97 ม.2 ต.ดอยแก ว อ.จอมทอง จ.เช ยงใหม

เพียงแค่คุณเข้าพักที่สไมล์เพลสใน จอมทอง คุณจะได้สัมผัสบรรยากาศในย่านชานเมืองอย่างใกล้ชิด โดยเดินออกไปเพียง 12 นาทีก็จะถึง อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ โรงแรมแห่งนี้อยู่ห่างออกไปเป็นระยะทาง 0.5 ไมล์ (0.9 กม.) จาก วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร และ 1.2 ไมล์ (1.9 กม.) จาก Mae Ping River

อำเภอจอมทองเป็นอำเภอที่มีศักยภาพในการพัฒนาสูง มีภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวยในการรองรับรับความเจริญจากจังหวัดเชียงใหม่ สามารถเดินทางติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงได้สะดวก เริ่มมีการขยายตัวทางการศึกษา การก่อสร้างห้างค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจด้านสินเชื่อ ธุรกิจสิ่งพิมพ์ ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ต หอพักและบ้านจัดสรรขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2551 เป็นต้นมา ปัจจุบันจึงเป็นศูนย์กลางความเจริญทุกๆ ด้านของทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ ทางตอนใต้ของจังหวัดลำพูน และทางตอนใต้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในด้านการศึกษา มีวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยของรัฐ 3 แห่ง วิทยาลัยการอาชีพ 1 แห่ง มีโรงเรียนมัธยมศึกษา และโรงเรียนประถมศึกษาที่มีชื่อเสียง และใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่ตอนใต้ ในด้านการสาธารณสุข มีโรงพยาบาลจอมทอง โรงพยาบาลที่กำลังพัฒนาเทียบเท่าโรงพยาบาลระดับจังหวัด รองรับการรักษาผู้ป่วยในเขตพื้นที่อำเภอจอมทองและพื้นที่กลุ่มอำเภอทางเชียงใหม่ตอนใต้ ด้านการท่องเที่ยว มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียง ได้แก่ ยอดดอยอินทนนท์ และน้ำตกในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร พิพิธภัณฑ์ผ้าป้าแสงดาที่บ้านไร่ไผ่งาม แหล่งผ้าฝ้ายทอมือในเขตตำบลสบเตี๊ยะ อุทยานแห่งชาติออบหลวง รวมถึงประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ในช่วงสงกรานต์ เป็นต้น

ประวัติ[แก้]

อำเภอจอมทอง มีประวัติความเป็นมาสืบเนื่องเกี่ยวกับตำนานวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร โดยในปี พ.ศ. 2443 ได้มีการจัดระเบียบการปกครองหัวเมืองขึ้นใหม่ ในช่วงที่นครเชียงใหม่ว่างเจ้าผู้ครองนครอันเนื่องจากการถึงแก่พิราลัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ในกลุ่มหัวเมืองย่อยทางใต้ของนครเชียงใหม่ ได้มีการจัดตั้งที่ว่าการอำเภอเพื่อเป็นศูนย์กลางปกครองขึ้น ณ บริเวณบ้านท่าศาลา ริมแม่น้ำปิงทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอจอมทอง ซึ่งปัจจุบันคือบ้านท่าศาลา หมู่ที่ 3 ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง โดยมีเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ (ยังไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนคร) เป็นผู้คุมการก่อสร้างด้วยตนเองและตั้งได้ชื่อตามชื่อวัดพระธาตุจอมทองว่า “อำเภอจอมทอง”

  • วันที่ 12 กรกฎาคม 2451 แยกพื้นที่ตำบลแม่ทับ (ปัจจุบันคือตำบลบ้านทับ) ตำบลท่าผา ตำบลช่างเคิ่ง และตำบลแม่ศึก ของอำเภอจอมทอง ไปจัดตั้งตั้งเป็น อำเภอเมืองแจ่ม ขึ้นนครเชียงใหม่
  • วันที่ 12 กันยายน 2481 ยุบอำเภอช่างเคิ่ง ลงเป็น กิ่งอำเภอช่างเคิ่ง และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอจอมทอง
  • วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอช่างเคิ่ง อำเภอจอมทอง เป็น กิ่งอำเภอแม่แจ่ม อำเภอจอมทอง
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลท่าผา แยกออกจากตำบลช่างเคิ่ง
  • วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านหลวง ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านหลวง
  • วันที่ 5 มิถุนายน 2499 ยกฐานะกิ่งอำเภอแม่แจ่ม อำเภอจอมทอง เป็น อำเภอแม่แจ่ม
  • วันที่ 7 กรกฎาคม 2513 ตั้งตำบลข่วงเปา แยกออกจากตำบลบ้านหลวง
  • วันที่ 24 ตุลาคม 2521 ตั้งตำบลดอยแก้ว แยกออกจากตำบลบ้านหลวง
  • วันที่ 16 สิงหาคม 2522 ตั้งตำบลสามหลัง แยกออกจากตำบลสองแคว
  • วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2524 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลสามหลัง อำเภอจองทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็น ตำบลสองแคว และเปลี่ยนแปลงชื่อตำบลสองแคว อำเภอจองทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็น ตำบลดอยหล่อ
  • วันที่ 23 พฤษภาคม 2534 ตั้งตำบลสันติสุข แยกออกจากตำบลยางคราม
  • วันที่ 22 มีนาคม 2538 แยกพื้นที่ตำบลดอยหล่อ ตำบลสองแคว ตำบลยางคราม และตำบลสันติสุข ของอำเภอจอมทอง ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอดอยหล่อ และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอจอมทอง
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบ้านหลวง เป็นเทศบาลตำบลบ้านหลวง ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 11 กันยายน 2543 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง เป็น เทศบาลตำบลจอมทอง
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทอง เป็น อำเภอดอยหล่อ

