ข นธะว ม ต สะม งค ธรรมะ เร ยบเร ยง

บทสวดโพชฌังคปริตร เป็นคาถาพุทธมนต์เสริมสิริมงคล ที่นิยมสวดให้ตัวเอง รวมถึงสวดต่ออายุผู้ป่วย เพราะเชื่อว่าจะช่วยเสริมสร้างกำลังใจ และช่วยขจัดอาการป่วยไข้ (ตามเรื่องเล่าสมัยพุทธกาล) ทำให้คนส่วนใหญ่มักสวดคาถาโพชฌังคปริตร ในโอกาสสำคัญต่างๆ เช่น วันเกิด หรือวันปีใหม่ เนื่องจากบทสวดนี้ มีความหมายในการอำนวยอวยพรให้ผู้ฟังมีความสุขสวัสดี และ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บนั่นเอง

ประวัติบทสวดโพชฌังคปริตร มีความเป็นมาอย่างไร?

โพชฌังคปริตร หมายถึง "ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้" ถือเป็นหลักธรรมที่เปรียบดั่งพุทธมนต์ ที่ช่วยให้คนป่วยหายจากโรคภัยไข้เจ็บเมื่อได้ฟังบทสวดนี้

ประวัติความเป็นมาของบทสวดโพชฌังคปริตร มีเรื่องเล่าว่าในสมัยพุทธกาล "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" เสด็จไปเยี่ยม "พระมหากัสสปะ" และ "พระโมคคัลลานะ" ที่กำลังอาพาธ โดยพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมสัมโพชฌงค์ 7 ให้สดับรับฟัง ปรากฏว่าพระมหากัสสปะ และพระโมคคัลลานะ ก็หายจากอาการอาพาธ

นอกจากนี้ มีครั้งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าประชวร จึงตรัสให้พระจุนทะเถระแสดงธรรมโพชฌงค์ 7 ซึ่งต่อมาพระพุทธเจ้าก็ทรงหายจากอาการประชวรเช่นเดียวกัน

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงมีความเชื่อว่าหลักธรรมสัมโพชฌงค์ 7 เป็นธรรมชั้นสูงด้านปัญญา ที่ช่วยให้ปัญญาผ่องใส ช่วยเยียวยาจิตใจที่มีความเชื่อมโยงกับร่างกายได้ ทำให้มีบทสวดที่เรียกว่า "โพชฌังคปริตร" มักนิยมสวดเป็นพุทธมนต์แก่คนป่วย รวมถึงนำมาสวดในวาระสำคัญต่างๆ

สำหรับ สัมโพชฌงค์ 7 ซึ่งเป็นธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ มี 7 ประการ ดังนี้ 1. สติ : ความระลึกได้ 2. ธัมวิจยะ : การสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม 3. วิริยะ : ความเพียร 4. ปีติ : ความอิ่มเอมใจ 5. ปัสสัทธิ : ความสงบกายใจ 6. สมาธิ : ความตั้งใจมุ่งมั่น 7. อุเบกขา : ความวางใจเป็นกลาง

ข นธะว ม ต สะม งค ธรรมะ เร ยบเร ยง

บทสวดโพชฌังคปริตร ฉบับเต็ม พร้อมคำแปล

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา วิริยัมปีติปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร สะมาธุเปกขะโพชฌังคา สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา ภาวิตา พะหุลีกะตา สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ

เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ เต จะ ตัง อะภินันทิตวาโรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ

เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตวานะ สาทะรัง สัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ

ปะหินา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง มัคคาหะตะกิเลสา วะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ

ข นธะว ม ต สะม งค ธรรมะ เร ยบเร ยง

บทสวดโพชฌังคปริตร คำแปลภาษาไทย

โพชฌงค์ 7 ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์

7 ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวง ตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ

ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสปะเป็นไข้ ได้รับความลำบาก จึงทรงแสดงโพชฌงค์ 7 ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง

ท่านทั้งสองนั้น ชื่นชมยินดียิ่ง ซึ่งโพชฌงคธรรม ก็หายโรคได้ในบัดดล ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ

ในครั้งหนึ่ง องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประชวรเป็นไข้หนัก รับสั่งให้พระจุนทะเถระ กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่นแล ถวายโดยเคารพ ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน

ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งสามองค์นั้น หายแล้วไม่กลับเป็นอีก ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา

ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ

หลังจากจบบทสวดโพชฌังคปริตร ให้ทำจิตใจให้เป็นสมาธิ เจริญสติปัญญา เชื่อว่าจะช่วยปัดเป่าความทุกข์กายไม่สบายใจ พร้อมอำนวยพรอันเป็นมงคลสุขสวัสดีให้ทั้งแก่ผู้สวด และผู้รับฟังคาถาแห่งธรรมดังกล่าว

