กล มสน บสน นท ม ช อและล กษณะงานเหม อนพน กงานเทศบาล

วนั ท่ีความรกั ผลิบาน ณ บา้ นแหง่ เรา

รวมเรียงความ เรื่องสั้น และบทกวี จากการประกวดงานเขียน เร่อื งเล่าจากบ้านเรา

วนั ทีค่ วามรกั ผลิบาน ณ บา้ นแหง่ เรา

ค�ำปรารภ

“วันที่ความรักผลิบาน ณ บ้านแห่งเรา” หนังสือรวมผลงานชนะการประกวด ประเภทเรอ่ื งสน้ั เรยี งความและกวนี พิ นธ์ จำ� นวน ๕๒ เรอ่ื ง ภายใตโ้ ครงการประกวดงานเขยี น เรอื่ งเลา่ จากบา้ นเรา ซง่ึ กระทรวงวฒั นธรรมโดยสำ� นกั งานศลิ ปวฒั นธรรมรว่ มสมยั เรมิ่ ดำ� เนนิ งานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ เปิดโอกาสให้เยาวชนและประชาชนในพ้ืนที่ ๓ จังหวัด ชายแดนใต้ (ปตั ตานี ยะลา นราธิวาส) และ ๔ อำ� เภอของจังหวดั สงขลา (จะนะ เทพา นาทวี และ สะบ้าย้อย) สร้างสรรคผ์ ลงานเขียนเพ่ือสื่อสารเผยแพร่เรอื่ งราว “เร่ืองเล่าจากบ้านเรา”

ผลงานเขียนท่ีชนะการประกวดครั้งนี้มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องด้วยเป็น การเล่าเรื่อง “เร่ืองเล่าจากบ้านเรา” ท่ีร้อยเรียงจากมุมมองและแนวคิดของผู้เป็นเจ้าของ เรื่องราวและวัฒนธรรมในพื้นท่ีนั้นๆ อย่างแท้จริงส่งผ่านภาพและความรู้สึกนึกคิดของตน สื่อสารออกมาเป็นภาษาวรรณศิลป์อย่างน่าช่ืนชมเด่นชัด สร้างให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการ ความคิดคล้อยตาม สนุกร่ืนรมย์ไปกับเนื้อหาหลากหลายท่ีมีท้ังเร่ืองราวความรู้ อัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ครอบครัว วิถีความเป็นอยู่ มิตรภาพ อาหารการกิน ธรรมชาติ แหล่งท่องเท่ียวท่ีน่าสนใจ จุดประกายเชิญชวนให้ผู้อ่านปรารถนาที่จะไปสัมผัสกับเร่ืองราว และสถานทีแ่ หง่ น้นั ๆ ดว้ ยตนเอง นับเป็นโครงการส่งเสรมิ การใชภ้ าษาไทยทีส่ ามารถเชื่อม โยงไปถงึ การอนรุ กั ษศ์ ลิ ปวฒั นธรรมทอ้ งถนิ่ และสง่ เสรมิ การทอ่ งเทย่ี วในพนื้ ทจี่ งั หวดั ชายแดน ภาคใตอ้ ยา่ งน่าชน่ื ชม

ขอแสดงความยนิ ดกี บั ผชู้ นะการประกวดทกุ คน ขอขอบคณุ คณะกรรมการชดุ ตา่ งๆ สำ� นกั งานวฒั นธรรมจงั หวดั ในพนื้ ทท่ี มี่ สี ว่ นรว่ มทำ� ใหโ้ ครงการฯ ประสบความสำ� เรจ็ กระทรวง วฒั นธรรมหวงั เปน็ อยา่ งยงิ่ วา่ ผรู้ ว่ มโครงการทกุ ทา่ นจะเปน็ เครอื ขา่ ยสำ� คญั ในการสอ่ื สารและ สร้างความรู้ความเขา้ ใจระหว่างภาครฐั และประชาชนในพ้ืนที่ ให้เกดิ ความรัก ความสามคั คี และร่วมกนั อนุรกั ษ์สืบทอดศลิ ปวฒั นธรรมท่ดี งี ามของทอ้ งถนิ่ และของชาตใิ หค้ งอยู่สืบไป

(นายอิทธิพล คุณปลมื้ ) รฐั มนตรีวา่ การกระทรวงวัฒนธรรม

คำ� น�ำ

ส�ำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ได้ด�ำเนินการจัดประกวด งานเขียนในพ้ืนที่ชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ด้วยความมุ่งหวังว่า เสียงสะท้อนจากผู้คนใน พ้ืนท่ีจะเป็นเสียงท่ีดีที่สุดในการบอกเล่าเร่ืองราว สร้างการรับรู้ และความเข้าใจ ตลอดจน ตระหนักถึงความงดงามของวิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรมของดินแดนใต้สุดของประเทศไทย

การประกวดงานเขียนในปีน้ี ได้ก�ำหนดหัวข้อ เรื่องเล่าจากบ้านเรา จ�ำแนก รูปแบบการประกวดเป็น ๔ ประเภท ได้แก่ เรียงความ ส�ำหรับเยาวชนในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา เรื่องสั้น ส�ำหรับเยาวชนในระดับอุดมศึกษาและประชาชนท่ัวไป และ กวีนิพนธ์ ทั้งฉันทลักษณ์ และไร้ฉันทลักษณ์ โดยไม่จ�ำกัดอายุ มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวด รวมทั้งส้ิน ๓๕๐ ผลงาน แบ่งเป็น ระดับประถมศึกษา ๕๑ ผลงาน ระดับมัธยมศึกษา ๑๐๘ ผลงาน ระดับอุดมศึกษาและประชาท่ัวไป ๑๑๕ ผลงาน และกวีนิพนธ์ (ไม่จ�ำกัดอายุ) ๗๖ ผลงาน กระบวนการคัดสรรผลงานเพ่ือรับรางวัลน้ัน เบื้องต้นจะมีคณะกรรมการคัดสรร ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวรรณศิลป์ในพ้ืนที่คัดสรรผลงานเพ่ือเข้ารอบ และคณะกรรมการ ตัดสินซ่ึงเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากพื้นท่ีและในส่วนกลาง รวมถึงศิลปินแห่งชาติ และ ศิลปินศิลปาธรสาขาวรรณศิลป์ ร่วมกันพิจารณาผลงาน ทั้งน้ี กรอบแนวคิดการประกวด ในปีน้ีเปิดกว้างมากข้ึนกว่าปีที่ผ่านมา จึงท�ำให้เนื้อหามีความหลากหลาย และน่าสนใจ นับเป็นภาพสะท้อนถึงวิถีวัฒนธรรม อัตลักษณ์ท้องถ่ินของพื้นท่ี ๔ จังหวัดชายแดนใต้เป็น อย่างดี

ส�ำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ขอขอบคุณส�ำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ในการประสานงานการด�ำเนินโครงการให้ประสบความส�ำเร็จ รวมทั้งศูนย์อ�ำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) และคณะกรรมการขับเคล่ือน การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ที่ช่วยเสนอแนะข้อคิดเห็นท่ีเป็นประโยชน์ และขอขอบคุณช่างภาพอาสาสมัครท่ีร่วมโครงการ ตลอดจนคณะกรรมการคัดสรรและ

คณะกรรมการตัดสิน ท่ีได้ร่วมกันพิจารณาผลงานในโครงการอย่างเข้มแข็ง จนสามารถ คัดเลือกผู้ชนะเพ่ือรับรางวัลได้ หวังเป็นอย่างย่ิงว่า เสียงสะท้อนของผู้คนในพ้ืนที่ ชายแดนใต้เหล่าน้ีจะเป็นประโยชน์ในการท�ำงานของภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคประชาสังคม ในการแก้ไขปัญหาในพ้ืนที่ต่อไป

(นางสาววิมลลกั ษณ์ ชูชาติ) ผูอ้ �ำนวยการส�ำนกั งานศลิ ปวัฒนธรรมรว่ มสมยั

เมอ่ื “เร่ืองเล่า” กลายเปน็ พลังแหง่ อำ� นาจ : จาก ‘เร่ืองดๆี ’ ถึง ‘เรอื่ งเลา่ ’ - “จากบา้ นเรา”

โดย ส ถ า พ ร ศ รี สั จ จั ง ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศลิ ป์ (๒๕๔๘)

“เรือ่ งเลา่ คอื การลอกเลียน (และสะท้อน) ความจรงิ ” อริสโตเตล้ิ (Literary works are imitation (and reflection) of Reality.ristotle.)

อาจตราไวไ้ ดว้ า่ หลายปมี าน้กี ระทรวงวฒั นธรรมไดก้ อ่ การอย่างสำ� คัญส�ำหรบั งาน “สรา้ งสรรค์และพฒั นา” แกพ่ ้ืนที่จงั หวัดชายแดนภาคใต้ (ในสว่ น ๓ จังหวดั ๔ อ�ำเภอท่ใี คร มกั ว่า ‘ยงั มปี ญั หา’ อยนู่ น่ั แหละ!) ถ้าจ�ำไมผ่ ิด งานนีเ้ ร่ิมมาแต่เมอ่ื หลายปีก่อน ส�ำนักงาน ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเป็นผู้จัดท�ำโครงการเก่ียวกับการประกวดงานเขียนเชิงสร้างสรรค์ (Creative writing) ในหัวข้อ “เรื่องดี ๆ ..ท่ีบ้านเรา” ขึ้น แล้วจัดพิมพ์งานท่ีได้รับรางวัล ทุกประเภททุกระดับขึ้นเป็นรูปเล่มอย่างสวยงาม เพ่ือการเผยแพร่และเพื่อส่งเสริมกิจกรรม เกย่ี วกบั การคิดการอ่านและการเขยี นในพน้ื ท่ดี งั กล่าวใหต้ นื่ ตวั กวา้ งขวางยิง่ ข้ึน

นับแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นมา ส�ำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวง วัฒนธรรม ได้พัฒนาโครงการให้กระชับและก่อประโยชน์ ท้ังโดยตรงท้ังแก่เยาวชนและ ผู้สนใจทั่วไปในพ้ืนที่ “จังหวัดชายแดนภาคใต้” และโดยอ้อมแก่ผู้สนใจเร่ืองราวเกี่ยวกับ “จงั หวัดชายแดนภาคใต้” ทั่วไป จึงนับว่าก่อผลทกี่ ว้างขวางและ “ตรงเปา้ ” ยิง่ ข้นึ

จากกิจกรรมการจัดประกวดงานเขียนในหัวข้อ “เรื่องดีๆ..ที่บ้านเรา” เปลี่ยนหัวข้อเป็น “เร่ืองเล่าจากบ้านเรา” และเพิ่มประเภทของ “เรื่องเล่า” ท่ีใช้ประกวดให้สมบูรณ์ยิ่งข้ึน กลา่ วคอื เพิม่ งานประเภท “กวนี ิพนธ”์ (เปดิ กว้าง ท้ังท่เี ปน็ “ฉันทลกั ษณ”์ และท่ีเป็นแบบ “บทกวีรอ้ ยแก้วอสิ ระ” (Blank words) ขึ้นอีกประเภทหนง่ึ

จาก “เรื่องดีๆ” มาสู่ “เร่ืองเล่า” นับเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญ ท้ังในแง่ ของผู้สร้างงานเขียนหรืองานวรรณกรรมและในแง่ผลสะเทือนต่อสังคม เพราะเป็นการ “ต้ังประเด็น” ท่ีเปิด “วิสัยทัศน์” (Vision) กว้างขวางขึ้น ไม่ก่อความรู้สึกแบบ “คับแคบด้านเดียว” ผู้ที่ “อยากเขียน” เร่ืองส่งเข้าประกวดในทุกระดับ ไม่รู้สึกอึดอัดว่า ถูกก�ำหนดให้เขยี นแต่เรอื่ ง “ดๆี ” (ตามสายตา ความคดิ หรอื มาตรฐานของใคร ?) เพราะ ปรากฏการณ์ ทัง้ ดา้ นภววิสยั (ปรนัย) และอัตวสิ ยั (อตั นยั ) ของผคู้ นในสงั คม “พ้ืนที่จงั หวัด ชายแดนภาคใต้” ยอ่ มมคี วามหลากหลายอย่างแนน่ อน

กล่าวเฉพาะส่ิงที่เรียกว่า “เรื่องเล่า” ท่ีภาษาฝรั่งอังกฤษใช้ค�ำ “Narative” นั้น โลกยุคปัจจุบันให้ความส�ำคัญกันมาก ค�ำนี้เข้าไปเก่ียวข้องกับ “ศาสตร์” และวงวิชาการ สมยั ใหม่หลายสาขาวิชา แทบจะกล่าวไดว้ ่า น่าจะเกี่ยวขอ้ งกับ “วิธีวิทยา” ของศาสตรด์ า้ น “สังคมศาสตร์ (Social science) และมนุษยศาสตร์ (Humanities) ท้งั หมดได้เลยทเี ดียว

เกี่ยวกับเรื่องเล่าหรือ “Narative” นี้ บรรดานักคิดนักศึกษาของโลกตะวันตกให้ ความสนใจศึกษากันมาตั้งแต่ยุคกรีก โดยเฉพาะอริสโตเติ้ล (Aristotle) เจ้าของวาทกรรม ส�ำคญั ทีก่ ลายเปน็ ฐานความคดิ ความเชือ่ ของนักคิดนกั วิชาการทัง้ หลายมาจนถึงศตวรรษ ท่ี ๒๐ นนั่ คอื วาทกรรมที่ว่า “เรอื่ งเลา่ (Narative) คอื การลอกเลียนความจริง” (Literary works are imitation of reality) กระทงั่ เพง่ิ ถกู สน่ั สะเทอื นดว้ ยกระแสความคดิ ของบรรดา นกั คดิ สกลุ “โครงสรา้ งนยิ ม” (Structuralism) ทงั้ หลายทด่ี าหนา้ เกดิ ขน้ึ อยา่ งมากมายในชว่ ง ศตวรรษที่ ๒๐ นเ่ี อง

และดูเหมือนบรรดา “ปัญญาชน” (Intellectual) รุ่นใหม่ของไทยจ�ำนวน ไม่น้อยก็สมาทานรับเอาแนวคิดท่ีแตกหน่อโตเติบจากสกุล “โครงสร้างนิยม” ดังว่ากัน จนเห็นกลาดเกลื่อนโดยท่ัวไปแล้วในบัดนี้ ท้ังในวงวิชาการและวง “นักสร้างเรื่องเล่า” รุ่นใหมๆ่ ทั้งหลาย

เพื่อความเขา้ ใจที่กวา้ งขวางขึน้ ส�ำหรับคนท่ียังไม่เคยลงสนามศึกษาเก่ยี วกบั ความ เห็นความเข้าใจต่อส่ิงท่ีเรียกว่า “เร่ืองเล่า” ในทัศนะตะวันตกดังว่ามา จึงขอยกตัวอย่าง “นิยามสรุป” บางนิยามของฝร่ังบางคนและของ “นักโครงสร้างนิยมชาวไทย” บางคนมา “ปพู นื้ ” ไว้ให้เหน็ เผือ่ มใี ครสนใจจะไดส้ บื สานต่อกนั สักเล็กนอ้ ยกแ็ ลว้ กัน

A Dictionary of Naratology ของ Gerald Prince นิยามความหมายค�ำ “เร่อื งเล่า” ไว้วา่

“เรื่องเลา่ คือการบรรยายหรือการเลา่ (ไดแ้ ก่ผลติ ผล เปา้ หมาย กระบวนการ และ การกระท�ำ รวมถึงโครงสร้างและกระบวนการกระทำ� ให้เป็นโครงสร้าง) ของเหตกุ ารณ์หน่งึ ๆ หรือหลายเหตุการณ์ ท้ังท่ีเป็นเร่ืองจริงและเรื่องที่แต่งข้ึน โดยมี “ผู้เล่าเร่ือง” ส่งเร่ืองราว ต่อ “ผู้รับเรื่อง” (Naratee) โดยเร่ืองดังกล่าวจะต้องมีความต่อเน่ือง มีการประกอบสร้าง (construction) ข้ึนเป็นเร่ืองราวทั้งหมดอย่างเป็นองค์รวม รวมทั้งเป็นกระบวนการเรียนรู้ ในการจดั ระบบขอ้ มลู ใหเ้ ปน็ ระบบดว้ ยเหตแุ ละผล ทงั้ นโี้ ดยมจี ดุ เรมิ่ ตน้ จดุ กงึ่ กลาง และจดุ จบ ของเรอื่ ง ทีป่ ระกอบกนั เข้าเปน็ ธรรมชาติของเหตกุ ารณ์ เพอื่ ท�ำให้ (ผ้รู บั สาร) สามารถเขา้ ใจ ได.้ ..” (USA : University of Nebraska press : Lincoln & London,1987.P.58.)

