การ น า เข า เคร อง ด ม แอลกอฮอล

กฎหมาย โฆษณา แอลกอฮอล์ อัปเดตปี 2565 ที่ร้านอาหารต้องรู้ ! เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่มีการควบคุม มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ทำให้บุคคลทั่วไป รวมถึงร้านอาหาร ต้องระวังอย่างยิ่ง เพราะมีโทษปรับและทำให้ร้านอาหารของเราสะดุดไปชั่วขณะได้ มาทำความเข้าใจ กฎหมายการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนที่จะนำ “เหล้า เบียร์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” เข้ามาขายในร้านอาหาร

อ่านข้อควรระวังแบบฉบับเข้าใจง่าย ที่ร้านอาหารควรทำความเข้าใจก่อนนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามาจำหน่ายในร้านอาหาร เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดและอาจทำผิดกฎหมายโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งกฎหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ได้เข้าใจยากหรือน่ากลัวอย่างที่คิด แต่เพียงต้องเข้าใจเจตนาของการ “ห้ามโฆษณา” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เสียก่อน

กฎหมายการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลบังคับใช้ทั้งบุคคลทั่วไป รวมถึง ร้านอาหาร และสถานบันเทิง Hungry Hub ได้รวม กฎหมาย โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แบบฉบับทำความเข้าใจง่าย ลดความสับสนสำหรับร้านอาหาร เคลียร์ชัด

กฎหมาย การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การ น า เข า เคร อง ด ม แอลกอฮอล

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่มีการควบคุม มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 กฎหมายได้ระบุข้อความไว้ ว่า

สำหรับบุคคลทั่วไป/ผู้ประกอบการ

ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึง แสดงชื่อ หรือ เครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นั่นหมายความว่า ทั้งบุคคลทั่วไป และผู้ประกอบการร้านอาหาร จะไม่สามารถโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบตรงๆ โจ่งแจ้งได้เลย รวมถึง “การประชาสัมพันธ์” เชิงอวดอ้างสรรพคุณ หรือชักจูงใจให้ดื่มแอลกอฮอล์ ก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน สรุปง่ายๆ ดังนี้

  • x ห้ามโพสต์เห็นยี่ห้อแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะถือเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • x ห้ามโพสต์ชักชวนให้ดื่มแอลกอฮอล์
  • x ห้ามโพสต์อวดอ้างสรรพคุณ แม้ะจะไม่มีชื่อแบรนด์ หรือโลโก้ ก็ถือว่าผิดกฎหมาย
  • x ห้ามโพสต์เชิญชวน ชักจูงให้ลอง ไม่ว่าทางตรงและทางอ้อม
  • x ห้ามถ่ายภาพแอลกอฮอล์ที่ไม่มีขายในไทย
  • x ห้ามถ่ายของแถมที่มีโลโก้แอลกอฮอล์

สำหรับผู้ผลิต

ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภท สามารถโฆษณาเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ได้ ตั้งแต่เวลา 22.00-05.00 น. โดยมีข้อบังคับ ดังนี้

  • กระทำการได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม
  • ไม่มีการปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • สามารถใช้ภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นๆ
  • ไม่มีข้อความชักจูง เชิญชวน หรืออวดอ่างสรรพคุณ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
  • ให้มีการแสดงข้อความคำเตือนทุกครั้ง และตลอดเวลาขณะที่มีการแสดงภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือภาพสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิต เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

สำหรับการจำหน่าย หรือขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากจะกำหนดอายุผู้ซื้อ 20 ปีขึ้นไป ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้กำหนดเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็น 2 ช่วงเวลา ดังนี้

  • 11.00 – 14.00 น.
  • 17.00 – 24.00 น.

วันที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  • วันสำคัญทางศาสนา วันมาฆบูชา วันวิสาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา (หรือวันอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์)
  • วันเลือกตั้ง

การจัดส่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านเดลิเวอรี่

การขายเหล้า สุรา และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ มีผลบังคับใช้ห้ามจำหน่ายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และ ไม่จัดส่งไปยังสถานที่ที่ห้ามไว้ เช่น วัด , โรงเรียน , สถานที่ราชการ , หอพัก และเขตโรงงาน

ข้อควรระวังสำหรับอื่น ๆ เกี่ยวกับการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

1.ไม่สามารถให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานหรือกิจกรรม รางวัลชิงโชค การแสดง การให้บริการ หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติมกับผู้ที่ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

2.ไม่สามารถ ลด แลก แจก แถม หรือ แลกเปลี่ยนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ หรือสิ่งที่เป็นการชักชวนทั้งทางตรงและทางอ้อม

ข้อควรระวัง ที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การถ่ายรูปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

หัวข้อสำคัญที่ทั้งบุคคลทั่วไป รวมถึงร้านอาหาร ผู้ประกอบการต่างๆ ต้องรู้ นั่นคือ การถ่ายรูปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้านอาหารไม่สามารถถ่ายรูปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยติดเครื่องหมายการค้า หรือแก้วเครื่องดื่มได้ รวมถึงภาพที่สื่อไปถึงการชักชวน จูงใจให้ซื้อเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นสิ่งที่ร้านอาหารควรหลีกเลี่ยงทั้งการโฆษณาและประชาสัมพันธ์

