บทความความร กของพ อแม ท ม ต อล ก

“หน้าสังคม-สตรีเดลินิวส์” ขอถ่ายทอดแนวทางจากกูรูผู้รู้มาบอกต่อเผื่อเป็นหนึ่งการครีเอทลุคให้เหมาะกับตัวเองในวันใหม่ ปีใหม่นี้

บทความความร กของพ อแม ท ม ต อล ก

คุณบีบี-นันทนา บุนนาค ที่ปรึกษาภาพลักษณ์ และเทรนเนอร์พัฒนาบุคลิกภาพ เผยว่า สถาบันสี Pantone ประกาศอย่างเป็นทางการว่าสีประจำปี 2024 คือสี Pantone 13-1023 สี Peach Fuzz หรือสีพีช ถ้านึกไม่ออกให้คิดถึงสีลูกพีช ( แอปริคอท) ที่ให้ความรู้สึก ส้มโทนอบอุ่น นุ่มนวล ชวนน่ามอง น่ารัก ให้ความรู้สึกเหมือนแสงแดดอบอุ่น สื่อถึงความนุ่มนวล ความอบอุ่นในความสัมพันธ์ ถ้าอยากแต่งตัว เอเวอรี่ เดย์ ลุค ให้เข้ากับสีแพนโทน ขอแนะนำให้แมตช์ ชิ้นสีพีชกับสีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น เช่นถ้าจะแมตช์เสื้อหรือแจ๊กเกตสีพีชให้แมตช์กับท่อนล่างสีขาว หรือสีเทาอ่อน อาจจะหลีกเลี่ยงโทนสีมืด เช่น ดำ หรือน้ำตาล ซึ่งให้ความรู้สึกหนัก

คุณบีบี ยังแนะนำด้วยว่า “ถ้าจะให้สวยแบบสะดุดตาและเก๋สุด ๆ อยากให้ลอง สีพีชท่อนบน แมตช์กับกางเกงหรือกระโปรงสีส้มไปเลยรับรองจะดูสนุกมีชีวิตชีวา ถ้าจะเลือกชิ้นไหนมาแมตช์กับสีพีช ให้ดูเนื้อสีเป็นหลัก หรือ color intensity ให้ไปในทางเดียวกัน เมค อัพ ลุคใช้โทนสีส้มอบอุ่น เช่น บลัชออนสีส้มแอปริคอทให้ความรู้สึกเป็นสาวน้อยเพิ่งออกแดดมาใหม่ ๆ หรือลิปสติกสีส้มอ่อน เครื่องประดับแนะนำสีทอง ที่ไม่เข้มจนเกินไป เพื่อเพิ่มความรู้สึกอบอุ่น ดูละมุนตา เพิ่มความดูแพงของลุคไปอีก และออกงานกลางคืนได้ด้วย อาจจะเลือกเครื่องประดับสีทองที่ใหญ่ขึ้น หรือเข้มขึ้นก็ดูเอเลเกนท์ไปอีก ส่วนใครอยากเล่นกระเป๋าหรือรองเท้า อย่าลืมแมตช์สีให้ไปในทางเดียวกัน ก็ยิ่งสวย แต่ถ้าหารองเท้าสีพีช กับกระเป๋ายากไปหน่อย ให้ใช้สีครีม เบจอ่อน หรือขาวไปเลย แต่ถ้าอยากให้ลุคดูเป็นทางการขึ้นให้แมตช์ด้วยสีเบจขึ้น หรือสีน้ำตาลอ่อนก็สวย”

