ว ชาท สามารถเท ยบโอนหน วยก ต ม.ราม

ว ชาท สามารถเท ยบโอนหน วยก ต ม.ราม

Show

มีคำถาม-มีคำตอบ

สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบ ประเมินผล(สวป.) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ว ชาท สามารถเท ยบโอนหน วยก ต ม.ราม

ว ชาท สามารถเท ยบโอนหน วยก ต ม.ราม

  • Home
  • คำถามที่พบบ่อย
  • คำถามแยกตามหมวด
  • Download
  • ข่าว
  • ข้อร้องเรียน

ว ชาท สามารถเท ยบโอนหน วยก ต ม.ราม
คำถาม : การชำระค่าเทียบโอน

หมวดหมู่คำถามการรับสมัครและแนะแนวการศึกษา รายละเอียด

ขอสอบถามค่ะ เนื่องจากเทียบโอนกับเพื่อน ทั้งแบบสมัครเอง และ ออนไลน์

1. เริ่มชำระ ค่าเทียบโอน ติดต่อดำเนินการที่ไหนและเตรียมอะไรบ้างคะ

2. หากเป็นเทียบโอนออนไลน์ชำระอย่างไรคะ

3.สามารถให้เพื่อนชำระแทนที่มหาลัยได้ไหมคะ

4.ตอนนี้ยังไม่ได้บัตรประจำตัวใหม่ สามารถไปชำระได้เลยไหมคะ

เอกสารแนบNot setเอกสารแนบ เพื่มเติมNot setเอกสารแนบ เพื่มเติมNot setผู้ตั้งคำถามปวีณ์ธิดา [email protected] คำตอบมีคำตอบ วันที่ตั้งคำถาม30 มิ.ย. 2565 09:58:40 จำนวนผู้อ่าน2701


ว ชาท สามารถเท ยบโอนหน วยก ต ม.ราม
คำตอบ

รายละเอียด

1. สมัครโดยใช้สิทธิ์เทียบโอนได้ทั้งทางอินเทอร์เน็ตและด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัยครับ 2. - หากสมัครทางออนไลน์ ในส่วนของค่าเทียบโอนหน่วยกิต ระบบจะคิดไว้ก่อน 100 บาท จากนั้นผู้สมัครต้องติดต่อคณะอีกครั้งประมาณ 2 เดือน เพื่อชำระค่าทเียบโอนส่วนที่เหลือ - หากสมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัย สามารถเลือกชำระค่าเทียบโอนทั้งหมดพร้อมค่าสมัคร หรือมัดจำไว้ก่อน 100 บาท ก็ได้ 3. ถ้าเป็นการชำระส่วนที่เหลือ (หลัง 2 เดือน นับจากวันที่สมัคร สามารถทำแทนกันได้ครับ (รายละเอียดอื่นๆให้สอบถามทางคณะโดยตรง) 4. รอประมาณ 2 เดือนหลังเปืดเทอม จึงไปติดต่อคณะครับ โดยสามารถชำระได้ไม่เกิน 1 ปีนับจากวันที่สมัคร ถ้าเกิน 1 ปีจะต้องเสียค่าปรับเทียบโอนล่าช้าเทอมละ 300 บาท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายรับสมัครฯ โทร.023108615, 023108623, 023108624

เอกสารแนบNot setเอกสารแนบ เพิ่มเติมNot setเอกสารแนบ เพิ่มเติมNot setผู้ตอบคำถามรณฤทธิ์ วันที่ตอบ1 ก.ค. 2565 11:09:37 IP Address10.6.13.233


หลายๆคนคงจะเริ่มนับ 1 ในชีวิตมหาวิทยาลัยเมื่อจบ ม.6 ตอนที่อายุ 18-19 ปี มันคือการเปลี่ยนระบบการเรียนจากโรงเรียน/วิทยาลัยให้ก้าวเข้าสู่ระบบมหาวิทยาลัย ที่ต้องใช้ความรับผิดชอบมากขึ้นไปอีก แต่จะดีกว่าไหมถ้าจะก้าวเข้าสู่ระบบการเรียนแบบมหาวิทยาลัยควบคู่ขณะกำลังเรียนชั้น ม.4/ปวช.

