ผ าอนาม ยแบบสอด ม ว นหมดอาย ม ย

ภาวะช่องคลอดแห้ง (Vaginal Dryness) เกิดขึ้นเมื่อเมือกหล่อลื่นภายในช่องคลอดลดน้อยลง ส่งผลให้เยื่อบุช่องคลอดแห้งกร้าน ขาดความชุ่มชื้น จนอาจทำให้มีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ สาเหตุหลักมาจากการที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนบริเวณเนื้อเยื่อช่องคลอดลดลงเนื่องจากเข้าสู่ภาวะวัยทอง แต่ก็สามารถพบได้ในผู้หญิงทุกวัยที่อยู่ในภาวะขาดเอสโตรเจน

อาการของภาวะช่องคลอดแห้ง

ผู้มีภาวะช่องคลอดแห้งอาจเกิดอาการตลอดเวลา หรือบางรายอาจมีอาการเป็นระยะหรือเฉพาะในขณะมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น โดยอาการที่พบคือ ระคายเคือง คัน รวมถึงแสบร้อนบริเวณช่องคลอด แสบขัดขณะปัสสาวะ อาจมีปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเล็ด หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ช่องคลอดอักเสบ มีปัญหาตกขาวบ่อยๆ เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ บางรายอาจมีความต้องการทางเพศลดลง หรือถึงจุดสุดยอดได้ยากขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นหากช่องคลอดแห้ง

แม้ช่องคลอดแห้งมักไม่ค่อยพบอาการแทรกซ้อนร้ายแรง แต่เนื่องจากขาดเมือกหล่อลื่น ทำให้ผนังช่องคลอดระคายเคืองและเกิดแผลบ่อย จึงทำให้มีความเสี่ยงติดแบคทีเรียหรือเชื้อราในบริเวณช่องคลอดง่ายขึ้น รวมถึงการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอีกด้วย

นอกจากนี้ภาวะช่องคลอดแห้งทำให้รู้สึกเจ็บแสบเมื่อมีเพศสัมพันธ์ จนอาจกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างคู่ครอง และต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

สาเหตุของภาวะช่องคลอดแห้ง

  • ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดลงตามวัย
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงจากผลข้างเคียงของยา เช่น ยารักษาโรคความดันเลือดสูง ยารักษาโรคทางจิตเวช ยารักษาโรคภูมิแพ้ รวมถึงเคมีบำบัดในการรักษามะเร็ง
  • การฉีดยาเพื่อลดขนาดก้อนเนื้องอกมดลูกก่อนการผ่าตัด อาจส่งผลให้ช่องคลอดแห้งได้
  • ภาวะช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
  • ความต้องการทางเพศต่ำ หรือมีปัญหาทางเพศอื่นๆ อาจส่งผลให้ทำเกิดภาวะช่องคลอดแห้ง ในทางกลับกัน ภาวะช่องคลอดแห้งก็อาจทำให้ความต้องการทางเพศลดลงได้เช่นกัน
  • อาการระคายเคืองช่องคลอดเนื่องจากแพ้สบู่หรือน้ำยาทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น รวมถึงแพ้แผ่นอนามัย และกางเกงใน
  • การสวนล้างช่องคลอดบ่อยๆ ทำให้ช่องคลอดเสียความเป็นกรดและแห้ง
  • เกิดผื่นผิวหนังบริเวณปากช่องคลอดและช่องคลอด

วิธีดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันหรือลดปัญหาช่องคลอดแห้ง มีหลายวิธี คือ ควรรับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยเฉพาะถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ซึ่งมีสารไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ออกฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้นให้ช่องคลอด ใช้เจลหล่อลื่นขณะมีเพศสัมพันธ์ เลี่ยงการใช้สบู่หรือน้ำยาทำความสะอาดช่องคลอด ควรล้างช่องคลอดให้สะอาดด้วยน้ำธรรมดา ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ไม่สวนล้างช่องคลอด ต้องดูแลความสะอาดของกางเกงใน หากใช้แผ่นอนามัยควรเปลี่ยนบ่อยๆ ไม่ปล่อยให้หมักหมมหรืออับชื้น หากพบผื่นหรือสิ่งผิดปกติบริเวณช่องคลอด ควรปรึกษาแพทย์ อย่าอายหรือปล่อยทิ้งไว้จนเรื้อรัง