บทสวดพาหุงมหากา นิยมสวดกันเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงเช้าและก่อนนอน เชื่อว่าการสวดบทนี้เป็นประจำจะทำให้ผู้สวดมีชัยชนะเหนืออุปสรรคและศัตรู ช่วยให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง มีความสุข และเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว

ในพระพุทธศาสนามีหลักธรรมมากมาย ที่คอยชี้แนะข้อปฏิบัติดี และปฏิบัติชอบ สำหรับการดำเนินชีวิตให้ "มงคล 38" ก็ถือเป็นหลักธรรมมงคลยิ่ง ที่หากเรียนรู้ และนำมายึดถือปฏิบัติแล้ว จะนำมาซึ่งความสำเร็จ และความเจริญในชีวิต

ความหมายของมงคล 38 ภาษาบาลี พร้อมคำแปล มีอะไรบ้าง?

มงคล 38 คือ มูลเหตุแห่งความสุข จำนวน 38 ข้อ ที่ช่วยส่งเสริมความสุข และความก้าวหน้า ทำให้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "มงคลชีวิต 38" ซึ่งไม่ใช่แนวคิดที่พึ่งพาปาฏิหาริย์แต่อย่างใด ทว่าเป็นหลักปฏิบัติง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน

ส่วนที่มาของมงคล 38 เล่าสืบต่อกันว่าสมัยพุทธกาล ชาวเมืองต่างพากันพูดคุยว่า "สิ่งใดที่ทำให้ชีวิตเป็นมงคล?" แม้แต่เทวดาก็สนทนากันถึงประเด็นนี้ แต่ไม่มีใครสามารถอธิบายได้ว่า คุณธรรมข้อใดที่จะทำให้ชีวิตเป็นมงคล

เทวดาองค์หนึ่งจึงเดินทางไปทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้แสดงหลักธรรมอันเป็นมงคล ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการยึดติดวัตถุใดๆ แต่เป็นการยึดถือปฏิบัติตนเองตามทำนองคลองธรรม อันประกอบด้วย ข้อปฏิบัติมงคลจำนวน 38 ประการ ดังนี้

1. การไม่คบคนพาล บาลี : อเสวนา จ พาลานํ (อะเสวะนา จะ พาลานัง) ความหมาย : ไม่คบผู้ที่ชักจูงไปในทางที่ผิด และโง่เขลาเบาปัญญา เพราะมีแต่จะทำให้ชีวิตเสื่อม

2. การคบบัญฑิต บาลี : ปณฑิตานญฺจ เสวนา (ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา) ความหมาย : คบผู้มีความรู้ ความคิดที่ดี การปฏิบัติตนที่ดี เพื่อจะได้รับการชี้แนะแต่เรื่องอันเป็นมงคล

ข นธะว ม ต สะม งค ธรรมะ เร ยบเร ยง

3. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา บาลี : ปูชา จ ปูชนียานํ (ปูชา จะ ปูชะนียานัง) ความหมาย : การเชิดชูผู้ประพฤติดี และผู้มีพระคุณ เป็นการลดทิฐิของตนเอง ไม่สักการบูชาในสิ่งที่ไม่เป็นมงคล

4. การอยู่ในถิ่นอันสมควร บาลี : ปฏิรูปเทสวาโส จ (ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ) ความหมาย : พาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี แวดล้อมไปด้วยบัณฑิตทั้งทางโลก และทางธรรม

5. การเคยทำบุญมาก่อน บาลี : ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา (ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา) ความหมาย : ฝึกชำระล้างจิตใจ สั่งสมอานิสงส์ ความดี ความสุข ทุกการกระทำส่งผลต่อปัจจุบันและอนาคต

6. การตั้งตนชอบ บาลี : อตฺตสมฺมาปณิธิ จ (อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ) ความหมาย : วางตนอย่างเหมาะสมในการดำรงชีพ และประกอบสัมมาอาชีพ

7. ความเป็นพหูสูต บาลี : พาหุสจฺจญฺจ (พาหุสัจจัญจะ) ความหมาย : เป็นผู้ที่สดับรับฟังมาก จึงมีความรู้ มีปัญญา ในการคิดแก้ปัญหาต่างๆ อย่างถูกวิธี

8. การรอบรู้ในศิลปะ บาลี : สิปฺปญฺจ (สิปปัญจะ) ความหมาย : มีความรู้ในการใช้มือปฏิบัติการงานต่างๆ สามารถประกอบวิชาชีพได้ ชีวิตไม่อับจน