ดร.ธงชัย วินิจจะกุล นักกิจกรรมรุ่น “๖ ตุลาฯ” (๒๕๑๙) นักวิชาการสาขา ประวตั ศิ าสตรร์ ว่ มสมยั ของไทย (ขา่ ววา่ เปน็ อาจารยส์ อนหนงั สอื และทำ� วจิ ยั อยทู่ มี่ หาวทิ ยาลยั วสิ คอนซนิ ประเทศสหรฐั อเมรกิ า-ถา้ จำ� ผดิ กข็ ออภยั ) กเ็ คยใหน้ ยิ ามความหมายคำ� “เรอ่ื งเลา่ ” ไว้อย่างน่าสนใจวา่ :

“เรอ่ื งเลา่ เปน็ เรอ่ื งราว (ซง่ึ มคี วามหมายถงึ เรอื่ งจรงิ และเรอ่ื งแตง่ ) ทถ่ี กู คดั เลอื กหรอื เลอื กสรรจากเหตุการณ์ตา่ งๆทีเ่ กดิ ข้นึ โดยการอธิบาย จดั ลำ� ดับความส�ำคญั และสรา้ งความ สัมพนั ธ์ ระหวา่ งชดุ ของล�ำดับเหตกุ ารณ์ (A series of Event) ที่ถูกคดั เลือกอยา่ งเปน็ เหตุ เป็นผลอยา่ งมลี ักษณะตอ่ เนือ่ ง และน�ำเสนอข้อมูลซึง่ มี โครงเรอื่ งหรอื (plot) เปน็ ตัวก�ำหนด ความหมาย ความเขา้ ใจ และการรบั รู้ โดยการสรา้ งความสมั พนั ธข์ องเหตกุ ารณใ์ นลำ� ดบั เวลา ชุดเดยี วกัน โดยมีจดุ เรมิ่ ตน้ ก่ึงกลาง และจุดจบ และการสร้างความสัมพนั ธร์ ะหวา่ งหนว่ ย ย่อย (part) กบั องค์รวม (Whole) ” ( “ผ้รู า้ ยในประวตั ิศาสตร์ไทย กรณพี ระมหาธรรมราชา ผู้ร้ายกลับใจหรือถูกใส่ความโดย plot ของนักประวัติศาสตร์” ใน ไทยคดีศึกษา : “รวมบทความทางวิชาการเพ่ือแสดงมุทิตาจิตอาจารย์พันเอกนิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา” . กรุงเทพฯ:อมรินทร์พริ้นติ้ง กร๊ปุ จ�ำกดั , 2533. หนา้ ๑๘๕.)

จากนิยามเก่ียวกับ “เรื่องเล่า” ท่ียกมา คงพอท�ำให้สรุปได้ว่า “เร่ืองเล่า” มี ๒ ประเภทใหญๆ่ คอื เรอื่ งเลา่ ประเภทเรอ่ื งจรงิ (narrative non-fiction) ซง่ึ คงนา่ จะไดแ้ ก่

ข่าว บทความและสารคดี เปน็ ตน้ กบั เร่ืองเล่าที่เปน็ เรอ่ื งแตง่ (Narative fiction) อนั ไดแ้ ก่ กวีนพิ นธ์ เรอ่ื งส้ัน และนวนิยาย เปน็ ต้น

เผ่ือจะมีใครสนใจศึกษาเร่ืองน้ีอย่างลงลึกเป็นพิเศษ จึงขอใช้โอกาสนี้บอกชื่อ นักวิชาการท่มี ีงานเขยี นท่เี ก่ียวข้องกับทั้ง “เร่ืองเลา่ ” และ “แนวคิดทฤษฎีโครงสร้างนยิ ม” ทง้ั ทเี่ ปน็ ชาวตา่ งชาตแิ ละชาวไทยไวส้ กั จำ� นวนหนงึ่ กแ็ ลว้ กนั สว่ นจะจำ� ชอ่ื ไวถ้ าม “อาก”ู๋ หรอื เข้าไปเลือกรจู้ กั ทหี่ ้องสมุด/ร้านหนงั สือ กเ็ ชญิ เลอื กตามสะดวกใจและกาย

เอาท่ีเป็นฝรั่งก่อนก็แล้วกัน ได้แก่ช่ือเหล่าน้ี- Ferdinand de Saussure / Mi- chel Foucault / Vladimir Propp / Claude Levi-Strauss / Jacques Derrida และ A.J. Greimas เป็นต้น ส่วนช่ือนักวิชาการไทยเท่าท่ีพอเห็นๆน่าจะเป็นดังน้ี เช่น ไชยรัตน์ เจรญิ สินโอฬาร / ชศู ักด์ิ ภัทรกุลวนิชย์ / นพพร ประชากลุ / ประชา สวุ รี านนท์ และศิราพร ฐติ ิฐาน (ณ ถลาง) เปน็ ต้น แค่นคี้ งพอท�ำใหเ้ รมิ่ คลำ� อะไรไดอ้ ยหู่ รอกนะ!

แต่ท้ังน้ีท้ังนั้นก็ต้องขอย้�ำไว้ ณ ท่ีนี้ด้วยว่า แนวคิดแบบ “หลังสมัยใหม่” หรือ แนวคิดแบบ “รื้อ-สรา้ ง” ที่ตามมา ซึ่งก�ำลังเปน็ “กระแส” อยูใ่ นวงการ “เรอ่ื งเลา่ ” ของโลก สมัยใหม่ปัจจบุ ัน กใ็ ชว่ า่ จะเปน็ “สตู รส�ำเรจ็ ” ทจ่ี ะตอบค�ำถามอะไรได้ท้ังหมด ทัง้ สน้ิ ทั้งปวง ลว้ นเกดิ และอย่ใู นกฎของสิง่ ท่ีนักคดิ - นักเศรษฐศาสตร์แนว “มนุษยนิยม” (Humanism) ลอื นามชาวเยอรมนั อยา่ ง คารล์ มารก์ ซ์ (Karl marx) เรยี กวา่ “ขอ้ จำ� กดั ทางประวตั ศิ าสตร”์ (ของชาวตะวันตก) ทั้งส้ิน หรือพูดให้เข้าใจง่ายเข้าแบบชาวพุทธก็คือ ท้ังหมดท้ังปวงล้วน อยใู่ น “กฎความเปน็ อนจิ จัง” ท้ังส้ิน

ดงั นนั้ แนวคดิ เกย่ี วกบั การสรา้ งสรรค์ “เรอ่ื งเลา่ ” แบบดง้ั เดมิ “ของมนษุ ย์ (ดดั แปลง พฒั นาโดยไมข่ ดั แยง้ กบั กฎธรรมชาต)ิ ทง้ั ดา้ นเนอ้ื หา รปู แบบ และแนวคดิ มมุ มอง หรอื แนวคดิ ที่เชื่อว่า “ธรรมชาติของมนุษย์สามารถพัฒนาไปสู่ส่ิงที่ดีกว่าได้” (Humanism) ก็อาจจะ ยังเป็นแนวคิดทฤษฎีที่ทรงคุณค่าและพึงได้รับการพัฒนาสืบสานของนัก “เล่าเรื่อง” สืบตอ่ ในยคุ ปัจจบุ นั กไ็ ด้ – จะกลัยเชยหรอื ล้าสมยั ไปใย ?!

ทนี ี้ก็มาถงึ “เรอ่ื งเล่า” จากโครงการจัดประกวด “เรอื่ งเลา่ จากบ้านเรา” กันบา้ ง!

จากการมีโอกาสได้ “สัมผัสรู้” ในฐานะ “กรรมการ” ที่ต้องอ่านงานเขียนท่ีผ่าน

รอบ “คัดเลอื ก” มาแลว้ เพือ่ “ตดั สินใหผ้ ลงานได้รบั รางวัล” ในรอบสุดทา้ ยมาในรอบ ๒ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๖๒) พบว่า ภาพสะท้อนจากผลงานที่ส่งเข้าประกวดในโครงการ “เร่ือง เลา่ ” จากบา้ นเราทีเ่ ขา้ รอบมา สะทอ้ นทง้ั ดา้ นทเ่ี ป็นการผลติ ซ�้ำและด้านการพฒั นา

กลา่ วเฉพาะด้านพัฒนา พบว่า ในงานเขียนประเภท Non-fiction ซ่งึ ส่วนใหญเ่ ป็น ผลงานของเยาวชนที่เปน็ นักเรยี นตง้ั แต่ระดบั ประถมจนถงึ มัธยมต้น ผลงานกลุม่ นี้มคี ณุ ภาพ ดีขึ้นมาก ทั้งในแง่การคัดเลือกข้อมูลที่น�ำมาใช้ “เล่าเร่ือง” ท้ังกระบวนการเรียบเรียงและ “การใช้ภาษาไทย” (ซึ่งไม่ใช่ภาษาในชีวิตประจ�ำวันของพวกเขาส่วนใหญ่) ก็ดูมีคุณภาพสูง ขึ้นโดยทั่วไปอย่างน่ายินดี ท้ังน้ีทั้งนั้นอาจเป็นเพราะ ผู้เขียนในระดับนี้ส่วนหน่ึงมีโอกาสได้ เข้าร่วมฝกึ อบรมกบั ผ้จู ดั ท�ำโครงการ ทล่ี งทุนเดินทางไปทำ� งาน “ฝกึ อบรม” ให้ถึงพื้นที่ โดย รว่ มกบั นกั วชิ าการทเ่ี กย่ี วขอ้ งในสถาบนั อดุ มศกึ ษาในทอ้ งถนิ่ นน้ั ๆ จดั ฝกึ อบรมเรอ่ื งการเขยี น ข้ึน โครงการ “ติดตามผลเพ่ือการพัฒนา” (Follow up) เช่นนจี้ ึงนบั เป็นเรื่องดี ทฝ่ี า่ ยจัดการ โครงการฯ ควรมกี ารปรบั ปรงุ พฒั นาทง้ั ดา้ นปรมิ าณและคณุ ภาพใหเ้ ขม้ ขน้ ยง่ิ ขน้ึ เพราะจะสง่ ผลโดยตรงตอ่ พฒั นาการดา้ นการเขยี นและการใชภ้ าษาไทยสำ� หรบั การสรา้ งสรรค์ “เรอ่ื งเลา่ ” ของเยาวชนและผู้สนใจในพ้ืนท่ีจังหวัดชายแดนภาคใต้ท่ีมีแนวโน้มให้เห็นว่ามีความสนใจ ในเร่ืองดังกล่าวสูงข้ึนอย่างมีนัยยะส�ำคัญทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ ในห้วงหลายปีหลงั มี โครงการนเ้ี กดิ ข้นึ

ทง้ั นี้ โดยจะตอ้ งไมล่ มื สง่ เสรมิ ระดบั “บคุ คลทวั่ ไป” (เรอ่ื งสน้ั /บทกว)ี ใหก้ วา้ งขวาง ข้นึ ด้วย โดยอาจต้องจดั ให้มี “ปฏบิ ตั กิ ารการเขยี นเรอ่ื งเลา่ ” (เพอื่ โครงการน้ี ?) ขึ้นในพ้นื ท่ี เปน็ กรณีพเิ ศษแยกไปจากกลุ่มเยาวชนเป้าหมายเป็นอีกโสดหนึ่ง

จะอย่างไรก็ตาม ควรกล่าวเป็นข้อสรุปไว้แต่เบื้องน้ีได้ว่า โครงการ จัดประกวด “เรื่องเล่าจากบ้านเรา” ต้องนับเป็นโครงการหน่ึงท่ี “เป็นต้นแบบ” ของ “แนวรบด้านวัฒนธรรม” ท่ีส่งผลรูปธรรมเชิงบวกเป็นอย่างย่ิงในการส่งเสริมเพ่ือแก้ปัญหา ทาง “สังคม-วัฒนธรรม” ของพ้ืนท่ีจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน ด้วยกระบวนการ “เรือ่ งเลา่ ” ซ่งึ นับเป็น “ตวั บทพิเศษ” ทางสังคมทน่ี า่ สนใจเป็นย่งิ นกั

ขอใหใ้ ครทไ่ี มเ่ ชอ่ื ในประเดน็ ดงั วา่ มา - ลองตดั ใจทดลองอา่ น “เรอ่ื งเลา่ ” ในหนงั สอื เลม่ นี้เพยี งสัก ๒ เรื่อง คอื บทกวีท่ีไดร้ บั รางวัลยอดเยย่ี มเรื่อง “ยาย” ของ กนั ตภณ รักค�ำมี

และเรอ่ื งสัน้ ยอดเยย่ี มที่ชือ่ “กัลยาณมิตรแห่งปลายดา้ มขวาน “ ของ มูฮมั มัด เจ๊ะเลาะ ดู อย่างน้อยก็จะรู้ได้ว่าปรากฏการณ์ทางความคิดของ “คน” ในสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ว่ากันว่าเปน็ “พหุลักษณ์” นน้ั มีเนื้อหารูปลักษณ์ทีแ่ ท้จรงิ อยา่ งไร ?