ก้าวสู่มหาวิทยาลัยตั้งแต่ตอนนี้

เริ่มนับ 1 ในชีวิตมหาวิทยาลัยตั้งแต่อายุ 16 ด้วยระบบพรีดีกรี กับการเรียนควบคู่ชั้นม.ปลาย(หรือเทียบเท่า)ไปพร้อมกับการสอบสะสมหน่วยกิตของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เริ่มต้นก่อนก็ถึงเส้นชัยก่อน

ว ชาท สามารถเท ยบโอนหน วยก ต ม.ราม

พรีดีกรี (Pre-degree) คืออะไร

พรีดีกรีเป็นการเรียนเพื่อสะสมหน่วยกิตในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยรามคำแหงล่วงหน้า โดยอนุญาตให้ผู้ที่มีวุฒิการศึกษาระดับม.ต้น(วุฒิ จบ ม.3 หรือ กศน.จบ ม.3) เป็นต้นไปมาสมัครเป็นนักศึกษาระดับพรีดีกรีได้ โดยเลือกลงทะเบียนเรียนวิชาใดๆก็ได้ของคณะที่สนใจได้เลย

ว ชาท สามารถเท ยบโอนหน วยก ต ม.ราม

นิ้ง พิชชาภา กันตพิชญาธร (นิ้ง SWEAT16) อดีตนักศึกษาพรีดีกรี ปัจจุบันจบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว

พรีดีกรี เหมาะกับใคร ?

พรีดีกรีเหมาะอย่างยิ่งสำหรับน้องๆที่กำลังเรียนอยู่ ม.ปลาย (หรือเทียบเท่า) รวมถึงน้องๆ ปวช. ที่ต้องการสะสมหน่วยกิตของมหาวิทยาลัย เพื่อจะได้จบปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เร็วขึ้น (ถ้ามีวุฒิ ม.6 อยู่แล้ว สมัครเป็นนักศึกษาภาคปกติได้เลย) สำหรับนักศึกษา ปวส. ก็สามารถสมัครเรียนได้แต่ขอให้พิจารณาการลงทะเบียนในระบบพรีดีกรีไม่ให้ซ้ำซ้อนกับหน่วยกิตที่จะสามารถเทียบโอนจากวุฒิ ปวส. ได้ในอนาคต โดยอาจเลือกลงทะเบียนเรียนวิชาเอกได้เลย และเมื่อเรียนจบ ปวส.แล้ว ก็ให้เทียบโอนหน่วยกิตจากปวส.+หน่วยกิตที่สะสมได้ตอนเรียนพรีดีกรี เพื่อสมัครเป็นนักศึกษาภาคปกติ

ช่วงเวลาค้นหาตัวเอง

การเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดโอหาสให้ทุกคนได้มีเวลาค้นหาตัวเองโดยเฉพาะเรื่องการเรียน และระบบพรีดีกรีไม่สังกัดคณะใดๆ หมายความว่า นักศึกษาพรีดีกรีไม่ใช่นักศึกษาของคณะใดคณะหนึ่ง ลอยตัวอยู่เหนือคณะทั้งหมด ถึงแม้ว่าตอนสมัครเรียนเขาจะให้เราเลือกคณะไปแล้วนี่นา? การที่มหาวิทยาลัยถามคณะตั้งแต่ตอนที่สมัคร ก็เพราะมหาวิทยาลัยจะได้เลือกหยิบวิชาในคณะที่เราสนใจมาให้เรา เป็นการอำนวยความสะดวกให้ตอนสมัครครั้งแรกเท่านั้น สมมติ ถ้าตอนนี้ชอบรัฐศาสตร์และมุ่งมั่นว่าในอนาคตก็จะเรียนคณะรัฐศาสตรแน่ๆ ก็ให้เราหยิบวิชาของรัฐศาสตร์มาสอบสะสมไว้ในระบบพรีดีกรีเรื่อยๆไปก่อน มันจะเป็นตัวช่วยให้เราจบรัฐศาสตร์ตอนที่เป็นนักศึกษาภาคปกติได้เร็วขึ้น แต่ถ้าเรียนไปแล้วเกิดเปลี่ยนใจขึ้นมาล่ะ ? ก็อย่างที่บอกว่า “พรีดีกรีไม่สังกัดคณะใดๆ” ถ้าเราไม่ชอบรัฐศาสตร์แล้ว แต่หันไปชอบสื่อสารมวลชนแทน เราก็เปลี่ยนไปหยิบวิชาของคณะสื่อสารมวลชนมาสอบสะสมต่อได้เลย ไม่ต้องแจ้งใคร ไม่ต้องแจ้งมหาวิทยาลัย แค่นี้เอง “…ปีนี้ชอบรัฐศาสตร์ ปีหน้าอาจจะชอบสื่อสารมวลชนขึ้นมาก็ได้นี่นา…”

