การใช ไปเปต ม ส ญล กษณ b ต องเป า

เป็นอุปกรณ์วิทยาศาตร์ ชนิดเครื่องแก้วมีสเกลการวัดที่ละเอียด ใช้สำหรับในการ ตวง-วัด ปริมาณสารที่เป็นของเหลว โดยมีลักษณะชนิดต่างๆ ดังนี้

  1. Graduated pipette ปิเปตชนิดตรง ไม่มีกะเปาะ มีขีดแบ่งย่อยปริมาตรแต่ไม่แบ่งลงไปจนถึงปลายสุดของปิเปต ดังนั้นเวลาใช้ต้องระวังอย่าให้สารละลายไหลลงไปต่ำกว่าส่วนแบ่งขีดสุดท้าย ซึ่งจะทำให้การถ่ายเทปริมาตรได้มากกว่าที่เป็นจริง
    การใช ไปเปต ม ส ญล กษณ b ต องเป า
  1. Serological pipette ปิเปตชนิดนี้มีลักษณะคล้าย graduated pipette แต่ปิเปตชนิดนี้มีขีดแบ่งย่อยบอกปริมาตรไว้จนถึงปลายปิเปต มีทั้งชนิดที่ต้องเป่าหยดสุดท้ายและไม่ต้องเป่า ถ้าเป็นชนิดที่ต้องเป่าจะมีสัญลักษณ์เป็นวงฝ้าทึบอยู่ตรงปลายที่ใช้ดูด แต่ถ้าไม่มีสัญลักษณ์เหล่านี้ เวลาใช้ต้องปล่อยให้สารละลายไหลออกไปจากปิเปตจนหมด โดยแตะปลายของปิเปตกับผิวด้านในของภาชนะที่รองรับ ห้ามเป่าถึงแม้จะมีสารละลายค้างอยู่ในส่วนปลายบ้างก็ตาม
    การใช ไปเปต ม ส ญล กษณ b ต องเป า
    3. Ostwald pipette ปิเปตนิดนี้เป็นชนิดพิเศษที่ผลิตขึ้นเพื่อวัดปริมาตรของของเหลวที่มีความหนืด เช่น เลือด ซีรั่ม มีลักษณะคล้าย volumetric pipette แต่กระเปาะของปิเปตชนิดนี้อยู่ใกล้ปลายที่ปล่อยของเหลวออกมากกว่า ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดอันอาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากความหนืดของของเหลว Ostwald pipette เป็นชนิดที่ต้องเป่าออก ดังนั้นจะมีแถบหรือวงฝ้าทึบอยู่ใกล้ปลายปากดูดเป็นสัญลักษณ์ไว้ เวลาถ่ายของเหลวออกควรให้ของเหลวไหลออกช้าที่สุดเท่าที่จะช้าได้ เพื่อให้ของเหลวเหลือในปิเปตน้อยที่สุด จึงจะได้ปริมาตรที่ใกล้เคียงกับความจริง
    การใช ไปเปต ม ส ญล กษณ b ต องเป า
    4. Volumetric pipette ปิเปตชนิดนี้ใช้วัดปริมาตรที่กำหนดเพียงปริมาตรเดียว ไม่ มีขีดแบ่งส่วนย่อยเหมือนสองชนิดแรก มีลักษณะเป็นกระเปาะอยู่ตรงกลาง มีขีดบอกปริมาตรอยู่เหนือกระเปาะใกล้ปลายปากดูด การวัดจะถูกต้องเมื่อปล่อยให้สารละลายไหลออกช้าๆ จนหมดแล้วแตะปิเปตกับผิวด้านในของภาชนะที่รองรับโดยไม่ต้องเป่า แม้จะมีสารละลายเหลืออยู่ที่ปลายของปิเปตบ้างก็ตาม
    การใช ไปเปต ม ส ญล กษณ b ต องเป า
  1. Pasteur pipette ปิเปตชนิดนี้ ไม่ใช้วัดปริมาตร แต่ใช้ในการถ่ายของเหลวจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่งเพราะไม่มีขีดบอกปริมาตร เวลาใช้ต้องต่อกับลูกยางขนาดเล็ก ปิเปตต์ชนิดนี้จะมีปลายล่างเรียว เพื่อให้สารละลายไหลออกอย่างช้า ๆ ปลายบนมีรอยคอด ซึ่งมีไว้เพื่อกันไม่ให้สารละลายถูกดูดเลยเข้าไปในลูกยาง นิยมใช้ปิเปตชนิดนี้ในการดูดส่วนใสของสารละลายเพื่อแยกจากตะกอน หรือใช้ในการละลายตะกอน รวมทั้งปรับปริมาตรของสารละลายเมื่อใกล้ถึงขีดบอกปริมาตร
    การใช ไปเปต ม ส ญล กษณ b ต องเป า
  1. Contain pipette เป็นปิเปตต์ที่ให้ความแม่นยำสูงหากใช้โดยวิธีที่ถูกต้อง ปิเปตต์ชนิดนี้มีขีดบอกปริมาตรตามที่กำหนด มักใช้ในงานที่ต้องการปริมาณน้อย ๆ เช่น micropipette การใช้ปิเปตต์ชนิดนี้เมื่อปล่อยสารตัวอย่างลงในภาชนะที่รองรับแล้ว ต้องดูดสารละลายสำหรับเจือจาง (diluent) ขึ้นลงหลาย ๆ ครั้ง เพื่อชะสารตัวอย่างในปิเปตต์ออกให้หมด จึงจะได้ปริมาตรที่ถูกต้อง

