การถ ายทอดภ ม ป ญญาการทำบายศร ส ขว ญ ภาคเหน อ

ครบเครื่องเรื่องบายศรี นาย เกียรติศักดิ์ ภูสีนาค รหัสศึกษา 64115267122 สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

สารบัญ 1 3 ประวัติความเป็นมาและ วิวัฒนาการ ประเภทและลักษณะของบายศรี 5 บายศรีสี่ภาค 6 8 - ภาคเหนือ 11 - ภาคใต้ 17 - ภาคกลาง - ภาคอีสาน 21 เครื่องคายหรือเครื่องสังเวย 22 บายศรีกับการทำขวัญ 23 บทสรุป 24 อ้างอิง

1 ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการ ดไัดง้รนัีบ้ อิทบธาิยพศลรีมมีาปจราะกวคัตติิคพวราามหเมป็ณน์มอาย่อางย่แางน่ไนรอไมน่มีหสัลนักนิฐษาฐนาทนี่แไดน้่จชัดากแสิ่ตง่บต่าายงศๆรี ๑. ใบตอง คเหติมืพอรนาหถ้มวณย์ชเชาื่มอวจ่ึางนใำบมตาอทงำเเปป็็นนขกอระงทบงริใสุสท่อธิ์าหสาะรอาด ไม่แปดเปื้อนอาหาร ๒. รูปแบบของบายศรีที่ทำรูปแบบจำลองเขาพระสุเมรุ พอคัตรญิาพเหชริมญาหณพ์มรณเะม์ื่อเอิชืศ่ทอวำวรบ่ามายาเขเศปา็รพีนรูปรปะรแสะบุธเบมาจนรุำเใปล็นนอพทิีงธ่สีเขถิาตพขรอะสงุพเมรระุ อจิึศงวเปรรีเยทบพเสเจ้มาือขอนง ๓. อาหาร อไข่าหแาตรงปกรวะากอมบะพในร้าบวายศรีหลายชนิดได้รับความเชื่อมาจากคติพราหมณ์ เช่น ๔. พิธีการต่างๆ เช่น การเวียนเทียน การเจิม จะมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีทั้งสิ้น

2 \"ตบู้ลายายศรรีด\" ในใ้นนำสวศมิรลัรยปณอะยคอุธดียยุเธรืา่อยมางีหกมล็ปัหกราฐาชากานฏติชคเัรดืำ่อเหจงลนรวเากวีง่ยเกวกี่ัยกณัวบฑก์บัมบาหยบาศารยราีศชเรชี่เแนชล่นมะกีทัคีน่บำวาจ่นึางประตู ยืนยันได้ว่า บายศรีมีใช้กันในสมัยอยุธยาแล้ว และสืบเนื่องต่อมาจนถึง ปัจจุบัน ในปัจจุบัน คนไทยมีความเชื่อและนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้ง เทพเจ้าในลัทธิต่างๆ กันอย่างกว้างขวาง และมีศรัทธาว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ จรแุ่งละเเะรหืเ็อทนงพไดเ้แจว้ล่าาทะี่ปคตนรนะไนสทับยบถนคืัอบวนถัา้ืนมอจสเทำะพสเร็เาจจม้ใาานบรชนถีวดสิตลรไวบดั้งนสดดัวงาลนรั้รนใคห์้ทใมี่ีนอคชยวู่่วใานงมทรสุะศขดวับครชรวั้ษนามทพี่เผรจ่าหรนิมญมา และชั้นเทพ ที่มีทั้งเทพฝ่ายชาย และเทพฝ่ายหญิง เทพเจ้าในลัทธิของจีน ตเบทูารพมพเนมจิ้กหาาอายกงมษค์ัหใตาดรยิยากาน็สธิัรกตากลชาใอรนดะอเจทดนีพตเทเขจว้อาดองาไงอทค์ยานรัห้ันกลษา์ตแยาลพมะรคสะวอมางมมคตเ์ิชืเ่อทผู้ทพใี่นนัทลบี่ัเทถปื็อธนิขศสอรัมทงเตธด็านจพใรนะ บรรดาเทพเจ้าเหล่านั้นจะมีเทพเจ้าชั้นสูงของพราหมณ์รวมอยู่ด้วยหลาย อศปักรงะดคิ์์กสิอผูท้ทบีธ่ิส์กไืัดบบ้ เบมชืั้าอกยจสศัดารียทเปำ็จนบาสาิก่ยงพศที่รรไีเาดป้ห็รันมบเณอค์ิรทื่หอธิรงพือสลัผกูม้ทกีา่เาจชืร่าอบกูวช่พาารสิสา่งหาศมมักณาด์ริ์โถสดิสทืย่อธติ์สรทงีา่ตรดนกัังบนันัสบ้ิน่ถงืไอม่ ว่าจะเป็นการบวงสรวงสังเวย สักการะ หรือไหว้ครูประจำปี เพื่อขอความ เป็นสิริสวัสดิมงคลแก่ตน จึงมักนำบายศรีไปเป็นเครื่องบูชา การทำบายศรีนี้มักทำขึ้นเป็นการ เฉพาะ เพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมี ทั้งระดับชั้นพรหมและชั้นเทพ ที่เรียกกันว่า บายศรีพรหม และบายศรีเทพ บายศรีเหล่านี้ จะมีความงดงามอลังการ และวิจิตรบรรจง ตามความคิด สร้างสรรค์จินตนาการของผู้ประดิษฐ์ และตามความสำคัญของเทพเจ้า โดย มีหลักเกณฑ์ในการทำบายศรีแต่ละต้น ส่วนใหญ่มักนำหลักธรรมใน พระพุทธศาสนา มาเป็นแนวคิดประดิษฐ์ตกแต่ง เช่น อริยสัจ ๔ มรรค ๘ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ หรือนำความเชื่อเรื่องระบบจักรวาล หรือไตรภูมิ ที่มี เขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางแวดล้อมด้วยทิวเขาสำคัญ หรือความเชื่อใน เรื่องพรหมโลกตามคติพระพุทธศาสนา สำหรับรูปแบบการทำบายศรีนั้น จะ แตกต่างกันไปในแต่ละสำนัก เช่น การถือหลักนับตัวแม่ตัวลูกบายศรีเป็น เกณฑ์ ตัวอย่างเช่น บายศรีพรหมและบายศรีเทพ มีจำนวนตัวแม่ตัวลูก บายศรีเป็นเลขคู่ และเป็นที่รู้กันว่า จะนำบายศรีแบบใดไปสักการะพรหม หรือเทพองค์ใด อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสำนักใดจะทำบายศรีเป็นรูปแบบใด บายศรีเหล่านั้นก็ล้วนแต่มีความหมายเป็นมงคลทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีการ ตั้งชื่อเฉพาะของบายศรีตามแต่ผู้ทำบายศรีนั้นๆ ตั้งขึ้น เช่น บายศรีอาภาพันธุ์ บายศรีพุทธบูชา บายศรีพัชรโอภาส ฯลฯ หัวข้อก่อนหน้า