เพราะมีแต่ต้องรู้จริงลึกซึ้งจาก “คนในพ้ืนที่” เช่นน้ีเท่าน้ัน จึงจะสามารถ “แกป้ ัญหา” และ “พัฒนา” สังคมทน่ี ่ันไดอ้ ยา่ งถกู ชอ่ งทางและยง่ั ยืน!!!

______________

ทับผ่านทาง-สตูล.

ตน้ สงิ หฯ์ ๒๕๖๒

ภาษายาวีในภาษามลายู

โดย วนิดา เตะ๊ หลง

ส�ำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรมจัดกิจกรรมประกวด งานเขียนเรื่องเล่าจากบ้านเรา เพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์งานด้านวรรณศิลป์แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในพ้ืนที่ ๔ จังหวัดภาคใต้ ท�ำให้มีการแสดงออกทางความคิด และ สามารถถา่ ยทอดเรอ่ื งราวทอ้ งถนิ่ ใหผ้ อู้ า่ นทง้ั ในและนอกพนื้ ทไ่ี ดร้ บั รแู้ ละเขา้ ใจผา่ นเรยี งความ กวีนพิ นธ์ และเร่ืองสัน้

ภาษามบี ทบาทส�ำคญั ในการทผ่ี ู้เขียนจะถา่ ยทอดเรอ่ื งราว หลายผลงานไดส้ ะท้อน ประเด็นปัญหาของพ้นื ทไี่ ดอ้ ยา่ งนา่ สนใจ แตม่ ขี อ้ สงั เกตุเชิงวฒั นธรรมทางภาษาบางประการ ท่ีหากท�ำความเข้าใจอย่างถูกต้อง จะท�ำให้สามารถพัฒนางานเขียนได้ดียิ่งข้ึน บางผลงาน ถ่ายทอดเร่ืองราวผ่านภาษาไทยหมดตลอดท้ังเร่ือง แต่บางผลงานนอกจากภาษาไทยแล้ว ยังมีการสอดแทรกภาษามลายูถิ่นด้วย หากถ่ายทอดด้วยภาษาไทยควรใช้ภาษาที่ถูกต้อง ขณะเดียวหากถ่ายทอดด้วยภาษามลายูถ่ินก็ควรเลือกใช้ค�ำที่ถูกต้องด้วย เช่น บายฺ มลายู เป็นอาภรณส์ �ำหรับผู้ชาย ส่วนบายฺ กูรง เป็นอาภรณข์ องสตรี เป็นต้น ซ่งึ ภาษามลายถู ิ่นหรือ ที่คนในพ้ืนที่เรยี กว่า ภาษายาวนี น้ั เปน็ ส่วนประกอบสำ� คัญในการบง่ บอกถึงอัตลกั ษณใ์ นงาน เขยี นของบรเิ วณน้ไี ดเ้ ปน็ อย่างดี

ภาษายาวี คือ ภาษามลายูถน่ิ ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา ถ้าจะ เรยี กใหถ้ กู ตอ้ งกค็ อื ภาษามลายปู าตานี เปน็ ภาษามลายถู นิ่ ทใ่ี ชก้ นั ในพน้ื ทท่ี เี่ ปน็ อาณาเขตของ “เมืองปาตาน”ี ในอดตี ซึ่งหมายรวมถึงพืน้ ท่จี งั หวดั ปตั ตานี ยะลาและนราธิวาสในปจั จุบัน (ราชบัณฑติ ยสถาน ๒๕๕๓ : ๕)

“ยาว”ี มาจากไหน

ความสัมพันธ์ระหว่างชาวอาหรับกับชาวมลายูได้เร่ิมต้นข้ึนก่อนการเข้ามาของ ศาสนาอิสลาม ผ่านการติดต่อค้าขาย เม่ือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาท่ีคนมลายูนับถือแล้ว

ความสัมพันธ์ดังกล่าวยิ่งแน่นแฟ้นขึ้น ชาวอาหรับได้เข้ามาพ�ำนักในดินแดนมลายูเพิ่มมาก ขน้ึ บางสว่ นเขา้ มาเพอื่ คา้ ขายและบางสว่ นเพอื่ เขา้ มาเผยแผศ่ าสนา นอกจากนน้ั กม็ ชี าวมลายู เดนิ ทางไปยงั ดนิ แดนอาหรับ โดยสว่ นใหญม่ ีจดุ ประสงคเ์ พือ่ ไปเรียนด้านศาสนา

เป็นความประสงค์ของอัลลอฮ นอกจากกลุ่มชาติพันธุ์มลายูแล้วมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ ใหญก่ วา่ นน้ั คอื ชาวชวา ทำ� ใหใ้ นสมยั นนั้ ชาวชวากลายเปน็ กลมุ่ ชาตพิ นั ธห์ุ ลกั ในดนิ แดนของ ชาวอาหรับ จากเหตุผลดังกล่าว ท�ำให้ชาวอาหรับเข้าใจแบบรวมว่ามนุษย์สีผิวลูกละมุดสุก จากดินแดนมลายูนั้น คอื ชาวชวา

ดังนั้นทุกส่ิงทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับคนมลายู จึงมักถูกเรียกว่า ยาวี โดยเรียก คนมลายวู า่ คนยาวี ดนิ แดน คอื ดนิ แดนยาวี ภาษาถกู เรยี กวา่ ภาษายาวี และตวั อกั ษรทใี่ ชใ้ น ส่ือการเขียนต่างๆ คือ ภาษายาวี ต�ำรับต�ำราด้านศาสนาอิสลามถูกแปลมาเป็นภาษามลายู โดยในศตวรรษที่ ๑๗ เอกสารทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการรับพระราชด�ำรัสของพระราชา คำ� สง่ั สอนของคณุ ครหู รือคำ� สง่ั สอนของพอ่ จะถูกบนั ทึกเปน็ ภาษายาวี ไมใ่ ช่ภาษามลายู

แรกเริ่มค�ำว่า ยาวี เป็นช่ือของแผ่นดิน เช่น โลกมลายู หลังจากน้ันก็เป็นชื่อของ ภาษาและปัจจุบันเปน็ ช่อื ของตวั อกั ษร ยาวีเป็นชื่อของตัวอักษรเกดิ ขนึ้ หลงั จากทอ่ี าณานิคม ตะวนั ตกนำ� ตวั อกั ษรรมู เี ขา้ มา อกี ทงั้ บางรฐั ในแหลมมลายคู ำ� วา่ ยาวไี มไ่ ดถ้ กู นำ� ไปใช้ จนกระทง่ั สหพันธรัฐมลายูได้รับเอกราช ซ่ึงขณะน้ันค�ำท่ีใช้คือ มลายู เช่น มีรายวิชาการอ่านมลายู การเขียนมลายู และเรียงความมลายู ที่อินโดนีเซียตัวเขียนยาวีมักเป็นท่ีรู้จักในนามของ ตวั เขยี นอาหรบั -มลายู แตท่ ม่ี าเลเซยี บรไู น ดารสุ ซาลาม และจงั หวดั ในภาคใตข้ องประเทศไทย มกั รจู้ กั ในนามตวั เขยี นยาวี นน้ั กค็ อื ระบบตวั เขยี นหนง่ึ ทใี่ ชอ้ กั ษรอาหรบั ซงึ่ เปน็ ระบบตวั เขยี น หลัก (ฮมั ดนั อับดลุ เราะฮมัน, ๑๙๙๘ : ๑-๒)

ภาษามลายูกบั ประเทศไทย

ในประเทศไทยมีประชากรท่ีพูดภาษามลายูกระจายอยู่หลายจังหวัด เช่น จังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา (อ�ำเภอสะบ้าย้อย เทพา นาทวี และจะนะ) และมีภาษามลายูถ่ินต่างๆ เช่น ภาษามลายูถ่ินปัตตานี ภาษามลายูถ่ินสตูล ภาษามลายู

ถิ่นนครศรีธรรมราช และอื่นๆ แต่ภาษามลายูถ่ินปัตตานี เป็นภาษาถ่ินท่ีมีผู้ใช้มากที่สุด แต่ในประเทศไทยภาษามลายูมักถูกเรียกว่า ภาษายาวี ภาษาแขก ภาษามุสลิม และภาษา บาฮาซ่า ประกอบกับในประเทศภาษามลายู ทั้งภาษามลายูมาตรฐานและภาษามลายู ถ่ินต่างๆ ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ส่วนใหญ่มักคุ้นเคยและรู้จักกับภาษายาวี และมักเข้าใจว่า ภาษายาวีเปน็ ภาษามุสลมิ หรอื ภาษาอสิ ลาม แท้ที่จรงิ แลว้ ภาษายาวี คือ ภาษามลายูปาตานี เปน็ ภาษามลายูถ่นิ ถ่นิ หน่ึงทีค่ นไทยมุสลิมใชต้ ิดตอ่ สอื่ สารระหวา่ งกนั คนไทยมสุ ลมิ มักเรียก วา่ ภาษาของตวั เองว่า บาซอ ยฺาวี (บาซอ คือ ภาษา และยฺาวี คือ ภาษาของคนมลายู) ดังนนั้ บาซอ ยฺาวี จงึ มคี วามหมายว่า ภาษายาวี

ภาษายาวี คอื ภาษาทชี่ าวไทยมุสลมิ ใช้ในการติดตอ่ สอ่ื สาร ประกอบกบั ชาวไทย มุสลิมมักเรียกว่าตนเองว่า ออแรฺ นายู (ออแรฺ มีความหมายว่า คน และนายู คือ ศาสนา อสิ ลาม) ออแรฺ นายู จึงมคี วามหมายว่า คนที่นบั ถอื ศาสนาอิสลาม เมื่อ “นายู” ไปผกู ตดิ กบั ศาสนาทน่ี บั ถอื แลว้ จงึ ทำ� ใหช้ าวไทยมสุ ลมิ มกั เรยี กภาษาของตวั เองวา่ บาซอ ยาฺ วี หรอื ภาษา ยาวี ประกอบกบั ในพนื้ ทใี่ ชอ้ กั ษรยาวใี นการเขยี นภาษามลายู จงึ ทำ� ใหเ้ ปน็ การสะดวกมากกวา่ หากจะเรยี กวา่ บาซอ ยฺาวี หรอื ภาษายาวี

แต่ละภาษาจะมีท้ังภาษามาตรฐานและภาษาถิ่น ภาษามลายูก็เช่นเดียวกัน ได้มี การแบ่งภาษาออกเป็นภาษามลายูมาตรฐานและภาษามลายูถิ่น ซ่ึงในปัจจุบันภาษามลายู มาตรฐาน มรี ะบบตัวอักษร ๒ รปู แบบ คอื อักษรยาวี และอกั ษรรมู ี ในประเทศไทยมกี ารใช้ อักษรไทยจดบันทกึ ภาษามลายูถ่นิ หรอื ภาษามลายปู าตานี

ในงานเขียนเรื่องเล่าจากบ้านเรา ภาษามลายูมาตรฐานและภาษามลายูถ่ินหรือ ภาษามลายูปาตานีปรากฎหลายค�ำและหลายประโยค ภาษามลายูมาตรฐานอักษรรูมี เช่น sawi putih (ผกั กาดขาว) kangkung (ผกั บุ้ง) timun (แตงกวา) terung (มะเขอื ) และ kubis (กะหล่ำ� ปล)ี ภาษามลายถู ่นิ หรอื ภาษามลายปู าตานอี กั ษรไทย เช่น ตูปะ (ข้าวต้มใบกระพ้อ) อาเนาะ (ลกู ) อาเยาะ (พอ่ ) อาเดะ๊ (นอ้ ง) และอ่ืนๆ

ท้ังนี้ เพื่อเป็นการท�ำความเข้าใจวิธีการเขียนภาษามลายูปาตานีด้วยอักษรไทย ที่ถูกต้อง ราชบัณฑติ ยสถาน (๒๕๕๓ : ๒-๑๙) ได้แนะนำ� ลกั ษณะทว่ั ไปของภาษาดังน้ี คือ

๑. มีลักษณะเป็นคำ� ๒ พยางค์ เช่น ตารี (ร�ำ) ฮาตู (ผี) ๒. มกี ารลดรูปคำ� เช่น บานอ (กลองหน้าหน้าเดยี ว) ๓. มตี วั สะกดเพียง ๒ ตวั คือ ง กับ ฮ เชน่ ซตู ง (ปลาหมึก) ปงู ง (สว่ นท้าย) อาเยาะฮ (คุณพ่อ) ปเู ตะฮ (สีขาว) ๔. ไม่มเี สียงควบกล้�ำ แตถ่ ้าเปน็ คำ� ยมื จะมีการแทรกเสียงสระ อือ เชน่ คือรู (คร)ู ๕. ไม่มีวรรณยุกต์ เช่น บูลัน (ดวงจันทร์) กายู (ไม้) อาเดะ (น้อง)

อักษรพยัญชนะ มีพยัญชนะที่ออกเสียงเหมือนพยัญชนะไทย เช่น นาซิ (ข้าว) ตีโด (นอน) สว่ นพยัญชนะทีอ่ อกเสยี งไม่เหมอื นพยญั ชนะไทยหรอื ไม่มีในภาษาไทย จะเขยี น แทนด้วยรูปพยัญชนะไทยที่มีเสียงใกล้เคียงกันเป็นฐาน และเติมเคร่ืองหมายพิเศษก�ำกับไว้ เชน่ ซือโยฺะ (เย็น) ลากฺ (เพลง) มารฺี (มา) ออแรฺ (คน) บอื โระฺ (ลงิ )

อักษรสระ มีสระที่ออกเสียงเหมือนสระไทยสามารถใช้รูปสระไทย เช่น ปาตา (ชายหาด) บอมอ (หมอ) บเู ละฮ (ได้/สามารถ) อาเนาะ (ลูก) กอเลาะฮ (โรงเรียน) ตือเงาะฮ (สว่ นกลาง) แตแรฺ (มะม่วงหมิ พานต์) สว่ นสระทไ่ี มอ่ อกเสียงไมเ่ หมือนสระไทยอยา่ งสระเรียง จะมกี ารใชร้ ปู สระภาษาไทยทอี่ อกเสยี งเหมอื นหรอื ใกลเ้ คยี งกนั และแทรกเครอ่ื งหมายยตั ภิ งั ค์ เช่น ดา-อง (ใบไม)้ บา-เอะ (ด)ี

วิธกี ารเขียนใหม้ ีการเว้นวรรคระหว่างคำ� เช่น นาซิ ดาแกฺ (ขา้ วดาแก) ปือรฺา-อู กอฺ และ (เรือกอและ) และใช้เครื่องหมายวรรคตอนอย่างเคร่ืองหมายมหัพภาคเม่ือจบประโยค เช่น ดูเมาะฮ กีตอ โดะ นีบง ดี ตาเซะ. เม่ือเป็นประโยคค�ำถามจะใช้เครื่องหมายปรัศนี เช่น ดูเมาะฮ คือรู โดะ มานอ? (บ้านครอู ยูท่ ่ไี หน) และอนื่ ๆ

