พระแผงต ดพ มท ต างๆกร พระบรมธาต นาด ม

ด้วยความศรัทธาอย่างแรกกล้าของเราชาวเสือซิง ซิง อุบลราชธานี ซึ่งเคยตั้งเป้าหมายวันเดียวปั่นไหว้พระธาตุพนมในวันมาฆบูชา แต่ครั้งนี้เข้าพรรษาปั่น 220 กิโลเมตร ไหว้พระธาตุนาดูนอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นปีแรก จึงขอเชิญชวนพี่น้องที่ศรัทธาเข้าร่วมปั่น 220 กม/วัน จากชมรมเสือซิง ซิง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ถึง บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

Show

    ไฟล์แนบ 086[1].jpg (75.37 KiB) เข้าดูแล้ว 426 ครั้ง

    พระแผงต ดพ มท ต างๆกร พระบรมธาต นาด ม

    mr.paijit ขาประจำ โพสต์: 434 ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 07:38

    โดย mr.paijit » 07 ต.ค. 2012, 18:40

    ออกจากอุบลตามเส้นทางหมายเลข 23 ถึงอำเภอเมืองยโสธร เลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอสุวรรณภูมิถนนหมายเลข 202 ผ่านอำเภอเกษตรวิสัย อำเภอปทุมรัตน์ เลี้ยวขวามเข้าอำเภอนาดูนตามถนนหมายเลข 2045

    ไฟล์แนบ %20-_1~1 (Small).JPG (30.92 KiB) เข้าดูแล้ว 826 ครั้ง IMG_8296 (Small) (Small).jpg (25.72 KiB) เข้าดูแล้ว 826 ครั้ง

    แก้ไขล่าสุดโดย mr.paijit เมื่อ 07 ต.ค. 2012, 18:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

    พระแผงต ดพ มท ต างๆกร พระบรมธาต นาด ม

    mr.paijit ขาประจำ โพสต์: 434 ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 07:38

    โดย mr.paijit » 07 ต.ค. 2012, 18:48

    ด้วยแรงศรัทธาเราจะฝ่าฟันอุปสรรคทั้งทางร่างกาย จิตใจ หน้าที่การงาน และครอบครัว ไปให้ถึงภายใน 1 วัน จะกี่ชั่งโมงก็แล้วแต่ แต่จะไปให้ถึง หากปั่นเฉลี่ย 20 กม/ชม ก็ประมาณ 10 ชั่วโมง บวกกับพักอีก 2 ชั่วโมง รวมแล้วประมาณ 12 - 13 ชั่วโมง

    ไฟล์แนบ IMG_8103 (Small) (Small).jpg (31.63 KiB) เข้าดูแล้ว 825 ครั้ง

    พระแผงต ดพ มท ต างๆกร พระบรมธาต นาด ม

    mr.paijit ขาประจำ โพสต์: 434 ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 07:38

    โดย mr.paijit » 07 ต.ค. 2012, 18:54

    ประวัติความเป็นมาของเมืองนครจัมปาศรี นครจัมปาศรีมีประวัติอันยาวนานนับเป็นพันปี และได้ถูกเลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ จะเนื่องจากวิกฤตการณ ์หรือเหตุผล ใดก็ ไม่อาจจะทราบได้ จะอย่างไรก็ตามก็ยังมีเค้าเงื่อนพอที่จะสอบค้นได้บ้างจากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ โดยเฉพาะอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นที่ตั้งนครจัมปาศรี มีโบราณสถานหลายแห่ง และมีโบราณวัตถุหลากหลายชนิด สามารถสอบค้นและเปรียบเทียบอายุสมัยลักษณะเผ่าพันธุ์ ตลอดจนการดำรงชีพ ขนบธรรมเนียมประเพณีของบรรพชนในถิ่นแถบนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นตำราเอกสารอื่นๆ พอที่จะอ้างอิงเทียบเคียงได้ด้วย

    จากข้อสันนิษฐานของ อาจารย์สมชาย ลำดวน ภาควิชาภาไทย และภาษาตะวันออก คณะมนุนยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒมหาสารคาม (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ) สันนิษฐานได้ว่า วัดนครจัมปาศรีมีความเจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุค ด้วยกันคือ

    1. ยุคทวารวดี ระหว่าง พ.ศ.1000-1200 2. ยุคลพบุรี ระหว่าง พ.ศ. 1600-1800 นครจัมปาศรีสมัยทวารวดีมีหลักฐานชี้นำให้เห็นเด่นชัดคือ

