ม เล อดออกเวลาป สสาวะ หร อ อ จจาระ

การขับถ่ายถือเป็นอีกหนึ่งกิจวัตรสำคัญ เพื่อที่ร่างกายจะได้กำจัดของเสียออก ซึ่งการสังเกตอุจจาระของตัวเองไม่ใช่เรื่องน่าอาย เพราะลักษณะและสีของอุจจาระนั้น สามารถบ่งบอกปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่เราคิด ถ้าหากมีความผิดปกติ เช่น อุจจาระสีดำ คล้ำ แข็ง หรือถ่ายเป็นเลือด นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายที่แฝงอยู่ในร่างกาย โดยโรคที่สามารถระบุได้จากการมีเลือดปนในอุจจาระมีดังนี้

ริดสีดวงทวารหนัก

ผู้ที่มีอาการท้องผูกบ่อย ๆ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักมากกว่าผู้ที่ขับถ่ายได้ตามปกติ ซึ่งโรคริดสีดวงทวารเกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือด อาจมีภาวะถ่ายเป็นเลือดสดไหลออกมาเป็นจำนวนมาก โดยที่เลือดกับอุจจาระไม่ปนกันและอาจมีติ่งริดสีดวงปลิ้นออกมาจากรูทวาร โดยริดสีดวงทวารมักจะมีอาการปวดแสบระคายเคืองบริเวณรูทวารหนัก ดังนั้นหากพบว่าตัวเองถ่ายเป็นเลือด ไม่ควรนิ่งนอนใจและควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี

เลือดออกในลำไส้ใหญ่

การถ่ายเป็นเลือดสดหรือมีลิ่มเลือดไหลออกมาพร้อมกับอุจจาระ แต่ไม่มีอาการปวดแสบทวารหนักหรือคลำได้ก้อนบริเวณทวารหนัก อาการลักษณะนี้เป็นอาการบ่งชี้ว่าอาจมีเลือดออกในลำไส้ใหญ่ หากมีเลือดไหลออกมาเล็กน้อยและหยุดไหลได้เอง สามารถรอดูอาการและมารับการตรวจภายหลังได้ แต่หากมีเลือดไหลออกมากควรรีบมารับการตรวจและรักษาโดยเร็วที่สุด

เลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็ก

อาการของภาวะนี้อาจเริ่มจากอาเจียนออกมาเป็นเลือดก่อน หรืออาจไม่มีอาการอาเจียนเลยก็ได้ จากนั้นอาจตามด้วยการถ่ายเป็นเลือด โดยสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ว่าเลือดจะเป็นสีเข้มจนเกือบดำ กลิ่นเหม็นมากผิดปกติ และหากถ่ายเป็นเลือดสดจำนวนมากก็ควรรีบมาพบแพทย์โดยด่วน

โรคลำไส้ขาดเลือด

โรคนี้เกิดจากการที่เลือดไม่สามารถเข้าไปไหลเวียนในลำไส้ได้จนทำให้เซลล์ลำไส้เริ่มไม่ทำงานและตายลงในที่สุด และเมื่อเวลาผ่านไปสักพัก ลำไส้ก็จะเริ่มเน่าจนมีแบคทีเรีย โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยมักมีอาการปวดเกร็งท้องและอาจปวดมากจนหมดสติ หรืออาจเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้ หากระหว่างปวดท้องมีอาการถ่ายเป็นเลือดร่วมด้วย แสดงว่าอาการเริ่มรุนแรงและมีความเสี่ยงถึงขั้นวิกฤต หากพบว่าตัวเองถ่ายเป็นเลือดไม่ว่าจะเพียงเล็กน้อยก็ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจโดยละเอียด เพราะถ้าลำไส้บางส่วนเริ่มเน่าแล้ว จะต้องผ่าตัดนำลำไส้ส่วนที่เสียออกไป แล้วต่อลำไส้ที่ยังทำงานได้ตามปกติเข้าด้วยกัน ยิ่งได้รับการผ่าตัดเร็ว ลำไส้ส่วนขาดเลือดจนต้องผ่าตัดออกก็จะยิ่งน้อย

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่จะทำให้เกิดแผลที่เยื่อบุผนังด้านในของลำไส้ใหญ่ ถ้าหากเป็นมะเร็งที่อยู่ใกล้ทวารหนักก็อาจมีอาการปวดเบ่งถ่ายไม่สุดหรือท้องผูกสลับท้องเสียได้ จึงทำให้มีความเสี่ยงในการถ่ายเป็นเลือดสดได้ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มักเกิดกับผู้ใหญ่อายุเกิน 40-50 ปี แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นกับคนวัยรุ่นวัยทำงานได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีประวัติครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มาก่อน

นอกจากถ่ายเป็นเลือด หรือ อุจจาระมีมูกเลือดปนจะเป็นสัญญาณอันตรายบ่งชี้ถึงโรคต่าง ๆ ได้แล้ว สีของอุจจาระที่แดงเข้ม เกือบดำ หรืออุจจาระสีดำก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ เช่น การทานอาหารที่มีเลือดสัตว์เป็นส่วนประกอบ หรือการอยู่ในระหว่างการทานยาบำรุงเลือด ดังนั้น หากมีอาการถ่ายเป็นเลือด หรือสีคล้ายเลือดเพียงเล็กน้อย และไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ สิ่งที่ควรทำเพื่อช่วยให้อาการดังกล่าวดีขึ้น คือ ควรรับประทานผักผลไม้มากขึ้น ดื่มน้ำมากขึ้น และออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยทั่วไปแล้ว การรักษาอาการถ่ายเป็นเลือดนั้นต้องพิจารณาจากสาเหตุของการเกิดโรคเป็นหลัก แต่หากไม่แน่ใจว่าอาการถ่ายเป็นเลือดที่เป็นอยู่เกิดจากสาเหตุใด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาอย่างถูกต้อง

