Boi ลงท นแบบ ออโตเมช น ม ระยะเวลาในการขอ boiไหมคะ

ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 4 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและกระจาย ความเจริญไปสู่ภูมิภาค สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จึงได้มีการจัดตั้งสำนักงานภูมิภาคแห่งแรกขึ้นในปี 2531 ที่จังหวัดนครราชสีมา โดยเรียกว่า หน่วยปฏิบัติงานส่งเสริมการลงทุน ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุน...

ในกรณีดังกล่าวนี้บริษัทต้องยื่นขอขยายเวลาภายในหรือล่วงหน้ากี่วันคะ และต้องไปยื่นขอขยายเวลาที่ BOI ใช่ไหม ใช้เวลาในการอนุมัติกี่วัน และช่วงระหว่างเวลาที่เรายื่นขออนุมัติอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ใช้สิทธิได้ภายในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ และเรายื่นเรื่องขอขยายเวลาวันที่ 1 กุมภาพันธ์ แต่จะมีการนำเข้าเครื่องจักรหรือแม่พิมพ์เข้ามาถึงไทยประมาณวันที่ 20 กุมภาพันธ์ จะสามารถใช้สิทธิได้หรือไม่

1.การยื่นขยายเวลาเครื่องจักร ต้องยื่นที่ BOI โดยกำหนดเวลาพิจารณาไว้ไม่เกิน 45 วันทำการ (หรือ 20 วัน กรณีขยายเวลาเฉพาะแม่พิมพ์) แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาไม่นานมากนัก

2.การยื่นก่อนล่วงหน้ากี่วัน ไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจน แต่หากดูจากระยะเวลาพิจารณาที่ BOI กำหนด ก็ควรยื่นล่วงหน้าได้ตั้งแต่ 2 - 2.5 เดือน ก่อนครบกำหนดวันนำเข้าเครื่องจักร

3.หากเครื่องจักรเข้ามาหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาไปแล้ว แต่การพิจารณาอนุมัติขยายเวลายังไม่แล้วเสร็จ บริษัทต้องยื่นขออนุญาตใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร หรือชำระภาษีอากรไปก่อน จากนั้น เมื่อได้รับอนุมัติขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว จึงสามารถยื่นสั่งปล่อยถอนค้ำประกันหรือสั่งปล่อยคืนอากรได้ต่อไป

การขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรและแม่พิมพ์นั้น ในแบบฟอร์ม "รายการเครื่องจักรที่ขอขยายเวลาการนำเข้า FIN-EM 02-05" หน้าที่4/4 1. จะต้องกรอก "รายการแม่พิมพ์" ลงไปด้วย หรือ "รายการเครื่องจักร" อย่างเดียว 2. "แบบขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรและเปิดดำเนินการ หน้าที่1/4" ในส่วนที่ต้องระบุ "ยื่นขอรับการส่งเสริมวันที่.........................................." คือไม่ทราบวันที่ยื่นจริงๆ สามารถใช้วันที่ที่ระบุในส่วนของบัตรส่งเสริมตรงไหนได้บ้าง 3. เอกสารแนบที่จะยื่นขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรนั้น จะต้องแนบ "รายการเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบพิจารณาเรื่องการขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร" ด้วยหรือไม่

1. ให้กรอกข้อมูลทั้งเครื่องจักรและแม่พิมพ์ที่ต้องการขยายระยะเวลานำเข้า

2. วันที่ยื่นขอรับการส่งเสริม ไม่จำเป็นต้องกรอกก็ได้

3. ให้ยื่นใบรายการเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการพิจารณาฯ ไปด้วยพร้อมกัน

บริษัทสามารถผลิตและส่งขายได้เลย แล้วยืนสูตรการผลิตเพื่อขอตัดบัญชีภายหลังได้ใช่รึเปล่า กรณีนี้บริษัทสามารถใช้ได้กับทุกบัตรที่ได้รับการส่งเสริมรึเปล่า บริษัท มี 3 บัตร บัตรที่ 1. นำเข้ามาประกอบและส่งออก บัตรที่ 2. ฉีดขึ้นรูปแล้วส่งออก บัตรที่ 3 . IPO ทั้ง 3 บัตร สามารถยื่นสูตรภายหลังจากผลิตและส่งขายใช่รึเปล่า

ระบบ rmts-2011 มีการกำหนดสูตรเป็น revision เพื่อกำหนดว่าสูตรนั้นจะมีผลใช้ในช่วงเวลาใด แต่ต่อมาพบว่า เกิดปัญหาในการใช้งานมากพอสมควร เช่น ใบขนที่ส่งออกในช่วงที่ revision

