น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล

ขณะเสด็จไปในงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประสูติ4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 (66 ปี) พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต จังหวัดพระนคร ประเทศไทยพระสวามีวีระยุทธ ดิษยะศริน (2525–2539)พระบุตร

  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

ราชวงศ์มหิดล (ราชวงศ์จักรี)พระบิดาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระมารดาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงศาสนาเถรวาทลายพระอภิไธย

น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล

ศาสตราจารย์(พิเศษ​) พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี (ประสูติ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระโสทรกนิษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิต มีพระธิดา 2 พระองค์ คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็ง และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม ทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ปัจจุบันทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์ประธานของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์และนายกสภาสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็ง และศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

การศึกษา

  • ระดับชั้นเตรียมประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาจากโรงเรียนจิตรลดา
  • วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาเคมี) เกียรตินิยมอันดับ 1 จากคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ทรงได้รับรางวัลเรียนดีตลอดระยะเวลา 4 ปีการศึกษา และทรงได้รับทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์สาขาอินทรีย์เคมีด้วย

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาเคมีอินทรีย์) จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื่องจากทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยคะแนนยอดเยี่ยม เมื่อมีพระดำริถึงการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลจึงอนุมัติให้ทรงเข้าศึกษาในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตได้โดยไม่ต้องผ่านมหาบัณฑิตก่อนทรงศึกษาด้วยพระวิริยะอุตสาหะใฝ่พระทัยในการศึกษาเล่าเรียนเป็นที่ยิ่งทั้งที่มีพระราชกิจในฐานะสมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็ยังเสด็จพระดำเนินไปทรงพระอักษรร่วมกับพระสหายในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอตลอดจนทรงงานในห้องแล็บด้วยพระองค์เองอย่างไม่ทรงท้อถอยแม้จะทรงแพ้สารเคมีก็ตามโดยทรงทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "Part I: Constituents of Boesenbergia pandurata (yellow rhizome) (Zingiberaceae). Part II: Additions of lithio chloromethyl phenyl sulfoxide to aldimines and alpha,beta-unsaturated compounds" และได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2528

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (หลักสูตรแบบไม่มีหน่วยกิตรายวิชา)ในปีการศึกษา 2549 จากผลงานวิจัยเรื่อง "Molecular Genetic Studies and Preliminary Culture Experiments of Scallops Bivalve: Pectinidae) in Thailand"
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาชีวภาพทางสัตวแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทรงวิทยานิพนธ์ เรื่อง “Effect of Morphine and Morphine-Tramadol Infusions in Sevoflurane-Anesthetized Dogs.”
  • Doctor of Philosophy (Toxicology) จาก มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
  • ระดับหลังปริญญาเอก (Post Doctoral) ณ มหาวิทยาลัยอูล์ม ประเทศเยอรมัน เรื่อง Synthesis of Oligonucleotides Using Polymer Support and Their Applications in Genetic Engineering

ทรงศึกษาในระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2560

พระกรณียกิจ

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

ด้วยทรงตระหนักถึงปัญหาความขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข และความเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์ เรื่องการ ขาดแคลนบุคลากรด้านการแพทย์ และการสาธารณสุขโดยเฉพาะ ความต้องการการสนับสนุนเรื่องการศึกษาวิจัยทางวิชาการวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการสาธารณสุข จึงทรงก่อตั้งกองทุนจุฬาภรณ์ขึ้น และต่อมาได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิจุฬาภรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย

ต่อมาทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ขึ้น เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือ ส่งเสริมความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางในการศึกษาและพัฒนาบุคลากรสาขาวิทยาศาสตร์ การแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งระดมสติปัญญาของนักวิชาการที่มีศักยภาพและวิทยาการที่ก้าวหน้า เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และให้การศึกษาและฝึกอบรมอย่างครบวงจร ประกอบกับแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ให้ขยายภารกิจด้านการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสาขาที่มีความต้องการสูงให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงได้มีการเสนอโครงการจัดตั้งสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2548

และจากการที่ทรงรับเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติ การเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็งด้วยพระองค์เอง ประกอบกับทรงพบว่าประชาชนชาวไทยเป็นโรคมะเร็งเพิ่มในอัตราที่สูงมากขึ้น จึงทรงก่อตั้งศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็งขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม และให้เป็นศูนย์วิจัยด้านโรคมะเร็งที่มีความเป็นเลิศทางการวิจัย วิชาการ และการบำบัดรักษา พร้อมทั้งพัฒนาเป็นศูนย์ชำนาญการวินิจฉัยมะเร็งที่ก้าวหน้าและทันสมัยที่สุดในภูมิภาค โดยมีงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากลรองรับ

นอกจากนี้ ยังทรงจัดตั้งศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ (Cyclotron and PET Scan) ซึ่งเป็นหน่วยงานให้บริการในการตรวจโดยสารเภสัชรังสี เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูงที่สามารถติดตาม ตรวจวัด ประเมิน และวิเคราะห์ การทำหน้าที่ของอวัยวะนั้นๆ ในระดับเซลล์เมแทบอลิซึม ที่สามารถให้รายละเอียดการวินิจฉัยโรคและระยะของโรคได้ดีกว่าการตรวจอย่างอื่น ซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง โรคทางสมอง และหัวใจ

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงให้ความสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง ทรงเป็นผู้นำที่เข้มแข็งและมีพระปณิธานแน่วแน่ในการสร้างเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมให้แก่ทรัพยากรบุคคลของประเทศไทย และให้ความช่วยเหลือ ฝึกอบรมแก่ประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังพัฒนา โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ

นอกจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี จะทรงได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติในพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว พระองค์ยังทรงนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นกิจการด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย งานเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การจัดการป่าไม้ การจัดการสิ่งแวดล้อม การเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลรวมไปถึงงานส่งเสริมสถานภาพทางสังคมของสตรีไทยอีกด้วย

งานประมงน้อมเกล้าฯ

งานประมงน้อมเกล้าฯ เป็นกิจกรรมการแสดงนิทรรศการของการประมงในประเทศไทย โดยเน้นไปที่ปลาสวยงามเป็นหลัก

งานประมงน้อมเกล้าฯ จัดขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงให้กรมประมง ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล จัดงานดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ณ บริเวณสวนอัมพร เพื่อน้อมระลลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติแด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ทรงมีต่อวงการแพทย์ และการประมง และเพื่อหารายได้สมทบทุนสร้าง ตึกสยามมินทร์ เนื่องในโอกาสที่โรงพยาบาลศิริราชสถาปนาครบรอบ 100 ปี

ต่อจากนั้นทรงมีรับสั่งให้จัดงาน "วันประมงน้อมเกล้าฯ" ขึ้นทุกปี และคณะกรรมการจัดงานมีความเห็นพ้องว่าให้นำเงินรายได้จากการจัดงานทุกปี ขึ้นทูลเกล้าฯ สมทบทุนมูลนิธิจุฬาภรณ์ ซึ่งทรงตั้งขึ้นเพื่อศึกษางานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ในการนี้ คณะกรรมการจัดงานได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จมาทรงเป็นประธานเปิดงานและจัดตู้ปลาสวยงาม เพื่อพระราชทานแก่ผู้มีจิตศรัทธาถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย และพระราชทานถ้วยรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวดในกิจกรรมต่าง ๆ อีกด้วย

มูลนิธิ หน่วยงาน และโครงการในพระอุปถัมภ์

  • มูลนิธิจุฬาภรณ์
  • มูลนิธิเทียนส่องใจเพื่อคนไข้โรคลมชัก
  • มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน
  • มูลนิธิรักษาพยาบาลสัตว์ป่วยอนาถา โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • โครงการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักครบวงจร
  • โครงการหารายได้เพื่อสัตว์ป่วยอนาถา
  • โรงเรียนมัธยมทับทิมสยาม ๐๔ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
  • โรงเรียนมัธยมศึกษาจุฬาภรณ์
  • สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี
  • สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย
  • สมาคมเคมีแห่งประเทศไทย
  • กองทุนจุฬาภรณอุดรธานี

พระประชวร

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเผยประชวรด้วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง พร้อมทั้งรับสั่งจะทรงทำงานเพื่อประชาชนต่อไป ตามเจตนารมณ์ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 มีประกาศสำนักพระราชวังว่าทรงรับการผ่าตัดติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 มีแถลงการณ์สำนักพระราชวัง เรื่อง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะเสด็จไปประทับ ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ฉบับที่ 1 เปิดเผยว่าทรงเป็นตับอ่อนอักเสบ และพบก้อนเนื้องอก ที่พระศอ และทรงรับการผ่าตัดก้อนเนื้อที่พระศอในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล

ธงประจำพระอิสริยยศ

น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล

ตราประจำพระองค์

น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล

ธงประจำพระองค์

การทูลใต้ฝ่าพระบาทการแทนตนข้าพระพุทธเจ้าการขานรับพระพุทธเจ้าข้า/เพคะลำดับโปเจียม5

พระอิสริยยศ

  • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
  • สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
เยอรมนี22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1 (พิเศษ)
น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
เนปาล12 ธันวาคม พ.ศ. 2527 เครื่องราชอิสริยาภรณ์โอชาสวีราชัญญา
น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
สเปน18 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซเบลลาชาวคาทอลิก ชั้นประถมาภรณ์
น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
ญี่ปุ่น26 กันยายน พ.ศ. 2534 เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ ชั้นที่ 1
น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
บริเตนใหญ่26 กันยายน พ.ศ. 2539 เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน ชั้นอัศวิน
น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
เปรูพ.ศ. 2543 Grand Cross The Order of Merit for Distinguished Services
น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
สวีเดนพ.ศ. 2546 เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม
น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
เนเธอร์แลนด์พ.ศ. 2547 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นอัศวินมหากางเขน
น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล

ตำแหน่งทางวิชาการ

  • พ.ศ. 2535 ศาสตราจารย์ สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศาสตราจารย์ สาขาวิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

พระยศทางทหาร

สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

รับใช้

น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
ไทยบริการ/สังกัดกองทัพบกไทย, กองทัพเรือไทย, กองทัพอากาศไทย และ กองอาสารักษาดินแดนประจำการ

  • น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
    พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน
  • น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
    พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน
  • น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
    พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2535 - ปัจจุบัน ชั้นยศ
  • น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
    พลเอกหญิง
  • น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
    พลเรือเอกหญิง
  • น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
    พลอากาศเอกหญิง
  • น.ต.หญ ง ว ไลล กษณ อ นทาราม รพ.ภ ม พล
    นายกองใหญ่
  • พ.ศ. 2522 ร้อยโทหญิง เรือโทหญิง เรืออากาศโทหญิง และนายทหารพิเศษ ประจำกัดกองพันทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ นายทหารพิเศษประจำกองทัพเรือ นายทหารพิเศษประจำกองทัพอากาศ
  • พ.ศ. 2523 นายทหารพิเศษประจำกรมนักเรียนนายเรือ รักษาพระองค์ กรมยุทธศึกษา โรงเรียนนายเรือ ประจำกองบังคับการกรมทหารราบที่ ๓ รักษาพระองค์ กรมนาวิกโยธิน ประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศ รักษาพระองค์ กรมยุทธศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ และ ประจำกองพันทหารอากาศโยธินที่ ๑ รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2524 ร้อยเอกหญิง เรือเอกหญิง เรืออากาศเอกหญิง
  • พ.ศ. 2525 นายกองโท กองอาสารักษาดินแดน สำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน
  • พ.ศ. 2526 พันตรีหญิง นาวาตรีหญิง นาวาอากาศตรีหญิง
  • พ.ศ. 2528 พันโทหญิง นาวาโทหญิง นาวาอากาศโทหญิง
  • พ.ศ. 2529 ศาสตราจารย์ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทางอากาศ
  • พ.ศ. 2533 พันเอกหญิง นาวาเอกหญิง นาวาอากาศเอกหญิง และนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๑ รักษาพระองค์ และประจำกรมนักเรียนนายร้อย รักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
  • พ.ศ. 2535 พลตรีหญิง พลเรือตรีหญิง พลอากาศตรีหญิงและศาสตราจารย์พิเศษ ประจำกองทัพอากาศ กระทรวงกลาโหม และนายกองเอก กองอาสารักษาดินแดน (สำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน)
  • พ.ศ. 2539 พลโทหญิง พลเรือโทหญิง พลอากาศโทหญิงอาจารย์พิเศษ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ กองทัพเรือ อาจารย์พิเศษ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ กองทัพอากาศ และอาจารย์พิเศษ ประจำกองการศึกษา โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ กองทัพอากาศ
  • พ.ศ. 2542 พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิงและรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย รักษาพระองค์ กองทัพอากาศ

