จดภาษ ม ลค าเพ มทางอ นเตอร เน ต

ตั้งแต่ 6 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป กรมสรรพากรจะเปิดให้บริการใหม่ สำหรับการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต หลายคนได้ยินประโยคนี้แล้วอาจจะรู้สึกตกใจ ว่าจะมีเรื่องใหม่มาให้ปรับตัวกันอีกแล้วใช่ไหมครับ

แต่อย่าเพิ่งตกใจไปครับ จากที่ผมทราบมา การเปลี่ยนแปลงระบบครั้งนี้น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีประโยชน์มากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเจ้าของธุรกิจและนักบัญชี เพราะมีหลากเรื่องที่ช่วยให้ทำงานได้ง่ายและสะดวกมากขึ้นครับ โดยมีการปรับปรุงสำคัญทั้งหมด 3 ด้านหลักๆ ดังนี้

เรื่องแรก: การลงทะเบียนและการเข้าสู่ระบบยื่นแบบแสดงรายการภาษี

  • ผู้ประกอบการสามารถยื่นแบบแยกสาขา หรือรวมสาขาได้ สำหรับกรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและธุรกิจเฉพาะ (จากเดิมที่ต้องยื่นแยกเป็นรายสาขาเท่านั้น)
  • เพิ่มช่องทางหลากหลายให้สามารถช่วยยื่นแบบ หรือจัดเตรียมแบบแสดงรายการภาษีให้ได้ด้วย จากเดิมที่เข้าสู่ระบบด้วย Username / Password เพียงช่องทางเดียว แต่ระบบใหม่สามารถกำหนดอำนาจในการยื่นแบบให้กับผู้ที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ให้บริการอย่าง Service Provider (อย่าง FlowAccount) ก็สามารถเชื่อมต่อระบบยื่นภาษีระบบใหม่ได้เช่นเดียวกัน (ซึ่งอยู่ระหว่างกำลังพัฒนาระบบ คาดว่าจะใช้ได้ในปี 2565)

เรื่องที่สอง: การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการยื่นแบบแสดงรายการ

  • ยื่นแบบแสดงรายการได้เกือบครบทุกแบบแสดงรายการ ยกตัวอย่างเช่น จากเดิมที่ไม่สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.2ก ได้ ก็จะสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่างๆ เหล่านี้ได้แล้วละครับ
  • กรณีของภาษีมูลค่าเพิ่ม มีระบบช่วยคำนวณค่าความคลาดเคลื่อน ±20 ภาษีที่ชำระ(ขอคืน) สำหรับแบบ ภ.พ.30 โดยหากค่าความคลาดเคลื่อนมากกว่า 20 บาท ระบบจะไม่ให้ยื่นแบบ เพื่อป้องกันการกรอกข้อมูลที่ผิดพลาด
  • สามารถยื่นแบบเกินกำหนดเวลาได้แล้ว โดยระบบจะช่วยคำนวณเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ค่าปรับอาญาที่ประหยัดเงินผู้เสียภาษีมากที่สุดให้ได้
  • หากมีการยื่นภาษีผิดไป (ถึงแม้ว่าจะไม่มีภาษีที่ต้องชำระ) ผู้เสียภาษีก็สามารถยกเลิกแบบแสดงรายการเองได้
  • ยื่นได้ทุกแบบ ทุกเบราว์เซอร์ และสามารถบันทึกร่าง (Save) แบบแสดงรายการภาษีเก็บไว้ได้อีกด้วย

เรื่องที่สาม: การชำระเงิน

  • ระบบสามารถออกใบเสร็จรับเงินได้ทันทีที่ชำระภาษี ไม่ต้องรอ 3 วันทำการอีกต่อไป
  • หากต้องการชำระภาษีแบบไม่ปัดเศษ เพื่อให้ง่ายต่อการบันทึกบัญชีก็สามารถทำได้แล้ว

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม ลองดูได้ที่คลิปด้านล่างนี้ครับ ผมสรุปรายละเอียดทั้งหมดไว้ในรูปแบบวิดีโอให้รับชมกันครับ

