2024 ทำไม blackberry messenger ถ งปลอดภ ย

เพราะสินค้าตัวแรกคือ “Buggy” ซึ่งเป็นระบบรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย ให้กับลูกค้าภาครัฐและเอกชน หนึ่งในนั้นคือ Ford Motor

ก่อนที่จะออกผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า “เพจเจอร์” ที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก จึงนำบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แคนาดา

แต่นี่เป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะสินค้าที่ประสบความสำเร็จที่เราคุ้นหูกัน ก็คือ BlackBerry หรือ BB ที่สามารถทำยอดขายต่อปี ได้สูงสุด 50 ล้านเครื่องทั่วโลก

โดยมีฟังก์ชันเด็ดคือ สามารถพิมพ์อีเมลบนแป้นพิมพ์โทรศัพท์ได้ และยังมีระบบส่งข้อความแต่ละเครื่องด้วยกันแบบเรียลไทม์ แถมยังฟรี ไม่คิดค่าใช้จ่าย

ซึ่งตลาดโทรศัพท์มือถือในยุคนั้นยังไม่มีแอปแช็ตอย่าง WhatsApp หรือ LINE

การส่งข้อความแต่ละครั้ง ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้เจ้าของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ทำให้ BB ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

จนกระทั่งการมาถึงของยุคสมาร์ตโฟนหน้าจอสัมผัสแบบไร้ปุ่มกด ซึ่งนำด้วย iPhone ในปี 2007 และต่อมาก็ Google ที่สร้างระบบปฏิบัติการมือถือ Android ทำให้เกิดแบรนด์สมาร์ตโฟนหลายรายขึ้นมาจำนวนมาก

นอกจากนี้ แอปแช็ตต่าง ๆ เช่น Facebook Messenger, LINE, WhatsApp ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น และยิ่งทำให้ระบบรับส่งข้อมูลของ BB ดูล้าสมัยไปอีก

BlackBerry ที่มีแป้นพิมพ์ปุ่มกด ก็เริ่มกลายเป็นของตกยุค และพ่ายแพ้ต่อสมาร์ตโฟนไร้ปุ่มกด

และสัญญาณเลวร้ายก็ได้เริ่มเกิดขึ้น หลังจากปี 2010 เป็นต้นมา

- ปี 2011 รายได้ 719,040 ล้านบาท กำไร 123,205 ล้านบาท

- ปี 2012 รายได้ 665,438 ล้านบาท กำไร 42,043 ล้านบาท

- ปี 2013 รายได้ 399,956 ล้านบาท ขาดทุน 23,333 ล้านบาท

- ปี 2014 รายได้ 246,085 ล้านบาท ขาดทุน 212,132 ล้านบาท

- ปี 2015 รายได้ 120,460 ล้านบาท ขาดทุน 10,980 ล้านบาท

จะเห็นได้ว่า รายได้ของ BlackBerry ลดลงเรื่อย ๆ จนทำให้กำไรหดหาย และขาดทุนในที่สุด

แล้ว BlackBerry แก้วิกฤติอย่างไรบ้าง ?

เริ่มจากผู้นำองค์กรอย่าง John S. Chen ที่ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในฐานะ CEO ของบริษัท ด้วยการตั้งเป้าหมาย “ทำให้ BlackBerry รอดตัวจากวิกฤติครั้งนี้”

เขามองว่า BlackBerry จำเป็นต้องโฟกัสในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งที่ตัวเองถนัด และต้องเฉือนธุรกิจที่ไม่ประสบความสำเร็จออกไป

BlackBerry จึงตัดสินใจขายสิทธิ์การผลิตภายใต้แบรนด์ BlackBerry ให้กับ TCL ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของจีน ในปี 2016

เพราะแบรนด์โทรศัพท์มือถือของตัวเองอาจไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่น ๆ ได้อีกต่อไป การตัดทิ้งออกไป จะทำให้ผลประกอบการของบริษัทดีขึ้น

และหันมาโฟกัสในธุรกิจที่ตัวเองเชี่ยวชาญแทน นั่นคือ ระบบความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูล QNX ซึ่งเคยเป็นจุดเด่นสำคัญของ BB ก่อนหน้านี้

หลังจากนั้น BlackBerry จึงหันมาพัฒนาซอฟต์แวร์ความปลอดภัย QNX และเข้าซื้อกิจการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางด้านข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น

- ปี 2015 เข้าซื้อกิจการ Good Technology ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยของโทรศัพท์มือถือ 15,400 ล้านบาท

- ปี 2016 เข้าซื้อกิจการ Encription บริษัทความปลอดภัยทางไซเบอร์จากประเทศอังกฤษ

- ปี 2018 เข้าซื้อกิจการ Cylance บริษัทซอฟต์แวร์ Antivirus จากสหรัฐฯ 50,600 ล้านบาท

แม้จะเป็นเงินลงทุนที่ไม่น้อยในแต่ละดีล แต่ BlackBerry เชื่อว่ากิจการที่ซื้อเข้ามา จะเติมเต็มธุรกิจระบบความปลอดภัยของตัวเอง และกลายเป็นธุรกิจที่ทำให้บริษัทอยู่รอดได้

