กระเจ ยบ เข ยว ก น มาก ม โทษ ไหม

กระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียว ชื่อสามัญ Okra, Lady’s finger, Gombo, Gumbo, Bendee, Quimbamto แต่ในอินเดียจะเรียกกระเจี๊ยบเขียวว่า บินดี (Bhindi) ส่วนประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียนจะเรียกว่า บามี (Bamies)

กระเจี๊ยบเขียว ชื่อวิทยาศาสตร์ Abelmoschus esculentus (L.) Moench จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)

สมุนไพรกระเจี๊ยบเขียว ยังมีชื่อท้องถิ่นอีก เช่น กระต้าด (สมุทรปราการ), กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือ มะเขือมอญ มะเขือทะวาย ทวาย (ภาคกลาง), มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ มะเขือขื่น มะเขือมื่น (ภาคเหนือ), ถั่วเละ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น และสำหรับในประเทศไทย พื้นที่ที่มีการปลูกกระเจี๊ยบเขียวกันมากที่สุดส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในภาคกลาง เช่น นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี นครนายก ราชบุรี ระยอง พิจิตร สุพรรณบุรี สมุทรสาคร และกาญจนบุรี

ลักษณะของกระเจี๊ยบเขียว

  • ต้นกระเจี๊ยบเขียว มีถิ่นกำเนิดในแถบแอฟริกาตะวันตก ในประเทศซูดาน และสันนิษฐานว่าน่าจะมีการนำเข้ามาในประเทศไทยหลังปี พ.ศ.2416 โดยจัดเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุประมาณ 1 ปี มีความสูงประมาณ 0.5-2.4 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีสีเขียว แต่บางครั้งก็มีจุดประม่วง ตามลำต้นจะมีขนอ่อนหยาบ ๆ ขึ้นปกคลุม เช่นเดียวกับใบและผล เจริญเติบโตได้ดีในอากาศกึ่งร้อน หรือที่อุณหภูมิระหว่าง 18-35 องศาเซลเซียส ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด

กระเจ ยบ เข ยว ก น มาก ม โทษ ไหม

  • ใบกระเจี๊ยบเขียว มีใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ลักษณะของใบคล้ายรูปฝ่ามือเรียงสลับกัน ใบมักเว้าเป็น 3 แฉก มีความกว้างประมาณ 10-30 เซนติเมตร ปลายใบหยักแหลม โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3-7 เส้น ใบมีขนหยาบ ก้านใบยาว

กระเจ ยบ เข ยว ก น มาก ม โทษ ไหม

  • ดอกกระเจี๊ยบเขียว มีดอกสีเหลืองอ่อน ที่โคนกลีบดอกด้านในจะมีสีม่วงออกแดงเข้ม รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม ออกดอกตามง่ามใบ มีริ้วประดับเป็นเส้นสีเขียวประมาณ 8-10 เส้น เรียงเป็นวงรอบโคนกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ และกลีบดอก 5 กลีบ ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมาก มีก้านชูอับเรณูรวมกันลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตรหุ้มเกสรตัวเมียไว้ อับเรณูเล็กจำนวนมากติดอยู่รอบหลอด ก้านเกสรตัวเมียมีลักษณะเรียวยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยอดเกสรตัวเมียเป็นแผ่นกลมมีขนาดเล็กสีม่วงแดง ยื่นพ้นปากหลอดดอก

กระเจ ยบ เข ยว ก น มาก ม โทษ ไหม

  • ผลกระเจี๊ยบเขียว หรือ ฝักกระเจี๊ยบเขียว ผลมีลักษณะเป็นฝัก โดยฝักคล้ายกับนิ้วมือผู้หญิง ฝักมีสีเขียวทรงเรียวยาว มักโค้งเล็กน้อย ปลายฝักแหลมเป็นจีบ ผิวฝักมีเหลี่ยมเป็นสัน โดยฝักมีสันเป็นเหลี่ยมตามยาวอยู่ 5 เหลี่ยม ตามฝักจะมีขนอ่อน ๆ อยู่ทั่วฝัก ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ในฝักมีน้ำเมือกข้นเหนียวอยู่มาก และมีเมล็ดลักษณะกลมอยู่มาก ขนาดประมาณ 3-6 มิลลิเมตร ฝักอ่อนมีรสหวานกรอบอร่อย ส่วนฝักแก่จะมีเนื้อเหนียว ไม่เป็นที่นิยมในการรับประทาน

กระเจ ยบ เข ยว ก น มาก ม โทษ ไหม

กระเจ ยบ เข ยว ก น มาก ม โทษ ไหม

กระเจี๊ยบเขียวจะมีอยู่ด้วยกันหลายสายพันธุ์ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของลักษณะ เช่น ความสูงของต้น ความยาวของฝัก สีของฝัก หรือจำนวนเหลี่ยมบนฝัก แต่สายพันธุ์ที่มีการเพาะปลูกเพื่อการส่งออกนั้นจะต้องเป็นสายพันธุ์ที่มีฝัก 5 เหลี่ยม สีฝักมีสีเขียวเข้ม เส้นใยน้อย ผิวของฝักมีขนละเอียด ฝักดกให้ผลผลิตสูง และมีลำต้นเตี้ย

ถ้าจะบอกว่าชาวญี่ปุ่นนิยมทานกระเจี๊ยบเขียวมาก ทุกคนจะเชื่อหรือเปล่าคะ? ทานสดๆ นำไปประกอบอาหารต่างๆ สารพัดเมนูอีกต่างหาก ขนาดไปเวียดนาม ที่นั่นยังเสิร์ฟกระเจี๊ยบเขียวให้มาย่างทานกันสดๆ อีกด้วย ไม่ใช่แค่รสชาติที่ดี แต่เป็นเพราะสรรพคุณเจ๋งๆ ของกระเจี๊ยบเขียวนี่แหละ ที่ทำให้ใครต่อใครก็หามาทานกันมากมาย จะมีประโยชน์ในด้านใดบ้าง มาดูกันค่ะ

ประโยชน์ขั้นเทพของ “กระเจี๊ยบเขียว”

  1. ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และคนที่กำลังควบคุมน้ำตาล-น้ำหนัก
  2. ลดอาการท้องผูก เพราะมีเมือกที่ช่วยให้อุจจาระอ่อนตัวขึ้น และยังมีใยอาหารที่ดีต่อการขับถ่าย
  3. ลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย
  4. ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคกระเพาะอาหาร เยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ และลำอักเสบได้
  5. ใครที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอยู่แล้ว การทานกระเจี๊ยบเขียวพร้อมเมือกเหนียวๆ ใสๆ จะช่วยเข้าไปเคลือบแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
  6. ฝักกระเจี๊ยบต้มเกลืออ่อนๆ สามารถแก้อาการกรดไหลย้อนได้
  7. มีโฟเลตสูง ช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง และเป็นสิ่งจำเป็นต่อพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ ดังนั้นจึงเหมาะกับหญิงมีครรภ์

วิธีรับประทานกระเจี๊ยบเขียว

สามารถหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ทานสดๆ ได้เลย หรือจะนำไปประกอบอาหารกับเมนูอื่นๆ นำไปย่างด้วยไฟอ่อนๆ หรือจะทานผสมกับน้ำผึ้ง น้ำมะนาว หรือไอศกรีมก็ได้ค่ะ