รห สไปรษณ ย แขวงคลองก ม เขตบ งก ม จ.กร งเทพมหานคร

ป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อกับเขตข้างเคียง ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตดุสิต มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตปทุมวัน มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสัมพันธวงศ์ มีถนนพระรามที่ 4 และถนนเจริญกรุงเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตพระนคร มีคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) และถนนราชดำเนินนอกเป็นเส้นแบ่งเขต

ที่มาของชื่อเขต[แก้]

ชื่อเขต "ป้อมปราบศัตรูพ่าย" ตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ป้อมป้องกันข้าศึกที่ตั้งอยู่ใต้ตลาดนางเลิ้งบ้านญวน ใกล้สะพานนพวงศ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดป้อมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตลอดฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม (คูพระนครใหม่ในสมัยนั้น) ต่อมาเมื่อตัวเมืองขยายออกไปมากขึ้นและความจำเป็นในการป้องกันศัตรูด้วยป้อมปราการก็หมดไป ป้อมนี้จึงถูกรื้อลงพร้อมกับป้อมอื่น ๆ

ประวัติศาสตร์[แก้]

อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย ตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงนครบาลเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2458 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นอำเภอชั้นในอำเภอหนึ่งของกรุงเทพพระมหานคร (เปลี่ยนชื่อมาจากมณฑลกรุงเทพ) ตั้งที่ทำการอยู่บริเวณถนนหลวง หลังวัดเทพศิรินทราวาส ตำบลป้อมปราบศัตรูพ่าย ต่อมาในวันที่ 21 ตุลาคม ปีเดียวกัน ได้มีประกาศกระทรวงนครบาลกำหนดเขตการปกครองในกรุงเทพพระมหานครขึ้นใหม่ โดยกำหนดให้อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายรวมอยู่ในท้องที่จังหวัดพระนคร

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2469 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทางการได้เปลี่ยนแปลงฐานะเขตการปกครองขนาดเล็กที่มีอาณาเขตติดต่อกันใกล้ชิดในจังหวัดพระนคร เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดิน อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายจึงถูกลดฐานะลงเป็น กิ่งอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย ขึ้นกับอำเภอสามยอด จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 ทางการได้ยุบกิ่งอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายลง ย้ายที่ว่าการอำเภอสามยอดไปตั้งทำการที่กิ่งอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย และเรียกชื่อว่า อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 22 ตำบล

ใน พ.ศ. 2481 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) ทางการได้ปรับปรุงเขตการปกครองใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยให้ยุบรวมอำเภอที่มีขนาดเนื้อที่เล็กและจำนวนประชากรไม่มากเข้าด้วยกัน สำหรับอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายได้รับโอนพื้นที่ตำบลวัดโสมนัส ตลาดนางเลิ้ง และมหานาคจากอำเภอนางเลิ้งซึ่งถูกยุบลงในคราวนี้ และได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่สามแยกถนนหลานหลวงตัดกับถนนพะเนียง ตำบลวัดโสมนัส ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอนางเลิ้ง

ใน พ.ศ. 2483 มีประกาศเปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ตำบลมหานาคและตลาดนางเลิ้งถูกยุบรวมเข้ากับตำบลวัดโสมนัส ตำบลบ้านบาตรถูกยุบไปรวมกับตำบลวัดเทพศิรินทร์และป้อมปราบศัตรูพ่าย ตำบลโรงเลี้ยงเด็กและสวนมะลิถูกยุบรวมเข้ากับตำบลวัดเทพศิรินทร์ และตำบลวรจักรถูกยุบรวมเข้ากับตำบลป้อมปราบศัตรูพ่าย จากนั้นกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองในจังหวัดพระนครใหม่อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2490 ครั้งนี้กำหนดให้อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล

ต่อมามีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีใน พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายได้ย้ายที่ว่าการจากถนนหลานหลวงไปตั้งอยู่ที่ถนนศุภมิตร ตำบลวัดโสมนัส (ที่ตั้งปัจจุบัน) และในปีถัดมา (พ.ศ. 2515) ก็มีประกาศคณะปฏิวัติเปลี่ยนรูปแบบการบริหารเมืองหลวงใหม่อีกครั้งจากนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย นับแต่นั้น

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่

หมาย เลข อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่ (ตร.กม.) จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565) ความหนาแน่น (ธันวาคม 2565) แผนที่

1.

ป้อมปราบ Pom Prap

0.535

12,864

24,044.86

รห สไปรษณ ย แขวงคลองก ม เขตบ งก ม จ.กร งเทพมหานคร

2.

วัดเทพศิรินทร์ Wat Thep Sirin

0.347

5,914

17,043.23

3.

คลองมหานาค Khlong Maha Nak

0.448

8,259

18,435.27

4.

บ้านบาตร Ban Bat

0.251

5,896

23,490.04

5.

