ประต ม วนเหล ก ในเขต หนองคาย-อ ดร

อาณาจักรใกล้เคียงที่ได้มีการบันทึกเกี่ยวกับบ้านเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณจังหวัดหนองคาย เมืองหนองคายในอดีตเป็นชุมชนเมืองที่ขึ้นกับ อาณาจักรขอม เมื่ออาณาจักรขอมล่มสลายก็ได้ขึ้นกับ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางและเวียงจันทน์ ตามลําดับ จนกระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์ยกทัพผ่านเมืองรายทางถึงเมืองนครราชสีมา ทางกรุงเทพมหานคร ได้ให้พระยาราชสุภาวดี “สิง สิงหเสนี” เป็นแม่ทัพปราบปราม โดยมี ท้าวสุวอธรรมมา (บุญมา) ยกทัพจาก เมืองยโสธร และพระยาเชียง สามารถช่วยเป็นกําลังสําคัญในการทําศึกจนได้รับชัยชนะ และได้รับพระราชทานบําเหน็จความดีความชอบพร้อมทั้งให้ท้าวสุวอธรรมมาเลือกทําเลสร้างเมือง ๔ แห่ง คือ เมืองพานพร้าว อยู่ตรงข้ามกับเวียงจันทน์ (ปัจจุบันคืออําเภอศรีเชียงใหม่) , เมืองเวียงคุก , เมืองปะโค , และบ้านไผ่ (บ้านบึงค่าย)

พ.ศ. ๒๓๗๐ ท้าวสุวอธรรมมา (บุญมา) ได้เลือกเอาบ้านไผ่สร้างเป็นเมืองหนองคายขึ้น โดยได้โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุวอธรรมมา (บุญมา) ดํารงตําแหน่งเจ้าเมืองหนองคายคนแรกให้เมืองเวียงจันทน์ขึ้นตรงต่อเมืองหนองคาย

พ.ศ. ๒๔๓๔ ภายหลังกบฏฮ่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นสมุหเทศาภิบาลประจํามณฑลลาวพวน ตั้งที่ทําการมณฑลอยู่ที่เมืองหนองคาย (ต่อมาเป็นมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลอุดรธานี)

พ.ศ. ๒๔๓๖ (เหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒) ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ําโขงให้แก่ฝรั่งเศสและระบุในสัญญาว่า “ห้ามมิให้ไทยตั้งหรือนํากองทัพทหารอยู่ในเขต ๒๕ กิโลเมตรจากชายแดน” กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมจึงได้ย้ายที่ทําการมณฑลไปอยู่ที่บริเวณบ้านเดื่อหมากแข้ง และตั้งเป็นมณฑลอุดรธานี มาจนถึงรัชกาลที่ ๖

พ.ศ. ๒๔๕๗ โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ขึ้น โดยให้ยกเลิกระบอบเจ้าปกครองนคร(เจ้าเมือง) ทั่วประเทศเปลี่ยนคําเรียกชื่อ“เมือง” มาเป็น “จังหวัด” มีข้าหลวงปกครอง (ต่อมาเรียกว่า “ผู้ว่าราชการจังหวัด”) ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘ กระทรวงมหาดไทยได้มีคําสั่งสถาปนาเมืองหนองคายเป็นจังหวัดหนองคายตั้งแต่นั้นมา

ชุมชนและชาติพันธุ์

ชุมชนและชาติพันธุ์ในจังหวัดหนองคาย ปัจจุบันกลุ่มคนที่อพยพมาอยู่ในเขตจังหวัดหนองคายได้มีการปรับตัวและปรับเปลี่ยนเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กลมกลืนกับชาวพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานอยู่เดิมจนแทบไม่เห็นความแตกต่าง ทั้งการแต่งกาย ที่อยู่อาศัย ประเพณีต่างๆ จะสังเกตได้เฉพาะสําเนียงของภาษาพูดที่ยังคงเหลือเค้าให้ทราบว่า เดิมเป็นชนเผ่าไหน ซึ่งพอจําแนกได้ ดังนี้