บทความความร กของพ อแม ท ม ต อล ก

คุณฌอน–ชวนล ไคสิริ ผู้ก่อตั้งและครีเอทีฟไดเรกเตอร์ประจำแบรนด์ “โพเอม” (POEM) ถ่ายทอดว่า เทรนด์สีของแฟชั่นปี 2567 เป็นปีของสีสด แม่สีที่มีความ Vibrant ในช่วงต้นปี ฤดูกาลสปริง ซัมเมอร์ 2024 วัสดุที่จะมาแรงในช่วงปี 2024 คือวัสดุที่มีผิวสัมผัสเหมือนไข่มุก หรือ จิวเวลรี่ ที่เป็นไข่มุกจะกลับมาเป็นไอเท็มชิ้นหลักที่สาว ๆ ทุกคนจะต้องตามหามาแมตช์กับชุด สีหลักที่จะมาแรงและเป็นเทรนด์ที่ทุกคนจะต้องมีติดตู้เป็นสีโทนชมพูสดอย่าง Magenta, Shocking pink ส่วนในช่วงปลายปีออทั่มวินเทอร์ 2024 สีที่จะมาแรงจะเป็นสีน้ำเงินสดอิเล็กทริก บลู ทั้งสองจะมาทั้งในรูปแบบของเสื้อผ้า เครื่องประดับไปถึงเครื่องหนังอย่างกระเป๋าและเครื่องหนังชิ้นเล็ก ส่วนเสื้อผ้าชิ้นที่จะต้องมีติดตู้เป็นชิ้น Tailor ที่มีโครงสร้างการตัดเย็บแบบสูทที่จะมาในโทนสีสันสดใสหรือโทนสีคลาสสิก อย่างสีขาวออฟไวท์ สีชมพูนู้ด สีไวน์ยังคงเป็นสียืนพื้นของแฟชั่นที่จะถูกทำให้สนุกด้วยองค์ประกอบตกแต่งที่เป็นเท็กซ์เจอร์ ของไข่มุก ไอเท็มชิ้นที่ห้ามพลาดของปี 2024 น่าจะเป็นลิตเติ้ล แบล็ก เดรส ที่มี ดีเทล การตกแต่งของ ornament ที่เป็นไข่มุก ภาพรวมเป็นการผสมผสานกันระหว่างความเก่าและความใหม่ ซิลลูเอท สไตล์วินเทจ มาในสีสันสุดโมเดิร์น หรือ ซิลลูเอท สุดโมเดิร์น

บทความความร กของพ อแม ท ม ต อล ก

คุณลดา-รัษฎา รัศมีเจริญ Creative Director of The Hairett เผยถึงเทรนด์ผมโลกที่กำลังจะมาว่า “เป็นโทนธรรมชาติขึ้น เป็น เอ็กซ์เพนซีฟ บราวน์ เป็นสีน้ำตาลที่ดูธรรมชาติขึ้น เป็นโทนสีออกน้ำตาลที่ดูมีไฮไลต์ เป็นไฮไลต์โทนฝรั่ง น้ำตาลสลับทอง เป็น Vibe แบบ Old Money (ลุคผู้ดี) คนไทยตามเทรนด์โลกมาก ๆ แล้ว เกาะไปกับเทรนด์ของแฟชั่นแนวนี้ ส่วนใหญ่ทำอะไรทำตามฝรั่ง สีจะไม่ฉูดฉาด จะเป็นสีผมอันเดอร์โทนของมนุษย์ สีน้ำตาล น้ำตาลอ่อนบลอนด์เข้ม บลอนด์อ่อน ไฮไลต์สีอ่อน ออกแนวดูแกลม ดูหรู ส่วนเทรนด์ของเกาหลี จะเป็นเทรนด์ของเขาอยู่แล้ว คือ ทำผมสีมาก ๆ ไปเลย ส่วนเทรนด์ตัดผม ที่ตัดตามเทรนด์นางเอกเกาหลีจะมีทุกปีอยู่แล้ว ซึ่งเทรนด์การตัดผมของสาว ๆ ที่คิดว่าจะยังคงตัดกันอยู่ คือ ทรงThe wavy bob brunch เป็นบ็อบตรงที่ไม่ได้ตรง แต่ก็ไม่ม้วนเป็นลอน เป็นคลื่นสะบัดปลายนิดเดียว งอตรงกลางเป็นเคิร์ฟนิดเดียวแล้วปัดปลายไปเลย ไม่ได้สะบัดแบบผมสวอน เพราะเป็นทรงที่ดูแลง่าย ไม่ต้องดูแลยุ่งยาก ทุกช่อผมม้วนไม่ต้องเท่ากัน ดูธรรมชาติขึ้น”.

แนวคิดสำคัญที่อธิบายถึงการกำเนิดขึ้นของจักรวาลในปัจจุบัน เห็นจะไม่มีแนวคิดใดโดดเด่นเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกเท่ากับทฤษฎีบิ๊กแบง (Big Bang theory) อีกแล้ว แต่น้อยคนที่จะรู้ว่านักวิทยาศาสตร์ผู้นำเสนอแนวคิดนี้ขึ้นมาเป็นคนแรก โดยโต้แย้งกับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และนักฟิสิกส์ทฤษฎีคนอื่น ๆ ในช่วงทศวรรษ 1930 คือบาทหลวงนิกายโรมันคาทอลิกผู้หนึ่ง