คำขวัญ[แก้]

"อินทนนท์สูงเด่น ร่มเย็นองค์พระธาตุ น้ำตกสวยสะอาด เชิดชูศาสน์แห่ไม้ค้ำโพธิ์"

  • อินทนนท์สูงเด่น ดอยอินทนนท์เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดของประเทศไทย สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 2,565 เมตร ปัจจุบันเป็นสถานที่สำคัญของประเทศ มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ มาเที่ยวปีละหลายล้านคน เป็นสถานที่ที่งดงาม มีถ้ำ น้ำตก ภูเขา ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว อาทิ เช่น น้ำตกแม่กลาง น้ำตกแม่ยะ น้ำตกสิริภูมิ น้ำตกวชิรธาร ถ้าบริจินดา ดอยหัวเสือ กิ่วแม่ปาน เป็นต้น
  • ร่มเย็นองค์พระธาตุ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวจอมทอง นับจากตำนานนายสอย นางเม็งเมื่อปี พ.ศ. 1994 จนถึงปัจจุบันนับได้ 561 ปี เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ เคยมีพระพรหมมงคล (ทอง สิริมงฺคโล) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ซึ่งท่านเป็นพระอาจารย์สายวิปัสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพอย่างสูงจากพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทำให้วัดพระธาตุศรีจอมทองเป็นจุดที่พุทธศาสนิกชนเดินทางมาเคารพสักการะกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุและปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ท่านเจ้าคุณเป็นจำนวนมากมายในแต่ละปี
  • น้ำตกสวยสะอาด จอมทองถือว่าเป็นอำเภอที่มีน้ำตกมากที่สุดอำเภอหนึ่งของประเทศ มีน้ำตกน้อยใหญ่ทางทิศตะวันตก ที่มีชื่อเสียง ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ และอุทยานแห่งชาติออบหลวง อาทิ เช่น น้ำตกแม่ยะ น้ำตกแม่กลาง น้ำตกแม่เตี๊ยะ น้ำตกวชิรธาร น้ำตกสิริภูมิ น้ำตกสิริธาร น้ำตกแม่ปาน เป็นต้น
  • เชิดชูศาสน์แห่ไม้ค้ำโพธิ์ อำเภอจอมทองมีประเพณีที่สำคัญ คือประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ ที่ชาวจอมทองปฏิบัติสืบทอดมายาวนาน นิยมแห่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ ถือเป็นต้นแบบของการแห่ไม้ค้ำสะหลีของคนภาคเหนือ เริ่มถือปฏิบัติขึ้นเป็นครั้งแรกที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง ปัจจุบันกลายเป็นประเพณีที่แพร่หลายไปหลายพื้นที่ในอำเภอใกล้เคียงกับอำเภอจอมทองและจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือ

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอจอมทองมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอแม่วางและอำเภอดอยหล่อ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเวียงหนองล่องและอำเภอบ้านโฮ่ง (จังหวัดลำพูน)
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอฮอด
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแม่แจ่ม

ลักษณะทางภูมิประเทศ[แก้]

ลักษณะพื้นที่อำเภอจอมทอง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบกว้าง ระหว่างริมฝั่งแม่น้ำปิง และน้ำแม่กลาง ซึ่งเป็นชุมชนหนาแน่นกระจายในพื้นที่ดังกล่าว พื้นที่หุบเขาเชิงเขาทางทิศตะวันตก ซึ่งใช้ประโยชน์ในการทำนา ทำสวน ทำไร่ ปลูกไม้ยืนต้น เช่น ลำไย สำหรับบริเวณภูเขาเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและที่อยู่อาศัย

สภาพพื้นที่ พื้นที่สูงทางตอนกลาง ที่ราบลุ่มทางทิศเหนือ และพื้นที่ภูเขาทางทิศตะวันตกของอำเภอ

ภูเขา ด้านตะวันตกมีเทือกเขาอินทนนท์ ซึ่งมียอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย คือ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 2,565.3341 เมตร กั้นเขตแดนระหว่างอำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่มโดยตลอด