โดยหากเราไปดูผลประกอบการในช่วง 3 ปีล่าสุดที่ผ่านมา จะพบว่า

- ปี 2021 รายได้ 32,549 ล้านบาท ขาดทุน 40,240 ล้านบาท

- ปี 2022 รายได้ 26,171 ล้านบาท กำไร 437 ล้านบาท

- ปี 2023 รายได้ 23,911 ล้านบาท ขาดทุน 26,754 ล้านบาท

เห็นได้ว่า ในบางปีบริษัทเริ่มกลับมามีกำไรได้บ้าง และการขาดทุน ก็เกิดจากการตัดด้อยค่า และการขายสินทรัพย์บางส่วนออกไป

อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์แบบนี้ ทำให้ BlackBerry กลายเป็นธุรกิจให้บริการซอฟต์แวร์ความปลอดภัยเต็มตัว และมีรายได้หลักจาก 3 ทาง ได้แก่

- ระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ 64% - ระบบ Internet of Things 31% - การขายลิขสิทธิ์การผลิตและอื่น ๆ 5%

ที่น่าสนใจคือ ระบบ Internet of Things ของ BlackBerry ถูกใส่ไว้ในรถยนต์หลายแบรนด์ กว่า 215 ล้านคันทั่วโลก อีกด้วย

ระบบที่ว่านี้ มีตั้งแต่ระบบเซนเซอร์นำทาง ระบบตรวจจับต่าง ๆ รวมไปถึงการสั่งการด้วยเสียง และเชื่อมต่อกับอุปกรณ์มือถือด้วยความปลอดภัยขั้นสูง

ตัวอย่างลูกค้าก็เช่น BMW, Ford, General Motors, Toyota, Audi, Volkswagen และ Volvo

และ BlackBerry ก็ได้กลายเป็นผู้นำในธุรกิจนี้ ของตลาดรถยนต์ ที่มีส่วนแบ่งตลาดมากถึง 1 ใน 3

ถึงตรงนี้ แม้ BlackBerry จะไม่ได้เป็นผู้นำในตลาดโทรศัพท์มือถือแล้วก็ตาม แต่บริษัทก็นับว่ารอดวิกฤติมาได้ และกลายเป็นหนึ่งในผู้เล่นของตลาดระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์แทน

ปัจจุบัน BlackBerry ก็ยังมีแผนที่จะนำธุรกิจระบบความปลอดภัย และ Internet of Things แยกออกไป IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์

จากที่ Mark Zuckerberg ซีอีโอ Facebook ได้ให้สัมภาษณ์สื่อหลายแห่ง ก็มีประเด็นน่าสนใจจากการให้สัมภาษณ์กับ Vox โดยเขายอมรับว่า Facebook Messenger มีการตรวจสอบข้อความในการสนทนาจริง

แต่ก่อนจะตกใจกันไป Zuckerberg บอกว่าการตรวจสอบข้อความนั้นทำเพื่อป้องกันไม่ให้มีข้อความที่ไม่เหมาะสมและเพื่อความปลอดภัย โดยเฉพาะเนื้อหาที่ผิดกฎการใช้งานของ Facebook ตัวอย่างเช่น ภาพอนาจารเด็ก หรือลิงก์ที่มีไวรัส และการตรวจสอบข้อความนั้นไม่ได้ทำเพื่อการโฆษณาแต่อย่างใด

เรื่องนี้อาจทำให้ผู้ใช้งานสับสนหน่อย เพราะ Messenger เป็นการสนทนาข้อความส่วนตัว แต่สุดท้าย Facebook ยืนยันว่ากระบวนการตรวจสอบทำด้วยระบบอัตโนมัติ และอยู่บนแนวทางเหมือนกับบริษัทอินเทอร์เน็ตอื่นๆ

ทั้งนี้ Facebook Messenger มีฟีเจอร์การส่งข้อความแบบเข้ารหัส end-to-end อยู่ เพียงแต่ต้องกำหนดค่านี้เพิ่มเติมด้วย

ทำไมBlackBerryถึงหายไป

แต่โลกนี้ไม่มีอะไรที่จีรังยั่งยืน เพราะ BlackBerry ค่อยๆ เสื่อมความนิยมจนเหลือส่วนแบ่งน้อยกว่า 0.1% ในที่สุด และตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นไป ตำนานที่ชื่อว่า 'BlackBerry' ก็กำลังจะหายไปอย่างถาวร

อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ BlackBerry ถูก disrupt จนเสื่อมความนิยมลงเช่นในปัจจุบัน

จุดตัดที่ทำให้ BlackBerry ต้องสูญเสียตลาดเป็นอย่างมากคือการเปิดตัวของ iPhone 4 ซึ่งเป็นรุ่นที่มีประสิทธิภาพสูงในรูปลักษณ์ที่สวยงาม ในทางกลับกันบริษัททารศัพท์อื่นๆ เริ่มย้ายเข้าไปใช้ Android เป็นระบบปฏิบัติการมากขึ้น เช่น Sony, Motorola, HTC, Samsung และ LG เป็นต้น ทำให้ iPhone และ Android มีจำนวนผู้ใช้และการพัฒนาอย่าง ...