กล วยชน ดไหนท ม น ำอย ในต นมากท ส ด

แปดสายพันธ์กล้วยที่น่าสนใจ ณ พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร[แก้ไข]

Show

1. กล้วยไข่กำแพงเพชร (มียีโนมเป็น AA)[แก้ไข]

     ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa (AA group) “klual khal” (ดร.เบญจมาศ  ศิลาย้อย,2534)  
     กล้วยไข่ที่ปลูกในจังหวัดกำแพงเพชร เป็นกล้วยไข่ในสายพันธุ์ acuminate Cutivars สกุล Musa หมู่ Eumusa กลุ่ม AA มีโครโมโซม 2 ชุด ลักษณะทั่วไปของกล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร ลักษณะกาบใบเป็นสีน้ำตาล หรือช็อกโกแลต ร่องก้านใบเปิด และขอบก้านใบขยายออกใบมีสีเหลืองอ่อน ไม่มีนวล ก้านเครือมีขนขนาดเล็ก รสชาติหวาน
     แหล่งที่พบกล้วยไข่โดยทั่วไปแต่มีหลักฐานเชื่อได้ว่าเดิมมีการนำพันธุ์กล้วยไข่มาจากเขตกรุงเทพฯ ขึ้นไปปลูกที่ตำบลตะเคียนเลื่อน จังหวัดนครสวรรค์ ราว 100 ปี มาแล้ว ต่อจากนั้นจึงได้กระจายพันธุ์ขึ้นไปปลูกเป็นจำนวนมากที่จังหวัดกำแพงเพชร ในเวลาต่อมา 
     ลำต้น  ขนาดกลางส่วนสูงประมาณ 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 18 - 22 ซม. กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวอมเหลืองมีปื้นสีน้ำตาลอ่อนทั่วไป กาบด้านในสีเขียวอ่อน ลำต้นค่อนข้างบอบบางหักล้มง่าย ให้หน่อรอบต้นจำนวนมากเพื่อไม่ให้เป็นการแย่งอาหารต้นแม่ทำให้ผลผลิตลดลง จึงต้องใช้วิธีนำมีดคมๆ ปาดหน่อทิ้งตลอดเวลาจนกว่าใกล้จะเก็บเกี่ยวผลจึงปล่อยให้หน่อเจริญเติบโตตามปกติ 
     ใบ  ทางใบยาวประมาณ 2.00 เมตร ค่อนข้างตั้งแผ่นใบแคบสีเขียวอมเหลืองก้านใบสีเขียวอมเหลือง มีร่องกว้างขอบก้านใบสีน้ำตาลอ่อน โดยใบมีประสีน้ำตาลอ่อนกระจายทั่วไป 
     ปลี  ชี้ลงดิน รูปทรงกระบอกปลายแหลมค่อนข้างผอม กาลปลีด้านนอกสีม่วงแดงปลายค่อนข้างมน กาบด้านในสีแดงซีดเมื่อบานเปิดม้วนขึ้นเห็นผลกล้วยสีเขียวอ่อน กาบปลีจะค้างอยู่บนหวีกล้วย 1 – 2 วัน จึงจะหลุดไป 
ผล ใน 1 เครือ มี 6 – 7 หวี ๆ ละ 12 – 14 ผล ผลค่อนข้างกลมหัวท้ายมน ก้านผลสั้นเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ ขนาดผลกว้าง 3.0 ซม. ยาว 8 – 10 ซม. ผลดิบสีเขียวสดเปลือกบาง ผลสุกสีเหลืองสวยเนื้อสีครีมอมส้มรสหวานกลิ่นหอม ถ้างอมจะมีกระสีน้ำตาลเล็ก ๆ ที่ผิวด้านนอก
     อายุ  ตั้งแต่ปลูกด้วยหน่อถึงออกปลี 9 – 10 เดือน และอายุตั้งแต่ออกปลีถึงผลสุกประมาณ 80 วัน 
     การใช้ประโยชน์  ผลดิบฝานทอดน้ำมันเป็นกล้วยฉาบ ทอดกรอบ ผลสุก เชื่อม บวชชี ข้าวเม่าทอด  หรือรับประทานผลสุกกับกระยาสารท ดังภาพที่ 2
กล วยชน ดไหนท ม น ำอย ในต นมากท ส ด