เมื่อคุณถ่ายเป็นเลือด หมายถึงเกิดความผิดปกติภายในระบบทางเดินอาหารแน่นอน การพยากรณ์ความรุนแรงของโรคที่จะตามมานั้น สามารถดูได้จากจำนวนครั้งที่ถ่ายเป็นเลือด หรือปริมาณเลือดที่ออกมา ซึ่งผู้ที่มีเลือดออกมากก็จะมีโอกาสเกิดโรคมากกว่า หรือการมีเลือดหยดหลังจากถ่ายอุจจาระ อาจเกิดจากบาดแผลที่เส้นเลือดดำส่วนปลายทวาร แต่หากอุจจาระมีเลือดปนหรือถ่ายออกมามีเลือดอย่างเดียว นั่นหมายถึงการมีเลือดออกมากในลำไส้ใหญ่จากความผิดปกติบางอย่าง โรคที่เกี่ยวข้องได้แก่

1. โรคริดสีดวงทวาร

ถ่ายเป็นเลือดเป็นอาการหลักของโรคริดสีดวงทวาร ซึ่งเกิดจากการเบ่งอุจจาระเป็นประจำเนื่องจากท้องผูก ท้องเสีย ทำให้เส้นเลือดดำที่ปลายทวารหนักบวมและไม่ยุบลงไป เกิดเป็นตุ่มริดสีดวง บางคนที่ริดสีดวงอักเสบมากๆ จนหลุดออกมาด้านนอก ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บเวลาเดินหรือนั่งอย่างมาก หลังจากนั้นเวลาขับถ่ายก็จะมีเลือดออกมาเป็นหยดหลังการถ่าย หรือมีเลือดเปื้อนทิชชู่ตอนเช็ดทำความสะอาด ส่วนอุจจาระเป็นสีปกติ บางคนไม่รู้สึกเจ็บปวด อาการจะเป็นแบบเป็นๆ หายๆ แต่บางคนก็รู้สึกเจ็บบริเวณทวารหนัก คันบริเวณก้น และขับถ่ายลำบากร่วมด้วย

2. ลำไส้ใหญ่อักเสบ

เกิดจากโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคบิดทั้งมีตัวและไม่มีตัว ซึ่งมีอาการสำคัญคือถ่ายเป็นน้ำหรือถ่ายบ่อยๆ มีไข้ เบื่ออาหาร ปวดท้อง ถ่ายเป็นมูกร่วมกับมีเลือด หรือถ่ายเป็นเลือด ซึ่งต้องทำการรักษาต่อไป

3. ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่

เป็นเนื้องอกที่เกิดจากกรรมพันธุ์ผิดปกติ มักพบในผู้ชายมากกว่าเพศหญิงที่อายุมากกว่า 50 ปี และสามารถพัฒนาเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ โดยติ่งเนื้องอกนี้เกิดได้ทุกส่วนของลำไส้ใหญ่ มีรูปร่างกลม สีออกชมพู อาจมีก้อนเดียวหรือหลายก้อน โดยผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงให้เห็น แต่บางครั้งจะมีเลือดออกในลำไส้ใหญ่ ทำให้มีเลือดเคลือบผิวอุจจาระที่ขับถ่ายออกมา ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นๆ หายๆ โดยแพทย์มักแนะนำให้คนที่อายุมากกว่า 50 ปีตรวจลำไส้ใหญ่เพื่อตรวจหาติ่งเนื้อที่อาจเกิดขึ้น

4. มะเร็งลำไส้ใหญ่

เป็นมะเร็งที่พบบ่อยทั้งในไทยและทั่วโลก ส่วนใหญ่พบในคนที่อายุมากกว่า 60 ปี โดยผู้ป่วยจะขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย อุจจาระมีเลือด เป็นต้น ผู้ป่วยบางคนมาหาหมอเพราะเสียเลือดจนเป็นโลหิตจาง ส่วนมากจะพบมะเร็งบริเวณลำไส้ใหญ่ในช่องท้องมากกว่าลำไส้ตรง มะเร็งชนิดนี้เกิดจากการรับประทานอาหารไขมันสูงเป็นประจำและส่วนหนึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ มักรักษาไม่หายขาด ต้องใช้การส่องกล้องหรือวิธีอื่นเพื่อตรวจหาโรค และตัดเนื้อร้ายออกเพื่อป้องกันการลุกลามของโรค

การถ่ายเป็นเลือด นอกจากจะเป็นสัญญาณอันตรายถึงโรคต่าง ๆ แล้ว แต่อาจมาจากสาเหตุอื่นได้เช่น จากการกินอาหารที่มีเลือดสัตว์เป็นส่วนประกอบ หรือกินยาบำรุงเลือดก็เป็นได้ ดังนั้นหากมีอาการถ่ายเป็นเลือด หรือสีคล้ายเลือดเล็กๆ น้อยๆ และไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ อาจลองทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ดื่มน้ำให้มากขึ้น และออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาจช่วยให้อาการดังกล่าวดีขึ้น แต่หากไม่แน่ใจ ให้มาพบแพทย์เพื่อ ตรวจอุจจาระเพื่อค้นหาภาวะเลือดออก หรือ ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ก็จะเป็นการดี ทั้งนี้เพื่อแพทย์จะได้ทำการรักษาได้อย่างเหมาะสม