การเพิ่มกิจกรรมทางเพศด้วยความรักและภาษากาย กระตุ้นให้มีน้ำหล่อลื่นออกมาให้ช่องคลอดชุ่มชื้นขึ้น ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดปัญหาได้ รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารโนน็อกซินอล 9 (Nonoxynol-9) ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะช่องคลอดแห้ง

สุดท้าย การตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ การตรวจภายในเพื่อดูความผิดปกติของผนังช่องคลอด รวมถึงการตรวจระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน จะช่วยป้องกันภาวะพร่องฮอร์โมนได้

การรักษาภาวะช่องคลอดแห้ง

ทำได้หลายวิธีคือ

  • ใช้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน เหมาะสำหรับผู้มีภาวะวัยทอง
  • ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทาในช่องคลอด ซึ่งพบว่าได้ผลดีทั้งชนิดเม็ด ครีม รวมถึงยาสำหรับสอดช่องคลอด ทั้งนี้การใช้ยาควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ โดยเฉพาะผู้มีปัญหาการใช้ฮอร์โมน เนื่องจากการใช้ยาจะทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในกระแสเลือดเพิ่มด้วย
  • ใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้น (Moisturizer) ช่วยปกป้องและเคลือบผนังช่องคลอดให้ชุ่มชื้น ซึ่งมีทั้งแบบเป็นน้ำ เจล หรือเม็ดสอดช่องคลอด เนื่องจากไม่มีฮอร์โมนจึงไม่มีผลต่อร่างกาย จึงสามารถใช้ได้เป็นระยะเวลานาน
  • ใช้เจลหล่อลื่น สำหรับผู้มีปัญหาเฉพาะกรณีเจ็บแสบขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยทาบริเวณช่องคลอด หรืออวัยวะเพศชาย

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยทอง นอกจากปัญหาทางใจทางอารมณ์ที่ส่งผลให้ผู้หญิงหลายคนหงุดหงิดหรือเก็บกด ซึมเศร้าแล้ว วัยทองยังมีผลกับร่างกายหลายอย่าง ภาวะช่องคลอดแห้งก็เป็นหนึ่งในปัญหาที่กวนใจคนวัยทอง การเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงด้วยความรู้ความเข้าใจใน การปรึกษาแพทย์ หรือตรวจสุขภาพประจำปี รวมถึงตรวจภายในจะช่วยลดผลกระทบทั้งของตัวเองและชีวิตคู่ได้เป็นอย่างดี

เชื่อหรือไม่ว่ายังมีสาวๆ หลายท่านที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับความเชื่อระหว่างวันนั้นของเดือน ไม่จำเป็นต้องเป็นวัยแรกแย้มที่เพิ่งเริ่มมีประจำเดือน เพราะสาวๆ ที่ผ่านการมีประจำเดือนมาหลายต่อหลายครั้ง ก็ยังเข้าใจผิดในหลายๆ เหตุการณ์ ดังนั้น เราจึงหาคำตอบมาฝาก สำหรับข้อห้ามทั้งหลายในช่วงมีประจำเดือน ว่าแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร ห้ามลงไปว่ายน้ำในช่วงมีประจำเดือนเป็นอันขาด ถ้าคุณอยากว่ายน้ำในช่วงมีประจำเดือนสามารถทำได้ ด้วยการเปลี่ยนมาใช้ผ้าอนามัยแบบสอดแทน ซึ่งผ้าอนามัยแบบสอดจะคอยซึมซับเลือดที่ไหลออกมา โดยควรจะเปลี่ยนก่อนลงเล่นน้ำ และเมื่อคุณเล่นน้ำจนสบายอกสบายใจแล้วก็ควรเปลี่ยนทันที หรือไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานเกิน 8 ชั่วโมง แต่ไม่ควรลงเล่นน้ำช่วงวันนั้นของเดือนโดยไม่ใส่ผ้าอนามัยแบบสอด เพื่อสุขอนามัยของตัวคุณเอง และผู้อื่นที่ร่วมเล่นน้ำกับคุณด้วย แม้จะเคยได้ยินกันมาว่า แรงดันน้ำจะช่วยให้เลือดประจำเดือนไม่ไหลออก แต่ความจริงคือเป็นไปไม่ได้เกือบทั้งหมด จริงหรือไม่? มีประจำเดือนห้ามดื่มน้ำเย็น เรื่องนี้ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์เข้ามายืนยันว่าเป็นเรื่องต้องห้าม หากวันนั้นของเดือนคุณเผลอดื่มน้ำเย็นก็ไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรง เป็นเพียงความเชื่อที่บอกต่อๆ กันมา ประกอบกับช่วงมีประจำเดือนร่างกายเราเกิดการเสียเลือด สาวๆ บางรายอาจรู้สึกไม่สบายตัวคล้ายเป็นไข้ หากดื่มน้ำเย็น หรือรับประทานอาหารเย็นๆ อาจจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเจ็บป่วย จึงแนะนำให้ดื่มน้ำอุ่น เพราะเครื่องดื่มอุ่นๆ จะช่วยให้ผ่อนคลาย และลดอาภาวะตึงเครียดได้ด้วย