อัพเดต! ระบบยื่นภาษี e-Filing แบบใหม่ของกรมสรรพากร เริ่มใช้ปี 2564 มีอะไรที่เราต้องรู้บ้าง

ทีนี้ 3 ประเด็นสำคัญที่ต้องรู้นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเหล่านี้มีอะไรบ้าง ผมคิดว่าผู้เสียภาษีอย่างเราทุกคนควรทำความเข้าใจเรื่องสำคัญดังต่อไปนี้ครับ

1. การเปลี่ยนแปลงระบบใหม่ เริ่มใช้งานในวันที่ 6 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป โดยในระหว่างช่วงเวลาก่อนปรับปรุงสู่ระบบใหม่ ทางกรมสรรพากรมีการปิดระบบการใช้งานตามช่วงเวลาต่อไปนี้ครับ

  • ปิดระบบบริการสมัครสมาชิกเพื่อยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน – 5 ตุลาคม 2564
  • ปิดระบบยื่นและชำระภาษีผ่านเน็ตตั้งแต่วันที่ 1 – 5 ตุลาคม 2564

และสำหรับผู้เสียภาษีที่มีความจำเป็นในการยื่นแบบแสดงรายการช่วงนี้ สามารถยื่นแบบได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาครับ

2. ในอนาคตต้องมีการยืนยันเพื่อเข้าสู่ระบบใหม่ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยการยืนยันบัญชีเพื่อเข้าสู่ระบบใหม่ จะเริ่มให้ยืนยันได้ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป เพื่อเปลี่ยนเลขประจำตัวผู้ใช้งานระบบ (Username) เป็นเลขนิติบุคคล 13 หลัก แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังสามารถยื่นด้วยเลขผู้ใช้งานเก่าได้อยู่ (คาดว่าจะใช้ได้ถึงสิ้นปี 2564) ซึ่งผมแนะนำว่าถ้ามีเวลาก็ทยอยเปลี่ยนข้อมูลตรงส่วนนี้ไปได้เลยครับ

3. สิ่งที่ผู้เสียภาษีอย่างเราต้องเตรียมตัวเพิ่มเติมคือ การเรียนรู้ระบบใหม่ เพราะแน่นอนว่าย่อมมีการเปลี่ยนแปลงระบบต่างๆ ดังนั้นเราทุกคนควรเตรียมตัวเตรียมพร้อมสำหรับความเข้าใจระบบเหล่านี้ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ครับ เพื่อความสะดวกในอนาคตครับ เพราะนี่น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับระบบการยื่นภาษีของกรมสรรพากรในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาครับ

ท้ายที่สุดแล้ว การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของหลายอย่างที่ตามมาในอนาคตของระบบการรับชำระภาษีของประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ใช่หน้าที่ของใครโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นนักบัญชี เจ้าของธุรกิจ หรือ Service Provider เจ้าไหน

เพราะมันเป็นภารกิจที่ทุกคนจะต้องทำความเข้าใจไปด้วยกันครับ

ผู้ที่มีหน้าที่ยื่นแบบภาษี หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 3 และ 53 ให้กับบริษัท สามารถใช้โปรแกรม FlowAccount ในการออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย และดาวน์โหลดไฟล์ .txt สำหรับอัพโหลดในโปรแกรมโอนย้ายข้อมูลของกรมสรรพากรได้ เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่บทความ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT เป็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล หากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทก็ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ให้กับกรมสรรพากร แต่หลาย ๆ คนมักจะมีคำถามว่า จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เมื่อจด VAT แล้วมีข้อดีอย่างไรและมีข้อเสียที่ต้องกังวลหรือไม่ วันนี้ NEXcloud ERP จะพาไปพบคำตอบ

เข้าใจคำว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT) เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ ในปัจจุบันอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7% หรือที่เรามักจะคุ้นชินกับว่า VAT 7% นั่นเอง