ภาพที่ 2 กล้วยไข่

2. กล้วยนมหมี Musa (ABB) ‘Nom Mi’[แก้ไข]

     แหล่งที่พบกล้วยนมหมี (มียีโนมเป็น ABB)  เป็นกล้วยพื้นเมืองของจังหวัดตรัง ต่อมาได้มีเกษตรกรได้นำพันธุ์ไปปลูกพร้อมทำสวนยางในจังหวัดระยอง เดิมเข้าใจว่าเป็นพันธุ์เดียวกับพม่าแหกคุกเพราะเป็นกล้วยที่มีผลขนาดใหญ่เหมือนกัน แต่ภายหลังนายสมรรถชัย ฉัตราคม อดีตประธานชมรมรักษ์กล้วย ได้ตรวจสอบพบว่าเป็นคนละพันธุ์กัน จึงได้นำมาขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจนแพร่หลายทั่วไป เป็นกล้วยที่มีขนาดใหญ่ ลำต้นเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 – 35 เซนติเมตร ส่วนสูงประมาณ 3.50 – 4.50 เมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวสดมีนวลเล็กน้อย กาบด้านในสีเขียวอ่อนหน่อเกิดห่างลำต้นแม่จำนวน 6 – 8 หน่อ โดยจะเป็นหน่อใบแคบสูงขึ้นมาอย่างน้อย 80 เซนติเมตร จึงจะเปลี่ยนเป็นหน่อใบกว้าง 
     ใบ  แผ่นใบกว้างทางใบยาวประมาณ 3.50 เมตร สีเขียวสดเป็นมัน ร่องใบชิดก้านใบเขียวอ่อนเปราะหักง่าย 
     ปลี  รูปทรงกระบอกปลายแหลมขนาดใหญ่ กาบปลีด้านนอกสีแดงอมม่วงด้านในสีแดงสด เมื่อบานเปิดม้วนขึ้นเห็นผลกล้วยสีเขียวอ่อนกาบปลีจะค้างอยู่บนหวีกล้วย 2 – 3 วัน จึงจะหลุดไป 
     ผล  ใน 1 เครือจะมี 6 – 8 หวี ๆ ละ14 – 16 ผล ขนาดกว้าง 7 ซม. ยาว 20 เซนติเมตร ผลอ่อนขนาดใหญ่สีเขียวอ่อนรูปเหลี่ยมยาวเกือบเท่ากันทั้งหัวและท้าย ผลแก่สีเขียวเป็นมันปลายผลทู่เมื่อสุกสีเหลืองสดเปลือกหนา เนื้อสีขาวค่อนข้างเหนียว กลิ่นหอมคล้ายกล้วยน้ำว้า 
     อายุ  ตั้งแต่ปลุกด้วยหน่อถึงออกปลีประมาณ 10 เดือน และหลังจากออกปลีถึงผลแก่ประมาณ 100 วัน 
     การใช้ประโยชน์  ผลดิบแก่จัดฝานทอดน้ำมันรสชาติใกล้เคียงมันฝรั่ง ผงสุกเชื่อมน้ำตาลทรายจะได้กล้วยเชื่อมสีขาวใสเป็นเงาและเหนียวนุ่มกว่ากล้วยน้ำว้า ดังภาพที่ 3
กล วยชน ดไหนท ม น ำอย ในต นมากท ส ด

ภาพที่ 3 กล้วยนมหมี

3. กล้วยพม่าแหกคุก Musa (ABB) ‘Phama Haek Kuk’[แก้ไข]