แม่น้ำ มีลำน้ำสำคัญ ได้แก่ ลำน้ำปิง ลำน้ำแม่กลาง ลำน้ำแม่แจ่ม ลำน้ำแม่เตี๊ยะ ลำน้ำแม่แต๊ะ และลำน้ำแม่สอย

ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]

ภูมิอากาศพื้นที่อำเภอจอมทอง แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่ - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ - ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดพาเอาความหนาวเย็นจากประเทศจีนลงมาปกคลุม ประเทศไทยตอนบน - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมฝ่ายใต้ สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป อากาศมรสุมเมืองร้อน ช่วง พฤษภาคม - กันยายน มีฝนตกชุก ช่วงเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ มีอากาศหนาวและแห้งแล้ง อุณหภูมิประมาณ 9.7 องศา สูงสุดประมาณ 39.6 องศา

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอจอมทองแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 103 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับที่ อักษรไทย ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด (พ.ศ. 2561) ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น (พ.ศ. 2561) 1. บ้านหลวง

97 ม.2 ต.ดอยแก ว อ.จอมทอง จ.เช ยงใหม
Ban Luang 23 17,013 3,228 13,785 (ทต. จอมทอง) (ทต. บ้านหลวง) 2. ข่วงเปา
97 ม.2 ต.ดอยแก ว อ.จอมทอง จ.เช ยงใหม
Khuang Pao 15 10,697 4,736 5,961 (ทต. จอมทอง) (อบต. ข่วงเปา) 3. สบเตี๊ยะ
97 ม.2 ต.ดอยแก ว อ.จอมทอง จ.เช ยงใหม
Sop Tia 21 12,065 12,065 (ทต. สบเตี๊ยะ) 4. บ้านแปะ
97 ม.2 ต.ดอยแก ว อ.จอมทอง จ.เช ยงใหม
Ban Pae 20 12,134 12,134 (ทต. บ้านแปะ) 5. ดอยแก้ว
97 ม.2 ต.ดอยแก ว อ.จอมทอง จ.เช ยงใหม
Doi Kaeo 9 5,548 1,426 4,122 (ทต. จอมทอง) (ทต. ดอยแก้ว) 6. แม่สอย
97 ม.2 ต.ดอยแก ว อ.จอมทอง จ.เช ยงใหม
Mae Soi 15 9,272 9,272 (ทต. แม่สอย) รวม 103 66,729 60,768 (เทศบาล) 5,961 (อบต.)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอจอมทองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลจอมทอง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านหลวง ตำบลข่วงเปา และตำบลดอยแก้ว
  • เทศบาลตำบลบ้านหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านหลวง (นอกเขตเทศบาลตำบลจอมทอง)
  • เทศบาลตำบลบ้านแปะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแปะทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลดอยแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอยแก้ว (นอกเขตเทศบาลตำบลจอมทอง)
  • เทศบาลตำบลสบเตี๊ยะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสบเตี๊ยะทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลแม่สอย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สอยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลข่วงเปา (นอกเขตเทศบาลตำบลจอมทอง)

สถานศึกษา[แก้]

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ภาคพายัพ (จอมทอง)
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย วิทยาเขตจอมทอง
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยาเขตจอมทอง (อยู่ในระหว่างการดำเนินการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเพื่อเปิดเป็นวิทยาเขต)
  • วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง
  • โรงเรียนจอมทอง
  • โรงเรียนชุมชนศรีจอมทอง
  • โรงเรียนณัทชวิทย์ (โรงเรียนเอกชน)
  • โรงเรียนสุทธิวงค์ดำรงวิทย์ (โรงเรียนเอกชน)
  • โรงเรียนพุทธนิมิตรวิทยา (โรงเรียนนักธรรม เปิดสอนระดับ ม.1-ม.6)
  • โรงเรียนอนุบาลสวนแก้ว (โรงเรียนเอกชน)
  • โรงเรียนบ้านสบเตี๊ยะ
  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 79
  • โรงเรียนชุนชนบ้านข่วงเปาเหนือ
  • โรงเรียนบ้านปากทางท่าลี่
  • โรงเรียนบ้านแปะ
  • โรงเรียนขุนกลาง
  • โรงเรียนบ้านวังน้ำหยาด
  • โรงเรียนบ้านโรงวัว
  • โรงเรียนบ้านห้วยน้ำดิบ
  • โรงเรียนบ้านดงหาดนาค
  • โรงเรียนชุมชนบ้านห้วยทราย
  • โรงเรียนชุมชนบ้านท่าข้าม

ห้างสรรพสินค้า[แก้]

  • โลตัสไฮเปอร์มาเก็ต สาขาจอมทอง
  • สยามทีวี ดิจิต้อลสโตร์ สาขาจอมทอง
  • ห้างเสรีภู่สิฐ (วัสดุก่อสร้าง)
  • แจ่มฟ้า เซฟมาร์ท สาขาจอมทอง
  • โลตัสโกเฟรช สาขาสบเตี๊ยะ (จอมทอง เชียงใหม่)