3 ประเภทและลักษณะของบายศรี ราษฎร บายศรีแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ บายศรีของหลวง และบายศรีของ 1. บายศรีของหลวง คือ บายศรีที่ใช้ในพระราชพิธีอันเกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์พระมเหสี พระราชโอรส พระราชธิดา และพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งพระราชพิธีที่จัดขึ้นเป็น ปพิรเศะษจำแแลละะบพารยะศรารีชที่พใิชธ้ีใทีน่ทงรางนพพริธะีทกี่รรัุฐณบาาโลป รหดรืเอกรลา้าชฯกาใรห้กจำัดหขนึ้นด หโดรือยกในราโบอบกังาสคม ทูลเชิญเสด็จฯ มาทรงเป็นประธาน หรือโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์เสด็จฯ แทนพระองค์ บายศรีของหลวง มี ๓ แบบ ได้แก่ ๑. บายศรีต้น ทำด้วยใบตอง มีแป ้นไม้เป็นโครง ทำเป็นชั้น ลักษณะ อย่างบายศรีต้นของราษฎร มี ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น และ ๙ ชั้น สามชั้น ห้าชั้น เจ็ดชั้น พานทอง เก้าชั้น มี ๒ . บายศรีแก้ว ทอง เ งิน ประกอบด้วยพาน แก้ว พาน เงิน ทั้งขนาด ใหญ่และขนาดเล็กว างซ้อนกันขึ้นไปตามล ำดับ เป็นชั้นๆ จำนว น ๕ ชั้น โดยบายศรีแก้วอยู่ตรงกลาง บายศรีทองอยู่ทางขวา และบายศรีเงินอยู่ ทางซ้ายของผู้รับการสมโภช บายศรีแก้ว ทอง เงิน มี ๒ ขนาด คือ ขนาดใหญ่ เรียกว่า สำรับใหญ่ ใช้ในพระราชพิธีอย่างใหญ่ หรือพระราชพิธีที่มีการสมโภช เวียนเทียนโดยวิธียืนเวียนเทียน และขนาดเล็ก เรียกว่า สำรับเล็ก ใช้ในพระ ราชพิธีอย่างเล็ก เป็นงานสมโภชเวียนเทียนโดยวิธีนั่งเวียนเทียน บายศรีแก้ว ทอง เงิน

4 ต้นขอ๓ง.รบาษายฎศรรีตแอต่นงำรอไปงตทั้งอบงนขพาวานทใำหดญ้ว่ซึย่งใเบป็ตนอโลงหลัะกทษอณงะขเาดีวยวมีกั๕นกัชับ้นบา๗ยศชัร้นี ชสปโ้ัดาำจยงรจัสมุบบำาัในกคหัไมญญัด่ก้ยทพแกำลรเเละปะิ็รใกนาชไช้ปใ๗พนิแธพลีชั้ส้รนวมะรโบพภาารชชยะพเศริดธืารีีอชอชพนนยิิ่แธดาีลงอนีุใ้ะปมหัขึกส้ญนต่มัพ้งบเรชคูท่ะ่นกอนัูบ่าพบพครหาระยะลรศราวารชีชงแพพทิกี้ิธ่เีวธปสี็โนมสทพโอกภัรนงชะตขร์เึ้งานิซชนึ่รงวะงวศา์ง ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป ซึ่งปัจจุบันงดการสมโภช ๒. บายศรีของราษฎร คือ บายศรีที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ของราษฎร ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละ ท้องถิ่น แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ ๑. บายศรีปากชาม ใช้ใบตองม้วนเป็นกรวยคว่ำไว้กลางชามเบญจรงค์ ชามลายคราม หรือชามที่มีลวดลายสวยงาม ข้างในกรวยใส่ข้าวสุก บนยอด ปกใับรกวตดยออมงกีไทไีม่มพ้้แัเบหสีทลยบบมกตเัส่นอียไขึปบ้นมไไขา่ปตใ้หมส้่เสปวุ็กนนปรใูอปหกแญ่หเใปลชล้มดือเอรกีกยทีมว่เะรีเลยริีกยรวก่อาว่บาไกข่นรขมววัแยญมปวรบะนซด้ัยอบอนด้ดวทัไบยข่ขวัญ เหลื่อมกันเป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น ชั้นละ ๓ ยอด และนำ โใกดบลยตาวงอาตงังดมแแามหตงัวดด่ใงาหเแ้ปทห็นรยัหกกนรไ้ะปาหจหั่ววย่ัากกงลมนาามเยหแๆมมืรอววนมตออย๓่นางลใ่ฟบาังนเขเรลีอืย่องกแยว่มลางดแดหมาลมงัี่นดใบกาัตนหอขึร้ืนงอเไตปปั็วนตเหตอ่าางนหัก พับรับตอนล่างของหางนมแมวอีกที บนแมงดาวางกล้วยน้ำไท แตงกวาตัด ขฝฝนอานายดตทผาอูมกงยข้าอนวมอืออกพยจ่าาางดกลไนีว้ะ้ยัตง๓ามมีดชนิ้อนมกแหไมมร้วือธูปอหเารทืจีอยวอนาางจ๓ขในสชุ่มดอห้อแวลยาตนะัดด้เาเชปย่็นนสทาข่ยอนสนมิญเตล้็มจกขน์ๆาเดวไ็ดว้ใน บายศรี บายศรีปากชาม