จดภาษ ม ลค าเพ มทางอ นเตอร เน ต

ใครบ้างต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเรียกสั้น ๆ ว่า จด VAT ตามกฎหมายกำหนดให้ผู้ที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยรายได้ที่กล่าวถึงคือยอดขายหรือรายรับจริง ๆ ที่ยังไม่หักต้นทุนหรือกำไร โดยให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน

หากผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ประกอบกิจการโดยไม่ทำการจดทะเบียน จะมีโทษตามกฎหมาย จำคุกไม่เกิน 1 เดือน/ปรับ 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเลยทีเดียว

ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้น สามารถตรวจสอบได้ที่ กรมสรรพากร

ขั้นตอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (จด VAT)

หากผู้ประกอบการมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รายรับเกิน

โดยยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ที่

  1. สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ (แล้วแต่กรณี)
  2. หรือ ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต www.rd.go.th

จดภาษ ม ลค าเพ มทางอ นเตอร เน ต

ข้อดีของการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1. ขอคืนภาษีซื้อได้ เมื่อบริษัทจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ที่เกิดจากการที่บริษัทไปซื้อหรือใช้บริการจากที่อื่น จะสามารถบันทึกเป็นภาษีซื้อและทำการขอคืนได้ เช่น บริษัทซื้ออุปกรณ์สำนักงานในราคา 25,000 บาท VAT เท่ากับ 1,750 บาท บริษัทที่จด VAT จะบันทึก 1,750 บาทนี้เป็นภาษีซื้อและขอคืนได้ ทำให้ต้นทุนของสินค้าถูกลง

2. การจัดการบัญชีเป็นระบบ ตรวจสอบได้ง่าย เมื่อทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว บริษัทจะต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย เพื่อยื่นให้กับกรมสรรพากร ทำให้ต้องมีการลงบัญชีรายการซื้อ-ขาย เก็บเอกสารใบกำกับภาษีอย่างเป็นระบบ เมื่อจัดการบัญชีได้อย่างเป็นระบบ เอกสารไม่สะเปะสะปะ ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบและดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. เพิ่มโอกาสในการขาย ปิดการขายได้ง่าย ในมุมของลูกค้า ส่วนใหญ่ต้องการใบกำกับภาษี โดยเฉพาะลูกค้าที่เป็นในนามบริษัท เพราะต้องการนำไปใช้บันทึกภาษีซื้อเพื่อลดภาระภาษี ดังนั้นบริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีโอกาสขายที่มากกว่า ช่วยเพิ่มโอกาสให้กับกิจการได้

4. กิจการมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น การจด VAT เป็นเหมือนเครื่องหมายยืนยันว่าบริษัทของคุณมีตัวตนอยู่จริง เชื่อถือได้ เพราะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้รับการตรวจสอบจากกรมสรรพากรและมีชื่ออยู่ในระบบของสรรพากรด้วย ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้คู่ค้า

ข้อเสียของการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. ราคาสินค้าหรือบริการต้องมีการบวก VAT 7% ทุกครั้ง อาจทำให้สินค้าคุณแพงขึ้น
  2. ต้องทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และยื่นแบบ ภ.พ.30 ให้กับกรมสรรพากรทุกเดือน ถึงแม้จะไม่มีการซื้อ-ขายก็ตาม
  3. ต้องมีความรู้เรื่องใบกำกับภาษี เพราะใบกำกับภาษีจะมีเงื่อนไข รายละเอียด หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษีตามกฎหมาย

แต่จริง ๆ แล้ว ข้อเสียในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมักจะเกิดจากความยุ่งยากในการทำเอกสาร ซึ่งในปัจจุบันสามารถจัดการปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยการใช้ NEXcloud ERP ระบบบริหารธุรกิจที่มีเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกเรื่องภาษี จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย ใบกำกับภาษี ได้อย่างง่ายดาย ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร สะดวกและรวดเร็วกว่า