9. การมีวินัยที่ดี บาลี : วินโย จ สุสิกฺขิโต (วินะโย จะ สุสิกขิโต) ความหมาย : ปฏิบัติตนตามระเบียบ และกฎเกณฑ์ของสังคม ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น

10. การกล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต บาลี : สุภาสิตา จ ยา วาจา (สุภาสิตา จะ ยา วาจา) ความหมาย : พูดดี ไม่เหลวไหล เปล่งวาจาอันเป็นมงคล ทั้งทางโลกและทางธรรม

11. การบำรุงบิดามารดา บาลี : มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ (มาตาปิตุอุปัฏฐานัง) ความหมาย : เลี้ยงดูบิดา มารดา กล่าวยกย่องสรรเสริญผู้มีพระคุณ เป็นมงคลชีวิตที่ทำให้เจริญก้าวหน้า

12. การสงเคราะห์บุตร บาลี : ปุตฺตสงฺคโห (ปุตตะสังคะโห) แยกมาจาก ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห (ปุตตะทารัสสะ สังคะโห) ความหมาย : เลี้ยงดูบุตรให้ได้รับการอบรมสั่งสอนที่ดี ได้รับการศึกษา บำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม

13. การสงเคราะห์ภรรยา บาลี : ทารสงฺคโห (ทาระสังคะโห) ความหมาย : เลี้ยงดูภรรยาให้ดี กล่าวยกย่อง ไม่ดูหมิ่น สร้างความมั่นคงให้ครอบครัว

ข นธะว ม ต สะม งค ธรรมะ เร ยบเร ยง

14. การทำงานไม่ให้คั่งค้าง บาลี : อนากุลา จ กมฺมนฺตา (อะนากุลา จะ กัมมันตา) ความหมาย : ทำงานทั้งทางโลก และทางธรรมให้สำเร็จสมบูรณ์ ไม่เห็นแก่ตัว และประโยชน์ส่วนตน

15. การให้ทาน บาลี : ทานญฺจ (ทานัญจะ) ความหมาย : ฝึกจิตให้เป็นผู้มีความเสียสละ ลดความเห็นแก่ตัว ไม่ทุจริตในสิ่งของที่ไม่ชอบธรรม

16. การประพฤติธรรม บาลี : ธมฺมจริยา จ (ธัมมะจะริยา จะ) ความหมาย : ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ยกระดับจิตใจให้สูงด้วยศีล และธรรมะ

17. การสงเคราะห์ญาติ บาลี : ญาตกานญฺจ สงฺคโห (ญาตะกา นัญจะ สังคะโห) ความหมาย : ให้ความช่วยเหลือญาติพี่น้องตามกำลัง สงเคราะห์ญาติเมื่อเดือดร้อน

18. การทำงานที่ไม่มีโทษ บาลี : อนวชฺชานิ กมฺมานิ (อะนะวัชชานิ กัมมานิ) ความหมาย : ทำงานหาเลี้ยงตน โดยต้องเป็นงานที่ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดประเพณี และศีลธรรมอันดี

19. การละเว้นจากบาป บาลี : อารตี วิรตี ปาปา (อาระตี วิระตี ปาปา) ความหมาย : บาปคือสิ่งที่ไม่ดี ไม่เป็นมงคล ทำแล้วรู้สึกไม่สบายใจ สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น

20. สำรวมจากการดื่มน้ำเมา บาลี : มชฺชปานา จ สญฺญโม (มัชชะปานา จะ สัญญะโม) ความหมาย : ดื่มของมึนเมาแล้วไม่สามารถควบคุมตนได้ ย่อมนำมาซึ่งการเสียทรัพย์ เสียสติสัมปชัญญะ

21. การไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย บาลี : อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ (อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ) ความหมาย : เป็นผู้มีสติพร้อม ไม่ประมาท ไม่หุนหันพลันแล่น ปฏิบัติตนในทางที่ดี

22. การมีความเคารพ บาลี : คารโว จ (คาระโว จะ) ความหมาย : ให้ความเคารพในบุคคลที่ควรแก่การเคารพ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ผู้คนจะสรรเสริญ

ข นธะว ม ต สะม งค ธรรมะ เร ยบเร ยง

23. การมีความถ่อมตน บาลี : นิวาโต จ (นิวาโต จะ) ความหมาย : มีมารยาท สงบเสงี่ยม ไม่หยิ่งผยองตน จะทำให้ไม่เสียคน และไม่เสียมิตร

24. การมีความสันโดษ บาลี : สนฺตุฏฺฐี จ (สันตุฏฺะฐี จะ) ความหมาย : พึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมี ไม่น้อยเนื้อต่ำใจ ยินดีตามกำลังทรัพย์ของตน