5 บายศรีสี่ภาค 1. ภาคเหนือ 2. ภาคใต้ 3. ภาคกลาง 4. ภาคอีสาน

6 บายศรีภาคเหนือ บายศรีภาคเหนือ บายศรีภาคเหนือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ พระ ราชชายา เจ้าดารารัศมี พระราชชายา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าอินทวิชยานนท์ และแม่เจ้าทิพเกสร เจ้าผู้ครองนคร เชียงใหม่ ทรงอนุรักษ์งานบายศรีไว้ตามแบบแผนดั้งเดิม และทรงนำความรู้ที่ ได้พบเห็นจากราชสำนักภาคกลาง ตั้งแต่เมื่อครั้งเสด็จลงมาถวายตัวเข้ารับ ราชการฝ่ายในเป็นเวลาหลายปี มาจัดรูปแบบใหม่ ทรงรวบรวมผู้มีฝีมือในการ ประดิษฐ์ ตัดเย็บใบตองและทำบายศรีจากที่ต่างๆ ในนครเชียงใหม่มาเป็นครู ฝึกสอนคนของพระองค์และผู้ที่สนใจทั่วไป ณ พระตำหนักดาราภิรมย์ อำเภอ แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยทรงสอนแบบอย่างไว้ให้แก่เจ้าอุ่นเรือน ณ เชียงใหม่ ผู้เป็นโอรส ของเจ้าแก้วปราบเมือง ณ เชียงใหม่ พระเชษฐาต่าง มารดา พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทรงจัดลำดับชั้นของเครื่องบายศรีไว้ดังนี้ บายศรี ๙ ชั้น สำหรับทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรม ราชินี บายศรี ๗ ชั้น สำหรับเจ้านายชั้นสูง บายศรี ๕ ชั้น สำหรับเจ้านายชั้นกลาง บายศรี ๓ ชั้น สำหรับเจ้านาย หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ บายศรีธรรมดา สำหรับบุคคลทั่วไป บายศรีของภาคเหนือจำแนกได้ดังนี้ ๑. บายศรีนมแมว ขันผูกมือหรือขันมัดมือ

7 ๑. บายศรีนมแมว ขันผูกมือหรือขันมัดมือ บายศรีนมแมว ขันผูกมือหรือขันมัดมือนี้จะประกอบด้วย พาน หรือโตก หรือ ขันแดง และสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ถือว่า เป็นเอกลักษณ์ ของบายศรีภาค เหนือก็คือ สลุง (ขัน) กาบหรือขาของบายศรีภาคเหนือจะทำยอดให้เป็นก รวยแหลม มีความยาวประมาณ ๖-๘ นิ้ว แล้วจึงประกอบ ตัวนมสาว นมแมว หรือนิ้ว ประกบเข้าไปในลักษณะที่เรียงลดหลั่นตามลำดับลงมา (ส่วนที่ประกอบสำเร็จแล้วเรียกว่า นมแมว โดยจะใช้สรรพนามเรียกว่า กาบ หรือขา) จะมีความสูงขนาดใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับภาชนะที่ใส่ ใน สมัยโบราณ ถ้าเป็นงานขึ้นบ้านใหม่หรืองานบวชนาค บายศรีจะมีความสูงเป็น \"ศอก คืบ ๓ นิ้ว ของเจ้าของงาน\" (ศอก หมายถึง ความยาวของแขนตั้งแต่ ปลายนิ้วกลางถึงปลายข้อศอก คืบ หมายถึง ความกว้างของนิ้วทั้ง ๕ นิ้ว ที่ เรียงชิดกันตั้งแต่นิ้วก้อย ถึงนิ้วหัวแม่มือ ส่วน ๓ นิ้ว หมายถึง นิ้วชี้ นิ้ว กลาง และนิ้วนางเรียงชิดกัน) บายศรีนมแมว