ระบบพรีดีกรี และ ภาคปกติ เรียนต่างกันไหม ?

การเรียนระบบพรีดีกรี กับ การเรียนในภาคปกติ เหมือนกันเกือบทุกประการ คือ นักศึกษาพรีดีกรีเลือกสะสมหน่วยกิตได้ทุกสาขาวิชา ใช้กำหนดการในปฏิทินการศึกษาเดียวกัน เรียนเนื้อหาเดียวกัน เรียนห้องเดียวกัน ใช้ข้อสอบชุดเดียวกันกับนักศึกษาภาคปกติ และนักศึกษาพรีดีกรีต้องดูและตัวเองในทุก ๆ ด้าน ทั้งการวางแผนลงทะเบียนเรียน การสอบ ซึ่งจะต้องมีการแบ่งเวลาการเรียนทั้งที่โรงเรียนและมหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นอย่างดี สิ่งที่แตกต่างกันบางอย่างคือ ค่าใช้จ่ายระบบภาคปกติ และพรีดีกรี คือ นักศึกษาภาคปกติ ค่าหน่วยกิตละ 25 บาท , นักศึกษาพรีดีกรี หน่วยกิตละ 50 บาท

ว ชาท สามารถเท ยบโอนหน วยก ต ม.ราม

เรียนพรีดีกรีจะได้รับปริญญาไหม ?

การเรียนระบบพรีดีกรีไม่สามารถจบการศึกษาระดับปริญญาตรีได้ เนื่องจากระบบพรีดีกรีเป็นการสะสมหน่วยกิตเท่านั้น แต่หน่วยกิตที่สะสมไว้จะปูทางไปสู่การจบปริญญาตรีได้เร็วขึ้น ! (อ่านกรณีสมมติจะเข้าใจได้มากขึ้น) กรณีสมมติ น้อง A สมัครเป็นนักศึกษาพรีดีกรีด้วยวุฒิ ม.3 และกำลังเรียน ม.ปลายอยู่ด้วย หลังจากสมัครเรียนแล้วเวลาผ่านไป 3 ปี ปรากฎว่าน้อง A สะสมหน่วยกิตขณะเรียนพรีดีกรีได้ 100 หน่วยกิต จนเกือบครบตามหลักสูตรปริญญาตรีแล้ว(วงกลมสีเขียว) และถ้าสะสมอีกไม่กี่หน่วยกิตก็จะทำให้น้อง A เรียนครบหลักสูตรทันที แต่น้อง A จะจบปริญญาตรีไม่ได้… ถ้าไม่นำวุฒิ จบ ม.6 มาเปลี่ยนระบบให้เป็นนักศึกษาภาคปกติเสียก่อน ถ้าต้องการจบการศึกษาและรับพระราชทานปริญญาบัตร น้อง A ต้องลาออกจาการเป็นนักศึกษาพรีดีกรี และมัครเป็นนักศึกษาภาคปกติด้วยวุฒิฯ ม.6 และลงทะเบียนเรียนหน่วยกิตที่เหลือ(วงกลมสีม่วง) พร้อมกับเทียบโอนหน่วยกิตที่เคยสะสมเอาไว้ตอนที่เรียนพรีดีกรี(วงกลมสีเขียว)เข้าด้วยกัน จากนั้นเรียนและสอบในระบบปกติให้เสร็จสิ้น หากสอบผ่านทั้งหมดก็จะถือว่าจบการศึกษาทันที เข้าพิธีพระราชทานปริญญาบัตรได้ (บางคนสมัครเป็นนักศึกษาภาคปกติและเรียนต่อเพียงเทอมเดียวก็จบการศึกษาได้เลย เพราะสะสมหน่วยกิตตอนพรีดีกรีเอาไว้มากนั่นเอง)