     แหล่งที่พบกล้วยพม่าแหกคุก (มียีโนมเป็น ABB) เดิมมีการปลูกปะปนกันไปกับกล้วยน้ำว้าบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในจังหวัดอ่างทอง ภายหลังเกษตรกรไม่นิยมจึงเลิกปลูก นายสมรรถชัย ฉัตราคม อดีตประธานชมรมรักษ์กล้วยพบว่าเหลืออยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์ที่อำเภอป่าโมก เมื่อปี พ.ศ. 2534 จึงได้นำพันธุ์ไปปลูกอนุรักษ์เอาไว้ นิยมขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อเพราะไม่กลายพันธุ์เหมือนวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นกล้วยที่มีขนาดใหญ่ 
     ลำต้น  เส้นผ่าศูนย์กลาง 30 – 35 เซนติเมตร ส่วนสูงประมาณ 3.50 – 5.50 เมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวสดบริเวณโคนต้นมีคล้ำมีปื้นสีน้ำตาลเข้ม   หน่อเกิดห่างจากลำต้นแม่มีขนาดใหญ่จำนวน 5 – 8 หน่อ 
     ใบ  แผ่นใบกว้างทางใบยาวประมาณ 3.50 เมตร สีเขียวเข้มเป็นมัน ร่องใบชิดก้านใบสีเขียวสดแข็งแรง 
     ปลี  รูปทรงกระบอกปลายแหลมขนาดใหญ่ กาบปลีด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดงสดเมื่อบานเปิดม้วนขึ้นเห็นผลกล้วยสีเขียวเข้ม กาบปลีจะค้างอยู่บนหวีกล้วย 2 – 3 วัน จึงจะแห้งหลุดไป 
     ผล  ใน 1 เครือจะมี 11 – 16 หวี ๆ ละ 14 -20 ผล ขนาดผลกว้าง 5.5 เซนติเมตร ยาว 18 เซนติเมตร ลักษณะเป็นเหลี่ยมค่อนข้างยาว ผลดิบสีเขียวจัดเป็นมัน ผลสุกสีเหลืองส้มเปลือกหนา เมื่อผลเริ่มสุกใหม่ใน 1 หวี จะมีทั้งสีเขียวของผลดิบและเหลืองของผลสุกตัดกันอย่างน่าดู เนื้อผลสีขาวค่อนข้างเหนียวงอมจัด เนื้อเละรสหวานหอม 
     อายุ  ตั้งแต่ปลูกด้วยหน่อถึงออกปลีประมาณ 15 เดือน อายุตั้งแต่ออกปลีถึงผลแก่จัด 130 วัน       
     การใช้ประโยชน์  คล้ายกล้วยน้ำว้าเช่น รับประทานผลสุก ผลดิบกล้วยฉาบ กล้วยทอด บวชชี หากนำมาเชื่อมจะได้กล้วยสีขาวสวยเป็นเงา ดังภาพที่ 4
กล วยชน ดไหนท ม น ำอย ในต นมากท ส ด

ภาพที่ 4 กล้วยพม่าแหกคุก

4. กล้วยนมสาว (ชื่อพ้องทองกำปั้น นมสาวหาดใหญ่ )[แก้ไข]

   แหล่งที่พบกล้วยนมสาว (มียีโนมเป็น ABB) พบปลูกไม่มากนักในจังหวัดทางภาคใต้และพรมแดนไทยพม่า เช่น สงขลา กระบี่ เพชรบุรี ราชบุรี เป็นต้น โดยเฉพาะที่อำเภอสวนผึ้งที่จังหวัดราชบุรีมีสายพันธ์ที่ให้ผลผลิตและรูปร่างผลใหญ่กว่ากล้วยนมสาวจากแหล่งอื่นเป็นกล้วยขนาดกลาง 
   ลำต้น  เส้นผ่าศูนย์กลาง 18 - 22 เซนติเมตร ส่วนสูง 2.20 – 3.00 เมตร กาบด้านนอกสีเขียว เจือน้ำตาลตอนล่างมีประน้ำตาลเข้ม ตอนบนขึ้นไปมีสีเขียวนวลมาก กาบด้านในสีเขียวเจือชมพูหน่อเกิดชิด ลำต้นจำนวน 8 – 12 หน่อ 
ใบ ทางใบยาวแผ่นใบกว้างลู่ลงเล็กน้อยใบค่อนข้างบางสีเขียวสด ร่องใบกว้าง ขอบก้านสีชมพูแดง ก้านใบสีเขียวนวลโคนก้านใบมีประน้ำตาล ปลี รูปทรงกระบอกปลายแหลมชี้ลงดิน กาบด้านนอกสีแดงเจือเขียว กาบด้านในสีซีด เมื่อบานกาบปลีเปิดม้วนขึ้นเห็นผลกล้วยสีเขียวอ่อน กาบปลีจะค้างอยู่บนหวีกล้วย 2 – 3 วัน จึงจะแห้งหลุดไป หลังติดผลหวีสุดท้ายแล้ว ปลีจะมีรูปร่างป้อมขึ้น ผล ใน 1 เครือจะมี 6 – 7 หวี ๆ ละ 12 – 14 ผล ส่วนที่อำเภอสวนผึ้งพบว่า 1 เครือ จะมีถึง 16 หวี ผลมีลักษณะอ้วนป้อม ปลายผลงอน วัดส่วนกว้างที่สุด จะได้ประมาณ 4.0 – 4.2 เซนติเมตร ยาว 10.0 – 10.5 เซนติเมตร ผลดิบสีเขียวสดเป็นมัน เปลือกหนาผลสีเหลืองจัดเนื้อสีครีมอมส้มค่อนข้างแข็ง รสหวานกลิ่นหอมเฉพาะตัวคล้ายกล้ายหอมผสมกล้วยไข่
   อายุ  ตั้งแต่ปลูกด้วยหน่อถึงออกปลีประมาณ 8 เดือน และหลังจากออกปลีถึงผลแก่จัด  90 วัน 
การใช้ประโยชน์ รับประทานผลสุก ดังภาพที่ 5

