2024 ทำไม blade runner 2049 ถ งได สาขากำก บภาพยอดเย ยม

แล้วยังมีอีกหลายฉากที่พยายามยัดเพลงหลอนๆ เสียงหึ่งๆ เหมือนหนังผี คือกะให้คนดูกดดัน แต่ไม่เลย มันเหมือนยัดเยียดมากกว่า

สุดท้าย ดูหนังออกมาว่างงแล้ว มาอ่านPantip ผมยิ่งงงหนักเลย คือมีหลายๆคนบอก หนังดี แต่ต้องคิดเยอะๆ ต้องดูหนังเป็นบลาๆๆ แต่ไม่ค่อยมีใครบอกเหตุผลสนับสนุนเลย

ถ้าจะบอกว่าผมดูหนังไม่เป็น ก็ช่วยอธิบายหน่อยครับว่าดูหนังเป็นต้องดูยังไงอะครับ ยกตัวอย่างมาก็ได้ว่าฉากไหนเค้าจะให้ดูอะไร ขอไม่เอาคำตอบลอยๆ แบบ "ต้องคิดเยอะถึงสนุก" "ต้องดูหนังเป็น" "ต้องทำการบ้านมา" "ไปดูKingsmanไป๊" อะไรพวกนี้นะครับ ขอเหตุผลแบบชัดๆนะครับ

อีกอย่างอยากถามว่ามีผมคนเดียวรึเปล่าที่ไม่ชอบทั้ง Blade Runner 2049 ทั้ง Arrival? (เหตุผลที่ไม่ชอบ Arrival ก็เหมือนข้างบน)

ด้วยความที่ Dune (2020) หนังไซไฟเรื่องล่าสุดของผู้กำกับมากฝีมือชาวฝรั่งเศส/แคนาดา เดนีส์ วีลเนิฟ (Denis Villeneuve) ที่รีเมคจากหนังไซไฟคลาสสิคในปี 1984 ในชื่อเดียวกันของ เดวิด ลินช์ (David Lynch) กำลังจะเข้าฉายทั่วโลกในเดือนพฤศจิกายนปี 2020 นี้ เราเลยขอหยิบเอาผลงานหนังไซไฟเรื่องเยี่ยมของเขาอีกเรื่องที่เขาหยิบเอาหนังไซไฟคลาสสิคมาทำใหม่อีกครั้งได้อย่างยอดเยี่ยมในเรื่องก่อนหน้า หนังเรื่องนั้นมีชื่อว่า

Blade Runner 2049 (2017)

ภาคต่อของหนังไซไฟคลาสสิคระดับตำนานอย่าง Blade Runner (1982) ของผู้กำกับ ริดลีย์ สก็อตต์ (Ridley Scott) ที่ดัดแปลงจากนิยายไซไฟ Do Androids Dream of Electric Sheep? ของ ฟิลิป เค. ดิ๊ก (Philip K. Dick) นำแสดงโดย ไรอัน กอสลิง และนักแสดงจากภาคเดิมอย่าง แฮร์ริสัน ฟอร์ด โดยหนังเล่าเรื่องราวในอีก 30 ปีให้หลังจากภาคแรก

หนังเล่าเรื่องราวในปี ของเจ้าหน้าที่ เค (ไรอัน กอสลิง) ที่ทำหน้าที่ตามล่า เรพลิแคนท์ หรือมนุษย์สังเคราะห์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นทาสรับใช้มนุษย์, การ “ปลดระวาง” (กำจัด) เรพลิแคนท์ที่หลบหนี เป็นหน้าที่ของนักล่าเรพลิแคนท์ หรือ เบลดรันเนอร์ อย่างเขานั่นเอง

นอกจากเนื้อหาที่สานต่อความลุ่มลึกแฝงปรัชญาของภาคแรกได้อย่างไม่น้อยหน้าไปกว่ากันแล้ว องค์ประกอบอันโดดเด่นเป็นสง่า ก็คืองานด้านภาพ การออกแบบงานสร้าง และงานดีไซน์ในหนัง ที่โดดเด่นไม่แพ้ในหนังภาคแรกที่กลายเป็นตำนานและส่งอิทธิพลให้หนังไซ-ไฟรุ่นหลังนำมาใช้เป็นบรรทัดฐานในการทำงานไปแล้ว