    1. หลักฐานจากพระพิมพ์ดินเผาที่ขุดพบจากกรุต่างๆ ในเขตพื้นที่นครจัมปาศรี ทางด้านมนุษยวิทยาทางกายภาพ จะเห็นว่าลักษณะพระพักต์และพระวรกายของพระพิมพ์ เป็นชนพื้นเมืองสยามโบราณฉะนั้นคนที่เราอาศัยอยู่ในนครจัมปาศรีจึงเป็นเชื้อชาติสยามพื้นเมืองดึกดำบรรพ์ นอกจากนั้นยังสังเกตุพระพุทธศิลป์ร่วมสมัยกับพระพิมพ์ แบบพระประถมทำขึ้นประมาณ พ.ศ. 950-1250 โดยจารึกอักษรคฤนต์ หรืออักษรขอมโบราณไว้ด้วยพระพิมพ์ดินเผานาดูนปางประทานพรหรือปางทรงแสดงธรรมบางองค์ที่ ขุดพบที่กรุพระธาตุก็มีอักษรคฤนถ์ทั้งขีดและเขียนด้วยสีแดงจารึกไว้บนแผ่นหลังของพระพิมพ์เหมือนกัน อาจารย์สทชาย ลำดวน ได้เรียนถาม ศจ.ดร.จิตร บัวบุศย์ ราชบัณฑิตสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเพาะช่าง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คระมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) เกี่ยวกับอายุนครจัมปาศรี ว่ามีอายุเก่าแก่แค่ไหน ได้รับคำตอบว่า " อันนี้เราต้องเทียนจากศิลปะอินเดีย ก็เริ่มจากคุปตเริ่มแรก สำหรับที่นครจัมปาศรีจะมีอายุระหว่าง 900 ถึง 1800 "

    2. หลักฐานทางสถูปเจดีย์ ศจ.ดร.จิตร บัวบุศย์ กล่าวว่าเจดีย์ส่วนใหญ่ฐานนั้นจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมจัตุรัสนั้นมาจากฐานอุบลมณฑล ซึ่งเป็นต้นแบบนิยมสร้าง กัน ในสมัยคลื่นที่ 3 ของพระพุทธศาสนา ( รุ่งเรืองอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ถึง 13 ) ที่เข้าสู่ประเทศสยามและนครจัมปาศรีก็ได้รับอิทธฺพลศิลปวัฒนธรรมในคลื่นนี้ด้วย

    ไฟล์แนบ SAM_1608%20(Small).JPG (35.37 KiB) เข้าดูแล้ว 824 ครั้ง

    พระแผงต ดพ มท ต างๆกร พระบรมธาต นาด ม

    mr.paijit ขาประจำ โพสต์: 434 ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 07:38

    โดย mr.paijit » 07 ต.ค. 2012, 18:55

    นครจัมปาศรีเจริญรุ่งเรืองในสมัยลพบุรี ซึ่งมีหลักฐานยืนยัน ดังนี้ 1. หลักศิลาจารึก 14 บรรทัดที่ขุดพบที่ศาลานางขาว ในเขตนครจัมปาศรี ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ขอนแก่น 2. ศิลปะวัตถุต่างๆ ทั้งสมบูรณ์และแตกหักที่ขุดพบและแตกกระจายในเขตนครจัมปาศรี เช่น พระวัชรธร พระอิศวร พระนารายณ์ เศียร พระกร และอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก 3. โบราณสถาน เช่น กู่สันตรัตน์ กู่น้อย และศาลานางขาว

    หลักศิลาจารึก ศิลปวัตถุ และโบราณสถานเหล่านี้ล้วนเป็นศิลปกรรมของขอมสมัยลพบุรีทั้งสิ้น เช่นกู่สันตรัตน์ กู่น้อย ซึ่งเป็นศิลปะแบบบายน (ศิลปแบบบายน พ.ศ. 1724-ราว พ.ศ. 1780) ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายของขอมข้อมูลและหลักฐานเหล่านี้ชี้ได้ชัดเจนว่า นครจัมปาศรีได้เจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุค ดังที่กล่าวแล้ว พระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ ศูนย์วัมนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัยจังหวัดมหาสารคาม ได้เขียนประวัตินครจัมปาศรีไว้ในหนังสือที่ระลึก เนื่องในงาน ทอดกฐินพระราชทานของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ( มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ) มีข้อความว่า" ในปี พ.ศ. 2492 ท่านเจ้าคุณได้เดินทางไปร่วมฉลองวัด หนองทุ่ม ตำบลนาดูน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ( ตำบลนาดูนเมื่อก่อนขึ้นกับอำเภอวาปีปทุม ปัจจุบันเป็นอำเภอนาดูน ) ได้มีโยมผู้เฒ่าบ้านสระบัว อายุประมาณ 80 ปี ได้ไปร่วมฉลองวัดหนองทุ่มด้วย และได้นำหนังสือก้อม ( หนังสือใบลานขนาดสั้น ) ประวัตินครจัมปาสรี กู่สันตรัตน์ ถวายท่านเจ้าคุณ เมื่อท่านเจ้าคุณได้อ่านหนังสือก้อมแล้ว จึงได้มอบถวายพระครูอนุรักษ์บุญเกต ( เสาโสรโต )