8 บายศรีภ าคใต้ บายศรีของภาคใต้ในอดีตยังไม่นิยมทำกัน แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีและ การสื่อสารมีความก้าวหน้า ทำให้มีการถ่ายทอดและเชื่อมโยง ทาง วัฒนธรรมและประเพณีมากขึ้น ภาคใต้จึงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมหลาก หลายมากขึ้น ดังนั้น จึงมีบายศรีใช้กัน ตามความเชื่อและความศรัทธามากขึ้น กว่าเดิม บายศรีของภาคใต้ที่นิยมยึดถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมาช้า นาน เป็นบายศรี ของทางจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส โดยบายศรีจะร่วม อยู่ในขบวนบายศรีประเพณีแห่นก ซึ่งมีการจัดพานบายศรี (หรือที่เรียกกันใน ภาษาท้องถิ่นว่า บุหงาซีเระ หรือบุหงาซือรี) โดยมีสาวสวยเข้าร่วมทูนพาน บายศรี ขบวนบุหงาซีเระ (ขบวนบายศรี) ที่ร่วมในประเพณีแห่นก จัดเป็น ขบวนที่สวยงาม ดึงดูดสายตาผู้ชม ผู้ทูนพานบายศรีต้องเป็นสตรี ที่ได้รับการ คัดเลือกว่า เป็นผู้มีรูปร่างงดงาม ได้สัดส่วน แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวยงาม หลากสีสันตามประเพณีท้องถิ่น พานที่ใส่บายศรี หรือที่เรียกว่า อาเนาะกา ซอ ใช้พานทองเหลือง และนิยมใช้พานจำนวนคี่ คือ ๓ พาน ๕ พาน ๗ พาน หรือ ๙ พาน ดังนั้น ในประเพณีแห่นก ถือเป็นการส่งเสริม และ อนุรักษ์ศิลปะ การจัดพานบายศรีบุหงาซีเระ ให้ดำรงอยู่สืบไป บุหงาซีเระ หมายถึง บายศรีประดิษฐ์แบบชาวไทยมุสลิม ลักษณะหนึ่ง โดยการนำดอกไม้สด ใบพลูมาประดิษฐ์ ในลักษณะต่างๆ ให้สวยงามหลายรูปแบบ ตั้งแต่แบบ ดั้งเดิมจนถึงแบบสมัยใหม่ บุหงา แปลตามภาษามลายู คือ \"ดอกไม้\" ซีเระ แปลตามภาษามลายู คือ \"พลู\"

9 ความสำคัญของ (บุหงาซีเระ) ใช้ในโอกาสต่างๆ ดังนี้ ๑. บุหงาซีเระ ๓ ชั้น ใช้ในโอกาสพิธีการที่ไม่สำคัญมาก เช่น พิธีเข้าสุหนัต พิธี แต่งงาน พิธีสู่ขอ พิธีขึ้นเปลรับขวัญเด็ก พิธีที่ต้องใช้ถือเดินร่วมในขบวนแห่ ต่างๆ ๒. บุหงาซีเระ ๕ ชั้น ใช้ในพิธีที่ต้องตั้งอยู่กับที่ เช่น บนขบวนรถแห่ เพราะมี ขนาดใหญ่ ตั้งประดับขบวนรถ ใช้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ใช้ในงานพิธีการ ต่างๆ เพื่อเป็นเกียรติเช่น มหกรรมกินปลากะพง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ๓. บุหงาซีเระ ๗ ชั้น ใช้ในพิธีที่จัดยิ่งใหญ่งานมหกรรมต่างๆ เช่น ประเพณีแห่นก ๔. บุหงาซีเระ ๙ ชั้น จัดทำขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ การประกอบบุหงาซีเระ จากการนำโครงไม้ไผ่มาตั้งบนขอบพานด้านใน โดยทำเป็นรูปกากบาท แล้วมัดด้วยลวดตรึงติดกับตัวพาน ชั้นที่ ๑ (นับจากพาน) ให้นำวงกลมที่ทำ ด้วยกระดาษมาสวมลงที่โครงไม้ไผ่ติดกับตัวพาน จากนั้นจึงนำใบพลูประมาณ ๓-๕ ใบ เรียงสอดระหว่างช่องไม้ไผ่โดยรอบให้แน่น โดยให้ใบพลูตั้งยืน ประมาณ ๔๕ องศา แล้วนำใบมะยมที่เด็ดเป็นใบๆ มาสอดไว้ด้านใน ระหว่าง โครงไม้กับกระดาษทุกชั้น ชั้นที่ ๒ วางขอบกระดาษวงกลมบนใบพลู ขั้นตอน ต่อไปทำเหมือนชั้นที่ ๑ และชั้นต่อๆ ไป จะสลับระหว่างขอบกระดาษวงกลมกับ ใบพลู ใบพลูตั้งลดหลั่นตามจำนวนชั้นที่วางเรียงลดหลั่นกัน จะทำกี่ชั้นก็ เหมือนกัน แล้วนำต้นกล้วยใส่ลงด้านบนของปากกระบอกไม้ไผ่ โดยให้ยอด ของต้นกล้วยที่มีใบอยู่เหนือปากกระบอกไม้ไผ่ (ฐานต้นกล้วย จะวางอยู่บน พานพอดี) จากนั้นตกแต่งด้วยดอกไม้หรือมาลัย อุบะ ทัดหู ให้สวยงาม บุหงาซี เระนิยมทำเป็นเลขคี่ คือ ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น

10 ความสวยงามของบุหงาซีเระขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้ ๑. การซ้อนใบพลู เรียงซ้อนให้ได้ระเบียบสวยงาม ปลายใบพลูเท่าๆ กัน ชั้นแรกใบพลูแต่ละใบใช้ขนาดใหญ่ และชั้นต่อไป ใช้ใบพลูขนาดกลาง เล็ก และเล็กที่สุด ตามลำดับ การวางใบพลูให้จัดปลายตั้งยืนประมาณ ๔๕ องศา ระหว่างกลีบ ให้จัดซ้อนกันตามลำดับให้แน่น ๒. สีสันของใบพลูต้องมีสีเขียวอมเหลืองนวล ๓. กระดาษแต่ละชั้นต้องให้ขอบชั้นสมดุลกัน โดยให้วงของกระดาษจาก ใหญ่ไปเล็กสุด และระหว่างชั้น ใช้มาลัยหรือดอกไม้ ตกแต่งให้สวยงาม ๔. ต้นกล้วยต้องมียอดและมีใบเล็กประมาณ ๓-๔ ใบในลำต้นเดียวกัน ข้อควรระวัง ไม่ควรให้ใบพลูถูกน้ำมากเพราะจะเปื่อยง่าย การจัดวางต้องระวังไม่ให้ ยอดใบพลูขาด เพราะจะดูไม่สวย การทำโครงไม้ไผ่ ถ้าเป็นแบบโบราณจะใช้โครงไม้ไผ่ผ่าเป็นซี่ แต่ถ้าเป็นแบบ ประยุกต์จะใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นซี่ๆ โดยเหลาปลายให้แหลม แล้วแทงต้นกล้วย จากยอด ระหว่างซี่จะห่างกันประมาณ ๑ นิ้ว กางซี่ไม้ไผ่ให้กว้างเท่าขอบ พานด้านใน นำซี่ไม้ไผ่แทงฐานต้นกล้วยให้เป็นรูปกากบาทแล้วมัดตรึงกับ พานให้แน่น การประกอบก็จะประกอบเหมือนกันทุกประการ แต่การทำ โครงไม้ไผ่แบบประยุกต์จะทำให้ต้นกล้วยช้ำ พานบายศรี (บุหงาซีเระ)

