บทบาทสำค ญของสมเด จพระเพทราชาท ม ต อชาต ไทยค ออะไร

้เปิดพระราชประวัติ "พระเจ้าเสือ" ราชาผู้น่าเกรงขาม ผู้ได้ชื่อว่าเด็ดขาดและโหดร้าย พร้อมมีข่าวลือมากมาย ระหว่างปกครองอยุธยากว่า 5 ปี

หนึ่งในตัวละครที่มีบทบาทสำคัญในละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส และจะมีบทบาทต่อไปในภาคต่ออย่างละครเรื่อง พรหมลิขิต (Love Destiny 2) นั่นคือ “พระเจ้าเสือ” หรือหลวงสรศักดิ์ (ก๊อต จิรายุ) ที่เป็นหนึ่งในผู้สมรู้ร่วมคิด ก่อกบฏในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก่อนสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอยุธยาในเวลาต่อมา วันนี้ เราจะพามาทำความรู้จักพระองค์ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงข่าวลือต่าง ๆ ของพระองค์ ที่ถูกบันทึกไว้ในพงศาวดาร

ประวัติ “ท้าวทองกีบม้า” ลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น ผู้สร้างตำนานขนมไทย

ประวัติ “โกษาปาน” ย้อนดูความขัดแย้ง พระเพทราชา ถูกตัดจมูก-โบยเสียชีวิต

บทบาทสำค ญของสมเด จพระเพทราชาท ม ต อชาต ไทยค ออะไร

“พระเจ้าเสือ” หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (ตามคำให้การกรุงเก่าระบุว่า พระองค์มีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 29 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2246 ถึง พ.ศ. 2251 รวมระยะเวลา 5 ปี

โอรสแท้พระเพทราชา หรือโอรสลับสมเด็จพระนารายณ์?

ตามพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่า พระเจ้าเสือเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในสมเด็จพระเพทราชา อย่างไรก็ตาม พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนฯ ฉบับตัวเขียน ระบุว่า พระเจ้าเสือ เป็นพระราชโอรสลับในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กับพระราชชายาเทวี หรือเจ้าจอมสมบุญ (คำให้การชาวกรุงเก่าเรียกว่า นางกุสาวดี) ซึ่งเป็นพระราชธิดาในพญาแสนหลวง เจ้าเมืองเชียงใหม่

โดยพระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ ให้ข้อมูลว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงทำศึกสงครามกับเมืองเชียงใหม่แล้วได้ราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นสนม แต่นางสนมเกิดตั้งครรภ์ พระองค์ได้ละอายพระทัยด้วยเธอเป็นนางลาว พระองค์จึงได้พระราชทานแก่พระเพทราชา ดังความในพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ ใจความว่า

"แล้วเมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาจากเมืองเชียงใหม่นั้น พระองค์เสด็จทรงสังวาสด้วยพระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ และนางนั้นก็ทรงครรภ์ขึ้นมา ทรงพระกรุณาละอายพระทัย จึงพระราชทานนางนั้นให้แก่พระเพทราชา แล้วดำรัสว่านางลาวนี้มีครรภ์ขึ้นมา เราจะเอาไปเลี้ยงไว้ในพระราชวังก็คิดละอายแก่พระสนมทั้งปวง และท่านจงรับเอาไปเลี้ยงไว้ ณ บ้านเถิด และพระเพทราชาก็รับพระราชทานเอานางนั้นไปเลี้ยงไว้ ณ บ้าน"

โดยเหตุผลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่าว่า พระองค์ทรงเกรงว่าพระราชโอรสองค์นี้จะคิดกบฏชิงราชสมบัติอย่างเมื่อคราวพระศรีศิลป์ ส่วนคำให้การของขุนหลวงหาวัด ระบุว่า พระองค์ทรงต้องรักษาราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีเท่านั้น

บทบาทสำค ญของสมเด จพระเพทราชาท ม ต อชาต ไทยค ออะไร

การขึ้นครองราชย์

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระเจ้าเสือได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการ เป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าเสือ ขณะดำรงตำแหน่งเป็นนายเดื่อมหาดเล็ก สามารถบังคับช้างพลายซ่อมตัวหนึ่งที่กำลังตกมันได้สำเร็จ จึงเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์ และโปรดให้เป็นหลวงสรศักดิ์ รับราชการในกรมพระคชบาล

ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ก็ได้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งหวังจะได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระเพทราชา แต่สมเด็จพระเพทราชากลับทรงโปรดปรานเจ้าพระขวัญ พระราชโอรสของพระองค์และกรมหลวงโยธาทิพ ทั้งยังมีผู้คนมากมายต่างพากันนับถือ ทำให้กรมพระราชวังบวรฯ เกิดความหวาดระแวงว่าราชสมบัติจะตกไปอยู่กับเจ้าพระขวัญ จึงเกิดเหตุการณ์นำเจ้าพระขวัญมาสำเร็จโทษด้วยไม้ท่อนจันทร์

เมื่อสมเด็จพระเพทราชาซึ่งทรงประชวรทรงทราบ ทรงพระพิโรธกรมพระราชวังบวรฯ เป็นอันมากและตรัสว่าจะไม่ยกราชสมบัติให้แก่กรมพระราชวังบวรฯ แล้วทรงพระกรุณาตรัสเวนราชสมบัติให้ “เจ้าพระพิไชยสุรินทร” พระราชนัดดา แต่เจ้าพระพิไชยสุรินทรทรงเกรงกลัวกรมพระราชวังบวรฯ จึงไม่กล้ารับ และน้อมถวายราชสมบัติแด่กรมพระราชวังบวรฯ พร้อมสถาปนาเป็นสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ “พระเจ้าเสือ”

พระอุปนิสัย

พระอุปนิสัยที่มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างถึงความโหดร้ายและความเด็ดขาดของพระเจ้าเสือ มีระบุไว้ในพระราชพงศาวดารสองฉบับ โดยฉบับแรกคือ พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่า

"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพอพระทัยเสวยน้ำจัณฑ์ แล้วเสพสังวาสด้วยดรุณีอิตถีสตรีเด็กอายุ 11-12 ปี ถ้าสตรีใดเสือกดิ้นโครงไป ให้ขัดเคือง จะลงพระราชอาชญาถองยอดอกตายกับที่ ถ้าสตรีใด ไม่ดิ้นเสือกโครงนิ่งอยู่ ชอบพระอัชฌาสัย พระราชทานบำเหน็จรางวัล

"ประการหนึ่ง ถ้าเสด็จไปประพาสมัจฉาชาติฉนากฉลามในชลมารคทางทะเลเกาะสีชังเขาสามมุขแลประเทศที่ใด ย่อมเสวยน้ำจัณฑ์พลาง ถ้าหมู่พระสนมนิกรนางในแลมหาดเล็ก ชาวที่ทำให้เรือพระที่นั่งโคลงไหวไป มิได้มีพระวิจารณะ ปราศจากพระกรุณาญาณ ลุอำนาจแก่พระโทโส ดำรัสสั่งให้เอาผู้นั้นเกี่ยวเบ็ดทิ้งลงไปกลางทะเล ให้ปลาฉนากฉลามกินเป็นอาหาร”

"ประการหนึ่ง ปราศจากพระเบญจางคิกศีล มักพอพระทัยทำอนาจารเสพสังวาสกับภรรยาขุนนาง แต่นั้นมาพระนามปรากฏเรียกว่า พระเจ้าเสือ"

ส่วนพระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม บันทึกว่า

"ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมีพระราชหฤทัยกักขฬะ หยาบช้า ทารุณ ร้ายกาจ ปราศจากกุศลสุจริต ทรงพระประพฤติผิดพระราชประเพณี มิได้มีหิริโอตัปปะ และพระทัยหนาไปด้วยอกุศลลามก มีวิตกในโทสโมหมูลเจือไปในพระสันดานเป็นนิรันดร์มิได้ขาด แลพระองค์เสวยน้ำจัณฑ์ขาวอยู่เป็นนิจ แล้วมักยินดีในการอันสังวาสด้วยนางกุมารีอันยังมิได้มีระดู (ประจำเดือน)”

