ว ทยาการคอมพ วเตอร ม.ธรรมศาสตร เร ยนจบเเล วทำอะไร

ผมอยากเข้าณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ม.ธรรมศาสตร์ครับ พอดีตอนนี้อยู่ม.5 สาขาคอมพิวเตอร์ ตอนนี้สามารถเขียน ภาษาC,C++,python,Html ได้หมด เกรดเฉลี่ยตอนนี้3.62 ต้องเตรียมตัวอะไรอีกบ้างครับ เรียนยากไหม ต้องมีพื้นฐานฟิสิกส์รึเปล่า ตอนนี้เครียดเรื่องไม่มีที่เรียนมากเลยครับ

บทความนี้เอาตรงๆ เลยว่าเขียนมาเพื่อเป็นแนวทางและดึงดูดให้น้อง ๆ ที่กำลังสนใจด้านคอมพิวเตอร์ ให้มีตัวเลือกด้านมหาวิทยาลัยมากขึ้น เพิ่มเติมจากมหาวิทยาลัยดัง ๆ ด้านคอมพิวเตอร์ที่น้อง ๆ อาจจะได้ยินกันบ่อย เช่น จุฬาหรือสามพระจอม

ถ้าพูดถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เลยเนี่ย คณะที่ดังที่คนส่วนใหญ่จะนึกถึงก็คงไม่พ้น ศิลปศาสตร์ หรือบัญชีธรรมศาสตร์ใช่ไหมล่ะครับ และถ้าพูดถึงคณะวิทยาศาสตร์ดัง ๆ เนี่ยะ ก็คงไม่มีใครนึกถึงธรรมศาสตร์55555 อ้าว? แล้วแบบนี้ถ้าเรามาเข้าคณะวิทยาศาสตร์ที่นี่จะหวังผลได้ไหมเนี่ย บอกเลยครับว่าได้แน่นอน ยิ่งโดยเฉพาะสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์แล้วเนี่ยยย

ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดสอนสาขาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่เยอะพอตัวเลย ยกตัวอย่างนะครับ - คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ - คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ - คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

งั้นเรามาพูดถึงข้อดีของวิทย์คอมธรรมศาสตร์กันก่อนเลย 1. ที่นี่ไม่มีเรียนวิทยาศาสตร์!! ก็ตามนั้นแหละครับ เพราะการปรับหลักสูตรใหม่เมื่อปี 61 ทำให้วิชาวิทยาศาสตร์หายไป และไปเน้นที่คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์มากกว่า

2. ที่นี่เรียนแคลแค่ 1 ตัวเท่านั้น!! เรียนแคลไปก็ปวดหัว ไปเรียนเขียนโปรแกรมดีกว่า โดยตรงนี้มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ปกติจะเรียน 2 ตัวกันให้มันเข้ากับหลักสูตรวิทย์นั่นแหละ แต่เราว่าเราเรียน 1 ตัวก็พอแล้ว!

3. ที่นี่อาจารย์เก่งมาก ถึงแม้นักศึกษาจะเรียนไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่อาจารย์แบบว่าไม่รู้จะมีวิทยานิพนธ์และใบปริญญาเยอะไปถึงไหน แล้วบางคนก็ทำงานมาอย่างโชกโชนก่อนเป็นอาจารย์ ทำให้ที่นี่แทบจะรวมอาจารย์เก่งทุกศาสตร์ของคอมพิวเตอร์

4. ต้นไม้เยอะมาก ถ้าใครนึกภาพมหาวิทยาลัยชื่อดังที่อยู่ในเมือง ที่มีแต่รถและควัน ลืมไปได้เลยเพราะที่นี่อยู่ไกลสุดใจ ปลายทุ่งรังสิต แถมคณะวิทย์ก็มีแต่ป่า ทำให้เย็นสบายมากจ้า ใครที่รักความร่มรื่นและไม่อยากปวดหัวกับแสงสี ก็เชิญที่วิทย์คอมธรรมศาสตร์ได้เลย

หลักสูตรและการเรียน

ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จะแบ่งออกเป็น 3 เอกใหญ่ ๆ ก็คือ - เอกวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ - เอกคอมพิวเตอร์ประยุกต์ - เอกเทคโนโลยีการเรียนรู้

แต่ช่างเรื่องชื่อเอกมันเถอะครับ ถ้าจะให้พูดง่าย ๆ 3 เอกนี้คือชื่อเต็มของภาคปกติ ภาคพิเศษ และวิทย์คอมศูนย์ลำปางนั่นเอง ตามลำดับเลย โดยเอกเนี่ย เราจะได้ติดตัวมาตั้งแต่มีชื่อติดสาขามาเลย มาเลือกทีหลังไม่ได้นะ

