การกระท าใดท ส งผลต อการเก ดภ ยจากด นหร อโคลนถล ม

เมื่อเข้าสู่ฤดูมรสุม โดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันหลายวัน จนดินบนภูเขาดูดซับน้ำไว้ในปริมาณมาก มักจะเกิดเหตุการณ์ ดินถล่ม ปรากฏบนหน้าสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง

ดินถล่ม (Landslide) หรือ “โคลนถล่ม” คือ หนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจาก “การย้ายมวล” (Mass Wasting) หรือการเคลื่อนตัวของดิน หิน โคลน หรือเศษซากต่าง ๆ ตามความลาดชันของพื้นที่ ภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วงโลก โดยทั่วไปแล้ว ดินถล่มมักเกิดขึ้นตามหลังปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอื่น ๆ เช่น น้ำป่าไหลหลาก แผ่นดินไหว หรือขณะเกิดพายุฝนรุนแรงที่ทำให้มวลของดินไม่สามารถคงตัวอยู่ได้

การกระท าใดท ส งผลต อการเก ดภ ยจากด นหร อโคลนถล ม

ดินถล่มจึงเป็นภัยพิบัติที่มักเกิดขึ้นจากการมีตัวกลาง เช่น น้ำ กระแสลม และธารน้ำแข็ง เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ดินมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือมีแรงยึดเกาะระหว่างมวลดินลดลง ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายมวลดินหรือ “การพัดพา” (Transportation) ที่นำไปสู่การถล่มลงมานั่นเอง

ดินถล่มสามารถจำแนกออกเป็น 6 ประเภท ตามวัสดุที่พังทลายและลักษณะการเคลื่อนที่ ดังนี้

การกระท าใดท ส งผลต อการเก ดภ ยจากด นหร อโคลนถล ม

  1. การร่วงหล่น (Fall) คือ การเคลื่อนที่ลงในแนวดิ่งอย่างอิสระ ทั้งการถล่มลงมาโดยตรงหรือมีการเคลื่อนที่ลงมาตามลาดเขาเล็กน้อย โดยปราศจากปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ส่งผลให้ตะกอนดินหรือหินที่พังทลายลงมามักกองสะสมกันอยู่บริเวณเชิงเขาหรือใกล้กับหน้าผาด้านล่างที่เรียกว่า “ลานหินตีนผา” (Talus) มักเกิดจากหินที่อยู่ตามหน้าผาหรือ “หินหล่น” (Rock Fall)
  2. การทลาย (Avalanche) คือ การเคลื่อนที่ลงมาอย่างรวดเร็วในลักษณะทั้งร่วงหล่น ไถล และกระเด็นกระดอน มักเกิดในบริเวณที่มีความลาดชันสูง เช่น หินทลาย (Rock Avalanche) เศษหินทลาย (Debris Avalanche) และ หิมะทลาย (Snow Avalanche)
  3. การลื่นไถลหรือเลื่อนถล่ม (Slide) คือ การเคลื่อนที่ตามความชันระดับปานกลาง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ทิศทางหรือระนาบการเคลื่อนที่มากนัก และมักมีปัจจัยของน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ เช่น การเกิดดินถล่ม (Landslide) หินถล่ม (Rock Slide) และเศษหินถล่ม (Debris Slide) โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในบริเวณที่หินมีรอยแตกหรือชั้นหินมีการวางตัวเอียงเทขนานไปกับความชัน
  4. การล้มคว่ำ (Topple) หรือ การเลื่อนไถล (Slump) คือ การเคลื่อนที่ในลักษณะที่มีการไถลร่วมกับการหมุนของมวลหรือการล้มคว่ำลงมาตามลาดเขา โดยทั่วไป มักเกิดบริเวณเชิงหน้าผาดินหรือหินที่มีรอยแตกและรอยแยกมาก และตามหน้าผาริมชายฝั่งทะเลหรือริมตลิ่งแม่น้ำที่มีการกัดกร่อนสูง และหลังการถล่มมักเกิดเป็นหน้าหน้าผาสูงชันคล้ายกับพระจันทร์เสี้ยว
  5. การไหล (Flow) คือ การเคลื่อนที่ซึ่งมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องมากที่สุด ทำให้ตะกอนของดินมีลักษณะเป็นของไหลที่สามารถเคลื่อนที่ไปบนพื้นระนาบได้รวดเร็วและไปได้ไกล อย่างเช่น ดินไหลหลาก (Earth Flow) ที่สามารถเคลื่อนที่ไปบนพื้นที่ซึ่งมีความลาดชันต่ำ ด้วยความเร็วประมาณ 10 เมตรต่อชั่วโมงหรือ ตะกอนไหลหลาก (Debris Flow) ที่ปะปนไปกันกับดิน หินและซากต้นไม้
  6. การแผ่ออกทางด้านข้าง (Lateral Spread) และการคืบคลาน (Creep) คือ การเคลื่อนที่บนพื้นที่ซึ่งมีความลาดชันต่ำ ส่งผลให้การย้ายมวลสารเกิดการเคลื่อนตัวไปอย่างช้า ๆ ด้วยความเร็วตั้งแต่ 0.5 ถึง 5 เซนติเมตรต่อปี ในบางพื้นที่การคืบคลานมีความเกี่ยวข้องโดยตรงต่อความชื้น จากการมีน้ำหรือหิมะซึมผ่านชั้นดินลงไปไม่ลึกนัก ทำให้ดินชั้นบนชื้นแฉะและมีความอิ่มตัวสูงกว่าดินหรือหินด้านล่าง ทำให้การยึดเกาะตัวของดินชั้นบนลดลง จนเกิดการไหลเลื่อนลงไปด้านล่างอย่างช้า ๆ

การกระท าใดท ส งผลต อการเก ดภ ยจากด นหร อโคลนถล ม

สาเหตุของการเกิดดินโคลนถล่ม

สาเหตุจากธรรมชาติ (Natural Causes) หรือ ผลจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอื่น ๆ เช่น การเกิดฝนตกหนัก การละลายของหิมะ การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในแม่น้ำและอ่างเก็บน้ำ การกัดเซาะของดินริมตลิ่งจากกระแสน้ำในแม่น้ำ ลำธาร หรือจากคลื่นซัดชายฝั่ง รวมไปถึงการผุพัง (Weathering) ของมวลดินและหิน และแรงสั่นสะเทือนจากการเกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด

การกระท าใดท ส งผลต อการเก ดภ ยจากด นหร อโคลนถล ม

สาเหตุจากกิจกรรมมนุษย์ (Manmade Causes) ที่เกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่ซึ่งมีความลาดชันต่าง ๆ เช่น การทำเกษตรกรรมในพื้นที่ลาดชันเชิงเขา การทำเหมือง การกำจัดพืชปกคลุมดินและการตัดไม้ทำลายป่า การก่อสร้างในพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงสูง รวมไปถึงการก่อสร้างที่ปราศจากการคำนวณด้านวิศวกรรมที่ดีพอ กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่แตกต่างไปจากเดิม ทั้งความลาดชัน รูปแบบการไหลของน้ำผิวดิน และระดับน้ำบาดาล เป็นต้น

การกระท าใดท ส งผลต อการเก ดภ ยจากด นหร อโคลนถล ม

การเกิดดินถล่มจึงมีปัจจัยและตัวกระตุ้นมากมาย จากทั้งธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ปัจจัยจากความลาดชันและการวางตัวของชั้นหินในพื้นที่เอง ปริมาณน้ำฝนและพืชปกคลุมดิน หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่รุนแรงและภัยธรรมชาติอื่น ๆ

สืบค้นและเรียบเรียง คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ และณภัทรดนัย

ข้อมูลอ้างอิง

https://www.nationalgeographic.org/encyclopedia/landslide/

http://ndwc.disaster.go.th/cmsdetail.ndwc-9.283/26674/menu_7525/4214.2/รู้จักภัยจาก+ดินถล่มหรือโคลนถล่ม+(Land+Slide)

โคลนถล่ม เป็นภัยธรรมชาติ คือ คำเรียกรวมๆของการเคลื่อนที่ของมวลสาร (Mass movement หรือ mass-wasting) ซึ่งคือ กระบวนการเคลื่อนตัวของมวลหิน ดินและทรายลงมาตามความลาดชันภายใต้แรงดึงดูดของโลกเป็นหลัก โดยอาจอาศัยตัวกลางระหว่างการพัดพา ยกตัวอย่างเช่น น้ำ, ลมและธารน้ำแข็ง ซึ่งตัวกลางเหล่านี้เป็นตัวช่วยเสริมการย้ายมวล ดังนั้นหากตะกอนอิ่มตัวด้วยน้ำ แรงเสียดทานระหว่างเม็ดตะกอนจะลดลง การย้ายมวลจึงเกิดได้ดีขึ้น

หลายคนเข้าใจว่า การย้ายมวลเกิดเฉพาะบนแผ่นดิน (Continents) เท่านั้น แต่จากการศึกษาทางธรณีฟิสิกส์และการลำดับชั้นหินตะกอนพบว่า บริเวณไหล่ทวีป ของมหาสมุทรหลายแห่ง มีการเคลื่อนตัวของตะกอนเช่นเดียวกับบนแผ่นดิน และจัดเป็นการเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วลงมาตามความลาดชัน เรียกว่า กระแสน้ำขุ่นข้น (turbidity current)

กระบวนการเกิดดินหรือโคลนถล่ม[แก้]

ส่วนใหญ่การย้ายมวลที่กล่าวถึงกันบ่อยๆ คือ แผ่นดินเลื่อน (Landslide) หรือดินถล่ม โดยรวมเอาวิธีการย้ายมวลทุกรูปแบบไว้ด้วยกัน ซึ่งความจริงยังไม่ถูกต้องมากนัก รูปแบบการย้ายมวลมีหลายกระบวนการด้วยกัน โดยถือปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวกำหนด

  1. ความเร็วของการย้ายมวล
  2. ปริมาณน้ำที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
  3. ชนิดของสารที่เกิดการย้ายมวล
  4. ความลาดชันของพื้นที่

หากจำแนกตาม Sharpe (1938) จะพิจารณาความเร็วของการย้ายมวล ปริมาณน้ำและความลาดชันของพื้นที่เป็นสำคัญ โดยเรียงลำดับจาก ปริมาณน้ำน้อยและมีการเคลื่อนตัวของมวลสารมาก ในพื้นที่ความลาดชันสูง – ปริมาณน้ำมากและมีการเคลื่อนตัวของมวลสารน้อย ในพื้นที่ความลาดชันต่ำ ดังนี้

  1. แผ่นดินถล่ม
  2. กองหินจากการถล่ม ซึ่งเป็นการถล่มอย่างรวดเร็วจากเทือกเขาสูงชัน โดยอัตราความเร็วอาจมากกว่า 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถทำลายสิ่งต่างๆที่ขวางกั้น
  3. ดินเลื่อน เป็นการเคลื่อนตัวของหินหรือหินผุตามไหล่เขาหรือลาดเขาจากแรงดึงดูดของโลก การเลื่อนตัวเป็นไปอย่างช้า ๆจนสามารถกำหนดขอบเขตของการเลื่อนตัวด้านข้าง ถ้าปริมาณน้ำมากขึ้นและการเคลื่อนตัวเร็วขึ้นดินเลื่อนอาจเปลี่ยนเป็นโคลนไหล
  4. น้ำหลากแผ่ซ่าน เป็นลักษณะการหลั่งไหลของน้ำแผ่ซ่านจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ขณะฝนตกหนัก เพราะปริมาณน้ำมีมากจนไหลลงร่องห้วยลำธารต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการไหลแผ่ซ่านของน้ำออกเป็นผืนบาง ๆ บนผิวดิน
  5. การกร่อนแบบพื้นผิว เป็นการกร่อนผุพังของพื้นผิวที่มักเกิดในฤดูฝน เพราะน้ำฝนไหลหลากลงสู่ร่องลำธารต่างๆไม่ทันจึงไหลแผ่ซ่านไปตามพื้นดินที่ต่ำกว่า ทำให้เกิดการกัดกร่อนเป็นบริเวณกว้างกว่าน้ำหลากแผ่ซ่าน
  6. ธารน้ำ

ข้อสังเกตหรือสิ่งบอกเหตุ[แก้]

การย้ายมวลบางครั้งเกิดขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผลหรือโอกาสการระมัดระวังน้อยมาก โดยส่วนใหญ่ การย้ายมวลมักเกิดจากเหตุการณ์ต่อไปนี้เป็นตัวกระตุ้น

  • การสั่นไหวอย่างรุนแรง หรือการเกิดแผ่นดินไหว พลังงานที่เกิดจากแผ่นดินไหวสามารถถ่ายทอดมายังพื้นดิน ทำให้เกิดการเสียสมดุลของพื้นที่ลาดเอียง (Slope failure)
  • การเปลี่ยนความลาดชัน หรือ การถอดส่วนค้ำจุน
  • การกัดลึก ของลำธารตามตลิ่งหรือการกัดเซาะของคลื่นตามชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะคลื่นลมแรงที่มีความเร็วและความแรงสูงมาก กระแทกกับชายฝั่งจนทำให้เกิดการเสียสมดุลของพื้นที่และเกิดแผ่นดินเลื่อนในที่สุด กรณีพื้นที่หมู่เกาะฮาวายซึ่งร่นเข้าไปในแผ่นดิน เนื่องจากคลื่นกระแทกหินภูเขาไฟที่มีรอยแตกถี่ๆบริเวณด้านล่างของผา จนเกิดการเลื่อนลง ทำให้หินที่วางตัวอยู่ด้านบนพังตัวลงมา
  • ฝนตกหนัก ฝนที่ตกหนักและยาวนานอาจทำให้พื้นดินที่เอียงเทอิ่มตัวด้วยน้ำ และเกิดการเสียสมดุล ด้วยเหตุนี้การย้ายมวลจึงเกิดขึ้นบ่อยในบริเวณที่มีฝนตกชุก
  • การระเบิดของภูเขาไฟ เป็นสภาวะหนักที่กระตุ้นให้เกิดแผ่นดินเลื่อนหรือถล่ม ภูเขาไฟชนิดเป็นชั้น มักประกอบด้วยธารหินละลายและเถ้าถ่านไหลที่ยังไม่แข็งตัวและไม่เสถียรจึงอาจก่อให้เกิดการถล่มลงมาได้

โคลนถล่มในประเทศไทย[แก้]

  • 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน ส่งผลให้มีดินโคลนถล่มในพื้นที่ อ. ลับแล จ. อุตรดิตถ์ เสียชีวิต 87 คน สูญหาย 29 คน
  • 11 สิงหาคม พ.ศ. 2544 น้ำป่าโคลนถล่ม ที่ ต. น้ำก้อ ต. น้ำชุน ต. หนองไขว่ ใน อ. หล่มสัก จ. เพชรบูรณ์ บ้านเรือนเสียหาย 515 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 131 คน
  • 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 น้ำป่าทะลักจากอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย ถล่มใส่หลายหมู่บ้านใน อ. วังชิ้น จ. แพร่ มีผู้เสียชีวิต 23 คน สูญหาย 16 ราย บาดเจ็บ 58 ราย
  • 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 เหตุการณ์ดินโคลนถล่มในอำเภอพิปูน พ.ศ. 2531 ที่ ต. กะทูน อ. พิปูน จ. นครศรีธรรมราช มีผู้เสียชีวิตถึง 700 คน
  • ลักษณะหมู่บ้านในหุบเขาที่ถูกดินถล่ม (อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ )
  • โคลนจากภูเขาถล่มทับทางรถยนต์ในอำเภอลับแล

โคลนถล่มที่ตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช[แก้]

พื้นที่ภัยพิบัติโคลนถล่ม ต.กะทูน อ.พิปูนประมาณ พ.ศ. 2532 สีขาวบนเขาคือพื้นที่ที่โคลนถล่ม สีขาวบนพื้นราบคือพื้นที่ตั้งถิ่นฐานเดิมของชาวบ้าน โปรดสังเกตทางน้ำออกที่ลูกศรชี้

(เหตุการณ์ดินโคลนถล่มในอำเภอพิปูน พ.ศ. 2531) ก่อนวันเกิดเหตุ 3- 4 วันได้เกิดพายุดีเพรสชั่น มีฝนตกปรอยๆ ต่อเนื่องมาหลายวัน ทำให้พื้นดินรวมทั้งเชิงเขาที่ชาวบ้านขึ้นไปปลูกยางพาราบนพื้นที่เดิมที่เปรียบเสมือนฟองน้ำตั้งเอียงที่พอซับน้ำได้พอประมาณเท่านั้น หมดขีดความสามารถในการอุ้มน้ำ น้ำที่อุ้มไว้อย่างเอียงๆ เต็มที่แล้วนั้น นอกจากจะทำให้ดินมีน้ำหนักมากขึ้น ยังลดความฝืดของอณูดินเองกับหล่อลื่นรากพืชที่ช่วยกันต้านแรงดึงดูดของโลกไว้ เมื่อมีฝนระลอกใหญ่ตกเพิ่มเติมลงมาในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ดังกล่าว จึงทำให้พื้นที่ที่หมดขีดความสามารถในการอุ้มน้ำส่วนบนบางส่วนพังทลายลงมาในรูปของโคลนถล่มพร้อมกับต้นไม้เดิมและต้นยางพาราไหลทลายทับถมลงมาในลักษณะโดมิโน พื้นที่ลาดชันบางส่วนแม้จะแข็งแรงรับนำหนักตัวเองได้พอควรอยู่ก่อน ย่อมไม่อาจรับน้ำหนักโคลนและท่อนไม้ที่ไหลทะลักที่มีความเร่งเพิ่มยกกำลังสองตามกฎแรงดึงดูดของโลก นอกจากนี้น้ำส่วนบนที่เบากว่ายังยกระดับสูงได้อย่างรวดเร็วภายในเวลานับเป็นเพียงนาทีเท่านั้น บ้านเรือนที่ปกติปลูกสูงพอสมควรก็มักถูกทำลายได้มากมายในพริบตาเช่นกัน

แอ่งตำบลกระทูนมีพื้นที่ประมาณ 70 ตารางกิโลเมตร มีทางน้ำและลำธารหลายสายซึ่งรับน้ำจากเชิงเขาโดยรอบที่เรียกว่าพื้นที่รับน้ำ (Watershed) ที่ประมาณจากแผนที่ภูมิประเทศเพียง 200-300 ตารางกิโลเมตรไหลมารวมที่ช่องระบายน้ำออกจากแอ่งเขาพิปูนที่กว้างเพียงประมาณ70 เมตร ทำให้โคลนและซุงมารวมจุดขวางทางอยู่ ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินจึงเกิดสูงมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์

เหตุการณ์ในลักษณะนี้ไม่เกิดขึ้นบ่อย แต่เป็นที่ตระหนักกันดีในเชิงอุทกศาสตร์และการป้องกันภัยธรรมชาติ ชาวบ้านและทางราชการที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงจึงให้ความสำคัญน้อย และมักปล่อยให้มีการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เสี่ยงนั้นต่อไปอีกเมื่อเวลาเนิ่นออกไปด้วยเหตุผลทางสังคม กฎหมายที่มีอยู่ก็เพียงเพื่อบรรเทาและให้ความช่วยเหลือในระยะสั้น มิได้กำหนดมาตรการทางกฎหมายในด้านการตั้งถิ่นฐานระยะยาวบนพื้นที่เสี่ยงไว้

ปรากฏการณ์โลกร้อน (Global warming) แม้จะเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติระยะยาว แต่การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วและการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์จำนวนมหาศาลของมนุษย์กำลังเพิ่มอัตราความเร็วและความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่รุนแรงและค่อนข้างพยากรณ์ได้ยาก ประเทศไทยมีพื้นที่เสี่ยงสูงเช่นนี้มากมายหลายแหล่ง รวมทั้งพื้นที่ที่กรมทรัพยากรธรณีได้ประกาศไว้แล้วจึงไม่ควรละเลยภัยธรรมชาติประเภทโคลนถล่มอีกต่อไป