ว ชาท สามารถเท ยบโอนหน วยก ต ม.ราม

ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นขณะเรียน/หลังเรียนพรีดีกรี

1. ค่าใช้จ่ายในการสมัคร(ต้องจ่ายแน่ๆในวันสมัคร)

ค่าสมัครและลงทะเบียนเรียนครั้งแรก ส่วนกลาง : ไม่เกิน 3,100 บาท / ส่วนภูมิภาค : ไม่เกิน 4,080 บาท ค่าลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาต่อ ๆ ไป ส่วนกลาง : ไม่เกิน 1,400 บาท / ส่วนภูมิภาค : ไม่เกิน 2,000 บาท *อัตราค่าใช้จ่ายการลงทะเบียนเรียนขึ้นอยู่กับจำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียน หากลงทะเบียนหน่วยกิตในภาคเรียนนั้นๆมาก ค่าใช้จ่ายจะมากตามไปด้วย ซึ่งมหาวิทยาลัยกำหนดให้ลงทะเบียนเรียนอย่างน้อย 9 หน่วยกิต/ภาคเรียน เท่านั้น แต่นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้สูงสุดถึง 21 หน่วยกิต

2. ค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนระบบจากพรีดีกรีให้เป็นระบบปกติ(ต้องจ่ายในอนาคต)

ค่าใชัจ่ายนี้จะเกิดขึ้นเมื่อ นักศึกษาพรีดีกรีเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า(ปวช. กศน.)แล้ว ต้องนำวุฒิการศึกษานี้มาสมัครเป็นนักศึกษา ป.ตรี ภาคปกติ และเทียบโอนหน่วยกิตที่สะสมได้เข้าสู่ระบบปกติด้วย โดยแบ่งเป็นค่าใช้จ่าย 2 ส่วน คือ 2.1 ค่าสมัครและลงทะเบียนเรียน(ปริญญาตรี ภาคปกติ) ไม่เกิน ส่วนกลาง : ไม่เกิน 3,750 บาท / ส่วนภูมิภาค : ไม่เกิน 4,730 บาท 2.2 ค่าเทียบโอนหน่วยกิต หน่วยกิตละ 50 บาท เช่น หากสะสมระหว่างเรียนพรีดีกรีได้ 60 หน่วยกิต จะเป็นเงินค่าเทียบโอน 60×50= 3,000 บาท ** เงินค่าสมัครและลงทะเบียนเรียน(2.1)จำเป็นต้องชำระในวันสมัคร แต่ค่าเทียบโอนหน่วยกิต(2.2)สามารถชำระได้ภายหลังโดยไม่มีค่าปรับภายใน 1 ปีนับจากวันที่สมัครเรียน

‘พรีดีกรี’ ทางด่วนไปสู่ความสำเร็จ

อดีตนักศึกษาระบบพรีดีกรี ที่สมัครเรียนและสะสมหน่วยกิตล่วงหน้า และจบปริญญาตรีตั้งแต่อายุยังน้อย

ว ชาท สามารถเท ยบโอนหน วยก ต ม.ราม

สิรพิชญ์ สินมา (พิงค์)

จบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ ด้วยการสะสมหน่วยกิตจากระบบพรีดีกรี เมื่ออายุอายุ 18 ปี, เนติบัณฑิตยสภา 19 ปี, จบปริญญาโท 2 ใบ จาก University of San Diego และ California Western School of Law สหรัฐอเมริกา เมื่ออายุ 21 ปี, ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา

ว ชาท สามารถเท ยบโอนหน วยก ต ม.ราม

ประวีณ์ธิดา จารุนิล

เรียนพรีดีกรีตั้งแต่ ม.4 สะสมหน่วยกิตได้ 128 หน่วยกิต เรียนภาคปกติต่ออีก 1 เทอมก็จบปริญญาตรีเมื่ออายุ 18 ปี และเรียนต่อปริญญาโทสาขากฎหมายมหาชน ม.รามคำแหง และจบการศึกษาเมื่ออายุ 21 ปี