พระเกียรติคุณ

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีพระปรีชาสามารถ ทรงมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของ ประชาชนชาวไทยให้ดีขึ้น ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และทรงเป็นผู้ที่ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างดียิ่ง

รางวัลในระดับนานาชาติ

  • พ.ศ. 2529 - เหรียญทองคำอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญเพื่อเชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์ที่เป็นบุคคลตัวอย่างทางวิชาการ และการส่งเสริมงานด้านวิทยาศาสตร์ ทรงเป็นบุคคลที่ 3 ในโลกและเป็นนักวิทยาศาสตร์สตรีพระองค์แรกของโลกที่ได้รับรางวัลนี้

  • พ.ศ. 2533 - รางวัล Tree of Learning

โดย The World Conservation Union ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อเป็นการยกย่องที่ทางทำคุณประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมโลก โดยการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและสิ่งแวดล้อม ให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาแบบยั่งยืน

  • พ.ศ. 2547 - รางวัล EMS Hollaender International Award

จากผลของการทรงงานอย่างต่อเนื่อง จึงทรงเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องในแวดวงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมนานาชาติ คณะกรรมการรางวัลฮอลแลนเดอร์ จึงมีมติเอกฉันท์ให้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ในฐานะที่ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็งและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับประจำ ปี ค.ศ. 2002

  • พ.ศ. 2547 - รางวัลสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก

โดยสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก (IUCN The World Conservation Union) สวิตเซอร์แลนด์

  • พ.ศ. 2549 - รางวัล IFCS Special Recognition

โดย Intergovernmental Forum on Chemical Safety (IFCS) เป็นรางวัลสำหรับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่น ด้านการสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยของสารเคมีแก่ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศในภูมิภาค

  • พ.ศ. 2549 - รางวัล Nagoyal Medal Special Award

เป็นรางวัลที่มอบให้บุคคลด้านวิทยาศาสตร์ผู้มีบทบาทสำคัญและทำคุณประโยชน์อย่างสูงแก่วงการอินทรีย์เคมี ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลจากมหาวิทยาลัยนาโกยา เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น

  • พ.ศ. 2552 - รางวัล Windaus Medal ด้านอินทรีย์เคมี

โดย Georg-August-Universität Göttingen และสมาคมเคมีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในโอกาสการจัดสัมมนา "Adolf-Windaus-Genachtnis-Lecture" ประจำปี 2009 ในฐานที่ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่นอกจากมีผลงานวิจัยและงานวิชาการในด้านอินทรีย์เคมี แล้วยังทรงพัฒนาและสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าของสาขาวิชานี้อย่างมาก

  • พ.ศ. 2552 - รางวัล Ramazzini Award ด้านเวชศาสตร์อาชีวะและสิ่งแวดล้อม

โดย Collegium Ramazzini สาธารณรัฐอิตาลี โดยมอบให้แก่นักวิทยาศาสตร์จากนานาชาติที่มีผลงานโดดเด่นทั้งด้านงานวิจัย วิชาการด้านเวชศาสตร์อาชีวะ และสิ่งแวดล้อม ที่มีผ่านมีผู้ได้รับรางวัลแล้ว 32 คน ซึ่งในโอกาสนี้ทรงปาฐกถาให้หัวข้อ "Cancer Risk from Exposure to Air Pollution"

สถานที่ พรรณพืชและพันธุ์สัตว์อันเนื่องด้วยพระนาม

สถานที่

  • อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
  • โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ค่ายจุฬาภรณ์ จังหวัดนราธิวาส
  • อาคารจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • อาคารจุฬาภรณ์พิศาลศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • อาคารจุฬาภรณการุณยรักษ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
  • หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12 แห่งทั่วประเทศ
    • หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 1 อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
    • หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 2 อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
    • หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 3 อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
    • หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 4 อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
    • หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 5 อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
    • หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 6 อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
    • หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 7 อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
    • หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 8 อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    • หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
    • หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 10 อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
    • หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
    • หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12 อำเภอสุคีริน จังหวัดนราธิวาส การแพทย์ และการสาธารณสุข
  • โรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง
  • ศูนย์แพทย์ภัยพิบัติและฉุกเฉินเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ สถาบันการศึกษา
  • ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร
  • มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 โรงทั่วประเทศ เป็นโรงเรียนจัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เพื่อเฉลิมพระเกียรติที่พระองค์มีพระมหากรุณาธิคุณต่องานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้แก่
    • โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
    • โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
    • โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
    • โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
    • โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
    • โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
    • โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
    • โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
    • โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
    • โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
    • โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
    • โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
  • โรงเรียนมัธยมศึกษาจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • โรงเรียนจุฬาภรณ์พิชญาคาร จังหวัดนครศรีธรรมราช

