กฎหมายท เก ยวข องก บการบ ญช ม อะไรบ าง

พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องงานด้านบัญชี ที่นักบัญชีและผู้บริหารของบริษัท ควรให้ความสนใจ ถ้านิติบุคคล (ภายใต้บทบาทหน้าที่ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้ทำบัญชี ) หากปฏิบัติ ไม่ถูกต้องจะมีบทลงโทษอย่างไร1. ไม่ปฏิบัติ ไม่จัดทำ ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาในการลงบัญชี เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี และนักบัญชีในฐานะผู้ทำบัญชี ไม่มีคุณสมบัติ และเงื่อนไขที่กำหนด บทลงโทษ : ปรับไม่เกิน 10,000 บาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละ 500 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

2. ไม่จัดให้มีการจัดทำบัญชี สำหรับการประกอบธุรกิจของตน ตามกำหนดเวลา บทลงโทษ : ปรับไม่เกิน 30,000 บาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละ 1,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

3. ไม่ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน, ไม่ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้แก่ผู้ทำบัญชี อย่าง ครบถ้วน, ไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด (กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ถ้ามีคุณสมบัติครบ จะเป็นผู้ทำบัญชีสำหรับกิจการของตนเองก็ได้) บทลงโทษ : ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

4. ไม่จัดงบการเงินและยื่นงบการเงิน ภายในระยะเวลาที่กำหนด บทลงโทษ : ปรับไม่เกิน 50,000 บาท

5. ไม่จัดทำงบการเงินตามรูปแบบรายการอย่างย่อ, ไม่จัดเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ไว้ ณ สถานประกอบการ, ไม่จัดเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ตามระยะเวลาที่กำหนด (ต้องจัดเก็บไม่น้อยกว่า 5 ปี), บัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายและเสียหาย ไม่แจ้งต่อ สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี, รวมถึงเมื่อเลิกประกอบธุรกิจ มิใช่การชำระบัญชี ไม่ส่งมอบบัญชีหรือเอกสาร ที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ให้แก่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ตามเวลาที่กำหนด (ภายใน 90 วัน นับแต่ วันเลิกประกอบธุรกิจ) บทลงโทษ : ปรับไม่เกิน 5,000 บาท

6. งบการเงินไม่ได้จัดให้มีการตรวจสอบและแสดงความเห็น โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (เว้นแต่กรณี ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท จะถูก ตรวจสอบโดย ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี – Tax Auditor) บทลงโทษ : ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

7. หากมีการแจ้งข้อมูล บัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายและเสียหาย เป็นเท็จต่อสารวัตรใหญ่ บัญชีหรือสารวัตรบัญชี บทลงโทษ : จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

8. ผู้ทำบัญชี (นักบัญชี) ไม่จัดทำบัญชีให้ถูกต้อง ครบถ้วนตามความเป็นจริง บทลงโทษ : ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

9. ผู้ทำบัญชี (นักบัญชี) ไม่ลงรายการบัญชี เป็นภาษาไทย หรือหากลงเป็นภาษาต่างประเทศ ไม่มีภาษาไทยกำกับ บทลงโทษ : ปรับไม่เกิน 5,000 บาท

10. หากขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ในการเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบบัญชี และเอกสารประกอบการลงบัญชี ณ สถานประกอบการ บทลงโทษ : จำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

11. ไม่อำนวยความสะดวกแก่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ซึ่งเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบบัญชีและเอกสาร ประกอบการลงบัญชี ณ สถานประกอบการ หรือฝ่าฝืนคำสั่งตามหนังสือที่ทางสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารบัญชี ส่งหนังสือแจ้ง ซึ่งไม่มาให้ถ้อยคำ เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีหรือการเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี รวมถึงการส่งมอบเอกสาร หรือไม่จัดส่งบัญชี เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี หรือรหัสบัญชี มาเพื่อตรวจสอบ บทลงโทษ : จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

12. หากไปเปิดเผยข้อมูล ข้อความใดๆ ที่ทราบหรือได้มาจากการปฏิบัติงานของสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี บทลงโทษ : จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ (กรณีดังกล่าว หาก สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี เจ้าพนักงาน เป็นคนไปเปิดเผยข้อมูล ก็จะมีบทลงโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

13. หากทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น หรือทำให้สูญหาย หรือทำให้ซึ่งไร้ประโยชน์ ซึ่งบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี บทลงโทษ : จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ หากผู้กระทำความผิด เป็นผู้มี หน้าที่จัดทำบัญชี จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ

14. หากลงรายการเป็นเท็จ แก้ไข ละเว้นการลงรายการในบัญชีหรืองบการเงิน แก้ไขเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการ ลงบัญชีเพื่อให้ผิดต่อความเป็นจริง บทลงโทษ : จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ หากผู้กระทำความผิด เป็นผู้มี หน้าที่จัดทำบัญชี จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ

สำหรับความผิดต่างๆ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี – กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้แทนนิติบุคคลหรือบุคคลใดที่ รับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคล หากพิสูจน์ได้ว่า ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิด ก็จะได้รับการยกเว้นบทลงโทษ (หมายเหตุ : อำนาจในการพิจารณา ให้ไปดูคำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ 70/2552 เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการมีอำนาจเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติบัญชี พ.ศ.2543)

กฎหมายท เก ยวข องก บการบ ญช ม อะไรบ าง
ส่วนของพระราชบัญญัติการบัญชี และ วิชาชีพบัญชี
กฎหมายท เก ยวข องก บการบ ญช ม อะไรบ าง
สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้ทดแทนพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 มีทั้งหมด 78 มาตรา จัดแบ่งเป็น 9 หมวดและบทเฉพาะกาล สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1. คำนิยามของ “วิชาชีพบัญชี” “วิชาชีพบัญชี” หมายถึง วิชาชีพในด้านการทำบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากร ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี ทั้งนี้ ในภายหน้าหากเห็นว่ามีบริการเกี่ยวกับการบัญชีด้านใดที่มีความสำคัญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อาจออกกฎกระทรวงกำหนดบริการเกี่ยวกับการบัญชีด้านนั้นเพิ่มเติมขึ้นในคำนิยามวิชาชีพบัญชีก็ได้ เช่น การตรวจสอบภายใน เป็นต้น

2. สภาวิชาชีพบัญชี สภาวิชาชีพบัญชีมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพบัญชีและมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 2.1 ส่งเสริมการศึกษา การอบรม และการวิจัยเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี 2.2 ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก จัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ระหว่างสมาชิก 2.3 กำหนดมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี และมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี 2.4 กำหนดจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี 2.5 รับขึ้นทะเบียนการประกอบวิชาชีพบัญชี ออกใบอนุญาต พักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี 2.6 รับรองปริญญาหรือประกาศนียบัตรในวิชาการบัญชีของสถาบันการศึกษาต่างๆเพื่อประโยชน์ในการรับสมัครเป็นสมาชิก 2.7 รับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพบัญชี 2.8 รับรองหลักสูตรการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการและการศึกษาต่อเนื่องในด้านต่างๆของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี 2.9 ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของสมาชิกและผู้ขึ้นทะเบียนอันเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพบัญชีให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพบัญชี 2.10 ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้บริการวิชาการแก่ประชาชนเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี 2.11 ออกข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี 2.12 เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี 2.13 ให้คำปรึกษาและเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายและปัญหาของวิชาชีพบัญชี 2.14 ดำเนินการอื่นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสภาวิชาชีพ บัญชีตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547

3. โครงสร้างองค์กรตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 กำหนดให้มีคณะกรรมการต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแล การพัฒนาความรู้ ส่งเสริมมาตรฐาน การประกอบวิชาชีพบัญชีให้มีคุณภาพ และควบคุมจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ซึ่งคณะกรรมการต่างๆ ได้แก่ คณะกรรมการกำกับดูแล การประกอบวิชาชีพบัญชี คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี คณะกรรมการจรรยาบรรณ คณะกรรมการวิชาชีพบัญชี แต่ละด้าน และคณะกรรมการอื่นๆ ซึ่งมีโครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการแต่ละชุด ดังนี้

4. สมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี แบ่ง 4 ประเภท ดังนี้ 4.1 สมาชิกสามัญ ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี และสำเร็จการศึกษาในระดับไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทางการบัญชี หรือสาขาอื่นตามที่สภาวิชาชีพกำหนด 4.2 สมาชิกวิสามัญ 4.2.1 กรณีเป็นผู้มีสัญชาติไทย ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี และสำเร็จการศึกษาในระดับไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทางบริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีพิจารณาเห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพบัญชี 4.2.2 กรณีเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย ต้องเป็นบุคคลซึ่งมีสัญชาติของประเทศที่ยินยอมให้ผู้มีสัญชาติไทยประกอบอาชีพสอบบัญชีในประเทศนั้นได้ อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี และสำเร็จการศึกษาในระดับไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี 4.3 สมาชิกสมทบ ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และสำเร็จการศึกษาในระดับที่ต่ำกว่าปริญญาตรี แต่ไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี 4.4 สมาชิกกิตติมศักดิ์ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเชิญเป็นสมาชิกตามมติของคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสามัญมีดังต่อไปนี้ 4.4.1 แสดงความคิดเห็นในการประชุมใหญ่ 4.4.2 ออกเสียงลงคะแนนในการประชุมใหญ่ 4.4.3 เลือกตั้ง รับเลือกตั้ง หรือรับแต่งตั้ง เป็นกรรมการหรือดำรงตำแหน่งอื่นอันเกี่ยวกับกิจการของสภาวิชาชีพบัญชี 4.4.4 สมาชิกสามัญไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนเข้าชื่อเสนอร่างข้อบังคับต่อสภาวิชาชีพบัญชีได้ 4.4.5 สมาชิกสามัญไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนเข้าชื่อกันทำหนังสือร้องขอให้นายกสภาวิชาชีพบัญชีเรียกประชุมใหญ่วิสามัญได้ 4.4.6 ชำระค่าบำรุงสมาชิกหรือค่าธรรมเนียม 4.4.7 ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพบัญชีและปฏิบัติตนตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 4.4.8 สิทธิและหน้าที่อื่นตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด สมาชิกวิสามัญ สมาชิกสมทบ และสมาชิกกิตติมศักดิ์ มีสิทธิและหน้าที่ตาม (1) (6) (7) และ (8)

5. มาตรฐานการบัญชี คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์เกี่ยวกับการบัญชี มีจำนวนไม่น้อยกว่า 7 คน แต่ไม่เกิน 11 คน และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีก 6 หน่วยงานทำหน้าที่ กำหนดมาตรฐานการบัญชีแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการบัญชีของคณะกรรมการฯมีดังนี้ 5.1 มาตรฐานการบัญชีต้องจัดทำเป็นภาษาไทย 5.2 มาตรฐานการบัญชีที่คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีกำหนดและปรับปรุง จะใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 5.3 หากคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ได้รับแจ้งจากผู้ทำบัญชี ผู้มีหน้าที่ จัดทำบัญชี ผู้ใช้ข้อมูลทางการเงิน หรือหน่วยงานอื่นใด ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีดังกล่าว ทำให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศหรือเป็นอุปสรรคต่อการประกอบกิจการ คณะกรรมการฯต้องดำเนินการตรวจสอบและรับฟัง ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องและกำหนด ปรับปรุง หรือพัฒนามาตรฐานการบัญชีโดยเร็วที่สุด

6. วิชาชีพบัญชีควบคุม ในเบื้องต้นพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 กำหนดให้มีการควบคุมการประกอบวิชาชีพบัญชี 2 ด้านก่อน คือ ด้านการสอบบัญชีและ ด้านการทำบัญชี แต่ในภายหน้าหากมีความจำเป็นอาจมีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบวิชาชีพด้านนั้นๆ ต้องมีการควบคุมเพิ่มขึ้นได้ 6.1 วิชาชีพด้านการสอบบัญชี ผู้ที่จะประกอบวิชาชีพสอบบัญชีจะต้องเป็นสมาชิกสามัญของสภาวิชาชีพบัญชีและต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด และต้องได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ใบอนุญาตผู้สอบบัญชีไม่มีอายุแต่ต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นรายปี ปีละ 1,000 บาท ทั้งนี้ใบอนุญาตผู้สอบบัญชีอาจสิ้นผลได้ในหลายกรณี เช่น ขาดจากสมาชิกสภาฯ ขาดคุณสมบัติ ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ไม่ชำระค่าธรรมเนียม ไม่เข้า รับการอบรมตามหลักเกณฑ์ที่สภาฯกำหนด เป็นต้น 6.2 วิชาชีพด้านการทำบัญชี ผู้ที่จะประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทำบัญชีจะต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนจึงจะสามารถ ประกอบวิชาชีพได้ และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีปีละ 500 หรือ 300 บาท แล้วแต่คุณวุฒิการศึกษาเช่นเดียวกับการเป็นสมาชิก สำหรับผู้ทำบัญชีที่ไม่มีคุณวุฒิด้านบัญชีโดยตรงแต่เป็นผู้ทำบัญชีตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ที่แจ้งการทำบัญชีต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งจะสามารถทำบัญชีให้แก่ธุรกิจได้จนถึง วันที่ 9 สิงหาคม 2551 ก็ต้องไปขอขึ้นทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี และกรณีผู้ทำบัญชีกลุ่มนี้มีคุณสมบัติที่จะเป็นสมาชิกวิสามัญได้ก็สามารถเลือก การเป็นสมาชิกแทนการขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีก็ได้ แต่หากไม่ศึกษาต่อเพื่อให้มีคุณวุฒิทางบัญชีโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกวิสามัญหรือ ขึ้นทะเบียนก็จะทำบัญชีได้จนถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2551 เท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ทำบัญชีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามทั้งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 โดยเมื่อจะเริ่มทำบัญชีต้องไปเป็นสมาชิกหรือขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีก่อน แล้วภายใน 60 วัน นับแต่วันเริ่มทำบัญชีต้องไปแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการทำบัญชีที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าซึ่งจะได้รับหมายเลขรหัสผู้ทำบัญชีต่อไป