ปิเปตอื่นๆ ปัจจุบันมีเครื่องมือหลายชนิดที่ใช้ตวงปริมาตรและช่วยอำนวยความสะดวกใน งานที่จำเป็นต้องตวงปริมาตรจำนวนน้อย ๆ หลาย ๆ ครั้ง ที่สำคัญ ได้แก่

  1. ปิเปตต์อัตโนมัติ (Automatic pipette) ประกอบด้วยตัวปิเปตต์และปลายปิเปตต์ (tip) มีทั้งชนิดวัดได้ปริมาตรเดียวและหลายปริมาตร โดยการปรับที่ตัวปิเปตต์ ทำให้สามารถวัดปริมาตรได้ถูกต้องและรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ปิเปตต์ชนิดนี้มีราคาแพง แม้ว่าจะสะดวกและเหมาะสำหรับใช้ในงานวิจัย
    การใช ไปเปต ม ส ญล กษณ b ต องเป า
  1. ปิเปตชนิดขวด (Dispenser pipette or Dilutor) เป็นภาชนะแก้วหรือพลาสติกที่มีปากกว้างต่อเข้ากับส่วนปิเปตต์ ซึ่งสามารถปรับปริมาตรต่าง ๆ ได้ สามารถจ่ายสารละลายได้ทีละมาก ๆ อย่างรวดเร็ว สะดวก เพราะไม่ต้องใช้ปากดูด
    การใช ไปเปต ม ส ญล กษณ b ต องเป า

เทคนิคที่ถูกต้องในการใช้ปิเปตมีวิธีการดังนี้

  1. ก่อนใช้ปิเปตต้องมีการทำความสะอาดโดยดูดน้ำกลั่นเข้าไปจนเกือบเต็ม แล้วปล่อยให้ไหลออกมาจนหมด เกตดูว่าถ้าไม่มีหยดน้ำเกาะติดอยู่ภายในแสดงว่าปิเปตสะอาดดีแล้ว
  1. เมื่อจะนำปิเปตที่เปียกไปใช้วัดปริมาตร ต้องล้างปิเปตด้วยสารละลายที่จะวัด 2-3 ครั้ง โดยใช้สารละลายครั้งละเล็กน้อยและให้สารละลายถูกผิวแก้วโดยทั่วถึง แล้วเช็ดปลายปิเปตด้วยกระดาษ tissue ที่สะอาด
  1. จุ่มปลายปิเปตลงในสารละลายที่จะวัดปริมาตร โดยที่ปลายปิเปตอยู่ต่ำกว่าระดับสารละลายตลอดเวลาที่ทำการดูด เพราะเมื่อใดที่ระดับของสารละลายในภาชนะลดลงต่ำกว่าปลายปิเปตในระหว่างที่ทำการดูด สารละลายในปิเปตจะพุ่งเข้าสู่ปากทันที
  1. ใช้ปากดูดหรือเครื่องดูดหรือกระเปาะยางดูดสารละลายเข้าไปในปิเปตอย่างช้าๆ จนกระทั่งสารละลายขึ้นมาอยู่เหนือขีดบอกปริมาตร และใช้นิ้วชี้ปิดปลายปิเปตให้แน่นโดยทันที จับก้านปิเปตด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลาง (ไม่ควรใช้ปากดูด ถ้าสารละลายนั้นเป็นสารที่มีพิษ หรือเป็นกรดแก่ ด่างแก่ ต้องใช้เครื่องดูดหรือกระเปาะยางต่อตอนบนของปิเปต)
  1. จับปิเปตให้ตั้งตรงแล้วค่อยๆผ่อนนิ้วชี้เพื่อให้สารละลายที่เกินขีดบอกปริมาตรไหลออกไปจนกระทั่งส่วนเว้าต่ำสุดของสารละลายแตะกับขีดบอกปริมาตรพอดี ปิดแน่นด้วยนิ้วชี้และ แตะปลายปิเปตกับข้างภาชนะที่ใส่สารละลาย เพื่อให้หยดน้ำซึ่งอาจจะติดอยู่ที่ปลายปิเปตหมดไป จับปิเปตให้ตรงประมาณ 30 วินาที่เพื่อให้สารละลายที่ติดอยู่ข้างๆ ปิเปตไหลออกหมด

ปล่อยสารละลายที่อยู่ในปิเปตลงในภาชนะที่เตรียมไว้โดยยกนิ้วชี้ขึ้น ให้สารละลายไหลลงตามปกติตามแรงโน้มถ่วงของโลกจนหมด แล้วแตะปลายปิเปตกับข้างภาชนะเพื่อให้สารหยดสุดท้ายไหลลงสู่ภาชนะ อย่าเป่าหรือทำอื่นใดที่จะทำให้สารละลายที่เหลืออยู่ที่ปลายปิเปตไหลออกมา เพราะปริมาตรของสารละลายที่เหลือนี้ไม่ใช้ปริมาตรของสารละลายที่จะวัด