2 มีผลใช้งาน อาจจะมีสูตรการผลิตตาม revision

1 ก็ได้ เท่าที่ตรวจสอบล่าสุดคือ ปัจจุบันจะไม่ตรวจสอบว่าวันส่งออกในใบขนขาออก เป็นวันที่ในช่วงของสูตรการผลิต revision ใด คือ ตอนยื่นตัดบัญชี บริษัทสามารถเลือกได้โดยอิสระว่าจะใช้ revision ใด มาตัดบัญชีก็ได้

ดังนั้น แม้บริษัทจะส่งออกไปก่อนที่จะขอสูตรการผลิต ก็สามารถนำใบขนที่ส่งออกไปแล้ว มายื่นขอตัดบัญชีตามสูตรการผลิต revision ที่ยื่นขอในภายหลังได้

ตามประกาศที่ ง. ๑ / ๒๕๖๑ เรื่องการงดให้การส่งเสริมการลงทุนในประเภทกิจการ 7.5 และประเภทกิจการ 7.6 คำถาม งดให้การส่งเสริม แต่บริษัทที่ได้บัตรส่งเสริมก่อนหน้านี้ ไม่มีผลกระทบและยังคงใช้ได้ต่อไปถูกต้องไหม

การงดการให้ส่งเสริมกิจการ IHQ และ ITC ตามประกาศ กกท.ที่ 1/2561 ไม่มีผลกระทบกับโครงการ IHQ และ ITC ที่ได้รับส่งเสริมไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่หากสิทธิประโยชน์การนำเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36 ของกิจการ ITC ที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิมสิ้นสุดลง จะได้รับการขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบหรือไม่ หรือจะขยายเวลาโดยมีเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมหรือไม่ คงต้องรอคำชี้แจงจาก BOI อีกครั้งหนึ่ง

ในกรณีทางบริษัทฯ ต้องการยื่นขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียวนั้น จำเป็นต้องทำหนังสือนำของบริษัทฯ หรือไม่

การยื่นงานบางเรื่อง BOI ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขให้ต้องยื่นหนังสือนำส่งด้วย แต่ปกติควรทำหนังสือนำส่ง (หัวจดหมายบริษัท) แนบไปด้วยทุกครั้ง

เนื่องจากบริษัทได้รับบัตรส่งเสริมแล้ววันที่ 6 มกราคม 2559 ปัจจุบันยังไม่ได้นำเข้าเครื่องจักร จึงรบกวนสอบถามว่าจะเริ่มนับเวลาตั้งแต่เมื่อไร เริ่มนับแต่วันได้รับบัตร หรือวันนำเข้าเครื่องจักรครั้งแรก

ระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรจะนับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม กรณีสอบถามคือ 6 ม.ค.59 - 5 ก.ค 61

อยากทราบว่าวัตถุดิบนำเข้าตามมาตรา 36(1) BOI จะต้องผลิตและส่งออกภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้นำเข้า เงื่อนไขนี้จะเหมือนกับมาตรา 29 ของกรมศุลกากรหรือเปล่าคะ เพราะตามมาตรา 29 (19 ทวิ) ถ้าวัตถุดิบนำเข้ามาและไม่ผลิต และไม่ส่งออกภายใน 1 ปีนับจากวันนำเข้า จะไม่สามารถขอคืน import duty ได้, แต่ BOI คือเรื่องการตัด stock (ซึ่งไม่ได้จ่าย Import duty & VAT ตอนนำเข้า)

ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.3/2556 ข้อ 12 เมื่อสิทธิประโยชน์มาตรา 36 สิ้นสุดลง วัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิตามมาตรา 36 จะต้องผลิตและส่งออกภายใน 1 ปี นับจากวันสิ้นสุดสิทธิ และต้องตัดบัญชีให้เสร็จภายใน 2 ปีนับจากวันสิ้นสุดสิทธิ แต่ปัจจุบันประกาศดังกล่าวถูกยกเลิกแล้ว โดย ประกาศ สกท ที่ ป.8/2561 และเปลี่ยนเป็นดังนี้

ข้อ 13 เมื่อสิทธิประโยชน์มาตรา 36 สิ้นสุดลง วัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิตามมาตรา 36 จะต้องตัดบัญชีให้เสร็จภายใน 2 ปี นับจากวันสิ้นสุดสิทธิ

สรุปคือ ตามประกาศฉบับปัจจุบัน วัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิมาตรา 36 จะผลิตส่งออกเกินกว่า 1 ปีนับจากวันสิ้นสุดสิทธิก็ได้ แต่จะต้องตัดบัญชีให้เสร็จสิ้นภายใน 2 ปีนับจากวันสิ้นสุดสิทธิ ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าว แตกต่างกับการนำเข้าโดยใช้สิทธิมาตรา 19 ทวิ ของกรมศุลกากร

คำว่าวันสิ้นสุดสิทธิ หมายถึงมาตรา 36 หมดอายุ ไม่ได้ไปขอขยายเวลาการนำเข้าใช่ไหม เพราะถ้าบริษัทฯ ขยายเวลาการนำเข้าวัตถุดิบทุกๆ 2 ปี ตามระเบียบของ BOI นั่นก็หมายความว่าไม่มีวันสิ้นสุดสิทธิใช่ไหม

หากยื่นขยายระยะเวลานำเข้า และได้รับอนุมัติขยายเวลา ก็ถือว่าสิทธิมาตรา 36 ไม่ได้สิ้นสุดลง ถูกต้องแล้ว อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2562 เป็นต้นไป ในการยื่นขอขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบ บริษัทจะต้องดำเนินการตัดบัญชีใบขนสินค้าขาออกที่มีอายุเกิน 1 ปี นับถึงวันที่ยื่นขอขยายเวลา ให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะได้รับการพิจารณาอนุมัติการขยายเวลา ตามเงื่อนไขข้อ 8 (3) ของประกาศ สกท ที่ ป.8/2561

กรณีที่บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมฯ BOI ในส่วนของผลิตภัณฑ์แล้วนั้น หากได้มีการนำเข้าแม่พิมพ์เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ ที่ยังไม่ได้ขออนุมัติสูตรการผลิต อยากทราบว่าสามารถนำเข้าแม่พิมพ์ภายใต้สิทธิ BOI ได้หรือไม่

การจะนำเข้าแม่พิมพ์โดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรขาเข้า มีเงื่อนไขคือ

- ต้องนำเข้ามาในช่วงระยะเวลาที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี

- ต้องเป็นแม่พิมพ์ที่สอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริม

ส่วนการจะขออนุมัติสูตรการผลิตแล้วหรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการขอใช้สิทธินำเข้าเครื่องจักรแม่พิมพ์ เช่น กิจการที่ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายในประเทศ จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ และไม่ต้องทำสูตรการผลิต แต่หากได้รับสิทธิตามมาตรา 28, 29 ก็สามารถขอยกเว้น/ลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรและแม่พิมพ์ได้ โดยไม่ต้องทำสูตรการผลิต

กำลังจะทำเตรียมเอกสารที่จะยื่นขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร และ เปิดดำเนินการ ครั้งที่ 3 แต่มาพบว่า ข้อมูลที่ยื่นขอขยายเวลาครั้งที่ 2 เกือบทั้งหมด เช่น รายการเครื่องจักรทั้งที่แจ้งนำเข้ามาแล้ว และรายการที่ขอขยายเวลาที่ยื่นไว้ ไม่ใช่ข้อมูลและรายการเครื่องจักรสำหรับบัตรส่งเสริมนั้น (ตามที่ผู้บริหารแจ้งมาภายหลัง เนื่องจาก บริษัทมีบัตรฯ 2 ใบ โดยแบ่งแยกรุ่นสินค้าไปในแต่ละบัตรฯ และมีรุ่นที่ยังไม่ได้รับการส่งเสริม ) บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง จำเป็นต้องทำหนังสือชี้แจงไปยังสำนักงานฯ ก่อน ที่จะทำการยื่นขอขยายเวลาครั้งที่ 3 หรือ สามารถทำการยื่นขอขยายเวลานำเข้าครั้งที่ 3 โดยใช้ข้อมูลที่ถูกต้องยื่นได้เลย

รายการเครื่องจักรที่ขอขยายเวลานำเข้า เป็นเพียงแผนการเท่านั้น เมื่อจะมีการนำเข้าจริง ก็ต้องขออนุมัติแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีรายการเครื่องจักรเหล่านั้นให้เรียบร้อยก่อน จึงจะนำเข้ามาโดยใช้สิทธิได้ ดังนั้น แม้ว่าในการขอขยายเวลานำเข้าครั้งที่ 1 หรือ 2 จะมีการแจ้งข้อมูลคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง แต่เมื่อได้รับอนุมัติไปแล้ว ก็ถือว่าขั้นตอนจบเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องชี้แจงแก้ไขอะไรอีก ครั้งนี้หากจะยื่นขยายเวลานำเข้าเป็นครั้งที่ 3 ก็ขอให้เตรียมข้อมูลให้ถูกต้อง

บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสำหรับกิจการ IPO/ITC บริษัทฯ สามารถซื้อผลิตภัณฑ์กับบริษัทที่เป็น Trending (Non-BOI) โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) บริษัทฯ เปิด P/O คำสั่งซื้อ และชำระเงินค่าสินค้า ให้กับบริษัท A (Trending (Non-BOI)) 2) บริษัท A (Trending (Non-BOI)) ซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัท B (BOI) และให้เป็นผู้จัดส่งผลิตภัณฑ์ให้บริษัทฯ 3) บริษัทฯ โอนเอกสารตัดบัญชี (Report V) ให้กับบริษัท B (BOI) รบกวนสอบถามตามขั้นตอนดังกล่าวบริษัทฯ สามารถทำได้หรือเปล่า

A (BOI) -> B (Trading Non-BOI) -> C (BOI) -> ส่งออก กรณีนี้ C ไม่สามารถออก report-v ให้กับ A ได้ เนื่องจากไม่มีการซื้อขายกันโดยตรง โดย B สามารถยื่นขอรับส่งเสริมในประเภทกิจการ ITC เพื่อออก report-V จาก C ไป B และ B ไป A เป็นทอดๆ ตามการซื้อขายจริง

หากบริษัทต้องการขายวัตถุดิบที่เป็นโครงการได้รับส่งเสริมการลงทุน แต่วัตถุดิบตัวนั้น มีอากรเป็น 0% อยู่แล้ว และมีต้องมีการ return ให้ vendor บริษัทจะทำวิธีไหนได้บ้างหากต้องการขายวัตถุดิบนั้น

สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

1. บริษัท A และ vendor B ยื่นเรื่องขอโอน/ขอรับโอนวัตถุดิบ ต่อ BOI ซึ่งกรณีนี้บริษัท A ไม่ต้องส่งวัตถุดิบนั้นไปต่างประเทศ แต่โอนกลับไปให้ vendor B ไปดำเนินการต่อเอง

2. บริษัท A ยื่นเรื่องขอส่งส่วนสูญเสียไปต่างประเทศต่อ BOI โดยมีขั้นตอนดังนี้

- ยื่นขออนุญาตส่งส่วนสูญเสีย (นอกสูตร) ออกไปต่างประเทศต่อ BOI โดยถือว่าวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตนี้คือส่วนสูญเสีย ตามประกาศ สกท ที่ ป.5/2543

- (แก้ไข) อินวอยซ์และใบขนขาออก ควรระบุชื่อตามสภาพวัตถุดิบที่ซื้อมา และจะส่งออกไปจริง โดย จนท BOI อาจขอให้บริษัทส่งเอกสารหลักฐานเพื่อตรวจสอบว่าเป็นวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตที่ไม่สามารถใช้ตามวัตถุประสงค์เดิมได้

- เมื่อส่งออกแล้ว ยื่นขออนุมัติปรับยอดส่วนสูญเสีย (นอกสูตร) ที่ส่งออกไปต่างประเทศ ต่อ BOI พร้อมทำใบโอนสิทธิให้ Vendor B แนบไปด้วย

- ส่งใบโอนสิทธิที่ได้รับอนุมัติจาก BOI (ฉบับจริง) ให้กับ Vendor B เพื่อให้ Vendor B นำไปตัดบัญชีต่อไป

ตามหนังสือแจ้งมติฯ บริษัทได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรใช้แล้วที่มีอายุเกิน 10 ปี จำนวน 4 เครื่อง, แต่บริษัทอาจนำเข้าไม่ทันตามระยะเวลาที่ขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรมาแล้วจำนวน 3 ครั้ง...ทั้งนี้มีวิธีการใดที่จะขอขยายนำเข้าได้อีกหรือไม่