(๑) กลุ่มชาวไทอีสาน/ลาวอีสาน เนื่องจากเดิมเป็นอาณาจักรล้านช้างจึงนับเป็นกลุ่มลาวล้านช้างด้วยแต่ถึงอย่างไรก็ดี หน้าตา ผิวพรรณ สําเนียงการพูด ก็แตกต่างจากชาวลาว จึงน่าจะเรียกว่า “ไทอีสาน” ถือว่าเป็นกลุ่มชนที่มากที่สุดในจังหวัดหนองคาย

(๒) กลุ่มไทพวน มีถิ่นฐานเดิมจากเมืองพวน แขวงเชียงขวาง ประเทศลาว อาศัยอยู่ที่อําเภอศรีเชียงใหม่และอําเภอโพธิ์ตาก

(๓) กลุ่มไทลื้อ/ไทด่าน/ไทเหนือ เป็นกลุ่มที่อพยพมาจากเมืองหลวงพระบาง และอําเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย ปัจจุบันอยู่ที่อําเภอสังคม และอําเภอโพธิ์ตาก

(๔) กลุ่มคนเวียดนาม อพยพมาในสมัยสงครามอินโดจีน พร้อมๆ กับเจ้าเมืองจันทบุรี (เวียงจันทน์) มาอยู่ที่อําเภอท่าบ่อ ตามประวัติศาสตร์เดิมมีกลุ่มคนที่เป็นชาติพันธุ์ต่างๆ อพยพมาที่จังหวัดหนองคายมากกว่านี้ แต่ปัจจุบันไม่สามารถหาหลักฐานหรือสิ่งบอกเหตุว่าเป็นชนกลุ่มนั้นๆ หรือไม่ เนื่องจากมีการกลมกลืนกันเป็นไทอีสานหมดแล้ว และมีบางส่วนที่เป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากจังหวัดอื่นๆ มาตั้งถิ่นฐานในอําเภอรัตนวาปี และอําเภอโพนพิสัย ซึ่งเรียกว่า “ไทครัว” เพราะในหมู่บ้านหนึ่งๆ จะมาจากหลากหลายจังหวัดและไม่สามารถสืบสานชาติพันธุ์ได้และปัจจุบันได้กลมกลืนกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่เดิมหมดแล้ว

ลักษณะภูมิประเทศ

๑) พื้นที่

สภาพภูมิประเทศของจังหวัดหนองคายมีลักษณะทอดยาวตามลําน้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระยะทางรวม ๒๑๐.๖ กิโลเมตรจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีอาณาเขตติดกับนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นเขตแดน จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดชายแดนที่มีเอกลักษณ์พิเศษโดยมีพื้นที่ทอดขนานยาวไปตามลําน้ำโขง ความกว้างของพื้นที่ทอดขนานไปตามลําน้าโขงโดยเฉลี่ยประมาณ 20 – 25 กิโลเมตร ช่วงที่กว้างที่สุดอยู่ที่อําเภอเฝ้าไร่ และช่วงที่แคบที่สุดอยู่ที่อําเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายมีอําเภอที่อยู่ติดกับลําน้ำโขง 6 อําเภอ คือ อําเภอสังคม อําเภอท่าบ่อ อําเภอศรีเชียงใหม่ อําเภอเมืองหนองคาย อําเภอโพนพิสัย และอําเภอรัตนวาปี และมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาวคือ แขวงเวียงจันทน์ นครหลวงเวียงจันทน์ และแขวงบอลิคําไซ

ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง แยกเป็น ๔ บริเวณ คือ

(๑) พื้นที่ค่อนข้างราบ ได้แก่ เขตอําเภอเมืองหนองคาย อําเภอท่าบ่อ อําเภอศรีเชียงใหม่ซึ่งใช้ประโยชน์ในการทํานา และปลูกพืชสวนบริเวณริมแม่น้ำโขง

(๒) พื้นที่เป็นคลื่นลอนลาด กระจายอยู่ทุกอําเภอเป็นหย่อมๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทํานาและปลูกพืชไร่ พืชสวน และป่าธรรมชาติ

(๓) พื้นที่เป็นคลื่นลอนชัน และเป็นเขาเป็นป่าธรรมชาติ เช่น ป่าไม้เต็งรัง เบญจพรรณพบในเขตอําเภอสังคม

