ป จจ ยทางการตลาดท ม ผลต อพฤต กรรมการซ อ

ชื่อเรื่อง

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ของคนวัยทำงานในจังหวัดนนทบุรี

Article title

Marketing mix factors effecting working age adult's behavior in their purchasing of online in Nonthaburi province

ประเภทเอกสาร

บทความในวารสาร

ชื่อวารสาร

วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์

ฉบับที่/หน้า

ปีที่ 12 ฉบับที่ 16 หน้า 40-60

หมวดหลัก

E73-เศรษฐศาสตร์ผู้บริโภค

อรรถาภิธาน-ไทย

พฤติกรรมผู้บริโภค;การวิจัยตลาด;การสำรวจผู้บริโภค;ผู้ใหญ่;อินเตอร์เน็ต;การจัดซื้อ;ประเทศไทย

อรรถาภิธาน-อังกฤษ

Consumer behaviour;Market research;Consumer surveys;Adults;Internet;Purchasing;Thailand

ดรรชนี-ไทย

การซื้อสินค้าออนไลน์;การซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์;ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด;พฤติกรรมการซื้อสินค้า;ร้านค้าออนไลน์;พฤติกรรมผู้บริโภค;คนวัยทำงาน;จ.นนทบุรี

ดรรชนี-อังกฤษ

Online purchase;Marketing mix;Online purchasing behavior;Online store;Working age adult;Consumers;Personal factors;Online shopping;Nonthaburi province

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของคนวัยทำงานในจังหวัดนนทบุรีที่ซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ของคนวัยทำงานในจังหวัดนนทบุรี และ 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ของคนวัยทำงานในจังหวัดนนทบุรี โดยเก็บข้อมูลจากคนวัยทำงานทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-35 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีสถานภาพโสด อาชีพเป็นพนักงานเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เลือกซื้อเสื้อผ้า/เครื่องแต่งกาย/เครื่องนุ่งห่ม ช่องทางที่นิยมเข้าไปซื้อสินค้าโดยผ่านร้านค้าออนไลน์ (Online Store) มีจำนวนเงินในการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ต่อครั้ง 1,000-5,000 บาท ซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ 1-2 ครั้งต่อเดือน โดยการโอนเงินผ่านธนาคาร ATM/I–Banking ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ คือ ตนเอง และเหตุผลที่สำคัญในการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์คือ มีความสะดวกในการซื้อ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ของผู้ตอบแบบสอบถามมากที่สุด คือปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านราคา และปัจจัยด้านสินค้า/ผลิตภัณฑ์เป็นลำดับสุดท้าย การทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ที่แตกต่างกันให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทั้งด้านสินค้า ผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Abstract

The objectives of this research were to study 1) personal factors of working-age consumers who worked in Nonthaburi, our target population under study, in their online purchase of goods. 2) marketing mix which affected their online purchasing behavior. 3) their online purchasing behavior. The data was collected from 400 samples of working-age adults in Nonthaburi province. Analysis of data was conducted using statistical software. Outcome of the study revealed that the majority of respondents were female, single, 20-35 years of age, bachelor degree graduates, worked as private company's employees with average monthly income between 20,001-30,000 Baht. Study of their online purchasing behavior indicated that they usually shopped online for clothes/costume/outfits from stores offering on-line service. The expense made on each online purchase was between 1,000-5,000 Baht and the frequency of online purchase was 1 – 2 times a month. They made payment for the goods through bank-transfer ATM / I-Banking. The persons involved in online purchase of product were they themselves. Major reason given for online purchase was its convenience. Study of marketing mix showed that marketing mix which influenced their online purchase, in descending order of importance, were channel of distribution, marketing promotion, price and product. On the other hand, hypothesis tests on the importance of marketing mix based upon different online purchasing behavior indicated that respondents with different online purchasing behavior did differ in their viewpoints on the importance of marketing mix (product/price/place/promotion) that influenced their online purchase at 0.05 level of significance.

ผู้แต่ง (สังกัด)

[1] ทวีรัชต์ คงรชต (สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีก)

Authors (สังกัด)

[1] Thaweeratch Kongrachata (Panyapiwat Institute of Management, Nonthaburi (Thailand). Faculty of Business Management)

APA


ทวีรัชต์ คงรชต. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ของคนวัยทำงานในจังหวัดนนทบุรี. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 12(16), 40-60.


Thaweeratch Kongrachata. (2018). Marketing mix factors effecting working age adult's behavior in their purchasing of online in Nonthaburi province. Kasetsart Applied Business Journal, 12(16), 40-60.

Chicago


ทวีรัชต์ คงรชต. "ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ของคนวัยทำงานในจังหวัดนนทบุรี." วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ 12 (2561): 40-60.


Thaweeratch Kongrachata. "Marketing mix factors effecting working age adult's behavior in their purchasing of online in Nonthaburi province." Kasetsart Applied Business Journal 12 (2018): 40-60.

MLA


ทวีรัชต์ คงรชต. "ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ของคนวัยทำงานในจังหวัดนนทบุรี." วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ 12 (16): 40-60; 2561.


Thaweeratch Kongrachata. "Marketing mix factors effecting working age adult's behavior in their purchasing of online in Nonthaburi province." Kasetsart Applied Business Journal 12 (16): 40-60; 2018.

Vancouver


ทวีรัชต์ คงรชต. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ของคนวัยทำงานในจังหวัดนนทบุรี. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ 2561;12:40-60.


Thaweeratch Kongrachata. Marketing mix factors effecting working age adult's behavior in their purchasing of online in Nonthaburi province. Kasetsart Applied Business Journal 2018;12:40-60.

จำนวนการเข้าชมและการดาวน์โหลด

Cited by Google Scholar -