คนท ม ความต องการทางเพศส งเร ยกว าโรคจ ต

โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “เซ็กซ์เสื่อม” นั้น คือ ภาวะที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวได้สมบูรณ์ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นกับผู้ชายวัยใดก็ได้ แต่มักพบมากในกลุ่มที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องน่ากลัวสำหรับผู้ชายทุกคน และจากสถิติพบว่าผู้ชายกว่า 152 ล้านคน .jpg)ทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งปัญหานี้มีที่มาจากหลากหลายสาเหตุโดยไม่ต้องรอให้ถึงวัยเกษียณก็อาจเผชิญปัญหานี้ได้เช่นกัน เพราะแม้พฤติกรรมบางอย่างที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องบนเตียงเลยนั้น ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพได้อย่างไม่น่าเชื่อ ลองไปดูกันว่าพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศนั้น มีอะไรกันบ้าง

Show

สะสมความเครียด คนเราทุกวันนี้มีความเครียดสะสมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งความเครียดนี่เองจะส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนในร่างกายหลายตัว รวมถึงฮอร์โมนเพศให้ทำงานผิดปกติ ดังนั้น เราควรพยายามทำจิตใจให้สบาย เลือกวางปัญหาต่างๆ เอาไว้บ้าง เสพข่าวสารต่างๆ แต่พอดี บาลานซ์ชีวิตให้ลงตัวระหว่างเรื่องงานและเรื่องชีวิตส่วนตัว

มีเซ็กซ์น้อยเกินไป มีการวิจัยยืนยันว่าผู้ชายที่มีเซ็กซ์น้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศมากกว่าผู้ชายที่มีเซ็กซ์ 3 ครั้งต่อสัปดาห์หลายเท่า เพราะการมีเซ็กซ์น้อยกว่าค่าเฉลี่ยนั้น ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้เช่นกัน

พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายของคนเราต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอ เพื่อให้ระบบต่างๆ ของร่างกายได้ฟื้นฟู ซ่อมแซมตัวเอง แต่เมื่อคุณใช้ร่างกายหนัก ขาดการพักผ่อน นอนน้อยติดกันเป็นเวลานานมันจะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน หรือฮอร์โมนเพศชายในร่างกายให้ต่ำลง จนส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดลงตามไปด้วย

สูบบุหรี่จัด เจ้านิโคตินตัวร้ายในบุหรี่ นอกจากจะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างมากแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อหลอดเลือด เพราะไปยับยั้งการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดดำและแดง ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดสู่องคชาติผิดปกติ และในระยะยาวก็จะทำให้สเปิร์มของคุณไม่แข็งแรงพอที่จะสืบพันธุ์

ดูทีวีมากเกินไป งานวิจัยหนึ่งในสหรัฐอเมริการะบุว่า ผู้ชายที่ใช้เวลาอยู่หน้าทีวีนานกว่า 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จะมีจำนวนสเปิร์มน้อยกว่าผู้ชายที่ไม่ดูทีวีเลยถึง 44% นอกจากนี้ ผู้ที่มีนิสัยติดดูทีวีเป็นประจำ จะมีสเปิร์มที่ไม่แข็งแรงนัก เนื่องจากขาดการออกกำลังกาย

.jpg)

ออกกำลังกายมากเกินไป หรือน้อยเกินไป การออกกำลังช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดสูบฉีดได้ดี ระบบต่างๆ ทำงานได้เต็มที่ ซึ่งการออกกำลังกายน้อยเกินไป หรือมากเกินไป ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สมรรถภาพทางเพศแย่ลงได้เหมือนกัน เพราะเมื่อคุณออกกำลังกายอย่างหนักจะส่งผลให้เกิดความตึงเครียดสะสมภายในกล้ามเนื้อ แล้วพอสะสมไปมากๆ ก็จะทำให้คุณเกิดความเครียด จนหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวนเสียสุขภาพจิต ร่างกายอ่อนล้าตลอดทั้งวัน ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่มีผลทำให้ความต้องการทางเพศลดลงทั้งสิ้น จึงควรที่จะต้องควบคุมการออกกำลังกายให้อยู่ในระดับที่พอดี

การใช้ยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน ยาบางชนิดที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต และฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย เช่น ยาลดความดัน ยารักษาโรคเบาหวาน ยารักษาโรคซึมเศร้า ยารักษาสิวบางชนิด เป็นต้น ผู้ที่ใช้ยาเหล่านี้ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จึงอาจประสบปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัว แข็งตัวช้า หรือหลั่งเร็ว มีความต้องการทางเพศลดลง หรือมีการตอบสนองทางเพศที่ผิดปกติได้ ดังนั้น ก่อนจะใช้ยาใดๆ ต้องศึกษาให้ดี และอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์อย่างใกล้ชิด

ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน แม้ว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนจะช่วยให้สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น แต่ในทางกลับกันหากได้รับสองสิ่งนี้ในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ก็อาจทำให้สมรรถภาพทางเพศแย่ลงได้เช่นกัน เพราะการที่ร่างกายได้รับแอลกอฮอล์และคาเฟอีนที่มากเกินไป จะทำให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลกัน

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) คือ การติดเชื้อซึ่งสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์

การมีเพศสัมพันธ์หมายถึง

  • การจูบ
  • การสัมผัสหรือถูอวัยวะเพศ
  • การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก (การใช้ปากกับอวัยวะเพศ)
  • การร่วมเพศ (องคชาตในช่องคลอด องคชาตในทวารหนัก)
  • การใช้เซ็กซ์ทอย

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง? (What are the most common STIs?)

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุดคือ

  • โรคหนองในเทียม
  • โรคหูดหงอนไก่และเชื้อ HPV
  • โรคเริม
  • โรคหนองใน
  • โรคซิฟิลิส
  • โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบบี และโรคไวรัสตับอักเสบซี
  • เชื้อ HIV

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Find out more about STIs)

คุณจะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อย่างไร? (How do you get an STI?)

คุณสามารถติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย

คุณมีแนวโน้มที่จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากขึ้น หากคุณมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยกับ

  • คู่นอนชั่วครั้งชั่วคราว – คู่นอนชั่วครั้งชั่วคราว คือ คนที่คุณมีเพศสัมพันธ์ด้วย แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันหรืออาจไม่รู้จักกันดี ยิ่งคุณมีคู่นอนชั่วครั้งชั่วคราวหลายคน คุณยิ่งมีความเสี่ยงสูงจากติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • คู่นอนที่เคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช่ถุงยางอนามัยกับคู่นอนชั่วครั้งชั่วคราวคนอื่น ๆ
  • คู่นอนในบางประเทศนอกเหนือจากออสเตรเลีย
  • คู่นอนที่เคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยในบางประเทศนอกเหนือจากออสเตรเลีย
  • คู่นอนที่เคยฉีดสารเสพติด

ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยกับผู้ชายคนอื่น มีความเสี่ยงที่สูงกว่าในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์? (How do you know if you have an STI?)

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิดไม่อาการแสดงหรืออาการใด ๆ ให้เห็น ดังนั้น คุณอาจติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้โดยไม่รู้ตัว นั่นหมายความว่า คุณสามารถแพร่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไปให้คู่นอนของคุณและทำให้พวกเขาติดโรคได้เช่นกัน

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิดมีอาการที่บริเวณอวัยวะเพศของคุณ อันได้แก่

  • องคชาต
  • ลูกอัณฑะ
  • ช่องคลอด
  • ปากช่องคลอด
  • ทวารหนัก

อาการเหล่านี้ อาจรวมถึง

  • เป็นผื่นหรือคันที่อวัยวะเพศ
  • มีสารคัดหลั่งจากองคชาต ช่องคลอด หรือทวารหนัก
  • อาการแสบเวลาปัสสาวะ
  • เจ็บแผล เป็นตุ่ม หรือมีหนอง
  • มีติ่งหรือก้อนเนื้อขึ้นบริเวณผิวหนัง
  • เจ็บปวดที่อวัยวะเพศหรือท้องน้อย
  • มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์

อาการของฉันน่ากังวลมากแค่ไหน? (How urgent are my symptoms?)

การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์คืออะไร? (What is an STI test?)

วิธีเดียวที่จะทราบว่าคุณติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่คือ การเข้ารับการตรวจโรค อันได้แก่

  • การตรวจปัสสาวะ (urine test) – คุณจะต้องปัสสาวะใส่ขวด
  • การตรวจเลือด (blood test) – พยาบาลหรือแพทย์จะเจาะเลือดของคุณไปตรวจ
  • การทดสอบการปนเปื้อน (swab test) – พยาบาลหรือแพทย์จะใช้ก้านสำลีถูเพื่อตรวจหาเชื้อจากอวัยวะเพศ ทวารหนักหรือปากของคุณ

แพทย์ของคุณจะบอกคุณว่าควรรับการตรวจด้วยวิธีไหน ซึ่งใช้เวลา 1 ถึง 2 สัปดาห์จึงจะทราบผลการตรวจ

ฉันจะเข้ารับการตรวจได้ที่ไหนบ้าง? (Where can I be tested?)

