รอยส กท ม ความหมายเก ยวก บช ว ต

นอกจากคะแนนเสียง "ทะลุล้าน" ของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 17 ที่ได้คะแนนสูงสุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. แล้ว การเลือกตั้งท้องถิ่นของกรุงเทพฯ และเมืองพัทยาในรอบเกือบ 1 ทศวรรษ ยังมีอะไรน่าสนใจเกิดขึ้นอีกบ้าง

บีบีซีไทยบันทึกข้อมูลและเหตุการณ์น่าสนใจในวันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และนายกเมืองพัทยา 22 พ.ค.

1. ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ

ผู้ว่าฯ กทม.

ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุด 10 อันดับแรกจากการรายงานผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. อย่างไม่เป็นทางการที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์กรุงเทพมหานคร ณ เวลา 01.55 น. ของวันที่ 23 พ.ค.

  • นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (1,386,215 คะแนน)
  • นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (254,647 คะแนน)
  • นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร (253,851 คะแนน)
  • นายสกลธี ภัททิยกุล (230,455 คะแนน)
  • พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง (214,692 คะแนน)
  • น.ส. รสนา โตสิตระกูล (78,993 คะแนน)
  • น.ต. ศิธา ทิวารี (73,720 คะแนน)
  • นายวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนะ (20,742 คะแนน)
  • พ.ท.หญิง ฐิตา รังสิตพล มานิตกุล (19,841 คะแนน)
  • น.ส. วัชรี วรรณศรี (8,274 คะแนน)

ส.ก.

ผู้สมัครที่ได้รับเลือกเป็น ส.ก. เป็นผู้สมัครสังกัดพรรคเพื่อไทย 19 คน พรรคก้าวไกล 14 คน พรรคประชาธิปัตย์ 9 คน พรรคไทยสร้างไทย 2 คน พรรคพลังประชารัฐ 2 คน กลุ่มรักษ์กรุงเทพ 2 คน และผู้สมัครอิสระ 2 คน

ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 5 อันดับแรก คือ

  • น.ส. รัตติกาล แก้วเกิดมี พรรคไทยสร้างไทย เขตสายไหม (44,507 คะแนน)
  • นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา พรรคเพื่อไทย เขตลาดกระบัง (38,130 คะแนน)
  • นายนวรัตน์ อยู่บำรุง พรรคเพื่อไทย เขตหนองแขม (29,996 คะแนน)
  • น.ส.นฤนันมนต์ ห่วงทรัพย์ พรรคเพื่อไทย เขตคลองสามวา (29,867 คะแนน)
  • นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร พรรคเพื่อไทย เขตจอมทอง (28,443 คะแนน)

นายกเมืองพัทยา

จนถึงช่วงสายของ 23 พ.ค. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชลบุรี (กกต.ชลบุรี) ยังไม่รับรองผลการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาและสมาชิกสภาเมืองพัทยา เนื่องจากพบว่ามีบัตรเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาหายใน 2 หน่วยเลือกตั้ง ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยาพบกรณี "บัตรเขย่ง" คือแจกบัตรเลือกตั้งเกินไป 1 ใบใน 2 หน่วยเลือกตั้ง กกต.ชลบุรี จึงต้องส่งเรื่องให้ กกต. ส่วนกลางวินิจฉัย และสั่งการให้มีการเลือกตั้งใหม่เฉพาะหน่วยที่มีปัญหา

อย่างไรก็ตามผลการนับคะแนนการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาเมื่อ 22 พ.ค. นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ กลุ่มเรารักพัทยา ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนน 14,633 เสียง โดยสื่อมวลชนหลายสำนักรายงานคะแนนอย่างไม่เป็นทางการของผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาทั้ง 4 คน ดังนี้

  • นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ กลุ่มเรารักพัทยา 14,633 คะแนน
  • นายสินธ์ไชย วัฒนศาสตร์สาธร กลุ่มพัทยาร่วมใจ 12,736 คะแนน
  • นายกิตติศักดิ์ นิลวัฒนโฒชัย คณะก้าวหน้า 8.794 คะแนน
  • นายศักดิ์ชัย แต่งฮ่อ ผู้สมัครอิสระ 896 คะแนน

คำบรรยายวิดีโอ,

เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. : สรุปเหตุการณ์ 22 พ.ค. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ชนะเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

2. ผู้มาใช้สิทธิ

ผู้ว่าฯ กทม.

จำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. อยู่ที่ร้อยละ 60 เศษ ซึ่งน้อยกว่าร้อยละ 70 ที่ กกต. ตั้งเป้าไว้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 4,402,948 คน
  • ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาแสดงตนขอรับบัตรเลือกตั้ง จำนวน 2,673,696 คน
  • ร้อยละของผู้มาใช้สิทธิ 60.73
  • เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด คือ เขตทวีวัฒนา ร้อยละ 67.65
  • เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุด คือ เขตดุสิต 45.82
  • บัตรดี จำนวน 2,561,447 บัตร คิดเป็นร้อยละ 95.80
  • บัตรเสีย จำนวน 40,017 บัตร คิดเป็นร้อยละ 1.5
  • บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน จำนวน 72,227 บัตร คิดเป็นร้อยละ 2.7

ส.ก.

  • ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดของหน่วยที่นับคะแนนแล้ว 4,357,098 คน
  • ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งของหน่วยที่นับคะแนนแล้ว 2,635,283 คน
  • ร้อยละของผู้มาใช้สิทธิ 60.48

นายกเมืองพัทยา

  • ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 78,018 คน มีผู้มาใช้สิทธิ 38,320 คน
  • ร้อยละของผู้มาใช้สิทธิ 49.96
  • บัตรดี 36,575 ใบ คิดเป็นร้อยละ 95.45
  • บัตรเสีย 1,001 คิดเป็นร้อยละ 2.61
  • บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 744 ใบ คิดเป็นร้อยละ 1.94

3. ปัญหาว่าด้วยสีหมึกปากกา

การเลือกตั้งท้องถิ่นกรุงเทพมหานครในวันที่ 22 พ.ค. ประเด็นที่มีการพูดถึงมากที่สุดคือเรื่องสีหมึกของปากกาที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้กาบัตรเลือกตั้ง

เสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องสีของปากกา ที่ใช้กากบาทเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. เมื่อนายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งออกมาแนะนำให้ประชาชนใช้ปากกาสีน้ำเงินในการลงคะแนนเลือกตั้งเท่านั้น

นายอิทธิพรกล่าวว่า หากประชาชนจะนำปากกามาเองสามารถนำมาได้ แต่ที่หน่วยเลือกตั้งได้จัดปากกาไว้คอยอำนวยความสะดวกไว้เช่นกัน มีการทำความสะอาดตลอดเวลาตามแนวทางปฏิบัติ ขอเน้นย้ำว่า "หากนำปากกามาเอง ขอให้เป็นปากกาเฉพาะสีน้ำเงินเท่านั้น อย่านำสีอื่นมา เพราะจะทำให้บัตรเสียได้"

เช่นเดียวกับนายฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ กรรมการ กกต. ที่ระบุว่า หากประชาชนนำปากกามาเองขอเฉพาะสีน้ำเงิน ห้ามใช้ปากกาน้ำมัน ปากกาเคมี เพราะเวลากากบาทแล้วเลอะเลือน จะทำให้เป็นบัตรเสียได้

  • เลือกตั้งผู้ว่าฯ ประชาชนกำหนดชะตากรุงเทพฯ
  • กรุงเทพฯ"เมืองเทพสร้าง" กับปัญหาที่รอผู้ว่าฯ คนใหม่แก้
  • เส้นทาง "มาราธอน" ของชัชชาติ ก่อนถึงเส้นชัยผู้ว่าฯ กทม.

การออกมาระบุถึงสีและชนิดของปากกาของ กกต. เกิดขึ้นในระหว่างที่พวกเขาเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ตรวจเยี่ยม และสังเกตการณ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง อนุญาตให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนำปากกาติดตัวไปเองและใช้กาบัตรเลือกตั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสปากกาที่หน่วยเลือกตั้งจัดเตรียมไว้ ด้วยเหตุผลด้านอนามัยในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ด้านนายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร ชี้แจงระหว่างการแถลงข่าวสรุปสถานการณ์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ว่า ตามกฎหมายเลือกตั้งไม่มีข้อกำหนดว่าต้องใช้หมึกสีไหน แต่เจ้าหน้าที่ได้ขอร้องให้ใช้ปากกาสีน้ำเงิน เพราะคิดว่ามองเห็นได้ชัดเจน แต่ยืนยันว่าใช้ปากกาสีไหนก็ได้ สีดำก็ได้ หรือไม่ต้องเอาปากกาไปเลยก็ได้ ไปใช้ปากกาที่หน่วยเลือกตั้งเตรียมไว้ให้