11 บายศรีภ าคกลาง บายศรีเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาช้านานตั้งแต่สมัยโบราณ บายศรีของไทยทำด้วยใบตองเป็นรูปแบบกระทงบรรจุอาหาร โดยมีข้อ สันนิษฐานว่า บายศรีมีมาตั้งแต่ในสมัยอยุธยา เนื่องจากมีหลักฐานปรากฏอยู่ ในวรรณคดีเรื่อง มหาชาติคำหลวง กัณฑ์มหาราช ซึ่งคงแต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๕ และต่อมามีการนำบายศรีเข้ามาผนวกกับพิธีในพระพุทธศาสนา เช่น พิธีทำขวัญ นาค ซึ่งในครั้งนั้นจะมีรูปแบบใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายไว้ใน พระราชพิธีสิบสองเดือน ตอนหนึ่งว่า \"...บายศรีตองก็เป็นกระทงที่สำหรับบรรจุอาหาร แต่เป็นการออกหน้าประชุมคน พร้อมๆ กัน ก็คิดตกแต่งให้งดงามมากมาย ชะรอยบายศรีแต่เดิมจะใช้โต๊ะ กับข้าวโต๊ะหนึ่ง จานเรียงซ้อนๆ กันขึ้นไปจนสูงๆ เหมือนแขกเขาเลี้ยงที่เมือง กลันตัน ภายหลังเห็นว่าไม่เป็นของที่แน่นหนา และยังไม่สู้ใหญ่โตนัก สมปรารถนา จึงเอาพานซ้อนกันขึ้นไปสามชั้น ห้าชั้น แล้วเอาของตั้งวางบน ปากพาน ที่เป็นคนวาสนาน้อยไม่มีโต๊ะ ไม่มีพาน ก็เย็บกระทงตั้งซ้อนขึ้นไปสาม ชั้น ห้าชั้น เจ็ดชั้น ก็เจิมปากให้เป็นกระทงเจิม ให้เป็นการงดงาม...\" บายศรีของภาคกลางได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) และ มีหลากหลายรูปแบบ อาจสืบเนื่องมาจาก ภาคกลางเป็นที่ตั้งของราชสำนัก ประกอบกับคนไทยมีฝีมือประณีตช่างประดิดประดอย จึงสามารถเชื่อมโยง บายศรีให้เข้ากับความเชื่อ ของประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ ได้อย่างลงตัว ซึ่ง ถือได้ว่า เป็นภูมิปัญญาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์

12 บายศรีแต่ละประเภทของ บายศรีภาคกลางนอกจากจะมีบายศรีปากชาม บายศรีใหญ่หรือบายศรี ต้นแล้ว ปัจจุบันมีการทำบายศรีหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถจำแนกออกได้ โดย ดูจากรูปแบบของบายศรีว่า เป็นบายศรีแบบดั้งเดิมหรือแบบประยุกต์ บายศรี แบบดั้งเดิม จะทำตามแบบดั้งเดิมโบราณ โดยมีการกำหนดรูปแบบที่แน่นอน ตายตัว เช่น บายศรีปากชาม บายศรีเทพ บายศรีพรหม บายศรีตอ บายศรีหลัก (บายศรีต้นหรือบายศรีพระเกตุ) บายศรีขันธ์ ๕ ฯลฯ ส่วนบายศรีแบบประยุกต์ จะทำตามจินตนาการของผู้ทำบายศรี โดยมีการประดิษฐ์แบบวิจิตรสวยงาม สอดคล้องกับความเชื่อต่างๆ เช่น บายศรีกำเนิดพระแม่กวนอิม บายศรีพระ แม่ธรณี บายศรีพรหมเปิดโลก บายศรีพระแม่โพสพ บายศรีธรรมจักร ฯลฯ ดังนั้น บายศรีภาคกลางพอจำแนกได้ดังนี้ ๑. บายศรีปากชาม ๒. บายศรีเทพ ๓. บายศรีพรหม บายศรีพรหมสี่หน้า ๔. บายศรีตอ ๕. บายศรีหลัก (บายศรีต้น หรือบายศรีพระเกตุ) ๖. บายศรีขันธ์ ๕

13 บายศรีปา กชาม บายศรีปากชามจะประกอบด้วยแม่ ๓ องค์ ลูก ๓ องค์ ตามลำดับ จะใช้แม่ ๙ นิ้ว ๗ นิ้ว หรือ ๕ นิ้ว ก็แล้วแต่ความเหมาะสม ของงานที่ทำ ว่าใหญ่มากหรือน้อยเพียงใด หรือตามที่เจ้าภาพต้องการ องค์บายศรีอย่างละ ๓ องค์ มีความหมายแทนพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ หรือถ้าถือตาม ศาสนาพราหมณ์ หมายถึง พระตรีมูรติ ซึ่งได้แก่ พระศิวะ พระนารายณ์ และ พระพรหม ความสำคัญของบายศรีปากชาม ๑. บายศรีปากชามถือเป็นบายศรีพื้นฐานของบายศรีทุกชนิด เปรียบเสมือนการ เรียนหนังสือต้องเริ่มเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ก่อน ถึงจะขึ้นชั้นประถม ศึกษาปีที่ ๒ และเป็นการเริ่มรู้จักบายศรีว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง ๒. การนำบายศรีปากชามไปใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ต้องนำไปใช้เป็นคู่เสมอ ๓. ในการทำพิธีกรรมต่างๆ จะขาดบายศรีปากชามไม่ได้ หากในพิธีกรรมไม่มี บายศรีชนิดอื่นอย่างน้อยต้องมีบายศรีปากชาม ๑ คู่ ๔. บายศรีปากชามใช้ได้ในทุกพิธีกรรม บายศรีปากชาม

