2024 ใครท ทำไม ด ไว ไปบวชสะข าจะจ บเป นเอ ง

สำหรับการห่มของพระธรรมยุติ ทั้งห่มแหวกและห่มลดไหล่นั้น จะมีการเก็บชายจีวรได้ 2 แบบคือ อาจจะจีบชายจีวรทบแบบมอญ (รูปที่ 2, 8) หรือม้วนลูกบวบแบบไทยก็ได้ (รูปที่ 7, 9, คลิปที่ 2)

สำหรับการเลือกว่าจะห่มคลุมหรือห่มเฉวียงบ่านั้น เมื่อไปละแวกบ้านควรต้องห่มคลุม แต่ถ้าอยู่ที่วัดโดยเฉพาะเมื่อต้องแสดงความเคารพก็ห่มเฉวียงบ่า ตามที่พระวินัยมีกล่าวไว้ว่า 1. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล อันภิกษุนุ่งปิดมณฑลสะดือ มณฑลเข่า ชื่อว่านุ่งเป็นปริมณฑล 2. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักห่มเป็นปริมณฑล อันภิกษุห่มทำมุมทั้งสองให้เสมอกัน ชื่อว่าห่มเป็นปริมณฑล 3. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายดี ไปในละแวกบ้าน อันภิกษุพึงปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน 4. สิทธิวิหาริกนั้น พึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว กล่าวคำอย่างนี้ 3 หน 5. อันเตวาสิกนั้นพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้ว กล่าวอย่างนี้ 3 หน

โดยคณะสงฆ์ไทยเดิม (มหานิกาย) จะห่มมังกรและห่มดองมาแต่ครั้งอยุธยาและสุโขทัย แต่เมื่อตั้งธรรมยุติกนิกายขึ้นนั้น รัชกาลที่ 4 ครั้งยังเป็นวชิรญาณภิกขุ ได้ทรงเลือกการห่มแบบมอญเนื่องจากทรงเห็นว่าตรงตามพระวินัยมากกว่า อย่างไรก็ตามที พระวินัยเองก็ไม่ได้ให้รายละเอียดในเรื่องนี้ไว้มากนัก และเมื่อดูพระพุทธรูปคันธาระซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยแรกสุด ก็จะเห็นว่าการห่มคลุมนั้น ท่านเอาพระหัตถ์ออกทางชายจีวรเหมือนพระมหานิกายไม่ได้ห่มแหวกแบบพระธรรมยุติ (รูปที่ 6)