“ถ้าและนางใดอุตส่าห์อดทนได้ ก็พระราชทานรางวัลเงินทองผ้าแพรพรรณต่าง ๆ แก่นางนั้นเป็นอันมาก ถ้านางใดอดทนมิได้ไซร้ ทรงพระพิโรธ และทรงประหารลงที่ประฉิมุราประเทศให้ถึงแก่ความตาย แล้วให้เอาโลงเข้ามาใส่ศพนางนั้นออกไปทางประตูพระราชวังข้างท้ายสนมนั้นเนือง ๆ และประตูนั้นก็เรียกว่า ประตูผีออก มีมาตราบเท่าทุกวันนี้”

"อยู่มาครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จด้วยพระชลพาหนะออกไปประพาส ณ เมืองเพชรบุรี และเสด็จไปประทับแรมอยู่ ณ พระราชนิเวศน์ตำบลโตนดหลวง ใกล้ฝั่งพระมหาสมุทร และที่พระตำหนักนี้เป็นที่พระตำหนักเคยประพาสมหาสมุทรมาแต่ก่อนครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้านั้น และสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินก็เสด็จด้วยพระที่นั่งมหานาวาท้ายรถ แล่นไปประพาสในท้องพระมหาสมุทรตราบเท่าถึงตำบลเขาสามร้อยยอด และทรงเบ็ดตกปลาฉลามและปลาอื่นเป็นอันมาก แล้วเสด็จกลับมา ณ ตำหนักโตนดหลวง และเสด็จเที่ยวประพาสอยู่ดังนั้นประมาณ 15 เวร จึ่งเสด็จกลับยังกรุงเทพมหานคร"

บทบาทสำค ญของสมเด จพระเพทราชาท ม ต อชาต ไทยค ออะไร

พระราชกรณียกิจ

พระเจ้าเสือ มีรับสั่งให้ปฏิสังขรณ์มณฑปสวมรอยพระพุทธบาทสระบุรี ซึ่งสร้างมาแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งทำเป็นยอดเดียวชำรุด โปรดฯ ให้สร้างใหม่เป็น 5 ยอด รวมทั้งปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งอาราม ต่อมาปี พ.ศ. 2249 เกิดอัสนีบาตต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตร เครื่องบนมณฑป ทรุดโทรมพังลงมาต้องพระศอพระมงคลบพิตรหัก โปรดฯ ให้รื้อเครื่องบนออก ก่อสร้างใหม่แปลงเป็นมหาวิหาร

นอกจากนี้ ยังเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธฉายและสันนิษฐานว่าค้นพบในสมัยพระองค์ และทรงให้มีการปรับปรุงเส้นทางไปยังพระพุทธบาทสระบุรี ให้เดินทางได้สะดวกยิ่งขึ้น

วรรณกรรม

จากคำกล่าวอ้างของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงประทานตรัสอธิบายว่า ในยุคของพระเจ้าเสือ ปรากฏเพียงวรรณกรรม “โคลงกำสรวล” เท่านั้น ซึ่งแต่งโดยกวีผู้มีราชทินนามว่า ศรีปราชญ์ แต่มิใช่ศรีปราชญ์บุคคลที่เป็นบุตรของพระโหราธิบดี

และวรรณกรรมอีกเรื่องหนึ่งที่ปรากฏคือ เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา ซึ่งคาดว่าพระเจ้าเสือแต่งขึ้นสมัยยังเป็นหลวงสรศักดิ์ และคาดว่าอาจแต่งขึ้นเพื่อใช้เพื่อปลุกระดมไพร่พลของอยุธยา เนื่องจากว่าไม่มีทางที่พระมหากษัตริย์พระองด์ใดของอยุธยา จะทรงทำนายความวิบัติของแผ่นดินพระองค์เอง

บทบาทสำค ญของสมเด จพระเพทราชาท ม ต อชาต ไทยค ออะไร

สวรรคต

พระเจ้าเสืออยู่ในราชสมบัติเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2246 ถึง พ.ศ. 2251 เป็นเวลา 5 ปี สวรรคตเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2251 ขณะพระชนมายุ 47 พรรษา