ต ดต อกรมพ ฒนาฝ ม อแรงงาน ส วนกลาง

ปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่ช่วงปลายปี 2554 ส่งผลกระทบต่อสถานประกอบการที่อยู่ในเขตพื้นที่น้ำท่วมอย่างรุนแรง โรงงาน 144 แห่ง พร้อมเครื่องจักรจมน้ำอยู่นานกว่า 2 เดือน

เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาแรงงานกว่า 53,000 คน ถูกเลิกจ้าง หลังน้ำลด รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จัดงบกลางวงเงิน 1,882 ล้านบาท ส่งตรงให้กระทรวงแรงงาน เพื่อนำไปจัดสรรมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการหลายโครงการ

ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2555 กระทรวงแรงงานได้เบิกจ่ายงบฯ ก้อนนี้ไป 1,486 ล้านบาท ส่งคืนสำนักงบประมาณ 391 ล้านบาท โดยโครงการส่วนใหญ่ปิดตัวไปเกือบหมดแล้ว

แต่ที่เป็นประเด็นขึ้นมา คือ “โครงการยกระดับฝีมือแรงงานลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยกลับสู่สถานประกอบการ” ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หลังจากที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ดำเนินโครงการดังกล่าวเสร็จเรียบร้อย ปรากฏว่ามีนายไชย ปาลวัฒน์ เจ้าของโรงสีไฟเจริญประภา หนึ่งในผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการนี้ ทำหนังสือทวงเงินค่าเบี้ยเลี้ยงคนงานที่เข้ารับการอบรม จำนวน 6,000 บาท กับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2555

จึงได้ทราบข้อเท็จจริงจากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานว่า โครงการนี้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดงบประมาณมาจ่ายให้กับผู้ประกอบการ 81,600 บาทต่อรุ่น ประกอบไปด้วยค่าวิทยากรและค่าบริหารให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 57,600 บาทต่อรุ่น และค่าเบี้ยเลี้ยงคนงานจำนวน 20 คน คนละ 120 บาท เป็นเวลา 10 วัน รวมเป็นเงิน 24,000 บาท

แต่นายไชยได้รับเงินแค่ 35,000 บาท เท่านั้น แบ่งเป็นค่าวิทยากร 17,000 บาท และค่าเบี้ยเลี้ยงอีก 17,000 บาท เพราะถูกหักเงินไป 6,000 บาท โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานอ้างว่าบัตรประชาชนคนงานของนายไชย 5 คน หมดอายุหรือไม่ชัดเจน

นายไชยจึงตั้งข้อสังเกตว่า โครงการนี้ไม่น่าที่จะโปร่งใส เฉพาะที่จังหวัดลพบุรีมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวทั้งหมด 150 รุ่น จึงทำการคำนวณหาตัวเลขความเสียหาย พบว่ามีเม็ดเงินส่วนที่ขาดหายไปประมาณ 6,090,000 บาท นายไชยจึงทำเรื่องถึงอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน พร้อมส่งสำเนาไปถึงสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.), ธรรมาภิบาลจังหวัดลพบุรี ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เรื่องจึงปรากฏขึ้นมา(หมายเหตุจากการตรวจสอบเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2556 วิดิโอดังกล่าวถูกถอดออกไปแล้ว)

วันที่ 27 สิงหาคม 2555 นายสนอง ป่าธนู ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดลพบุรี ผู้รับผิดชอบโครงการนี้ เนื่องจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดงบประมาณไปให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำหนังสือชี้แจงเลขที่พิเศษ 001/2555ผ่านประธานสายงานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อส่งถึงนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. ชี้แจ้งข้อเท็จจริง กรณีที่นายไชย ปาลวัฒน์ เจ้าของโรงสีไฟเจริญประภา ได้รับเงินไม่ครบ

ทั้งนี้ ตามหนังสือของนายสนองที่ทำถึง ส.อ.ท. ชี้แจงที่มาของโครงการนี้ว่า สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรีได้รับการติดต่อจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานผ่านทางนายอำนาจ นันทหาร รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งระบุว่าจะให้สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรีจัดโครงการฝึกอบรม 150 รุ่น เป็นระยะเวลา 10 วัน โดยจะมีงบประมาณจากรัฐบาลมาสนับสนุนค่าใช้จ่ายรุ่นละ 51,000 บาท จากนั้นสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรีได้จัดให้มีการฝึกอบรมไปจนเสร็จสิ้น

ต ดต อกรมพ ฒนาฝ ม อแรงงาน ส วนกลาง
นายอำนาจ นันทหาร รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่มา: http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/57/file_1333087561.JPG

“ส่วนกรณีโรงสีไฟเจริญประภาได้รับเงินไม่ครบนั้น ความเป็นจริงแล้ว สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรีได้จ่ายเงินตามจำนวนเงินที่ได้รับมาจากกรมพัฒนาฝีมือแรงาน โดยก่อนหน้านี้สภาอุตสาหกรรมลพบุรี ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้นายอำนาจ นันทหาร ซึ่งเป็นผู้ประสานงานตั้งแต่เริ่มต้นโครงการนี้ และเป็นผู้รับเงินจำนวน 7,621,800 บาท จากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นายอำนาจได้นำเงินสดจำนวนดังกล่าวมามอบให้ ซึ่งสภาอุสาหกรรมจังหวัดลพบุรีได้จ่ายให้กับสถานประกอบการไปตามจำนวนที่ได้รับมา” นายสนองชี้แจง

และเนื่องจากเรื่องนี้เป็นประเด็นที่สื่อมวลชนให้ความสนใจ และนายไชยได้ทำหนังสือร้องเรียนถึงสำนักงาน ป.ป.ช. และธรรมาภิบาลจังหวัดลพบุรี เพื่อขอให้เข้ามาตรวจสอบโครงการนี้ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของ ส.อ.ท.

ดังนั้น วันที่ 18 กันยายน 2555 ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงนำเรื่องนี้เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร ส.อ.ท. หลังจากที่คณะกรรมการบริหารได้พิจารณาเอกสารหลักฐานของนายสนอง ป่าธนู ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรี พบว่ามีหลายประเด็นที่ยังคลุมเครือ อาทิ กรณีที่สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรีทำหนังสือมอบอำนาจให้นายอำนาจ นันทหาร รองเลขาธิการ ส.อ.ท. เป็นผู้ไปรับเงินสดจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ประกอบไปด้วยค่าวิทยากร 8,640,000 บาท ค่าอาหารสำหรับผู้เข้ารับการอบรม 3,600,000 บาท รวมเป็นเงิน 12,240,000 บาท

ต ดต อกรมพ ฒนาฝ ม อแรงงาน ส วนกลาง

ขณะที่นายสนอง ป่าธนู ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดลพบุรี ทำหนังสือมาชี้แจ้งกับ ส.อ.ท. เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2555 ยืนยันว่าตนได้รับเงินเป็นเงินสดจากนายอำนาจ นันทหาร ที่เบิกมาจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานแค่ 7,621,800 บาท ดังนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร ส.อ.ท. จึงมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2555

ปรากฏว่า ระยะเวลาผ่านมา 2 เดือน ผลการสอบสวนยังไม่มีความคืบหน้าแต่ประการใด

ช่วงปลายปี 2554 หลายพื้นที่ของประเทศไทยได้เกิดเหตุภัยพิบัติอุทกภัย อันเนื่องมาจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “นกเตน” (NOCK-TEN) ร่องมรสุมกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงพาดผ่านประเทศไทย น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่เกษตรกรรมและโรงงานอุตสาหกรรม รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัด “โครงการยกระดับฝีมือแรงงานลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยกลับสู่สถานประกอบกิจการ”

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันและชะลอการเลิกจ้างแรงงาน หลังน้ำลด รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้จัดงบกลางวงเงิน 61.5 ล้านบาทให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานดำเนินโครงการดังกล่าวภายใต้ความร่วมมือของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ไปดำเนินการประชาสัมพันธ์และชักชวนให้สถานประกอบกิจการที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมส่งลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมไม่ต่ำกว่า 15,000 คน

โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะจัดงบประมาณผ่านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ส่งไปให้สถานประกอบการเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการฝึกอบรมพนักงานวันละ 6 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 10 วัน จำนวน 750 รุ่น รุ่นละไม่เกิน 20 คน ซึ่งทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดงบฯ ไปสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้สถานประกอบการรุ่นละ 82,000 บาท เริ่มดำเนินการเดือนพฤศจิกายน 2554 สิ้นสุดโครงการวันที่ 31 มีนาคม 2555 อ่านคู่มือการดำเนินงาน “โครงการยกระดับฝีมือแรงงานลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยกลับสู่สถานประกอบกิจการ”