ภาษาถน่ิ ไมม่ รี ะบบตวั เขยี นสว่ นใหญม่ กั จะพดู ถา้ ไมม่ กี ารจดบนั ทกึ และมจี ำ� นวนผใู้ ช้ ภาษาลดลง อกี ทง้ั ไมเ่ ปน็ ทนี่ ยิ มตอ่ การนำ� ไปใช้ อาจทำ� ใหภ้ าษาถน่ิ นน้ั สญู หายไปตามกาลเวลา ในทางกลบั กนั หากภาษาถนิ่ นนั้ ไดม้ กี ารจดบนั ทกึ กจ็ ะทำ� ใหภ้ าษานน้ั ไมส่ ญู หายไป แตไ่ มว่ า่ จะ จดบนั ทกึ ด้วยอกั ษรใด หากจะทำ� ใหภ้ าษานน้ั คงอยอู่ ย่างเทยี บเทา่ และเทา่ เทยี มกับภาษาอ่ืน ก็เปน็ อกี วิธกี ารหนึ่งทีส่ ามารถอนรุ กั ษ์ภาษาน้นั ๆ ได้ ในบริบทของประเทศไทย หากสามารถ

เขียนและอ่านภาษามลายูถิ่นหรือภาษามลายูปาตานีด้วยอักษรไทยได้ก็จะท�ำให้สามารถ เชอื่ มโยงไปสกู่ ารอา่ นและการเขยี นภาษาไทยใหม้ สี มั ฤทธผิ์ ลมากขน้ึ อกี ทงั้ ถา้ พยายามฝกึ ฝน ทกั ษะด้านการอา่ นและการเขียนภาษาไทยให้มากข้ึนกจ็ ะมสี ่วนชว่ ยในการพฒั นางานเขียน ใหด้ ียิ่งข้ึนด้วยเช่นกัน

เอกสารคน้ คว้าเพ่ิมเตมิ

ไซนี แวมูซอ และคณะ. (2547). รายงานการวิจัยเรอ่ื งขอ้ มลู พนื้ ฐานการเรียนการสอนและ การใชภ้ าษาตา่ งประเทศในโรงเรยี นเอกชนสอนศาสนาอสิ ลามในภาคใต้. สกว. ราชบัณฑิตยสถาน (2553) คู่มือระบบเขียนภาษามลายูปาตานีอักษรไทยฉบับ ราชบณั ฑิตยสถาน กรุงเทพ รสุ ลนั อทุ ยั (2536) วทิ ยานพิ นธอ์ กั ษรศาสตรม์ หาบณั ฑติ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั กรงุ เทพ วรวิทย์ บารู และคณะ (2551) พจนานุกรม มลายูถ่ินปตั ตานี-ไทย ไทย-มลายูถ่นิ ปตั ตานี โครงการจัดต้ังสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปตั ตานี โรงพมิ พม์ ติ รภาพปัตตานี แวมายิ ปารามัล และคณ (2552) ค่มู ือระบบตวั เขียนภาษามลายถู นิ่ ปาตาน ี ศูนยศ์ ึกษา และฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนา ชนบท มหาวทิ ยาลยั มหิดล Dewan Bahasa dan Pustaka, (2002), Kamus Dewan; Edisi Ketiga, Dewan Bahasa dan Pustaka, Kuala Lumpur Anuar Ridhwan, (2004), Perbualan Asas Bahasa Melayu, Dewan Bahasa dan Pustaka, Kuala Lumpur Asmah Haji Omar, (1993) Susur Galur Bahasa Melayu, Dewan Bahasa dan Pus- taka, Kuala Lumpur Hamdan Abdul Rahman, (1999), Panduan Menulis dan Mengeja Jawi, Dewan Bahasa dan Pustaka, Kuala Lumpur Hashim Musa, (2006), Sejarah Perkembangan tulisan Jawi, Edisi Kedua, Dewan Bahasa dan Pustaka, Kuala Lumpur Tajul Aripin Kassim, Sistem Bacaan USM, USM, Pulau Pinang

สารบัญ

คำ�ปรารภ สารบัญ

คำ� นำ�

เม่ือ “เรอื่ งเล่า” กลายเป็นพลังแหง่ อำ� นาจ : - อ.สถาพร คำ�นำ� จาก ‘เรือ่ งดๆี ’ ถึง ‘เรื่องเเมลอ่ื่า’ “- เ“รจ่อื างกเลบ่า้า”น เ รกาล”า ย เสปถน็ าพพลรงั ศแรหีส่งัจอจำ� ังนาจ คำ�ปรารภ

ศรสี จั จัง

ภาษายาวใี นภาษามลายู ภวนาษิดายเาตวะ๊ ใี หนลภงาษามลายู - วนดิ า เต๊ะหลง

ระดบั ประถมศึกษา ระดบั ประถมศึกษา รางวัลชนะเลิศ รางวัลชนะเลศิ 2 จากขอคงวเหามลสือขุๆเล ก็ ๆ จากของเอหาลมือีณๆา ย์ ดา โอะ อามณี าย์ ดาโอะ 2 รางวัลรองชนะเลิศอนั ดบั ๑ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ อยกู่ บั ยาย อ ยู่กับยาย พณิชยา เพ็ชพรณเทิชพย า เพ็ชรเทพ 6 รางวัลรองชนะเลิศอันดบั ๒ รางวลั รองชนะเลศิ อนั ดบั ๒ บ้านเกิดทร่ี กับ า้ นเกดิ ท่ีรัก ฮาซามี แสงฮโดาซ ามี แสงโด 10 รางวลั ชมเชย รางวลั ชมเชย บา้ นฉนั มีกลบอา้ งนบฉานั มอกี ล องบานอ อาฟนี ี หะมิ 16 สายธารแหง่ สคาวยาธมารรักแ หง่ ความรัก จารวี เอกนรพันธ์ จารวี เอกนรพนั ธ์ 18 ความฝัน อุปคสวรารมคฝนั มโอนุปรสาหรร ์ ค มโนร าห ์ จิราภา สุขสำ�ราญ จริ าภา สขุ สำ�ราญ20 ชาเจะ๊ เหมบช้าานเเจร๊ะาเ หมบ ้านเรา ไซนับ สะอะ ไซนบั สะอะ23 ว่าววงเดอื นวเสา่ นววห่ ง์มเดลอืายน ูเสน่หม์ ลายู นูรอิลฮัม ดามูหิ นรู อิลฮมั ดามหู ิ25 กอและซ่า...ท้าใหช้ ม แวฟิรมัน เจะอเู ซ็ง แวฟริ มัน เจะอเู ซ็ง28 มโู นะบ้านฉัน กุลธิดา บิณฑาประสทิกลุธิ์ธิดา บณิ ฑาประสทิ ธ3ิ์ 1 ตารอี นี า ณ บ้านสามแยก ฟัรฮานา อาแว ฟัรฮานา อาแว34 แวง้ ทรี่ กั ...ความรกั แห่งฮาลา-บาลา เมลิสา อาแวและ เมลิสา อาแวและ37 ปา่ แหง่ ความอดุ มสมบรู ณ์ จิรวดี วงศน์ ราสิน จิรวดี วงศน์ ราสนิ 39

ระดบั มัธยมศกึ ษา ระดบั มธั ยมศกึ ษา

รางวลั ชนะเลศิ รางวัลชนะเลศิ อฎี ้ลิ ฟติ ริ : วนั ทค่ี วามรกั ผลบิ าน ณ บ้านแห่งเราฮ ดี ายะห์ เบ็ญโกบ ฮีดายะห์ เบญ็ โกบ44

รางวลั รองชนะเลิศอันดบั ๑ รางวัลรองชนะเลิศอนั ดบั ๑ วหิ ารที่ถูกลมื อสุ มาน วาเต๊ะ อสุ มาน วาเตะ๊ 50 รางวัลรองชนะเลิศอนั ดับ ๒ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ หอมกลิน่ น�้ำ�ชา ณ ชายแดนแผน่ ดินสยาม รอมฎอน เบญ็ โกบ รอมฎอน เบญ็ โกบ54 รางวัลชมเชย รางวัลชมเชย เธอคือผรู้ งั สรรค์รสชาติชีวิต สูไวดา สาและ สไู วดา สาและ61 ความคิด...ที่ตายไปแล้ว นรู อนั ดา สาและ นรู อันดา สาและ66 เสียงนำ้� ใจ พิชามลช์ุ งามศรีผ่องพใสิชามลช์ุ งามศรีผ่องใส71 สันติสุขอยูห่ นใด สธุ าวี สุภาพ สธุ าวี สุภาพ74 ยามเม่ือแสงแรกฟา้ นูรดี า เจ๊ะอุมา นรู ดี า เจะ๊ อมุ า77 เสาหลกั ฟาดีล๊ะ ประดู่ ฟาดีละ๊ ประด่8ู 5 เรอื ลากจากมนษุ ย ์ วสนั ตฤ์ ดี แกว้ วชิ ิต วสนั ต์ฤดี แก้ววชิ ิต89 ดาวบนดนิ ธิดารัตน์ สียา ธิดารัตน์ สยี า92 ฉนั เรยี กมนั วา่ ความสขุ ฮไู ซนี เสม็ หล่อ ฮไู ซนี เส็มหล่อ95 ถน่ิ น้ี ทร่ี กั นจั มา กโู น นัจมา กูโน98

เรือ่ งสน้ั ระดบั อดุ มศกึ ษาและประชาชนท่ัวไปเร่อื งส้นั ระดบั อุดมศกึ ษาและประชาชนทว่ั ไป รางวัลชนะเลศิ รางวัลชนะเลิศ กลั ยาณมิตรแห่งปลายดา้ มขวาน มฮู ัมมดั เจะ๊ เลาะ มูฮมั มัด เจะ๊ เลาะ106 รางวัลรองชนะเลศิ อนั ดบั ๑ รางวลั รองชนะเลศิ อนั ดับ ๑115 มะรอวี เจ๊ะอุมา117 สิ่งมหศั จรรย์ มะรอวี เจ๊ะอุมา รางวัลรองชนะเลศิ อนั ดบั ๒ รางวัลรองชนะเลศิ อนั ดับ ๒ ประวัติย่อของโครงการตา้ นระเบิด ถนอม ขุนเพ็ชร์ ถนอม ขนุ เพ็ชร์125 รางวลั ชมเชย รางวลั ชมเชย กาลทพิ ย์ ถน่ิ นา139 “วาบลู นั ” สายลมไมเ่ คยหวนคนื กาลทพิ ย์ ถ่นิ นา จรรยา สวุ รรณ์145 ตะปู จรรยา สวุ รรณ์ สายรงุ้ พาดน่านฟ้านีไ้ ดบ้ า้ งไหม ฟัรซาน สะแมง ฟัรซาน สะแมง154 สายสัมพันธท์ ีข่ าดช่วง อนุสรณ์ ศรคี ำ�ขวญั อนสุ รณ์ ศรคี ำ�ขวญั 162 สถานการณ์ประหลาด อารีฟ แปเฮาะอีเล อารีฟ แปเฮาะอเี ล167 ฮิญาบสันตภิ าพ พาซียะ อาแซ พาซียะ อาแซ183 รติธรณ ใจหา้ ว194 บอมอฮาตูกบั การต่อสู้คร้ังสำ�คญั รติธรณ ใจหา้ ว พลงั พิเศษของมนษุ ยต์ า่ งดาว วชิ ดุ า ราชพิทักษ์ วชิ ุดา ราชพิทักษ2์ 05 โศกนาฏกรรม สุนารยี ์ พันธุเมฆ สุนารยี ์ พันธุเมฆ213 กะน ิ สุธมี นต์ สกลุ วศิ ลั ย์ สุธมี นต์ สกลุ วศิ ัลย2์ 20

กวีนิพนธ์ ระดบั กวีนิพนธ์ รางวัลชนะเลศิ รางวลั ชนะเลิศ กันตภณ รกั คำ�มี กนั ตภณ รักคำ�มี230 ยาย รางวลั รองชนะเลศิ อนั ดบั ๑ รางวลั รองชนะเลิศอนั ดบั ๑ ถนอม ขนุ เพ็ชร์ ถนอม ขุนเพช็ ร2์ 33 เราในเขา รางวัลรองชนะเลศิ อนั ดับ ๒ รางวลั รองชนะเลศิ อันดบั ๒ ฉตั รปกรณ์ กำ�เหนดิ ฉผัตลรปกรณ์ กำ�เหนดิ ผล237 วายงั เซียม รางวลั ชมเชย รางวัลชมเชย พาซยี ะ อาแซ พาซยี ะ อาแซ241 ครูพลัดถ่ิน ดิเรก วงศก์ ีรติเมธาวี ดเิ รก วงศ์กรี ติเมธาวี244 ปัตตานีเมอื งทา่ ชายทะเล อัษฏาวุธ ไชยวรรณ อษั ฏาวุธ ไชยวรรณ246 รากเดียวกนั จรรยา สุวรรณ์ จรรยา สุวรรณ2์ 48 ขา้ วยำ�ใบยอ วิชุดา ราชพทิ กั ษ์ วิชุดา ราชพิทกั ษ์251 แสงหกั เหจากเงาสะท้อน สกล ผดงุ วงศ์ สกล ผดงุ วงศ์254 อลงั การกอและ ธันยพร เจนถนอมม้าธันยพร เจนถนอมม้า256 สขุ ในความต่าง ศกั ดา ไชยภาณรุ ักษ์ ศักดา ไชยภาณุรักษ2์ 57 เบอรอ์ ามสั แห่งเสรภี าพ วศิ ษิ ฐ์ ปรยี านนท์ วศิ ษิ ฐ์ ปรยี านนท2์ 59 คนื จนั ทรแ์ รม การียา ยูโซะ๊ การยี า ยูโซ๊ะ261 แอบอิง

ระดบั ประถมศกึ ษา

ความสขุ เลก็ ๆ จากของเหลอื ๆ

เดก็ หญิงอามณี าย์ ดาโอะ โรงเรียนแหลมทองอุปถัมภ์ จังหวัดปตั ตานี

เช้ามืดวันหนึ่ง ฉันสะดุ้งต่ืนจากเสียงขันปลุกของไก่แจ้ป่าพร้อมมองลอดออกไป ทางช่องหน้าต่าง สภาพท้องฟ้ายังมืดอยู่ แต่แปลกท่ีวันนี้คนอื่นๆ เขาตื่นกันแล้ว ซ่ึงสังเกต ได้จากไฟภายในบ้านที่ส่องสว่างออกมาจากบ้านข้างๆ แทบทุกหลัง ท่ีบ้านของฉันเองก็เช่น กัน วันนี้ทกุ ๆ คนต่ืนกันต้งั แตเ่ ช้า แมแ้ ตพ่ ช่ี ายของฉนั เองยังตน่ื กอ่ นฉนั เลย ฉนั สามารถเดา ได้เลยว่าวันนี้ต้องไม่ใช่วันธรรมดาแน่ๆ เม่ือคิดได้ ฉันจึงพาร่างของตัวเองเดินเข้าไปในครัว ด้วยความงัวเงีย พร้อมเอ่ยปากถามคุณแม่ไป แต่พ่ีชายกลับส่งเสียงตอบฉันแทนคุณแม่ว่า “วนั น้ี ทีม่ ัสยดิ จดั กิจกรรมกวนอาซูรอนะ่ ”

