การ แว ค คั่ ม แอร์ รถยนต์ ราคา

ในบางครั้งเมื่อแอร์มีปัญหา ช่างซ่อมมักจะมีการเติมน้ำยาให้เสมอๆ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว น้ำยาแอร์จะไม่สลายตัวและสามารถไหลเวียนใช้อยู่ในแอร์ไปเรื่อยๆ หากไม่เกิดการรั่วซึม บทความนี้จะพาไปดูว่าทำไมต้องทำให้ระบบแอร์เป็นสุญญากาศ (แวคคั่มระบบ) ก่อนการเติมน้ำยาแอร์ และการเติมน้ำยาในแอร์นั้นเป็นอย่างไร

การทำให้แอร์เป็นระบบสุญญากาศมีข้อดีอย่างไร

ก่อนเติมน้ำยาแอร์จำเป็นที่จะต้องทำให้ระบบเครื่องทำความเย็นหรือแอร์เป็นระบบสุญญากาศเสียก่อน ด้วยการทำให้ภายในท่อปราศจากอากาศและความชื้น ซึ่งการทำให้แอร์เป็นระบบสุญญากาศ ก็มีข้อดีดังต่อไปนี้

  1. ไม่ก่อให้เกิดน้ำขึ้นในระบบ เนื่องจากความชื้นที่เกิดขึ้นจะมีการควบแน่นหรือแข็งตัวจนกลายเป็นน้ำไปกีดขวางทางเดินของน้ำยาในท่อของแอร์
  2. ไม่เกิดเป็นกรดไปกัดกร่อนท่อที่เป็นทางเดินของน้ำยา
  3. น้ำมันหล่อลื่นทำงานได้ดี โดยไม่เกิดผลเสียต่อคอมเพรสเซอร์ เนื่องจากไม่เกิด Slag จากความชื้นที่ผสมกันกับน้ำยาแอร์

ขั้นตอนการทำให้เป็นระบบสุญญากาศ

  1. เริ่มจากต่อสายกลางท่อของเซอร์วิสเกจเข้ากับแว็คคั่มปั๊ม จากนั้นต่อสายที่เครื่องปรับอากาศด้าน Low และ Service Valve ทางด้านดูดและต่อทางด้าน High กับ Service Valve ทางด้านส่ง
  2. จากนั้นดูดเอาอากาศและความชื้นออกจากท่อให้หมด จนเข็มของเกจลดลงจนถึงระดับ Low และเวลคั่มทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง หากท่อไกลและมีความชื้นสูง อันเนื่องจากฝนตกก็ควรจะทิ้งเวลคั่มให้นานยิ่งขึ้น

วิธีการตรวจหารอยรั่ว

การเกิดรอยรั่วจะทำให้ไม่เป็นระบบสุญญากาศ ทำให้เกิดความชื้น รวมทั้งเกิดการรั่วของน้ำยาแอร์ได้ ดังนั้น การเกิดรอยรั่วจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องหาให้พบและแก้ไขให้เรียบร้อย โดยสามารถทำได้ ดังนี้

การใช้ไนโตรเจนกับฟองน้ำยาล้างจาน ด้วยการอัดไนโตรเจนให้มีความดัน 250 ปอนด์/ตารางนิ้ว จากนั้นให้ทาฟองอากาศไปทั่วบริเวณที่จะทำการตรวจหาโดยการเน้นที่รอยต่อ หากมีการรั่วซึมจะมีฟองอากาศผุดออกมา ให้ทำการแก้ไขและให้ทิ้งระบบไว้ 2-3 ชั่วโมง หากแรงดันไม่ลดลง นั่นหมายถึงสามารถแก้ไขรอยรั่วได้เรียบร้อยแล้ว

การ แว ค คั่ ม แอร์ รถยนต์ ราคา

การเติมน้ำยาแอร์เข้าระบบ (ยกตัวอย่าง R-22)

การเติมน้ำยาแอร์ เป็นขั้นตอนสุดท้ายหลังจากติดตั้งและทำทุกขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะการหารอยรั่ว ซึ่งมีขั้นตอนการเติมดังต่อไปนี้

  1. ไล่อากาศในสายเกจ จากนั้นให้เติมน้ำยาที่วาล์วด้านส่ง 120-150 PSIG
  2. เปิดสวิทซ์อีวาพอเตอร์และชุดคอนเดนชิ่งให้ทำงาน
  3. เติมสาร R-22 เข้าทางด้านดูด
  4. หลังจากนั้นปล่อยให้เครื่องทำงานสักครึ่งชั่วโมง หากสารทำความเย็นมีปริมาณที่พอดีแล้วจะมีค่าความดันจากเกจ ค่าจากกระแสแอมมิเตอร์ปกติ โดยมีค่าความดันด้านดูดอยู่ที่ 250-275 PSIG และความดันกระแสได้ค่าตามระบุก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

หากพบว่าความดันด้านดูด-ด้านส่งและความดันกระแสต่ำกว่า Full Load นั่นหมายถึงน้ำยาแอร์น้อยเกินไปต้องเติมเข้าไปอีก แต่หากพบว่าความดันด้านดูด-ด้านส่งและความดันกระแสสูงกว่า Full Load ประกอบกับยังมีละอองน้ำจับอยู่ นั่นหมายถึง น้ำยาแอร์มีมากเกินไปต้องปล่อยออกจนกว่าจะได้ค่าตามกำหนด

นับว่าระบบสุญญากาศและน้ำยาแอร์ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องกระทำควบคู่กันทุกครั้ง และจำเป็นต้องทำโดยช่างผู้ที่มีความชำนาญ เพื่อป้องกันการชำรุดของคอมเพรสเซอร์อันเนื่องมาจากการทำที่ผิดวิธี

การ แว ค คั่ ม แอร์ รถยนต์ ราคา

เชียงใหม่แอร์แคร์เอ็นจิเนียริ่ง

จำหน่าย ติดตั้ง รับเหมา วางระบบ เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น จำหน่ายอะไหล่แอร์ราคาส่งทั่วประเทศ พร้อมบริการหลังการขายครบครัน