จดภาษ ม ลค าเพ มทางอ นเตอร เน ต

บริษัทเมื่อจด VAT แล้ว ย่อมมีการจัดการรายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย SAP Business One ซอฟต์แวร์มาตรฐานระดับโลก สามารถสร้างรายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะเป็นการหักเงินตามสัญญาที่เกี่ยวข้องแล้วส่งไปยังหน่วยงานด้านภาษีได้

มีวิธีการคำนวณภาษีอย่างไร

ภาษีที่ต้องเสีย คำนวณจากการนำ ภาษีขายทั้งเดือนภาษีมาหักด้วยภาษีซื้อทั้ง เดือนภาษีหากมีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ให้ ชำระภาษีส่วนต่างนั้น หากมีภาษีซื้อมากกว่า ภาษีขาย จะขอคืนภาษีส่วนต่างเป็นเงินสด หรือยกไปเครดิตภาษีในเดือนถัดไปก็ได้ดังนี้

ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ

หากภาษีขาย > ภาษีซื้อ = ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ

หากภาษีขาย < ภาษีซื้อ = ภาษีที่มีสิทธิขอคืน หรือขอเครดิตภาษี

ภาษีขาย หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือ ผู้รับบริการ เมื่อมีการขายสินค้าหรือรับค่า บริการ

ภาษีซื้อ หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่เป็น ผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อซื้อสินค้าหรือ ชำระค่าบริการเพื่อใช้ในการประกอบกิจการ ของตน ภาษีซื้อที่จะนำมาหักได้นี้คลุมไปถึง ภาษีซื้อของสินค้าประเภททุนด้วย

NEXcloud ERP ระบบบริหารธุรกิจบนคลาวด์ ERP ออกแบบมาเพื่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยทาง NEXUS บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจ ใช้ประสบการณ์มากกว่า 20 ปีและความเชี่ยวชาญมากกว่า 10 อุตสาหกรรม ในการออกแบบและพัฒนาเทมเพลตธุรกิจเพื่อให้ตอบสนองทุกการทำงานและครอบคลุมไปยังหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม

NEXcloud ERP มี SAP Business One ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์มาตรฐานระดับโลกเป็นกลไกหลักในการทำงาน สามารถขยายศักยภาพระบบไปได้อย่างไม่มีขีดจำกัด นอกจากฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์การทำงานแล้วยังประกอบไปด้วยชุดแบบฟอร์มเอกสารรายงาน แดชบอร์ด และยังรองรับ Thai Localization จัดการงานภาษีตามเงื่อนไขกรมสรรพากรได้อย่างถูกต้อง สะดวกและง่ายดาย

บุคคลธรรมดา จด VAT ต้องทำอย่างไรบ้าง

1. จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม.

2. จัดทาใบกากับภาษี.

3. จัดทารายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม.

4. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม.

จด VAT เองได้ไหม

อยากจด VAT ด้วยตัวเอง ไม่ใช่เรื่องยาก ขอแค่มีใจที่อยากจด กับเน็ตที่แรงพอ เราก็สามารถจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มออนไลน์ได้แล้วครับผม คลิปนี้จะมาสอนจด VAT การเตรียมข้อมูล การกรอกข้อมูล และที่สำคัญที่สุดคือการใช้ Browser ที่ถูกต้องในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับทางสรรพากรครับผม ติดตาม : https://openlink.co/taxbugnoms ฝาก ...

จด VAT ออนไลน์ ใช้เวลากี่วัน

กรมสรรพากรจะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) และทางอินเทอร์เน็ตภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ยื่นคำขอ และจะได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตั้งแต่วันที่แจ้งความประสงค์ คำเตือน การยื่นรายการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเท็จ ท่านจะต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและอาญา

จดเพิ่มสาขา สรรพากร ออนไลน์ได้ไหม

วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถกระทำได้ 2 ช่องทาง ดังนี้ ยื่นแบบคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ www.rd.go.th. ยื่นแบบคำขอด้วยกระดาษ ณ หน่วยจดทะเบียนที่ตั้งสถานประกอบการ