งบ กํา ไร ขาดทุน ภาษา อังกฤษ ตัวอย่าง

ในส่วนนี้หากนำรายได้มาเทียบรายไตรมาส หรือรายปีย้อนหลัง เราสามารถดูแนวโน้มของธุรกิจบริษัทนั้นๆได้เป็นภาพกว้างมากยิ่งขึ้น

ขอยกตัวอย่างเช่น บริษัท บูซิง ที่มีธุรกิจขายบิงซู

ปี 2015 บริษัท บูซิง จำกัด รายได้ 100 ล้านบาท ปี 2016 บริษัท บูซิง จำกัด รายได้ 120 ล้านบาท ปี 2017 บริษัท บูซิง จำกัด รายได้ 140 ล้านบาท

ภาพรวมของตัวเลขชุดนี้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของรายได้

อย่างไรก็ตามเรายังไม่สามารถวิเคราะห์อะไรได้มากจากรายได้เพียงอย่างเดียว.. ต่อมาเป็นส่วนของรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ

ส่วนแรกคือ ต้นทุนขาย (Cost of Goods Sold)

สมมติให้ปี 2017 บริษัท บูซิง จำกัด มีต้นทุนขาย 50 ล้านบาท ซึ่งต้นทุนนี้อาจประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายวัตถุดิบ และค่าแรงงานสำหรับการผลิต

มาถึงตรงนี้ หากเรานำรายได้ 140 ล้านบาท มาหักต้นทุนขาย 50 ล้านบาท ส่วนนี้เราจะเรียกว่ากำไรขั้นต้น (Gross Profit) 90 ล้านบาท

เนื่องจากแต่ละบริษัทมียอดขายและต้นทุนต่างกัน เราอาจเริ่มต้นจากการเทียบบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน

ตัวอย่างเช่น

ปี 2017 บริษัท อาฟเตอร์ ยู มี รายได้ 735 ล้านบาท ต้นทุนขาย 244 ล้านบาท จะคำนวณเป็นกำไรขั้นต้นได้ 491 ล้านบาท

เราสามารถหาอัตราส่วนระหว่าง 2 รายการนี้โดยนำกำไรขั้นต้นมาหารด้วยรายได้ เรียกว่า อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)

บริษัท บูซิง แม้ว่าจะมีกำไรขั้นต้น 90 ล้านบาท แต่เมื่อหารด้วยรายได้ 140 ล้านบาท จะทำให้มีอัตรากำไรขั้นต้น 64% เมื่อเทียบกับ

บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) ที่มีกำไรขั้นต้น 491 ล้านบาท หารด้วยรายได้ 735 บาท จะมีอัตรากำไรขั้นต้น 67%

แปลว่า จริงๆ แล้วธุรกิจขนมหวานสองร้านนี้ถ้าเทียบยอดขายแล้วต่างกันกว่า 5 เท่า แต่มีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน

สิ่งที่น่าสนใจคือ ถ้าหากบริษัทที่เราสนใจมีอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น แปลว่าบริษัทนั้นๆ บริหารต้นทุนขายเก่งขึ้นนั่นเอง

ซึ่งเรื่องนี้อาจจะมาจากการประหยัดต่อขนาด Economies of Scale เช่น ถ้าเรามียอดสั่งซื้อวัตถุดิบจำนวนมากขึ้น เราจะได้ราคาต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง

หรือ ถ้าต้นทุนเท่าเดิม แต่เราสามารถขึ้นราคาขายได้จากความนิยมในแบรนด์ของเรา ก็จะทำให้ อัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้นได้เช่นกัน

แต่ค่าใช้จ่ายไม่ได้มีแค่ต้นทุนขาย.. และในบางครั้ง ธุรกิจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ มากกว่าต้นทุนขายเสียอีก

ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็คือ ค่าใช้จ่ายในการขาย เช่น ค่าโฆษณา ค่าเช่าที่ ค่าใช้จ่ายบริหาร เช่น เงินเดือนผู้บริหารและพนักงาน ค่าเช่าสำนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจากการกู้ยืม ภาษี

การนำรายได้มาลบ ต้นทุนขาย และค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงภาษี จะได้เป็นรายการในบรรทัดสุดท้ายนั่นก็คือ “กำไรสุทธิ”

และถ้าตัวเลขกำไรสุทธิมีค่าติดลบ ก็แปลว่ากิจการของเราขาดทุน นั่นเอง

เราสามารถเปรียบเทียบบริษัทด้วยอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) โดยนำกำไรสุทธิมาหารด้วยรายได้

ตัวอย่างคือ ปี 2017 บริษัท อาฟเตอร์ ยู มีกำไรสุทธิ 129 ล้านบาท รายได้ 735 ล้านบาท จะมีอัตรากำไรสุทธิ 17.6%

ปี 2017 บริษัท บูซิง มีกำไรสุทธิ 29 ล้านบาท รายได้ 140 ล้านบาท จะมีอัตรากำไรสุทธิ 20.7%