คุณแม่กับคุณยายก็พยักหน้าตอบรับ ฉันลืมเร่ืองนี้ไปโดยสนิท เพราะคุณแม่ ได้บอกฉันไว้ต้ังนานแล้ว และแน่นอนว่าฉันไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้ วันน้ีจึงเป็นวัน แรกและครั้งแรกในชีวิตที่ฉันจะได้เข้าร่วมนี้ ฉันไม่พลาดท่ีจะถามคุณยายต่อถึงอาซูรอ เพราะเรื่องแบบน้ีต้องให้คนเก่าแก่เล่าถึงจะฟังสนุก เพราะท่านอยู่มานาน ท่านจึงรู้เร่ือง แบบนี้ดีทีส่ ุด คณุ ยายยิม้ หวานใหฉ้ นั กอ่ นจะเล่าว่า คำ� ว่า “อาซูรอ” มรี ากศพั ทม์ าจากภาษา อาหรับ แปลว่า การผสมหรือรวมกัน หมายถึงการน�ำส่ิงต่างๆ มารวมกัน กลายเป็นขนม อาซูรอ โดยมีท่ีมาสืบเน่ืองมาจากในสมัยของท่านนบีนุฮ (อะลัยฮิสสลาม) ได้เกิดเหตุการณ์ นำ้� ทว่ มครง้ั ใหญ่ ทำ� ใหท้ รพั ยส์ นิ เกดิ ความเสยี หาย ไรน่ าและทท่ี ำ� กนิ ของชาวบา้ นเองกเ็ ชน่ กนั ทุกคนจึงไม่มีอาหารไว้รับประทาน ท่านนบีนุฮ (อะลัยฮิสสลาม) จึงประกาศให้ชาวบ้าน ที่มีส่ิงที่ยังสามารถรับประทานได้มารวบรวมไว้ด้วยกัน และน�ำมากวนรวมกันเป็นอาหาร ให้ชาวบ้านได้ทานกัน ท�ำให้ชาวบ้านทุกคนรอดตายจากการอดอาหาร คุณยายหยุดพูด ครู่หน่ึง พอให้ฉันได้ภูมิใจและชื่นชมกับความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของ ท่านนบีนุฮ (อะลัยฮิสสลาม) ท่านฉลาดมากๆ ที่สามารถท�ำให้ทุกๆ คนไม่ต้องอดอาหาร

2 วันท่คี วามรักผลิบาน ณ บา้ นแหง่ เรา

ความสขุ เลก็ ๆ จากของเหลอื ๆ - เดก็ เหรญื่องิ เอลา่ามจีณากายบ์ า้ดนาเโรอาะ 3

อีกต่อไป จากนั้นคุณยายกระแอมเล็กน้อยก่อนจะเล่าต่อว่า ประเพณีนี้เป็นประเพณีที่ ชาวไทยมสุ ลิมท�ำในวนั ที่ ๑๐ ของเดือนมฮุ รั รอม ซึ่งเปน็ เดอื นแรกในปฏทิ ินอาหรบั กจิ กรรม น้ีนอกจากจะเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ในอดีตแล้ว ยังเป็นการสร้างความสามัคคีให้กับ คนในชุมชนอีกด้วย จากที่ฉันได้ฟังคุณยายเล่ามาท้ังหมด มันสะท้อนให้เห็นถึงประเพณี ศิลปวัฒนธรรมในท้องถ่ินที่สร้างความสามัคคีให้กับคนในชุมชน ฉันเองก็ยังนึกภาพ ไม่ออก แต่มันฟังดูน่าตื่นเต้นมากส�ำหรับเด็กน้อยอย่างฉัน ฉันจึงไม่รอช้าที่จะรีบไปอาบน้�ำ ทานขา้ ว และเตรยี มตัวไปมัสยดิ ของหม่บู า้ นทนั ที

ท่ีมสั ยดิ มีผู้คนมากมายมารอเตรียมอปุ กรณ์และวัตถุดิบต่างๆ กันตั้งแตเ่ ชา้ โดยมี โตะ๊ อหิ ม่ามช่วยรวบรวมของเหลอื ๆ เชน่ ข้าวโพด ถว่ั มนั เผอื ก เปน็ ต้น ที่ชาวบ้านช่วยกนั เตรียมมา ครอบครัวของฉันช่วยเตรียมมะพรา้ วมาเพือ่ คน้ั นำ้� กะทิ เพราะท่ีบ้านของเรามสี วน มะพร้าวอยู่ ส่วนวัตถุดิบอกี อย่างหนง่ึ คอื ข้าวสาร ท่ไี ด้มาจากน�้ำใจของพวกเราทกุ ๆ คนที่ รวบรวมเงินกันไปซอ้ื มา

ตอนนี้ ในสนามหญ้าเล็กๆ ข้างๆ มัสยิด มีกระทะใหญ่ๆ วางอยู่บนเตาไฟ พร้อมไม้พายส�ำหรับกวน มีทั้งหมด ๔ ชุด คงจะมากพอให้พวกเราทุกคนได้แบ่งกันทาน เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ อย่างฉันและเพื่อนๆ ต่างช่วยกันล้าง หั่นวัตถุดิบต่างๆ ให้เป็นชิ้น เล็กๆ และช่วยงานง่ายๆ อยู่ในครัว ส่วนเด็กผู้ชายตัวใหญ่ๆ ก็พากันไปช่วยผู้ใหญ่ขนของ และก่อไฟกัน จากนั้นก็มีพวกผู้ใหญ่มาตั้งกระทะและค้ันน้�ำกะทิใส่ลงไปพร้อมกับเคร่ือง แกงหยาบๆ ท่บี ดแลว้ รอจนน้ำ� กะทเิ ดอื ด เม่อื น้ำ� กะทเิ ดือดแลว้ กใ็ ส่ขา้ วสารลงไปและตอ้ ง คอยกวนอยู่ตลอดเวลา เพ่ือไม่ให้ข้าวสารจับตัว โดยในหนึ่งกระทะจะมีผู้ใหญ่ ๒ - ๓ คน มาช่วยกันกวนและสลับกันไปเร่ือยๆ เม่ือกวนจนข้าวสารแตกตัวและเข้ากันกับน�้ำแล้วก็ใส่ วัตถุดิบอ่ืนๆ ตามไป แล้วคนด้วยไม้พายไปเร่ือยๆ จนกระทั่งทุกอย่างเปื่อยยุ่ยและรวมเป็น เน้ือเดยี วกัน ซ่งึ ใชเ้ วลานานมากๆ ในระหว่างที่ผใู้ หญก่ ำ� ลงั กวนอาซรู อ เดก็ ๆ อย่างพวกเรา ก็สงั เกตและศึกษาอยา่ งตัง้ ใจ เม่อื วตั ถดุ ิบทใ่ี สร่ วมเป็นเนอ้ื เดยี วกันแลว้ ก็ชมิ และแตง่ รสชาติ ให้มีรสหวานตัดกันกับรสเค็ม จากน้ันกก็ วนตอ่ ไปจนเขา้ กัน แลว้ ยกกระทะลงจากเตาเพื่อรอ ใหอ้ าซรู อแขง็ ตวั

4 วนั ที่ความรกั ผลบิ าน ณ บา้ นแหง่ เรา

ในระหวา่ งทกี่ ำ� ลงั รอใหอ้ าซรู อแขง็ ตวั พวกเราทกุ คนตา่ งกไ็ ปเตรยี มภาชนะทจี่ ะใชใ้ ส่ อาซรู อกลบั บา้ น โดยมกี ฎวา่ หา้ มใชก้ ลอ่ งโฟมหรอื ถงุ พลาสตกิ เพราะมนั ยอ่ ยสลายไดย้ ากและ ทำ� ใหโ้ ลกของเรารอ้ นขึน้ ให้เราใชภ้ าชนะทีส่ ามารถนำ� กลับมาใช้ซำ้� ไดเ้ พอ่ื ลดโลกรอ้ น ทุกคน ต่างท�ำตามกฎน้ีอย่างวา่ งา่ ยด้วยความเตม็ ใจ เพราะเราอยากเปน็ ส่วนหนึ่งในการลดโลกรอ้ น กลิ่นหอมอ่อนๆ ลอยมา ทุกคนแบ่งอาซูรอกันอย่างมีระเบียบ ครอบครัวของใคร มีสมาชิกหลายคนก็จะได้เยอะหน่อยตามจ�ำนวนสมาชิก เมื่อแบ่งกันเสร็จแล้ว ปรากฏว่ามี อาซูรอบางส่วนเหลืออยู่ พวกเราจึงจัดใส่ถาดไปแบ่งให้กับคนในชุมชนข้างๆ ถึงแม้ว่าพวก เขาจะนับถือศาสนาพุทธ แต่เราเป็นเพื่อนกันได้ พวกเขาย้ิมและขอบคุณในน้�ำใจน้อยๆ ทพ่ี วกเรามีให้ อนั ที่จริงเวลาท่ีพวกเขาจัดกิจกรรมกัน พวกเขากม็ ีของมาฝากพวกเราเหมอื น กนั สง่ิ นเี้ ปน็ สงิ่ ทบี่ ง่ บอกไดว้ า่ พวกเราสามารถอยรู่ ว่ มกนั ไดท้ า่ มกลางความแตกตา่ งหลากหลาย ของวัฒนธรรมและการนับถอื ศาสนา ภายในสังคมพหุวฒั นธรรมอย่างมีความสุข สุดท้ายน้ี พวกเราทุกคนก็ได้ขนมกลับบ้านกันพร้อมมิตรภาพและความสามัคคี ขนมอาซูรอท่ีพวกเราทุกคนช่วยกันท�ำในวันนี้ มาจากความตั้งใจและความสามัคคีของ พวกเรา และเราได้แบ่งปันขนมเหล่านี้ให้กับเพ่ือนๆ ท่ีอยู่ในชุมชนข้างๆ ด้วย ขนมและ รอยยิ้มท่ีได้ในวันน้ีคือความสุขของพวกเราทุกๆ คน ท่ีได้จากอาหารเหลือๆ เล็กๆ น้อยๆ มารวมกัน เปน็ ความสขุ ความสขุ เลก็ ๆ จากของเหลอื ๆ

เร่อื งเลา่ จากบา้ นเรา 5

อยกู่ ับยาย

เดก็ หญงิ พณชิ ยา เพช็ รเทพ โรงเรียนราชวทิ ยา จังหวัดนราธิวาส

ประเทศไทยเปน็ ประเทศเกษตรกรรม ปลกู ขา้ วกินเอง ไมต่ ้องนำ� ข้าวมาจากประเทศเพอ่ื นบ้าน ปัจจบุ นั คนไทยไมค่ ่อยทำ� นากันแลว้

ท่ีนาส่วนใหญ่มักถูกแปรเปลี่ยนเป็นพ้ืนที่เพาะปลูกอ่ืนๆ เช่น สวนยาง หรือ สวนปาล์ม อาจเป็นเพราะได้ผลผลิตที่คุ้มค่ากว่า หรือตามกระแสนิยม หรืออะไรก็ตามแต่ แต่พ้ืนที่ในจังหวัดนราธิวาสบ้านฉันยังคงเต็มไปด้วยทุ่งนากว้าง และประกอบอาชีพท�ำนา เล้ียงชพี ตั้งแตส่ มยั โบราณจนมาถงึ ปจั จุบนั

บ้านของฉันในอ�ำเภอเมือง ฉันเข้าเรียนในเมืองต้ังแต่อนุบาลจนถึงปัจจุบัน แตใ่ นชว่ งปดิ เทอม ทกุ ๆ เทอม แมจ่ ะพาฉนั ไปอยกู่ บั ยายทห่ี มบู่ า้ นโคกมะเฟอื ง ซงึ่ เปน็ หมบู่ า้ น เลก็ ๆ ในอำ� เภอตากใบ ยายของฉนั แมจ้ ะมอี ายมุ ากแลว้ แตย่ ายยงั แขง็ แรง ยายของฉนั มอี าชพี ปลกู ผกั เลีย้ งววั และทำ� นา ในช่วงปิดเทอมใหญข่ องฉันจะตรงกับช่วงฤดกู าลเกบ็ ขา้ วพอดี

เอก้ ก…อ…ิ เอก้ …เอก้ กก… เสยี งไกห่ ลงั บา้ นขนั ยายปลกุ ฉนั แตเ่ ชา้ ตรเู่ พอ่ื เตรยี มตวั ไป เกบ็ ขา้ วทท่ี งุ่ นา ฉนั ตนื่ มาอาบนำ�้ ลา้ งหนา้ แปรงฟนั นำ�้ ในบอ่ นช่ี า่ งเยน็ จรงิ ๆ ไมเ่ หมอื นนำ้� ประปา ทบ่ี า้ นเลยแตม่ นั กท็ ำ� ใหฉ้ นั ตนื่ เรว็ ไมง่ วั เงยี เหมอื นตอนอยทู่ บ่ี า้ นฉนั ชว่ ยยายหงุ ขา้ วทอดปลาเคม็ ตกั ขา้ วใสก่ ระปกุ เพอื่ เปน็ ขา้ วหอ่ ไวร้ บั ประทานมอ้ื เทย่ี ง ฉนั ขอตามยายไปเกบ็ ขา้ วทที่ งุ่ นาดว้ ย บา้ นยายเลย้ี งววั สองตวั มนั เพงิ่ เกดิ ลกู ไดไ้ มน่ าน ลกู ววั ตวั เลก็ สนี ำ้� ตาลออ่ น ดคู ลา้ ยๆ ลกู กวาง นา่ รกั มาก ยายบอกวา่ มันเพิง่ คลอดไดไ้ มถ่ ึงอาทิตย์ ฉันบอกวา่ “เกดิ เปน็ ลกู ววั ก็ดีเหมอื นกนั เกิดมาก็เดนิ ได้เลย ไมต่ อ้ งมใี ครอมุ้ ” ยายหัวเราะลนั่

6 วันที่ความรกั ผลบิ าน ณ บ้านแห่งเรา

เร่อื งเลา่ จากบา้ นเรา 7

ยายเดนิ จงู ววั สว่ นฉันกเ็ ดินถือเสบยี งและน้ำ� ระหวา่ งทางฉนั กเ็ ดนิ เล่นมากับลกู วัว ฉันแค่อยากจะลูบหัวมัน แต่มันก็วิ่งหนีไปตลอด เราเดินมาจนถึงทุ่งนา พระอาทิตย์ก�ำลัง ขึ้นพอดี ช่างเป็นภาพท่ีสวยงามมาก ยายจูงวัวไปปักที่ริมคันนา และยายก็เริ่มใช้แกะเก็บ ข้าวทีละรวง รวงข้าวสีทองเต็มไปหมด สุดลูกหูลูกตา ไม่นานก็มีชาวบ้านเข้ามาเก็บข้าว ที่ทุ่งนาของตัวเอง เก็บข้าวไปคุยกันไปสนุกดี ยายใช้ซังข้าวผูกเป็นมัด หรือเรียกเป็นก�ำ ยายท�ำให้ฉันรู้สึกว่าฉันต้องกินข้าวให้หมด ชาวนากว่าจะได้ข้าวออกมาทีละเม็ด ต้องผ่าน ข้ันตอนมากมาย พอถึงเวลาเท่ียง ยายกับฉันเอาห่อข้าวท่ีพามาจากบ้าน มาน่ังกินที่ใต้ต้น ต�ำเสาใหญ่ ลมพดั เย็นสบาย ได้กลนิ่ หอมออ่ นๆ ของดอกตำ� เสา มเี สยี งนกร้องเหมือนมีใคร มาเปิดเพลงให้ฟัง กับข้าวท่ียายชอบท�ำมากินบ่อยๆ คือปลาช่อนแดดเดียว ปลาช่อนที่ได้ จากทุ่งนาเมื่อตอนน้�ำแห้ง บางคนเรียกว่า ปลาน�้ำแห้ง เอามาผ่าท้อง ล้างท�ำความสะอาด หมักด้วยเกลือ ตากแดด ก็สามารถเก็บไว้กินได้นาน กินกับแกงขี้เหล็กใส่พริก ตอนแรก ในความเข้าใจของฉัน แกงขี้เหล็กใส่พริกมันจะต้องเผ็ดมากแน่ๆ เพราะใส่พริกเป็นเม็ด แตท่ จ่ี ริงแล้ว มนั คอื แกงเลยี งท่ใี สแ่ คใ่ บขเ้ี หล็ก รสชาติอร่อยมาก มรี สขมนดิ ๆ แลว้ ยายก็ผ่า แตงโมทพี่ ามากินกบั ข้าว เปน็ รสชาติท่กี ลมกล่อมมาก เมือ่ กนิ ข้าวกนั อิม่ แลว้ ยายบอกใหฉ้ ัน นั่งพัก ส่วนยายก็ไปตักน�้ำในบ่อเอาไปให้วัวที่ริมคันนา แล้วก็พามันมาปักไว้ที่ใต้ต้นไม้แทน ให้มันเข้ามาอยู่ในร่ม พอตกบ่ายก็เอาข้าวท่ีเก็บได้ มาตาก เรียงเป็นก�ำๆ เป็นแถวยาวเต็ม คนั นา เพอื่ จะรอใสก่ ระสอบแล้วพากลบั บ้าน ก่อนกลบั ยายกพ็ าฉันไปเก็บแตงโมทป่ี ลกู ไว้รมิ คันนา แตงโมยายลูกไม่ใหญ่นัก ยายบอกว่าเป็นพันธุ์บ้านๆ ยายเคาะดู ลูกไหนที่ดังป๊อกๆ ขว้ั เรม่ิ เห่ียวกเ็ กบ็ ได้เลย ส่วนลกู ทมี่ ันเลก็ มาก ยายกต็ ัด เอาไปท�ำแกงเลียง หรือตม้ จมิ้ กบั บดู ู ก็อรอ่ ยดี วนั น้ีได้แตงโมใส่รถรนุ กลบั บา้ นไปหลายลูกมีทั้งลูกสุก และลกู ออ่ น

พระอาทติ ยต์ กดิน ยายพาฉนั และววั สองตวั เดินกลบั บ้าน ระหวา่ งทาง ฉันพูดกบั ยายว่า ถ้าไม่มีชาวนา เราก็คงไม่มีข้าวกิน แล้วเราจะกินอะไรกัน ยายบอกว่าคนสมัยใหม่ เขานิยมซ้ือข้าวกิน แต่ยายบอกว่าบ้านเราไม่ต้องซื้อข้าวกินหรอก ตราบใดท่ียายยังแข็งแรง ยายก็จะท�ำนาแบบน้ีทุกปี เพราะยายมีอาชีพท�ำนาตั้งแต่สมัยปู่ยา ตา ทวด และส่งเสียลูก ทุกคนให้ได้เรียนหนงั สอื ก็เพราะอาชีพท�ำนา ยายจึงรักและศรัทธาในอาชพี นี้

8 วนั ทีค่ วามรกั ผลบิ าน ณ บา้ นแห่งเรา

หมู่บ้านโคกมะเฟืองท่ียายฉันอยู่ ยังคงไว้ซ่ึงวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย ในน้�ำมีปลา ในนามีข้าว ใช้ชีวิตแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพท�ำนา ชาวนา เปน็ กระดกู สนั หลงั ของชาติคำ� นย้ี งั ใชไ้ ดจ้ รงิ จนถงึ ปจั จบุ นั ขา้ วยงั เปน็ อาหารหลกั เลย้ี งคนในหมบู่ า้ น ในจังหวัด และในประเทศไทย เหลือจากบริโภคในครัวเรือนก็สามารถน�ำมาขายเพ่ือเลี้ยง ชีพได้ และส่งออกไปต่างประเทศ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยได้อีกด้วย หากไม่มีชาวนา ประเทศชาติไม่มีกระดูกสันหลัง คงยืนและเดินต่อไปไม่ได้ ฉันขอขอบคุณพระแม่โพสพ ที่คอยดูแลต้นข้าวให้เจริญงอกงาม ขอบคุณชาวนาท่ีปลูกข้าวให้พวกเราได้กิน ได้อ่ิมท้อง และขอบคณุ ยายของฉนั ทท่ี ำ� ใหฉ้ นั เหน็ คณุ คา่ ของขา้ วทกุ เมด็ ...ฉนั รกั ยายของฉนั ทสี่ ดุ ในโลก

เรอ่ื งเล่าจากบา้ นเรา 9

บา้ นเกดิ ทร่ี กั

เด็กหญงิ ฮาซามี แสงโด โรงเรียนบ้านเขาแก้ว จงั หวดั นราธิวาส

ณ ดินแดนปลายด้ามขวานของเมืองไทย หลายๆ คนอาจจะรู้สึกหวาดกลัวด้วย เหตกุ ารณค์ วามไมส่ งบทางชายแดนภาคใต้ แตท่ วา่ ดนิ แดนแหง่ นยี้ งั มอี กี ดา้ นหนงึ่ ทมี่ เี รอื่ งราว ดๆี ตำ� นานเล่าขาน จารีตประเพณี วัฒนธรรมทดี่ ีงามและความเปน็ เอกลักษณ์ทม่ี มี นตเ์ สน่ห์ น่าคน้ หา ชวนหลงใหล ข้าพเจา้ เกดิ เปน็ ลูกหลาน “มะนารอ” คนหน่งึ ทีม่ ีความรกั หวงแหน บ้านเกดิ ของตนเองเหมือนดงั เชน่ คนอื่นๆ

“มะนารอ” คอื ชอื่ เดมิ ของจงั หวดั นราธวิ าส กอ่ นทพี่ ระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจ้าอยหู่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปล่ยี นช่ือเมืองเปน็ “นราธวิ าส” แปลว่า เมอื งของ คนดี

เมอ่ื ไม่นานมานี้ ขา้ พเจ้าไดม้ โี อกาสทัศนศึกษากบั ทางโรงเรียน เป็นกจิ กรรมเรียน รู้นอกร้ัวโรงเรียน เพ่ือให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ ศึกษาสถานท่ีที่ส�ำคัญและน่าสนใจ ทแี่ รกทไี่ ดไ้ ปคอื พพิ ธิ ภณั ฑข์ นุ ละหาร ซง่ึ ตงั้ อยใู่ นอำ� เภอยง่ี อ จงั หวดั นราธวิ าส สรา้ งเพอื่ สะสม ของโบราณ สบื สาน เผยแพร่ รกั ษาวฒั นธรรมอันดีงามของชนชาติมลายูเรา ก้าวย่างแรกทไ่ี ด้ สัมผัสน้นั ขา้ พเจ้ารู้สึกตน่ื เตน้ ด้วยพิพธิ ภณั ฑ์สร้างเป็นบ้านไม้ทั้งหลัง รูปทรงโบราณดูโออ่ า่ เหมือนมมี นตข์ ลัง คลบั คล้ายคลับคลาเหมอื นอยูใ่ นหว้ งของชนชาติมลายูในยคุ นัน้ จรงิ ๆ เมอื่ เขา้ ไปชมขา้ งใน สง่ิ ทสี่ ะดดุ ตาอนั ดบั แรก คอื “วา่ ว” วา่ วทข่ี า้ พเจา้ เหน็ นนั้ สวยงามมากลวดลาย วจิ ิตรงดงาม ลกั ษณะของวา่ วน้มี รี ูปร่างคลา้ ยเทวดา จงึ มนี ามวา่ “วา่ วเทวดา” ชาวนราธวิ าส จะมีการเล่นว่าวในยามว่าง ในบางครั้งจะมีการแข่งขันประกวดชิงความงาม ความโดดเด่น อวดโฉมโลดแลน่ ตระการตาบนทอ้ งฟา้ ขา้ พเจา้ จนิ ตนาการ ถา้ วา่ วเทวดาไดล้ อ่ งลอยสทู่ อ้ งฟา้ เหลา่ บรรดาปกั ษาคงอิจฉาในความงดงามของของว่าวเทวดาน้ีเป็นแน่

10 วันทีค่ วามรักผลบิ าน ณ บา้ นแหง่ เรา

ภาพวาดประกอบเร่อื ง

เร่อื งเลา่ จากบ้านเรา 11

ในพพิ ธิ ภณั ฑน์ ยี้ งั มถี ว้ ยโถโอชาม มอี ปุ กรณท์ ำ� ขนมโบราณ และมกี ระตา่ ยขดู มะพรา้ ว หลายๆ คนอาจยังไม่ทราบว่ากระตา่ ยขดู มะพรา้ วเป็นเอกลกั ษณอ์ ยา่ งหน่ึงของชาวนราธวิ าส กระตา่ ยขดู มะพรา้ วทจ่ี ดั แสดงนแี้ กะสลกั ลงในเนอ้ื ไมส้ สี นั สดใสซง่ึ ปจั จบุ นั หาดไู ดย้ าก ขา้ พเจา้ แอบคดิ ในใจวา่ คนในยคุ กอ่ นชา่ งมฝี มี อื พถิ พี ถิ นั แทบทกุ เรอื่ ง เชน่ เดยี วกบั “กรชิ ” เปน็ ตำ� นาน เลา่ ขานคู่กบั ชายมลายู มคี วามสวยงาม มกี ารกลา่ วว่า กริชนัน้ มีปรากฏในจดหมายเหตขุ อง ลาลูแบร์ ชาวฝร่ังเศสท่ีเดินทางเข้ามาในเมืองไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กริช มีบทบาทเป็นทั้งอาวุธและเคร่ืองประดับ ส�ำหรับเครื่องประดับนั้น ปัจจุบันจะเห็นได้จาก พธิ นี กิ ะห์ หรอื พธิ แี ตง่ งานของชาวมสุ ลมิ เจา้ บา่ วจะแตง่ ตวั ดว้ ยบาจู มลายู โดยจะเหนบ็ ทข่ี า้ ง เอว ดเู ปน็ ชายชาตชิ าตรเี ลยทเี ดยี ว อยากใหผ้ คู้ นไดเ้ ยยี่ มชมพพิ ธิ ภณั ฑข์ นุ ละหารแหง่ นี้ เพราะ มีการเลา่ ขานประวตั ิความเป็นมาและวิถีชวี ิตของชาวนราธวิ าสยคุ กอ่ นได้อย่างนา่ สนใจมาก

หลงั จากนนั้ ขา้ พเจา้ กไ็ ดเ้ ดนิ ทางตอ่ ทหี่ าดนราทศั น์ ชาวนราธวิ าสกบั หาดนราทศั น์ ถือได้ว่าเป็นของคู่กันส�ำหรับพักผ่อนหย่อนใจ หาดทรายละเอียดสีขาว น้�ำทะเลใสราวกับ กระจก ยิ่งตะวันจะลับขอบฟ้าจะเห็นแสงสเี หลอื งทองจากดวงอาทิตย์ ตดั กับสีนำ้� ทะเลด้วย แล้ว งดงามอย่างกับภาพวาด เหมือนดั่งของขวัญจากธรรมชาติท่ีส่งมาให้กับชาวนราธิวาส อย่างไรอยา่ งน้ัน

นอกจากน้ี ยังมีชาวประมง พวกเขาจะใช้ชีวิตตามวิถีชาวเล หาปู หาปลา มีเรือ คู่ใจเป็นเรือประมงพ้ืนบ้านส�ำคัญ นามว่า “กอและ” ที่เป็นมรดกทางภูมิปัญญานับแต่ บรรพบรุ ุษ มลี วดลายสวยงาม สรา้ งสรรค์ จนไดช้ ือ่ ว่า “เป็นราชนิ ีความงามแหง่ ท้องทะเลใน ดินแดนปลายด้ามขวานของเมืองไทย” ไม่แปลกที่เรือกอและจ�ำลองจะเป็นของฝากประจ�ำ จงั หวดั นราธิวาสท่ีข้ึนชื่ออกี ชิ้นหนง่ึ ข้าพเจา้ รู้สกึ หลงรักบา้ นเกิดข้ึนมากกว่าเดมิ หลังจากได้ เดินทางกลับจากทัศนศึกษา ข้าพเจ้ายังพอมีเวลาพักในช่วงเย็นในหมู่บ้าน ในยามนี้หลายๆ ครอบครัวมักจะมีกิจกรรมสร้างสรรค์อยู่เสมอ เพ่ือสร้างความเป็นมิตร รักใคร่กลมเกลียว ยงั คงมีอยใู่ นหมู่บ้านฉนั ปา้ ฟารีดาผู้ใจดแี หง่ หมู่บ้านนี้ ทำ� ขนม “ตปู ะ” แจกจ่ายเพือ่ นบา้ น มาใหร้ ับประทาน ระหวา่ งสนทนาเฮฮากัน

12 วนั ทีค่ วามรกั ผลบิ าน ณ บา้ นแหง่ เรา

“ตปู ะ” เปน็ ขนมพน้ื บา้ นทที่ ำ� มาจากขา้ วเหนยี ว หอ่ เปน็ รปู สามเหลยี่ มดว้ ยใบกะพอ้ มักจะท�ำกันและรับประทานในเทศกาล “ฮารีรายอ” ซึ่งเป็นวันส�ำคัญของมุสลิมทั่วโลก ถอื เปน็ วนั รน่ื เรงิ เปน็ วนั แหง่ ความสขุ อกี วนั หนง่ึ ของชาวนราธวิ าส หลงั จากไดอ้ มิ่ หนำ� สำ� ราญ กบั ตปู ะของป้าฟารดี าแลว้ ยงั มกี ิจกรรมท่หี น่มุ ๆ สาวๆ ผเู้ ฒ่าผแู้ กร่ ่วมวงกันขบั ขานบทกลอน มลายู หรือเรยี กว่า “ปาตง” มคี วามไพเราะ บทกลอนท่ีขับขานจะเปน็ เรือ่ งเก่ยี วกับความรัก คติสอนใจ เชน่