เมื่อไหร่ที่คุณควรเข้ารับการตรวจ? (When should you be tested?)

คุณควรตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากว่า

  • คุณมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
  • คุณมีอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • คุณกังวลว่าคุณอาจติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ถุงยางอนามัยของคุณฉีกขาดหรือหลุดออกระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
  • คุณหรือคู่นอนของคุณมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่น
  • คุณใช้เข็ม หลอดฉีดยา และช้อนในการฉีดสารเสพติดร่วมกับผู้อื่น

ฉันต้องเข้ารับการตรวจอะไรบ้าง? (What tests do I need?)

อาการของฉันน่ากังวลมากแค่ไหน? (How urgent are my symptoms?)

จะทำอย่างไรถ้าผลการตรวจของคุณเป็นบวก? (What can you do if your test is positive?)

ผลการตรวจเป็น 'บวก' หมายความว่า คุณติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แพทย์ของคุณจะให้ยากับคุณเพื่อรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มาจากเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่สามารถรักษาได้และรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งหมายความว่า เมื่อคุณได้รับการรักษาจนหายดีแล้ว เชื้อจะหายไปจากร่างกายของคุณและไม่สามารถติดต่อไปยังคู่นอนของคุณได้

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มาจากเชื้อไวรัสบางชนิดสามารถรักษาได้ แต่ไม่หายขาด ซึ่งหมายความว่า เมื่อคุณได้รับการรักษาจนหายดีแล้ว อาการทางกายภาพของเชื้อไวรัสจะหายไป แต่ไวรัสยังอาจคงอยู่ในร่างกายของคุณและยังสามารถแพร่เชื้อไปสู่คู่นอนของคุณได้

คุณต้องแจ้งผลการตรวจของคุณกับใครบ้าง? (Who do you need to tell about your test results?)

คุณควรแจ้งคู่นอนของคุณว่า คุณติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อให้พวกเขาสามารถไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ

หากคู่นอนของคุณไม่เข้ารับการตรวจหรือไม่ได้รับยารักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของเขา คุณอาจแบ่งยารักษาโรคให้กับกันและกันได้

คุณไม่จำเป็นต้องบอกบุคคลเหล่านี้

  • นายจ้าง
  • เพื่อนร่วมงาน
  • เพื่อน ๆ
  • ครอบครัว

อาจเป็นการยากที่จะพูดกับคู่นอนเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่คุณสามารถใช้แหล่งข้อมูลออนไลน์ที่เรียกว่า Let Them Know เพื่อช่วยคุณในการแจ้งคู่นอนของคุณ หรือแจ้งแบบไม่ระบุชื่อผู้แจ้งเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรค

คุณสามารถถามแพทย์ของคุณว่าพวกเขาสามารถช่วยคุณได้หรือไม่ Let Them Know เป็นฝ่ายจัดหาข้อมูลเพื่อช่วยแพทย์ในการให้ความช่วยเหลือคุณ

การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทำได้อย่างไรบ้าง? (How are STIs treated?)

คุณควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่า คุณปลอดภัยไม่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่สามารถรักษาได้อย่างง่าย ๆ ด้วยยาเช่น ยาปฏิชีวนะ หลังจากได้รับการรักษาแล้ว คุณจะไม่แพร่เชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ให้กับคนอื่นอีก

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิดสามารถรักษาได้ด้วยยา แต่ไม่หายขาด ยาจะช่วยควบคุมเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในร่างกายของคุณและช่วยป้องกันอาการได้ แต่คุณจำเป็นต้องจัดการกับโรคและคนที่คุณติดต่อมีเพศสัมพันธ์ด้วย แพทย์สามารถพูดคุยกับคุณได้ว่าจะทำเช่นนี้ได้อย่างไร

หากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ได้รับการรักษา คุณอาจมีปัญหาสุขภาพในระยะยาวได้ เช่น ภาวะการมีบุตรยาก และคุณยังสามารถแพร่เชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไปยังคู่นอนที่คุณมีเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย

จะแน่ใจได้อย่างไรว่าคุณไม่ได้แพร่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไปติดคนอื่น? (How can you make sure you don't give an STI to someone else?)

ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อคุณมีเพศสัมพันธ์

หากคุณติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่ามีเพศสัมพันธ์อีกจนกว่าคุณและคู่นอนของคุณได้ไปพบแพทย์และเข้ารับการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จนหายดีแล้ว

คุณสามารถหลีกเลี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อย่างไร? (How can you avoid STIs?)

วิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ แต่คุณก็ยังควรที่จะ