    ซึ่งเป็นเจ้าคณะตำบลนาดูนและเป็นผู้สร้างวัดหนองทุ่ม ต่อมาพระครูอนุรักษ์บุญเขตได้มรณะภาพในปี พ.ศ. 2498 หนังสือก้อมดังกล่าวได้สูญหายไปไม่สามารถจะค้นพบได้จะอย่างไรก็ตาม ท่านเจ้าคุณก็ได้เขียนประวัตินครจัมปาศรีไว้ว่านครจัมปาศรีอยู่ในสมัยมที่ศาสนาพุทธและศษสนา พราหมณ์กำลังเจริญรุ่งเรืองในประเทศนี้ บันดาหัวเมืองน้อยใหญ่ในสมัยนั้นพร้อมกันมานพน้อมเป็นบริวารและต่างก้พร้อมใจกันมาทำค่ายคูเมือง เพื่อป้องกันข้าศึกศัตรู และเพื่อป้องกันบ้านเมืองให้ได้รับความผาสุข ในการใ ช้ตะพัง บึง หนอง ได้สะดวกและใช้เป็นตะพังชุบศรเมื่อเกิดศึกสงคร

    ไฟล์แนบ SAM_1609%20(Small).JPG (45.58 KiB) เข้าดูแล้ว 824 ครั้ง

    พระแผงต ดพ มท ต างๆกร พระบรมธาต นาด ม

    mr.paijit ขาประจำ โพสต์: 434 ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 07:38

    โดย mr.paijit » 07 ต.ค. 2012, 19:02

    ประวัติพรพธาตุนาดูน ประวัติความเป็นมาของพุทธมณฑลอีสาน พระธาตุนาดูน ..........ในปีพุทธศักราช 2522 กรมศิลปากรและราษฎร์ในตำบลนาดูนได้ขุดพบพระบรมสารีริกธาตุจากเนินดินที่เป็นซากโบราณสถาน ในบริเวณที่นาของราษฎร์ ท้องที่หมู่ที่ 1 ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม พระบรมสารีริกธาตุมีสัณฐานดังเกล็ดแก้วประดิษฐ์สถานในผอบ 3 ชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลาวงเป็นเงิน ชั้นนอกเป็นสำริด สวดซ้อนกันเรียงตามลำดับ และบรรจุอยู่ในสถูปจำลองอีกชั้นหนึ่ง เป็นสถูปโลหะ ทรงกลมสูง 24.4 เซนติเมตร ถอดออกเป็น 2 ส่วน ส่วนยอดสูง 12.3 เซนติเมตร ส่วนองค์สถูปสูง 12.1 เซนติเมตร .ชาวจังหวัดมหาสารคาม ดำริว่า อุบัติการณ์ของพระบรมสารีริกธาตุครั้งนี้นับเป็นนิมิตหมายอันดี แก่ชาวจังหวัดมหาสารคามอย่างยิ่ง สมควรสร้างพระสถูปเจดีย์ประดิษฐาน ไว้ให้ถาวรมั่นคง เป็น ปูชนียสถานและสิริมงคลแก่ภูมิภาคนี้ต่อไป และเพื่อสืบทอดพระบวรศาสนาตามแนวทางแห่งบรรพชน จึงจัดสร้างโครงการพุทธมณฑลอีสานขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พุทธศักราช 2525-2529 ประกอบด้วยสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์พระธาตุนาดูนที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ศูนย์พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมจำปาศรี เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ อานาจักร จัมปาศรี นครโบราณของบริเวณนี้ซึ่งอยู่ในสมัยทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-16 ประกอบด้วย วัด ส่วนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ศาลาพัก แหล่งน้ำ และถนน กำหนดพื้นที่ก่อสร้าง ณ โคกดงเค็ง มีปริมณฑล 902 ไร่เศษ เจดีย์พระธาตุนาดูน มีลักษณะประยุกต์จากสถูปจำลองที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กับลักษณะศิลปากร แบบทวารวดีออกแบบและดำเนินการสร้างโดยกรมศิลปากรสูง 50.50 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 35.70 เมตร พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้ประกอบ พิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ก่อสร้างสำเร็จบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2529 สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 7,580,000 บาท (เจ็ดล้านห้าแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) ครั้นวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 พระบาทสมด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมงกุฏราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงประกอบพิธีอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้าบรรจุ ในองค์ เจดีย์พระธาตุนาดูนนี้