คุณพ่อฌอร์ช เลอแมตร์ (Georges Lemaître) นักจักรวาลวิทยาและนักบวชชาวเบลเยียม ถือได้ว่าเป็น “บิดาแห่งทฤษฎีบิ๊กแบง” อย่างแท้จริง ล่าสุดวงการฟิสิกส์ทฤษฎีระดับโลกได้หวนรำลึกถึงผลงานของบาทหลวงเลอแมตร์อีกครั้งหนึ่ง หลังมีการค้นพบฟิล์มภาพยนตร์ความยาว 20 นาที ซึ่งสถานีโทรทัศน์ VRT ของเบลเยียมได้บันทึกการสัมภาษณ์คุณพ่อเลอแมตร์เอาไว้ เมื่อเกือบ 60 ปีก่อน

ฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวถือเป็นบันทึกการสัมภาษณ์เดียวของบาทหลวงเลอแมตร์ที่ยังหลงเหลืออยู่ โดยคู่สนทนาพูดคุยกันเป็นภาษาฝรั่งเศส ก่อนหน้านี้เข้าใจกันว่าฟิล์มต้นฉบับได้สูญหายไปแล้ว แต่การจัดระเบียบคลังเก็บวิดีโอเทปและฟิล์มภาพยนตร์เก่าครั้งใหญ่ ทำให้เราได้มีโอกาสมองย้อนอดีต เพื่อไปทำความเข้าใจกับภูมิปัญญาและทัศนคติของผู้เป็นต้นคิดทฤษฎีสำคัญทางจักรวาลวิทยาคนนี้

  • นักฟิสิกส์ใช้คลื่นความโน้มถ่วงค้นหา “จุดเริ่มต้นของกาลเวลา”
  • นักวิทยาศาสตร์สร้าง "บิ๊กแบง" ขนาดย่อมได้โดยบังเอิญ
  • นักฟิสิกส์ได้ “ค่าคงที่ฮับเบิล” ใหม่ ชี้เอกภพเร่งขยายตัวเร็วขึ้นอีก

บาทหลวงเลอแมตร์เกิดที่เมือง Charleroi ของเบลเยียมเมื่อปี 1894 เขามีความสนใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาตั้งแต่วัยเยาว์ และได้เริ่มศึกษาวิชาฟิสิกส์ทฤษฎีหลังสิ้นสุดการเป็นทหารเกณฑ์ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

เลอแมตร์ได้บวชเป็นบาทหลวงคาทอลิกในปี 1923 และในปีต่อมาได้เริ่มศึกษาฟิสิกส์ดาราศาสตร์กับอาเธอร์ เอ็ดดิงตัน นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อดัง ก่อนจะเริ่มทำงานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยคาทอลิกแห่งเมืองลูวางของเบลเยียมในปี 1925 ต่อมาเขาเดินทางไปสหรัฐอเมริกาและเข้าศึกษาต่อที่ MIT จนได้รับปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์ทฤษฎี จากนั้นได้ตีพิมพ์บทความว่าด้วยทฤษฎีบิ๊กแบงอันลือลั่นเป็นครั้งแรกในปี 1931

บทสัมภาษณ์ฉบับเต็มของบาทหลวงเลอแมตร์ ได้ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ VRT ของเบลเยียม เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 1964 ก่อนจะมีข่าวการค้นพบรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของเอกภพ (Cosmic Microwave Background – CMB) ซึ่งยืนยันความถูกต้องของทฤษฎีบิ๊กแบงเพียง 3 เดือนเท่านั้น

บทความความร กของพ อแม ท ม ต อล ก

ที่มาของภาพ, CATHOLIC UNIVERSITY OF LOUVAIN

คำบรรยายภาพ,

บาทหลวงเลอแมตร์ขณะสอนวิชาฟิสิกส์

แนวคิดของบาทหลวงเลอแมตร์ที่ฟันธงว่าจักรวาลมีการขยายตัวนั้น นับว่าเป็นแนวคิดที่มาก่อนกาลในยุคครึ่งศตวรรษก่อน จึงต้องเผชิญกับการโต้แย้งอย่างรุนแรงดุเดือดกับบรรดานักฟิสิกส์ทฤษฎีจำนวนมาก ก่อนที่เอ็ดวิน ฮับเบิล จะใช้กล้องโทรทรรศน์ทำการพิสูจน์ได้ในภายหลังว่า จักรวาลหรือเอกภพนั้นขยายตัวด้วยอัตราเร่ง

ในบทสัมภาษณ์ที่ค้นพบล่าสุด บาทหลวงเลอแมตร์ใช้เวลาส่วนใหญ่อธิบายแนวคิดของเขาโดยโต้แย้งกับ “ทฤษฎีสถานะคงที่” (Steady - state theory) ของเฟรด ฮอยล์ นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ซึ่งถือเป็นแนวคิดหลักทางจักรวาลวิทยาในยุคนั้น