ไม่ว่าจะเป็นงานด้านภาพอันงดงามตระการตา ด้วยฝีมือการกำกับภาพของ โรเจอร์ ดีกินส์ (Roger Deakins) ที่คว้ารางวัลการถ่ายภาพยอดเยี่ยมจากเวทีออสการ์ในปี 2018 มาครอง หรือทีมวิช่วลเอฟเฟ็กต์อย่าง จอห์น เนลสัน (John Nelson), เกิร์ด เนฟเซอร์ (Gerd Nefzer), พอล แลมเบิร์ต (Paul Lambert) และ ริชาร์ด อาร์ ฮูเวอร์ (Richard R. Hoover) ที่คว้ารางวัลออสการ์สาขาเทคนิคพิเศษทางภาพยอดเยี่ยมมาด้วยเช่นกัน ส่วนโปรดักชั่นดีไซเนอร์ เดนิส กัสเนอร์ (Dennis Gassner) และ อเลซซานดรา คเวร์โซลา (Alessandra Querzola) ของหนังเรื่องนี้ ก็ได้เข้าชิงรางวัลออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม แต่ก็พลาดรางวัลไปอย่างน่าเสียดาย

และความโดดเด่นเป็นเอกของหนัง Blade Runner 2049 เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่าง โรเจอร์ ดีกินส์ กับ เดนิส กัสเนอร์ และ อเลซซานดรา คเวร์โซลา รวมถึงทีมงานเทคนิคพิเศษทางภาพเหล่านี้ ที่ร่วมกันสร้างโลกอนาคตแบบดิสโทเปีย ที่นอกจากจะคารวะงานโปรดักชั่นดีไซน์ในหนัง Blade Runner ภาคแรกในปี 1982 ด้วยการใช้ภาพเมืองแห่งอนาคตโดยอ้างอิงจากหนังภาคแรก 1982 (ที่ได้แรงบันดาลใจจาการ์ตูน The Long Tomorrow and Other Science Fiction Stories ของโมเบียส (Mobius) คอมมิกส์อาร์ติสต์ ศิลปิน และนักออกแบบชาวฝรั่งเศส) รวมถึงใช้ยานพาหนะจากหนังภาคแรกเช่นเดียวกัน (ที่ออกแบบโดย ซิด มี๊ด (Syd Mead) นักออกแบบยานพาหนะล้ำยุคชาวอเมริกัน) แต่ปรับให้มีความหนักแน่นสมจริงมากขึ้นตามความล้ำสมัยของเทคโนโลยีซีจีในหนังยุคปัจจุบัน ส่วนฉากอาคารและสถาปัตยกรรมในหนัง ได้รับแรงบันดาลใจสถาปัตยกรรมบรูทัลลิสม์ (Brutalist) ที่เป็นอาคารคอนกรีตดิบกระด้างขนาดใหญ่มหึมา ซึ่งสร้างความรู้สึกอึดอัดกดดันให้คนดูอย่างมาก

จุดเด่นอีกอย่างของการออกแบบงานสร้างในหนังเรื่องนี้ก็คือการใส่รายละเอียดปลีกย่อยทางดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ ของภาคแรก อย่างป้ายโฆษณาและป้ายชื่อร้านค้าหลากภาษาของเมืองลูกผสมหลากสัญชาติในยุคอนาคต หรือการอกแบบฉากสำนักงานใหญ่ Wallace Corp องค์กรตัวร้ายของเรื่อง ที่โชว์เทคนิคด้านการออกแบบฉากอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์พลาสติกแบบย้อนยุคสีนวลๆ แบบที่เห็นในหนังไซไฟยุค 80 แต่ทำออกมาใหม่ในดีไซน์เฉียบๆ แทนที่จะเป็นระบบทัชสกรีนไปหมดเหมือนหนังไซไฟเรื่องอื่นๆ ในยุคนี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การออกแบบและจัดแสงในหนังที่ทำได้อย่างเหนือชั้น ทั้งการใช้แสงสว่าง, ความมืด, แสงตกกระทบ, เงาตกกระทบ, แสงสะท้อน และการเลื่อนไหลถ่ายเทของแสงได้อย่างน่าทึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น การใช้แสงเหล่านี้ยังสะท้อนถึงตัวตนและบุคลิกภาพของผู้อยู่อาศัยและใช้งานสถานที่เหล่านั้นอีกด้วย

