คณะเทคน คการแพทย ม.ร งส ต ค าเทอม

คณะเทคนิคการแพทย์

เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา (รอบที่ 1/1 แฟ้มสะสมผลงาน)

ชื่อส่วนงาน: เทคนิคการแพทย์

หลักสูตร: วิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชา: เทคนิคการแพทย์

จำนวนที่เปิดรับ: 25 คน

เกณฑ์การรับสมัคร (คลิก )

คณะเทคนิคการแพทย์

เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา (รอบที่ 1/2 แฟ้มสะสมผลงาน)

ชื่อส่วนงาน: เทคนิคการแพทย์

หลักสูตร: วิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชา: เทคนิคการแพทย์

จำนวนที่เปิดรับ: - คน

คณะเทคนิคการแพทย์

เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา (รอบที่ 2 โควตา)

ชื่อส่วนงาน: เทคนิคการแพทย์

หลักสูตร: วิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชา: เทคนิคการแพทย์

จำนวนที่เปิดรับ: 30 คน

คณะเทคนิคการแพทย์

เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา (รอบที่ 3 กสพท.)

ชื่อส่วนงาน: เทคนิคการแพทย์

หลักสูตร: วิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชา: เทคนิคการแพทย์

จำนวนที่เปิดรับ: - คน

คณะเทคนิคการแพทย์

เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา (รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน)

ชื่อส่วนงาน: เทคนิคการแพทย์

หลักสูตร: วิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชา: เทคนิคการแพทย์

จำนวนที่เปิดรับ: 45 คน

คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต FACULTY OF MEDICAL TECHNOLOGY | B.Sc หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ BACHELOR OF MEDICAL TECHNOLOGY B.Sc (Medical Technology) www.rsu.ac.th/medtech/

ชื่อหลักสูตรและชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์)

ปรัชญา วิสัยทัศน์ และปณิธาน

ปรัชญา “คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นสถาบันชั้นนำของประเทศในการผลิตบัณฑิตเทคนิคการแพทย์ที่มีความเป็นเลิศด้านวิชาการ”

วิสัยทัศน์ “ผลิตบัณฑิตเทคนิคการแพทย์ที่มีคุณภาพเป็นเลิศ เชิดชูคุณธรรม มุ่งสู่มาตรฐานสากล”

ปณิธาน “ผลิตบัณฑิตเทคนิคการแพทย์ที่มีความเป็นเลิศด้านวิชาการ ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม สามารถนำความรู้ไปพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าและสร้างสรรค์สังคมให้มีความสุข”


รายละเอียดหลักสูตร ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี จำนวนหน่วยกิต รวม 141 หน่วยกิต


หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตเทคนิคการแพทย์

จุลชีววิทยาคลินิก ศึกษาการเกิดโรคติดเชื้อ แนวทางการป้องกันโรคและวิธีตรวจวินิจฉัยโรค และสามารถประยุกต์นำความรู้มาใช้ในการควบคุมคุณภาพอาหารและผลิตภัณฑ์

วิทยาภูมิคุ้มกันคลินิก ศึกษาการตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การทดสอบวิทยาภูมิคุ้มกันในการช่วยวินิจฉัยและรักษาโรคตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถประยุกต์ใช้กับระบบอุตสาหกรรม

โลหิตวิทยาและจุลทรรศนศาสตร์คลินิก ศึกษาการสร้างและพยาธิสภาพของเม็ดเลือด การตรวจวินิจฉัยโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด การตรวจวินิจฉัยสารน้ำต่างๆ ในร่างกาย เช่น น้ำไขสันหลัง น้ำไขข้อ น้ำอสุจิ รวมทั้งกลไกการทำงานของไต การสร้างปัสสาวะและการตรวจปัสสาวะ

เคมีคลินิก ศึกษาเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์สารต่าง ๆ ในร่างกายเช่น ตรวจปริมาณน้ำตาล ไขมัน โปรตีน เอนไซม์ และ ฮอร์โมน เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ (Automated Analyzer)และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการตรวจวิเคราะห์

ปรสิตวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ วงจรชีวิตของเชื้อปรสิตที่มีความสำคัญทางการแพทย์ พยาธิสภาพภายในร่างกายที่เกิดจากปรสิต การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ การกระจายทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนแนวทางการป้องกันการติดเชื้อปรสิตชนิดต่างๆ