ตลาดที่สำคัญ[แก้]

  • ตลาดสดเทศบาลตำบลจอมทอง
  • ตลาดสี่แยกน้อย-ข่วงเปา (กาดแลงหน้อย)
  • ตลาดเช้าน้อย (กาดเจ๊าหน้อย)
  • ตลาดโชคเจริญ
  • ตลาดแม่ดวงดีสามแยกขึ้นดอยอินทนนท์
  • ตลาดจำหน่ายดอกไม้ พืชผัก ผลไม้เมืองหนาว ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของหมู่บ้านม้งขุนกลาง หลัก ก.ม.ที่ 31 ถ.จอมทอง - อินทนนท์

ตลาดนัด

  • ตลาดวันอังคาร ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอจอมทอง บริเวณศูนย์การค้าสมายเพลส จอมทอง
  • ตลาดวันพุธ บ้านหนองอาบช้างและบ้านห้วยน้ำดิบ
  • ตลาดวันพฤหัส บ้านสบเตี๊ยะและบ้านสบแจ่มฝั่งซ้าย
  • ตลาดวันศุกร์ หน้าที่ว่าการอำเภอจอมทองและบริเวณหน้าเทศบาลตำบลบ้านแปะ
  • ตลาดวันเสาร์ บริเวณบ้านสบเตี๊ยะและบ้านดงหาดนาค และบริเวณศูนย์การค้าสมายเพลส จอมทอง

การคมนาคม[แก้]

อำเภอจอมทองตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ บนถนนสายเชียงใหม่-ฮอด ระยะทางห่างจากเชียงใหม่ 58 กิโลเมตร เส้นทางเชื่อมต่ออำเภอจอมทอง

  • ทางหลวงแผ่นดิน
    • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 จากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านเขตอำเภอจอมทองไปจนสุดเขตที่สะพานท่าข้าม ระยะทาง 88 กิโลเมตร
    • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1009 จากสามแยกขึ้นดอยอินทนนท์ (จอมทอง) – แม่กลาง ระยะทาง 7.705 กิโลเมตร
    • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1009 0202 จากแม่กลาง – ดอยอินทนนท์ ระยะทาง 38.995 กิโลเมตร
    • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1010 จากท่าลี่ – ป่าซาง ระยะทาง 30 กิโลเมตร
    • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1085 จากขุนกลาง – ขุนวาง ระยะทาง 25 กิโลเมตร
    • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1088 จากด่านตรวจที่ 2 อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ – แม่แจ่ม ระยะทาง 19 กิโลเมตร
    • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1103 จากบุ้งฮวด (จอมทอง) – เวียงหนองล่อง ระยะทาง 5 กิโลเมตร
  • ทางหลวงชนบท
    • ทางหลวงชนบท บ้านหนองล่อง – ท่าศาลา
    • ทางหลวงชนบท บ้านทุ่งปูน – ท่ามณี
    • ทางหลวงชนบท แยกทางหมายเลข 1009 – บ้านเมืองกลาง
    • ทางหลวงชนบท บ้านแท่นดอกไม้ – บ้านดงหาดนาค
    • ทางหลวงชนบท บ้านสบเตี๊ยะ - บ้านแพะดินแดง
    • ทางหลวงชนบท บ้านวังน้ำหยาด - บ้านแม่สอย
    • ทางหลวงชนบท บ้านสบแปะ - ถ้ำตอง
    • ทางหลวงชนบท บ้านทุ่งปูน-บ้านแม่เตี๊ยะ
    • ทางหลวงชนบท บ้านแม่สอย-บ้านสบแจ่มฝั่งซ้าย
    • ทางหลวงชนบท บ้านแม่กลางบ้านลุ่ม-ดอยแก้ว
    • ทางหลวงชนบท บ้านสบแปะ-ขุนแปะ
    • ทางหลวงชนบท บ้านบนพัฒนา-บ้านป่ากล้วยพัฒนา
    • ทางหลวงชนบท บ้านท่าศาลา-บ้านดงหลวง
    • ทางหลวงชนบท บ้านเมืองกลาง-บ้านป่ะหัวเสือ
    • ทางหลวงชนบท บ้านน้ำลัด-น้ำตกแม่ยะ

แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ[แก้]

  • แหล่งดูนกบนดอยอินทนนท์

ศูนย์บริการข้อมูลนกอินทนนท์ (ร้านลุงแดง) ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 31 หน่วยจัดการต้นน้ำแม่กลาง ให้บริการด้านข้อมูลนกในดอยอินทนนท์ เช่น สมุดบันทึกการพบนกในดอยอินทนนท์ ภาพวาดลายเส้นของนักดูนกท่านต่างๆแผนที่เส้นทางดูนกดอยอินทนนท์ ภาพถ่าย สไลด์เกี่ยวกับนก ฯลฯ ให้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