แล้วถามว่าเรียนเอกต่างกัน มันส่งผลเรื่องวิชาเรียนไหม ส่วนตัวคิดว่าถ้าจะต่าง ก็ต่างกันไม่กี่วิชา หรือไม่ก็เรียนวิชาเดียวกัน แต่คนละรหัสแค่นั้นล่ะครับ

แต่ที่จะต่างกันจริง ๆ จะอยู่ที่วิชาโทครับ วิชาโทของสาขาเราสำคัญพอ ๆ กับเลือกเอกของมหาวิทยาลัยอื่นเลย โดยวิชาโทเราจะมี 3 วิชา - โทการสื่อสารข้อมูลและการบริหารเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ย่อว่า ‘โทเน็ตเวิร์ก’ - โทวิศวกรรมและการจัดการซอฟต์แวร์ ย่อว่า ‘โทซอฟต์เอนจ์’ - โทวิทยาการข้อมูล ย่อว่า ‘โทดาต้า’

เราจะได้อะไรบ้างหากเลือกเรียนวิชาโทล่ะนะ หนึ่งเลยได้ชื่อวิชาโทห้อยท้ายในใบปริญญาจ้า นั่นก็ไม่ใช่สาระสำคัญเนอะ55555 สองนั่นคืออย่างน้อยเราก็การันตีได้ว่าเรามีความรู้เรื่องนั้นและเชี่ยวชาญเป็นพิเศษนั่นเอง มันเหมือนเป็นการละความรู้ของอีกโท แล้วไป specialist ในโทที่เลือกนั่นแหละ

ยกตัวอย่างวิชาในแต่โทต่าง ๆ กันดีกว่า

โท network

  • CS331 Wireless Network Technology (เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย)
  • CS438 Internetworking and Distributed Systems Laboratory (ระบบคลัสเตอร์คอมพิวเตอร์และการประมวลผลแบบกระจายเบื้องต้น) #ชื่อจะยาวไปไหนโท Software Engineering
  • CS266 Software Process and Quality Assurance (กระบวนการซอฟต์แวร์และการประกันคุณภาพ)
  • CS375 Software Project Management (การจัดการโครงการซอฟต์แวร์)โท Data Science
  • CS246 Data Visualization (การแสดงข้อมูล)
  • CS346 Big Data Applications and Analytics (แอพพลิเคชันและการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่)

ถ้าอยากหาต่อว่าในแต่ละวิชาโทมีวิชาอะไรอีกบ้าง เชิญต่อที่ลิงค์นี้ หน้า 34–38 นะะ http://www.cs.tu.ac.th/uploads/articles_attc/1606459970.pdf

ต่อมาเรามาพูดถึงวิชาเรียนปี 1 และปีต่อ ๆ ไปกันเลยกว่า

โดยในปี 1 เทอม 1 เนี่ย พูดเลยว่าจะเรียนวิชาภาคแค่ 2 ตัวเอง!! นั่นคือ CS101 discrete math และ CS102 basic programming

โดย discrete math จะเป็นวิชาคณิตศาสตร์ไม่ต่อเนื่องตามชื่อมันเลย โดยเนื้อหาข้างในก็จะเป็นตรรกศาสตร์ ความสัมพันธ์ ฟังก์ชั่น กราฟ และวิธีการพิสูจน์ต่าง ๆ รับประกันว่าเรียนแล้วไปเป็นนักสืบได้เลย หยอก ๆ

ต่อมาก็คือ basic programming โดยที่ธรรมศาสตร์จะปูพื้นด้วยภาษา c ง่าย ๆ เลย บอกในที่นี้ว่าไม่ต้องมีพื้นฐานก็เข้ามาเรียนได้ เพราะอาจารย์ปูพื้นให้ตั้งแต่เททราย ตอกเสาเข็มเลยทีเดียว (หากใครเขียนเป็นแล้วก็จะเบื่อ ๆ นิดหน่อย แต่ก็มีทฤษฎีบางตัวที่หาฟังจากในเน็ตไม่ได้นะ ถ้าเรียนแล้วจะเข้าใจหลักการเลย) โดยที่นี่จะสอนไปถึงเรื่องเขียน-อ่านไฟล์เลยล่ะ ส่วนวิชาที่เหลือของปี 1 เทอม 1 ก็จะเป็นวิชามหาลัยที่เขาบังคับมา + วิชาสถิติตัวนึง (สถิติยากลากเลือดมาก)

ต่อมาวิชาของปี 1 เทอม 2 ก็จะเหลือวิชาภาครหัส CS แค่ตัวเดียว นั่นก็คือ CS111 object oriented programming (T-T) ใครที่ชอบเขียนโปรแกรมอย่างเดียวล่ะก็เศร้ามากเลย โดยวิชานี้ใช้ java ในการสอนจ้า ส่วนวิชาอีกตัวที่หนักมากเลยก็คือ calculus 1 จ้า อ้ะ ลืมบอก สาขาเราเรียนแคลแค่ตัวเดียวนะ ว้าว!

ต่อไปเมื่อเริ่มขึ้นปี 2 เทอม 1 เอาแล้วล่ะ จะเป็นปีที่เราจะได้มองเห็นความยากในสาขาวิชานี้แบบจริงจังละ เพราะเราเรียนวิชาภาคมากถึง 5 ตัวจาก 7 ตัว ช้าก่อน จะให้บอกวิชาต่าง ๆ ทุกเทอมก็คงจะไม่ไหว แต่ถ้าน้อง ๆ สนใจสามารถอ่านรายชื่อวิชาทั้งหมดที่มีเปิดสอนได้ที่ลิ้งค์นี้เลยยย (หน้า 21 เป็นต้นไป) http://www.cs.tu.ac.th/uploads/articles_attc/1606459970.pdf

ชีวิตเด็กคอมในธรรมศาสตร์เป็นยังไงบ้าง

ก็ต้องพูดเลยว่าสาขาคอมมีตึกที่ค่อนข้างโอ่อ่าในคณะวิทยาศาสตร์เลยทีเดียว และเป็นห้องกระจกติดแอร์อีกต่างหาก (เฉพาะชั้น 1 นะ5555) อีกอย่างห้องต่าง ๆ สวยมาก สวยขนาดไหน แปะคลิปเลยละกั๊นน!

อีกอย่างคือมีห้องสมุดให้ด้วยแหละ แต่ textbook เป็นอังกฤษล้วน + เก่ามากแล้ว ถ้าจะเข้าไปหา framework ใหม่ ๆ มาหาในเน็ตน่าจะดีกว่า 555555

อีกนิดนึง สาขาเรามีห้องกิจกรรมที่อนุญาตให้นักศึกษาเข้าไปนั่งเล่นได้ทั้งวัน รวมถึงเปิดแอร์ได้สบายใจ มี internet บวกโต๊ะนั่ง ใครจะเล่นเกม ใครจะเล่นอะไร จะประชุมก็ได้หมดเลย

ปิดท้ายด้วยการบอกว่า การจะเลือกที่เรียน ให้เลือกที่เราสบายใจเถอะครับ555 แต่ที่ธรรมศาสตร์มี facility ที่น่าจะเพียงพอต่อการเรียนคอมของคนคนนึงเลยทีเดียว บวกกับถ้าใครไม่ชอบมหาวิทยาลัยที่มันวุ่นวาย และชอบพื้นที่สีเขียวจัด ๆ บอกเลยธรรมศาสตร์ตอบโจทย์คุณมาก555555

วิทยาการคอมพิวเตอร์จบมาได้วุฒิอะไร

ชื่อปริญญา ภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์) ชื่อย่อภาษาไทย: วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)

เรียนม.ปลายวิทย์คอมต่อคณะอะไรได้บ้าง

คณะอื่นๆ ที่สายวิทย์-คณิตก็สามารถเข้าได้.

คณะนิติศาสตร์ ... .

คณะรัฐศาสตร์ ... .

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ... .

คณะนิเทศศาสตร์ ... .

คณะอักษรศาสตร์ หรือ ศิลปศาสตร์ หรือมนุษยศาสตร์ ... .

คณะครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์.

Computer Science เรียนเกี่ยวกับอะไร

สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ( Computer Science ) เป็นสาขาที่เป็นมุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาด้วยเทคโนโลยี การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆ เพื่อพัฒนาชีวิตให้ได้รับความสะดวกสบาย สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และยังเป็นสาขาวิชาที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน และมีค่าตอบแทนอาชีพที่ค่อนข้างสูงเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบันอีกด้วย

สายวิทย์คอม ทําอาชีพอะไรได้บ้าง

หลังสำเร็จการศึกษา.

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ หรือนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์.

นักวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์.

ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมเมอร์.

ผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์.

ผู้ออกแบบ พัฒนา และดูแลระบบฐานข้อมูล.

นักพัฒนาเว็บไชต์.

นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล.

นักนวัตกรด้านปัญญาประดิษฐ์.