วัดโสมนัส Wat Sommanat

0.350

6,377

18,220.00

ทั้งหมด

1.931

39,310

20,357.33

ประชากร[แก้]

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ปี (พ.ศ.) ประชากร การเพิ่มและการลด 2535 92,251 ไม่ทราบ 2536 83,680 -8,571 2537 81,642 -2,038 2538 80,932 -710 2539 80,173 -759 2540 79,182 -991 2541 78,376 -806 2542 76,602 -1,774 2543 75,220 -1,382 2544 73,979 -1,241 2545 73,240 -739 2546 72,040 -1,200 2547 61,220 -10,820 2548 60,001 -1,219 2549 58,768 -1,233 2550 57,461 -1,307 2551 56,464 -997 2552 54,601 -1,863 2553 53,526 -1,075 2554 52,093 -1,433 2555 50,930 -1,163 2556 50,092 -838 2557 49,280 -812 2558 48,585 -695 2559 47,450 -1,135 2560 46,581 -869 2561 45,701 -880 2562 43,485 -2,216 2563 41,524 -1,961 2564 40,418 -1,106 2565 39,310 -1,108

การคมนาคม[แก้]

ถนนสายหลักในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ได้แก่

  • ถนนพระรามที่ 4 เชื่อมระหว่างทางแยกหมอมี ถึงสะพานเจริญสวัสดิ์ 36
  • ถนนหลานหลวง เชื่อมระหว่างสะพานผ่านฟ้าลีลาศถึงสะพานจตุรพักตร์รังสฤษดิ์ (ทางแยกสะพานขาว)
  • ถนนวรจักร เชื่อมถนนเจริญกรุง (ทางแยกเอส เอ บี) กับถนนบำรุงเมือง (ทางแยกแม้นศรี)
  • ถนนเจริญกรุง เชื่อมระหว่างสะพานดำรงสถิตกับทางแยกหมอมี
  • ถนนบำรุงเมือง เชื่อมระหว่างสะพานสมมติอมรมารคกับสะพานกษัตริย์ศึก
  • ถนนไมตรีจิตต์ เริ่มต้นจากถนนหลวง (ทางแยกพลับพลาไชย) ผ่านวงเวียน 22 กรกฎาคม สิ้นสุดที่ถนนกรุงเกษม (ทางแยกไมตรีจิตต์)
  • ถนนมิตรพันธ์ เชื่อมถนนหลวงกับถนนเจริญกรุง (ทางแยกหมอมี)
  • ถนนเสือป่า เชื่อมถนนเจริญกรุง (ทางแยกเสือป่า) กับถนนหลวง (ทางแยกโรงพยาบาลกลาง)
  • ถนนจักรพรรดิพงษ์ เชื่อมถนนบำรุงเมือง (ทางแยกแม้นศรี) กับถนนราชดำเนินนอก (ทางแยก จ.ป.ร.)
  • ถนนนครสวรรค์ เชื่อมระหว่างสะพานเทวกรรมรังรักษ์กับสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
  • ถนนพลับพลาไชย เชื่อมถนนเจริญกรุง (ทางแยกแปลงนาม) กับถนนบำรุงเมือง (ทางแยกอนามัย)
  • ถนนวงเวียนยี่สิบสองกรกฎาคม เป็นถนนวนรอบวงเวียน 22 กรกฎาคม
  • ถนนสันติภาพ เริ่มต้นจากถนนพลับพลาไชย ผ่านวงเวียน 22 กรกฎาคม สิ้นสุดที่ถนนกรุงเกษม
  • ถนนหลวง เชื่อมระหว่างสะพานระพีพัฒนภาคกับสะพานนพวงศ์
  • ถนนยุคล 2 เชื่อมถนนบำรุงเมือง (ทางแยกยุคล 2 หรือทางแยกสวนมะลิ) กับถนนหลวง (ทางแยกโรงพยาบาลกลาง)
  • ถนนบริพัตร เชื่อมระหว่างถนนเยาวราชขนานไปกับคลองรอบกรุงหรือคลองโอ่งอ่าง ไปถึงสะพานมหาดไทยอุทิศที่ข้ามคลองมหานาคไปเชื่อมถนนดำรงรักษ์และถนนราชดำเนินนอก

สถานที่สำคัญ[แก้]

รห สไปรษณ ย แขวงคลองก ม เขตบ งก ม จ.กร งเทพมหานคร
ภูเขาทอง

  • ภูเขาทอง (พระบรมบรรพต) ในวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
  • กระทรวงคมนาคม
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  • วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่)
  • เวทีมวยราชดำเนิน
  • วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
  • โรงเรียนเทพศิรินทร์
  • โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์
  • โรงเรียนสตรีจุลนาค
  • วงเวียน 22 กรกฎา
  • วัดพระพิเรนทร์
  • วัดสิตาราม
  • วัดดิสานุการาม
  • วัดสุนทรธรรมทาน
  • วัดชัยชนะสงคราม
  • วัดเทวีวรญาติ
  • วัดโสมนัสราชวรวิหาร
  • วัดพลับพลาชัย
  • วัดคณิกาผล

ตลาด[แก้]

  • ตลาดคลองถม เป็นตลาดนัดวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งส่วนมากจะขายเกี่ยวกับชิ้นส่วนไฟฟ้าราคาถูก
  • ตลาดโบ๊เบ๊ ตลาดที่ขายเสื้อผ้าราคาถูก
  • ตลาดนางเลิ้ง ตลาดบกแห่งแรกของไทย และเป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน

อ้างอิง[แก้]

สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.