ความสับสนที่เกิดขึ้น ทำให้ ผอ.การเลือกตั้งประจำท้องถิ่น กทม. ส่งหนังสือถึงสั่งการไปยังผู้อำนวยการเขตทุกเขตว่าในการนับคะแนน ไม่ว่าบัตรเลือกตั้งนั้นจะใช้หมึกปากกาสีไหน แต่ถ้าขีดกากบาทแล้วไม่เป็นบัตรเสียก็ให้นับเป็นคะแนน

รอยส กท ม ความหมายเก ยวก บช ว ต

ที่มาของภาพ, Thai news Pix

คำบรรยายภาพ,

ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งหย่อนบัตรลงหีบที่หน่วยเลือกตั้งแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ อาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมา "ถอนใจ" ผ่านโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวซึ่งตั้งค่าเป็นสาธารณะ เนื้อหาตอนหนึ่งระบุว่า "หากกรรมการนับคะแนนจะวินิจฉัยว่าบัตรดังกล่าวเป็นบัตรเสียตามแนวทางที่ กกต. ชี้แจง โดยการประชาสัมพันธ์แจ้งข้อมูลนี้ ไม่ได้เป็นที่รับรู้ทั่วถึงทั่วไปในเวลาล่วงหน้าพอสมควร ทั้งเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งก็มิได้ชี้แจงให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งระมัดระวังประเด็นนี้ให้แจ้งชัด น่าสงสัยว่า แนวทางนี้มีเหตุผลทางกฎหมายอย่างไร มีตัวบทแจ้งชัด หรือเป็นเพียงการตีความของ กกต. ถอนใจ"

ด้าน ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์เตือนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าอย่าสร้างความสับสนให้เจ้าหน้าที่นับคะแนน และการให้ความเห็นใด ๆ ต้องดูข้อกฎหมายประกอบ

ดร.ประจักษ์ระบุว่า กกต. ต้องไม่ใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จะออกความเห็นประการใด ควรดูข้อกฎหมายประกอบ ต้องไม่สร้างความสับสนให้เจ้าหน้าที่นับคะแนน ไม่ทำลายเจตนารมณ์ของผู้เลือกตั้ง และไม่ทำให้ กกต. กลายเป็นอุปสรรคในการใช้สิทธิของประชาชนเสียเอง

"หลักการเลือกตั้ง ควรทำให้ประชาชนใช้สิทธิได้ง่ายที่สุดและมากที่สุดตามเจตนารมณ์ของเขา ไม่ควรนับบัตรเสียจากเรื่องหยุมหยิม เช่น ใช้ปากกาสีอะไร กากบาทเกินช่อง ใช้เครื่องหมายอื่นนอกจากกากบาท"

ดร.ประจักษ์เสนออีกด้วยว่า ในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งหน้าควรใส่ชื่อผู้สมัครในบัตรเลือกตั้ง และควรจัดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าและเลือกตั้งนอกเขตได้

รอยส กท ม ความหมายเก ยวก บช ว ต

ที่มาของภาพ, Thai NEws PIx

คำบรรยายภาพ,

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มีคะแนนนำที่หน่วยเลือกตั้งในเขตพญาไท ระหว่างการนับคะแนน

4. รวมเหตุการณ์ทำผิดกฎหมายเลือกตั้งใน กทม.

นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร แถลงข่าวสรุปสถานการณ์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. โดยระบุว่ามีเหตุการณ์ที่เข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งดังนี้

ฉีกบัตรเลือกตั้ง 3 ราย

  • เขตสวนหลวง: หน่วยเลือกตั้งที่ 25 แขวงอ่อนนุช พบผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ก. แต่ได้ทำการฉีกบัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เจ้าหน้าที่นำตัวส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนง
  • เขตสัมพันธวงศ์: หน่วยเลือกตั้งที่ 7 แขวงตลาดน้อย พบผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งใช้สิทธิเลือกตั้งเฉพาะผู้ว่าฯ กทม. และได้ทำการฉีกบัตรเลือกตั้ง ส.ก. โดยให้เหตุผลว่าไม่รู้จะเลือกใครและกลัวบุคคลอื่นจะนำบัตรเลือกตั้งไปใช้ เจ้าหน้าที่นำตัวส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 2
  • เขตบางซื่อ: ผู้ใช้สิทธิฉีกบัตรเลือกตั้งทั้งของผู้ว่าฯ กทม. และบัตรเลือกตั้ง ส.ก.