ทฤษฎีดังกล่าวมองว่าจักรวาลรักษาความหนาแน่นเฉลี่ยภายในเอาไว้ได้อย่างคงที่สม่ำเสมอ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใดก็ตาม คล้ายกับสายน้ำที่ไหลไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้ดวงดาวและกาแล็กซีทั้งที่มีอายุเก่าแก่และที่เพิ่งเกิดใหม่ จะกระจายตัวอยู่ทั่วห้วงจักรวาลอย่างสม่ำเสมอกัน

แต่ทฤษฎีบิ๊กแบงนั้นมองว่าจักรวาลขยายตัวโดยสสารจะแยกห่างออกจากกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้บรรดากาแล็กซีที่มีอายุเก่าแก่จะเคลื่อนห่างออกไปจากศูนย์กลางการกำเนิดจักรวาลหรือเหตุการณ์บิ๊กแบง มากกว่าวัตถุอวกาศที่ถือกำเนิดขึ้นมาภายหลังหลายเท่าตัว โดยระยะห่างระหว่างสสารดังกล่าวจะยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเมื่อเวลาผ่านไป

บาทหลวงเลอแมตร์กล่าวถึงทฤษฎีสถานะคงที่ ในการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ VLT ว่า “ผมมองว่าสรรพสิ่งไม่ได้เป็นไปอย่างนั้น หลักการของแนวคิดนี้ขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับหลักการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งเป็นแนวคิดที่มั่นคงแข็งแกร่งที่สุดในปัจจุบัน”

เขาได้ช่วยแก้ไขความเข้าใจผิดในเรื่องนี้ให้กับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ชื่อก้องโลกด้วย ซึ่งไอน์สไตน์นั้นเคยเชื่อว่าจักรวาลมีสถานะคงที่เช่นกัน แต่บาทหลวงเลอแมตร์ซึ่งรักษามิตรภาพระหว่างตัวเขาและไอน์สไตน์เอาไว้ได้อย่างยาวนาน ชี้ว่าแนวคิดดังกล่าวขัดแย้งกับหลักทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์เอง

บทความความร กของพ อแม ท ม ต อล ก

ที่มาของภาพ, Science Photo Library

คำบรรยายภาพ,

แบบจำลองการขยายตัวและวิวัฒนาการของจักรวาลหลังเหตุการณ์บิ๊กแบง

ในบทสัมภาษณ์ที่เพิ่งมีการค้นพบ บาทหลวงเลอแมตร์กล่าวถึงการกำเนิดสรรพสิ่งว่าเป็นเหตุการณ์ที่ “ฟองไข่แห่งจักรวาล” (cosmic egg) ซึ่งก็คืออะตอมดึกดำบรรพ์ได้ระเบิดออก จนกลายเป็นการแผ่ขยายตัวของพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยพลาสมาร้อน เปรียบเสมือนดอกไม้ไฟที่แผ่รังสีออกไปทุกทิศทาง โดยร่องรอยของการระเบิดที่เป็นรังสีพลังงานสูงดังกล่าวยังคงหลงเหลืออยู่ทั่วห้วงอวกาศ ส่วนการขยายตัวครั้งใหญ่ก็ยังคงดำเนินต่อไปตราบจนทุกวันนี้

สำหรับประเด็นเรื่องจุดยืนทางศาสนา ในฐานะที่บาทหลวงเลอแมตร์เป็นทั้งนักบวชและนักฟิสิกส์ น่าประหลาดใจว่าเขาไม่ได้พยายามปกป้องความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้า หรือใช้แนวคิดทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนความเชื่อทางศาสนาเลยแม้แต่น้อย

“หลักใหญ่ใจความของทฤษฎีสถานะคงที่นั้นเหมือนกับจะบอกว่า มีกฎสากลที่ใช้ควบคุมจักรวาลด้วยอำนาจเต็มของบางสิ่งบางอย่าง สรรพสิ่งล้วนมีการออกแบบและวางแผนมาล่วงหน้า ซึ่งเป็นมุมมองที่ออกจะขัดแย้งกับแนวโน้มของวิทยาการฟิสิกส์สมัยใหม่” บาทหลวงเลอแมตร์กล่าว

“ผมไม่ต้องการจะปกป้องแนวคิดเรื่องอะตอมดึกดำบรรพ์ของผม โดยแฝงเจตนาเรื่องการเผยแผ่ความเชื่อทางศาสนาใด ๆ เอาไว้ด้วย ประเด็นนี้ค่อนข้างจะละเอียดอ่อน และผมออกจะกลัวอยู่บ้างหากต้องใช้ถ้อยคำสั้น ๆ มาอธิบายประเด็นปัญหาที่ว่าในตอนนี้”