ผ าอนาม ยแบบสอด ม ว นหมดอาย ม ย
เวลามีประจำเดือน ห้ามอาบน้ำเย็น ต้องอาบน้ำอุ่นเท่านั้น ข้อห้ามนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันเช่นกัน ซึ่งไม่ต่างไปจากห้ามดื่มน้ำเย็น การอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ รวมถึงหมั่นเปลี่ยนแผ่นอนามัยบ่อยๆ เพื่อลดการหมักหมมของเชื้อโรค สำหรับการอาบน้ำ สามารถอาบได้ทั้งน้ำเย็น และน้ำอุ่น เพียงแต่การอาบน้ำเย็นอุณหภูมิต่ำๆ หรือเย็นจนเกินไปในช่วงเวลาที่ร่างเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ร่างกายอาจปรับตัวไม่ทัน จนเสี่ยงต่อการป่วยไข้ อีกทั้งการอาบน้ำอุ่นสามารถช่วยคลายความเมื่อยล้าที่เผชิญมาตลอดทั้งวันได้ อย่างที่ทราบกันดีว่าระหว่างมีประจำเดือนคุณสาวๆ จะรู้สึกปวดท้อง ปวดขา ปวดหลัง การเลือกอาบน้ำอุ่นจึงเป็นทางเลือกที่ช่วยให้สบายตัวขึ้น

ห้ามมีเพศสัมพันธ์ในเวลามีประจำเดือน แนะนำว่าไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากกว่าปกติถึง 3 เท่า ความเสี่ยงที่ว่านี้คือในระหว่างที่มีประจำเดือน ปากมดลูกจะเปิดออกให้เลือดประจำเดือนไหลได้สะดวก ขณะเดียวกันเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด และแบคทีเรียที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์จะเข้าสู่ร่ากายได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ธาตุเหล็กที่มีอยู่ในเลือดประจำเดือนจะเป็นตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อโรคหนองในได้เร็วขึ้น และการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่าย จนอาจนำไปสู่การติดเชื้อที่ลุกลาม และรุนแรง

อีกหนึ่งปัจจัยห้ามฝ่าไฟแดงคือ ในช่วงมีประจำเดือนภูมิต้านทานเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสในร่างกายจะทำงานแย่ลง ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของเราจะมีปฏิกิริยาอัตโนมัติทันทีที่ได้รับเชื้อโรค และจะทำการป้องกัน แต่เมื่อเกราะป้องกันทำงานไม่เต็มที่ เชื้อโรคเหล่านี้ก็จะสามารถหลุดรอดเข้าสู่ร่างกายเราได้ง่าย

ห้ามออกกำลังกายในวันที่มีประจำเดือน เป็นที่ทราบกันดีว่าการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และสม่ำเสมอจะช่วยทำให้สุขภาพเราดีขึ้น และลดอาการปอดท้องในระหว่างมีประจำเดือนในแต่ละเดือนได้ แต่ในขณะเดียวกัน ในวันที่มีประจำเดือน แนะนำให้ลดระดับการออกกำลังกายลง ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหนักเพื่อให้เลือดไหลเวียนสะดวก และไม่เหนื่อยจนเกินไป เพราะการที่หัวใจเต้นเร็วจะเป็นตัวเร่งให้ปริมาณประจำเดือนออกมามากขึ้น รู้สึกอ่อนเพลียได้ง่าย และไม่ควรเลือกออกกำลังกายด้วยวิธีการว่ายน้ำ