ม อ ตราการเพ มของประชากรส งมาก พ ราม ด

การโจมตีอิสราเอลโดยกลุ่มฮามาสเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ถือเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งในแง่ขนาดและความรุนแรง การโจมตีเกิดขึ้นโดยปราศจากสัญญาณเตือนล่วงหน้า แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นผลพวงจากความตึงเครียดระหว่างสองฝ่ายที่มีมานานหลายทศวรรษ

กลุ่มฮามาสบอกว่า มีหลายเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจโจมตีครั้งนี้ บีบีซีรวบรวมมา 4 ข้อดังนี้

ชีวิตอันแร้นแค้นในฉนวนกาซา

ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ ดินแดนที่เรียกกันว่า "ฉนวนกาซา" มีขนาดความยาวเหนือจรดใต้ 41 กิโลเมตร ขณะที่มีความกว้างเพียง 10 กิโลเมตร ขนาบข้างพื้นที่ทางเหนือและตะวันออกด้วยเขตแดนของอิสราเอล ชายแดนทางใต้ติดกับอียิปต์ ส่วนชายทะเลด้านตะวันตกเป็นทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

มีผู้คนอาศัยอยู่ในฉนวนกาซากว่า 2.3 ล้านคน และถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทั้งนี้ นอกจากฉนวนกาซาแล้ว ดินแดนของปาเลสไตน์ยังมีเขตเวสต์แบงก์และเยรูซาเลมตะวันออก รวมอยู่ด้วย

ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติระบุว่า กว่า 80% ของผู้ที่อาศัยในฉนวนกาซาต้องพึ่งพาการช่วยเหลือจากนานาชาติ และประมาณ 1 ล้านคนต้องขอรับความช่วยเหลือด้านอาหารในแต่ละวัน

นั่นหมายความว่า การดำรงชีวิตในแต่ละวันของชาวปาเลสไตน์ในกาซาต้องเผชิญความยากลำบากยิ่ง องค์การสหประชาชาติได้เปิดเผยว่า ตลอดปี 2021 โดยเฉลี่ยแล้วผู้คนในฉนวนกาซามีไฟฟ้าใช้แค่วันละ 13 ชั่วโมง ด้านองค์การอนามัยโลกระบุว่า โดยทั่วไปในการดำรงชีวิต ประชากรหนึ่งคนจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อดื่ม ทำอาหาร ชำระล้างสิ่งต่าง ๆ และอาบน้ำ รวมแล้วราว 100 ลิตรต่อวัน แต่สำหรับคนในเขตกาซามีอัตราการใช้น้ำเพียง 88 ลิตรต่อวันเท่านั้น

ม อ ตราการเพ มของประชากรส งมาก พ ราม ด

นอกจากนี้ อิสราเอลยังเป็นผู้ควบคุมน่านฟ้าเหนือเขตกาซา รวมถึงตลอดแนวชายฝั่งทะเลของกาซาด้วย โดยจำกัดผู้คนและสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกตามแนวพรมแดน เช่นเดียวกับอียิปต์ที่ควบคุมการเข้าออกของผู้คนบริเวณพรมแดนที่ติดกับกาซา โดยอิสราเอลและอียิปต์ให้เหตุผลว่าที่ต้องทำเช่นนี้เป็นเพราะเหตุผลด้านความมั่นคง

สถานการณ์ดูเหมือนจะย่ำแย่ลงไปอีก เมื่อทางการอิสราเอลประกาศที่จะยึดครองเขตฉนวนกาซาแบบเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เพื่อตอบโต้การโจมตีของกลุ่มฮามาสเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งนั่นหมายถึงการตัดขาดการลำเลียงอาหาร น้ำ และเชื้อเพลิงเข้าไปยังเขตกาซาด้วย

