ว ฒนธรรมอ สาน เช อมโยง ภ ม ประเทศ

สำหรับพื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพโดดเด่นหลายด้าน โดยมีแหล่งท่องเที่ยวหลายหลากทั้งเชิงประวัติศาสตร์ เชิงธรรมชาติ เชิงศรัทธา ความเชื่อและวัฒนธรรม และมีจุดยุทธศาสตร์เชื่อมโยง 3 ประเทศ ได้แก่ ลาว เวียดนามและจีน

รัฐบาลได้สรุปประเด็นการประชุม ครม.สัญจร ครั้งนี้ โดยมีข้อเสนอโครงข่ายคมนาคมและโลจิสติกส์เชื่อมประเทศเพื่อนบ้านทําให้เป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุนการค้าชายแดน และ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) รวมทั้งมีพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตสินค้าทางการเกษตรหลากหลาย ซึ่งกําหนดวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาในอนาคตระยะ 5 ปี (2566-2570) ดังนี้

1.เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

2.เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางการเกษตร การค้า การลงทุนการค้าชายแดน และการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

3.รักษาสมดุลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

4.เสริมสร้างความมั่นคงและยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่สังคมที่มีความสุข

ทั้งนี้ มีเป้าหมาย คือ “ศูนย์กลางการท่องเที่ยวของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ศูนย์กลางการค้าและโลจิสติกส์เกษตรอุตสาหกรรมมูลค่าสูง เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน” มีทิศทางการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน ให้ความสําคัญกับการสร้างโอกาส การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม การใช้ศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนาเศรษฐกิจ เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยมีประเด็นการตรวจราชการสําคัญ 4 ประเด็น ประกอบด้วย

1.การแก้ไขปัญหาความยากจน 2.การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 3.การแก้ไขปัญหาภาคการเกษตร 4.การแก้ไขปัญหาที่ดินทํากิน นํามาซึ่งประเด็นและวาระการพัฒนากลุ่มจังหวัด ผ่านการจัดประชุมของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดร่วมกับคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.)

สำหรับข้อเสนอด้านการพัฒนาโครงข่ายเส้นทางคมนาคม เพื่อรองรับและเชื่อมโยงการท่องเที่ยว การค้าและการลงทุนในกลุ่มจังหวัด 4 โครงการ อาทิ โครงการการศึกษาระบบโลจิสติกส์และวางแผนการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 สู่ NeEC และเชื่อมโยงภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

รวมทั้งมีข้อเสนอด้านการศึกษาความเหมาะสมการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดบึงกาฬและจังหวัดหนองบัวลําภู

ส่วนจังหวัดอุดรธานี มีข้อเสนอการผลักดันและเร่งรัดการดําเนินโครงการการขอขยายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคายให้ครอบคลุมพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีเพื่อให้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ได้รับสิทธิประโยชน์เท่ากับผู้ประกอบการในเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย

รวมทั้งการส่งเสริม Logistics Park ในนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ให้เป็น One Stop Service (OSS) โดยขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานเกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมศุลกากร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ BOI

นอกจากนี้ มีข้อเสนอเพิ่มเติมจากภาคเอกชนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 เพื่อเสนอ ครม.สัญจร ดังนี้

จังหวัดหนองคาย เสนอการเร่งรัดลงทุนการสร้าง Container Yard ให้แล้วเสร็จ เพื่อการรองรับการขยายตัวการขนส่งสินค้าทางรางของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

จังหวัดอุดรธานี เสนอให้เร่งรัดการจัดตั้งศูนย์ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service : OSS) ให้เสร็จภายในปี 2567 เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าช้ายแดน/ผ่านแดน แบบครบวงจร ณ จังหวัดอุดรธานี

รวมถึงเสนอขยายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคายให้ครอบคลุมพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี เพื่อให้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ได้รับสิทธิประโยชน์เท่ากับผู้ประกอบการในเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย

และส่งเสริม Logistics Park ในนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ให้เป็น OSS โดยขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมศุลกากร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)

