ถนน ม ตรภาพ-หนองคาย ต.ในเม อง อ.เม องนครราชส มา จ.นครราชส มา

จังหวัดนครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยและมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดกับจังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว

ประวัติศาสตร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า มีชุมชนโบราณซึ่งเป็นร่องรอยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคหินใหม่ต่อเนื่องมาถึงยุคสำริด และยุคเหล็ก กระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา โดยมีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคือ ชุมชนบ้านปราสาท ชุมชนบ้านโนนวัด แหล่งภาพเขียนสีเขาจันท์งาม ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณ 4,500 ปีมาแล้ว

ครั้นถึงสมัยประวัติศาสตร์ ได้เกิดมีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเสมา ตั้งอยู่บริเวณอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน เป็นเมืองใหญ่เชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของรัฐศรีจนาศะ ต่อมาในสมัยขอมพระนครมีการสร้าง เมืองโคราช หรือ นครราช อยู่ในบริเวณเดียวกัน และ มีเมืองพิมายเป็นเมืองสำคัญของขอมในบริเวณนี้

มีผู้เสนอว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่ เมืองนครราช คือเมืองเดียวกันกับเมืองราด ของพ่อขุนผาเมือง เนื่องจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเมืองพระนครหลายประการ นอกจากนี้รูปสลักกองทัพชาวสยามบนระเบียงด้านหนึ่งของ นครวัด อาจเป็นชาวสยามจากลุ่มแม่น้ำมูลที่เกี่ยวข้องกับเมืองนครราช และยังมีการกล่าวถึงเมืองนครราชสีมาในพงศาวดารของกัมพูชาหลายครั้งด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีมุมมองอีกด้านหนึ่งก็ว่า นครราชสีมา นั้นเป็นคำไทยเป็นคำใหม่ แยกเป็นคำได้คือ นคร, ราช และ สีมา หมายความว่า “เมืองใหญ่อันเป็นขอบขัณฑสีมาของราชอาณาจักร” (ราช+สีมา) ส่วนคำว่า โคราช (สำเนียงถิ่น: โค-หฺราด , ไทยกลาง: โค-ราด, เขมร: โก-เรียช ) นั้น น่าจะเพี้ยนมาจาก นครราช (อ่านตามสำเนียงว่า คอน-หฺราด ซึ่งเป็นคำเรียกนครราชสีมาแบบย่อ ๆ ของชาวบ้าน) หรือ อังกอร์เรียจ ต่อมาลดรูปเป็น กอร์เรียจ และเพี้ยนเป็นโคราช ในที่สุด มากกว่าที่จะเพี้ยนมาจากโคราฆปุระ (Gorakhpur) ที่เป็นชื่อเมืองสมัยใหม่ในแคว้นเดียวกับเมืองอโยธยา (Ayodhya) ในอินเดีย ตามข้อสันนิษฐานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

สมัยอยุธยา

เนื่องจากตั้งอยู่เป็นบริเวณที่เป็นชายขอบระหว่างรัฐที่มีอำนาจ เป็นรัฐกันชน นครราชสีมาจึงมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับความขัดแย้งระหว่างรัฐอยู่เสมอ เช่น ระหว่างสยามกับกัมพูชา หรือ ระหว่างสยามกับล้านช้าง หรือ ในบางครั้งได้มีความพยายามที่จะตั้งตัวเป็นรัฐอิสระไม่ขึ้นกับผู้ใด เฉกเช่นเดียวกับบรรดาเมืองใหญ่อื่น ๆ

ในสมัยเจ้าสามพระยา อยุธยาสามารถเอาชนะกัมพูชาได้ รวมทั้งได้ทำการรวบรวมหัวเมืองในลุ่มแม่น้ำมูลเข้ามาอยู่ในอำนาจ เมื่อพระบรมไตรโลกนาถได้สืบราชสมบัติต่อมามีการจัดระดับเมืองพระยามหานคร 8 หัวเมือง คือ พิษณุโลก ศรีสัชนาลัย สุโขทัย กำแพงเพชร นครศรีธรรมราช นครราชสีมา ตะนาวศรี และทวาย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เริ่มปรากฏชื่อเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองสำคัญในขอบขัณฑสีมา และได้ดำรงความสำคัญสืบต่อมาในประวัติศาสตร์อยุธยาและรัตนโกสินทร์

ตามระบบระบบบรรดาศักดิ์ขุนนางไทย เจ้าเมืองนครราชสีมานับเป็นขุนนางระดับสูงมีบรรดาศักดิ์เป็น ออกญากำแหงสงครามรามภักดีพิรียภาหะ มีศักดินา 10,000 ไร่

ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กองทัพเมืองนครราชสีมาได้ถูกมอบหมายให้เป็นกำลังหลักในการโจมตีเมืองเสียมราฐ และภาคตะวันออกของทะเลสาบจนได้ชัยชนะเหนือพระยาละแวก ในที่สุด

เมืองโคราชสีมาในแผนที่ของ ลา ลูแบร์ พ.ศ. 2236

ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเห็นว่าเป็นหัวเมืองใหญ่และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านของอยุธยาติดกับพรมแดนลาว (เข้าใจว่าเลยลำสะแทด ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูลเหนือเมืองพิมายเป็นเขตแดนลาว เพราะมีบันทึกไว้ในนิราศหนองคาย สอดคล้องกับวัฒนธรรมและภาษาที่เปลี่ยนไปด้วย) จึงโปรดให้ย้ายเมืองเสมา มาสร้างเมืองใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน โดยมี เดอ ลามาร์ นายช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบ ขนาดกว้าง 1,000 เมตร ความยาว 1,700 เมตร มีกำแพงเมืองขนาดใหญ่ มีป้อมค่ายหอรบ และพระราชทานนามว่า “เมืองนครราชสีมา” ทรงโปรดให้พระยายมราช (สังข์)เป็นเจ้าเมือง ในคราวเดียวกันกับที่แต่งตั้ง เจ้าพระยารามเดโช เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช

เดอ ลาลูแบร์ ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้เขียนรายงานและบันทึกไว้ในจดหมายเหตุ ว่า เมืองโคราชสีมา (Corazema) เป็นหัวเมืองใหญ่ 1 ใน 7 มณฑล ตั้งอยู่ติดชายแดนของราชอาณาจักรสยามกับเมืองลาว มีเมืองบริวาร 5 เมือง

ในช่วงเริ่มต้นสองปีแรกของแผ่นดิน สมเด็จพระเพทราชา พระยายมราชเจ้าเมืองนครราชสีมาที่แต่งตั้งโดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้แข็งเมือง เนื่องจากไม่พอใจสมเด็จพระเพทราชา ที่ก่อการยึดอำนาจและเปลี่ยนราชวงศ์ จึงไม่ขอขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา แต่ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาใช้เวลาปราบปรามโดยล้อมเมืองอยู่ประมาณ 2 ปี โดยใช้อุบายและกลยุทธปราบลงได้ พระยายมราช เจ้าเมืองนครราชสีมาได้หนีไปพึ่ง เจ้าพระยารามเดโชเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งไม่พอใจสมเด็จพระเพทราชาเช่นกัน แต่ถูกกองทัพอยุธยาตามไปปราบปรามลงได้ นับแต่นั้นเมืองนครราชสีมาได้ถูกลดความสำคัญลงไม่เข้มแข็งดังแต่ก่อน

สมัยกรุงธนบุรี

หลังกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย เจ้าเมืองพิมายและกรมหมื่นเทพพิพิธได้ตั้งตัวเป็นชุมนุมอิสระที่สำคัญชุมนุมหนึ่งแต่ถูกปราบลงโดยพระเจ้าตาก หลังจากนั้นเมืองนครราชสีมาได้เป็นฐานกำลังทางทหารและการปกครองที่สำคัญของไทยมาโดยตลอด โดยในสมัยกรุงธนบุรีได้ถูกใช้เป็นฐานรวบรวมกำลังของ พระยาอภัยรณฤทธิ์ และ พระยาอนุชิตราชา ในการสงครามกับล้านช้างและกัมพูชา ในคราวสงครามตีเมืองเวียงจันทน์และได้พระแก้วมรกต หลวงยกกระบัตรเมืองพิมายอยู่ในทัพหน้า มีความดีความชอบจึงได้รับการแต่งตั้งเป็น พระยานครราชสีมา และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ในที่สุด ต่อมาพระยากำแหงสงคราม (บุญคง) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา ในช่วงปลายรัชสมัยพระเจ้าตาก เมื่อเกิดการกบฏพระยาสรรค์ขึ้น พระสุริยอภัย กรรมการเมืองนครราชสีมา ได้นำกำลังทหารชาวนครราชสีมากลับเข้าควบคุมสถานการณ์ในกรุงธนบุรีไว้ได้ก่อนที่ เจ้าพระยาจักรี และ เจ้าพระยาสุรสีห์ จะยกทัพกลับมาจากกัมพูชาและเกิดการเปลี่ยนแผ่นดิน ในครั้งนั้น พระยากำแหงสงคราม (บุญคง) เจ้าเมืองนครราชสีมา ที่นำทัพไปกัมพูชาพร้อมกับ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ ถูกประหารชีวิตไปพร้อมกับเชื้อพระวงศ์ และขุนนางเดิมของพระเจ้าตาก จำนวนหนึ่ง และได้มีการเปลี่ยนตัวเจ้าเมืองนครราชสีมาเป็นพระยานครราชสีมา (เที่ยง) ผู้ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น)

สมัยรัตนโกสินทร์

ในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 เมืองนครราชสีมามีฐานะเป็นเมืองชั้นเอก กำกับตรวจตราเมืองประเทศราช ๓ เมือง คือ เวียงจันทน์ นครพนม จำปาศักดิ์ ให้รวมทั้งปกครองหัวเมืองเขมร พระยานครราชสีมา (เที่ยง) เป็นผู้สำเร็จราชการ และในรัชสมัยรัชกาลที่ 1นี้ ชาวเมืองนครราชสีมาได้น้อมเกล้าถวายช้างเผือก 2 เชือก

ในสมัยรัชกาลที่ 2 เกิดกบฏ อ้ายสาเกียดโง้ง ที่จำปาศักดิ์ มีรับสั่งให้พระยานครราชสีมา (เที่ยง) นำกองทัพไปปราบ แต่ เจ้าอนุวงศ์ เจ้าประเทศราชเวียงจันทน์ส่งเจ้าราชวงศ์ไปปราบกบฏได้เสร็จสิ้นก่อน และเจ้าราชวงศ์ได้ครองเมืองจำปาศักดิ์ต่อมา ต่อมาทองอิน เชื้อสายของพระเจ้าตาก และบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ได้เป็นผู้สำเร็จราชการต่อจากพระยานครราชสีมา (เที่ยง)

ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ ฉวยโอกาสที่เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) นำกองทหารไปราชการต่างเมือง ยกทัพลาวมายึดครองเมืองนครราชสีมา และส่งกองทหารไปกวาดต้อนครอบครัวลาวถึงเขตเมืองสระบุรีก่อนที่จะถอยทัพเมื่อกองทัพสยามจากพระนครเริ่มรวมพลได้ทัน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 ก่อนกองทัพลาวจะถอยทัพออกจากเมืองนครราชสีมา ไปยังทางเหนือเพื่อสมทบกับกองทัพของเจ้าสุทธิสาร โดยก่อนไป ได้ถอนเสาหลักเมืองออกเพื่อให้เป็นเมืองร้าง และเจ้าอนุวงศ์ได้สั่งการให้ทหารกองหลังรื้อกำแพงเมืองออก เผาประตูเมือง และสถานที่สำคัญๆในเมืองให้หมดสิ้น ให้ตัดต้นไม้ที่ให้ผลให้เหลือแต่ตอ ด้วยที่จะได้กลับมายึดเมืองนครราชสีมาได้สะดวกในภายหลัง ทำให้ต้นไม้ผลถูกตัดหมดสิ้น กำแพงเมืองจากมุมทิศอิสานและกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกถูกรื้อออกหมด กำแพงเมืองทางทิศใต้ถูกรื้อมาถึงด้านหลังวัดสระแก้ว ส่วนกำแพงเมืองจากมุมทิศอิสานและกำแพงเมืองทางทิศเหนือถูกรื้อ กำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกถูกรื้อออก 1 ส่วนเหลือ 2 ส่วน ประตูเมืองถูกเผาบางส่วน 3 ประตูคือ ประตูเมืองทางทิศตะวันเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออก ชาวเมืองนครราชสีมาผู้เฒ่าผู้แก่ที่ไม่ได้ถูกกวาดต้อน ได้รับข่าวว่ากองทัพจากพระนครที่ส่งกำลังมาช่วยเหลือ กำลังจะเดินทัพมามาถึงทุ่งโพธิ์เตี้ยห่างจากเมืองนครราชสีมา 10 กม. ในอีกไม่นาน ทำให้กำลังทหารลาวกองหลังของเจ้าอนุวงศ์ที่กำลังทำรื้อกำแพง และเผาทำลายเมืองนครราชสีมาอยู่นั้น เกิดความหวาดกลัวและถอยทัพออกไป ทำให้เมืองนครราชสีมาถูกเผาทำลายลงไปเพียงบางส่วน ส่วนชาวเมืองนครราชสีมาที่ถูกกวาดต้อนไปนั้น ได้รวมตัวกันต่อต้านกองทัพลาวของเจ้าอนุวงศ์ โดยมีพระยาปลัดนครราชสีมา พระยายกกระบัตร และ พระณรงค์สงคราม (มี) เป็นผู้นำในการรบ ณ ทุ่งสัมฤทธิ และผู้นำในการสนับสนุนช่วยเหลือการรบ คือ คุณหญิงโม ภริยาปลัดเมืองนครราชสีมา ต่อมากองทัพชาวนครราชสีมาได้ร่วมกับกองทัพหลวงของกรมพระราชวังบวรฯ ในการรบครั้งต่อๆมาจนกระทั่งเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์ได้ในที่สุด ภายหลัง คุณหญิงโมได้รับการแต่งตั้งเป็นท้าวสุรนารี และ พระณรงค์สงครามได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาณรงค์สงคราม

ในการสงครามเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) และพระยาณรงค์สงคราม ได้เป็นทัพหน้าของกองทัพที่นำโดยเจ้าพระยาบดินทรเดชานำพลชาวนครราชสีมาทำการรบอย่างกล้าหาญในสงครามกับเวียดนาม และสามารถรุกไปถึงเขตแดนเมืองไซ่ง่อน ก่อนที่จะต้องถอยทัพเนื่องจากกองทัพไทยพ่ายแพ้ในแนวรบด้านอื่น ต่อมาพระยาณรงค์สงคราม ได้เป็นนายทัพสำคัญในกองทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชา จนสิ้นสุดสงคราม

เมื่อ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ถึงแก่กรรม พระพรหมบริรักษ์ (เกษ) บุตรชายคนโตของเจ้าพระยาบดินทรเดชาได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เจ้าเมืองนครราชสีมาคนต่อมา

เมื่อว่างเว้นจากสงคราม เมืองโคราชได้ฟื้นตัวขึ้นใหม่กลายเป็นชุมทาง การค้าที่สำคัญ ในการติดต่อระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคกลาง มีกองเกวียน กองคาราวานการค้า ขนาดใหญ่ผ่าน และ หยุดพักอยู่เสมอ

ในสมัยรัชกาลที่ 4 บาทหลวงปาลเลกัวซ์ ได้เขียนว่า ตัวเมืองโคราชล้อมรอบด้วยกำแพงตั้งอยู่บนที่ราบสูง เดินทางจากบางกอกใช้เวลา 6 วันโดยไต่ระดับสูงขึ้นไปตามเส้นทาง ดงพญาไฟ ประชากรโคราชมีประมาณ 60,000 คน ครึ่งหนึ่งเป็นคนสยาม อีกครึ่งหนึ่งเป็นคนเขมร ในตัวเมืองมีประชากร 7,000 คน มีคนจีนประมาณ 700 คน มีเหมืองแร่ทองแดง มีโรงหีบอ้อย สินค้า คือ ข้าว งาช้าง หนังสัตว์ เขาสัตว์ ไม้เต็ง อบเชย

ในรัชกาลนี้ เจ้าพระยานครราชสีมา (เกษ) ได้เลื่อนเป็น เจ้าพระยามุขมนตรี (เกษ) และ เจ้าเมืองนครราชสีมาคนต่อมาคือ พระยานครราชสีมา (แก้ว) บุตรชายคนรองของเจ้าพระยาบดินทรเดชา หลังจากนั้น พระยานครราชสีมา (แก้ว) ได้เลื่อนเป็น เจ้าพระยายมราช (แก้ว) และ เจ้าเมืองคนต่อมาคือ พระยานครราชสีมา (เมฆ) บุตรชายคนโตของ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน)

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยานครราชสีมา (เมฆ) บุตรของ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ได้เป็นแม่ทัพบกไปปราบจีนฮ่อที่เมืองหนองคาย ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งมณฑลนครราชสีมาเพื่อควบคุมดูแลหัวเมืองในบริเวณใกล้เคียง เป็นมณฑลแรกของประเทศ มีพระยานครราชสีมา (กาจ สิงหเสนี) บุตรเขยของพระยานครราชสีมา (เมฆ) เป็นผู้ว่าราชการคนแรก มีการจัดตั้งกองทหารประจำมณฑลตามหลักสากล มีการตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่นครราชสีมา มีการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ผ่านอยุธยา สระบุรี ดงพญาไฟ ไปสู่นครราชสีมา จนเปิดการเดินรถไฟหลวง สายกรุงเทพ – นครราชสีมา ได้สำเร็จ การคมนาคมติดต่อสะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก ในช่วงเดียวกันฝรั่งเศสได้เข้ามามีอำนาจเหนือคาบสมุทรอินโดจีน ทำให้สยามจำต้องเร่งการปรับปรุงพัฒนาราชอาณาจักรโดยเฉพาะในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการจัดตั้งการขนส่งปรษณียภัณฑ์ทางอากาศ และ สายการบินระหว่าง กรุงเทพ – นครราชสีมา มีการขยายเส้นทางรถไฟสายอีสาน จนสามารถขยายเส้นทางการเดินรถไฟจาก นครราชสีมา ถึง ขอนแก่น และ นครราชสีมา ถึง อุบลราชธานี ได้สำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 7

ยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระองค์เจ้าบวรเดช ได้รวบรวมกองกำลังทหารจากมณฑลนครราชสีมาเป็นหลัก ร่วมกับ พันเอกพระยาศรีสิทธิ์สงคราม เพื่อทำการต่อสู้กับคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะผู้ก่อการได้ยกกองกำลังเข้ามาล้อมกรุงเทพฯ แต่เมื่อการต่อสู้ยืดเยื้อในที่สุดก็ต้องถอยทัพและประสบความพ่ายแพ้เนื่องจากมีกำลังที่น้อยกว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ พันโทหลวงพิบูลสงครามผู้บัญชาการกองกำลังผสมฝ่ายรัฐบาล มีอำนาจในการควบคุมกำลังทหารมากขึ้นส่งผลให้ได้อำนาจทางการเมืองและจัดตั้งรัฐบาลทหารได้ในเวลาต่อมา

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทหารในสังกัด มณฑลทหารบกที่ 3 นครราชสีมา ได้ทำการร่วมรบในกรณีพิพาทอินโดจีน กองทัพไทยสามารถยึดดินแดนกลับคืนมาบางส่วน เป็นการชั่วคราว หลังสงครามยุติสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือสร้างถนนมิตรภาพ จาก สระบุรี ถึง นครราชสีมา ซึ่งเป็นทางหลวงที่ได้มาตรฐานดีที่สุดของประเทศในขณะนั้น

ในช่วงสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกาได้ขอใช้นครราชสีมาเป็นฐานบัญชาการการรบ มีการสร้างฐานบินโคราช และต่อมาไทยได้เปลี่ยนให้เป็น กองบิน 1 ซึ่งเป็นฐานกำลังรบทางอากาศหลักของกองทัพอากาศไทยในปัจจุบัน โดยมีมีเครื่องบิน F-16 ประจำการอยู่สองฝูงบิน

ในปี พ.ศ. 2523 มีความพยายามรัฐประหารโดยกลุ่มทหารของ พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา แต่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ทรงแปรพระราชฐานไปประทับที่นครราชสีมา กองกำลังทหารจากกองทัพภาคที่ 2 นำโดยพลตรี อาทิตย์ กำลังเอกได้เป็นกองกำลังหลักในการปราบกบฏลงได้ในที่สุด หลังจากนั้น อดีตผู้บัญชาการกองทัพภาคที่ 2 หลายท่านได้ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในเวลาต่อมา

เนื่องจากความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ปัจจุบัน นครราชสีมา จึงได้กลายเป็นเมืองศูนย์ราชการที่สำคัญที่สุดรองจากกรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การเงิน การศึกษา การสาธารณสุข การวิจัย การคมนาคม และ การอุตสาหกรรม ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งเป็นที่ตั้งของกองฐานกำลังรบหลักของกองทัพบก และกองทัพอากาศในปัจจุบัน เปรียบได้ว่าเป็นเมืองหลวงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในปี พ.ศ. 2553 ได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากฝนช่วงปลายฤดูตกหนักในบริเวณต้นแม่น้ำมูล นับเป็นอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 50 ปี

ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศ

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่บนที่ราบสูงโคราช ห่างจากกรุงเทพ 259 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 20,493.964 ตารางกิโลเมตร (12,808,728 ไร่) เป็นพื้นที่ป่าไม้ 2,297,735 ไร่ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติคืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลานร้อยละ 61.4 และเป็นแหล่งน้ำ 280,313 ไร่[3] ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิ และขอนแก่น ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์ และทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดสระบุรี ชัยภูมิ และลพบุรี

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 150-300 เมตร มีเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรัก เป็นแนวยาวทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตก ส่วนบริเวณตอนล่างค่อนไปทางเหนือและตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม โดยมีลำตะคองและลำน้ำสาขาอื่น ๆ ไหลหล่อเลี้ยงบริเวณด้านเหนือของเมือง และ เป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำสำคัญคือแม่น้ำมูลซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศของจังหวัดนครราชสีมาจัดอยู่ในประเภททุ่งหญ้าเขตร้อน มีลมมรสุมหลักพัดผ่านคือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง กับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีอากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกชุก โดยทั่วไปสามารถแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม มีฝนตกชุก ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนตุลาคม โดยมีปริมาณน้ำฝนสูงสุดในเดือนตุลาคม ฤดูหนาว สภาพอากาศจะเริ่มเปลี่ยนจากฤดูฝนไปสู่ฤดูหนาวตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ระยะนี้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นลมหนาวและแห้งพัดจากประเทศจีน และฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดนครราชสีมาเป็นพื้นที่ราบสูง มีป่าและทิวเขาสูงกั้นเขตแดนเป็นแนวยาว อากาศจึงค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน และในฤดูหนาวก็ค่อนข้างหนาวเย็นโดยอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 27.4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33 อาศาเซลเซียส มีค่าความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดทั้งปี 71 % ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดเฉลี่ย 89% ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุดเฉลี่ย 49 %

ข้อมูลการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

แบ่งปกครองแบ่งออกเป็น 32 อำเภอ 289 ตำบล 3743 หมู่บ้าน เนื้อที่รวม 20,493.968 ตารางกิโลเมตร

1.อำเภอเมืองนครราชสีมา

2.อำเภอครบุรี

3.อำเภอเสิงสาง

4.อำเภอคง

5.อำเภอบ้านเหลื่อม

6.อำเภอจักราช

7.อำเภอโชคชัย

8.อำเภอด่านขุนทด

9.อำเภอโนนไทย

10.อำเภอโนนสูง

11.อำเภอขามสะแกแสง

12.อำเภอบัวใหญ่

13.อำเภอประทาย

14.อำเภอปักธงชัย

15.อำเภอพิมาย

16.อำเภอห้วยแถลง

17.อำเภอชุมพวง

18.อำเภอสูงเนิน

19.อำเภอขามทะเลสอ

20.อำเภอสีคิ้ว

21.อำเภอปากช่อง

22.อำเภอหนองบุญมาก

23.อำเภอแก้งสนามนาง

24.อำเภอโนนแดง

25.อำเภอวังน้ำเขียว

26.อำเภอเทพารักษ์

27.อำเภอเมืองยาง

28.อำเภอพระทองคำ

29.อำเภอลำทะเมนชัย

30.อำเภอบัวลาย

31.อำเภอสีดา

32.อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

เศรษฐกิจ

โครงสร้างเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดนครราชสีมามีโครงสร้างที่สำคัญ ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และการค้าส่งค้าปลีก ซึ่งมีอัตราสัดส่วนโครงสร้างร้อยละ 22.46, 19.82 และ 14.91 ตามลำดับ[4] ในภาคการเกษตร จังหวัดมีพื้นที่เกษตรกรรมทั้งสิ้น 8,931,032 ไร่ แบ่งเป็น ปลูกข้าว จำนวน 4,329,724 ไร่ พืชไร่จำพวกข้าวโพด มันสำปะหลัง [[ปอ[[ ฝ้าย และข้าวฟ่าง จำนวน 3,793,602 ไร่ และปลูกพืชสวน 632,170 ไร่ มีครัวเรือนเกษตรกรรวมทั้งสิ้น 326,587 ครัวเรือน[4] โดยมีพืชเศรษฐกิจ 3 อันดับแรก คือ ข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด การเลี้ยงไหมโดยเฉพาะที่อำเภอปักธงชัยเป็นแหล่งผ้าไหมที่ขึ้นชื่อ อาชีพการทำป่าไม้ และการประมงน้ำจืดตามลุ่มน้ำ

ในภาคอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2553 จังหวัดนครราชสีมามีโรงงานทั้งสิ้น 2,398 โรงงาน มีมูลค่าการลงทุน ประมาณ 119 ล้านบาท[4] ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการเกษตรมีสัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 18.84 อุตสาหกรรมขนส่งเฉลี่ยร้อยละ 12.27 อุตสาหกรรมอโลหะเฉลี่ยร้อยละ 11.38 และอุตสาหกรรมอาหารเฉลี่ยร้อยละ 10.02[5] สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ มีแร่ที่สำคัญคือ หินบะซอลต์ หินปูน และ เกลือหิน โดยเฉพาะเกลือหิน พบมากในตอนเหนือและตอนกลางของจังหวัด

ปี พ.ศ. 2553 จังหวัดนครราชสีมามีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product – GPP) เท่ากับ 187,693 ล้านบาท และ ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อคน (GPP per capita) เท่ากับ 66,670 บาท[6]

ภาคการเงินการธนาคาร จังหวัดนครราชสีมามีจำนวนสำนักงานของธนาคารทั้งสิ้น 125 สำนักงาน เงินรับฝากรวมทุกประเภท (ก.ค.2555) ทั้งสิ้น 108,245 ล้านบาท และ เงินให้สินเชื่อรวมทุกประเภท (ก.ค.2555) ทั้งสิ้น 109,406 ล้านบาท [7]

นักลงทุนทั้งในประเทศไทยและต่างชาติต่างให้ความสำคัญกับจังหวัดนี้มาก จึงได้ตั้งฉายาให้กับจังหวัดนี้ว่าเป็น “มหานครแห่งอีสาน” เป็นเสมือนเมืองหลวงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะเป็นศูนย์กลางทางด้านต่าง ๆ ของภูมิภาค ได้แก่ การปกครอง การศึกษา การสาธารณสุข การคมนาคมขนส่ง การอุตสาหกรรม การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การลงทุน การสื่อสารโทรคมนาคม ฯลฯ มีคำขวัญของเมืองโคราชว่า มหานครแห่งอีสาน เมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ประตูเชื่อมโยงพันธมิตร สร้างเศรษฐกิจสู่สากล

ข้อมูลประชากร

จังหวัดนครราชสีมามีประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ทั้งสิ้น 2,603,038 คน แยกเป็นชาย 1,287,037 คนและหญิง 1,316,001 คน[8] มีเด็ก มีจำนวนบ้านทั้งสิ้น 802,134 หลัง

กลุ่มประชากร

ปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมามีประชากรมากเป็นอันดับหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมากเป็นอันดับสองของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยประชากรหลากหลายเชื้อชาติหรือหลายชาติพันธุ์ แต่กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครราชสีมาที่มีจำนวนมากมีอยู่สองกลุ่มใหญ่คือ ไทย (หรือเรียกอีกอย่างว่า ไทยโคราช) และอีกกลุ่มคือ ลาว (หรือไทยอีสาน) และมีชนกลุ่มน้อยอีกได้แก่ มอญ กุย (หรือส่วย) ชาวบน จีน ไทยวน ญวน และแขก

ไทยโคราช

ชาวไทยสยามเก็บน้ำตาล

กลุ่มชาติพันธุ์ไทยที่อยู่ในนครราชสีมาเรียกอีกอย่างว่า ไทยโคราช เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา คนกลุ่มนี้ใช้ภาษาเหมือนไทยในส่วนกลาง เพียงแต่เสียงวรรณยุกต์เพี้ยนไปบ้าง และมีคำศัพท์สำนวนบางอย่างที่มีลักษณะเป็นของตนเอง เดิมถิ่นนี้ชาวพื้นเมืองเป็นละว้า ชาวไทยได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองให้ขุนหลวงพะงั่วยกกองทัพมารวบรวมดินแดนแถบนี้เข้ากับกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองโปรดฯ ให้กองทหารอยุธยาตั้งด่านอยู่ประจำ และส่งช่างชาวอยุธยามาก่อสร้างบ้านเรือนและวัดวาอารามเป็นอันมาก ชาวไทยอยุธยาได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้อพยพมาอยู่นครราชสีมาอีกระลอกหนึ่งคือ คราวเสียกรุงครั้งที่ 2 โดยมีชาวไทยชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกได้อพยพเข้ามาเพิ่มด้วย ชาวไทยกลุ่มนี้และชาวไทยพื้นเมืองเดิม (เข้าใจว่าเป็นชาวสยามลุ่มน้ำมูล (ไท-เสียม) อาจมีเขมรและมอญปนอยู่ด้วย) สืบเชื้อสายเป็นชาวไทยโคราชและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีสืบทอดกันมา

กลุ่มไทยโคราชเป็นกลุ่มที่แสดงเอกลักษณ์ของเมืองนครราชสีมา เพราะสำเนียงแตกต่างจากกลุ่มอื่น เป็นกลุ่มที่พูดภาษาไทยโคราชซึ่งคล้ายคลึงภาษาไทยกลางแต่สำเนียงเพี้ยน เหน่อ ห้วนสั้น เกิ่นเสียง มีคำไทยลาว (อีสาน) ปะปนบ้างเล็กน้อย ชาวไทยโคราชแต่งกายแบบไทยภาคกลาง รับประทานข้าวเจ้า อาหารทั่วไปคล้ายคลึงภาคกลาง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมคล้ายไทยภาคกลาง ปัจจุบัน กลุ่มไทยโคราชอาศัยอยู่ในทุกอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ยกเว้นบางอำเภอที่มีชาวไทยลาวมากกว่า (อำเภอบัวใหญ่ ปักธงชัย และสูงเนิน) และยังพบชาวไทยโคราชในบางส่วนของจังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอบำเหน็จณรงค์และจัตุรัส) และจังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอเมืองบุรีรัมย์ นางรอง และละหานทราย)

ลาว

ลาว (ลาวเวียง ไทยลาว หรือไทยอีสาน) เป็นกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนประชากรมากรองจากกลุ่มไทยโคราช แต่อพยพเข้ามาทีหลัง อาศัยอยู่มากในบางอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา เช่น อำเภอบัวใหญ่ อำเภอปักธงชัย อำเภอสูงเนิน และบางส่วนของอำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอชุมพวง และอำเภอสีคิ้ว เป็นต้น ไทยอีสานพูดภาษาอีสานและมีขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนชาวอีสานทั่วไป กลุ่มไทยอีสานอพยพเข้ามาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาหลายรุ่น ส่วนใหญ่อพยพเข้ามาอยู่สมัยสงครามปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ สมัยธนบุรี มีการกวาดต้อนครอบครัวลาวเข้ามาอยู่ในหัวเมืองชั้นใน และอพยพเข้ามาโดยสมัครใจเพิ่มขึ้นในระยะหลัง

มอญ

จากการสำรวจสำมะโนประชากรของจังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2446 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พบว่า มีชาวมอญอยู่จำนวน 2,249 คน จากจำนวนประชากรของนครราชสีมา 402,668 คน ชาวมอญอพยพเข้ามาอยู่บริเวณเมืองนครราชสีมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2318 ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระราชทานครัวมอญที่อพยพเข้ามาสวามิภักดิ์ มีพระมหาโยธา (เจ่ง) เป็นหัวหน้า แบ่งให้พระยานครราชสีมานำขึ้นมาอยู่ที่เมืองนครราชสีมา ตั้งครัวมอญที่ลำพระเพลิง เขตอำเภอปักธงชัยที่บ้านพลับพลา อำเภอโชคชัย พระยาศรีราชรามัญผู้เป็นหัวหน้าพาญาติพี่น้องมาอยู่ในเมืองเป็นสายกองส่วยทอง ตั้งบ้านเรือนเรียกว่าบ้านมอญ เมื่อเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2336 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย) คุมกองมอญมาสมทบมาร่วมรบกับกำลังฝ่ายไทย เมื่อเสร็จศึกแล้วพวกมอญเห็นเมืองปักธงชัยอุดมสมบูรณ์จึงมาตั้งถิ่นฐาน ปัจจุบันชาวมอญในนครราชสีมายังรักษาวัฒนธรรมประเพณีมอญไว้ เช่น ภาษา การไหว้ผี การเล่นสะบ้าในเขตบ้านท่าโพธิ บ้านสำราญเพลิง ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำเครื่องปั้นดินเผา ภาษามอญจะใช้พูดในชาวไทยมอญที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป คนรุ่นหลังจากนี้จะพูดภาษาไทยโคราชทั้งสิ้น

ส่วย

ส่วย หรือ ข่า เป็นชนพื้นเมืองของหัวเมืองเขมรป่าดงและเมืองนครราชสีมา พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร ได้อยู่ในพื้นที่นี้ก่อนที่คนไทยจะเข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน เมื่อปี พ.ศ. 2362 เจ้าเมืองนครราชสีมา (ทองอินทร์) ตีข่าได้ แล้วนำมายังเมืองนครราชสีมา ภาษาส่วย เป็นภาษาของชาวส่วยที่อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ ตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง ปัจจุบันมีเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ที่ยังคงใช้ภาษาส่วยในกลุ่มของตนเอง นอกจากนั้นจะใช้ภาษาไทยโคราชเป็นพื้น

ญัฮกุร

ญัฮกุร หรือ เนียะกุล เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามไหล่เขาหรือเนินเขาเตี้ย ๆ บริเวณด้านในของที่ราบสูงโคราช ชาวบนอาจสืบเชื้อสายมาจากคนในสมัยทวารวดี อยู่ในบางหมู่บ้านของอำเภอปักธงชัย อำเภอครบุรี และอำเภอหนองบุญมาก ภาษาชาวบน เป็นภาษาตระกูลมอญ-เขมร ปัจจุบันชาวบนพูดภาษาชาวบนเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป นอกจากนั้นใช้ภาษาไทยโคราช

ไทยวน

ไทยยวน หรือ ไทยโยนก เป็นเผ่าไทยในภาคเหนือของไทย ได้อพยพเข้ามาอยู่ที่อำเภอสีคิ้วสองทางด้วยกันคือ พวกแรกอพยพจากทางเหนือมาอยู่ที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ต่อมาเจ้าเมืองสระบุรีต้องการตั้งกองเลี้ยงโคนมที่เมืองนครจันทึก จึงได้แบ่งครอบครัวชาวไทยยวนจากอำเภอเสาไห้ไปอยู่ที่อำเภอสีคิ้ว ส่วนอีกพวกหนึ่งอพยพมาจากเวียงจันทน์ ชาวไทยยวนยังรักษาประเพณีและวัฒนธรรมแบบโยนกไว้ได้ดีมาก ภาษาไทยยวน ใช้พูดในหมู่ไทยยวนด้วยกันเองซึ่งมีอยู่ประมาณ 5,000 คน ในเขตอำเภอสีคิ้ว ในท้องที่ตำบลลาดบัวขาว ตำบลสีคิ้ว และตำบลบ้านหัน

นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม ชาวจีน ชาวเวียดนาม และชาวแขก

การศึกษา

จังหวัดนครราชสีมามีสถาบันการศึกษาหลายแห่ง แบ่งตามเขตการศึกษา ทั้งหมด 7 เขต

การแบ่งเขตพื้นที่การศึกษา

เขต 1 – อำเภอเมืองนครราชสีมาและอำเภอโนนสูง

เขต 2 – อำเภอจักราช อำเภอหนองบุญมาก อำเภอห้วยแถลง อำเภอเฉลิมพระเกียรติและอำเภอโชคชัย

เขต 3 – อำเภอปักธงชัย อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง และอำเภอวังน้ำเขียว

เขต 4 – อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนินและอำเภอปากช่อง

เขต 5 – อำเภอเทพารักษ์ อำเภอพระทองคำ อำเภอขามสะแกแสง อำเภอขามทะเลสอ อำเภอโนนไทยและอำเภอด่านขุนทด

เขต 6 – อำเภอสีดา อำเภอบัวลาย อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอคงและอำเภอบัวใหญ่

เขต 7 – อำเภอประทาย อำเภอเมืองยาง อำเภอชุมพวง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอพิมายและอำเภอโนนแดง

โรงเรียน

ดูบทความหลักที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา‎

สถาบันอุดมศึกษา

สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (ศูนย์กลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอิสาน)

มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย และศูนย์การศึกษาโคราช

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวัน

สถาบันรัชต์ภาคย์ ศูนย์วิทยบริการจังหวัดนครราชสีมา

สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ศูนย์การเรียนรู้จังหวัดนครราชสีมา

สถาบันอุดมศึกษานานาชาติ

วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ วิทยาเขตนครราชสีมา (เอกชน)

สถาบันอาชีวศึกษา

สถาบันการอาชีวศึกษาของรัฐ

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕ ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ วิทยาลัยเทคนิคคูเมือง วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์และวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ เป็นหนึ่งใน สถาบันการอาชีวศึกษา 19 แห่ง ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎกระทรวง การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยมีวิทยาลัยในสังกัด ในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่

วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา เปิดสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ-ปริญญาตรี (สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ)

วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี

วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ

วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา

วิทยาลัยอาชีวศึกษาอื่น ๆ

วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา

วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีนครราชสีมา

วิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย

วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวนครราชสีมา (NR-CBAT) เปิดสอนระดับ ปวช.-ปวส. ในด้านบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

วิทยาลัยการอาชีพปากช่อง

วิทยาลัยการอาชีพบัวใหญ่

วิทยาลัยการอาชีพชุมพวง

วิทยาลัยการอาชีพพิมาย

สถาบันอาชีวศึกษา (เอกชน)

วิทยาลัยเทคโนโลยีช่างกลพณิชยการนครราชสีมา

โรงเรียนเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ นครราชสีมา

โรงเรียนเทคโนโลยีอาชีวศึษานครราชสีมา

โรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วิทยาลัยอาชีวเมรี่เทคโนโลยี

วิทยาลัยเทคโนโลยีมารีย์บริหารธุรกิจ นครราชสีมา

โรงเรียนเทคโนสุระ

บัวใหญ่เทคโนโลยีพณิชยการ

โรงเรียนพณิชยการปากช่อง

วิทยาลัยอาชีวสายมิตรเทคโนโลยี

วิทยาลัยเฉพาะทาง

วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา เปิดสอนหลักสูตรนาฎศิลป์ชั้นต้น กลาง และสูง

สถาบันวิจัย

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

ศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ

การสาธารณสุข

โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

โรงพยาบาลเทพรัตน์ นครราชสีมา (โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาแห่งที่ 2 โคกกรวด หรือ โรงพยาบาลนครราชสีมา เดิม)

โรงพยาบาลค่ายสุรนารี

โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์

โรงพยาบาลหัวทะเล

โรงพยาบาลกองบิน 1

โรงพยาบาลกรุงเทพ

โรงพยาบาลเซนต์แมรี่

โรงพยาบาล ป.แพทย์

โรงพยาบาลโคราชเมโมเรียล

โรงพยาบาลเดอะโกลเด้นท์เกต

ศูนย์ปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

โรงพยาบาลกรุงเทพ-ราชสีมา

โรงพยาบาล ป.แพทย์ 2

โรงพยาบาลหมอสิน

โรงพยาบาลด่านขุนทด

โรงพยาบาลด่านเมดิคอล

โรงพยาบาลด่านขุนทดแห่งที่ 2 (โครงการ บริเวณวิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ)

โรงพยาบาลพิมาย

โรงพยาบาลพิมายเมดิคอล

โรงพยาบาลปักธงชัย

โรงพยาบาลครบุรี

โรงพยาบาลเสิงสาง

โรงพยาบาลสูงเนิน

โรงพยาบาลปากช่องนานา

โรงพยาบาลปากช่องเมมโมเรียน

โรงพยาบาลวังน้ำเขียว

โรงพยาบาลสีคิ้ว

โรงพยาบาลขามทะเลสอ

โรงพยาบาลเทพารักษ์

โรงพยาบาลโนนสูง

โรงพยาบาลขามสะแกแสง

โรงพยาบาลโนนไทย

โรงพยาบาลพระทองคำ

โรงพยาบาลคง

โรงพยาบาลบัวใหญ่

โรงพยาบาลประทาย

โรงพยาบาลบ้านเหลื่อม

โรงพยาบาลแก้งสนามนาง

โรงพยาบาลบัวลาย

โรงพยาบาลสีดา

โรงพยาบาลชุมพวง

โรงพยาบาลลำทะเมนชัย

โรงพยาบาลเมืองยาง

โรงพยาบาลห้วยแถลง

โรงพยาบาลจักราช

โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ

โรงพยาบาลหนองบุญมาก

โรงพยาบาลโชคชัย

โรงพยาบาลโนนแดง

การคมนาคม

ทางอากาศ

เมื่อวันที่ 2 ก.ย. 54 ที่ท่าอากาศยานนครราชสีมา อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา บริษัท Thai Regional Aviation จำกัด ได้ทำการเปิดเที่ยวบิน สุวรรณภูมิ-โคราช-สุวรรณภูมิ บริษัทเลือกใช้เครื่องบินรุ่น Piper Navajo Chieftain ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ได้รับความนิยมสูง และ มีความปลอดภัยจากประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้เวลาในการเดินทาง 40 นาที

รถยนต์

จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางด้วยรถยนต์ มายังจังหวัดนครราชสีมาได้หลายเส้นทาง คือ

เส้นทางผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านรังสิต วังน้อย จนถึงจังหวัดสระบุรี ข้ามทางต่างระดับมิตรภาพ ทางทิศตะวันออก ไปยัง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอแก่งคอย มวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เรื่อยไปจนถึงอำเภอปากช่อง สีคิ้ว สูงเนิน และจังหวัดนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 256 กิโลเมตร

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 เส้นทางผ่านเขตมีนบุรี อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอพนมสารคาม อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอปักธงชัย จนถึงจังหวัดนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 273 กิโลเมตร

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305 เส้นทางรังสิต-นครนายก ต่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 ไปกบินทร์บุรี แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ผ่านอำเภอวังน้ำเขียว ปักธงชัย เรื่อยไปจนถึงจังหวัดนครราชสีมา

รถโดยสารประจำทาง

เดินทางจากกรุงเทพฯ

มีรถโดยสารธรรมดา และ รถปรับอากาศชั้น 1 ชั้น 2 และรถตู้ปรับอากาศ สาย 21 (กรุงเทพฯ – นครราชสีมา) วิ่งให้บริการจาก สถานีขนส่งหมอชิต 2 กรุงเทพฯ มายังจังหวัดนครราชสีมา ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีบริษัทเอกชน ที่ได้รับสัมปทานเปิดบริการเดินรถโดยสารสาย 21 ดังนี้

รถปรับอากาศชั้น 1

บริษัท ราชสีมาทัวร์ จำกัด

บริษัท แอร์โคราชพัฒนา จำกัด

บริษัท สุรนารีแอร์ จำกัด

รถปรับอากาศชั้น 2

กลุ่มเดินรถ ป.2 สาย 21

รถตู้ปรับอากาศ (ไม่รับรายทาง)

เสรี รถตู้ลีมูซีน

ซึ่งจะให้บริการ รับ-ส่ง ผู้โดยสารที่สถานีขนส่งทั้งสองแห่ง คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 (ถนนบุรินทร์) และ สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 (ถนนมิตรภาพ-หนองคาย) นอกจากนั้น ยังสามารถที่จะเลือกเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางจากกรุงเทพฯ ปลายทางจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสานที่ผ่านจังหวัดนครราชสีมาได้

เดินทางภายในจังหวัด

การเดินทางภายในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียง มีขนส่งสาธารณะให้บริการดังนี้คือ

รถโดยสารประจำทางหมวด 1 และหมวด 4 (รถสองแถว) วิ่งบริการภายในเขตเทศบาล และ บริเวณใกล้เคียง รถโดยสารหมวด 1 แบ่งออกเป็น 21 สาย วิ่งบริการภายในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียงไปตามเส้นทางต่าง ๆ

รถจักรยานยนต์รับจ้าง, รถสามล้อเครื่อง และรถสามล้อ วิ่งให้บริการผู้โดยสารภายในเขตตัวเมือง

รถแท็กซี่มิเตอร์ (Taxi Meter) เปิดให้บริการในช่วงการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 24 เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นจังหวัดแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจุดจอดรถแท็กซี่อยู่ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 และศูนย์การค้าเดอะมอลล์ นครราชสีมา นอกจากนี้ยังสามารถเรียกใช้บริการโดยโทรศัพท์เลขหมายด่วน ปัจจุบันมีรถให้บริการทั้งสิ้นจำนวน 70 คัน

ถ้าต้องการเดินทางไปต่างอำเภอ จะมีรถโดยสารประจำทางหมวด 4 ให้บริการไปยังอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนครราชสีมา หลายสายด้วยกัน สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งแห่งที่ 1 ถนนบุรินทร์ มีทั้งประเภทรถสองแถว และ รถบัสโดยสารประจำทางให้บริการ จะมีรถโดยสารไป อำเภอปักธงชัย อำเภอประทาย อำเภอด่านขุนทด อำเภอปากช่อง อำเภอสูงเนิน สำหรับสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 นั้น จะมีรถโดยสาร ไปเฉพาะ อำเภอพิมาย และ ด่านเกวียน, อำเภอโชคชัย

เดินทางระหว่างจังหวัด

มีทั้งรถโดยสารประจำทางธรรมดา และปรับอากาศ หมวด 2 และ 3 จำนวนหลายเส้นทางในจังหวัดต่าง ๆ วิ่งให้บริการผ่านจังหวัดนครราชสีมาที่สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 (ถนนมิตรภาพ-หนองคาย) ทุกวัน

นอกจากนี้ มีรถโดยสารประจำทาง ให้บริการรับส่งผู้โดยสารจาก ต้นทางจังหวัดนครราชสีมา ไปยังปลายทางจังหวัดอื่น ในภาคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ภาคอีสาน ได้แก่ นครราชสีมา – ชัยภูมิ

นครราชสีมา – ขอนแก่น

นครราชสีมา – เลย (เชียงคาน)

นครราชสีมา – อุดรธานี

นครราชสีมา – มุกดาหาร

นครราชสีมา – อุบลราชธานี

นครราชสีมา – หนองคาย (ศรีเชียงใหม่)

นครราชสีมา – ยโสธร

นครราชสีมา – สุรินทร์

นครราชสีมา – บุรีรัมย์

นครราชสีมา – นครพนม (บ้านแพง)

ภาคเหนือ ได้แก่ นครราชสีมา – นครสวรรค์

นครราชสีมา – พิษณุโลก

นครราชสีมา – เพชรบูรณ์ ,หล่มสัก

นครราชสีมา – เชียงใหม่

นครราชสีมา – เชียงราย (แม่สาย)

ภาคกลาง ได้แก่ นครราชสีมา – กรุงเทพฯ

นครราชสีมา – สระบุรี

นครราชสีมา – อยุธยา

นครราชสีมา – ลพบุรี (ลำนารายณ์)

ภาคตะวันออก ได้แก่ นครราชสีมา – สระแก้ว (อรัญประเทศ)

นครราชสีมา – จันทบุรี

นครราชสีมา – ชลบุรี (พัทยา)

นครราชสีมา – ระยอง

นครราชสีมา – ตราด (แหลมงอบ)

ภาคตะวันตก ได้แก่ นครราชสีมา – หัวหิน

ภาคใต้ ได้แก่ นครราชสีมา – หาดใหญ่

นครราชสีมา – ภูเก็ต

เดินทางระหว่างประเทศ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา – นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (กรุงเทพฯ-เวียงจันทน์ 900 บาท, นครราชสีมา-เวียงจันทน์ 540 บาท) เวลา 21.00 น. จากสถานีต้นทาง กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) ถึง บขส. นครราชสีมา แห่งที่ 2 ประมาณ 23.50 น.

เวลา 18.00 น. จากสถานีต้นทาง นครหลวงเวียงจันทน์ ถึง บขส. นครราชสีมา แห่งที่ 2 ประมาณ 1 นาฬิกา

เที่ยววิ่งนอกวันและเวลาราชการ เก็บค่าทำการล่วงเวลา ของด่านตรวจคนเข้าเมืองคนละ 5 บาท โดยจัดเก็บที่สถานีเดินรถ

เดินทางด้วยรถปรับอากาศ 2 ชั้น 32 ที่นั่ง มีสุขภัณฑ์ พนักงานต้อนรับ และอาหารว่าง

ติดต่อสถานีเดินรถนครราชสีมา โทรศัพท์ 044-254964 หรือ 1490 เรียก บขส.

ในการเดินทางข้ามแดนจากจังหวัดนครราชสีมา ไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สามารถใช้หลักฐาน คือหนังสือเดินทางคือหนังสือผ่านแดน หรือหนังสือผ่านแดนชั่วคราวโดยมีแนวปฏิบัติและขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ใช้บัตรผ่านแดน สำหรับเดินทางเข้าประเทศลาวไม่เกิน 3 วัน 2 คืน และไม่เดินทางไปแขวงอื่น การทำบัตรผ่านแดนทำที่ศาลากลางจังหวัดที่มีชายแดนติดกับลาวโดยใช้หลักฐาน ดังนี้ รูปถ่าย 1 นิ้ว 2 รูป

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และบัตรจริง

สำเนาทะเบียนบ้าน

ค่าธรรมเนียม

หากยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องใช้สำเนาสูติบัตรด้วย

2. การขอวีซ่า ผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการของไทยได้รับยกเว้นไม่ต้องขอวีซ่า สามารถอยู่ในประเทศลาวได้ 30 วัน

สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาต้องขอวีซ่าจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประจำประเทศไทยที่กรุงเทพฯ หรือสถานกงสุลใหญ่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่จังหวัดขอนแก่นโดยต้องใช้รูปถ่าย 1 รูป และเสียค่าธรรมเนียม 30 ดอลลาร์สหรัฐ

สถานีขนส่งผู้โดยสาร

จังหวัดนครราชสีมา มีสถานีขนส่งผู้โดยสารที่ให้บริการแก่ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังอำเภอ หรือ จังหวัดต่างๆ ดังนี้

สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 ตั้งอยู่เลขที่ 86 ถนนบุรินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 7 ไร่ 2 งาน 98 ตารางวา เปิดใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 บริหารจัดการโดยเทศบาลนครนครราชสีมา ใช้เป็นสถานีขนส่งภายในจังหวัดเป็นหลัก และมีรถโดยสารปรับอากาศ สายที่ 21 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ให้บริการ ประกอบไปด้วย

ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 24 ช่องจอด พื้นที่ 3,840 ตารางเมตร

พื้นที่อาคารผู้โดยสาร 6,194 ตารางเมตร

ปัจจุบันสถานีขนส่งฯ แห่งที่ 1 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการเฉลี่ยวันละ 2,000 เที่ยว/วัน หรือประมาณ 730,000 เที่ยว/ปี และมีผู้โดยสารหมุนเวียนเข้าใช้บริการเฉลี่ย 50,000 คน/วัน หรือประมาณ 18,000,000 ล้านคน/ปี

สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่ ถนนมิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ มีเนื้อที่ 29 ไร่ 50 ตารางวา เป็นสถานีขนส่งฯที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในจังหวัดนครราชสีมาและในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง และดำเนินการสถานีขนส่ง คือ บริษัท ไทยสงวนบริการ จำกัด ใช้เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดเป็นหลักเส้นทางที่สำคัญคือ สายที่ 21 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ประกอบด้วย

ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 111 ช่องจอด พื้นที่ 17,760 ตารางเมตร

พื้นที่อาคารผู้โดยสาร 28,416 ตารางเมตร

ที่จอดรถส่วนบุคคลประมาณ 250 คัน และรถจักรยานยนต์ ประมาณ 1,100 คัน

ปัจจุบันสถานีขนส่งฯ แห่งที่ 2 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการเฉลี่ยวันละ 1,300 เที่ยว /วัน หรือประมาณ 470,000 เที่ยว/ปี และมีผู้โดยสารหมุนเวียนเข้าใช้บริการเฉลี่ย 30,000 คน/วัน หรือประมาณ 11,000,000 ล้านคน/ปี

สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอโชคชัย ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 12 ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย มีเนื้อที่ 7 ไร่ บริหารจัดการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2539 ประกอบด้วย

ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 16 ช่องจอด พื้นที่ 3,280 ตารางเมตร

ที่จอดรถส่วนบุคคลประมาณ 40 คัน และรถจักรยานยนต์ ประมาณ 50 คัน

สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอโชคชัย มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการวันละประมาณ 210 เที่ยว สถานีขนส่งฯ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณวันละ 2,000 คน /วัน

สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพิมาย ตั้งอยู่บริเวณตำบลในเมือง อำเภอพิมาย มีเนื้อที่ 6 ไร่ 54 ตารางวา ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง และดำเนินการสถานีขนส่งคือ บริษัท ไทยสงวนบริการ จำกัด เปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2538 ประกอบด้วย

ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 18 ช่องจอด พื้นที่ 3,840 ตารางเมตร

ที่จอดรถส่วนบุคคลประมาณ 15 คัน และ รถจักรยานยนต์ ประมาณ 25 คัน

สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพิมาย มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการวันละประมาณ 230 เที่ยว สถานีขนส่งฯ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณวันละ 2,000 คน / วัน

รถไฟ

สถานีรถไฟนครราชสีมา

มีรถไฟสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือกรุงเทพ – อุบลราชธานีและกรุงเทพ – หนองคายทั้งขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็วและรถธรรมดาวิ่งให้บริการจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ผ่านจังหวัดนครราชสีมาทุกวัน นอกจากนี้ยังมีขบวนรถท้องถิ่นวิ่งให้บริการระหว่างสถานีรถไฟนครราชสีมาไปยังสถานีรถไฟจังหวัดอื่นๆ เช่น สุรินทร์ อุบลราชธานี อุดรธานี หนองคาย และอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีอีกด้วย

สถานีรถไฟนครราชสีมาสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมาและในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ตั้งอยู่ที่ถนนมุขมนตรี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 264 กิโลเมตร [9]

กีฬา

จังหวัดนครราชสีมา เป็นรับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติหลายครั้ง

พ.ศ. 2550 ได้รับเกียรติให้เป็นเมืองหลัก ในการจัดการแข่งขัน ซีเกมส์ 2007 ณ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550

พ.ศ. 2555 ได้รับเกียรติให้จัดการแข่งขัน ฟุตซอลชิงแชมป์โลก ที่อาคารชาติชาย ฮอลล์ ในสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 ร่วมกับกรุงเทพมหานครอีกด้วย

จังหวัดนครราชสีมา มีการพัฒนาด้านกีฬาอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จาก

นักมวยโคราช ได้สร้างชื่อจนเป็นที่ยอมรับในวงการมวยไทย และมวยสากล มาเป็นระยะเวลายาวนาน

ทีมวอลเลย์บอลของโรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา ได้ผลิตนักกีฬาที่มีชื่อเสียงหลายคนเข้าสู่ทีมชาติอย่างต่อเนื่อง

ทีมฟุตบอลประจำจังหวัดคือ สโมสรฟุตบอลนครราชสีมา (Korat F.C.) เคยชนะเลิศกีฬาเขต และชนะเลิศไทยแลนด์คัพ

ทีมเซปัคตะกร้อประจำจังหวัด ทำการแข่งขันในตะกร้อไทยแลนด์ลีก

ด้านการทหาร

กองทัพภาคที่ 2

กองบิน 1 นครราชสีมา

กองพันพัฒนาที่ 2

กองพันสุนัขทหาร

บุคคลที่มีชื่อเสียงจากนครราชสีมา

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์

บุคคลในประวัติศาสตร์

พระยายมราช (สังข์) เจ้าเมืองนครราชสีมาคนแรก ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข

สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา

เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) เจ้าเมืองนครราชสีมาสมัยสงครามปราบกบฏเวียงจันทน์และ อานามสยามยุทธ

เจ้าพระยามหิศราธิบดี (ทองคำ)สามีท่านท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม)

ท้าวสุรนารี วีรสตรีไทย ช่วยกอบกู้อิสรภาพให้เมืองนครราชสีมา

นางสาวบุญเหลือ ผู้ร่วมกอบกู้เมืองนครราชสีมาร่วมกับท้าวสุรนารี จากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ ณ ทุ่งสัมฤทธิ์

พระสงฆ์

พระราชสังวรญาณ วิ. หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน

พระเทพวิทยาคม หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ

พระธรรมมงคลญาณ วิ. หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร

นายกรัฐมนตรี

พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีคนที่ 17

พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 24,องคมนตรี

ผู้บัญชาการทหาร/ตำรวจ

พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนแรก

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 37

พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ คนที่ 21

นักการเมือง

พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี

กร ทัพพะรังสี อดีตรองนายกรัฐมนตรี

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ อดีตรองนายกรัฐมนตรี

นิพนธ์ พร้อมพันธุ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี

มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี

สกุล ศรีพรหม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

ประวิช รัตนเพียร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ไพโรจน์ สุวรรณฉวี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

สมชาย เพศประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

สุภรณ์ อัตถาวงศ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

นักมวยไทย/นักมวยสากลอาชีพ

พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์ หมื่นชงัดเชิงชก นักมวยไทยคาดเชือก

ทับ จำเกาะ นักมวยไทยคาดเชือก

บัว วัดอิ่ม นักมวยไทยคาดเชือก

วิหค เทียมกำแหง

สุข ปราสาทหินพิมาย ตำนานนักมวยไทยอาชีพ

สามารถ ศรแดง ยอดมวยไทยในอดีต

เนตรน้อย ศ.วรสิงห์ นักมวยสากลอาชีพ แชมป์โลกคนที่ 6 ของไทย

นภา เกียรติวันชัย นักมวยสากลอาชีพ แชมป์โลก WBC รุ่นสตรอว์เวต

รัตนพล ส.วรพิน นักมวยสากลอาชีพ แชมป์โลก IBF รุ่นมินิฟลายเวต

วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น นักมวยสากลอาชีพ แชมป์โลก WBC และ WBA รุ่นแบนตั้มเวต

ฉัตรชัย สาสกุล นักมวยสากลทีมชาติไทยชุดโอลิมปิก และ แชมป์โลก WBC รุ่นฟลายเวต

พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์ นักมวยสากลอาชีพ ผู้ถูกจารึกชื่อใน WBC Hall of fame

รัตนชัย ส.วรพิน นักมวยสากลอาชีพ แชมป์โลก WBO

ไก่ชน ส.วรพิน

นักกีฬา

อุดมพร พลศักดิ์ อุดมพร พลศักดิ์ นักกีฬาหญิงคนแรกของประเทศไทย ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก 2004

สุริยา ปราสาทหินพิมาย นักมวยสากล เหรียญทองแดงโอลิมปิก 2004

สมจิตร จงจอหอ นักมวยสากล เหรียญทองโอลิมปิก 2008

พัชรี แสงเมือง อดีตกัปตันทีมวอลเลย์บอลหญิง ทีมชาติไทย

อานนท์ สังข์สระน้อย นักฟุตบอลทีมชาติไทย ซีเกมส์ 2007

หนึ่งนัดดา วรรณสุข นักกีฬาเทนนิส

วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์ กัปตันทีมวอลเลย์บอลหญิง ทีมชาติไทย ชุดแชมป์เอเชีย 2009 ,ชิงแชมป์โลก 2010

พร้อมพงศ์ กลางสำโรง นักฟุตบอล

ศิวรักษ์ เทศสูงเนิน นักฟุตบอล

อานนท์ นานอก นักฟุตบอล

นักวิชาการ

สิทธิชัย โภไคยอุดม ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหานคร,อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ผู้กำกับการแสดง

ปรัชญา ปิ่นแก้ว ปรัชญา ปิ่นแก้ว ผู้กำกับ “องค์บาก” และ “ต้มยำกุ้ง”

ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ผู้กำกับ “insect in the backyard” ,”ฮักนะสารคาม” , “ตายโหง ตอน ศพในแท็งค์น้ำ” , “ไม่ได้ขอให้มารัก: it gets better”

ทรนง ศรีเชื้อ

นักเขียน

สยุมภู ทศพล (ประจิม วงศ์สุวรรณ)

คำสิงห์ ศรีนอก (ลาว คำหอม)

ชัยวัฒน์ คุประตกุล (ชัยคุปต์)

วิสา คัญทัพ

นักแสดง / นางงาม

เจเนต เขียว นันทวัน เมฆใหญ่

จรัสพงษ์ สุรัสวดี (ซูโม่ตู้)

ธงชัย ประสงค์สันติ (ธง)

เพ็ญพิสุทธิ์ เลิศรัตนชัย (ส้มโอ)

ธนา สุทธิกมล (ออย)

โสภิตสุดา อิทธิเมธินทร์ (จอย)

วรัทยา นิลคูหา (จุ๋ย)

วงศกร ปรมัตถากร (นิว)

พิมพ์อักษิพร วินโกมินทร์ (เมจิ)

สุชารัตน์ มานะยิ่ง (ออม)

เจเน็ท เขียว (นงนุช สมบูรณ์)

ธงธง มกจ๊ก (คัชฑาเทพ เอี่ยมศิริ)

สุทธิพงษ์ สีสวาท (เปา)

นักร้อง/นักดนตรี

เพลงไทยสากล

ศิริศักดิ์ นันทเสน

พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ติ๊ก ชิโร่ (มนัสวิน นันทเสน)

รวิวรรณ จินดา (อุ้ย)

เทวัญ ทรัพย์แสนยากร นักดนตรีแจ๊ส

เสก โลโซ (เสกสรร สุขพิมาย)

แช่ม แช่มรัมย์ (วิวัฒน์ แช่มรัมย์ )

ณัฏฐพัชร วิพัธครตระกูล (ปุยฝ้าย AF 4)

กฤษณกัณท์ มณีผกาพันธ์ (เต็งหนึ่ง วง บี.โอ.วาย)

อรรณพ ทองบริสุทธิ์ (ปอ AF 7)

นันทิตา ฆัมภิรานนท์ (เบลล์ ไทยแลนด์ก๊อตทาเลนต์)

นนทนันท์ อัญชุลีประดิษฐ์ (คชา AF8)

เสือ ธนพล

เพลงลูกกรุง, ลูกทุ่ง และ เพื่อชีวิต

สุเทพ วงศ์กำแหง สุเทพ วงศ์กำแหง

ศรชัย เมฆวิเชียร (ยง ปราบไชยโจร)

สัญญา พรนารายณ์ (ณัฐธพงษ์ สร้อยสูงเนิน)

พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ

สุนารี ราชสีมา (ทิม สอนนา)

จักรพรรณ์ ครบุรีธีรโชติ (จักรพรรณ์ อาบครบุรี), (ก็อต)

สมมาส ราชสีมา (บำรุง บุญสูงเนิน)

ตั๊กแตน ชลดา (ชลดา ทองจุลกลาง)

แอร์ สุชาวดี (ศิริพร พลนรา )

เอิร์น The Star (สุรัตน์ติกานต์ พรรคเจริญ)

ไหมไทย ใจตะวัน (มนต์ชัย รักษาชาติ)

แสน นากา

คำมอด พรขุนเดช

โจ สูงเนิน

ธนิดา ไชยกิตติ (ดิว AF8)

สถานที่ท่องเที่ยว

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ.เมือง

อาคารแสดง แสง สี เสียง วีรกรรมท้าวสุรนารี อ.เมือง

กำแพงเมืองเก่า อ.เมือง

สวนรัก อ.เมือง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ อ.เมือง

วัดพายัพ อ.เมือง

วัดสุทธจินดา อ.เมือง

วัดศาลาลอย อ.เมือง

ประตูชุมพล อ.เมือง

ประพลแสน อ.เมือง

ประตูพลล้าน อ.เมือง

ประตูไชยณรงค์ หรือประตูผี อ.เมือง

ตลาดแม่กิมเฮง อ.เมือง

อุโมงค์ต้นไม้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อ.เมือง

ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ นครราชสีมา อ.เมือง

ศูนย์การค้าคลัง พลาซ่า/คลังวิลล่า อ.เมือง

วัดพระนารายณ์ อ.เมือง

ตลาดหนองไผ่ล้อม อ.เมือง

บุ่งตาหลั่ว อ.เมือง

สวนสัตว์นครราชสีมา อ.เมือง

สวนน้ำโคราช ในสวนสัตว์นครราชสีมา อ.เมือง

สวนน้ำเดอะมอลล์ นครราชสีมา อ.เมือง

ตลาดเซฟวัน อ.เมือง

ไนซ์บราซ่า อ.เมือง

สำเพ็งโคราช อ.เมือง

พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน อ.เมือง

ตลากลางไม้ดอกไม้ประดับโคกกรวด อ.เมือง

สวนสาธารณะแม่น้ำมูล อ.เฉลิมพระเกียรติ

วัดป่าหลักร้อย อ.โนนไทย

ดินเผาด่านเกวียน อ.โชคชัย

โชคชัยไนซ์บาซ่าร์ อ.โชคชัย

ปรางค์พะโค อ.โชคชัย

ปราสาทสระเพลง อ.โชคชัย

วัดโบสถ์คงคาล้อม อ.โชคชัย

วัดใหม่สระปทุม อ.โชคชัย

วัดใน อ.โชคชัย

หมู่บ้านศิลปะหินทรายบ้านหนองโสน อ.โชคชัย

หมู่บ้านหัถกรรมทองเหลืองบ้านบิง/วัดบิง อ.โชคชัย

สวนสุขภาพบึงกระโทก อ.โชคชัย

ไทรทองเทพนิมิตร อ.โชคชัย

สวนมะนาวด่านกวียน อ.โชคชัย

หลวงพ่อใหญ่ วัดนอก อ.โชคชัย

มัชาดาไหมไทย อ.ปักธงชัย

วัดหน้าพระธาตุ อ.ปักธงชัย

กู่เกษม อ.ปักธงชัย

อ่างเก็บน้ำลำสำลาย อ.ปักธงชัย

จิมทอมสันฟาร์ม อ.ปักธงชัย

เขื่อนลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย

ปราสาทเมืองเก่า อ.สูงเนิน

ปราสาทโนนกู่ อ.สูงเนิน

ปราสาทเมืองแขก อ.สูงเนิน

วัดธรรมจักรเสมาราม อ.สูงเนิน

น้ำตกวะภูแก้ว อ.สูงเนิน

สวนป่าริมทางบ้านคลองหลวง อ.โนนสูง

แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท อ.โนนสูง

วิหารหลวงพ่อโต อ.สีคิ้ว

แหล่มหินตัด อ.สีคิ้ว

อ่างเก็บน้ำซับประดู่ อ.สีคิ้ว

วัดเขาจันทน์งาม อ.สีคิ้ว

เขื่อนลำตะคอง อ.สีค้ว

สวนน้าชาติ อ.สีค้ว

ศูนย์บริการทางหลวงลำตะคอง อ.สีคิ้ว

ปราสาทบ้านถนนหัก อ.หนองบุญมาก

สวนเฟื่องฟ้า อ.หนองบุญมาก

อุทยานแห่งชาติทับลาน อ.ครบุรี/เสิงสาง

ปรางค์ครบุรี อ.ครบุรี

เขาถ้ำวัวแดง อ.ครบุรี

แก่งวังวน/เขื่อนลำแซะ/หาดทรายทอง อ.ครบุรี

หาดจอมทอง อ.ครบุรี

เขื่อนมูลบน อ.ครบุรี

แปลงนาสาธิตมิลาเคิล อ.ครบุรี

น้ำตกวังเต่า อ.ครบุรี

วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด

สวนป่าสมเด็จย่า 90 พรรษา อ.ด่านขุนทด

โบราณสถานยอดปราสาทโนนหนึ่ง อ.ด่านขุนทด

อนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ อ.พิมาย

ปราสาทหินพิมาย อ.พิมาย

ไทรงาม อ.พิมาย

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พิมาย

ปราสาทนางรำ อ.ประทาย

หมู่บ้านหลุ่งประดู่สามัคคี อ.ห้วยแถลง

เนเธอร์แลนด์ แดนอีสาน

ตลาดศาลเจ้าพ่อเสือ(กม.79) อ.วังน้ำเขียว

น้ำตกคลองกุ่ม อ.วังน้ำเขียว

น้ำตกคลองดินดำ อ.วังน้ำเขียว

สถานที่วิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช อ.วังน้ำเขียว

น้ำตกขุนโจร อ.วังน้ำเขียว

โครงการกสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.วังน้ำเขียว

เขาแผงม้า อ.วังน้ำเขียว

คลองปลากั้ง อ.วังน้ำเขียว

วิลเลจฟาร์ม อ.วังน้ำเขียว

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร อ.วังน้ำเขียว

สวนไม้เมืองหนาววังน้ำเขียว ฟอลร่า อ.วังน้ำเขียว

น้ำตกห้วยใหญ่ อ.วังน้ำเขียว

ผาชมตะวัน อ.วังน้ำเขียว

น้ำตกผาห้อม อ.วังน้ำเขียว

บ้านผางาม อ.วังน้ำเขียว

ทองสมบูรณ์คลับ อ.ปากช่อง

ตลาดป่าสน อ.ปากช่อง

สวนนก อ.ปากช่อง

น้ำตกเหวนรก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อ.ปากช่อง

สวน The Bloom By tvpool เขาใหญ่ อ.ปากช่อง

ปาลิโอ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง

ปางช้างเขาใหญ่ อ.ปากช่อง

น้ำตกกองแก้ว อ.ปากช่อง

น้ำตกเหวสุวัต อ.ปากช่อง

ถ้ำผาหลวง อ.ปากช่อง

ไร่องุ่นกราน – มอนเต้ อ.ปากช่อง

พีบีวัลเลย์ อ.ปากช่อง

ฟาร์มโชคชัย อ.ปากช่อง

ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ อ.ปากช่อง

ตลาดน้ำปากช่อง

The smoke house อ.ปากช่อง

sheep land เขาใหญ่

โบนันซ่า เขาใหญ่

สระน้ำผุด ปากช่อง

หาดชมตะวัน อ.เสิงสาง

ประเพณี

งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี กำหนดจัดระหว่างวันที่ 23 มีนาคม – 3 เมษายน ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันที่คุณหญิงโมได้รับชัยชนะจากข้าศึก จัดบริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

Big Mountain Music Festival หรือรู้จักกันในนาม มัน ใหญ่ มาก เป็นเทศกาลดนตรี 2วัน 2คืน ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ โบนันซ่า เขาใหญ่ ถือเป็นเทศกาลดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

งานประเพณีแห่เทียนพรรษาโคราชกำหนดจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาณ บริเวณลานอนุสาวรีย์ ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีความตระการตา และจำนวนนักท่องเที่ยวจำนวนมาก

Korat Countdown คนร่วมนับถอยหลังสู่ปีใหม่ร่วมกัน นับแต่ปีเป็นการตอกย้ำที่สำคัญว่าเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เป็นเทศกาลสากลที่ประชาชนให้ความสำคัญ และเป็นศูนย์กลางแห่งการเฉลิมฉลอง ส่งท้ายปีของชาวโคราช และนักท่องเที่ยวจากต่างจังหวัดอีกครั้งเพราะเราเชื่อมั่นว่าโคราชเป็นเมืองซึ่งเป็นศูนย์รวมการท่องเที่ยวเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์แห่งรอยยิ้ม และความสวยงามที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วยสีสัน

งานตรุษจีนนครราชสีมา งานตรุษจีนนครราชสีมา กิจกรรมที่เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างชาวไทยและชาวจีน ซึ่งถือว่าเป็นงานที่มีความยิ่งใหญ่ภายใต้ความเชื่อที่มีมานาน และเป็นการฉลองวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนสุดยิ่งใหญ่อลังการ ณ บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และบริเวณสวนอนุสรณ์สถาน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

สงกรานต์โคราชเทศกาลสงกรานต์ที่โคราชจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีแต่ละปีจะยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆใครสนใจมาเที่ยวสงกรานต์ที่โคราชก็มาได้เลยครับชาวโคราชยินดีต้อนรับ

BBQ FESTIVAL @ KORATสถานที่จัด กว้างใหญ่ให้คาวบอยทั่วไทยได้โชว์ ชิม เต็มที่ ระบบเมืองเครื่องแต่งกาย เครื่องหนังให้ ชม ดู แล้วซื้ออย่างเต็มที่ ยกให้เคาบอยตี๋โคราชเป็นผู้ประสานงานแล้วสุดกับอาหารย่างทั่วไทยและจากต่างประเทศโดยหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา

งานเบญจมาศบาน ในม่านหมอกจัดขึ้นในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ณ หน้าที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไทยสามัคคี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอวังน้ำเขียวซึ่งมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การประกวดและจำหน่าย “ดอกเบญจมาศ” แปลงสาธิตดอกเบญจมาศหลากสายพันธุ์ หลากการแสดงและจำหน่ายสินค้าผักเมืองหนาวและกิจกรรมการขี่จักรยานท่องเที่ยวรับสายหมอกและลมหนาวของอำเภอวังน้ำเขียว

การแข่งเรือพิมายการแข่งเรือเป็นรูปแบบของการเล่นในฤดูน้ำหลากที่สร้างความสามัคคีของคนใน หมู่บ้าน และคนต่างหมู่บ้านได้พบปะกัน เป็นการสร้างความสมานสามัคคีของสังคมได้ทางหนึ่งช่วงเวลา จัดหลังวันออกพรรษา แต่ไม่เกินวันเพ็ญเดือนสิบสอง

งานเทศกาลเที่ยวพิมาย จัดในวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายน จัดขึ้นเพื่อเป็นการสร้างสรรค์กิจกรรมส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวหลักของ จังหวัดนครราชสีมา คือ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเดียวกับงานประเพณีแข่งเรือพิมาย ภายในงานมีกิจกรรมหลายอย่าง เช่น การแข่งเรือยาวประเพณี การแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่พุทธราชาและพุทธประวัติ ขบวนแห่พุทธประทีปและการแสดงประกอบแสง เสียง

งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลวิสาขบูชาคณะสงฆ์อำเภอเสิงสางโดยความร่วมมือของเทศบาลตำบลเสิงสาง/วัฒนธรรมอำเภอเสิงสางและพุทธสมาคมอำเภอเสิงสางได้ร่วมกันจัดกิจกรรมสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชาอำเภอเสิงสางประจำปี จัดที่เทศบาลตำบลเสิงสาง

ไม้ชวนชมประจำอำเภอคง

เทศกาลประเพณีของดีเมืองคง

ประเพณีบุญบั้งไฟตำบลหนองมะนาว อ.คง

งานเห็ดเมืองคง

งานผ้าไหมและของดีเมืองปักธงชัย เป็นงานที่ชาวอำเภอปักธงชัย ได้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมผ้าไหม และสินค้าต่างๆ ของอำเภอปักธงชัย จัดในวันที่ 9-15 ธันวาคม ของทุกปี ที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอปักธงชัย

Pakchong Cowboy Festivalทองสมบูรณ์ คลับ

Pakchong Cowboy City ริมถนนมิตรภาพสายเก่า บริเวณสวนสาธารณะเขาแคน อำเภอปากช่อง เทศกาลที่ชาวอำเภอปากช่องต่างแต้มสีสันในสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ การนิมิตเมืองปากช่องให้เป็นเมืองคาวบอยตะวันตก

เทศกาลกินหมี่ ประเพณีแห่เทียนพรรษา อำเภอโชคชัย

แข่งเรือพาย ตำบลท่าลาดขาว อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา เดือนพฤศจิกายน ของทุกปี

แข่งเรือ ตำบลละลมใหม่พัฒนา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา

งานสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ วัดบ้านไร่วัดบ้านไร่ตำบลกุดพิมานอำเภอด่านขุนทด วันที่ 11 มกราคมของทุกปี

งานของดีอำเภอขามสะแกแสงบริเวณสนามหน้าที่ว่าการอ.ขามสะแกแสง จ.นครราชสีมา เพื่อประชาสัมพันธ์ผลผลิตจากเกษตรกรโดยเฉพาะพริก ถือเป็นของดีของอำเภอ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้ พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญในอาชีพเกษตรกร ได้รับความรู้เชิงวิชาการและความรู้ใหม่ในการเพิ่มผลผลิต อีกทั้งการสร้างเสริมการตลาด ส่งเสริมความสามัคคี และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของอำเภอ

ประเพณีกินเข่าค่ำของดีเมืองสูงเนิน9-11มีนาคม ที่ปราสาทเมืองแขก ตำบลโคราช

เทศกาลกวนข้าวทิพย์ออกพรรา

เทศกาลน้อยหน่า ของดีปากช่อง และงานกาชาด

เทศกาลเฟื้องฟ้างามอ.หนองบุญมาก

งานเทศกาล มหัศจรรย์ทุ่งดอกจานบานสะพรั่ง อ.แก้งสนามนาง

งานบุญข้าวจี่ อ.แก้งสนามนาง

งานทอดผ้าไหมอ.แก้งสนามนาง

งานบุญบั้งไฟตำบลดอนยาวใหญ่ อ.โนนแดง

วังน้ำเขียวฟลอร่าแฟนตาเซียณ บริเวณแยกวัดโพธิ์เฉลิมพระเกียรติ อำเภอวังน้ำเขียว นครราชสีมา

งานเทศกาลชมพระอาทิตย์ตกดินดอยเจดีย์ อ.เทพารักษ์

พิธีสักการะรูปหล่อหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ตำบลบึงปรือ อำเภอเทพารักษ์

ประเพณีงานข้าวใหม่ปลามันจัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคของทุกปีซึ่งเป็นระยะเวลาที่การเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นแล้วและเชื่อกันว่าหากได้ข้าวและปลาในช่วงดังกล่าวจะมีรสชาติดีเป็นเลิศ อ.เมืองยาง

การแข่งขันพายเรืออีโปงในเทศกาลวันสงกรานต์อ.ลำทะเมนชัย

งานงิ้วประจำปี ประจำปีของชาวตลาดหนองบัวลายเป็นการบูชาและบวงสรวงแก่เจ้าพ่อที่เป็นที่เคารพของอำเภอบัวลายถือเป็นงานประเพณีที่จัดกันเป็นประจำทุกปีกว่า30ปีโดยจะจัดในช่วงเดือนตุลาคมหรือเดือนพฤศจิกายนของทุกปี

งานท้องถิ่นอำเภอสีดา

การจัดงานเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวามหาราช และวันครบรอบการเปิดที่ว่าการอำเภอหน้าที่ว่าการอำเภอเฉลิมพระเกียรติ 5ธันวาคมของทุกปี