(๔) สภาพพื้นที่เป็นภูเขาที่มีความสูงชันจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ ๒๐๐ เมตรเป็นบริเวณเทือกเขาต่าง ๆ ทางทิศตะวันตกในเขตอําเภอสังคม

๒) ขอบเขตจังหวัด

ทิศเหนือ ติดลําแม่น้าโขง อันเป็นเส้นเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ทิศใต้ ติดต่อกับอําเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร อําเภอบ้านดุง อําเภอเพ็ญอําเภอสร้างคอม และอําเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ทิศตะวันออก ติดอําเภอโซ่พิสัย และอําเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ

ทิศตะวันตก ติดอําเภอปากชม จังหวัดเลย

ภาพที่ 1 ขอบเขตการแบ่งพื้นที่จังหวัดหนองคาย

ลักษณะภูมิอากาศ

  1. ฤดูกาล ฤดูกาลของจังหวัดหนองคาย จัดอยู่ในจําพวกฝนแถบร้อนและแห้งแล้ง แบ่งออกได้เป็น3 ฤดู ดังนี้

- ฤดูหนาว เริ่มต้นกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ อากาศโดยทั่วไปจะหนาวเย็นและแห้งโดยมีอากาศหนาวจัดในบางวันและเดือนที่มีอากาศหนาวมากที่สุดจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม

- ฤดูร้อน เริ่มต้นกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม มีอากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไปโดยเฉพาะเดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวที่สุดของปี

- ฤดูฝน เริ่มต้นกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม อากาศเริ่ม ชุ่มชื้นและมีฝนตกชุกตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยเฉพาะเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกหนาแน่นมากที่สุดในรอบปี

เป้าหมายการพัฒนาจังหวัด (ในระยะเวลา 5 ปี) พ.ศ. 2566 – พ.ศ. 2570

“เมืองน่าอยู่ มุ่งสู่เกษตรอินทรีย์ ท่องเที่ยววิถีลุ่มน้ําโขง เชื่อมโยงการค้าชายแดน”

จังหวัดหนองคายในอีก 5 ปี ข้างหน้าจะก้าวสู่การเป็นหนองคายเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน มุ่งสู่เกษตรอินทรีย์ท่องเที่ยววิถีลุ่มน้ำโขง เชื่อมโยงการค้าชายแดน ด้วยแนวคิดในการขับเคลื่อนการพัฒนา ดังนี้

1. เมืองน่าอยู่ หนองคายมีการพัฒนาเมือง ควบคู่ไปกับการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อให้เป็นเมืองน่าอยู่สําหรับคนทุกกลุ่มในสังคม

2. มุ่งสู่เมืองเกษตรอินทรีย์ ตามหลักการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model)

2.1 เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง

2.2 เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คํานึงถึงการนําวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด

2.3 เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) จะต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อม

3. ท่องเที่ยววิถีลุ่มน้ำโขง ดึงเอาศักยภาพของพื้นที่ ในด้านทรัพยากรและต้นทุน 3 ธรรม

(1) ธรรมะ (2) วัฒนธรรม และ(3) ธรรมชาติ นํามาใช้เป็นแรงดึงดูด กลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศเข้ามาในพื้นที่รวมถึงการให้บริการด้านการท่องเที่ยวเชื่อมโยงไปยังประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ไทย - สปป.ลาว - เวียดนาม และจีน )

4. เป็นประตูในการเชื่อมโยงการค้าชายแดน ของภูมิภาคอาเซียน – อินโดจีน และจีนตอนใต้เป็นพื้นที่เชื่อมต่อทั้งในมิติเศรษฐกิจและการค้าชายแดน การขนส่ง และโลจิสติกส์ รวมทั้ง เชื่อมโยงความสัมพันธ์ ด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และมิตรภาพระหว่างประเทศ ใช้เป็นโอกาสจากการเป็นจุดเชื่อมต่อของภูมิภาคยกระดับจากเมืองผ่านสู่เมืองพัก อันนํามาซึ่งความมั่นคง ความมั่นคั่ง และยั่งยืนในชีวิตให้กับประชาชนในพื้นที่