การ overlap ของการครองผ้าของพระสงฆ์ทั้งสองนิกาย 1. ในปัจจุบันพระมหานิกายหลายวัด เปลี่ยนมาครองจีวรแบบธรรมยุติ สาเหตุน่าจะเนื่องจาก ตั้งแต่หลังจากกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสสิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2396 แล้ว องค์สกลมหาสังฆปรินายกก็เป็นฝ่ายธรรมยุติมาตลอดกว่า 80 ปี จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2481 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสซึ่งทรงโปรดที่จะให้พระมหานิกายห่มแหวก ทำให้มีพระมหานิกายหลายวัดหันมาห่มแบบธรรมยุติ 2. ในปัจจุบันพระธรรมยุติ ยังคงต้องห่มดองในบางพิธีและพระราชพิธี เรื่องนี้คิดว่าสาเหตุน่าจะมาจากเหตุการณ์ในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ทรงมีพระราชปรารภเรื่องพระสงฆ์ธรรมยุติไทยห่มแหวกแบบพระมอญ อยู่ถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกทรงมีพระราชดำริเรื่องรัชชทายาทว่า “ที่สติปัญญาพอจะรักษาแผ่นดินได้อยู่ เห็นแต่ท่านฟ้าใหญ่คนเดียว แต่รังเกียจอยู่ว่าท่านฟ้าใหญ่ถืออย่างมอญ ถ้าเป็นเจ้าแผ่นดินขึ้นก็จะให้พระสงฆ์ห่มผ้าอย่างมอญเสียหมดทั้งแผ่นดิน ดอกกระมัง” และต่อมาได้ทรงมีพระราชปรารภว่า “พระภิกษุผู้เป็นสงฆรัตนในกรุงศรีอยุธยาก็เห็นนุ่งสะบงทรงจีวรเป็น ลูกบวบทั้งสิ้นด้วยกัน แต่พะม่ารามัญที่เข้ามาพึ่งพระบรมโสมภาร อยู่นั้นและเห็นครองผ้าผิดกับพระภิกษุของเรา จึงเรียกกันว่าพระมอญ เดี๋ยวนี้พระไทยก็ห่มผ้าเป็นมอญ” “นี่พี่กลัวจะเป็นบาปเป็นบุญ เป็นคุณเป็นโทษพระสงฆ์จะแตกร้าวกันไปจึงมิได้ว่ากล่าว แต่ใจนั้นรักแต่ อย่างบุราณอย่างเดียวนั้นและ” ซึ่งในครั้งนั้นรัชกาลที่ 4 ได้ขอรับพระราชทาน สารภาพและให้พระธรรมยุติกลับมาห่มจีวรแบบพระไทยเหมือนเดิม อย่างไรก็ตามเมื่อทรงขึ้นครองราชย์แล้ว คณะสงฆ์ธรรมยุติได้ทูลขอกลับห่มแหวกอย่างเดิม ทรงว่าเป็นการของสงฆ์ไม่เกี่ยวด้วยอาณาจักร ดังนั้นจึง “ไม่ทรงห้ามปรามหรือ ทรงอนุญาตทั้ง 2 สถาน แต่นั้นพระสงฆ์ธรรมยุติกาก็กลับห่มแหวกต่อมา” แต่ก็ยังคงเหลือบางพิธีและพระราชพิธี ซึ่งอาจจะเนื่องกับพิธีเดิมในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่พระธรรมยุติยังคงต้องห่มดองเหมือนมหานิกายอยู่จนถึงปัจจุบัน

ห่มมังกร https://youtu.be/5ufATYQ4PiQ ห่มแหวก https://youtu.be/OuUzE42YjzQ ห่มดอง https://youtu.be/5OE5hGtXZL8 ห่มลดไหล่ https://youtu.be/4wPnuS2fxng

1. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) 2. เสขิยกัณฑ์ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ 3. วิธีถืออุปัชฌายะ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ 4. การถือนิสสัย พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ 5. สาส์นสมเด็จ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔ ดร 6. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๕๑ จดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ราชบัณฑิตยสภารวบรวม

รูปที่ 1 ห่มมังกร สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต), สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง) ครั้งเป็นพระธรรมทูตไปประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2515 Cr. ภาพจาก https://www.manasikul.com/มหาจุฬาฯ-งามสง่าสดชื่น-ก/

รูปที่ 3 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร) ทรงห่มเฉวียงบ่าแบบธรรมยุติ พาดสังฆาฏิ และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง) ห่มดอง ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม 3 ต.ค. 2556 Cr. ภาพจาก http://www.alittlebuddha.com/

รูปที่ 5 สังฆมนตรี แถวกลางจากซ้าย องค์ที่ 1 และ 2 คือสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น) วัดสามพระยาและสมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์) วัดสังเวชวิศยาราม ซึ่งเป็นมหานิกายทั้ง 2 รูปแต่ห่มจีวรแบบธรรมยุติ ส่วนสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) วัดพระเชตุพน (พระองค์ที่ 4) ซึ่งเป็นมหานิกายเช่นเดียวกันทรงห่มดอง Cr. ภาพจาก FB สำนักเรียนวัดสามพระยา

รูปที่ 7 การห่มคลุมของพระคันธาระ จะดูคล้ายกับแบบมหานิกาย

รูปที่ 9 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ทรงห่มลดไหล่พาดสังฆาฏิ พระเทพวิทยาคม (คูณ) วัดบ้านไร่ห่มลดไหล่แบบทบชายจีวรและไม่พาดสังฆาฏิ Cr. ภาพจาก https://m.pantip.com/topic/31094306?

เขียนโดย “หมอนกแก้ว (นกขุนทอง)