ด้วยความที่ตัวเจ้าของสถานที่อย่าง เนียนเดอร์ วอลเลซ (จาเร็ต เลโต้) เป็นคนตาบอด ดังนั้นเขาจึงไม่จำเป็นต้องอาศัยแสงสว่างในการดำเนินชีวิต เขาจึงมักจะปรากฏตัวในความมืดมิดเสมอ ในขณะที่พนักงานคนอื่นๆ รวมถึงแขกผู้มาเยือนอย่างเจ้าหน้าที่ K (ไรอัน กอสลิง) เป็นผู้ที่มีสายตามองเห็นเป็นปกติ แสงสว่างในอาคารจึงสาดลงมาส่องเฉพาะจุดที่พวกเขาอยู่ และดับลงเมื่อพวกเขาเดินออกไป คล้ายกับเป็นเงาที่เคลื่อนคล้อยติดตามตัวก็ปาน

นอกจากงานดีไซน์แสงในฉากนี้จะแสดงให้เห็นถึงระบบอำนวยความสะดวกอัจฉริยะของที่อยู่อาศัยในอนาคต (Ai Home) ที่มีฟังก์ชั่นตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยโดยอัตโนมัติและเฉพาะเจาะจงอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว เรายังสามารถตีความงานออกแบบแสงในฉากนี้ว่า มันแสดงถึงนัยยะที่ ความมืดมิดถือครองสถานที่แห่งนี้เป็นเจ้าเรือน ในขณะที่ แสงสว่างเป็นเพียงบริวาร หรือแขกผู้มาเยือนชั่วคราวเท่านั้น

ฉากทะเลทรายสีเพลิงของเมืองลาสเวกัส และเทคนิคเบื้องหลังงานด้านภาพในหนัง Blade Runner 2049

Weather Project (2003), ผลงานของ โอลาฟัวร์ เอลีย์เอสเซ่น

เดนิส วิลเนิร์ฟ ผู้กำกับ ในฉากของหนัง Blade Runner 2049

Notion motion (2005), ผลงานของ โอลาฟัวร์ เอลีย์เอสเซ่น

อนึ่ง การที่ตัวละคร เนียนเดอร์ วอลเลซ ตาบอดนั้น ถ้าคนที่ดูภาคแรกมาแล้วอาจจะพอเดาออก ว่ามันแฝงนัยยะที่สื่อไปถึงชะตากรรมตัวละคร เอลดอน ไทเรลล์ แห่ง Tyrell Corp ในหนังภาคแรกด้วย (อยากรู้ว่าเป็นยังไงก็ไปดูในหนังภาคแรกเอาเองละกัน)

มีเกร็ดเล็กๆ เกี่ยวกับงานด้านภาพอีกประการก็คือ มีแฟนหนังคนหนึ่งดูฉากทะเลทรายสีแดง หรือ เมืองลาสเวกัสในโลกอนาคตยุคดิสโทเปียในหนังเรื่องนี้ แล้วนึกเชื่อมโยงไปถึงงาน The Weather Project (2003) หรือที่คนเรียกกันติดปากว่า พระอาทิตย์เทียม ของ โอลาฟัวร์ เอลีย์เอสเซ่น (Olafur Eliasson) ว่ามีแสงสีและบรรยากาศคล้ายๆ กัน หรืองานด้านภาพที่ใช้เทคนิคแสงสะท้อนจากผิวน้ำที่ตกกระทบบนผนังในฉากห้องของ เนียนเดอร์ วอลเลซ ในสำนักงานใหญ่ของ Wallace Corp ก็ดูคล้ายคลึงกับผลงาน Notion motion, 2005 ของศิลปิน เอลีย์เอสเซ่น เหมือนกันด้วย แฟนหนังคนนั้นก็เลยเขียนไปถาม โรเจอร์ ดีคินส์ ในเว็บไซต์ของเขา ว่าได้แรงบันดาลใจในการถ่ายทำฉากนี้มาผลงานของเอลีย์เอสเซ่น หรือเปล่า?