กล วยชน ดไหนท ม น ำอย ในต นมากท ส ด

ภาพที่ 5 กล้วยนมสาว

5. กล้วยซาบ้า[แก้ไข]

     แหล่งที่พบกล้วยซาบ้า (มียีโนมเป็น ABB) เป็นกล้วยพื้นเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ ต้นที่ชมรมรักษ์กล้วยรวบรวมพันธุ์นี้ไว้ คุณมงคล ลีราภิรมณ์ ได้คัดเลือกและนำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์ ราว 25 ปีมาแล้ว เป็นกล้วยที่มี 
     ลำต้น  ขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 38 - 45 เซนติเมตร สูงประมาณ 5.50 - 6.00 เมตร กาบด้านนอกสีเขียวสดเป็นมันเงา กาบด้านในสีเขียวอ่อน หน่อมีขนาดใหญ่ เกิดห่างต้นประมาณ 4 - 6 หน่อ 
     ใบ  มีขนาดใหญ่แข็งแรง แผ่นใบกว้างสีเขียวทึบ หนากว่ากล้วยน้ำว้า ก้านใบสีเขียวนวล ร่องใบชิด มีปื้นสีน้ำตาลอ่อนโคนใบเล็กน้อย 
     ปลี  มีขนาดอ้วนใหญ่ประมาณ 60 เซนติเมตร กาบปลีด้านนอกสีแดงคล้ำปลายปี แหลมไม่มากนัก มีรอยเว้าที่ปลายกาบ กาบปลีด้านในสีแดงสด เมื่อบานเปิดม้วนขึ้นเช่นเดียวกับกล้วยน้ำว้าของไทยเห็นผลกล้วยสีเขียวสด ในช่วงที่ให้ผลตั้งแต่หวีที่ 1 - 4 ช่องระหว่างหวีเป็นระเบียบ แต่หลังจากนั้นจะเบียดกันแน่นชิด โดยจะติดผลราว 8 - 14 หวี ต่อจากนั้นปลีจะมีขนาดเล็กลง แต่คงรูปร่างป้อมสั้นคล้ายหัวใจเอาไว้  
     ผล  ใน 1 เครือจะมี 8 - 14 หวี ๆ ละ 17 – 19 ผล ผลดิบรูปร่างเหลี่ยมปลายผลทู่สีเขียวนวล ผลแก่ยังมีเหลี่ยมไปจนกระทั่งสุก ขนาดผลกว้าง 5.0 - 5.6 เซนติเมตร ยาว 13 – 15 เซนติเมตร เปลือกหนาสีเหลืองไพล เนื้อสีครีม ไส้เหลืองค่อนข้างเหนียว กลิ่นหอมรสหวาน  
     อายุ  ตั้งแต่ปลูกด้วยหน่อถึงออกปลีประมาณ 14 เดือน และอายุตั้งแต่ออกปลีถึงผลแก่จัด 150 วัน  
การใช้ประโยชน์ เหมือนกล้วยน้ำว้าของไทย เช่น ปลีนำมาประกอบอาหาร ผลดิบแก่จัดฝานทอดน้ำมันเป็นกล้วยทอดกรอบ หรือหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเสียบไม้สลับเนื้อและสับปะรดย่างเป็นบาร์บีคิว ผลสุกทำกล้วยบวชชีได้น้ำสีขาวเพราะไม่มียาง ส่วนเนื้อกล้วยจะมีสีขาวเหลืองน่ารับประทาน ใบใช้ห่อของได้เหมือนกล้วยตานี ดังภาพที่ 6