14 บายศร ีเทพ ประกอบด้วย ๑) บายศรีแม่ ๑๖ นิ้ว ๔ องค์ ลูก ๙ นิ้ว ๔ องค์ รวม ๘ องค์ต่อ ๑ พาน หรือแม่และลูก ๙ นิ้ว ทั้ง ๘ องค์ต่อ ๑ พาน ๒) กรวยบายศรี กะความสูงให้ดูพองาม ตกแต่งด้วยดอกไม้ให้สวยงาม บายศรีเทพ บายศรีเทพประกอบด้วยองค์บายศรี ๑๖ นิ้ว เรียกว่า \"แม่\" ซึ่งหมายถึง ๑๖ ชั้นฟ้า มี ๔ องค์ และมีลูก ๙ นิ้ว อีก ๔ องค์ รวมเป็น ๘ ทิศ ตามความ เชื่อที่ว่า ทิศทั้ง ๘ ทิศ มีเทพปกปักรักษาคุ้มครองอยู่ บายศรีเทพบางแห่งจะ เรียกว่า บายศรีพรหมเทพ ความสำคัญของบายศรีเทพ บายศรีเทพนิยมถวายเป็นคู่ หรือจะถวายเดี่ยวก็ได้ แต่ถ้าถวายเดี่ยว ควรตั้ง บายศรีไว้ตรงกลาง ใช้ในโอกาสต่างๆ ดังนี้ ๑. การบูชาพระ ๒. พิธีการบวงสรวงเทวดาอารักษ์ ๓. พิธีการไหว้ครูประจำปี ๔. การบูชาองค์เทพที่อยู่ในชั้นเทวโลกทุกๆ ชั้น ๕. ใช้สำหรับต้อนรับองค์เทพที่อยู่บนสวรรค์ชั้นเทวโลก บายศรีเทพ

15 บายศรีพรหม ๓. บายศรีพรหม บายศรีพรหมสี่หน้า บายศรีพรหมมีหลายแบบ เช่น บายศรีพรหม บายศรีพรหมสี่หน้า บายศรี พรหมประกาศิต ฯลฯ อาจมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ตามแต่ละท้องถิ่น แต่ก็จะมี ลักษณะที่เหมือนกันคือ ต้องมีแม่ ๑๖ นิ้ว จำนวน ๔ ทิศ และลูก ๙ นิ้ว จำนวน ๔ ทิศเหมือนกัน ถึงจะเป็นพรหมสี่หน้า ๑. องค์บายศรี บายศรีพรหม ประกอบด้วย แม่ ๑๖ นิ้ว จำนวน ๔ ทิศ ลูก ๙ นิ้ว จำนวน ๔ ทิศ และมีบายศรี ๙ นิ้ว หงายรองรับแม่ ๑๖ นิ้ว บายศรี ๕ นิ้วหงายรองรับบายศรี ๙ นิ้ว บายศรีพรหม บายศรีพรหมสี่หน้า ประกอบด้วย แม่ ๓๒ นิ้ว (คือ แม่ ๑๖ นิ้ว ประกบกัน ๒ด้าน ด้านละ ๑๕​นิ้วรวมยอด ๑ นิ้ว นับด้านใดด้านหนึ่งจะได้ ๑๖ นิ้ว หรือทำทั้ง ๒ ด้าน ด้านละ ๑๖ นิ้วก็ได้) ลูก ๙ นิ้ว หรือ ๑๘ นิ้ว ก็ได้ (ลูก ๑๘นิ้ว คือ ลูก ๙ นิ้ว ประกบกัน ๒ ด้าน ด้าน ละ ๘ นิ้ว ยอดตรงกลาง ๑ นิ้ว นับรวมยอดก็จะได้ ๙ นิ้ว หรือทำทั้ง ๒ ด้าน ด้านละ ๙ นิ้ว ก็ได้) มีลักษณะคล้ายพาย ๒. กรวยบายศรี ความสูงของกรวยกะดูพองามให้ได้สัดส่วนกับองค์บายศรี และ ตกแต่งด้วยดอกไม้ให้สวยงาม บายศรีพรหมมีความหมายเหมือนกับลักษณะ พระพักตร์ของพระพรหมซึ่งมี ๔ พระพักตร์ เดิมพระพรหมมีพระวรกายสีแดง และมีพระพักตร์ ๕ พระพักตร์ ต่อมาในภายหลัง พระพรหมกล่าววาจาสบ ประมาทพระศิวะ ทำให้พระศิวะโกรธ จึงใช้อิทธิฤทธิ์ของดวงพระเนตรที่ ๓ เพ่งไปที่พระพักตร์ที่ ๑ ของพระพรหมจนไหม้เป็นจุณไป พระพรหมจึงเหลือ เพียง ๔ พระพักตร์