การกำหนดให้ขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร 3 ครั้ง เป็นไปตามประกาศ ป.1/2548 ซึ่งกำหนดว่า หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามนี้ ให้เลขาธิการ BOI เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม และนำเสนอคณะอนุกรรมการ แต่ตอบตรงๆว่า ถ้าเป็นเหตุผลทั่วๆไป เช่น เศรษฐกิจไม่ดี โน่นนี่นั่น ไม่เป็นเหตุผลที่จะขอขยายเวลาเกินกว่า 3 ครั้ง เพราะถ้าไม่พร้อมตอนนี้ จะรอไว้ยื่นเป็นโครงการใหม่ภายหลังเมื่อพร้อมก็ได้ หรือถ้าเป็นกิจการหมวดเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่อนุญาตให้นำเข้าเครื่องจักรได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริม ก็จะไม่เจอปัญหานี้

เนื่องด้วยบริษัทฯ ได้กำลังจะขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรเป็นครั้งที่ 3 แต่ใบหนังสืออนุมัติของ BOI ครั้งที่ 2 หายไป ต้องทำอย่างไรบ้าง

เมื่อได้รับอนุมัติหนังสืออนุมัติขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร บริษัทจะต้องนำบัตรส่งเสริมและหนังสืออนุมัติดังกล่าว ไปติดต่อกับฝ่ายบัตรส่งเสริมของ BOI เพื่อให้ทำการบันทึกการแก้ไขในท้ายบัตรส่งเสริม หากได้ทำการบันทึกแก้ไขท้ายบัตรส่งเสริมเสร็จสิ้นแล้ว หนังสือแจ้งมติอนุมัติก็ไม่จำเป็นต้องใช้อีกต่อไป เนื่องจากให้ใช้บันทึกการแก้ไขท้ายบัตรส่งเสริมแทน

การรายงานผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ขออนุญาตไปเก็บนอกสถานที่ มีหลักเกณฑ์อย่างไร

การขอนำวัตถุดิบ/ส่วนสูญเสีย/ผลิตภัณฑ์ ไปเก็บนอกสถานที่ ปกติจะพิจารณาอนุมัติให้ทุกรายการที่การยื่นขออนุญาตต่อ BOI

ในกรณีที่ต้องการส่งผลิตภัณฑ์ไปทดสอบต่างประเทศ เนื่องจากเป็น Model ใหม่ที่เพิ่งเริ่มผลิตต้องดำเนินการอย่างไร และเมื่อนำกลับเข้ามาหลังทดสอบเสร็จ จะสามารถนำเข้าโดยยกเว้นภาษีได้หรือไม่

1. การส่งสินค้าตัวอย่างไปทดสอบต่างประเทศ

หากเป็นชื่อเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับส่งเสริม และขออนุมัติสูตรการผลิต ก็สามารถตัดบัญชีได้ หากจะยังไม่ขอสูตรการผลิต ก็ส่งออกไปตามปกติ ในข่ายไม่ใช้สิทธิ แต่จะนำมาตัดบัญชีไม่ได้ และต้องชำระภาษีอากรวัตถุดิบในส่วนที่ใช้ในการผลิตนั้น

2. กรณีที่ทดสอบเสร็จแล้ว จะนำกลับเข้ามาอีก

หากนำเข้ามาเพื่อซ่อมแซมและส่งกลับไปต่างประเทศ ก็ขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีตาม ม.36(1) ได้ ในข่ายสินค้านำกลับมาซ่อมเพื่อส่งออก

หากนำเข้ามาในข่ายของตัวอย่างเพื่อส่งกลับออกไปต่างประเทศ ก็อาจขอใช้สิทธิตามมาตรา 36(2) ได้ แต่ถ้าไม่ได้นำเข้ามาเพื่อส่งออก ก็ชำระอากรขาเข้าไปตามปกติ หรืออาจทำใบสุทธินำกลับเพื่อยกเว้นอากรขาเข้าสินค้านั้น แต่จะต้องชำระอากรในส่วนค่าทดสอบที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นค่าบริการที่ติดมากับสินค้า

สิทธิประโยชน์ด้านเครื่องจักรหมด 2 มิถุนายน 57 สามารถขอขยายได้หรือเปล่า และถ้าจะนับวันขอขยายจากเดิมหรือ ณ วันที่ยื่นขอขยาย

การขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร สามารถขอขยายได้ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี กรณีที่ลืมขยาย และสิ้นสุดระยะเวลาไปแล้ว (เช่น ตามกรณีที่สอบถาม) สามารถยื่นขอขยายเวลาได้ โดยจะนับระยะเวลาต่อจากวันที่สิ้นสุดเดิม