25. การมีความกตัญญู บาลี : กตญฺญุตา (กะตัญญุตา) ความหมาย : เป็นผู้รู้คุณ รู้จักตอบแทนบุญคุณผู้ที่มีพระคุณ และมีผู้ที่เมตตาในยามเดือดร้อน

26. การฟังธรรมตามกาล บาลี : กาเลน ธมฺมสฺสวนํ (กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง) ความหมาย : เมื่อมีโอกาสให้ฟังธรรมะ คิดทบทวนถึงประโยชน์แห่งหลักธรรม แล้วนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

27. การมีความอดทน บาลี : ขนฺตี จ (ขันตี จะ) ความหมาย : เป็นผู้มีความอดทนต่อความยากลำบาก และอดทนต่อกิเลส และความโลภ

28. การเป็นผู้ว่าง่าย บาลี : โสวจสฺสตา (โสวะจัสสะตา) ความหมาย : เป็นคนที่ว่านอนสอนง่าย ไม่ทำตัวกลบเกลื่อนความผิดของตน พร้อมปรับปรุงตัว

29. การได้เห็นสมณะ บาลี : สมณานญฺจ ทสฺสนํ (สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง) ความหมาย : สำหรับผู้ที่อยู่ในสมณเพศ ต้องเป็นผู้ที่สงบกาย วาจา และใจ

30. การสนทนาธรรมตามกาล บาลี : กาเลน ธมฺมสากจฺฉา (กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา) ความหมาย : แลกเปลี่ยนสาระความรู้กับผู้อื่น พูดด้วยวาจาที่ไม่โอ้อวด และมีความรู้จริงในสิ่งที่พูด

ข นธะว ม ต สะม งค ธรรมะ เร ยบเร ยง

31. การบำเพ็ญตบะ บาลี : ตโป จ (ตะโป จะ) ตบะ ความหมาย : ฝึกปฏิบัติตนให้กิเลสหมดไป สำรวมกายใจ ไม่ยึดติดในสัมผัสภายในนอกเกินไป

32. การประพฤติพรหมจรรย์ บาลี : พฺรหฺมจริยญฺจ (พรัหมะจะริยัญจะ) ความหมาย : ผู้บวชให้ละเว้นจากการเสพเมถุน ส่วนฆราวาสให้ยึดปฏิบัติโดยการให้ทาน ช่วยเหลือผู้อื่นตามสมควร และรักษาศีล

33. การเห็นอริยสัจ บาลี : อริยสจฺจานทสฺสน (อะริยะสัจจานะทัสสะนะ) ความหมาย : เห็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ อริยสัจ 4 อันเป็นมูลเหตุแห่งการเกิดทุกข์ และวิธีทำให้ทุกข์หมดไป

34. การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน บาลี : นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ (นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ) ความหมาย : ปฏิบัติตน ใช้หลักธรรมดับทุกข์ และความไม่สบายใจ ระลึกถึงคุณแห่งพระนิพพาน

35. การมีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม บาลี : ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปต (ผุฏฺฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะตะ) ความหมาย : ฝึกจิตใจตนให้ไม่หลงในลาภ ยศ และการสรรเสริญเยินยอ

36. การมีจิตไม่เศร้าโศก บาลี : อโสกํ (อะโสกัง) ความหมาย : การพลัดพรากเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต ใช้ปัญญาพิจารณาความเศร้า และความอาลัยอาวรณ์

37. การมีจิตปราศจากกิเลส บาลี : วิรชํ (วิระชัง) ความหมาย : ฝึกปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากกิเลส และสิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง

38. การมีจิตเกษม บาลี : เขมํ (เขมัง) ความหมาย : รักษาไว้ซึ่งสภาพที่มีจิตใจเป็นสุข ละแล้วซึ่งกิเลส ไม่ยินดีในวัตถุ ในภพ ในอวิชชาทั้งหลาย

มงคล 38 เป็นหลักปฏิบัติที่เรียบง่าย สามารถปฏิบัติตามหลักอันเป็นมงคลชีวิตได้ด้วยตัวเอง หากพิจารณามงคล 38 ประการแล้ว จะเห็นว่า ทุกข้อล้วนเกี่ยวข้องกับการฝึกปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อมิตร ครอบครัว และสังคม ซึ่งเป็นหลักธรรมเบื้องต้นที่สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ รวมถึงผู้ที่ปฏิบัติธรรมก็สามารถยึดมงคลชีวิต 38 ในการฝึกตนเองได้อีกด้วย