กล วยชน ดไหนท ม น ำอย ในต นมากท ส ด

ภาพที่ 6 กล้วยซาบ้า

6. กล้วยมาฮอย กล้วยหอม 2 เครือ (ไทย)[แก้ไข]

     แหล่งที่พบกล้วยมาฮอย (มียีโนมเป็น AAA) ประเทศอินโดนีเซีย ในราวปี 2538 อาจารย์สุรัตน์ วัณโน ได้นำต้นพันธุ์เข้ามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทางชมรมรักษ์กล้วยไม้ได้นำไปปลูกในแปลงรวบรวมพันธุ์จังหวัดกำแพงเพชร 
     ลำต้น  เป็นกล้วยที่มีลำต้นเตี้ยโดยมีส่วนสูงประมาณ 1.50-1.80 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 18 - 22 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีน้ำตาลอมแดงกาบด้านในสีแดงเจือชมพู (จัดอยู่ในกลุ่มของกล้วยหอมเขียว) 
     ใบ  ทางใบยาประมาณ 120 เซนติเมตร แผ่นใบกว้างหนาสีเขียวทึบ ก้านใบสีเขียว ร่องใบเปิดมีขอบสีน้ำตาลแดง 
     ข้อสังเกต  ถ้าการเรียงซ้อนของใบเวียนไปรอบต้นเหมือนกล้วยทั่วไปมักจะให้ผลเป็นกล้วยเครือเดียว แต่ถ้าหน่อมีลักษณะค่อนข้างแบนการเรียงซ้อนของใบคล้ายกล้วยพัก แนวโน้มจะได้กล้วยที่มี 2 เครือ หรือมากกว่า 
     ปลี  รูปทรงกระบอกปลายแหลม กาบด้านนอกสีแดงเจือเขียว เมื่อบานเปิดม้วนขึ้นสำหรับกล้วยมาฮอยจะมีลักษณะการออกเครือหลายแบบ เช่น
  1. มี 1 ปลี เหมือนกล้วยปกติ และเจริญเติบโตต่อไปเป็นเครือ
  2. มีปลีพุ่งออกมาจากยอดพร้อมกัน 2 ปลี และเจริญเติบโตต่อมาเป็น 2 เครือ
  3. มี 1 ปลี เมื่อพ้นออกมาจากยอดแล้วงวงกล้วยจะแบนและแยกเป็น 2 ปลี และเจริญเติบโตต่อมาเป็น 2 เครือ
  4. มี 1 ปลี แต่เมื่อติดผลตามปกติได้ 4-5 หวี ส่วนปลายจะแยกเป็น 2 ปลี และพัฒนาติดผลไปคนละเครือ
  5. มี 1 ปลี ให้ผลเหมือนกล้วยหอมปกติจนมดถึงหวีตีนเต่าต่อจากนั้นปลีจะแยกออกเป็น 2 ปลี และเจริญเติบโตต่อไปโดยไม่ออกติดผล
  6. มีการโผล่ของปลีออกมาจากส่วนยอดจำนวนมากอาจถึง 4-5 ปลี และสามารถพัฒนาเป็นเครือกล้วยได้ทั้งหมด
         ผล  ใน 1 เครือ จะมีประมาณ 7 - 9 หวี ๆ ละ 14 - 16 ผล ขนาดผลกว้าง 3.8 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 16-16.5 เซนติเมตร ผลเหยียดตรงปลายผลมีจุกเล็กน้อย ผลดิบสีเขียวสด ผลแก่สีเหลืองอ่อนเปลือกหนา ถ้าบ่มในอุณหภูมิต่ำหรืออากาศหนาวเย็นเกิน 5 วัน จะได้กล้วยที่มีผิวสีเหลืองคล้ายกล้วยหอมทอง ผลสุกเนื้อสีครีม รสหวานจัด 
         อายุ  ตั้งแต่ปลูกด้วยหน่อถึงออกปลีประมาณ 8 เดือน ละตั้งแต่ออกปลีถึงผลสุกประมาณ 95 วัน 
         การใช้ประโยชน์  ปลูกเพื่อดูความแปลกประหลาด และรับประทานผลสด ดังภาพที่ 7