“อาเนาะบอื โระฺ ดกี ายู ลนี ง ตูรงฺ มานีดี ดาแล ปาแย ฮูโดะฮบูโรฺะฮดีมาตอออแรฺ จันเตะปูเตะฮ ดี มาตอ ซายอ”

คำ� แปลคือ

“วานรน้อยบนกงิ่ ไม้

ขยับไต่ลงมาอาบนำ้� ในโอง่

คนอ่นื วา่ น่าเกลียด

ฉันว่าเธอสวยเสมอในสายตาฉนั ”

บทกลอนมลายูให้ความสนุกสนานกับพวกเราในหมู่บ้านแห่งน้ี เป็นความงามทาง ภาษาทม่ี ีเสน่ห์ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

นอกจากด้านภาษา ยังมีกิจกรรมที่พวกบรรดาผู้ชายชอบ คือ “สิลัต” สลิ ัตเปน็ ศลิ ปะการตอ่ ส้ดู ว้ ยมือเปล่า แข็งแกร่ง แต่แอบแฝงท่าร่ายรำ� ที่สวยงาม มนี กั กีฬาชือ่ นายอาดลี นั เจะ๊ แมง เป็นคนในต�ำบลทไ่ี ด้รับเหรียญทองในการแข่งขนั กฬี าซเี กมสท์ ป่ี ระเทศ สงิ คโปร์ เปน็ ผูส้ ร้างประวตั ศิ าสตร์ เปน็ นักกฬี าชาวนราธวิ าสคนแรกทค่ี วา้ เหรยี ญ พเ่ี ขาเปน็ ดงั่ ผจู้ ดุ ประกายใหว้ ยั รนุ่ ในหมบู่ า้ น มคี วามพยายาม อดทน เพอื่ ใหป้ ระสบความสำ� เรจ็ ในชวี ติ

เรอ่ื งเล่าจากบา้ นเรา 13

บา้ นเกดิ ของฉนั เมอื งนราธวิ าสของฉนั มคี วามงามทางวฒั นธรรมแบบมสุ ลมิ มแี หลง่ ทอ่ งเท่ียวมากมายให้ประทบั ใจ เป็นดนิ แดนท่ีมมี นต์เสนห่ ์ด้วยความเปน็ เอกลกั ษณ์ ข้าพเจ้ามีความภาคภูมิใจในมรดกทางภูมิปัญญาอันล�้ำค่า สร้างสรรค์ ควรค่า ต่อการสืบสาน เผยแพร่ รกั ษา สง่ิ ท่ดี ีงาม ขา้ พเจา้ คดิ วา่ ถ้าใครไดม้ านราธิวาสแล้ว ไม่มใี คร ปฏิเสธวา่ เมืองนราธวิ าสน่าอยู่ นา่ หลงใหล อย่างที่ข้าพเจา้ รู้สกึ ในตอนน้ี

“นราธิวาส ไมไ่ ปไมร่ ”ู้

14 วนั ท่ีความรกั ผลบิ าน ณ บ้านแห่งเรา

เร่อื งเลา่ จากบา้ นเรา 15

บ้านฉนั มกี ลองบานอ

เดก็ หญงิ อาฟีนี หะมิ โรงเรียนบา้ นเจะ๊ เหม จงั หวัดนราธวิ าส

ฉันช่ือ อาฟีนี เป็นลูกหลานชาวหมู่บ้านยะหอ อ�ำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ลุงของฉันช่ือนายสูดิน ดอเลาะ เป็นครูศิลป์ภูมิปัญญาในหมู่บ้าน เพราะลุงมีความรู้และ เชี่ยวชาญเกีย่ วกับกลองบานอ เคร่ืองดนตรีพ้นื บ้านของชุมชนแหง่ นี้

ดมึ ดมึ ดมึ ดมึ เสยี งทดี่ งั ขนึ้ ในหมบู่ า้ นทกุ เชา้ ถอื เปน็ เสยี งปลกุ ใหท้ กุ คนตนื่ จากการ หลับใหล เมอื่ ลงุ ของฉันตีกลองบานอบรรเลงให้จงั หวะ ฟงั แล้วชา่ งฮึกเหิมหวั ใจ วันนฉี้ นั ต้ังใจ แลว้ วา่ จะชวนเพอื่ นๆ มาศกึ ษาหาความร้เู พม่ิ เตมิ เกย่ี วกบั กลองบานอ ซง่ึ ลงุ กย็ ินดแี ละเตม็ ใจ ทจี่ ะถา่ ยทอดความรใู้ ห้พวกเรา ลุงเร่มิ เลา่ ประวัติความเป็นมาของกลองบานอว่า

กลองบานอเป็นเครื่องดนตรีประเภทกลองชนิดหน่ึง ใช้ตีให้จังหวะ เป็นการ ละเล่นพ้ืนเมือง นิยมตีแข่งขันในหมู่ชาวไทยมุสลิมท่ีนิยมเล่นกันในแถบจังหวัดชายแดน ภาคใต้ โดยเฉพาะอำ� เภอสไุ หงโกลก อำ� เภอแวง้ บา้ นเราและบางสว่ นของรฐั กลนั ตนั รฐั ตรงั กานู ประเทศมาเลเซยี

บานอมาจากภาษามลายู ช่ือเต็มๆ ว่า “รือบานา” เดิมทีน้ันท�ำขึ้นมาเพื่อ ตนี ดั หมายหรอื เปน็ สญั ญาณเรยี กใหม้ าพบกนั ทใ่ี ดทห่ี นง่ึ ของเดก็ เลยี้ งววั ตนี ดั หมายมารวมตวั กนั เพอ่ื นำ� วัวกลบั บ้าน แตป่ ัจจบุ ันกลองบานอได้มีววิ ฒั นาการเร่ือยๆ จนมาเลน่ เป็นรปู แบบ มกี ตกิ าในการเล่นประชนั เสยี งเพ่อื การแข่งขัน

บานอเป็นเคร่ืองดนตรีภาคใต้ตอนล่าง มีลักษณะคล้ายร�ำมะนาของภาคกลาง สว่ นทเี่ ปน็ ลำ� ตวั มขี นาดยาวและเรยี วไปทางดา้ นหลงั มากกวา่ รำ� มะนา ดา้ นหนา้ จะหมุ้ ดว้ ยหนงั ด้านหลังจะมีขอบที่ทำ� ด้วยหวายลำ� โตๆ เพอื่ ใชต้ รงึ กับเชือกหรือหวายใหห้ นงั ตงึ

16 วนั ท่ีความรกั ผลิบาน ณ บา้ นแห่งเรา

คร้ันลุงเห็นพวกเด็กๆ ต้ังใจฟังก็อมยิ้มและเล่าถึงโอกาสในการเล่นกลองบานอ ว่า ในสมัยก่อน กลองบานอใช้ตีเป็นสัญญาณในหมู่บ้านเวลามีงาน หรือเพื่อประโคมเสียง ร้องป่าวประกาศให้ทุกคนรับรู้ข่าวสาร แต่ปัจจุบัน ความเจริญด้านการสื่อสารท่ีรวดเร็ว การใช้กลองบานอเพ่ือป่าวประกาศก็ลดความนิยมลง แต่จะนิยมตีประชันขันแข่งเพ่ือความ สนกุ สนาน เสรมิ สร้างสามคั คี ฉนั ฟงั ลงุ ดว้ ยความสนใจและอดสงสยั ไมไ่ ด้ การตกี ลองบานอเพอื่ การแขง่ ขนั มกี ตกิ า และตัดสินผลอย่างไร ลุงจงึ ตอบทนั ใดวา่ ในการแข่งขนั ตกี ลองบานอจะมกี รรมการตดั สินวา่ คณะใดตีเสียงดัง เสยี งกระหม่ึ กลมกลืน การประสานเสยี ง และจังหวะของเสียงดกี วา่ และ ท่ีส�ำคัญ ความสามารถในการประดิษฐ์ลีลาจังหวะเพลงใหม่ ตลอดจนลีลาในการตีสามารถ ชนะใจกรรมการได้ ฝา่ ยนนั้ กจ็ ะเป็นฝ่ายชนะ พวกเราปรบมอื ใหก้ บั ลงุ และกลา่ วจากใจวา่ ยนิ ดจี ะเปน็ เยาวชนรนุ่ ใหมท่ ด่ี แู ลรกั ษา การละเล่นพื้นเมืองกลองบานอบ้านเรา และพรอ้ มจะถ่ายทอดความรู้ผ่านเร่ืองเล่าของเราให้ ชนหลงั ต่อไปไดร้ ว่ มอนรุ ักษข์ องดบี ้านเรากนั

เรอ่ื งเลา่ จากบา้ นเรา 17

สายธารแหง่ ความรกั

เดก็ หญิงจารวี เอกนรพันธ์ โรงเรยี นบา้ นสุไหงโก-ลก จงั หวัดนราธวิ าส

เพ่ือนๆ เคยสงสัยอะไรเก่ียวกับตัวเองบ้างไหม ฉันเคยต้ังค�ำถามในใจกับตัวเองถึง ทม่ี าของชื่อเลน่ วา่ ทำ� ไม ฉนั จงึ ไดช้ อ่ื นี้มา ชอื่ เลน่ ของฉนั คือ “ต้นน้�ำ” ทำ� ไมถงึ ไมเ่ ป็น ตน้ ออ้ หรอื ตน้ ข้าว ท่ีฟงั ดูละมนุ นุม่ นวล เหมือนเด็กหญงิ คนอ่ืนๆ ฉันอยากรทู้ ี่มาของชอื่ น้ี จึงไดถ้ าม พอ่ ไป และพอ่ เลา่ ใหฉ้ นั ฟังว่า ช่อื เล่นของฉนั มาจากสถานทสี่ �ำคญั ของชมุ ชนของบา้ นเรา

บ้านของฉันอยู่ที่อ�ำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส พ่อและแม่ของฉันก็เป็นคน สไุ หงปาดี สถานทที่ อ่ งเทยี่ วบริเวณบา้ นของฉนั ท่ีขึน้ ชอื่ คือ น�้ำตกฉัตรวารนิ ตงั้ อยูใ่ นอุทยาน แห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ซึ่งเป็นอุทยานส�ำคัญของพ้ืนท่ีจังหวัดนราธิวาสอีกด้วย เพราะเป็น แหล่งธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชและสัตว์นานาพรรณท่ีควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ อีกท้ังน้�ำตกฉัตรวารินยังเป็นแหล่งน้�ำที่หล่อเล้ียงชีวิตทุกชีวิตในบริเวณนั้น ถือเป็นสถานท่ี สำ� คญั ของชมุ ชน

พอ่ เคยเลา่ ใหฟ้ งั ถงึ ตำ� นานความเปน็ มาของชอ่ื นำ�้ ตกแหง่ นี้ พอ่ เลา่ วา่ “ฉตั รวารนิ ” มาจากคำ� วา่ ไอปายง หรอื น้�ำตกฉตั ร ซึ่งแปลวา่ น้�ำตกกางรม่ เพราะมเี ร่ืองเล่าว่า สมัยก่อน มีคนเคยได้ยินเสียงดนตรีแว่วๆ ดังมาจากน�้ำตกอยู่บ่อยๆ แต่พอพากันไปดูก็ไม่พบอะไร จนกระทงั่ มีผู้เฒา่ ช่อื โตะ๊ เดง็ ไดข้ ึน้ ไปท่บี รเิ วณน้ัน และเหน็ ชายหญงิ คู่หนง่ึ ก�ำลังรา่ ยรำ� ตาม เสียงดนตรี และชายหญิงคู่นั้นก็หายวับไปกับตา โดยทิ้งร่มคันใหญ่ไว้ จึงเป็นที่มาของชื่อ นำ�้ ตกแหง่ นี้

ฉันเคยไปเท่ียวนำ้� ตกฉตั รวารนิ เพียงไม่กค่ี ร้ัง แตจ่ ำ� ไดด้ ถี ึงบรรยากาศที่นัน่ มตี น้ ไม้ ดอกไม้ป่าชูช่ออวดสีสวยสดใส ต้นไม้ใหญ่ล�ำต้นอวบน�้ำบ่งบอกถึงสภาวะของความอุดม สมบูรณ์ของตน้ ไมเ้ หล่านนั้ ไดเ้ ปน็ อย่างด ี ฉันสัมผสั ไดถ้ ึงอากาศทส่ี ดช่ืน เย็นสบาย สายลม

18 วันทคี่ วามรกั ผลิบาน ณ บ้านแหง่ เรา

พดั เออ่ื ยมาเป็นช่วง ช่วยใหจ้ ติ ใจสงบลง หูแวว่ เสียงนกกา แมลงปา่ รอ้ งเบาๆ ผสานกบั เสียง สายน้�ำตกทไ่ี หลผา่ นหนิ ฟังรื่นหู และท�ำใหเ้ ย็นใจ ความสวยงามของน�้ำตกฉัตรวารินจึงเป็นท่ีมาของช่ือ “ต้นน�้ำ” เพราะพ่อบอก อยากใหฉ้ นั เปน็ คนทใ่ี จเยน็ เหมอื นดงั สายนำ�้ จากนำ้� ตก และเปน็ คนทมี่ คี ณุ คา่ เหมอื นกบั สายนำ�้ ท่ีสร้างประโยชน์ใหแ้ ก่ชีวิตอื่นอกี หลายชีวิต ฉนั จงึ ไดร้ ับค�ำตอบจากสิ่งทสี่ งสัยมาตลอด และ ร้สู กึ ภมู ิใจกับชื่อนี้ เพราะท่มี าของชอ่ื คือสถานทสี่ �ำคญั ของบ้านเกดิ เนอื่ งจากมนี กั ทอ่ งเทยี่ วมาเยย่ี มชมและพกั ผอ่ นหยอ่ นใจทนี่ ำ้� ตกฉตั รวารนิ บางครง้ั จงึ มขี ยะและทำ� ใหเ้ กดิ ผลเสยี ตอ่ ธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ ม พอ่ จงึ สอนใหฉ้ นั ตระหนกั ถงึ ความ สำ� คญั ของการอนรุ กั ษธ์ รรมชาติ เพราะจะชว่ ยใหธ้ รรมชาตอิ ยคู่ กู่ บั ชมุ ชน และสรา้ งประโยชน์ ตอ่ ทกุ ชวี ิต ฉันจงึ อยากให้ทกุ คนช่วยกันดแู ลรกั ษาสงิ่ แวดล้อมกนั คนละไมค้ นละมือ เริ่มจาก สง่ิ เลก็ ๆ ไปสสู่ ่งิ ท่ยี ิ่งใหญ่ ธรรมชาตกิ ็จะอยู่กบั เราไปอีกยาวนาน