ม อ ตราการเพ มของประชากรส งมาก พ ราม ด

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

การตัดกระแสไฟฟ้าในเขตกาซาเกิดขึ้นทุกวันอยู่แล้ว

นับตั้งแต่ปี 2007 กลุ่มฮามาสได้เข้ายึดครองเขตกาซา หลังจากแยกตัวออกจากกองกำลังที่ภักดีต่อองค์การบริหารปาเลสไตน์หรือพีเอ (Palestinian Authority: PA) หลังเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง

ต่อมาในปี 2014 ภายหลังเกิดความขัดแย้งกับกลุ่มฮามาสเป็นเวลาสั้น ๆ อิสราเอลได้ประกาศเขตกันชนรอบ ๆ ฉนวนกาซา เพื่อปกป้องตนเองจากการโจมตีด้วยจรวดและการแทรกซึมของกองกำลังติดอาวุธ ทว่าการมีเขตกันชนดังกล่าวก็ทำให้จำต้องลดพื้นที่การเกษตรและถิ่นที่อยู่ของประชาชนลง

มัสยิดอัล-อัคซอ

มัสยิดอัล-อัคซอ ที่ตั้งอยู่บนเนินสูงในเขตเยรูซาเลมตะวันออก เป็นหนึ่งสถานที่สำคัญที่กลายเป็นชนวนเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่างชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์ เนื่องจากมัสยิดแห่งนี้ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดอันดับสามของศาสนาอิสลาม ขณะที่ชาวยิวก็เคารพให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพวกเขาเช่นกัน โดยเรียกขานกันในชื่อ "เนินพระวิหาร" หรือ "Temple Mount"

ในระหว่างการโจมตีจากฝ่ายฮามาส ได้มีการเผยแพร่เสียงที่ถูกบันทึกไว้ของนายมูฮัมหมัด อัล-เดอิฟ ผู้บัญชาการฝ่ายทหารของฮามาส ที่ระบุว่าการโจมตีเมื่อวันเสาร์เป็นการตอบโต้ต่อการกระทำที่เขาเรียกว่า "การโจมตีรายวันต่อมัสยิสอัล-อัคซอ" โดยน้ำมือของชาวอิสราเอล ที่กล้าหยามเกียรติของศาสดามุฮัมหมัดภายในปริมณฑลแห่งมัสยิดอัล-อัคซอ

ในช่วงไม่กีปีมานี้ มีชาวอิสราเอลกลุ่มชาตินิยมทางศาสนาจำนวนมากหลั่งไหลกันเข้าไปเยือนสถานที่แห่งนี้ ซึ่งสร้างความกังวลใจให้ชาวปาเลสไตน์ และบ่อยครั้งที่การปะทะกันระหว่างชาวปาเลสไตน์ที่เข้ามาประกอบพิธีกรรมทางศาสนากับเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงอิสราเอลเกิดขึ้นในมัสยิดแห่งนี้ อย่างในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจจู่โจมเข้าไปในมัสยิดดังกล่าวแล้วขว้างระเบิดมือและยิงปืนด้วยกระสุนยาง หลังจากเกิดข้อพิพาทกันเกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

ก่อนหน้านั้นในปี 2021 เหตุบุกมัสยิดแห่งนี้โดยฝ่ายอิสราเอล ได้จุดชนวนความขัดแย้งอย่างเต็มรูปแบบระหว่างอิสราเอลและฮามาสเป็นระยะเวลากว่า 11 วัน

โอซามา ฮัมดาน ผู้แทนอาวุโสกลุ่มฮามาสในเลบานอนกล่าวกลับรายการโกลบอล นิวส์ พอดคาสต์ ของบีบีซีว่า พวกเขากังวลกับเจตนาของรัฐบาลอิสราเอลต่อมัสยิดอัล-อัคซอ หากมีอะไรเปลี่ยนแปลงจากเดิมอาจจะเป็นสิ่งที่เกินจะยอมรับได้

ด้านรัฐบาลอิสราเอลระบุว่า พวกเขาสัญญาว่าจะรักษาเสรีภาพในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในสถานที่แห่งนี้ไว้