มข.หนุนอนุรักษ์วัฒนธรรมอีสาน เฟ้นผลงานเผยแพร่ผ่านรายการเวทีไทย

เผยแพร่: 9 ส.ค. 2555 10:43 โดย: MGR Online

ศูนย์ข่าวขอนแก่น - วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นจับมือคณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่นและรายการเวทีไท สร้างมูลค่าเพิ่มศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน เฟ้นหาสุดยอดวัฒนธรรมที่โดดเด่นโดนใจในชุมชนและในรั้วมหาวิทยาลัยนำเสนอสู่สายตาคนทั่วโลก

รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยถึงการอนุรักษ์ฟื้นฟู ส่งเสริม เผยแพร่ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นตามหลักการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ว่า ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นและคณะศิลปกรรมศาสตร์ได้ดำเนินการในเรื่องการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสานมาอย่างต่อเนื่อง และถือเป็นโครงการนำร่องใช้ดำเนินงาน 4 ปี

โดยร่วมกับเทศบาลนครขอนแก่น, เทศบาลเมืองบ้านไผ่, เทศบาลเมืองชุมแพ และเทศบาลเมืองพล ในการพัฒนาหลักสูตรการสอนภาษาอีสาน

ซึ่งหลักสูตรการสอนภาษาอีสานนั้นครอบคลุมถึงการอ่านและเขียนโดยใช้ตัวอักษรไทยน้อย การสื่อสารการฟัง โดยกลุ่มเป้าหมายหลักของหลักสูตรดังกล่าวคือนักเรียนชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษา

รศ.ดร.กิตติชัยกล่าวต่อว่า การส่งเสริมคุณค่าและความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมอีสานนั้นจะผ่านการริเริ่มการจัดงาน “วันอีสาน” โดยจะมีการจัดหา รวบรวม จัดเก็บ แปลความ ถอดความ และเผยแพร่ในรูปแบบของการแสดงศิลปวัฒนธรรมอีสาน เช่น หมอลำ เพลงลูกทุ่ง บทเพลงตามเทศกาลต่างๆ ด้วยการเชิญนักแสดงพื้นบ้านมาร่วมเปิดการแสดงเพื่อสร้างบทเรียนที่มีชีวิตให้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้รับทราบอย่างแพร่หลาย

สำหรับการลงนามความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และรายการเวทีไทยเมื่อเร็วๆ นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมอีสานให้คงอยู่สืบไป โดยที่เยาวชนคนรุ่นหลังจะได้มาร่วมกันสืบทอดศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งต่อจากนี้ไปทุกคณะที่มีการคิดค้นหรือร่วมกันอนุรักษ์ไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นจะต้องส่งผลงานเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตในรูปแบบต่างๆ โดยวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น และคณะศิลปกรรมศาสตร์จะเป็นศูนย์กลางรวบรวมรายละเอียดทั้งหมด

หลังจากรวบรวมผลงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะประสานออกอากาศเผยแพร่ผ่านรายการเวทีไท โดยนักศึกษาสามารถจัดส่งผลงานหรือรายละเอียดต่างๆ ผ่านคณะเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการประสานงานรายละเอียดต่างๆ ต่อไป

ด้านนายโฆสิต สุวิจจิต ประธานที่ปรึกษาบริษัท เวทีไท จำกัด กล่าวว่า การใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือในการสื่อสารด้านวัฒนธรรมของไทยเผยแพร่สู่สากลสามารถสัมผัสได้แม้จะต่างกันที่ภาษา ซึ่งแนวทางของการนำวัฒนธรรมประเพณีที่ดีที่สุดของภาคอีสานจากการรวบรวมและคัดกรองของวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะเครือข่ายองค์กรที่มีปณิธานเดียวกันเพื่อประโยชน์ของประเทศ และที่สำคัญในปี 2558 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้ง 4 หน่วยงานจะเชื่อมโยงกันด้วยบทเพลงและวัฒนธรรม เพราะเรื่องการส่งเสริมด้านวัฒนธรรมมีความยิ่งใหญ่ไม่แพ้เรื่องเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม ต่อจากนี้ไปนอกเหนือจากผลงานเพลงลูกทุ่งที่เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของไทยอยู่แล้ว รายการเวทีไทจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะเผยแพร่วัฒนธรรมอีสานที่ผ่านการคัดกรองจากทั้ง 3 หน่วยงานเพื่อนำมาเผยแพร่ออกสู่สายตาประชาชนทั่วโลกให้มากยิ่งขึ้นเพื่อนำความเป็นไทยสู่สากล