ธนาคารเลือด ศึกษาหมู่เลือดต่าง ๆ เทคนิคการเตรียมเลือดและส่วนประกอบของเลือดเพื่อให้แก่ผู้ป่วย โรคและอาการทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับการให้เลือด และวิธีทางห้องปฏิบัติการธนาคารเลือด


จุดเด่นของคณะเทคนิคการแพทย์ • หลักสูตรมีมาตรฐานตามเกณฑ์สภาวิชาชีพ ทันสมัย ตรงตามความต้องการของสังคม • มีความพร้อมทั้งบุคลากรและอุปกรณ์ทันสมัย • มีการจัดการเรียนการสอนที่มีบูรณาการความรู้ในสหสาขาวิชาชีพ บริการวิชาการและการวิจัย • บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายสาขา

นางสาวธนารัตน์ เตชวุฒิวัฒน์ บัณฑิต คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับรางวัล The Best Post-graduate Student in Biomedical Sciences จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเคอร์ติน ประเทศออสเตรเลีย “ 4 ปี ที่เรียนในรั้วมหาวิทยาลัย รู้สึกประทับใจอะไรหลายอย่าง ทั้งเพื่อนและอาจารย์ ทำให้เราโตขึ้น เราควรทำเวลาให้มีคุณค่า ช่วยเหลือสังคมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำประโยชน์ให้กับประเทศ ประเทศไทยยังต้องการบุคลากรอีกมาก เราเป็นคนรุ่นใหม่ มีความคิดที่ค่อนข้างเปิดมากกว่าคนรุ่นก่อน ดังนั้นการจะทำให้สังคมดีได้ก็ขึ้นอยู่กับน้อง ๆ ซึ่งเป็นความหวังของอนาคตและของประเทศชาติ ”


คณะกรรมการบริหาร คณะเทคนิคการแพทย์ รศ.เยาวลักษณ์ พิมายนอก คณบดี ดร.สุพัตรา วัฒนสาธิตอาภา รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ดร.เครือวัลย์ คุ้มครอง รองคณบดีฝ่ายบริหาร ดร.อรนันท์ พรหมมาโน รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ดร.ภูมภัสส์ พุทธ์ผดุงวิพล หัวหน้าสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ นางสุภาภรณ์ หงษ์ยนต์ เลขานุการคณะฯ


แนวทางการประกอบอาชีพและศึกษาต่อ

  • นักเทคนิคการแพทย์ประจำห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปฏิบัติงานเทคนิคการแพทย์ในงานคุ้มครองผู้บริโภค
  • ผู้ช่วยวิจัย
  • นักวิทยาศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ผู้วิเคราะห์สารพิษในโรงงานอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ หรือตัวแทนในบริษัทจำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ผู้ควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และยา
  • ผู้ประเมินภาวะสุขภาพ เช่น ผู้พิจารณารับประกัน (underwriter) ในบริษัทประกันชีวิต และผู้ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพทางโทรเวช (telemedicine)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  1. จบการศึกษามัธยมปลาย สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 และมีผลการเรียนหมวดวิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 2.50 (ไม่น้อยกว่า 4 ภาคการศึกษา)
  2. ไม่มีภาวะตาบอดสีขั้นรุนแรง อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ทุนการศึกษา
  3. ทุนเรียนดี “ทุนประสิทธิ์-คุณหญิงพัฒนา อุไรรัตน์” (ได้รับการยกเว้นค่าค่าบำรุงการศึกษา และค่าหน่วยกิต 50%)
  4. ทุนความสามารถพิเศษ
  5. ทุนความสามารถพิเศษอื่น ๆ
  6. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

สถานที่เรียน คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347 พหลโยธิน 87 ถ.พหลโยธิน อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000 โทร. 0-2997-2200-30 ต่อ 1437, 1451(Fax) www.rsu.ac.th/medtech


ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347 พหลโยธิน 87 ถ.พหลโยธิน อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000 โทร. 0-2997-2200-30 ต่อ 1437, 1451 (FAX) www.rsu.ac.th/medtech

การรับสมัคร ขอรับใบสมัครได้ที่ สำนักงานรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (ตึก 1) ชั้น 1 โทร. 0-2791-5500-10 โทรสาร 0-2997-2394 www.rsu.ac.th e-mail: [email protected] www.facebook.com/rangsituniversity