ม อ ตราการเพ มของประชากรส งมาก พ ราม ด

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

มัสยิดอัล-อัคซอ เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวมุสลิม

การตั้งรกรากของชาวยิว

หลังจากการเข้ามายึดครองพื้นที่ปาเลสไตน์เดิมโดยชาวอิสราเอลที่เริ่มขึ้นหลังสงครามในปี 1967 สิ่งก่อสร้างและการตั้งถิ่นฐานของชาวยิว โดยเฉพาะในเขตเวสต์แบงก์ ก็ขยายตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง องค์การสหประชาชาติประเมินว่า ในปี 2022 มีชาวยิวที่เข้ามาอาศัยในพื้นที่ที่ยึดครองมาแล้วจำนวนราว 700,000 คน

องค์การสหประชาชาติและประเทศส่วนใหญ่มองว่า การตั้งถิ่นฐานดังกล่าวของชาวยิวขัดต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศ แต่อิสราเอลกลับไม่เห็นด้วย

จากรายงานขององค์การสหประชาชาติระบุว่า เหตุความรุนแรงจากชาวอิสราเอลหัวรุนแรงต่อพลเรือนชาวปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยยูเอ็นระบุว่าในแต่ละเดือนมีเหตุความรุนแรงมากกว่า 100 ครั้ง ขณะที่มีคนราว 400 คนถูกขับออกจากที่ดินของตัวเองนับตั้งแต่ต้นปี 2022

ม อ ตราการเพ มของประชากรส งมาก พ ราม ด

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

นิคมชาวยิวในพื้นที่พิพาทได้กลายเป็นชนวนเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์มาอย่างต่อเนื่อง

โอซามา ฮัมดัม จากกลุ่มฮามาสในเลบานอนระบุว่า ชาวปาเลสไตน์ต่างหวาดกลัวว่า อิสราเอล "กำลังวางแผนถีบพวกเขาออกจากเขตเวสต์แบงก์"

ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับโลกอาหรับ

ปัจจุบัน อียิปต์และจอร์แดนเป็นเพียงสองประเทศเพื่อนบ้านอาหรับ ที่อิสราเอลยังคงรักษาสถานะความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเต็มรูปแบบเอาไว้ หลังจากได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับทั้งสองประเทศในปี 1979 และ 1994 ขณะที่ไม่นานมานี้อิสราเอลก็เพิ่งทำการเปิดทางไปสู่ข้อตกลงในลักษณะเดียวกันกับผู้เล่นรายสำคัญในภูมิภาคอย่าง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ในเดือน ก.ย. เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ช่องฟอกซ์ของสหรัฐอเมริกาว่า "ใกล้เข้าไปทุกวัน ๆ" ที่ซาอุดีอาระเบียจะกลับไปมีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างปกติกับอิสราเอลอีกครั้ง

แม้ว่าซาอุดีอาระเบียได้แสดงให้เห็นว่า ข้อตกลงใด ๆ ก็ตามจะมีขึ้นกับอิสราเอล จำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานของการเดินหน้าสร้างรัฐปาเลสไตน์ด้วย แต่กลุ่มฮามาสยังต่อต้านความคิดดังกล่าว โดยมองว่า การเชื่อมสัมพันธไมตรีทางการทูตระหว่างสองประเทศจะลดแรงกดดันต่ออิสราเอลที่จะยอมรับจุดยืนของปาเลสไตน์

"ข้อตกลงว่าด้วยการเชื่อมสัมพันธไมตรีทางการทูตระหว่างสองประเทศอย่างเป็นทางการไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งนี้ได้" นายอิสมาอิล ฮานิเยห์ ผู้นำกลุ่มฮามาสกล่าวสุนทรพจน์ผ่านสถานีโทรทัศน์เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา เพื่อแสดงความคิดเห็นพุ่งเป้าไปยังกลุ่มประเทศอาหรับที่พยายามแสดงท่าทีประนีประนอมต่อทางการอิสราเอล