โดยอัตรากำไรสุทธิเป็นตัวแปรสำคัญที่เราสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ว่าธุรกิจนี้มีคุณภาพเป็นอย่างไร

ส่วนใหญ่แล้วธุรกิจที่มีอัตรากำไรสุทธิที่ดีจะอยู่ในธุรกิจที่สามารถบวกกำไรได้สูง ตั้งราคาขายแพงก็มีคนยอมซื้อ หรือเป็นธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันกว่าคู่แข่งมากๆ

แต่สำหรับธุรกิจที่มีอัตรากำไรสุทธิต่ำ จะอยู่ในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง การตั้งราคาต้องเป็นไปตามกลไกตลาด หรือตัวบริษัทเองมีการบริหารจัดการที่ไม่ดี

คำว่าอัตรากำไรสุทธิสูงนี้คือ 20% ขึ้นไป เช่น รายได้ 100 บาท ถ้าเรามีกำไรสุทธิมากกว่า 20 บาท ถือว่าธุรกิจเรามีอัตรากำไรสุทธิที่ดี

สำหรับธุรกิจที่อัตรากำไรสุทธิต่ำ อาจต่ำได้ถึง 1% ของรายได้ เช่น รายได้ 100 บาท เอากำไรแค่ 1 บาท ซึ่งธุรกิจในลักษณะนี้จำเป็นต้องอาศัยการขายในปริมาณที่มากๆ หรือขายหมุนรอบเร็วๆ ในการช่วยเพิ่มกำไรต่อทุนที่มี

ซึ่งถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี การขายสินค้าแบบปริมาณมากในอัตรากำไรสุทธิต่ำ ก็อาจจะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

ตัวอย่างข้างต้นเป็นเพียงหลักการเบื้องต้นในการเริ่มอ่านงบกำไร-ขาดทุนขั้นพื้นฐาน

อย่างไรก็ตาม เราสามารถนำข้อมูลงบกำไร-ขาดทุน มาประยุกต์ใช้ได้มากมายในการวิเคราะห์ธุรกิจ รวมไปถึง ศึกษาการทำธุรกิจของหลายๆ บริษัทไม่ว่าจะเป็นของประเทศไทย หรือต่างประเทศ

ตัวอย่างเช่นหากเราเทียบงบบริษัท บูซิง ย้อนหลัง 5 ปี เราอาจวิเคราะห์หรือคาดการณ์ได้ว่าธุรกิจของบริษัทนี้ในอนาคตจะเป็นอย่างไร..

หมายถึง การปันส่วนมูลค่าเสื่อมสภาพของสินทรัพย์ตลอดอายุการใช้งาน เป็นค่าใช้จ่ายที่ตัดจากมูลค่าของสินทรัพย์ถาวร (มีอายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี) เช่น อุปกรณ์ เครื่องจักร รถยนต์ อาคาร โรงงาน ฯลฯ

หมายเหตุ ที่ดินมีอายุการใช้งานไม่จำกัด จึงไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคา


ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (Selling, General & Administrative Expense)

หรือมักเรียกสั้นๆ ว่า SG&A คือ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขายและการบริหาร

เช่น เงินเดือน (ที่ไม่ใช่ค่าแรงทางตรง เช่น เงินเดือนและค่าคอมมิชชั่นของพนักงานขาย เงินเดือนของพนักงานฝ่ายบริหาร)

ค่าน้ำ ค่าไฟในสำนักงาน ค่าโทรศัพท์ ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ และหนี้สูญ เป็นต้น

งบ กํา ไร ขาดทุน ภาษา อังกฤษ ตัวอย่าง

ดอกเบี้ยจ่าย (Interest Expenses)

เป็นค่าใช้จ่ายทางการเงิน (ต้นทุนทางการเงิน)

ซึ่งกิจการต้องจ่ายให้แก่เจ้าหนี้เงินกู้ ไม่ว่าจะเป็นเงินกู้ระยะสั้น หรือเงินกู้ระยะยาว

กิจการที่มีหนี้สินมาก ทำให้มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มากตามไปด้วย

ภาษีเงินได้ (Tax)

กิจการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากกำไรของการประกอบธุรกิจให้แก่รัฐ

แต่ในบางกรณีกิจการอาจได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีทำให้เสียภาษีน้อยลง

หรือได้รับการยกเว้นภาษี เช่น การส่งเสริมการลงทุน (BOI)

ภาพรวมของ งบกำไรขาดทุน

งบ กํา ไร ขาดทุน ภาษา อังกฤษ ตัวอย่าง


กำไรขั้นต้น (Gross Profit)