พรรณพืช

ดวงตราไปรษณียากรชุด กล้วยไม้พระนาม

  • Phalaenopsis 'Princess Chulabhorn'

กล้วยไม้ผสมตระกูล Phalaenopsis ซึ่งรัฐบาลศรีลังกาได้น้อมเกล้าฯ ในเดือนสิงหาคม 2542 โดยเป็นผลงานการผสมพันธุ์ของสวนพฤกษศาสตร์เปราเดนนิยา (Royal Botanical Garden Peradeniya) ประเทศศรีลังกา เป็นลูกผสมของ Phalaenopsis 'Rose Miva' กับ Phalaenopsis 'Kandy Queen' และได้ขอพระราชทานพระอนุญาตอัญเชิญพระนามเป็นชื่อของกล้วยไม้พันธุ์ใหม่นี้ ลักษณะดอกเป็นสีขาวโดยมีปลายดอกเป็นสีชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ

พันธุ์สัตว์

  • ปูทูลกระหม่อม (Thaipotamon chulabhorn Naiyanetr, 1993)
  • ปลาซิวเจ้าฟ้า (Amblypharyngodon chulabhornae Vidthayanon & Kottelat, 1990)
  • ปลาค้อเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ (Physoschistura chulabhornae Suvarnaraksha, 2013)

รถยนต์พระที่นั่ง

  1. เมอร์ซิเดส-เบนซ์ S500 BlueEFFICIENCY LWB W221 Facelift เลขทะเบียน 1ด-8906
  2. เมอร์ซิเดส-เบนซ์ S500 LWB W222 Pre-Facelift เลขทะเบียน 1ด-5906
  3. เมอร์ซิเดส-เบนซ์ S500 LWB W221 Pre-Facelift เลขทะเบียน 1ด-6906
  4. เมอร์ซิเดส-เบนซ์ S500 LWB W220 เลขทะเบียน 1ด-9906

พงศาวลี

พงศาวลีของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี 16. (=18) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 8. (=24) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 17. สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี 4. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก 18. (=16) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 9. สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า 19. สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา 2. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 20. ชุ่ม ชูกระมล 10. ชู ชูกระมล 5. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 11. คำ ชูกระมล 23. ผา 1. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี 24. (=8) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 12. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ 25. เจ้าจอมมารดาอ่วม ในรัชกาลที่ 5 6. พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ 26. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ 13. หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร 27. หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา 3. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 28. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ 14. เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) 29. หม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 7. หม่อมหลวงบัว กิติยากร 30. รวย บุญธร 15. ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) 31. แหว บุญธร

อ้างอิง

  • ประกาศสสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอน ๑๘๓ ง พิเศษ หน้า ๕ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๑
  • ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๑๘ ง พิเศษ หน้า ๙ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๙
  • ทรงพระเจริญ...การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ทรงเข้าศึกษาปริญญาเอก สาขาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ที่ ม.ศิลปากร, TNEWS TV ONLINE
  • ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้อำนาจจัดตั้ง "มูลนิธิจุฬาภรณ์" เป็นนิติบุคคล เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๗๒ ง วันที่ ๐๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙
  • "ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ". www.chulabhornhospital.com.
  • หน้า ๑๗๔, ๘๔ ปี สถาปนากรมประมง, วารสารพิเศษของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๓
  • หนังสือกองงานในพระองค์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่ รล. ๐๐๑๑.๓/๑๖๖๗๘ ลงวันที่ ๒๙ มิ.ย. ๕๕
  • Samaphon.blogspot.com: ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ ทรงเผย ประชวรเป็นโรคพุ่มพวง (โรคแพ้ภูมิตัวเอง )
  • เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ พระอาการดีขึ้น คณะแพทย์ให้เสด็จออกจากโรงพยาบาลได้ [ลิงก์เสีย]
  • เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ ประชวร เสด็จประทับ รพ.วิชัยยุทธ ฉ.1[ลิงก์เสีย]
  • ↑ "ประกาศสถาปนา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (15ข): 6. 5 May 2019.
  • ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๑, ตอน ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ, ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๗, หน้า ๑
  • ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐, ตอน ๘๐ ฉบับพิเศษ, ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๖, หน้า ๑
  • ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๙๒, ตอน ๙๕ ง ฉบับพิเศษ, ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๘, เล่ม ๑๒
  • ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี) , เล่ม ๙๘, ตอน ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ, ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔, หน้า ๓๙
  • ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ปฐมดิเรกคุณภรณ์ จำนวน ๘ พระองค์) เก็บถาวร 2011-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒, ตอน ๑๗ ข เล่มที่ ๐๐๓, ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘, หน้า ๑
  • ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ (จำนวน ๑๒ ราย), เล่ม ๑๒๔, ตอน ๔ ข, ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐, หน้า ๑
  • ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๒, ตอน ๘ ง ฉบับพิเศษ, ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘, หน้า ๑
  • ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๑๑, ตอน ๗ ข, ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗, หน้า ๑
  • ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี), เล่ม ๑๒๓, ตอน ๒๕ ข, ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙, หน้า ๑
  • https://en.wikipedia.org/wiki/Order_of_Ojaswi_Rajanya
  • "ตำแหน่งวิชาการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2010-01-31.
  • ได้รับพระราชทานยศกองทัพเรือ
  • นายทหารพิเศษประจำกรมนักเรียนนายเรือ รักษาพระองค์
  • ได้รับพระราชทานกองทัพไทย
  • "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 99 (ตอน 4 ง ฉบับพิเศษ): หน้า 1. 14 Jan 1982. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-27. สืบค้นเมื่อ 1 Jul 2019.
  • ได้รับพระราชทานกองทัพไทย
  • ได้รับพระราชทานกองทัพไทย
  • "ได้รับพระราชทานกองทัพอากาศ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2010-01-31.
  • ได้รับพระราชทานกองทัพไทย
  • ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร, เล่ม ๑๐๙, ตอน ๑๐๖ ง ฉบับพิเศษ, ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕, หน้า ๑
  • ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศกองอาสารักษาดินแดน ๑ นายกองเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมงกุฎราชกุมาร ๒ นายกองเอก สมเด็จพระเพทรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปียชาติ สยามบรมราชกุมารี ๓ นายกองโท สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙, ตอน ๕๕ ง ฉบับพิเศษ, ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕, หน้า ๑
  • ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร (พลโทหญิง พลเรือโทหญิง พลอากาศโทหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เป็น พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง และพลตรีหญิง พลเรือตรีหญิง พลอากาศตรี หญิง สมด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เป็น พลโทหญิง พลเรือโทหญิง พลอากาศโทหญิง) เก็บถาวร 2011-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓, ตอน ๖ ข, ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙, หน้า ๑
  • ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร (พลโทหญิง พลเรือโทหญิง พลอากาศโทหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เป็น พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก) เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖, ตอน ๑๕ ข, ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒, หน้า ๕๔
  • รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย[ลิงก์เสีย]
  • 1986: Einstein Gold Medal of UNESCO เก็บถาวร 2020-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  • 1990: The Tree of Learning award, Australia เก็บถาวร 2013-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  • 2002: EMS-Hollaender International Fellow Award, the Environmental Mutagen Society, Anchorage, Alaska, U.S.A. เก็บถาวร 2013-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  • IFCS Special Recognition Award, เข้าถึงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  • 2006: IFCS Special Recognition Award, Intergovernmental Forum on Chemical Safety (IFCS), Budapest, Hungary เก็บถาวร 2013-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  • 2006: Nagoya Medal Special Award, Nagoya University, Japan เก็บถาวร 2013-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  • 2009: The Windaus Award from the Organic Chemistry and Biomolecular Chemistry Society of the Georg-August G?ttingen University and the German Chemical Society, Germany เก็บถาวร 2013-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  • 2009: The Ramazzini Award from the Collegium Ramazzini, Italy เก็บถาวร 2013-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  • ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๓๗ เก็บถาวร 2012-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ก วันที่ ๐๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
  • ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน (จุฬาภรณ์พัฒนา ๑๑)เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๓ ง วันที่ ๐๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
  • ราชกิจานุเบกษา,ประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เรื่อง พระราชทานนามศูนย์แพทย์ภัยพิบัติและฉุกเฉินเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๒๓ ง พิเศษ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ประวัติโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช เก็บถาวร 2014-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557