ข นตอนการเปล ยนช อ ม เตอร ไฟฟ า

หากต้องการเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าหรือเปลี่ยนมิเตอร์เป็นแบบ TOU (Time of Use Tariff) สามารถดำเนินการได้ที่การไฟฟ้าฯตามเขตที่ระบุไว้ในบิลค่าไฟหรือสามารถดำเนินการทางออนไลน์ได้เช่นกัน ช่องทางติดต่อหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมการไฟฟ้านครหลวง MEA Call Center 1130

ก่อนทำการดำเนินเรื่องขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าเราต้องเตรียมระบบวงจรให้พร้อมกับขนาดมิเตอร์ใหม่ที่ต้องการเพิ่ม ในการเพิ่มขนาดมิเตอร์เพื่อทำการติดตั้งเครื่องชาร์จนั้น การไฟฟ้านครหลวงอนุญาติให้ติดตั้งเมนวงจรที่สองสำหรับเครื่องชาร์จโดยเฉพาะได้ มีข้อกำหนดตามนี้

  • พิกัดกระแสไฟฟ้าของ Main Circuit Breaker ทั้งสองวงจรต้องรวมกันไม่เกินพิกัดสูงสุดตามที่ขนาดมิเตอร์ระบุไว้ เช่น ขอเพิ่มขนาดมิเตอร์เป็นขนาด 30(100)A ค่าพิกัดของ Main CB ต้องไม่เกิน 100 A
  • ต้องติดป้ายบริเวณ Main CB ของทั้งสองวงจร เพื่อระบุตำแหน่ง Main CB ของวงจรที่หนึ่งกับวงจรที่สองสำหรับเครื่องชาร์จ
  • ห้ามต่อสายเฟสหรือสายนิวทรัลข้ามระหว่างสองวงจร

ข นตอนการเปล ยนช อ ม เตอร ไฟฟ า

ดำเนินเรื่องที่เขตการไฟฟ้า

เอกสารที่ต้องเตรียมในกรณียื่นในนามบุคคล

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่จะขอติดตั้ง
  • กรณีไม่ใช่เจ้าบ้านต้องใช้เอกสารแสดงความเกี่ยวพันธ์ เช่น สัญญาซื้อขาย
  • บิลค่าไฟ
  • สำเนาเอกสารเปลี่ยนชื่อในกรณีที่มีการเปลี่ยนชื่อ
  • ใบคำขอใช้ไฟฟ้า สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง
  • ใบมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบในกรณีไม่ได้ดำเนินเรื่องด้วยตนเอง

เอกสารที่ต้องเตรียมในกรณียื่นในนามนิติบุคคล

  • หนังสือรับรองบริษัทไม่เกิน 6 เดือน
  • สำเนาบัตรประชาชนกรรมการผู้มีอำนาจ
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า
  • ใบคำขอใช้ไฟฟ้า สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง
  • ใบมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ พร้อมกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อพร้อมประทับตราบริษัทฯในกรณีไม่ได้ดำเนินเรื่องด้วยตนเอง

ดำเนินเรื่องผ่านทางออนไลน์

สามารถดำเนินเรื่องผ่านทางออนไลน์ได้ที่ https://eservice.mea.or.th/measy

ข นตอนการเปล ยนช อ ม เตอร ไฟฟ า

ค่าใช้จ่ายในการเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า

สำหรับ 1 Phaseขนาด ค่าตรวจ 15 (45) 700 30 (100) 700 50 (150) 700สำหรับ 3 Phaseขนาด ค่าตรวจ 15 (45) 700 30 (100) 1,500 50 (150) 1,500 200 2,500 400 2,500

สำหรับ TOU ค่าตรวจตามขนาดมิเตอร์ที่ต้องการและเพิ่มค่าใช้จ่ายอีก 6,640 บาท

ระยะเวลาในการดำเนินการ

  • มิเตอร์ขนาด 5(15)A – 15(45)A ใช้เวลาภายใน 4 วันทำการ
  • มิเตอร์ขนาด 30(100)A – 50(150)A ใช้เวลาภายใน 8 วันทำการ
  • มิเตอร์ขนาด 200A – 400A ใช้เวลาภายใน 18 วันทำการ

ระยะเวลาดังกล่าวนับตั้งแต่ยื่นเอกสาร ชำระค่าธรรมเนียม และการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในเรียบถูกต้องในการตรวจครั้งแรก