ขยำบัตรเลือกตั้ง 1 ราย

เขตคลองเตย: หน่วยเลือกตั้งที่ 74 แขวงคลองเตย พบผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งขยำบัตรเลือกตั้ง ส.ก. และผู้ว่าฯ กทม. และทิ้งลงพื้น เจ้าหน้าที่นำตัวส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลท่าเรือ

นำบัตรเลือกตั้งออกจากหน่วยเลือกตั้ง 1 ราย

เหตุเกิดที่เขตบางซื่อ เจ้าหน้าที่ได้ประสาน สน.เตาปูน ติดตามและนำตัวไปดำเนินคดี

ทำบัตรเลือกตั้งชำรุด 1 ราย

เหตุเกิดที่เขตหนองแขม เนื่องจากผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเข้าใจว่าหย่อนบัตรผิดหีบ จึงดึงบัตรเลือกตั้งกลับคืน ทำให้บัตรชำรุด เจ้าหน้าที่ รปภ. นำตัวไปลงบันทึกประจำวันที่ สน.หนองแขม

ถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งขณะเลือกตั้ง

เหตุเกิดที่เขตราชเทวี ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งทำเครื่องหมายกากบาทลงในบัตรลงคะแนน แล้วใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งขณะอยู่ในคูหาเลือกตั้ง เพื่อให้เห็นเครื่องหมายลงคะแนนในคูหาเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมและส่งพนักงานสอบสวน สน.พญาไท

รอยส กท ม ความหมายเก ยวก บช ว ต

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

บรรยากาศการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งท้องถิ่นกรุงเทพฯ ซึ่งมีทั้งหมด 6,718 หน่วย

รอยส กท ม ความหมายเก ยวก บช ว ต

ที่มาของภาพ, Thai NEWS PIX

คำบรรยายภาพ,

เจ้าหน้าที่ชูบัตรเลือกตั้ง ส.ก. ระหว่างการนับคะแนน

5. ติดเชื้อโควิด-19 ก็ใช้สิทธิได้

การเลือกตั้งท้องถิ่น กทม. และเมืองพัทยา เมื่อ 22 พ.ค. ศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศปก.ศบค.) และ กกต. ได้อนุญาตให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ไปใช้สิทธิลงคะแนนได้ โดยได้จัดคูหาแยกไว้ให้เป็นการเฉพาะ สำหรับผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายเกิน 37.5 องศาเซลเซียส

นายขจิต ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ณ เวลา 16.00 น. ได้รับรายงานว่ามีผู้ป่วยโควิด-19 มาใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม. และ ส.ก. ทั้งหมด 93 ราย

มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้ กทม. ประกาศปิด 437 รร. สังกัด กทม. หนึ่งวันหลังเลือกตั้ง คือในวันที่ 23 พ.ค. เพื่อจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานและทำความสะอาดอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนให้ปลอดเชื้อและปลอดภัยก่อนการจัดการเรียนการสอนปกติ และให้จัดการสอนชดเชยในภายหลัง

รอยส กท ม ความหมายเก ยวก บช ว ต

ที่มาของภาพ, Thai NEws Pix

คำบรรยายภาพ,

ทุกหน่วยเลือกตั้งจะมีจุดวัดอุณหภูมิผู้ที่มาใช้สิทธิ หากอุณหภูมิเกิน 37.5 องศาเซลเซียส จะต้องไปลงคะแนนไว้ที่คูหาซึ่งจัดแยกไว้เฉพาะ

คำสั่งนี้ออกมาตั้งแต่ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยอาศัยอำนาจตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสั่งปิดสถานศึกษาชั่วคราวเนื่องจากเหตุพิเศษ พ.ศ.2543 ข้อ 5

นายเกรียงไกร จงเจริญ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กทม. กล่าวว่า ในการเลือกตั้ง ส.ก. และผู้ว่าราชการ กทม. 22 พ.ค. มีการใช้วัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ของโรงเรียนในสังกัด กทม. รวมทั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งมีความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อโควิด-19 จึงต้องปิดโรงเรียน 1 วันภายหลังการเลือกตั้ง