16 ความสำคัญของบายศรีพรหม ใช้ในโอกาสต่างๆ ดังนี้ ๑. การบูชาพระ ๒. พิธีการบวงสรวงเทวดาอารักษ์ ๓. พิธีการไหว้ครูประจำปี ๔. การบูชาองค์พระพรหมและใช้สำหรับรองรับองค์พระพรหมที่อยู่บนสวรรค์ ชั้นพรหมโลก ซึ่งประกอบด้วย รูปพรหม ๑๖ และอรูปพรหม ๔ บายศรีพรหม

17 บายศรีภาคอีสาน ประเพณีการสู่ขวัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ เรื่อง ขวัญหรือจิตใจอันก่อให้เกิดกำลังใจที่ดีขึ้น ชาวอีสานเห็นความสำคัญ ทางด้านจิตใจมาก ในการดำเนินชีวิตแต่ละช่วง มักมีการสู่ขวัญควบคู่กัน เสมอ จึงพบเห็นการสู่ขวัญทุกท้องถิ่นในภาคอีสาน การสู่ขวัญ เรียกอีกอย่างว่า การสูดขวัญ หรือการสูดขวน เป็น จิตวิทยาอย่างหนึ่ง เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่คน หรือเสริมสิริ มงคลแก่บ้านเรือน ล้อเลื่อน เกวียน วัว รถ เป็นต้น การสู่ขวัญจึงเป็น พิธีกรรมหนึ่ง ที่ทำให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบำรุง ขวัญถือเป็นการรวมสิริแห่งโภคทรัพย์ ในพิธีสู่ขวัญ บางทีเรียกว่า พิธีบายศรี พิธีสูดขวัญ หรือบายศรีสู่ ขวัญ ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวอีสาน และนิยมทำกัน แทบ ทุกโอกาส จะมีการทำบายศรีประกอบในพิธี โดยเป็นบายศรีแบบดั้งเดิม หรือแบบประยุกต์ ซึ่งการทำบายศรีแบบประยุกต์นี้ จะทำตามจินตนาการ ของผู้ทำบายศรีให้เกิดความสวยงามวิจิตรพิสดารและสอดคล้องกับ ความเชื่อของท้องถิ่นนั้นๆ โดยชาวอีสานยังคงยึดถือและปฏิบัติกันมา จนถึงปัจจุบัน บายศรีภาคอีสาน จำแนกได้ดังนี้ ๑. บาศรี หรือพาขวัญ หรือพานบายศรี เดิมเรียกว่า บาศรีสูดขวัญ เป็นพิธีที่เจ้านายผู้ใหญ่ทำกัน การจัดพาขวัญนี้นิยมจัดเป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น และ ๙ ชั้น พาขวัญ ๓ ชั้น ๕ ชั้น จัดสำหรับคนธรรมดาสามัญ ส่วน ๗ ชั้น ๙ ชั้น จัดสำหรับ พระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์ พาขวัญประกอบด้วย

18 ชั้นที่ ๑ (ชั้นบนสุด) ประกอบด้วย แม่ ๙ นิ้ว ทั้ง ๔ ทิศอาจแซมด้วยลาย กนกทิพย์ หรือถ้าไม่มีตัวแซมจะใช้แม่ ๗ นิ้ว ทั้ง ๗ ทิศ ชั้นที่ ๒ ประกอบด้วย แม่ ๑๑ นิ้ว ๗ ทิศ ชั้นที่ ๓ ประกอบด้วย แม่ ๑๓ นิ้ว ๗ ทิศ ชั้นที่ ๔ ประกอบด้วย แม่ ๑๕ นิ้ว ๗ ทิศ ชั้นที่ ๕ ประกอบด้วย แม่ ๑๗ นิ้ว ๗ ทิศ ชั้นที่ ๖ ประกอบด้วย แม่ ๑๙ นิ้ว ๗ ทิศ ชั้นที่ ๗ ประกอบด้วย แม่ ๒๑ นิ้ว ๗ ทิศ ชั้นที่ ๘ ประกอบด้วย แม่ ๒๓ นิ้ว ๗ ทิศ ชั้นที่ ๙ ประกอบด้วย แม่ ๒๕ นิ้ว ๗ ทิศ การทำพานบายศรีของภาคอีสานจะไม่นิยมประกอบบายศรีใน ลักษณะที่คว่ำลง และมีขนาดใหญ่กว่าบายศรีปากชาม จัดทำใส่ในภาชนะ ที่ใหญ่มากขึ้น เช่น พาน โตก พานบายศรีสู่ขวัญถือเป็นพานเบญจขันธ์ ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ บาศรี หรือพาขวัญ หรือพานบายศรี พิธีสู่ขวัญ หรือพิธีสูดขวัญเป็นพิธีเก่าแก่ของชาวไทยทุกภาค แม้จะจัด พิธีกรรมแตกต่างกันไป แต่ยึดหลักใหญ่ และจุดมุ่งหมายเดียวกัน สำหรับ ชาวอีสานจะประกอบพิธีนี้ทุกงาน เช่น สูดขวัญเด็กแรกเกิด ทำขวัญเดือน เด็ก สูดขวัญบวชเณร บวชนาค สูดขวัญบ่าวสาว สูดขวัญรับขวัญผู้ที่ได้ เลื่อนยศหรือเลื่อนตำแหน่ง สูดขวัญส่งขวัญผู้เดินทางไกล