ตามที่ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง แนะนำผู้ใช้ไฟฟ้าเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ควรเปลี่ยนชื่อเจ้าของเครื่องวัดฯให้เป็นข้อมูลปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวนมากที่มีการเปลี่ยนเจ้าของที่อยู่อาศัย แต่ไม่เปลี่ยนชื่อเจ้าของเครื่องวัดฯ ทำให้เสียโอกาสในการรับสิทธิประโยชน์จากโปรโมชันต่าง ๆ เช่น MEA Point รวมถึงเพื่อเป็นการป้องกันการรับผิดชอบหนี้ค่าไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการค้างชำระค่าไฟฟ้าของผู้อยู่อาศัยรายใหม่ได้นั้น

สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบุคคลทั่วไปที่ต้องการเปลี่ยนชื่อเจ้าของเครื่องวัดฯ สามารถรับบริการผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยบริการ MEASY คลิก https://eservice.mea.or.th/measy โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. เลือกเมนู "งานบริการอื่นๆ" 2. เลือกประเภทบริการที่ต้องการยื่นเรื่อง เป็น "เปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า" 3. เลือกบุคคลธรรมดา 4. กรอกข้อมูลส่วนบุคคล และระบุหมายเลขเครื่องวัด 5. แนบสำเนาเอกสารหลักฐาน ประกอบด้วย -สำเนาบัตรประชาชน หรือพาสปอร์ต ที่มีการรับรองสำเนาถูกต้อง -สำเนาทะเบียนบ้าน ที่มีการรับรองสำเนาถูกต้อง -เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ ที่มีการรับรองสำเนาถูกต้อง เช่น สัญญาซื้อขายบ้าน หรือ สัญญาเช่า หรือ หนังสือแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก เป็นต้น (กรณีไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเท่านั้น) 6. กรอกรหัส OTP 7. เสร็จสิ้นการเปลี่ยนชื่อ

นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ใช้ช่องทางออนไลน์ แต่ใช้ช่องทางการติดต่อผ่านการไฟฟ้านครหลวงเขตต่าง ๆ นั้นก็สามารถติดต่อได้สะดวก โดยยื่นหลักฐานแสดงตัวตน เช่น บัตรประชาชน หรือพาสปอร์ต ฯลฯ พร้อมเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น ทะเบียนบ้าน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า ฯลฯ หรือในกรณีมอบอำนาจ ต้องมีเอกสารเพิ่มเติมของผู้มอบอำนาจ เช่น สำเนาบัตรประชาชน หรือพาสปอร์ต ฯลฯ ที่มีการลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะสามารถเปลี่ยนชื่อได้สำเร็จ จะต้องยื่นเอกสารหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน รวมถึงต้องไม่มียอดค้างชำระ ซึ่งเมื่อเปลี่ยนชื่อในระบบแล้วเสร็จ MEA จะนัดหมายผู้ใช้ไฟฟ้าให้มายังที่ทำการไฟฟ้านครหลวงเขตใกล้เคียง เพื่อจัดทำ "สัญญาซื้อขายไฟฟ้า" รวมถึงรับชำระหลักประกันการใช้ไฟฟ้า (หากมี) จึงจะถือเป็นการดำเนินธุรกรรมที่เสร็จสมบูรณ์

ในกรณีการเปลี่ยนชื่อเจ้าของเครื่องวัดฯ ในประเภทที่จะต้องวางหลักประกันฯ ผู้ยื่นเรื่องสามารถใช้วิธีการโอนหลักประกันการใช้ไฟฟ้าจากเดิมที่มีอยู่ มาไว้ในชื่อผู้ใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนใหม่ได้ โดยการแนบเอกสาร "สำเนาใบเสร็จเงินประกันฯ" และ "หนังสือมอบอำนาจ" (กรณีเป็นผู้ยื่นเรื่องแทน)

สำหรับกลุ่มนิติบุคคล สามารถดำเนินการในขั้นตอนลักษณะใกล้เคียงกัน โดยจะต้องเลือกกรอกข้อมูล "นิติบุคคล" และใช้เอกสาร "หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่เกิน 1 เดือน " รวมถึงใช้ " สำเนาบัตรประชาชน ของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามตามที่หนังสือรับรองระบุ"

ในกรณีการยกเลิกชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถใช้เอกสารหลักฐานของผู้เป็นเจ้าของเครื่องวัดฯ ส่วนในกรณีการเปลี่ยนชื่อเจ้าของเครื่องวัดฯ สามารถใช้เอกสารหลักฐานของเจ้าของรายใหม่ โดยรายละเอียดดังกล่าวนี้ จะไม่รวมประเภท"ไฟฟ้าชั่วคราว" และ "งานจัดสรรและอาคารชุด"

ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลได้ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ของ MEA ได้แก่ Facebook : การไฟฟ้านครหลวงMEA, Line : MEA Connect, Twitter : @mea_news, Instagram : meafanclub และศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวง MEA Call Center 1130 ตลอด 24 ชั่วโมง