การก นอาหาร เค มจ ด จะเก ด ม โทษอย างไร

การก นอาหาร เค มจ ด จะเก ด ม โทษอย างไร

เคตามีน (ketamine) หรือที่รู้จักกันในหมู่ผู้ใช้ยาเสพติดว่า″ยาเค” กระทรวงสาธารณสุขของไทยควบคุมเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในประเภท 2 เคตามีนเป็นยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อใช้เป็นยาสลบ หรือนำสลบ โดยใช้ในรูปยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือทางหลอดเลือดดำ ซึ่งออกฤทธิ์เร็ว มีสูตรคล้าย lsd และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเหมือนกับ phencyclidine (pcp) คือมีฤทธิ์ระงับปวด ยานี้จะทำให้เกิดภาวะ dissociative anesthesia ซึ่งมีอาการคล้าย cataleptic state คือ ทำให้สลบ หลับ ไม่เคลื่อนไหว สูญเสียความทรงจำ ไม่เจ็บปวด เคตามีนมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต ความดันโลหิตและอัตราการเต้นหัวใจอาจเพิ่มเล็กน้อย

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เคตามีนเพิ่ม muscle tone ซึ่งอาจทำให้ตาของคนไข้เปิดอยู่ในระหว่างที่ถูกวางยาสลบได้ เป็นยาที่ละลายได้ดีในไขมัน เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายสามารถกระจายไปตามเนื้อเยื่อต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว สามารถกระจายผ่านเข้าไปยัง cerebrospinal fluid และผ่านรกไปยังทารกในครรภ์ได้ half-life ประมาณ 2 ชั่วโมง

อาการข้างเคียง เคตามีน ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เช่นทำให้เกิดอาการฉงนงง เห็นภาพลวงตา ฝันกลางวัน หรือประสาทหลอน ซึ่งอาการเหล่านี้จะพบภายหลังที่ฟื้นจากสลบ ถ้าให้ทางหลอดเลือดดำจะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น กดการหายใจเล็กน้อย ไม่ควรใช้ในคนที่เป็นโรคจิต หรือโรคความดันโลหิตสูง

การใช้ในทางที่ผิด ในปัจจุบันได้มีผู้นำเคตามีนไปใช้ในทางที่ผิดเพื่อหวังฤทธิ์ในการหลอนประสาท (hallucination) โดยนำเคตามีนชนิดฉีดมาทำให้แห้งเหลือแต่ตะกอนสีขาว แล้วเสพโดยการสูดดม (snort) หรือสูบควัน (smoke) ซึ่งหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดโรคจิตได้ (psychosis)

การเสพยาเคเป็นเวลานาน จะทำให้ผู้เสพทนต่อฤทธิ์ยา ทำให้ต้องใช้ยาในปริมาณที่เพิ่มขึ้นถึงจะออกฤทธิ์เท่าเดิม ทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะการใช้ยาเคในขนาดที่สูง จะทำให้เกิดการอาเจียน ชัก สมองและกล้ามเนื้อขาดออกซิเจนได้ การใช้ยาเคในขนาดที่สูงถึง 1 กรัมอาจทำให้ตายได้ นอกจากนี้การใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการติดยาทั้งทางร่างกาย และจิตใจ

บทกำหนดโทษ ยาเค (Ketamine) ปัจจุบันถูกควบคุมเป็นวัตถุออกฤทธิ์นประเภท 2 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด

การก นอาหาร เค มจ ด จะเก ด ม โทษอย างไร

ร่างกายเราต้องการสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารต่างๆ เพื่อให้มีสุขภาพดี แต่เราจะต้องรู้ว่าจะกินอย่างไร กินอาหารอะไรบ้าง มากน้อยเพียงใดจึงจะได้สารอาหารครบและเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

ข้อปฏิบัติการกินอาหากเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย 9 ข้อนี้ จะช่วยได้ ถ้าท่านถือเป็นหลักปฏิบัติตาม

  1. กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
  2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ
  3. กินพืชผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจำ
  4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ
  5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
  6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร
  7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัด และเค็มจัด
  8. กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
  9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

1.กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัว

เนื่องจากร่างกายเราต้องการสารอาหารต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหาร ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แร่ธาตุ วิตามิน น้ำ และใยอาหาร แต่ไม่มีอาหารชนิดใด ชนิดเดียวที่ให้สารอาหารต่างๆครบ ในปริมาณที่ร่างกายต้องการ จึงจำเป็น ต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และกินแต่ละหมู่ให้หลากหลาย

จึงจะได้สารอาหารต่างๆครบถ้วน และเพียงพอ

น้ำหนักตัว เป็นเครื่องบ่งชี้บอกถึงสุขภาพของเรา จึงควรหมั่นดูแลโดยใช้ดัชนีมวลกาย(Body Mass Index) ซึ่งคำนวณจากสูตร

ดัชนีมวลกาย(BMI) =น้ำหนัก(กิโลกรัม)

ส่วนสูง (เมตร)2

ค่าปกติจะอยู่ที่ 18.5-24.9 กก/ตร.ม.

2 .กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ

ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยที่ให้กำลังงาน มีสารอาหารคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินกับแร่ธาตุ และใยอาหาร ควรกินข้าวที่ขัดสีแต่น้อย และกินสลับกับ อาหารประเภทแป้งอื่นๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง เผือกและมัน

3. กินพืชผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจำ

พืชผักและผลไม้ นอกจากให้วิตามินแร่ธาตุ และกากอาหารแล้ว ยังมีสารอื่นๆ ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันไปเกาะตามหลอดเลือด และช่วยทำให้เยื่อบุของเซลล์ และอวัยวะต่างๆแข็งแรงอีกด้วย

4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ

-เนื้อสัตว์ทุกชนิดมีโปรตีน แต่ควรกินชนิดไม่ติดมันเพื่อลดการสะสมไขมันในร่างกาย

-ไข่เป็นอาหารโปรตีนราคาถูก หาซื้อง่าย เด็กสามารถกินได้ทุกวัน แต่ผู้ใหญ่ควรกิน ไม่เกินสัปดาห์ละ 2-3 ฟอง

-ถั่วเมล็ดแห้งและผลิตภัณฑ์ เป็นโปรตีนที่ดี ราคาถูก ควรกินสลับกับเนื้อสัตว์เป็นประจำ

5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย

นมมีโปรตีน วิตามินบี และแคลเซียมซึ่งสำคัญต่อการเจริญเติบโต และเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน จึงเป็นอาหารที่เหมาะสมกับบุคคลทุกวัย

ในคนอ้วนควรดื่มนมพร่องมันเนย

6. กินอาหารที่มีแต่ไขมันพอควร

ไขมันให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย ทั้งช่วยดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี และเค แต่ไม่ควรกินมากเกินไป จะทำให้อ้วน และเกิดโรคอื่นๆตามมา

การได้รับไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ และอาหารที่มีโคเลสเตอรอลมากเกินไป จะทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูง เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ควรกินอาหารประเภท ต้ม นึ่ง ย่าง อบ จะช่วยลดปริมาณไขมันในอาหารได้

7.หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด

การกินอาหารรสจัดมากจนเป็นนิสัย ให้โทษแก่ร่างกาย รสหวานจัดทำให้ได้พลังงานเพิ่มทำให้อ้วน รสเค็มจัดเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง

8. กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน

อาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ มีการปกปิดป้องกันแมลงวันและบรรจุในภาชนะที่สะอาด มีอุปกรณ์หยิบจับที่ถูกต้อง ย่อมทำให้ปลอดภัยจากการเจ็บป่วยด้วยระบบทางเดินอาหาร

9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ เป็นโทษแก่ร่างกาย ทำให้สมรรถภาพการทำงานลดลง ขาดสติ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ตลอดจนชีวิต เสี่ยงต่อ การเป็นโรคตับแข็ง แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้มะเร็งหลอดอาหารและโรคกระเพาะอาหาร จึงควรงด หรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และไม่ขับขี่ยานพาหนะในขณะมึนเมา