19 พาขวัญสามชั้น พาขวัญห้าชั้น พาขวัญเจ็ดชั้น

20 ๒. ขันหมากเบ็ง ประวัติความเป็นมาของขันหมากเบ็งนั้น ผู้เฒ่าผู้แก่ทางภาคอีสานได้ เล่าให้ฟังว่า แต่โบราณมีต้นหมากเบ็ง ลักษณะเป็นพุ่ม และมีดอก ชาวบ้าน นิยมนำดอกหมากเบ็งมาสักการบูชาพระพุทธรูปตามถ้ำ หรือตามบ้านเรือน ต่อมาต้นหมากเบ็งได้สูญพันธุ์ ชาวบ้านจึงได้คิดประดิษฐ์ขันหมากเบ็งใช้แทน ต้นหมากเบ็งที่ได้สูญหายไป ขันหมากเบ็งอีกความหมายหนึ่งคือ ทิศทั้ง ๔ ทิศที่มีเทวาธิราช ๔ พระองค์ทรงปกครอง ได้แก่ ธตรฐมหาราช ปกครอง เทพนครที่ตั้งอยู่ทิศตะวันออก และมีอำนาจปกครองหมู่คนธรรพ์ วิรุฬหก มหาราช ปกครองเทพนครที่ตั้งอยู่ทิศใต้ และมีอำนาจปกครองหมู่กุมภัณฑ์ วิรูปักษมหาราช ปกครองเทพนครที่ตั้งอยู่ทิศตะวันตก และมีอำนาจ ปกครองหมู่นาคา เวสสุวัณมหาราช ปกครองเทพนครที่ตั้งอยู่ทิศเหนือ และ มีอำนาจปกครองหมู่ยักษ์ ขันหมากเบ็ง ขันหมากเบ็งจะนิยมทำถวายเป็นคู่ ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ดังนี้ ๑. สักการบูชาพระพุทธรูป ๒. กราบไหว้บูชาครูบาอาจารย์ ๓. พิธีสักการบูชาพ่อเมือง บรรพบุรุษของเมือง เพื่อเป็นสิริมงคล แก่บ้าน เมือง และประชาชน ๔. พิธีบวช ผู้ที่จะบวชนำขันหมากเบ็งมาถวายสักการะพระอุปัชฌาย์ ขันหมากเบ็ง

21 เครื่องคายหรือเครื่องสังเวย

22 บายศรีกับการทำขวัญ วิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่เกิดจนตายมักมีพิธีกรรมในการทำขวัญ ที่ต้องมีการใช้บายศรีเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเกิดจากแนวความคิด ที่จะให้ มีการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และปลอดภัย จากอันตรายทั้งปวง การทำขวัญนำมาใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ได้แก่ บายศรีเป็นเครื่องประกอบสำคัญในการทำขวัญ การทำขวัญทารก เนื่องจากไม่แน่ใจว่าเด็กจะมีชีวิตรอดตลอดไปหรือ ไม่ จึงปัดเป่าเสนียดจัญไร ไม่ให้มารังควาน เด็กจะได้เติบโตอย่างแข็ง แรง สมบูรณ์ การทำขวัญเดือน เชื่อว่าเด็กรอดพ้นจากอันตรายแล้ว จึง ทำขวัญแสดงความยินดี การโกนจุก เพราะเด็กย่างเข้าสู่สภาวะพ้นจากการเป็นเด็ก นับเป็น ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ เด็กควรสำนึกในหน้าที่ ความรับผิดชอบ และเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต การทำขวัญนาค เพื่อให้เกิดสวัสดิมงคล และเตือนใจผู้บวชให้ พากเพียรปฏิบัติธรรม ให้สมดังเจตนารมณ์ของพ่อแม่ การทำขวัญแต่งงาน เพราะคน ๒ คนจะเปลี่ยนสถานภาพมาเป็น ผู้ครองเรือน จึงทำขวัญ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตคู่ ให้มีชีวิต แต่งงานที่สงบสุข และให้กำเนิดผู้สืบสกุลที่ดี การทำขวัญผู้ป่วย เมื่อหายจากการเจ็บป่วย ก็ทำขวัญเสมือน เป็นการรับขวัญ และเพื่อให้ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ให้เจ็บป่วย อีก การไปต่างถิ่นหรือกลับมาจากต่างถิ่น เป็นการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้ ออกไป หรือสะเดาะเคราะห์ หรือส่งขวัญให้ไปอยู่กับตัว

23 บทส รุป ในยุคโลกาภิวัตน์ แม้ว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ได้แพร่ หลายกว้างขวาง การพัฒนาประเทศมุ่งสู่อุตสาหกรรม และอิทธิพล วัฒนธรรมตะวันตกได้หลั่งไหลเข้ามามากจนทำให้ความเชื่อต่างๆ เปลี่ยน ไป รูปแบบของพิธีกรรมหลายอย่าง ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังจะเห็นว่า มีบายศรีสำเร็จรูปเกิดขึ้น ในปัจจุบันมักไม่ค่อยมีโอกาสได้พบเห็นการ ทำขวัญต่างๆ เช่น ทำขวัญเด็ก โกนจุก บวชนาค แต่งงาน หรือทำขวัญเสา เรือน ผู้เฒ่า ผู้แก่ ที่มีความรอบรู้และเคร่งครัดในประเพณีก็หายากมากขึ้น นอกจากนี้ ช่างทำบายศรีนับวันยิ่งจะลดน้อยลงทุกที หรือจำกัดอยู่ในวง วิชาช่างหรือผู้ที่ได้รับการสืบทอดต่อมาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยังพอกล่าว ได้ว่า พิธีกรรมที่ต้องใช้บายศรีเป็นหลักในการประกอบพิธีนั้นยังคงยึดถือ ปฏิบัติอยู่ในบางท้องถิ่น โดยเฉพาะในภาคอีสาน และภาคเหนือ ส่วนใน พิธีของหลวงนั้น ถือว่า ยังคงรักษาและยึดมั่นในแบบแผนประเพณีอย่าง เคร่งครัด ดังนั้น บายศรีจึงยังคงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่อนุชนรุ่นหลัง จะได้รู้จัก และชื่นชมในภูมิปัญญาของบรรพชนกันต่อไป

24 อ้างอิง ที่มา https://www.saranukromthai.o r.th/sub/book/book.php? book=38&chap=2&page=t38-2- infodetail11.html