เรอื่ งเลา่ จากบ้านเรา 19

ความฝัน อปุ สรรค มโนราห์

เดก็ หญงิ จริ าภา สุขสำ� ราญ โรงเรียนเทศบาล ๒ (วดั ตานีนรสโมสร) จังหวดั ปัตตานี

“ออ ออแลว้ ว่า ออ ออ ออรักนะอองาม อองามเอยงามเหย” ใครหลายคนอาจจะ ไมค่ นุ้ หวู า่ บทรอ้ งขา้ งตน้ นน้ั คอื อะไร บทรอ้ งขา้ งตน้ นน้ั คอื บทกลอนมโนราหพ์ น้ื ฐาน บทกลอน ท่ฉี ันคนุ้ เคย ความภาคภูมิใจของฉนั และครอบครัวเกดิ ข้นึ จากกลอนมโนราหบ์ ทน้ี

เมอ่ื เอย่ ถงึ มโนราห์ หลายคนคงเคยไดย้ นิ มาแลว้ บา้ ง มโนราหถ์ อื เปน็ วฒั นธรรมของ ชายแดนใตเ้ กอื บทุกจังหวดั หนึ่งในนั้นคอื จงั หวัดปัตตานี มโนราห์เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ ไมค่ ่อยไดร้ ับการสืบทอด และไมไ่ ด้รับการใสใ่ จเทา่ ทีค่ วร

ปัจจุบัน เด็กใต้ของเราหันมาชอบและสนใจศิลปินเกาหลี รวมถึงใช้แอปพลิเคชัน ตา่ งๆ และสือ่ ออนไลนท์ ี่ทันสมัย ไม่เคยหนั มาแยแสวัฒนธรรมของบา้ นเกิดเมืองนอนของตน ท�ำให้วัฒนธรรมต่างๆ ของภาคใต้เลือนหายไปทุกๆ วัน และหน่ึงในวัฒนธรรมเหล่าน้ันคือ “มโนราห”์

ฉนั เป็นเด็กธรรมดาๆ คนหนึ่งทีช่ ่ืนชอบ และใฝฝ่ ันอยากท่ีจะร�ำมโนราห์ อยากจะ ลองใสช่ ดุ มโนราห์สกั ครง้ั หน่ึง เพราะคุณตาของฉนั เป็นครูหมอมโนราห์ และมคี ณะเปน็ ของ ตนเอง ฉนั เหน็ พีๆ่ ในคณะของตาได้ใสช่ ุดมโนราหแ์ ละออกร�ำตามงานตา่ งๆ ฉนั รูส้ ึกประทับ ใจและอยากจะรำ� ไดแ้ บบพีๆ่ ทุกคนในคณะของคุณตา

จนวนั หนงึ่ ตน้ ปกี ารศกึ ษา เมอื่ ฉนั ไดเ้ รยี นชนั้ ประถมศกึ ษาปที ี่ ๕ คณุ ครนู าฏศลิ ปท์ ่ี โรงเรยี นถามฉันวา่ “ทีส่ ถาบนั กลั ยานิวัฒนา ท่ี มอ. มีการรบั สมคั รเดก็ ที่สนใจจะรำ� และชอบ ในอริ ยิ าบถของมโนราห์ สนใจไหม” ด้วยความดีใจ ฉนั จงึ รบี ตอบตกลงถึงแม้ยังไม่ได้ถามพอ่ กับแมก่ ็ตาม แต่ฉันก็รูอ้ ยูแ่ ลว้ ว่าพอ่ แม่ต้องสนบั สนนุ ฉนั อยา่ งแนน่ อน เพราะพวกทา่ นอยาก

20 วันทีค่ วามรักผลบิ าน ณ บา้ นแห่งเรา

ใหฉ้ ันร�ำมโนราห์ สงิ่ ท่ีเปน็ วัฒนธรรมของคนใตอ้ ีกทั้งยงั เปน็ ตน้ ตอและเช้ือสายของครอบครวั

ฉนั ไดฝ้ กึ มโนราหม์ าสกั ระยะหนง่ึ ไดอ้ อกงานมากมายจนคณุ ครทู สี่ อนไวว้ างใจและ เชื่อใจฉัน เม่อื ร�ำคล่องผทู้ ีเ่ ปน็ มโนราห์กต็ อ้ งฝึกว่ากลอน ฉันได้ฝกึ ว่ากลอนมโนราหห์ ลายบท จนทุกคร้งั ทอี่ อกงานหรือมงี านแสดง คุณครูจะใหฉ้ นั เป็นผนู้ ำ� หรือแมบ่ ทในการว่ากลอน

เมื่อเป็นมโนราห์ก็ต้องอยู่ร่วมกันเป็นคณะใหญ่ เม่ืออยู่ร่วมกันคณะใหญ่ก็มีคน ให้พบหลายประเภท ท้ังท่ีให้การสนับสนุนกับความสามารถของเด็กคนอ่ืน และประเภทที่ ไม่ให้การสนับสนุน มีแต่จะคอยเหยียบย่�ำในวันท่ีพลาด ในหลายๆ งานฉันได้มีต�ำแหน่ง ในการร�ำข้างหน้า คุณครูให้ฉันยืนข้างหน้าเพื่อให้น้องๆ ร�ำตาม ท�ำให้ผู้ปกครองของเด็ก ทม่ี าเรยี นมโนราหบ์ างทา่ นคอ่ นขา้ งไมพ่ อใจ เพราะฉนั เขา้ เรยี นมโนราหห์ ลงั ลกู ๆ ของพวกเขา แตค่ ณุ ครูกลบั ไวใ้ จฉันมากกวา่ ลกู ๆ ของพวกเขา

จนมีงานหนึ่งท่ีฉันไม่ได้อยู่ข้างหน้า แต่น้องท่ีอยู่ด้านหน้าร�ำผิด แต่คนๆ น้ันก็ มาโทษฉัน หาว่าฉันไม่ซ้อมน้องให้ดี ฉันรู้สึกงงและไม่พอใจกับค�ำพูดเหล่านี้เป็นอย่างมาก แต่ก็ไม่สามารถท�ำอะไรได้ เพราะฉันเป็นเด็ก จนตอนน้ีฉันเร่ิมชินกับสังคมและบุคคลแบบ น้ี แม้พวกเขาเหล่านั้นจะดูถูกเหยียบย่�ำฉันขนาดไหน แต่ฉันก็จะไม่ลดละความพยายาม และจะไมย่ อ่ ทอ้ ทจ่ี ะทำ� ตามความฝนั ของตนเองใหส้ ำ� เรจ็ ฉนั จะนำ� คำ� พดู ดถู กู ดแู คลนเหลา่ นน้ั มาเปน็ แรงใหฉ้ นั ฮดึ สตู้ อ่ ไป ฉนั จะไมท่ อ้ แทแ้ ละหลงเชอ่ื คำ� พดู เหลา่ นน้ั เพราะทกุ อยา่ งทฉ่ี นั ไดท้ ำ� ทกุ อยา่ งทฉี่ นั ไดม้ านน้ั ฉนั ไดม้ าจากความพยายามและหนง่ึ สมองสองมอื ของฉนั แตเ่ พยี งผเู้ ดยี ว

เม่ือท�ำในสิ่งท่ีเราใฝ่ฝัน แม้จะมีหยาดเหง่ือและเหน็ดเหนื่อยแค่ไหน แต่หาก ไดท้ ำ� ในสงิ่ ทีฝ่ ันหรอื สิ่งที่ชอบ ความสขุ และความประทบั ใจก็ยอ่ มเกิด ดั่งท่รี ูก้ นั ดีว่า มโนราห์ เป็นวัฒนธรรมของภาคใต้ ซึ่งทุกวันน้ีก�ำลังจะหายไป นั่นเป็นเพราะมีส่ิงอื่นท่ีน่าสนใจกว่า เข้ามา แต่ถ้าหากได้ใกล้ชิดและสัมผัสจะรู้ว่ามโนราห์มีเสน่ห์มากมาย มีส่ิงท่ีน่าค้นหาพอๆ กบั สอื่ ทันสมยั ของปัจจุบนั

ณ ปัจจุบัน ฉันได้เป็นส่วนหน่ึงในการร�ำมโนราห์ ฉันรู้สึกภูมิใจที่คร้ังหน่ึงในชีวิต ได้ร�ำมโนราห์ตามทีฉ่ นั ฝนั แม้ว่าจะมีอุปสรรคมาขวางบา้ ง แตถ่ า้ ใจรกั อปุ สรรคเหลา่ นน้ั ก็มิ สามารถหยุดย้ังเราได้ ฉนั กล้าพูดอย่างเต็มปากเต็มค�ำว่า

เรือ่ งเลา่ จากบา้ นเรา 21

“มโนราหค์ ือสมบตั ทิ ีค่ วรสืบทอดให้คงอยู่ต่อไป” ฉนั ในฐานะมโนราหค์ นหนงึ่ จะขอสญั ญาวา่ จะคอยรกั ษาศลิ ปวฒั นธรรมเหลา่ น้ี ไม่ ยอ่ ท้อต่ออปุ สรรคใดๆ รวมถงึ ฉนั จะสบื ทอดมรดกทล่ี ำ�้ คา่ น้ี เพ่อื เผยแพร่ บอกตอ่ ใหแ้ กล่ ูกๆ หลานๆ ต่อไป...และฉนั จะเปน็ มโนราหท์ ่ีดีท่สี ดุ ของจงั หวดั ปตั ตานีใหไ้ ด.้ ..สักวนั หน่งึ

ว่า “ออ ออ ออ” ดังเสยี งคลอของชวี ติ ดจุ เขม็ ทิศหัวใจทีใ่ ฝห่ า มโนราหค์ ือสมบัติอันล�ำ้ ค่า

จะรักษาคงชอ่ื ไว้ “โนราใต้” เอย

22 วันทค่ี วามรักผลิบาน ณ บ้านแห่งเรา

ชาเจะ๊ เหมบา้ นเรา

เดก็ หญงิ ไซนบั สะอะ โรงเรยี นบ้านเจะ๊ เหม

จงั หวัดนราธิวาส

ฉันชื่อเด็กหญิงไซนับ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี ๖ โรงเรียนบ้านเจ๊ะเหม คร้นั เมือ่ คณุ ครใู ห้เขยี นเรยี งความเรื่องเล่าจากบ้านเรา ฉันกย็ ม้ิ กริม่ ในทนั ใด เพราะเปน็ ความ โชคดีที่ฉันเกิดมาในครอบครัวศูนย์ชาเจ๊ะเหม คลุกคลีกับเหล่าบรรดาผู้มีความเช่ียวชาญ ดา้ นชาเจ๊ะเหม เร่อื งเล่าของฉนั จะเป็นอ่นื มไิ ด้ นอกจากเรื่อง ชาเจะ๊ เหม ของดบี ้านเรา

แม่ของฉันเป็นประธานศูนย์ชาแห่งน้ี เริ่มเล่าความเป็นมาของชาเจ๊ะเหม วา่ ชาเจะ๊ เหม คอื ชาทผี่ ลติ ในชมุ ชนบา้ นเจะ๊ เหม หมู่ ๓ ตำ� บลแวง้ อำ� เภอแวง้ จงั หวดั นราธวิ าส ซง่ึ เปน็ ชมุ ชนแหง่ เดยี วในภาคใตท้ ป่ี ลกู ชา ชาเจะ๊ เหมนนั้ มมี านานนบั รอ้ ยปมี าแลว้ เปน็ ชาพนั ธ์ุ อสั สมั เรม่ิ นำ� มาปลกู ทบ่ี า้ นเจะ๊ เหมครงั้ แรกราวปี พ.ศ.๒๓๓๐ โดยชาวจนี อพยพเขา้ มาในหมบู่ า้ น ชอ่ื นายพอพะ คนแวง้ เรยี กวา่ จนี อพอพะ เปน็ ผนู้ ำ� พนั ธช์ุ าอสั สมั จากประเทศจนี มาปลกู แซม ในสวนยางพารา ต้นชาทีบ่ ้านเจ๊ะเหมแปลกกวา่ ต้นชาท่ภี าคเหนอื คอื ต้นชาทบ่ี ้านเจ๊ะเหมจะ ขน้ึ ในสวนผลไม้ สวนยางพาราหนา้ บา้ น หลงั บา้ น ริมคลอง ปะปนกับวชั พชื อนื่ ๆ ไม่ไดป้ ลกู แบบอุตสาหกรรมเหมือนชาภาคเหนือ ดังนั้น ต้นชาที่บ้านเจ๊ะเหมจึงเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ หากไมไ่ ดก้ ารอนรุ กั ษก์ นั อยา่ งจรงิ จงั พวกเราจงึ มกี ารรณรงคใ์ หช้ าวบา้ นทกุ คนปลกู ชาเปน็ รวั้ บา้ น และมแี นวทางในการปลกู ชาใหม้ คี ณุ ภาพ และทสี่ ำ� คญั มกี ารแปรรปู ใบชาใชใ้ หเ้ ปน็ สนิ คา้ ชุมชน มีการสร้างโรงเรือนและศนู ย์เพาะช�ำชาเจ๊ะเหมข้ึน

สว่ นวธิ ผี ลติ ชาเจะ๊ เหม คณุ แมเ่ ลา่ ใหฟ้ งั วา่ เราจะเรมิ่ จากการเลอื กตน้ ชาทแ่ี ตกยอด หา้ มทำ� ใหย้ อดชาชำ�้ เสยี หายเพราะจะสง่ ผลเสยี ตอ่ สแี ละรสชาตขิ องนำ�้ ชา หลงั จากนนั้ เราจะ น�ำยอดชาไปผึ่งในทีร่ ม่ ใบชาจะคอ่ ยๆ คายน�้ำ สภาพใบจะเหย่ี ว อ่อนนมุ่ และเร่มิ มีกลนิ่ หอม และสดุ ทา้ ยเราจะนำ� ใบชามาควั่ ในเตาคว่ั พลงั งานแสงอาทติ ย์ ซงึ่ เราไดร้ บั การสนบั สนนุ จากกองทนุ สงิ่ แวดลอ้ มโลกมอบเครอื่ งจกั รและแผงโซลา่ เซลลเ์ พอ่ื ผลติ กระแสไฟฟา้ ใชใ้ นโรงงานแหง่ นดี้ ว้ ย

เรอื่ งเลา่ จากบา้ นเรา 23

ฉันฟังเร่ืองราวชาเจ๊ะเหมอย่างตั้งใจและรู้สึกภาคภูมิใจในภูมิปัญญาการผลิต ชาเจ๊ะเหมของชุมชนบ้านเรา พร้อมทั้งช่วยแม่น�ำชาที่พร้อมชงใส่บรรจุผลิตภัณฑ์เพ่ือน�ำไป จำ� หน่ายต่อไป

24 วนั ทค่ี วามรักผลบิ าน ณ บ้านแห่งเรา