ซึ่งดีคินส์อุตส่าห์ก็ตอบมาว่า เขาไม่รู้จักศิลปินคนนี้ แต่จะลองไปหางานของเขาดู หลังจากนั้น ดีคินส์ (ซึ่งน่าจะไปเสิร์ชดูงานมาแล้ว) ก็บอกว่า เขาไม่เคยรู้จักงานของโอลาฟัวร์มาก่อน จนถึงตอนนี้นี่แหละ และเขารู้สึกประทับใจมาก เขายังบอกอีกว่า โลกทุกวันนี้มันก็ไม่มีอะไรใหม่อีกแล้วแหละนะ อ่านคำถามที่ว่าได้ที่นี่ https://bit.ly/3lGkr3r

องค์ประกอบทางดีไซน์ที่โดดเด่นอีกอย่างในหนัง Blade Runner 2049 ก็คืองานออกแบบเครื่องแต่งกาย ฝีมือการออกแบบของคอสตูมดีไซเนอร์อย่าง รีนี เอพริล (Renée April) ซึ่งเธอเองก็ยอมรับว่าค่อนข้างกดดันเอาการ เมื่อเทียบกับความสำเร็จของงานดีไซน์ในภาคแรก เธอกล่าวว่าผู้กำกับ เดนีส วิลเนิร์ฟ ต้องการให้งานออกแบบของเธอ กระตุ้นให้คนดูหวนรำลึกถึงโลกในหนังภาคก่อน แต่ผลักมันให้ก้าวไปไกลกว่าเดิม

ในภาคแรก บรรยากาศในหนังมืดหม่นและอาบด้วยสายฝน แต่ในภาคล่าสุดนั้นเต็มไปด้วยหิมะ ฝน สภาพอากาศอันโหดร้ายและเป็นพิษ เป็นเหตุให้เอพริลออกแบบเครื่องแต่งกายที่มีฟังก์ชั่นที่ช่วยในการปกป้องชีวิตตัวละครมากกว่าจะเป็นความเก๋ไก๋แต่เพียงอย่างเดียว

งานออกแบบเครื่องแต่งกายใน Blade Runner 2049 จึงลดความเป็นแฟนตาซีแบบโลกอนาคตของภาคแรกจนเกือบหมด เปลี่ยนมาใช้เสื้อผ้าที่เน้นประโยชน์ใช้สอยและสมจริงสมจังแทน ส่วนใหญ่ใช้ดีไซน์แบบย้อนยุคที่ผสมผสานงานแฟชั่นของหลายวัฒนธรรม แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังสังเกตได้ว่ามีการแฝงกลิ่นอายความเป็นแฟชั่นแฟนตาซีของภาคแรกในรายละเอียดของลวดลายบนเนื้อผ้า และวัสดุให้เห็นบ้างเหมือนกัน

เช่นเสื้อโค้ตของตัวละครเจ้าหน้าที่ K (ไรอัน กอสลิง) ที่มีปกคอเสื้อที่สามารถคลี่ขึ้นมาใช้งานเป็นเหมือนหน้ากากกันฝุ่นและสารเคมีไปในตัว วัสดุที่ตัดเย็บเสื้อโค้ตนั้นไม่ใช่หนัง หากแต่เป็นผ้าที่เคลือบด้วยโพลียูรีเทนจึงทำให้มันกันน้ำ ซึ่งเหมาะกับสภาพอากาศในหนังที่มีฝนและหิมะตกเป็นส่วนใหญ่

หรือชุดที่ดูคล้ายกับกิโมโนของตัวละคร เนียนเดอร์ วอลเลซ แห่ง Wallace Corps ที่ดูคล้ายนักบวชเซนของญี่ปุ่น ซึ่งเอพริลจินตนาการถึงตัวละครนี้ว่าเป็นเหมือนกับ สตีฟ จ็อปส์ แห่งโลกอนาคต เธอกล่าวว่าตัวละครนี้มีชุดแบบเดียวกันซ้ำๆ หลายสิบชุด เช่นเดียวกับซีอีโอบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ทั้งหลายที่ชอบแต่งกายในชุดแบบเดิมๆ จนกลายเป็นเอกลักษณ์