ในกรณีบริษัทฯ ยื่นขอขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรครั้งที่ 1 โดยในแบบฟอร์ม BOI : FIN EM 02-05 หน้า 2/4 ต้องระบุวันที่ขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเต็มโครงการด้วยหรือไม่ ถ้าต้องระบุ-ต้องนับระยะเวลาออกไปอีกเท่าไร (บริษัทฯ ขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรออกไปอีกเป็นเวลา 12 เดือน ถึงวันที่ 19 มีนาคม 2559)

ถ้ายื่นขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร (ข้อ 3 ในแบบฟอร์ม) ก็ให้ขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเต็มโครงการ (ข้อ 4 ในแบบฟอร์ม) ไปด้วยพร้อมกัน ถ้าขอขยายเวลาเครื่องจักร 1 ปี ก็ขยายเวลาเปิดดำเนินการออกไปอีก 1 ปี (ระบุวันที่) เช่นกัน

การนำเข้าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากบริษัทแม่เพื่อมาเป็นตัวอย่างสำหรับการตรวจสอบเมื่อตรวจสอบเสร็จแล้วต้องส่งกลับคืนไปบริษัทแม่ สามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

การนำผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากต่างประเทศเข้ามาเป็นตัวอย่าง และเมื่อเสร็จวัตถุประสงค์แล้วจะส่งคืนกลับไปต่างประเทศ เข้าข่ายที่จะขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า(และภาษีมูลค่าเพิ่ม) ตามมาตรา 36(2) คือ

มาตรา 36(2) การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่ผู้ได้รับการส่งเสริมนำเข้ามาเพื่อส่งกลับออกไป กิจการที่มีการผลิตส่งออก ปกติจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 36(2) ควบคู่ไปกับมาตรา 36(1) อยู่แล้ว โดยมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดพร้อมกับมาตรา 36(1)

ดังนั้น หากในบัตรส่งเสริมกำหนดให้ได้รับสิทธิมาตรา 36(2) บริษัทก็สามารถยื่นขอ Max Stock (แบบไม่หมุนเวียน) เพื่อขอใช้สิทธินำเข้าตามมาตรา 36(2)

ในกรณีที่เรารับจ้างตรวจสอบผลิตภัณฑ์ โดยการนำผลิตภัณฑ์เข้ามาจากต่างประเทศเพื่อตรวจสอบด้วยกล้อง โดยไม่ผ่านกระบวนการผลิตใดๆ เมื่อตรวจสอบเสร็จส่งกลับคืนให้ลูกค้า ตัวนี้ไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ได้ใช่ไหม หรือพอจะมีวิธีใดบ้างที่สามารถทำได้

1. การตรวจสอบด้วยกล้อง เป็นการผ่านกรรมวิธีการผลิตในขั้นตอนการตรวจสอบ

2. กิจการที่มีขั้นตอนเพียงการตรวจสอบ ปกติจะมีมูลค่าเพิ่มต่ำ ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะให้การส่งเสริม คำถามมีข้อมูลไม่เพียงพอ ก็คงตอบได้เท่านี้

ขอ BOI กี่วัน

บีโอไอดำเนินการออกบัตรส่งเสริม ภายใน 10 วันทำการ นับจากวันที่สำนักงานได้รับแบบฟอร์มขอรับบัตรส่งเสริมและหลักฐานครบถ้วน

BOI มีระยะเวลากี่ปี

การให้การส่งเสริมของ BOI ไม่มีการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด แต่สิทธิประโยชน์ทางภาษีจะมีระยะสิ้นสุด เช่น เครื่องจักร 30 เดือน (ขยายเวลาได้ 3 ครั้ง) หรือภาษีเงินได้ 3-8 ปี (ขยายเวลาไม่ได้) เป็นต้น

BOI มีวันหมดอายุไหม

1. บัตรส่งเสริม BOI ไม่มีวันที่หมดอายุบริษัทจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม.......... กรณีบัตร BOI ที่หมดอายุแล้ว และมีบัตรใหม่แล้ว บริษัทสามารถขอยกเลิกบัตรเดิมได้หรือไม่..........

ขอ BOI ยากไหม

ใครที่คิดอยากนำบริษัทเข้ารับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เราบอกได้เลยว่าไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องจัดการเตรียมเอกสารด้วยความละเอียดรอบคอบ พร้อมกับตรวจสอบว่ากิจการของคุณตรงตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่บีโอไอกำหนดไว้หรือไม่ ถ้าทุกอย่างถูกต้องบริษัทของคุณก็มีโอกาสสูงมากที่จะได้รับการสนับสนุนจาก BOI.