กำไรขั้นต้น \= รายได้จากการขาย – ต้นทุนขาย

กำไรขั้นต้น (Gross Profit) นั่นบ่งบอกข้อมูลอะไรได้หลายอย่าง เช่น

ความสามารถในการควบคุมต้นทุน

ถ้ากิจการมีความยืดหยุ่นในการปรับราคาสินค้า จะรักษาระดับของอัตรากำไรขั้นต้นไว้ได้

(อัตรากำไรขั้นต้น คือ กำไรขั้นต้นเทียบกับรายได้จากการขาย)

แต่ถ้าเป็นธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) ราคาขึ้นลงได้ง่าย ทำให้รักษาระดับอัตรากำไรขั้นต้นได้ยาก

การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม

ถ้าเป็นธุรกิจที่ไม่แข่งขันกันรุนแรงมากนัก กำไรขั้นต้นจะค่อนข้างสูงและผันผวนน้อย

ลักษณะของกำไรขั้นต้นที่ดี

คือ ต้องเพิ่มขึ้นตามรายได้และมีความผันผวนน้อย และอัตรากำไรขั้นต้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ตัวอย่าง บริษัทที่ 1 มีแนวโน้มเพิ้มขึ้น (กราฟแท่ง) และ ไม่ผันผวน (กราฟเส้น)

งบ กํา ไร ขาดทุน ภาษา อังกฤษ ตัวอย่าง

ตัวอย่าง บริษัทที่กำไรขั้นต้นมีความผันผวน

งบ กํา ไร ขาดทุน ภาษา อังกฤษ ตัวอย่าง

แผนภูมิของกำไรสุทธิ

งบ กํา ไร ขาดทุน ภาษา อังกฤษ ตัวอย่าง

ความสัมพันธ์ระหว่าง งบดุล และ งบกำไรขาดทุน

สมมติ บริษัทแห่งหนึ่ง เริ่มต้นดำเนินธุรกิจตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม

มีงบดุล ณ วันต้นงวด ดังในภาพ (งบดุล จะแสดง ณ จุดเวลา ใดเวลาหนึ่ง)

กิจการดำเนินงานมา 1 งวดบัญชี (งวด 3 เดือน) จะได้งบกำไรขาดทุน ดังในภาพ

(งบกำไรขาดทุน จะแสดง ช่วงเวลา ใดเวลาหนึ่ง) กิจการมีกำไร 20,000 บาท

และงบดุล ณ วันสิ้นงวดจะเปลี่ยนแปลงดังนี้

งบ กํา ไร ขาดทุน ภาษา อังกฤษ ตัวอย่าง

ในงวดนี้ กิจการขายของมีกำไร 20,000 บาท (ราคาขาย – ต้นทุน) ทำให้

สินทรัพย์ (เงินสด) เพิ่มขึ้น 20,000 บาท และ

ส่วนของเจ้าของ (กำไรสะสม) เพิ่มขึ้น 20,000 บาท

โดยภาพรวมกิจการ มีขนาดใหญ่ครับ (เจริญขึ้น)

ดังนั้น

กิจการที่ กำไร บริษัทจะโตขึ้นเรื่อยๆ

กิจการที่เก่งมีความสามารถในการทำกำไร เป็นกิจการที่ดี บริษัทจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มูลค่ากิจการมากขึ้น

งบกําไรขาดทุน แสดงอะไรบ้าง

งบกำไรขาดทุน เป็นงบการเงินที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น รอบปีบัญชี โดยจะแสดงรายได้ ค่าใช้จ่าย และ กำไรหรือขาดทุนสุทธิ ช่วยให้ผู้ใช้ทราบว่าผลกำไรหรือขาดทุนของกิจการนั้นมาส่วนใด เพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน และ คาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต

รูปแบบของงบกำไรขาดทุนมีกี่รูปแบบ

  1. รูปแบบของงบกำไรขาดทุน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ (1) แบบรายงาน (Report Form) รายการแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่หนึ่ง เป็นส่วนของรายได้ ตอนที่สองเป็นส่วนของค่าใช้จ่าย และตอนที่สามคือกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ

Selling Expense มีอะไรบ้าง

ค่าใช้จ่ายในการขาย (Selling Expenses) คือ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขายสินค้าหรือบริการ เช่น ค่าโฆษณา ค่าขนส่ง เงินเดือนพนักงาน เป็นต้น ส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหาร (Administrative Expenses) คือ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหาร เช่น เงินเดือนพนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายขาย ค่าเช่าสำนักงาน เป็นต้น

Net income กับ Net Profit ต่างกันยังไง

Net profit หรือ กำไรสุทธิ คือ รายได้สุทธิ ( Net Income ) ช่วยบอกมูลค่าผลการดำเนินงานของบริษัทหลังรวมหรือหักรายการทั้งหมดในงบกำไรขาดทุนเรียบร้อยแล้ว เป็นตัวเลขที่มีประโยชน์สำหรับนักลงทุนในการประเมินรายได้ที่เกินรายจ่ายของบริษัท ตัวเลขนี้ปรากฏในงบกำไรขาดทุนของบริษัทและเป็นตัวบ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัท