ท อย ร.ร.ม ธยมว ดใหม กรงทอง จ.ปราจ นบ ร

Matthayomwatmaikrongtong School Under the Royal Patronage of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhom

ที่ตั้ง

ท อย ร.ร.ม ธยมว ดใหม กรงทอง จ.ปราจ นบ ร
ข้อมูลชื่ออื่นม.ท. (M.T.)ประเภทเอกชนประเภทสามัญศึกษาคำขวัญสุวิชาโน ภวํ โหติ (ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ)สถาปนา14 พฤษภาคม พ.ศ. 2498ผู้ก่อตั้งคณะสงฆ์อำเภอศรีมหาโพธิเขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนผู้อำนวยการดร.อุดม ชำนิระดับปีที่จัดการศึกษาชั้นปฐมวัย (อนุบาล) ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย สหศึกษาสี███ ขาว และ ███ เหลืองเว็บไซต์www.watmai.ac.th

โรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 โดยคณะสงฆ์อำเภอศรีมหาโพธิ เป็นโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ในปัจจุบัน ดร.อุดม ชำนิ เป็นผู้อำนวยการ พระราชปริยัติวัชราจารย์ (สุดใจ ยโสธโร ป.ธ.๔) เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี เจ้าอาวาสวัดใหม่กรงทอง เป็นผู้รับใบอนุญาตสถานศึกษา และ พระมหาธนศักดิ์ ธมฺมโชโต ป.ธ.๙ เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดใหม่กรงทอง เป็นผู้จัดการโรงเรียน

วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงรับโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง อยู่ในพระราชูปถัมภ์

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง เป็นโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ก่อตั้งโดยคณะสงฆ์จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 โดยมี พระวิสุทธิธรรมาจารย์ (หลวงพ่อทรัพย์) อดีตเจ้าอาวาสวัดใหม่กรงทอง และอดีตเจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกับพระครูศรีมหาโพธิคณารักษ์ (สวาสดิ์ กระโยมกุล) อดีตเจ้าคณะอำเภอศรีมหาโพธิ แรกเริ่มจัดสร้างด้วยเงินงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรสนับสนุน จำนวน 200,000 บาท มีนายบรรจบ ทองทับ เป็นผู้รับใบอนุญาต นายสนั่น สุวรรณกล่อม เป็นครูใหญ่ และพระมหาสวาสดิ์ กระโยมกุล (พระครูศรีมหาโพธิ์คณารักษ์) เป็นผู้จัดการฝ่ายสงฆ์ ปีการศึกษา พ.ศ. 2503 ได้รับการรับรองวิทยฐานะจากกระทรวงศึกษาธิการ

ปัจจุบันมีเนื้อที่ 31 ไร่ อาคารเรียน 7 หลัง จำนวน 157 ห้องเรียน

ห้องเรียน อาคารประกอบ จำนวน 3 หลัง เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในปีการศึกษา 2566 มีคณะครู 243 รูป/คน นักเรียน 6,039 รูป/คน

แหล่งข้อมูล[แก้]

  • เว็บไซต์โรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง เก็บถาวร 2010-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ,สำนักงาน,รูปแบบการจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรมของวัดในพระพุทธศาสนา กรณีศึกษาประเภทการศึกษาสงเคราะห์ของวัดใหม่กรงทองจังหวัดปราจีนบุรี, อัดสำเนา กรุงเทพ ฯ ,2545.
  • พระครูสิริอาภาธร,ประวัติวัดใหม่กรงทอง, เอกสารอัดสำเนาวัดใหม่กรงทอง,จังหวัดปราจีนบุรี,2547.
  • โรงเรียนวัดใหม่กรงทอง,รายงานการประเมินตนเอง (Self Study Report), ปีการศึกษา 2546. เอกสารอัดสำเนา กรุงเทพ,2546.
  • วัดใหม่กรงทอง,กิจกรรมแสดงผลงานของวัดใหม่กรงทอง จังหวัดปราจีนบุรี, เอกสารอัดสำเนา จังหวัดปราจีนบุรี.2547.

อ้างอิง[แก้]

  • คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดปราจีนบุรี, กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย : กระทรวงศึกษาธิการ : กรมศิลปากร, 2544, หน้า 281
  • คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดปราจีนบุรี, โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2544, หน้า 280-281 พิศมัย เพ่งนุเคราะห์,วัดใหม่กรงทอง อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี การจัดการโรงเรียนเอกชนการกุศลของวัดดีเด่น, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ,2548. หน้า 18-19.

ศิลปะโบราณวัตถุก่อนที่จะได้มีการบริจาคให้กับทางพิพิธภัณฑ์จังหวัดปราจีนบุรีไปนั้น หลวงพ่อท่านได้เก็บสะสมไว้หลายรูปแบบและหลายสมัย จากคำบอกเล่าของอาจารย์สาลี่นั้น หลวงพ่อท่านมีลูกปัดที่ได้จากดงศรีมหาโพธิอยู่หลายกะละมัง อาจารย์สาลี่เล่าว่าเมื่อก่อนนั้นที่ดงศรีมหาโพธิเวลาฝนตกนั้นลูกปัดก็ไหลมาตามธารน้ำฝน หรือแค่ไปเกลี่ยๆตามหน้าดินก็พบลูกปัดมากมาย ในปัจจุบันนั้นแม้ว่าจะมีลูกปัดน้อยลงแต่ก็ยังสามารถหาได้ บางวันชาวบ้านก็ยังเดินเข้าดงศรีมหาโพธิเพื่อไปหาลูกปัดกันอยู่ ในเวลาปัจจุบันของที่จัดแสดงอยู่ในห้องรองผู้อำนวยการโรงเรียน

ตู้กระจกด้านขวามือจากประตูห้องด้านในสุดนั้น หน้าตู้ที่วางไว้คู่กับรูปของหลวงพ่อและหิ้งพระเล็กๆเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามพยาธิสมัยทวาราวดี พระกรทั้งสองข้างหัก ถัดจากรูปของหลวงพ่อ ก็จะมีกระดานชนวนแผ่นหนึ่ง ที่อาจารย์สาลี่บอกเล่าว่า หลวงพ่อท่านเป็นนักโหราศาสตร์เรียนรู้จากตำรับตำรามากมาย ท่านจึงสามารถที่จะดูดวงโชคชะตาราศีได้ จึงมีญาติโยมศรัทธาส่วนหนึ่งที่มาเยี่ยมเยียนนมัสการหลวงพ่อด้วยเรื่องทุกข์ทางใจอยู่บ่อยครั้ง อาจารย์สาลี่เล่าว่าหลวงพ่อท่านเก็บสะสมไว้ แต่ท่านไม่ได้เล่าให้ฟังว่าของชิ้นไหนสมัยไหน เก่าแค่ไหน มีค่ามากเพียงใด แต่อาจารย์สาลี่เองเชื่อว่าคุณค่าที่ท่านไม่บอกแล้วทำให้ข้าวของเล่านั้นยังสามารถอยู่ได้จนทุกวันนี้โดยไม่สูญหายน่าจะดีกว่า เพราะยิ่งมีคนรู้มากว่าท่านมีของโบราณวัตถุมีค่ามากเพียงใดก็อันตรายทั้งคนทั้งของ ภายในตู้ด้านหลังนั้นจากการสันนิษฐานของผู้สำรวจแล้ว หม้อ ไหต่างๆ น่าจะเก่าแก่ถึงสมัยทวาราวดีก็ได้ บางตู้ก็มีเทวรูปโบราณที่มีรูปร่างแปลกตาที่เราไม่ค่อยได้เห็นกันบ่อยนัก

ผู้สำรวจพบไหปากจู๋ที่มีลักษณะสมบูรณ์มาก แต่ก็ไม่ทราบว่ามาจากสมัยใด จากหนังสือประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองศรีมโหสถ,2535 ได้กล่าวว่า “ภาชนะแบบไหปากจู๋ เป็นภาชนะมีลักษณะเป็นหม้อทรงกลม ก้นแบนมีเชิงเตี๊ยะๆ” นอกจากนี้ยังมีชิ้นส่วนของหินแกะสลักเป็นรูปเทวดา ศิลปะแบบขอม หอยสังข์ที่ทำจากหิน หินแกะสลักเป็นรูปพระอาทิตย์ ชิ้นส่วนหักๆของหินที่มีการแกะสลัก หรือขึ้นรูปเป็นเครื่องมือต่างๆ โถกระเบื้องเคลือบมีฝาปิดหลายใบ เศษกระเบื้องแตกที่มีลวดลายดอกไม้ เครื่องมือเหล็กที่ผุพังหลายชิ้น กำไลสำริด ตรีสูรย์

ทางด้านซ้ายเมื่อเดินเข้าประตูมา ติดผนังทางเดินจะเป็นตู้เก็บหนังสือเก่าที่หลวงพ่อสะสมไว้ในการค้นคว้าเกี่ยวกับโบราณคดีและประวัติศาสตร์รวมทั้งผลงานเขียนของหลวงพ่อที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารและนิตยสารด้วย คัมภีร์ใบลานภาษาบาลี

ตู้ทางด้านซ้ายจะเป็นตู้เก็บพระพุทธรูปองค์เล็กๆปางต่างๆ เศียรพระพุทธรูปสมัยทวาราวดีที่หลวงพ่อสะสมไว้ และบางส่วนก็มีไหสองหูใบใหญ่ พระพุทธรูปปางประทับยืนทรงเครื่องที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน

การจัดวางข้าวของภายในนั้นเก็บเข้าตู้เป็นระเบียบไม่เกะกะสายตาแต่อย่างใด แต่มิได้จัดเป็นหมวดหมู่ว่าของชิ้นใดมาจากสมัยได้ และยังไม่มีการทำการลงทะเบียนอย่างเป็นทางการ มีแต่เพียงว่า จดจำนวนเอาไว้เท่านั้น เนื่องจากว่าสิ่งของเหล่านี้ตั้งวางไว้ในห้องทำงานของรองผู้อำนวยการเพื่อความสะดวกในการดุแล จึงไม่ได้เปิดให้เข้าชมโดยทั่วไป และในปัจจุบันบางคนอาจจะไม่รู้ว่ามีการจัดเก็บข้าวของไว้ที่นี่เพราะอาจจะนึกว่าของสะสมของหลวงพ่อที่เคยจัดแสดงอยู่ในอาคารพิพิธภัณฑ์เดิมที่ตัววัดใหม่กรงทองนั้นยกไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจังหวัดปราจีนบุรีหมดแล้ว กลุ่มผู้เข้าชมส่วนใหญ่คือ คนที่รู้จักกับหลวงพ่อและทราบรายละเอียดในส่วนนี้หรือว่าผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลหรือค้นหาหนังสือเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีดงศรีมหาโพธิ ก็จะเข้ามาขอยืมหนังสือเพื่อเอาไปค้นคว้า ในบางครั้งยืมไปก็ไม่ได้นำมาคืน จึงไม่เป็นที่เปิดเผยนักกับพิพิธภัณฑ์หรือห้องเก็บของสะสมของหลวงพ่อห้องนี้

ตามปณิธานของอาจารย์สาลีนั้น อยากจะจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เพื่อแสดงประวัติของหลวงพ่อและนำเอาของสะสมของหลวงพ่อมาจัดแสดงให้ประชาชนและนักเรียนในโรงเรียนของหลวงพ่อหมายถึงโรงเรียนวัดใหม่กรงทองที่หลวงพ่อ อาจารย์สาลี เฟื่องวิจารณ์ท่านเองก็เสียดายว่า ในช่วงที่หลวงพ่อยังไม่มรณภาพอาจารย์ไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องโบราณคดีจากหลวงพ่อเอาไว้เลย เนื่องจากตัวอาจารย์เองเป็นอาจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์และสนใจด้านวิทยาศาสตร์มาแต่ไหนแต่ไร การจะจัดทำพิพิธภัณฑ์ขึ้นในอนาคตให้เป็นรูปร่างอาจจะต้องขอความร่วมมือจากกรมศิลปากรหรือผู้รู้ทางด้านโบราณคดีเพิ่มเติมอีกมาก

หลังจากที่สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลในส่วนนี้เสร็จแล้ว อาจารย์แนะนำให้ไปชมวังมัจฉาและเที่ยววัดใหม่กรงทอง ท่ามกลางอากาศร้อนในคราวแรกว่าจะไม่ไปเสียแล้วแต่ก็ด้วยความเสียดายเวลาหากเราจะออกมาเสียเลยก็เหมือนกับไม่ได้ชมเมืองแห่งนี้ ที่วัดใหม่กรงทองนั้นเป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวสมัยรัชกาลที่ 5-6 เพราะมีสิ่งปลูกสร้างคือ อาคารพระอุโบสถที่สร้างในพ.ศ.2463 แล้วหน้าบันของโบสถ์ก็ประดับด้วยเครื่องถ้วยกระเบื้องจีน มีศาลาท่าน้ำให้ลงไปให้อาหารปลา และที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งภายในวัดคือ อาคารเรียนเก่าของโรงเรียนวัดใหม่กรงทองเป็นเรือนขนมปังขิงหน้ามุกและบันไดขึ้นสองทาง มีไม้แกะสลักลวดลายวิจิตรตามขอบหลังคาและช่องระบายลมทาสีเหลืองอมส้มกับแดงทั้งหลัง ประตูและหน้าต่างทาสีฟ้าอย่างสวยงามตัดกันที่ก่อนหน้านั้นก็น่าจะเคยเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมมาก่อนก็เป็นได้ หน้าหน้าอาคารเยื้องกับศาลาการเปรียญมีศาลานั่งพักสร้างด้วยไม่ทาสีแดงเขียนป้ายวัดใหม่กรงทอง คาดว่าในหน้าน้ำที่น้ำในแม่น้ำบางปะกงหน้าวัดจะไหลเอ่อขึ้นมาจนบางครั้งก็ล้นตลิ่งอาจจะมีการสัญจรทางเรือและใช้ท่าน้ำแห่งนี้ก็เป็นได้