบอร์ดขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติฯ รัฐบาลเดินหน้าแผนพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สร้างคน เทคโนโลยี การเติบโตทางสังคมและเศรษฐกิจ มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย

วันนี้ (8 ธ.ค.) เวลา 13.30 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (National AI Committee) ครั้งที่ 1/2565 ร่วมกับ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ด้วยการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งพัฒนาทักษะของบุคลากรภายในประเทศ บูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ให้การขับเคลื่อนการพัฒนาบรรลุผลและเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตลอดจนมุ่งสู่ประเทศไทย 4.0 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงผลการประชุมสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าวันนี้เป็นการประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (National AI Committee) โดยความสำคัญของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ซึ่งประเทศไทยและทั่วโลกต่างให้ความสำคัญอย่างมากเนื่องจากขณะนี้โลกกำลังขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ดังนั้นประเทศไทยและทุกคนจึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินการในเรื่องดังกล่าวให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนต่างๆ ที่กำหนดไว้ ซึ่งเรื่องของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เป็นเรื่องใหม่ที่ภาครัฐต้องเร่งศึกษาและประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถของประเทศไทยในระยะต่อไป โดยเฉพาะการนำไปขับเคลื่อน Next Generation Growth ตามอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ ในดำดับแรกภาครัฐและเอกชนควรให้ความสำคัญกับการสร้างบุคคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจ AI ในสาขาต่างๆ ที่ตรงตามความต้องการของภาคเอกชน ตลอดจนสร้างระบบการรับรองคุณวุฒิของบุคลากรที่เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและสากล นอกจากนี้ ภาครัฐต้องเน้นการสร้างสภาพแวดล้อม (Eco System) ที่เอื้ออำนวยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี AI อย่างต่อเนื่องและไม่เกิดการปิดกั้นทางความคิด รวมไปถึงการออกกฎหมายหรือระเบียบเพื่อกำกับดูแล โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องศึกษาความต้องการ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ผลกระทบของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการอย่างรอบคอบ เพื่อให้กฎระเบียบเอื้อต่อการส่งเสริมสนับสนุนการสร้าง Eco System ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์และสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการฯ ในแต่ละช่วงเวลาด้วย

นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำให้ภาครัฐเตรียมการให้พร้อมทุกด้าน เพื่อรองรับการขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยี AI โดยเฉพาะการเร่งพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทยให้เพียงพอสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ โดยให้ภาครัฐประสานความร่วมมือในการทำงานกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด เพื่อร่วมกันดำเนินงานขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อการพัฒนาประเทศไทย ขณะเดียวกันการดำเนินการต่างๆ ก็ขอให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก เยาวชนและคนรุ่นใหม่ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายร่วมกัน

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานเชิงรุกตามแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565-2570) สู่การปฏิบัติ เพื่อสนับสนุนการสร้างระบบนิเวศด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ของประเทศให้เกิดขึ้นอย่างครบถ้วน เป็นรูปธรรม และยั่งยืน เน้นสร้างและพัฒนากำลังคนให้มีทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ในทุกระดับ ทั้งการผลิตและใช้งานเทคโนโลยี AI รวมถึงการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานและบริการ AI เพื่อส่งเสริมการใช้งานผ่านแพลตฟอร์มกลางบริการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน สามารถเข้าถึงและนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนการใช้งานเริ่มที่ 15 ล้านครั้งในปี 2566 ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนฯ จะกำกับดูแลบูรณาการการทำงานสู่การปฏิบัติ และย้ำให้ทุกหน่วยงานติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนประเทศด้วยปัญญาประดิษฐ์เชิงรุก เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม และเป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง

ที่ประชุมได้หารือถึงแนวทางการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565-2570) ให้สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ของแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ที่มุ่งขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเกิดระบบนิเวศที่ครบถ้วน และเชื่อมโยงแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการพัฒนา และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น นำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในปี พ.ศ. 2570 โดยมีเป้าประสงค์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ สร้างคนและเทคโนโลยี สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยได้มีการพิจารณาและเห็นชอบในประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. ส่งเสริมการพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย ไม่น้อยกว่า 13,500 คนต่อปี ผ่านหลักสูตรการอบรมพัฒนาทักษะความรู้ที่เหมาะสม โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มบุคลากรปัญญาประดิษฐ์ระดับทักษะขั้นสูง คือ กลุ่มนักวิจัยและนักพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (2) กลุ่มบุคลากรปัญญาประดิษฐ์ระดับทักษะขั้นกลาง คือ กลุ่มนวัตกรและวิศวกร และ (3) กลุ่มบุคลากรปัญญาประดิษฐ์ระดับทักษะขั้นต้น คือ กลุ่มอาชีพการทำงานอื่น ๆ ที่สามารถใช้งานบริการปัญญาประดิษฐ์ขั้นต้นในกลุ่มอาชีพของตนเอง

2. จัดทำแพลตฟอร์มกลางบริการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) ของสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) รองรับการให้บริการปัญญาประดิษฐ์ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวในการสร้างนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ให้แก่ทุกภาคส่วนภายในประเทศ

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งบูรณาการความร่วมมือเพื่อดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ 15 แผนงาน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1: เตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม กฎหมาย และกฎระเบียบสำหรับการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่ การพัฒนาข้อกำหนด กฎหมาย มาตรฐาน และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ AI ของประเทศ การสื่อสาร และการสร้างการรับรู้ด้านจริยธรรม AI ยุทธศาสตร์ที่ 2: พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่ การสร้างเครือข่ายเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน พัฒนาศูนย์เชื่อมโยงและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ พัฒนาแพลตฟอร์มกลางระดับประเทศเชิงบูรณาการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการประมวลผลและการคำนวณขั้นสูง ยุทธศาสตร์ที่ 3: เพิ่มศักยภาพบุคลากรและการพัฒนาการศึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่ พัฒนาทักษะและองค์ความรู้ทุกระดับการเรียนรู้ สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรสู่ภาคธุรกิจ พัฒนากลไกความร่วมมือกับนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 4: พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่ ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่กลุ่มสาขาเป้าหมาย พัฒนาเทคโนโลยีฐาน (Core Technology) และการวิจัยเพื่อสนับสนุนแพลตฟอร์มด้านปัญญาประดิษฐ์ และยุทธศาสตร์ที่ 5: ส่งเสริมให้เกิดการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐ และภาคเอกชน ได้แก่ การใช้ AI ในภาครัฐ การใช้ AI ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ส่งเสริมอุตสาหกรรมเชื่อมโยง AI สู่การใช้งาน พัฒนากลไก และ Sand Box เพื่อนวัตกรรม ทางธุรกิจ และ AI Startup

สำหรับภาพรวมผลกระทบต่อประเทศ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2570 ได้แก่ (1) มีมูลค่าที่เกิดการจ้างงานและสร้างอาชีพในประเทศเพิ่มสูงขึ้น จากบุคลากรที่มีทักษะทางด้านดิจิทัล และ AI รองรับการทำงานในรูปแบบใหม่ในประเทศเพิ่มมากขึ้น (2) GDP ของประเทศเพิ่มสูงขึ้น จากมูลค่าของผลิตภัณฑ์และบริการจากการนำ AI มาประยุกต์ใช้ ตลอดจนการมีจำนวนผู้ประกอบการใหม่ด้านเทคโนโลยีในประเทศมากขึ้น (3) ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐได้อย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นธรรม จากการที่หน่วยงานภาครัฐนำ AI มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำงานและการให้บริการ และ (4) ประชาชนมีความเข้าใจและสามารถใช้ศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ได้ในวงกว้าง สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคสมัยใหม่ได้เพื่อสร้างประโยชน์และอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน รวมถึงช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ


  • ประยุทธ์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง