การร กษาช ว ตให บร ส ทธ ขณะท ม แฟน

วันนี้ (27 ธ.ค.2566) สำนักข่าว The Korea times รายงานว่า "อี ซอนคยุน" วัย 48 ปี นักแสดงนำจากภาพยนตร์ "Parasite ชนชั้นปรสิต" เสียชีวิต หลังตำรวจได้รับแจ้งจากผู้จัดการของ อี ซอนคยุน เมื่อเวลาประมาณ 10.12 น.ตามเวลาท้องถิ่น ว่า เขาหายไปตัวและทิ้งจดหมายที่มีเนื้อหาในลักษณะสั่งเสีย ซึ่งในเวลาต่อมาตำรวจพบร่างของเขาอยู่ในรถยนต์ที่จอดอยู่ในสวนสาธารณะในกรุงโซล นอกจากนี้ยังพบถ่านอัดก้อนบริเวณที่นั่งผู้โดยสาร ก่อนที่จะส่งร่างไปที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล

ก่อนหน้านี้ อี ซอนคยุน ถูกตำรวจสอบปากคำกรณีต้องสงสัยใช้กัญชาและยาชนิดอื่นๆ อย่างผิดกฎหมาย ที่บ้านของพนักงานต้อนรับหญิงคนหนึ่งที่ทำงานในบาร์หรู ย่านกังนัมของกรุงโซล ซึ่งเขาให้การปฏิเสธ โดยระบุว่าถูกหลอกให้เสพยา โดยเข้าใจผิดว่าเป็นยารักษาอาการนอนไม่หลับ

อี ซอน คยุน ฟ้องกลับผู้ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ โดยระบุว่าเขาถูกขู่กรรโชกและถูกเรียกเงินค่าปิดปาก 350,000 ล้านวอน หรือประมาณ 9,200,000 บาท

แม้ผลการตรวจร่างกายทั้ง 2 ครั้งจะไม่พบสารเสพติดในตัว อี ซอนคยุน แต่เรื่องอื้อฉาวที่เกิดขึ้นทำให้เขาและภรรยาซึ่งเป็นนักแสดงเหมือนกัน ถูกยกเลิกสัญญาด้านการแสดงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโฆษณา ละคร รวมถึงภาพยนตร์ และยังต้องจ่ายค่าปรับจำนวนมหาศาลโทษฐานผิดสัญญาด้วย

ขณะที่แฟนละครและภาพยนตร์ที่ทราบข่าวการเสียชีวิตของ อี ซอนคยุน ต่างรู้สึกตกใจกับการจากไป พร้อมแสดงความไว้อาลัยกันเป็นจำนวนมาก

สำหรับ อี ซอนคยุน เกิดวันที่ 2 มี.ค.1975 ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เข้าวงการบันเทิงครั้งแรกเมื่อปี 2001 ในบทบาทละครเวทีเรื่อง The Rocky Horror Show เริ่มมีชื่อเสียงในปี 2007 จากซีรีส์เรื่อง White Tower และเป็นที่รู้จักของแฟนซีรีส์ชาวไทยจากภาพยนตร์เรื่อง Coffee Prince ต่อมาปี 2018 นำแสดงในซีรีส์เรื่อง My Mister ประกบซูเปอร์สตาร์สาวอย่าง ไอยู และได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง Take Point

อี ซอนคยุน เป็นที่ชื่นชอบของแฟนละครจากการรับบทบาทที่หลากหลาย ทั้งตลก ดรามา ไปจนถึงแอ็กชั่น กลายเป็นหนึ่งในนักแสดงที่ได้รับความนิยมอย่างมากคนหนึ่งในวงการบันเทิงเกาหลีใต้ และมีชื่อเสียงไปทั่วโลกหลังจากภาพยนตร์เรื่อง Parasite ที่เขารับบทนำ คว้ารางวัลออสการ์ในปี 2020

อี ซอนคยุน เป็นนักแสดงที่มากความสามารถและเป็นที่รักของทุกคน การจากไปของเขาจึงเป็นข่าวเศร้าสำหรับวงการบันเทิงเกาหลีใต้และแฟนๆ ทั่วโลก

การร กษาช ว ตให บร ส ทธ ขณะท ม แฟน

นักแสดงจากภาพยนตร์ Parasite (จากซ้ายไปขวา) ซงคังโฮ, โชยอจอง, ผู้กำกับบงจุนโฮ, ลีจุงอึน, ชเวอูชิก และลีซอนคยุน โพสท่าพร้อมกับถ้วยรางวัลการแสดงดีเด่น ระหว่างงานประกาศรางวัล Screen Actors Guild Awards ประจำปีครั้งที่ 26

ศูนย์อำนวยการจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) รายงานผลการเลือกตั้งฯ แบบเรียลไทม์อย่างไม่เป็นทางการผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ เมื่อเวลา 23.50 น. ( 24 ธ.ค.) หลังนับคะแนนไปแล้ว 100% พบว่า ในส่วนผู้ประกันตน ทีมประกันสังคมก้าวหน้ากวาดที่นั่งไปทั้งหมด 6 ที่นั่ง ส่วนอีกที่นั่งเป็นของนายปรารถนา โพธิ์ดี ประธานเครือข่ายพนักงานราชการไทย

ผู้สมัครเลือกตั้งที่ได้รับคะแนนสูงสุด 7 อันดับ จากมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 156,870 คนประกอบด้วย

  • นายษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี ได้รับ 71,917 คะแนน
  • นายธนพงษ์ เชื้อเมืองพาน ได้รับ 69,403 คะแนน
  • นายชลิต รัษฐปานะ ได้รับ 69,264 คะแนน
  • นายศิววงศ์ สุขทวี ได้รับ 69,256 คะแนน
  • น.ส.นลัทพร ไกรฤกษ์ ได้รับ 68,133 คะแนน
  • นางลักษมี สุวรรณภักดี ได้รับ 67,113 คะแนน
  • นายปรารถนา โพธิ์ดี ได้รับ 15,080 คะแนน

ส่วนผลการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ฝ่ายนายจ้าง นับคะแนนครบแล้ว 100% ผู้ทีผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 7 อันดับ ได้แก่

  • ดร.มนตรี ฐิรโฆไท ได้รับ 409 คะแนน
  • นางวิภาพรรณ มาประเสริฐ ได้รับ 403 คะแนน
  • นางสิริวัน ร่มฉัตรทอง ได้รับ 368 คะแนน
  • นายสมพงศ์ นครศรี ได้รับ 319 คะแนน
  • นายสุวิทย์ ศรีเพียร ได้รับ 315 คะแนน
  • นายทวีเกียรติ รองสวัสดิ์ ได้รับ 258 คะแนน
  • น.ส.เพชรรัตน์ เอกแสงกุล ได้รับ 252 คะแนน

หลังจากนี้ สำนักงานประกันสังคมจะตรวจสอบผลการเลือกตั้งและเตรียมรับรองผลการเลือกตั้ง ก่อนที่จะแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 ธ.ค. นี้

การร กษาช ว ตให บร ส ทธ ขณะท ม แฟน

ที่มาของภาพ, FACEBOOK LIVE/สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

การเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของไทย ที่จะคัดเลือกตัวแทนของผู้ประกันตนและนายจ้างจำนวนกว่า 24 ล้านคนในระบบประกันสังคม เข้าไปทำหน้าที่เสนอความเห็นและนโยบายในการดูแลจัดการบริหารกองทุนประกันสังคม โดยหวังว่าจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด จากเดิมที่เป็นการเลือกตั้งจากผู้แทนเป็นการภายใน

ทั้งฝ่ายผู้ประกันตนและฝ่ายนายจ้างมีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนได้ฝ่ายละ 7 คน เพื่อเข้าไปเป็นกรรมการในบอร์ดประกันสังคม โดยมีผู้สมัครผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนมีจำนวน 228 คน และผู้สมัครผู้แทนฝ่ายนายจ้าง จำนวน 65 คน

การร กษาช ว ตให บร ส ทธ ขณะท ม แฟน

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

บรรยากาศการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง​บอร์ดประกัน​สังคม ในช่วงเช้าที่ผ่านมาที่อาคารสำนักงาน​ประกันสังคม​กรุงเทพ​มหานคร​ เขตพื้นที่ 3 เขตดินแดง

ยอดผู้มาใช้สิทธิพลาดเป้า

การร กษาช ว ตให บร ส ทธ ขณะท ม แฟน

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

บรรยากาศในช่วงเช้าที่ผ่านมาที่อาคารสำนักงาน​ประกันสังคม​กรุงเทพ​มหานคร​ เขตพื้นที่ 3 เขตดินแดง

หลายฝ่ายในสังคมมองว่า ด้วยการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่เพียงพอและทั่วถึงจึงทำให้มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งในครั้งนี้ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ประกันตน มาตรา 33, มาตรา 39, มาตรา 40 และฝ่ายนายจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม ไม่รับทราบถึงการลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งมากนัก

แม้ว่า ก่อนหน้านี้สำนักงานประกันสังคมจะประกาศขยายระยะเวลาลงทะเบียนใช้สิทธิไปจากกำหนดเดิมในวันที่ 31 ต.ค. มาเป็นวันที่ 10 พ.ย. ก็ตาม แต่จำนวนผู้ลงทะเบียนเลือกตั้งก็เพิ่มขึ้นมาไม่มากเท่าที่ควร

หลังจากปิดหีบการเลือกตั้งเมื่อเวลา 16.00 น. จากข้อมูลแบบเรียลไทม์ระบุว่า มีผู้มาใช้สิทธิไม่เป็นไปตามคาดการณ์ โดยฝ่ายนายจ้างมีผู้มาใช้สิทธิเพียง 1,465 คน จาก 3,129 คน คิดเป็นราว 46.82% เท่านั้น ขณะที่ฝ่ายผู้ประกันตน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 156,870 คนจากทั้งหมด 854,414 คน คิดเป็น 18.36%

ด้านนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเปิดเผยภายหลังการปิดหีบเลือกตั้งว่า รู้สึกผิดหวัง เนื่องจากคาดการณ์ว่าจะมีผู้มาใช้สิทธิไม่ต่ำกว่า 50% ที่สำคัญนี่ถือว่าเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งกระทรวงมา จะต้องนำข้อมูลมาทบทวนเพื่อปรับปรุงในการดำเนินการครั้งต่อไป

ทั้งนี้ บอร์ดประกันสังคมที่ได้รับการเลือกตั้งจะมีวาระการทำงานคราวละ 2 ปี

"ชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตยอีกครั้ง"

นายษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี ผู้สมัครหมายเลข 27 ตัวแทนของทีมประกันสังคมก้าวหน้า กล่าวแถลงข่าวหลังจากผลการนับคะแนนเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมผ่านไปแล้ว 60% บอกว่า "ชัยชนะครั้งนี้เป็นชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตยอีกครั้ง ชัยชนะของผู้ที่ไม่ยอมจำนน ชัยชนะของผู้ปรารถนาการเปลี่ยนแปลง"

ทั้งนี้ นายษัษฐรัมย์ยังกล่าวขอบคุณผู้ที่มาใช้สิทธิทุกคน โดยเฉพาะผู้ใช้สิทธิคนรุ่นใหม่ที่ปรารถนาการเปลี่ยนแปลงที่มาใช้สิทธิ แม้ว่าจำนวนผู้ใช้สิทธิโดยรวมจะน้อยกว่าที่คาดก็ตาม พร้อมทั้งขอบคุณคู่แข่งคนอื่น ๆ ที่เข้ามาร่วมการแข่งขันให้มีสีสัน และหวังว่าจะเป็นหมุดหมายสำคัญสำหรับการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมในครั้งหน้าที่จะเน้นการแข่งกันนำเสนอนโยบาย

เขากล่าวอีกว่า ในส่วนแผนนโยบายของทีมที่ได้หาเสียงไว้ได้คิดคำนวณไว้อย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นการปรับเกณฑ์การลงทุนของกองทุนประกันสังคมให้ไปอยู่กับกลุ่มทุนที่มีธรรมาธิบาล ไม่รับใช้ระบบทุนผูกขาด การสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วม การเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ สำหรับผู้ประกันตน

การร กษาช ว ตให บร ส ทธ ขณะท ม แฟน

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

ทีมประกันสังคมก้าวหน้าคือใคร

เปิดตัวผู้สมัครเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. โดยนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า เป็นผู้แถลงข่าวประกาศสนับสนุนผู้สมัครบอร์ดประกันสังคมฝ่ายผู้ประกันตน จำนวน 7 คน ประกอบด้วย

  • นายษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • นายศิววงศ์ สุขทวี ที่ปรึกษาเครือข่าวองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ
  • นายชลิต รัษฐปานะ สมาชิกสหภาพคนทำงาน
  • นายธนพงษ์ เชื้อเมืองพาน ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต
  • น.ส.นลัทพร ไกรฤกษ์ นักสื่อสาร-นักรณรงค์เรื่องสิทธิความเท่าเทียมสำหรับผู้พิการ
  • นางลักษมี สุวรรณภักดี ประธานสหภาพแรงงาน มอลลิเก้ เฮลท์ แคร์ ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
  • น.ส.ธนพร วิจันทร์ ผู้ประสานงานเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ต่อมาพบว่า ขาดคุณสมบัติเพราะถูกเลิกจ้าง

การร กษาช ว ตให บร ส ทธ ขณะท ม แฟน

ที่มาของภาพ, FACEBOOK/ประกันสังคมก้าวหน้า

สำหรับนโยบายสำคัญที่นำเสนอมีทั้งหมด 14 ข้อ แต่รวมมาเป็นตัวอย่างที่เด่น ๆ ประกอบด้วย

ด้านสวัสดิการ: เพิ่มค่าทำคลอดบุตร เป็น 20,000 บาทต่อครั้ง จากเดิม 15,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนครั้ง สนับสนุนสิทธิลาคลอด 180 วัน เพิ่มค่าสงเคราะห์เด็ก 0 – 6 ปี จาก 800 เป็น 1,000 บาทต่อเดือน และเพิ่มเงินดูแลเด็ก 7 – 12 ปี จากเดิมที่ไม่มีให้ เป็นปีละ 7,200 บาท และได้รับการชดเชยการลา เพื่อดูแลคนในครอบครัว วันละ 300 บาท

นอกจากนี้ยังมีการกำหนดสินเชื่อที่อยู่อาศัย วงเงิน 5 ล้านบาท คิดดอกเบี้ย 1.99% ต่อปี และในส่วนการรักษาพยาบาล เกี่ยวกับการพัฒนาบัญชียาเดียวกัน ไม่น้อยกว่าราชการและบัตรทอง ไม่ต้องสำรองจ่ายทุกกรณี,สิทธิทันตกรรม รักษารากฟันเทียม เชื่อมโยงกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เหมาจ่าย 17,500 บาท ตลอดการรักษา

กรณีการว่างงงาน งานอิสระ และผู้พิการ: เพิ่มประกันการว่างงาน สูงสุด 9 เดือน, ขยายสิทธิประโยชน์คนพิการ ไม่ตัดสิทธิการใช้ร่วมกับสวัสดิการอื่น รักษาพยาบาลได้ทุกที่, ประกันสังคมถ้วนหน้า พื้นฐานสำหรับแรงงานอิสระทั้งระบบ วางระบบระยะยาวใน 2 ปี, ประกันสังคมถ้วนหน้า พื้นฐานสำหรับแรงงานอิสระทั้งระบบ วางระบบระยะยาวใน 2 ปี