  • กิ่วแม่ปาน

เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนดอยอินทนนท์ ทางเข้าอยู่กิโลเมตรที่ 42 ด้านซ้ายมือ ระยะทางเดิน 3 กิโลเมตร ระหว่างทางเดินจะพบป่าดิบเขา (Hill Evergreen) ก่อนผ่านเข้าสู่ทุ่งหญ้าซึ่งเคยเป็นพื้นที่ป่าถูกทำลาย เพื่อเป็นการศึกษาลักษณะการเกิดผลกระทบต่อเนื่องบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นที่ป่า สมบูรณ์กับพื้นที่ถูกทำลาย (edge effect) หลังจากนั้นทางเดินจะเลาะริมผา มีไอหมอกปลิวผ่านตลอดเวลา สองข้างจะพบดอกกุหลาบพันปี หรือ Rhododendron (ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ขึ้นตามป่าในระดับสูง มีพันธุ์ดอกสีขาวและสีแดง เวลาออกดอกช่วงแรกมีลักษณะเหมือนปลีกล้วย ก่อนที่จะบานเต็มต้นในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ พบมากในแถบเทือกเขาหิมาลัยและเป็นไม้ประจำชาติของเนปาลด้วย) มองลงไปยังเบื้องล่างจะพบทัศนียภาพที่งดงามของอำเภอแม่แจ่ม

การใช้เส้นทางนี้ต้องลงทะเบียนขอรับใบอนุญาตให้ใช้เส้นทางจากหัวหน้าอุทยานฯ และควรจัดกลุ่มละไม่เกิน 15 คน ทางอุทยานฯไม่อนุญาตให้นำอาหาร เข้าไปรับประทานในเส้นทาง และจะปิดเส้นทางเพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัว ไม่อนุญาตให้เข้าไปท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึงวันที่ 30 ตุลาคม ของทุกปี

  • โครงการหลวงอินทนนท์

ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านขุนกลาง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง เดินทางตามเส้นทางสู่ ดอยอินทนนท์ ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 31 ของทางหลวงหมายเลข 1009 มีทางแยกขวามือเข้าสู่โครงการฯ อีกประมาณ 1 กิโลเมตร โครงการหลวงอินทนนท์ รับผิดชอบส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้แก่ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง และชาวเขาเผ่าม้งในพื้นที่ ผลิตผลหลักของโครงการ คือ ไม้ดอกเมืองหนาวต่างๆ เช่น คาร์เนชั่น เบญจมาศ สแตติส ยิบโซ เป็นต้น นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชม แปลงปลูกดอกไม้ ห้องทดลองทำการเพาะขยายพันธุ์ และยังสามารถแวะชม แปลงปลูกดอกไม้ของชาวเขาในหมู่บ้านซึ่งอยู่บริเวณปากทางเข้าโครงการฯ ได้ด้วย

  • ถ้ำบริจินดา

เป็นถ้ำใหญ่อยู่ในเทือกเขาดอยอ่างกาหรือดอยอินทนนท์ ใกล้กับน้ำตกแม่กลาง ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 8.5 ของทางหลวงหมายเลข 1009 จะเห็นทางแยก ขวามือมีป้ายบอกทางไปถ้ำบริจินดา ภายในถ้ำมีความลึกหลายกิโลเมตร เพดานถ้ำมีหินงอกหินย้อย หรือชาวเหนือเรียกว่า นมผา มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในถ้ำด้วย นอกจากนั้น ยังมีธารหิน เมื่อมีแสงสว่างมากระทบจะเกิดประกายระยิบระยับ ลักษณะของถ้ำเป็นถ้ำทะลุสามารถมองเห็นภายในได้ถนัด เพราะมีอุโมงค์ซึ่งแสงสว่างลอดเข้ามา บริเวณปากถ้ำจะมีป้าย ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ อธิบายประวัติการค้นพบถ้ำนี้

  • น้ำตกแม่กลาง

เป็นน้ำตกในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีขนาดใหญ่ชั้นเดียว สูงประมาณ 100 เมตร ต้นน้ำอยู่บนดอยอินทนนท์ มีน้ำไหลตลอดปี มีความสวยงามตามธรรมชาติ รอบๆ บริเวณร่มรื่นน่าพักผ่อน การเดินทาง จากทางแยกเข้าทางหลวง 1009 ไปอีก 8 กิโลเมตร แยกซ้าย 500 เมตร เป็นทางลาดยางตลอด

  • น้ำตกแม่เตี๊ยะ

ตั้งอยู่ที่ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติ ออบหลวง น้ำตกแม่เตี๊ยะตั้งอยู่บริเวณกลางป่าลึก ตัวน้ำตกสูงประมาณ 80 เมตร กว้างประมาณ 15 เมตร น้ำตกมีทั้งหมด 4 ชั้น มีระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร มีน้ำตลอดปี ชาวสบเตี๊ยะนำน้ำจากที่นี่ไปใช้ในการเกษตร เหมาะสำหรับเป็นแหล่ง ศึกษาธรรมชาติ การเดินทาง จากเชียงใหม่โดยรถยนต์ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ถึงอำเภอจอมทอง เลี้ยวขวาข้างที่ว่าการอำเภอ หรือเลี้ยวขวาข้างวัดสบเตี๊ยะ มีระยะทางโดยรวม 15 กิโลเมตร หรือโดยสารรถประจำทาง เชียงใหม่-จอมทอง จากนั้นต่อรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง

  • น้ำตกแม่ปาน

ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่แจ่มประมาณ 16 กิโลเมตร แยกจากทางหลวงหมายเลข 1009 ตรงด่านตรวจกิโลเมตรที่ 38 ไปตามเส้นทางสายอินทนนท์-แม่แจ่ม (ทางหลวงหมายเลข 1192) ประมาณ 6 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางไปน้ำตก แยกเข้าไปอีก 9 กิโลเมตร เป็นทางลูกรังในช่วงหน้าฝนทางลำบากมาก ต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น และจากจุดจอดรถต้องเดินต่อไปอีก ประมาณ 10 นาที จึงจะถึงตัวน้ำตก น้ำตกแม่ปานนับว่าเป็นน้ำตก ที่ยาวที่สุดของเชียงใหม่ก็ว่าได้ น้ำจะตกลงมาจากหน้าผาซึ่งสูงกว่า 100 เมตร เป็นทางยาว เบื้องล่างมีแอ่งน้ำหลายแอ่งผู้มาพักผ่อนลงอาบเล่นได้

  • น้ำตกแม่ยะ

เป็นน้ำตกในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีขนาดใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่ง เพราะน้ำซึ่งไหลลงมาจากหน้าผาที่สูงชัน 280 เมตร ลงมากระทบโขดหินเป็นชั้นๆ เหมือนม่าน แล้วลงไปรวมกันที่แอ่งน้ำเบื้องล่าง อีกทั้งบริเวณรอบๆ น้ำตกเป็นป่าเขาอันสงบเงียบ และมีศูนย์ประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยวตั้งอยู่ด้วย บริเวณน้ำตกสะอาด และจัดการพื้นที่ได้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม การเดินทาง จากทางแยกเข้าทางหลวง 1009 ไปประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไป 15 กิโลเมตร และต้องเดินเท้าเข้าไปอีก 600 เมตร

  • น้ำตกวชิรธาร

เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เดิมชื่อ ตาดฆ้องโยง ตัวน้ำตกอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 750 เมตร น้ำจะดิ่งจากผาด้านบนตกลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง การเดินทาง จากเชิงดอยอินทนนท์ขึ้นไปถึงกิโลเมตรที่ 21 จะเห็นป้ายบอกทางแยกขวาเข้าน้ำตก ลงไป 500 เมตร ถนนจะถึงที่ตัวน้ำตก อีกเส้นทางหนึ่งซึ่งเป็นเส้นทางเดิมอยู่เลยจาก ทางแยกแรกไปประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามป้ายและเดินจากลานจอดรถ ลงไปอีก 351 เมตร หากใช้เส้นทางนี้จะได้สัมผัสกับงามของธรรมชาติรอบด้าน ตลอดทางเดิน

  • น้ำตกสิริภูมิ

เป็นน้ำตกซึ่งไหลมาจากหน้าผาสูงชันเป็นทางยาว สามารถมองเห็นได้จากถนนขึ้นดอยอินทนนท์ตรงที่ทำการอุทยานฯ จะเห็นเป็นสายน้ำตกแฝดไหลลงมาคู่กันแต่เดิมเรียกว่า เลาลี ตามชื่อของหมู่บ้านม้ง (แม้ว) เลาลี ซึ่งอยู่ใกล้ๆ น้ำตก น้ำตกสิริภูมิตั้งอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 31 ของทางหลวงหมายเลข 1009 มีทางแยกขวามือเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร แต่รถไม่สามารถเข้าไปใกล้ตัวน้ำตกได้ นักท่องเที่ยวต้องเดินเท้าเข้าไปบริเวณด้านล่างของน้ำตก

  • น้ำตกห้วยทรายเหลือง

เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีน้ำไหลแรงตลอดปี และไหลจากหน้าผาลงมาเป็นชั้นๆ ใช้เส้นทางเดียวกับน้ำตกแม่ปาน อยู่ห่างจากถนนสายดอยอินทนนท์ - แม่แจ่ม ประมาณ 21 กิโลเมตร และแยกซ้ายเข้าไปสภาพทางเป็นดินลูกรังช่วงหน้าฝนต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อ

  • พระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ

ตั้งอยู่บนกิโลเมตรที่ 41.5 ทางด้านซ้ายมือ สร้างขึ้นโดยกองทัพอากาศร่วมกับพสกนิกรชาวไทย โดยพระมหาธาตุนภเมทนีดล สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เมื่อปี พ.ศ. 2530 และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ สร้างถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เมื่อปี พ.ศ. 2535 พระมหาธาตุทั้ง 2 องค์นี้ มีรูปทรงคล้ายคลึงกัน คือ พระมหาธาตุนภเมทนีดล มีฐานเป็นรูป 8 เหลี่ยม ส่วนพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริมีฐานเป็นรูป 12 เหลี่ยม มีระเบียงแก้วโดยรอบเป็น 2 ระดับ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปบูชา รอบบริเวณสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของดอยอินทนนท์โดยรอบได้อย่างสวยงาม

  • น้ำตกสิริธาร นอกจากความสวยงามของน้ำตกแล้วที่นี่ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำหลายชนิดรวมทั้งปลาหายาก เช่นปลาค้างคาว ป่าบริเวณนี้เป็นป่าเต็งรังผสมสนเขาและป่าดิบแล้ง นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งสมุนไพรที่สำคัญอีกด้วย
  • ยอดดอยอินทนนท์

จุดสิ้นสุดของเส้นทางสายนี้ เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย (2,565 เมตร) มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดปี เป็นที่ตั้งของสถานีเรด้าร์ของกองทัพอากาศไทยและเป็นที่ประดิษฐานสถูปพระเจ้าอินทวิชยานนท์ กษัตริย์แห่งนครเชียงใหม่ (ในฐานะประเทศราชของสยามเรียกตำแหน่งนี้ว่าเจ้าผู้ครองนคร) องค์ที่ 7 ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของป่าไม้และหวงแหน ดอยหลวงเป็นอย่างมากต้องการที่จะอนุรักษ์ไว้จนชั่วลูกชั่วหลาน ท่านผูกพันกับที่นี่มากจึงสั่งว่าหากสิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ขอให้แบ่งเอาอัฐิส่วนหนึ่งมาไว้ที่นี่

  • อ่างกาหลวง

เส้นทางนี้ศึกษาธรรมชาติเส้นนี้ สำรวจวางแนวและออกแบบเส้นทางเดินโดย คุณไมเคิล แมคมิลแลน วอลซ์ นักสัตววิทยาและอาสาสมัครชาวแคนาดาประจำอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ทำงานและทุ่มเทให้กับอินทนนท์ เขาได้เสียชีวิตที่นี่ด้วยโรคหัวใจ คติข้อหนึ่งของคุณไมค์คือ รักโลกนี้เสมอไปทำงานเพื่อปกป้องแต่ต้องไม่ลืมหาความสุขจากมันด้วย

  • จุดชมทิวทัศน์อยู่ตรงกิโลเมตรที่ 41

ถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ สามารถมองเห็นทิวทัศน์อันกว้างไกลของขุนเขาสลับซับซ้อน โดยเฉพาะยามเช้าจะมีทะเลหมอกปกคลุมเหนือหุบเขา จากจุดชมทิวทัศน์สามารถมองเห็นพระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริสูงเด่นอยู่คู่กัน

  • อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

แต่เดิมดอยอินทนนท์มีชื่อว่า ดอยหลวง หรือ ดอยอ่างกา ดอยหลวง หมายถึงภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่าดอยอ่างกานั้น มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก 300 เมตร มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่างน้ำ แต่ก่อนนี้มีฝูงกาไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา ต่อมาจึงรวมเรียกว่า ดอยอ่างกา ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ตั้งอยู่หลักกิโลเมตรที่ 31 เส้นทางหลวงหมายเลข 1009 ถนนจอมทอง-อิทนนท์ บ้านขุนกลาง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณโดยรอบมีอากาศหนาวเย็น และมีธรรมชาติที่สวยงาม และมีสนามหญ้าโล่งกว้าง เหมาะแก่การพักผ่อนกางเต๊นท์

  • น้ำตกแม่จอน

เกิดจากห้วยแม่จอนหลวง อยู่ในเขตตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 สายฮอด-แม่สะเรียง ตรงกิโลเมตรที่ 9 เดินตามลำห้วยแม่จอนเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกสูงใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ ลักษณะของน้ำตกนี้เป็นหน้าผาที่กว้างใหญ่มีความสูงไม่น้อยกว่า 100 เมตร ความกว้างประมาณ 80 เมตร หินบนน้ำตกเป็นหินแกรนิตผสมหินแปรสีขาวเจือสีเทาอ่อน สูงขึ้นไปยังมีน้ำตกเล็กๆอีกสองชั้น อยู่ห่างประมาณ 500 เมตรและ 1,500 เมตรตามลำดับ

  • ถ้ำตอง

อยู่ในท้องที่ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง "ดอยผาเลียบ" เป็นภูเขาหินแกรนิตและหินปูนที่มีรูปร่างเหมือนถูกผ่าครึ่งแล้วแยกกันอยู่คนละฝั่งลำน้ำแม่แปะ ซีกที่อยู่ทางฝั่งขวามีถ้ำลึกที่มีตำนานเล่าขานกันว่า ถ้ำนี้เป็นอุโมงค์หินที่มีความยาวมาก กล่าวว่าทะลุถึงดอยเชียงดาวทางเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ทีเดียว บริเวณปากอุโมงเป็นคูหาขนาดประมาณ 5 x 10 เมตร สูง 3 เมตร ลึกเข้าไปจากนั้นเป็นโพรงหินเล็กๆขนาดพอตัวคนคลานเข้าไปได้ สภาพภายในคูหาปากถ้ำถูกสกัดตกแต่งใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของสำนักวิปัสสนาถ้ำตอง โดยรอบๆในหุบเขาร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ป่าดงดิบที่มีขนาดใหญ่ๆเช่น มะม่วงป่า ตะเคียนทอง มะหาด กระท้อน หน้าถ้ำมีธารน้ำแม่แปะไหลผ่าน ต้นแม่น้ำแปะห่างจากถ้ำตองขึ้นไปประมาณ 1 กิโลเมตรมีน้ำตกเล็กๆ เรียกว่า น้ำตกวังคำ

  • ถ้ำตุ๊ปู่

อยู่ในท้องที่ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง เป็นถ้ำหินปูนขนาดเล็ก ปากถ้ำแคบ กว้างยาวประมาณ 1 x 1.5 เมตร ต้องนั่งยองๆเข้าไป ภายในกว้างขวางรูปร่างค่อนข้างกลมเหมือนคนโทขนาดใหญ่ มีน้ำหยดจากเพดานถ้ำตลอดเวลา ทำให้เกิดหินงอกหินย้อยอยู่ทั่วไป ตรงเพดานค่อนข้างไปทางก้นถ้ำทะลุเป็นวงกลมใหญ่ๆ 3 ช่องติดกัน จึงทำให้ถ้ำสว่างไสวไม่มืดทึบเหมือนถ้ำโดยทั่วไป

ฤดูกาลท่องเที่ยว[แก้]

ดอยอินทนนท์สามารถเดินทางไปเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นช่วงฤดูร้อน เดือนมีนาคม–พฤษภาคม แม้อากาศจะร้อนอบอ้าว แต่บนยอดดอยยังมีอากาศเย็นสบาย มีน้ำตกน้อยใหญ่ที่มากที่สุดแห่งของประเทศไทยและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว อาทิเช่น น้ำตกแม่ยะ น้ำตกแม่กลาง น้ำตกวชิรธาร น้ำตกสิริภูมิ เป็นต้น ฤดูฝน เดือนมิถุนายน–กันยายน ฝนตกชุกเพิ่มความชุ่มชื้นให้ป่า ชมสายหมอกและละอองฝนที่ผสานความสวยงามกลมกลืนกัน ฤดูหนาว เดือนตุลาคม–กุมภาพันธ์ อากาศค่อนข้างหนาว ฝนเริ่มลดน้อยลง และมีอากาศหนาวจัดที่สุดในช่วงเดือนมกราคม ซึ่งเป็นฤดูกาลที่นักท่องเที่ยวนิยมเที่ยวมากที่สุด ในตอนกลางคืนอุณหภูมิจะลดต่ำกว่า 0 ถึง -7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิอาจติดลบในบางปี ทำให้เกิดน้ำค้างแข็งหรือแม่คะนิ้ง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ก็เป็นอีกช่วงหนึ่งที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยว ตามแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกบนยอดดอยอินทนนท์ เป็นที่ผ่อนคลายความร้อนได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันมีโรงแรมและสถานพักตากอากาศจำนวนมากในเมืองจอมทอง มีสิ่งอำนวยสะดวกครบครัน รองรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาพักผ่อน

ตําบลดอยแก้ว มีกี่หมู่บ้าน

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ 60 กิโลเมตร และห่างจากที่ว่าการอำเภอจอมทอง 4 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 122.80 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 76,750 ไร่ อาณาเขตของเทศบาลตำบลดอยแก้ว ... .

ลักษณะการปกครอง เทศบาลตำบลดอยแก้ว แบ่งเขตการปกครองเป็นหมู่บ้าน จำนวน 9 หมู่บ้าน ประกอบด้วย ... .

ประชากร.

ตำบลจอมทองมีกี่หมู่บ้าน

เป็นครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล 11 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 6.12 ตารางกิโลเมตร ระยะห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 60 กิโลเมตร อาณาเขตของเทศบาลตำบลจอมทอง

จอมทองมี ตำบลอะไร

ที่ว่าการอำเภอจอมทอง เลขที่ 156 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 50160.

จอมทองเขตอะไร เชียงใหม่

[ เขต 1 ] -> [ จังหวัด เชียงใหม่ ] -> [อำเภอ จอมทอง ] [ หน่วย : คน ] ตำบล