    ไฟล์แนบ สถูปจำลอง IMG_8103%20(Small)[1].jpg (31.69 KiB) เข้าดูแล้ว 821 ครั้ง พระบรมสารีริกธาตุสัญฐานดังเกล็ดแก้ว ประดิษฐานในผอบสามชั้น ชั้นในเป็นทองคำ IMG_8104%20(Small)[1].jpg (30.07 KiB) เข้าดูแล้ว 821 ครั้ง ชั้นในเป็นเงิน ชั้นนอกเป็นสำริด สวมซ้อนกันเรียนเป็นลำดับ IMG_8105%20(Small)[1].jpg (32.52 KiB) เข้าดูแล้ว 821 ครั้ง

    พระแผงต ดพ มท ต างๆกร พระบรมธาต นาด ม

    mr.paijit ขาประจำ โพสต์: 434 ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 07:38

    โดย mr.paijit » 07 ต.ค. 2012, 19:06

    เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2522 ประชาชนกลุ่มหนึ่งได้ขุดพบพระพิมพ์ดินเผาในบริเวณที่นาของ นายทองดี ปะวะภูตา ราษฎร์บ้านนาดูน ได้พระพิมพ์ต่างๆเป็นจำนวนมาก ข่าวการขุดค้นพบพระพิมพ์ดินเผาได้แพร่ กระจายออกไป ทำให้ประชาชนที่ทราบข่าวเดินทางมา ขุดค้นอย่างมากมาย และหน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น ได้เข้ามาทำการขุดแต่งโบราณสถานตรงที่ขุดพบพระพิมพ์เพื่อรักษาสภาพสถูปองค์เดิมไว้แต่กระทำไม่สำเร็จเพราะฝูงชนจำนวน มหาสาร ได้เข้ามาแย่งชิงค้นหาพระพิมพ์ เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น ต้องยุติการขุดแต่งและปล่อยให้ประชาชนขุดค้นหาต่อไป จนกระทั่งวันที่ 8 มิถุนายน 2522 นายบุญจันทร์ เกศแสนศรี นักการพานโรงสำนักที่ดินอำเภอนาดูน ได้ขุดค้นพบสถูปพระบรมสารีริกธาตุ ตัวสถูปทำช่วยสำริต และได้นำสถูปดังกล่าวมามอบ ให้กับอำเภอนาดูนนอกจากนั้นที่ด้านหลังพระพิมพ์บางองค์ยังมีจารึกเป็นภาษาขอมโบราณและมอญโบราณ ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการสร้างพระพิมพ์ดินเผาดังกล่าว รัฐบาลได้เห็ฯความสำคัญของศิลปะโบราณวัตถุเล่านี้จึงได้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยบริเวณรอบๆ องค์พระธาตุนาดูนจะมีการสร้างพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรมอีกทั้งยังมีการสร้างส่วนรุกขชาติ และสวนสมุนไพรตกแต่งบริเวณโดยรอบให้งดงามเหมาะสมที่จะเป็สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาอันจะเป็น "พุทธมณฑลอีสาน " ศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยสืบต่อไป

    ไฟล์แนบ กรุแตก ปี 22 IMG_8106%20(Small).jpg (100.49 KiB) เข้าดูแล้ว 820 ครั้ง

    พระแผงต ดพ มท ต างๆกร พระบรมธาต นาด ม

    mr.paijit ขาประจำ โพสต์: 434 ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 07:38

    โดย mr.paijit » 07 ต.ค. 2012, 19:08

    เริ่มก่อสร้างพระธาตุนาดูน นับตั้งแต่ได้ขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และโบราณวัตถุต่างๆ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522 และเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจภูถรอำเภอนาดูนจังหวัดมหาสารคาม เป็นเวลานานหลายปี รัฐบาล จึงได้จัดสรรงบประมาณเป็นเงิน 7,580,000 บาท เพื่อสร้างพระธาตุสำหรับบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ โดยกรมศิลปากรได้ให้ นายประเสริฐ สุนทโรวาท สถาปนิก กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ และว่าจ้าง ห้างหุ้นส่วน (จำกัด) ศิวกรก่อสร้าง เป็ฯผู้ทำการก่อสร้าง ตามสัญญาจ้างเลขที่ 14/2528 ลงวันที่ 12 กันยายน 2528 กำหนดแล้วเสร็จบริบูรณ์ในวันที่ 24 มกราคม 2530

    ไฟล์แนบ IMG_8234 (Small) (Small).jpg (21.75 KiB) เข้าดูแล้ว 817 ครั้ง

    พระแผงต ดพ มท ต างๆกร พระบรมธาต นาด ม

    mr.paijit ขาประจำ โพสต์: 434 ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 07:38

    โดย mr.paijit » 07 ต.ค. 2012, 19:10

    ลักษณะโครงสร้างพระธาตุนาดูน

    รูปลักษณะพระธาตุนาดูน จำลองแบบจากสถูปสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ฐานประยุกต์แบบศิลปทวาราวดี ฐานกว้าง 35.70 * 35.70 เมตร มีความสูงจากฐานถึงยอด 50.50 เมตร ฐานรากและโครงสร้างทั่วไปเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทั้งหมด ผนังภายนอกพระธาตุส่วนใหญ่ทำด้วยหินล้างเบอร์ 4 บางแห่งฉาบปูนเรียบสีขาว มีลวดลายลวดบัว เสาบัวต่าง ๆ จำลองแบบ พระเครื่องพิมพ์ต่าง ๆ ที่ขุดพบมาประดิษฐานพระธาตุจำนวน 32 รูป และมีมารแบกปั้นเป็นแบบนูนสูงประดับที่ฐาน จำนวน 40 ตัว ตัวองค์พระธาตุจะแบ่งออกเป็น 16 ชั้น ลักษณะการก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด ภายในโปร่ง จากฐานรากขึ้นไปชั้นที่ 1 สูง 3.7 เมตร ชั้นที่ 1 คือฐานรากมีจำนวนฐานททั้งหมด 105 ฐาน มีเสาขึ้นจากฐานทั้งหมด 144 ต้น ส่วนฐานที่เป็นองค์พระธาตุมีลักษณะกลม มีเสาทั้งหมด 16 ต้น ชั้นที่ 1 มีพื้นทางเดินโดยรอบ และมีซุ้มประตูลายปูนปั้น 4 ประตูประจำทิศ ผนังประดับด้วยกระเบื้องด่านเกวียนศิลปะของ ภาคอีสาน พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง ชั้นที่ 2 สูงจากชั้นที่หนึ่ง 5.00 เมตร โครงสร้างมีเสาทั้งหมด 86 ต้น มีพื้นที่โดยรอบ สำหรับก่อสร้างเจดีย์องค์เล็กประจำทิศเหนือ ทั้ง 4 และพระพุทธรูปประจำซุ้ม 4 องค์ ผนังประกอบด้วยปูนปั้นเป็นรูปเสามีบัวเหนือเสา พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไป ทำด้วยหินล้างและประดับกระเบื้องด่านเกวียน ชั้นที่ 3 สูงจากชั้นที่สอง 4.80 เมตร โครงสร้างมีเสาทั้งหมด 44 ต้น มีพื้นโดยรอบ สำหรับก่อสร้างเจดีย์องค์เล็กประจำทิศเฉียง 4 องค์ เช่นเดียวกับชั้นที่ 2 พื้นปูด้วยกระเบื้อง เซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง ชั้นที่ 4 สูงจากชั้นที่สาม 1.60 เมตร ประกอบด้วยฐาน 8 เหลี่ยม เป็นชั้นเริ่มต้นของ ตัวองค์พระธาตุ โครงสร้างประกอบด้วยเสาทั้งหมด 24 ต้น ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง ชั้นที่ 5 สูงจากชั้นที่สาม 1.00 เมตร ประกอบด้วยฐานบัวกลม โครงสร้างประกอบ ด้วยเสาทั้งหมด 16 ต้น ผิวภายนอกทำด้วยหินล้าง ชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 10มีความสูง 11.00 เมตรเป็นตัวองค์ระฆังของพระธาตุโดยเฉพาะชั้นที่ 8 จะเป็นชั้นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โครงสร้างประกอบด้วยเสาทั้งหมด 16 ต้น จนถึงชั้นที่ 9 ชั้นที่ 10 ลดเหลือเสา 9 ต้น ลักษณะองค์ระฆังภายนอกทำด้วยหินล้างทั้งหมด เป็นชั้นบัลลังก์ ลักษณะโครงสร้างมีเสาทั้งหมด 5 ต้น ผนังทำด้วยหินล้าง ชั้นที่ 11 ชั้นที่ 11 ถึงชั้นที่ 14 มีความสูง 4.60 เมตร เป็นชั้นบัลลังก์ประกอบด้วยลักษณะทรงกลมมีลายปูนปั้นเป็นกลีบบัว โครงสร้างประกอบด้วยเสา 5 ต้น ผนังทำด้วยหินล้างทั้งหมด ชั้นที่ 14 ชั้นที่14 ถึงชั้นที่ 16มีความสูง 6.80 เมตร เป็นชั้นปล้องไฉน มีทั้งหมด 6 ปล้อง โครงสร้างประกอบด้วยเสาแกนต้นเดียว ปล้องไฉนทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ผิวทำด้วยหินล้าง ชั้นที่ 16 ถึงยอดคือปลียอด มีชั้นปลี

    ไฟล์แนบ IMG_8235 (Small) (Small).jpg (21.15 KiB) เข้าดูแล้ว 817 ครั้ง

    พระแผงต ดพ มท ต างๆกร พระบรมธาต นาด ม

    mr.paijit ขาประจำ โพสต์: 434 ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 07:38

    โดย mr.paijit » 07 ต.ค. 2012, 19:13

    พิมพ์พระดินเผา กรุพระธาตุนาดูน พระพิมพ์ดินเผานาดูน เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในอดีต เป็นหลักฐานที่แสดงให้เหนถึงความเลื่อมใสสศรัทธาอย่างสูงยิ่งของพุทธศาสนิกชร ที่มีต่อพระสัมาสัมพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาเป็นหลักฐานทางศิลปและวัฒนธรรม ที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ ด้านศาสนาระหว่างอาณาจักรต่าง ๆ ในภูมิภาค โพดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพิมพ์ดินเผานาดูนเป็นหลักฐานเก่าแก่ และมีจำนวนมากที่สุดในดินแดนแถบนี้ เป็นเครื่องยืนยันว่านครจำปาศรี ในอดีตคือศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้ พระพิมพ์ดินเผา กรุพระธาตนาดูนที่ขุดพบปี 2522 นั้น เป็นพระพิมพ์ดินเผาที่ฝีมือช่างประจำราชสำนัก โดยกอมระตาญง์ พร้อมด้วยพระสหาย ได้ร่วมกันสร้างไว้เพื่อเป็นพุทธบูชาสืบต่อพระศาสนา พระพิมพ์ดินเผากรุพระธาตุนาดูนมีพุทธศิลป์ลวดลาย ลีลาอ่อนช้อยสวยงามและเป็นศิลปะสมัยทวารวดี มีอายุอยู่ในราว พุทธศตวาษที่ 12 - 13 (หรือประมาณ 1,300 ปี) สีเนื้อพระพิมพ์มี 5 สี คือ สีหิน (สีน้ำตาลแก่) สีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองมันปู สีชมพู(มีน้อยมาก) มีแดงหินทราย สีขาวนวล(สีเทาอ่อน) ในพระพิมพ์เกือบทุกพิมพ์จะมีรูปสถูปจำลองปรากฎอยู่เสมอ และเป็นพระพิมพ์เล่าเรื่องพุทธประวัติที่มีความหมายอยู่ในตัว

    ไฟล์แนบ ปางนาคปรกเดี่ยว IMG_8115%20(Small).jpg (32.13 KiB) เข้าดูแล้ว 817 ครั้ง

    พระแผงต ดพ มท ต างๆกร พระบรมธาต นาด ม

    mr.paijit ขาประจำ โพสต์: 434 ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 07:38

    โดย mr.paijit » 07 ต.ค. 2012, 19:15

    พระพิมพ์ดินเผากรุพระธาตุนาดูนที่ขุดพบได้นำตัวอย่างไปวิเคราะหาส่วนผสม โดยคุณโสมสุดา รัรตนิน แห่งมหาวิทยาลัยโอตาโก ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งขณะนั้นได้ปฏิบัติงานอยู่ที่โครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