หรือตัวละครหุ่นเลขาสาวจอมวายร้ายของ Wallace Corps อย่าง เลิฟ (ซิลเวีย โฮคส์) นั้น แทนที่จะแต่งกายในชุดแบบฟิวเจอริสต์พั้งก์เช่นเดียวกับตัวละครวายร้ายหญิงในภาคก่อนๆ ก็กลับสวมเสื้อผ้าที่เรียบง่ายแต่หรูเปี่ยมสไตล์ และกระชับคล่องตัวแทน หรือตัวละคร ผู้หมวดโจชิ (โรบิน ไรท์) หัวหน้าของตัวเอกอย่าง เค ก็เป็นเสื้อผ้าที่เคร่งครึมสมกับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระดับสูง แต่ก็แฝงรายละเอียดอันเก๋ไก๋เอาไว้แพทเทิร์นการตัดเย็บและเท็กซ์เจอร์ของเนื้อผ้า

ส่วนตัวละครเอกฝ่ายหญิงอย่าง จอย (อานนา เด อาร์มาส์) ก็แต่งตัวด้วยเครื่องแต่งกายที่ได้แรงบันดาลใจหลากหลายวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นชุดกี่เพ้า เสื้อขนเฟอร์ หรือชุดเดรสแขนยาวเข้ารูป แต่หนังก็แอบมีการหวนรำลึกถึงแฟชั่นไซเบอร์พังค์ของภาคเก่า ด้วยแจ็กเก็ตพลาสติกพีวีซีโปร่งใสของจอย รวมถึงชุดขนเฟอร์เทียมสีสันแสบตา และชุดผ้ายืดสีฉูดฉาดของตัวละครหุ่นแอนดรอย์สาวบริการอย่าง มาเรียตต์ (แมเคนซี เดวิส) และเพื่อนๆ ของเธอ

แต่ถึงแม้จะเต็มเปี่ยมไปด้วยงานดีไซน์อันเหนือชั้น และการกำกับภาพอันโดดเด่นเป็นเอก แต่ทั้งหมดทั้งมวลจะไม่มีความหมายเลยหากขาดไร้เรื่องราวและบทหนังอันเปี่ยมอารมณ์ความรู้สึก

ซึ่งสิ่งที่ทำให้ Blade Runner 2049 ต่างหนังไซไฟทั่วๆ ไป และจับใจผู้ชมอย่างมากก็คือ ถึงแม้ตัวละครหลักในเรื่องจะเป็นหุ่นยนต์หรือมนุษย์สังเคราะห์ แต่ก็เป็นตัวละครที่มีเลือดเนื้อ มีชีวิตจิตใจ มีอารมณ์ความรู้สึกอันเปี่ยมล้น

หนังเรื่องนี้ไม่ต่างอะไรกับหนัง her (her) ที่อัพเกรดเทคโนโลยีและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสมองกลขึ้นมาอีกระดับ (ซึ่งก็คือความสัมพันธ์ระหว่างหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ ที่มีร่างเนื้อมีชีวิตจิตใจ กับโปรแกรมสมองกลที่มีรูปกายแต่ไร้ร่างเนื้อ)

ที่สำคัญ ตัวละคร จอย ใน Blade Runner 2049 ก็ได้บรรลุเป้าหมายในสิ่งที่ ซาแมนธา ในหนัง her ปรารถนาจะทำแต่ไม่สำเร็จด้วย นั่นคือการมีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับคนที่ตัวเองรัก โดยหยิบยืมและซิงค์ (ไม่ใช่สิงนะ) กับร่างเนื้อของคนอื่น ผลลัพธ์ก็คือฉากการพลอดรักที่มีความเป็นไซเบอร์พังก์ที่สุดฉากหนึ่งในโลกภาพยนตร์ (น่าเสียดายที่หนังไม่ทำฉากนี้ให้สุดทาง ทั้งๆ ที่หนังก็ได้เรตอาร์อยู่แล้ว) พอหนังทำให้เราเชื่อว่าตัวละครสองตัวนี้รักกันอย่างลึกซึ้ง ก็ยิ่งทำให้ฉากที่พระเอกมองไปที่โฮโลแกรมโฆษณาของอดีตคนรักสาวสมองกลตอนท้ายเรื่องนั้นช่างจ็บปวดรวดร้าว และทำให้มันเป็นหนังไซไฟที่โรแมนติกและเศร้าที่สุดเรื่องหนึ่ง

สิ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้ตราตรึงใจผู้ชมอย่างมาก นอกจากประเด็นของความรัก ก็คือการที่ตัวละครเอกในหนังเรื่องนี้มีความเป็นแอนตี้ฮีโร่อย่างแท้จริง