ว ชาท สามารถเท ยบโอนหน วยก ต ม.ราม

พันจ่าอากาศโท

ดร.สุวินท์ รักสลาม

เรียนพรีดีกรีในระหว่างเรียนที่โรงเรียนจ่าอากาศ จบปริญญาตรี เมื่ออายุ 18 ปี, ต่อปริญญาโท(บริหารรัฐกิจ) ม.รามคำแหง ขณะอายุ 20 ปี และจบปริญญาดุษฎีบัณฑิต(การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ม.รามคำแหง) เมื่อปี 2556 เป็น ดร. อายุ 23 ปี

ว ชาท สามารถเท ยบโอนหน วยก ต ม.ราม

อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์ (ทับทิม)

นักแสดงจากช่อง 7 สะสมหน่วยกิตระบบพรีดีกรีตอนอยู่ชั้น ม.4 และเรียนต่อปริญญาตรีจนจบ ปัจจุบันทับทิมยังจบปริญญาโท ม.รามคำแหง อีกด้วย

ว ชาท สามารถเท ยบโอนหน วยก ต ม.ราม

ร.ต.อ.ทศพร รุ่งเรืองศุภรัตน์

จบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ ด้วยการสะสมหน่วยกิตจากระบบพรีดีกรี เมื่ออายุ 19 ปี, เนติบัณฑิตยสภา อายุ 20 ปี ปัจจุบันรับราชการตำรวจ

ว ชาท สามารถเท ยบโอนหน วยก ต ม.ราม

ภาณุวุฒิ วงศ์จีน

อดีตนักศึกษาพรีดีกรี สาขาวิทยบริการฯ จ.เชียงราย สมัครเรียนพรีดีกรีตั้งแต่ชั้น ม.4 (โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม) สะสมหน่วยกิตได้ 136 หน่วยกิต เทียบโอนและเรียนต่อเพียง 1 เทอม ก็จบปริญญาตรี เมื่ออายุ 18 ปี

ม.ราม สามารถเทียบโอนได้ไหม

1. ได้ครับ เบื้องต้นทางคณะจะแจ้งให้ทราบว่าเทียบโอนวิชาใดได้บ้าง ทั้งนี้นักศึกษาเป็นผู้เลือกว่าจะเทียบโอนทั้งหมดที่คณะแจ้งมาหรือเลือกเทียบโอนบางวิชาก็ได้ครับ - เอกสารในการเทียบโอนคือ ทรานสคริปต์จากรหัสเดิมครับ - ค่าเทียบโอนหน่วยกิตจาก ม.ร. ปกติหน่วยกิตละ 50 บาท แต่ในภาค 1/65 ลดเหลือหน่วยยกิตละ 25 บาท ครับ

จ่ายค่าเทียบโอน ม.รามที่ไหน

– ชำระค่าเทียบโอนหน่วยกิต จะชำระในวันนี้หรือไม่ก็ได้ (กรณีชำระภายหลัง สามารถชำระได้โดยไม่มีค่าปรับภายใน 1 ปี เกิน 1 ปีมีค่าปรับปีละ 600 บาท ได้ที่ กองคลัง อาคารสำนักงานอธิการบดี ชั้น 1 (จันทร์-ศุกร์ 8.30-15.00 น. ปิดบริการวันหยุดราชการ))

ปวส.เทียบโอน รามคําแหง ได้กี่หน่วยกิต

1. วิชาที่เทียบโอนได้ตามวุฒิการศึกษา รายวิชาดังนี้ (นักศึกษาห้ามลงทะเบียนซ้ำ) A. วุฒิอนุปริญญา /ปวส.หรือ (เทียบเท่า) ทุกสาขา เทียบโอนได้ 57 หน่วยกิต

เทียบโอนพรีดีกรี ราม ใช้อะไรบ้าง

– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 3 ฉบับ – รูปถ่ายสี ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป – ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง – ทรานสคริปท์แบบไม่สำเร็จการศึกษาของรหัสนักศึกษาพรีดีกรีเพื่อใช้ในการเทียบโอน