กล วยชน ดไหนท ม น ำอย ในต นมากท ส ด

ภาพที่ 7 กล้วยมาฮอย กล้วยหอม 2 เครือ (ไทย)

7. กล้วยปิซังแอมเปียง หอมชวา[แก้ไข]

     การจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ ปัจจุบันเรียกชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มีลักษณะเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ  พระองค์ได้พระราชทานหน่อกล้วยไข่ และกล้วยน้ำว้า ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร โดยมีแนวพระราชดำริที่จะอนุรักษ์สายพันธุ์กล้วย ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีคุณประโยชน์มากมายนี้ไว้ และภายหลังก็ได้มีการนำหน่อกล้วยทั้งสองหน่อนั้นมาปลูกไว้ในพื้นที่ด้านหลังอาคารพิพิธภัณฑ์ ดังภาพที่ 1
0

กล วยชน ดไหนท ม น ำอย ในต นมากท ส ด

ภาพที่ 8 กล้วยปิซังแอมเปียง หอมชวา

8. กล้วยเล็บช้างกุด Musa (BBB) ‘Lep Chang Kut’[แก้ไข]

     การจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ ปัจจุบันเรียกชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มีลักษณะเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ  พระองค์ได้พระราชทานหน่อกล้วยไข่ และกล้วยน้ำว้า ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร โดยมีแนวพระราชดำริที่จะอนุรักษ์สายพันธุ์กล้วย ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีคุณประโยชน์มากมายนี้ไว้ และภายหลังก็ได้มีการนำหน่อกล้วยทั้งสองหน่อนั้นมาปลูกไว้ในพื้นที่ด้านหลังอาคารพิพิธภัณฑ์ ดังภาพที่ 1
1

กล วยชน ดไหนท ม น ำอย ในต นมากท ส ด

ภาพที่ 9 กล้วยเล็บช้างกุด

รายชื่อกล้วย ณ พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (สำรวจปี 2559)

กล้วยน้ำว้าแช่น้ำผึ้งกี่วันกินได้

ทั้งกล้วยและน้ำผึ้งต่างก็มีสรรพคุณเจ๋ง ๆ ในตัวเอง และหากเรากินกล้วยไม่ทัน กล้วยน้ำว้าสุกงอมก่อน เราสามารถนำกล้วยน้ำว้ามาหมักกับน้ำผึ้ง ทิ้งไว้อย่างน้อย 3 สัปดาห์ แล้วกินเป็นยาอายุวัฒนะวันละ 2 ช้อนชาได้ โดยสูตรนี้มาจาก ศ.วุฒิคุณ ดร. นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ ประธานคณะกรรมการสาธารณสุข และนายกสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่ง ...

กล้วยไม่ควรกินคู่กับอะไร

ห้ามกินกล้วยหอมกับเผือก – ไม่จริง ห้ามกินกล้วยหอมกับมันเทศ – ไม่จริง แต่ไม่ควรกินมากเกินไป อาจทำให้ท้องอืด จุกเสียด ห้ามกินกล้วยหอมกับเนื้อวัวทำให้ปวดท้อง – ไม่จริง กล้วยหอมมีโซเดียมมาก ทำให้ไตทำงานหนัก – ไม่จริง ผลไม้ไม่ได้เป็นแหล่งของโซเดียม กล้วยก็มีโซเดียมต่ำ

กล้วยชนิดใดมีประโยชน์มากที่สุด

ที่ทำให้กล้วยแต่ละพันธฺุ์มีความโดดเด่นแตกต่างกันไปคือปริมาณสารอาหารที่มีไม่เท่ากันในกล้วยแต่ละสายพันธุ์ และกล้วยที่กินแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด มีสารอาหารสูงที่สุดต้องยกให้กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้ากับน้ำผึ้งมีประโยชน์อย่างไร

กล้วยดองน้ำผึ้ง เมนูสุขภาพ สุดยอดยาอายุวัฒนะ‼️ สรรพคุณ กล้วยน้ำว้าดองน้ำผึง ช่วยปรับสมดุลร่างกาย มีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง มีแคลเซียม