ปกติในหนังเรื่องอื่นๆ มักจะทำให้ตัวละครเอกมีความพิเศษมากกว่าคนทั่วๆ ไป ถึงแม้ในบางครั้งพวกเขาจะปรากฏตัวในฐานะนคนที่ดูต่ำต้อยด้อยค่า เป็นคนธรรมดาที่ไม่มีความสลักสำคัญอะไรก็ตาม แต่หนังมักจะมาเฉลยในเวลาต่อมา ว่าจริงๆ แล้วตัวเอกเหล่านั้นเป็นคนที่มีความสำคัญและมีความพิเศษอะไรบางอย่างอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น The One (ผู้ปลดปล่อย), เด็กชายผู้รอดชีวิต, ทายาทกษัตริย์ในคราบคนพเนจร, เด็กเก็บขยะที่กลายเป็นอัศวินอวกาศ, นักเลงกระจอกๆ ที่กลายเป็นสุดยอดจอมยุทธ, ฯลฯ (คงเดากันออกนะ ว่ามาจากหนังเรื่องอะไรบ้าง)

ในช่วงแรกของหนัง Blade Runner 2049 ก็ทำให้ผู้ชม รวมถึงตัวเอกในเรื่อง เราคิดเช่นนั้นเหมือนกัน ว่าเขา (ตัวเอง) เป็นคนพิเศษ เป็นบุคคลคนสำคัญ แต่สิ่งที่เจ็บปวดที่สุดก็คือ ท้ายที่สุดแล้วหนังกลับตบหน้าตัวเอกในเรื่อง (และคนดูอย่างเราว่า) นี่เป็นสิ่งที่คิดไปเองทั้งนั้น! ความจริงข้อนี้นอกจากจะทำให้ตัวละครเอกในเรื่องร่วงไปสู่ความว่างเปล่าเคว้งคว้างและเจ็บปวดรวดร้าวแล้ว มันก็ทำให้คนดูอย่างเรารู้สึกเจ็บปวดด้วยเช่นกัน เพราะมันทำให้เราอดย้อนกลับมามองตัวเองไม่ได้ว่า ในโลกแห่งความเป็นจริง เราเองก็ไม่ได้เป็นคนพิเศษและไม่ได้เป็นคนที่สลักสำคัญอะไรเหมือนๆ กันนั่นแหละ ดูฉากนี้แล้วทำให้อดนึกไปถึงตัวละคร โป้วอั้งเสาะ ในยุทธนิยาย ดาบจอมภพ ของโกวเล้ง ไม่ได้ ว่าตัวละครมีชะตากรรมและความพังพินาศในระดับเดียวกัน ตัวละครที่ถูกชะตากรรมโบยตี ตัวละครที่เปล่าเปลี่ยวเดียวดายจนถึงที่สุดแบบนี้นี่แหละ ถึงจะเรียกว่าเป็นตัวละครแบบ แอนตี้ฮีโร่ อย่างแท้จริง

หนังเรื่องนี้ทำให้เราตระหนักได้ว่า ถึงแม้ทำหนังไซไฟหนังฟอร์มยักษ์ทุนสร้างมโหฬาร อลังการงานสร้างเลิศล้ำตระการตา มีดาราซูเปอร์สตาร์มาเล่นในหนังเยอะขนาดไหน แต่ท้ายที่สุดสิ่งที่จะจับใจของคนดูได้ ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า "ความเป็นมนุษย์" นั่นเอง

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก https://goo.gl/zvNzCK, https://goo.gl/KALTMX, https://goo.gl/fp8iTw, https://goo.gl/MdpEdP, https://goo.gl/zEKx8H, https://goo.gl/2yYgZL, https://goo.gl/GauZAG

Xspace

movie

art

design

artdirection

productiondesign

bladerunner

cinematographer

visualeffects

denisvilleneuve

rogerdeakins

reneeapril

realism

neofuturism

bladerunner2049

scifi

scifimovies

scififiction

dystopia

cyberpunk

philipkdick

novel

fasiondesign

olafureliasson

costume

scifi

scifimovies

scififiction

dystopia

cyberpunk

philipkdick

novel

fasiondesign #เครื่องแต่งกาย #เสื้อผ้า #โลกอนาคต #แรงบันดาลใจจากงานดีไซน์ #แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์