หรือ ในกรณีที่ลูกค้าถ่ายรูปเครื่องดื่มในเวลาที่ห้ามจำหน่าย ก็อาจทำให้ร้านอาหารเข้าข่ายจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะเวลาที่ห้ามจำหน่ายได้

บทลงโทษ หากกระทำผิด

พระราชบัญญัติฯ หมวด 7 บทกำหนดโทษ มาตรา 43 ระบุไว้ว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บน Facebook

*ข้อสำคัญที่ห้ามเลื่อนผ่าน* สินค้าประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สามารถโฆษณาบน Facebook , Instagram , TIktok หรือ Youtube ได้ เนื่องจากผิดกฎหมายมีผลบังคับใช้ตามประเทศนั้น ๆ หรือหากพูดง่ายๆ เราไม่สามารถโฆษณาบนสื่อออนไลน์ได้เลยนั่นเอง

แล้ว โฆษณา แอลกอฮอล์ แบบไหนที่สามารถทำได้บ้าง ?

อ่านมาถึงตรงนี้ คงเข้าใจกันแล้วว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่สามารถทำการโฆษณาแบบโจ่งแจ้งได้เลย ไม่ว่าจะถ่ายภาพขวด แก้ว กระป๋อง โลโก้แบรนด์ หรือใช้ถ้อยคำที่สื่อไปทางชักชวนให้ดื่มแอลกอฮอล์ แล้วผู้ประกอบการแบบเราๆ จะทำอย่างไรได้บ้าง?

1. โฆษณาตามที่กฎหมายกำหนด

  • (1) ไม่เป็นภาพเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือบรรจุภัณฑ์ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • (2) ไม่มีข้อความอันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ คุณประโยชน์ คุณภาพของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • (3) ไม่เป็นการชักจูงใจให้มีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
  • (4) ไม่แสดงให้ปรากฏในรูปแบบ ลักษณะ หรือภาพใดๆ ที่สามารถสื่อให้เห็นหรือทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นภาพของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือภาพบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ช่วงเวลา 05:00 – 22:00 น. ไม่สามารถเผยแพร่ โฆษณา เชิญชวน ให้ซื้อหรืออวดอ้างสรรพคุณ ยกเว้นภาพลักษณ์หรือกิจการของร้านอาหารเท่านั้น
  • ช่วงเวลา 22:00 – 05:00 น. สามารถระบุป้ายกลางแจ้งได้ แต่ต้องระบุคำเตือน “สุราเป็นเหตุทำให้พิการและเสียชีวิตได้” และอื่น ๆ

2.โฆษณาเชิงให้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ โดยไม่แสดงภาพสินค้า

การ น า เข า เคร อง ด ม แอลกอฮอล

เป็นการกล่าวถึงแอลกฮอล์โดยไม่แสดงโลโก้แบรนด์ สัญลักษณ์สินค้า เป็นเชิงให้ความรู้ ให้ข้อมูล โดยไม่อวดอ้างสรรพคุณ และไม่มีข้อความชักจูงให้ลอง เช่น บทความให้ความรู้ ชนิดของไวน์

3.การถ่ายทอดสดการแสดง งานบอล จากต่างประเทศ โดยเห็นสัญลักษณ์สินค้าได้

การ น า เข า เคร อง ด ม แอลกอฮอล

เป็นสปอนเซอร์การแข่งขันกีฬา กิจกรรม การแสดง งานบอล จากต่างประเทศ ตัวอย่างที่มักเห็น คือ แบรนด์ใหญ่ๆ อย่าง Chang ที่เป็นผู้สนับสนุนการแข่งขันฟุตบอล เป็นต้น

หากร้านอาหารต้องการโปรโมทเครื่องดื่ม จะต้องเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เช่น เครื่องดื่มม็อกเทล มีหน้าตาสวยงามเหมือนค็อกเทลแต่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เป็นตัวช่วยส่งเสริมการขายที่ได้ผลตอบรับที่ดี และยังเป็นตัวทำกำไรให้กับร้านอาหารได้เป็นอย่างดี ทำความรู้จักม็อกเทลมากขึ้น ได้ที่ : ม็อกเทล – Mocktail เครื่องดื่ม ที่เพิ่มยอดขายให้กับ ร้านอาหาร ได้มากกว่า 30%

การจำหน่ายแอลกอฮอล์สำหรับร้านอาหารและสถานบันเทิง กฎหมายไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพียงทำความเข้าใจ และมีระบบจัดการหน้าร้านให้จำหน่ายตรงตามเวลาที่กฎหมายกำหนด และตรวจสอบการใช้คำโฆษณาก่อนทำการตลาด ประชาสัมพันธ์ ก็ทำให้ร้านอาหารหมดความกังวลในส่วนนี้ไป

อ้างอิง:

  • https://workpointtoday.com/explaine-alcohol/
  • http://203.157.213.6/nitikarn/lawyerclub/download/seminar/d.pdf

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ Hungry Hub เพื่อเพิ่มโอกาส เพิ่มยอดขายให้ร้านของคุณ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำหรับโรงแรม / สำหรับร้านอาหาร