ด้านบำนาญ: ปรับสูตรคำนวณบำนาญใหม่ เพื่อบำนาญที่เป็นธรรม เพื่อป้องกันการเสียประโยชน์ เมื่อ 60 เดือนสุดท้ายมีการเปลี่ยนแปลง สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 39 โดยมีเป้าหมายให้ได้รับบำนาญไม่ตำกว่า 3,000 บาทต่อเดือน, ปรับเงื่อนไขการรับบำนาญ บำเหน็จ แรงงานข้ามชาติเข้ากับสภาพการทำงาน รวมทั้งปรับเงื่อนไขให้แรงงานข้ามชาติมีสิทธิเลือกตั้งและสมัคร เป็นบอร์ดประกันสังคม

การลงทุนและการตรวจสอบ: วางเงื่อนไขการลงทุน และบริษัทคู่สัญญา ต้องไม่กดขี่แรงงาน การลงทุนขนาดใหญ่ต้องตรวจสอบได้ ยึดโยงกับผู้ประกันสังคม และส่งเสริมให้เป็นองค์กรอิสระ ตรวจสอบได้ ไม่ผู้ติดกับระบบอุปถัมภ์ใด ๆ

ผู้เสนอตัวแทนฝ่ายผู้ประกันตนมีใครบ้าง

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีผู้เสนอตัวมาเป็นตัวแทน "ฝ่ายประกันตน" จากหลากหลายสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง รวมทั้งกลุ่มที่เคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงาน โดยมีกลุ่มผู้เสนอตัวรับเลือกตั้งในครั้งนี้ 9 คณะ และมีผู้สมัครอิสระอีก 2 ราย โดยมีการนำเสนอนโยบายแตกต่างกัน

กลุ่มที่เสนอตัว 9 คณะประกอบด้วย

  • 3 ขอต้องไปต่อ มีผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวน 6 คน
  • เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน มีผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวน 7 คน
  • ประกันสังคมก้าวหน้า มีผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวน 7 คน
  • ประกันสังคมเพื่อแรงงานไทย มีผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวน 7 คน
  • พลังแรงงานสหกรณ์ มีผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวน 7 คน
  • แรงงานเพื่อสังคม มีผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวน 7 คน
  • สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย มีผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวน 7 คน
  • สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย มีผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวน 7 คน
  • สมานฉันท์แรงงานไทย มีผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวน 7 คน

คลิกดูรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นตัวแทนฝ่ายประกันตนทั้งหมดได้ ที่นี่

การร กษาช ว ตให บร ส ทธ ขณะท ม แฟน

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

"บอร์ดประกันสังคม" สำคัญอย่างไร

นอกจากบอร์ดประกันสังคมยังมีบทบาทสำคัญในการเข้าไปกำกับดูแล "กองทุนประกันสังคม" ที่ถือว่าเป็นของกองทุนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีมูลค่ากว่า 2.33 ล้านล้านบาท (ข้อมูลระหว่าง ม.ค.- ก.ย. 2566) ยังมีบทบาทและทำหน้าที่เป็นตัวแทนของฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างหลายประการอีกด้วย เช่น

  • เสนอความคิดเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการในการประกันสังคม
  • วางระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินของกองทุน โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง และพิจารณาให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีในการตราพระราชกฤษฎีกา การออกกฎกระทรวง และระเบียบต่าง ๆ
  • พิจารณางบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุน และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงานประกันสังคม
  • ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการอื่นหรือสำนักงาน รวมทั้งปฎิบัติการอื่นตามที่กฎหมาย หรือตามที่รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานมอบหมาย

แล้วเงินสมทบประกันสังคมที่ผู้ประกันตนจ่ายไป จะได้ใช้ตอนแก่หรือเปล่า ? คลิปวิดีโอนี้มีคำตอบ คลิก ที่นี่